บทที่ ๑๙ ปฏิบัติธรรม ปราณโอสถ ขั้นที่ ๑-๔ และขั้นที่ ๕ ได้โดยอัตโนมัติ
ปราณโอสถ กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม
ชื่อเรื่อง ปฏิบัติธรรม ปราณโอสถ ขั้นที่ ๑-๔ และขั้นที่ ๕ ได้โดยอัตโนมัติ
แสดงธรรมวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๕
สาระสังเขป
สอนเจริญกรรมฐานปราณโอสถขั้นที่ ๑ ถึง ๕ ขั้นที่ ๑ กายรวมใจ ระลึกรู้ ลงไปภายในกายตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า ขั้นที่ ๒ ผ่อนคลาย ยังมีร่างกาย ยังมีจิตใจ แต่ให้ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ไม่มีความคิด มีแต่ความรับรู้ ขั้นที่ ๓ รู้ลมว่า ลมเข้าหรือออกอยู่ ขั้นที่ ๔ ตามดูลม หายใจและตามดูลมเข้าออกตามจุดต่างๆ ระหว่างจมูกถึงช่องท้อง ทำจนชำนาญ เห็นลมเดินเป็นสาย ถือว่าขยับขึ้นขั้นที่ ๕ ได้โดยอัตโนมัติ ถอยกลับมาอยู่ในขั้นรู้ลมหายใจเข้า รู้อยู่ว่า หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข หายใจออก รู้อยู่ว่า ลมกำลังออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์ ทิ้งลมหายใจ ทิ้งการภาวนา ขยับลงมาอยู่ในขั้นผ่อนคลาย สภาวะนี้เป็นจิตทึ่สุขุม จิตที่มีตัวรู้ชัดเจน
เรียกว่าเป็นจิตพร้อมพัฒนา พร้อมจะบรรลุธรรม
เนื้อหา
ลุกขึ้นยืน เตรียมปฏิบัติธรรม นั่งนานแล้ว เดี๋ยวรากงอก
เหมือนเดิม
๐ ขั้นที่ ๑ กายรวมใจ
คำว่า กายรวมใจ
- ใจต้องไม่ออกไปนอกกาย
- ความรู้สึกนึกคิดต้องอยู่ในกาย
- เป็นกระบวนการที่จะเรียนรู้ศึกษาชีวิตในกาย
ทำให้ "กายกับใจ"รวมกันเป็นหนึ่ง ผนึกแนบแน่น ไม่โยกโคลง ไม่สั่นคลอน ไม่วอกแวก ไม่หวั่นไหว
......
ส่งความรู้สึก ระลึกรู้ ลงไปภายในกายตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า สำรวจตรวจสอบในกาย
จะไล่ไปตามจุดต่างๆ ก็ได้
กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง สะบัก หัวไหล่ ท่อนแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ นิ้วมือ ไล่ไปให้ทั่ว
หาเรื่องให้จิตอยู่ในกาย อย่าให้หลุดออกไป
จากบนลงล่าง
จากล่างขึ้นบน
จากข้างหน้ามาข้างหลัง
จากข้างหลังไปข้างหน้า
ฝึกให้คล่อง
พยายามประคับประคองจิตอย่าให้เคลื่อนออกนอกกาย ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ภายในกาย
.......
๐ ขยับขึ้นขั้นที่ ๒ ผ่อนคลาย
ผ่อนคลาย ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ความว่าง
แต่ผ่อนคลายในบรรยากาศ ในขอบเขตของกาย
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
สมองผ่อนคลาย
ระบบประสาทผ่อนคลาย
อวัยวะทุกส่วนในร่างกายผ่อนคลาย
ผ่อนคลาย ในที่นี้ยังมีกายอยู่
ร่างกายผ่อนคลาย
อารมณ์ผ่อนคลาย
จิตใจผ่อนคลาย
ยังมีร่างกาย ยังมีจิตใจ แต่ให้ผ่อนคลาย
อย่าไพล่ไปจนถึงคำว่า ว่าง อย่างนั้นเขาเรียกว่า ลึกเกินไป
เอาแค่ว่ากายผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ข้อกระดูกทุกส่วนผ่อนคลาย
ระบบประสาท สมองผ่อนคลาย
จิตใจ อารมณ์ผ่อนคลาย
ทุกอย่างผ่อนคลายหมด
ผ่อนคลาย ไม่มีความคิด มีแต่ "ความรับรู้"
รับรู้ว่า สมองผ่อนคลาย
รับรู้ว่า กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
รับรู้ว่า ข้อต่อในร่างกายผ่อนคลาย
รับรู้ว่า ระบบประสาทในร่างกายทุกส่วนผ่อนคลาย
.....
