บทที่ ๓ ปฏิบัติธรรมวิชาปราณโอสถ (ขั้นที่ ๑ – ๔)
ปราณโอสถ กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม
ปฏิบัติธรรมวิชาปราณโอสถ (ขั้นที่ ๑ – ๔)
แสดงธรรมวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕
สาระสังเขป
สอนปฏิบัติธรรมวิชาปราณโอสถ เริ่มจากกล่าวถึงประโยชน์ของวิชาปราณโอสถในการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ บุพกิจเบื้องต้นคือขั้นกายรวมใจ จิตรู้เฉพาะภายในกาย ผ่อนคลาย โปร่งเบา สบาย ดูลมให้รู้ลมว่าเข้าอยู่หรือออกอยู่ เดินลมหรือตามรู้ลม ทำซ้ำย้อนไปมา แนะรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติม
เนื้อหา
ยืนๆ
ดื่มน้ำกันหมดหรือยัง ทุกคนต้องดื่มน้ำ
......
วิชาปราณโอสถ พอฝึกได้ดีเยี่ยมแล้ว ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น คนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันฯ หัวใจ ไขมันอุดตัน จะโดนทะลุทะลวง ทำลายจนอันตรธานหายไปสิ้นในเวลาเดือนเดียว ทำติดต่อกันต่อเนื่องทุกวัน
เช้า-กลางวัน-เย็น ๓ เวลา ทำไปเถอะ ไม่ต้องกินยา ร่างกายเผาผลาญหมด เก็บเอามาใช้หมด
ถ้าฝึกจนครบ ๖ ขั้นตอน มึงไม่ต้องกินยาหรอก เรียก โรคขยะสะสมในยา ร่างกายกำจัดได้หมด ไม่ต้องอาศัยยากำจัด
พร้อมกลับไปอยู่ในท่าอะไร บอกแล้วไง
๐ ลุกขึ้นยืน ท่าพร้อม
- ผ่อนคลาย ท่าผ่อนคลาย เป็นพื้นฐานของปราณโอสถ ถ้าพื้นไม่ดี ฐานไม่มั่นคง ทั้ง ๕ ขั้นตอนล้มหมด
- ผ่อนคลาย กายกับใจรวมกัน ผ่อนคลาย โดยกายไม่รวมกับใจ ผ่อนคลายไม่ได้ ผ่อนคลาย ต้องดึงใจเข้ามาอยู่กับกาย กายอยู่นี่ แต่ใจล่องลอยไปที่ไหนต่อที่ไหน ลากมันกลับมา
- ให้ทำเป็นวสี พอบอกว่า ผ่อนคลายปุ๊บ ปั๊บทันที พริบตาหนึ่ง เราผ่อนคลายแล้ว ทุกอณูของร่างกายได้รับการผ่อนคลายอย่างชัดเจน ต้องทำถึงขนาดนั้น
- ถ้าบอก "ผ่อนคลาย" ยังเต๊ะท่า ตั้งท่าอยู่ ยังนู่นนี่นั่นอยู่ มันช้าไป ไม่ทันต่อสถานการณ์
ทีนี้ พาเอา ความผ่อนคลาย ออกเดิน
๐ เดินอย่างผ่อนคลาย
- เดินแล้วต้องให้มีสภาพจิตกับกายรวมกัน เหมือนกับขณะที่ยืน จะได้แก้ปัญหาในกระบวนการว่า ทำไมรู้พลัง รู้ความร้อน รู้ไออุ่น บางจุดหนาแน่น บางจุดผิวเผิน เบาบาง เพราะว่าสติไม่มั่นคง
- การจะทำให้สติแข็งแรง มั่นคง ต้องรักษาความผ่อนคลายได้ทุกอิริยาบถ ยืนก็ผ่อนคลาย เดินก็ผ่อนคลาย นั่งก็ผ่อนคลาย นอนก็ผ่อนคลาย ทำกิจกรรมการงานก็ให้ผ่อนคลาย
- จะผ่อนคลายไม่ได้เลยถ้าไม่มีสติกำหนด รู้ภายในกาย จะได้แก้ปัญหาว่า ทำไมปราณเราเดินไม่เสมอ ติดๆ ขัดๆ
ประคับประคองความผ่อนคลายให้คงที่ อย่าให้หลุด
.......
กายผ่อนคลาย ใจผ่อนคลาย สมองผ่อนคลาย กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ผ่อนคลาย นี่ไม่มีอะไรต้องคิด ไม่มีคำว่า ฟุ้งซ่าน หงุดหงิดรำคาญ ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ
มีแต่ตัวรู้ ท่านผู้รู้ มีสติรับรู้ภายในกายว่าผ่อนคลายจริงมั้ยในแต่ละจุด
- ถ้าไปคิดนู่นนี่นั่น ฟุ้งซ่าน แสดงว่าไม่ผ่อนคลายแล้ว ต้องผ่อนคลายทั้งกายและใจ
.......
๐ ยืน ฝึกต่ออยู่ในอิริยาบถผ่อนคลาย
........