๐ ขยับขึ้น
......
รู้เฉพาะลมเข้ากับลมออก
ยังไม่ถึงขั้นตามดูลม
.......
พอรู้ลม ทีนี้
๐ ขยับขึ้นขั้นที่ ๔
ตามดูลม
หายใจเข้า :
-จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ลงไปที่ก้นกบ ทะลุมาที่ช่องท้อง
เริ่มค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก :
-ลมขึ้นมาที่ใต้สะดือ เหนือสะดือ มาที่ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกหมดที่ปาก
พักนิดหนึ่ง
หายใจเข้า เหมือนเดิม :
-เข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง ลงไปที่กระดูกสันหลัง ลงไปที่ก้นกบ ทะลุมาที่ช่องท้อง
เริ่มหายใจออก :
-ขึ้นมาใต้สะดือ เหนือสะดือ ลิ้นปี่ ทรวงอก ลำคอ ออกปาก
พักนิดหนึ่ง เริ่มหายใจใหม่
๐ ทำจนชำนาญ เห็นลมเดินเป็นสาย ถือว่าเราขยับขึ้นขั้นที่ ๕ ได้โดยอัตโนมัติ
เห็น "ลม" เดินเป็นสาย จนกลายเป็นพลังปราณ เดินตามท่อไปตามจุดต่างๆ ที่เราต้องการให้ผ่าน
นั่นเรียกว่า เราขยับขึ้นขั้นที่ ๕ ได้แล้ว
......
๐ ถอยกลับมาอยู่ใน # ขั้นรู้ลม
รู้ว่า ลมเข้าอยู่
รู้ว่าลมออกอยู่
......
เพิ่มคำภาวนากับการรู้ลม
หายใจเข้า รู้อยู่ว่า หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก รู้อยู่ว่า ลมกำลังออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
.....
ทิ้งลมหายใจ ทิ้งการภาวนา
๐ ขยับลงมาอยู่ในขั้นผ่อนคลาย
สมองผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ระบบประสาทผ่อนคลาย
ร่างกายผ่อนคลาย
อารมณ์ผ่อนคลาย
จิตใจผ่อนคลาย
.......
จำอารมณ์ผ่อนคลายอย่างนี้ไว้
อย่างนี้แหละเขาเรียกว่า สุขุมจิต จิตทึ่สุขุม
เราต้องการให้สติ สมาธิ ปัญญา ตั้งมั่น ต้องตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นี้เท่านั้น คือ สภาพจิตแบบนี้เท่านั้น จะมี "ตัวรู้"ชัดเจน
จิตที่สุขุม คือ จิตที่มี"ตัวรู้" ชัดเจน
เรียกว่าเป็นจิตพร้อมพัฒนา พร้อมเข้าถึงวิโมกข์ พร้อมจะบรรลุธรรม
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน.. ลงนั่ง
เตรียมตัวแผ่เมตตา
......
เตรียมรับพรลูก
......
ธรรมะรักษาลูก ให้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ปลอดภัย รุ่งเรือง เจริญทุกท่าน
กราบลาพระ
อะระหัง สัมมาฯ
แหล่งข้อมูล
หลวงปู่พุทธะอิสระ. (๒๕๖๖). ปฏิบัติธรรม ปราณโอสถ ขั้นที่ ๑-๔ และขั้นที่ ๕ ได้โดยอัตโนมัติ ใน ปราณโอสถ: กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม, (น.๒๘๔ - ๒๘๙).
นครปฐม: มูลนิธิธรรมอิสระ.