๐ ขยับขึ้นขั้นที่ ๒ ดูลมหายใจ
- ดูเฉยๆ
- ให้รู้ว่าลมเข้าหรือลมออก ไม่ต้องไปทำให้ลมยาว ลมสั้น ลมใหญ่ ลมเล็ก ไม่ต้อง
- แค่ รู้ลม เฉยๆ เวลาดูลมในขั้นที่ ๒ วางความผ่อนคลาย เหลือไว้แต่ลมหายใจที่เข้าอยู่และออกอยู่
.......
๐ ขยับขึ้นขั้นที่ ๓ เดินลมตามจุด
หายใจเข้า :
ปาก ลำคอ ทรวงอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ ใต้สะดือ หัวเหน่า ทะลุไปที่ก้นกบ
หายใจออก :
ขึ้นมาที่กระดูกสันหลังด้านบน ต้นคอด้านหลัง กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก โพรงจมูก ออกปลายจมูก
.......
หายใจเข้า :
จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ก้นกบ ทะลุมาที่ช่องท้อง
หายใจออก :
หัวเหน่า ใต้สะดือ เหนือสะดือ ช่องท้อง ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกปาก
(ซ้ำ) หายใจเข้า :
ปาก ลำคอ ทรวงอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ ใต้สะดือ
หัวเหน่า ทะลุไปที่ก้นกบ
เริ่มหายใจออก :
ขึ้นมาที่กระดูกสันหลังด้านบน ต้นคอด้านหลัง กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก
.......
หายใจเข้า :
จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ลงไปที่ก้นกบ ทะลุไปที่ช่องท้อง
เริ่มหายใจออก :
ขึ้นมาที่หัวเหน่า ใต้สะดือ เหนือสะดือ ช่องท้อง ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกปาก
ผ่อนคลาย
ทีนี้ ขยับให้เร็วขึ้น สำหรับคนที่ปอดเล็ก จะได้ทำทัน
๐ ขยับขึ้นมาอยู่ในขั้นที่ ๒ รู้ลมหายใจ
......
๐ ขั้นที่ ๓ ตามดูลม
หายใจเข้า :
จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ก้นกบ ทะลุไปที่ช่องท้อง
หายใจออก :
หัวเหน่า ใต้สะดือ เหนือสะดือ ช่องท้อง ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกปาก
สลับ หายใจเข้า :
ปาก ลำคอ ทรวงอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ ใต้สะดือ หัวเหน่า ทะลุไปที่ก้นกบ กระดูกสันหลัง
หายใจออก :
กระดูกสันหลังด้านบน ต้นคอด้านหลัง กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก
(ซ้ำ) หายใจเข้า :
จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ก้นกบ ทะลุไปที่ช่องท้องด้านหน้า
หายใจออก :
หัวเหน่า ใต้สะดือ เหนือสะดือ ช่องท้อง ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกปาก... ผ่อนคลาย
.......
๐ ต่อไปจะให้ต่างคนต่างทำเอง หาลมของตนให้ชัด แล้วต่างคนต่างทำเอง
ใช้ลมของตนเป็นบรรทัดฐานในการเดินทาง จะช้า จะเร็ว ขึ้นอยู่กับลมของตัวเอง
๐ ขยับมาที่ขั้นที่ ๑
ผ่อนคลาย
๐ ขึ้นไปขั้นที่ ๒ ดูลม
พอบอกเริ่มขั้นที่ ๓ ก็เริ่มเลย
๐ ขั้นที่ ๓ ตามรู้ลม (เดินลมตามจุด)
.........
๐ หายใจจบแล้ว กลับมาอยู่ที่ขั้นที่ ๑ คือ ผ่อนคลาย
.......
พาเอาความผ่อนคลายลงนั่ง
.......
๐ นั่งด้วยความผ่อนคลาย
.......
๐ ท่านอน
ทีนี้นอน เป็นท่าที่โปรดปรานมาก เป็นกรรมฐานที่สุดยอดปรารถนา
นอนเหยียดยาวแผ่หลา ให้หลังแนบกับพื้นให้เต็มสมบูรณ์
คุณวิเศษของปราณโอสถ
สามารถดูดซึมพลังธรรมชาติเข้ามาอยู่ในกายได้ คือ ดึงเอาพลังธรรมชาติมาเป็นพลังของกายได้ถ้าหากว่าทำจนถึงขั้นสูงสุด แต่ต้องฝึกให้ช่ำชอง เชี่ยวชาญ
วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถจะดึงเอาพลังของธรรมชาติมาเป็นพลังของกายได้
- กางปีกกางแขน กางขา ขยับให้ดี เสร็จแล้วก็ผ่อนคลาย
- ผ่อนคลายแล้วเริ่ม ขั้นที่ ๑ ที่ ๒ ขยับมาขั้นที่ ๓ เดินลม ลมใครลมมัน
.......
๐ เมื่อหายใจจบแล้ว ถอยมาอยู่ขั้นที่ ๑
ผ่อนคลาย สังเกตไออุ่นหรือไอเย็น
o ดูที่ฝ่าเท้าว่า มีไออุ่น หรือไอเย็นปรากฏขึ้นที่ฝ่าเท้าทั้งสองมั้ย ไม่ใช่เอามือคลำ เอาตีนคลำ หรือเอาตาดู แต่เอาความรู้สึก ฝ่าเท้า ๒ ข้างและฝ่ามือ ๒ ข้าง แบออกแล้วดูซิ
o ๒ ฝ่ามือ ๒ ฝ่าเท้า มีไออุ่นหรือไอเย็นปรากฏมั้ย
o ต่อไป เคลื่อนมาดูที่ กลางกระหม่อม มีไอร้อนหรือไอเย็นพุ่งออกมามั้ย
o จากกลางกระหม่อม เคลื่อนมาดูที่ ช่องท้อง มีไอร้อนหรือไอเย็นออกมาจากช่องท้องมั้ย
o จาก ช่องท้อง เคลื่อนไปอยู่ที่ แผ่นหลัง ดูว่า มีไอร้อนหรือไอเย็นอยู่ที่แผ่นหลังมั้ย
o จากแผ่นหลัง มาดูที่ใบหน้า ดูซิว่ามีไอร้อนหรือไอเย็นปรากฏที่ใบ หน้าทั้ง ๒ ข้าง ซ้าย- ขวามั้ย
พอ
หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน แล้วลุกขึ้นนั่ง
.......
๐ สรุป หลังปฏิบัติธรรม
o เป็นท่าที่สบายมั้ย สบาย นอนเอาเลือดลงหัว สบาย ปราณวิ่งกันให้ปรูดปราดไปหมด เที่ยวนี้สัมผัสไออุ่นหรือความเย็นจากฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้ชัดขึ้นมั้ย
o ช่องท้อง ชัดขึ้นมั้ย ช่องท้องจะมีน้ำเยอะ คนที่ธาตุดินกับธาตุไฟจะสัมผัสยาก พวกธาตุลมกับธาตุน้ำจะสัมผัสได้ง่าย
o แผ่นหลัง สัมผัสได้ชัดมั้ย แผ่นหลังจะมีธาตุดินมาก พวกที่ธาตุดินกับธาตุไฟ จะสัมผัสได้ง่ายมาก พวกธาตุน้ำ จะสัมผัสแบบผิวเผิน
o ธาตุต่างๆ จะไปกองรวมแต่ละจุดต่างๆ จะหนา จะบาง จะมาก จะน้อย แตกต่างตามสรีระของแต่ละคน แต่ละจุดในอวัยวะต่างกัน
o ความอุ่น-ความเย็นที่เกิดขึ้นกับกะโหลกศีรษะ สัมผัสได้มั้ย บางคนจะสัมผัสได้เป็นความเย็น
o บางคนสัมผัสได้เป็นความหนัก ร้อน เย็น เบา หนัก ร้อน
เย็น เบา คือ ธาตุลมกับธาตุน้ำ
หนัก ร้อน คือ ธาตุดินกับธาตุไฟ
ทำให้รู้จักธาตุตัวเองว่า ใครมีธาตุอะไรเป็นเจ้าเรือนได้
วิชาปราณโอสถ นอกจากแยกแยะธาตุภายในกายได้ ยังช่วยชะลอความเสื่อมของธาตุได้ด้วยถ้าทำจนถึงขีดสุด สามารถยืมพลังจากรอบกายและธรรมชาติที่มีอยู่เอามาใช้เยียวยา รักษาอวัยวะภายในกายเราได้ด้วยถ้าทำจนถึงขีดสุด
คำว่า ขีดสุด คือ อะไร
- เห็นเป็นนิมิต เรียกว่า หายใจครั้งเดียวก็จบ คือหายใจเข้า เดินได้ทุกจุดตั้งแต่ข้างหลังมายันข้างหน้า
- หายใจออก เดินได้ทุกจุดตั้งแต่ข้างหลังมายันข้างหน้า แล้วไม่มีจุด อันนั้นเป็นขั้นสูงๆ ขึ้น อย่าพยายามขวนขวาย เดี๋ยวทำแล้วจะมาวุ่นวายกับกูอีก
ทำตามที่สอน สอนแค่ไหน วันนี้สอนกี่ขั้น (๓ขั้น )
ทำให้ช่ำชอง เชี่ยวชาญ ชำนาญ
สำคัญที่สุด คือ ขั้นพื้นฐาน คือ ผ่อนคลาย
กราบลาพระ อะระหัง สัมมา...
(กราบ)
แหล่งข้อมูล
มูลนิธิธรรมอิสระ. (๒๕๖๖). ปฏิบัติธรรมวิชาปราณโอสถ (ขั้นที่ ๑ – ๔) ใน ปราณโอสถ: กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม, (น.๑๕๘ -๑๗๙). นครปฐม: มูลนิธิ.
หลวงปู่พุทธะอิสระ แสดงธรรม และปฏิบัติธรรม ช่วงบ่าย เนื่องในวันวิสาขบูชา วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕, สืบค้น มีนาคม ๒๕๖๗ จาก
https://www.facebook.com/issaradham/videos/461941949070330/