วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ. กำแพงเสน จ.นครปฐม

บทที่ ๑๖ ปฏิบัติธรรมฝึกปราณโอสถขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒

ปราณโอสถ กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม

ชื่อเรื่อง ปฏิบัติธรรมฝึกปราณโอสถขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒   

แสดงธรรมวันที่  ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕

สาระสังเขป

         สอนปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐานปราณโอสถขั้นที่ ๑ และ ๒ เพิ่มเติมรายละเอียดระหว่างการฝึก ขั้นที่ ๑ กายรวมใจ  จิตอยู่ในกายและเคลื่อนจิตไปตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกายทีละจุด ขั้นที่ ๒ ผ่อนคลายกายและใจ แต่มีตัวรู้ชัดเจนอยู่ในกาย รู้จักผ่อนคลายแบบนี้เป็นการฝึก พร้อมเตรียมตัวตาย จิตไม่เศร้าหมอง ฝึกให้ผ่อนคลายให้ได้ทุกครั้งในเวลานอน ฝึก ยืนผ่อนคลาย นั่งผ่อนคลาย เดินผ่อนคลาย  นอนผ่อนคลาย และตายผ่อนคลาย แม้เมื่อเผชิญปัญหาอุปสรรคในชีวิต ความผ่อนคลายจะช่วยให้ต้านทาน บรรเทาปัญหาลงได้

เนื้อหา

ดื่มน้ำแล้วลุกขึ้น​ยืน 

๐ ขั้นที่  :  กายรวมใจ  

  • จิตอยู่ที่ฝ่ามือ 
  • ดูที่ฝ่ามือ​ รู้สึกที่ฝ่ามือ​ รับรู้ที่ฝ่ามือ 
  • เคลื่อน​จิตมาที่นิ้วโป้ง 

พิสูจน์​ได้​ว่า​ จิตเรา​จะ​อยู่​ที่​นิัวโป้งหรือไม่​ ลองขยับนิ้วโป้ง​ดูก็ได้.. นิ้วโป้ง​ทั้ง​ ๒​ ข้าง 

  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่นิัวชี้​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่นิ้วกลาง​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่นิ้วนาง​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่นิ้วก้อย ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่หลังมือ​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ข้อมือ​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่ท่อนแขน​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ข้อศอก​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ต้นแขน​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตไปอยู่ที่​หัวไหล่​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​บ่า​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ไหปลาร้า​ด้านหน้า​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ลำคอ 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​กราม​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​กกหู​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​ขมับ​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมาอยู่ที่​โหนกคิ้ว​ ๒​ ข้าง 
  • เคลื่อน​จิตมารวมตัวอยู่ที่​หว่างคิ้ว 
  • จากหว่างคิ้วขึ้น​หน้าผาก 
  • จากหน้าผากขึ้น​กลางกระหม่อม​ 
  • จากกลางกระหม่อม​ ผ่อนคลาย 

 ขั้นที่ :  ผ่อนคลาย  

  • ผ่อนคลาย​ร่างกาย 
  • ผ่อนคลาย​กล้ามเนื้อ 
  • ผ่อนคลาย​เส้นเอ็น​ พังผืด​ และข้อกระดูก 
  • ผ่อนคลาย​โสตประสาท​ ระบบ​ต่างๆ 
  • ผ่อนคลาย​ลมหายใจ 

ลมหายใจ​ที่ผ่อนคลาย​ คือ​ ลมหายใจ​ที่อ้อยอิ่ง​ เอื่อย​ๆ​ ไม่กระแทก​กระทั้น​ ไม่รุนแรง​ ไม่พลุ่งพล่าน ทุกอย่าง​ในร่างกาย​ผ่อนคลาย​ แม้ที่สุดผ่อนคลาย​อารมณ์​  ผ่อนคลาย​จิตใจ 

ผ่อนคลาย​จนสามารถ​สัมพันธ์​สัมผัสได้ถึงความเบา​ โปร่ง​ โล่ง​ สบาย​ ที่เรียกว่า​ ลหุตา​ คือ​ เบา  เบากาย​ เบาจิต​ แม้แต่​ "พลังชีวิต" ก็ผ่อนคลาย​จนชีพจรแทบจะไม่เต้น​ แต่แท้จริง​แล้ว​ เต้น​ แต่เต้นอย่าง​ผ่อนคลาย 

ผ่อนคลายไม่ใช่ความเผลอไผล แต่เป็นความรู้ชัด แจ่มชัด 

สมองโล่ง ร่างกายเบา ตัวเบา ใจเบา 

การรับรู้ชัดเจน แต่ผ่อนคลาย ไม่ยึดติด ไม่พันธนาการ​  
ไม่ผูกรัด จนรับรู้ได้ว่าชีพจรเราเต้นช้าลง การสูบฉีดเลือดและหัวใจเต้นน้อยลง 

๐ เวลานอนหลับ 

นอนด้วยอารมณ์​แบบนี้​ พรหมรักษา​ เทวดา​คุ้มครอง​ เพราะตัวเราไม่มีมลภาวะ​ ไม่มีขยะให้เน่า 

เหม็น​จนเทวดา​รังเกียจ​ ไม่ต้องอาศัย​ยานอนหลับ​ด้วยซ้ำ 

 ๐ รู้จักผ่อนคลายแบบนี้เป็นการฝึก พร้อมเตรียมตัวตาย 

ถ้าตายด้วยอารมณ์​ผ่อนคลาย​ ตายอย่างนี้​ จะตรงกับคำสอนที่พระพุทธ​เจ้าทรงสอนว่า​ 

จิตเต สังกิลิฎเฐ ทุคติปาฏิกังขา ถ้าก่อนตาย​ จิตเศร้าหมอง​ก็ไปสู่ทุคติ 

จิตเต อสังกิลิฏเฐ​ สุคติ​ปาฏิกังขา ก่อนตาย​ ถ้าจิตไม่เศร้า​หมองก็ไปสู่สุคติ 

ผ่อนคลายแบบนี้ เรียกว่า จิตไม่เศร้าหมอง 

ฝึกให้ผ่อนคลาย​ให้ได้ทุกครั้ง​ในเวลานอน​ 

แม้มีชีวิต​อยู่​ปัจจุบัน​  เผชิญ​เจอะเจอ​ปัญหา​อุปสรรค​ใดๆก็รู้จักผ่อนคลาย​แบบนี้ 

๐ ค่อยๆ พาเอาความผ่อนคลายลงนั่ง 

  • นั่งอย่างผ่อนคลาย 
  • นั่งด้วยความผ่อนคลาย 
  • รักษา​ความผ่อนคลาย​ให้คงที่ 

 ต้องรู้จักฝึก ยืนผ่อนคลาย นั่งผ่อนคลาย เดินผ่อนคลาย  นอนผ่อนคลาย และตายผ่อนคลาย 

ผ่อนคลาย​ ไม่ใช่เป็นเพียง​แค่จะใช้กับวิชาปราณ​โอสถ​ แต่ใช้กับการดำเนินชีวิต​ประจำ​วันที่เผชิญ​เจอะเจอ​ต่ออุปสรรค​และ​ปัญหา​ต่างๆ​ สามารถ​ใช้ความผ่อนคลาย​เข้าไปยับยั้ง​ หรือต้านทาน​ความพลุ่งพล่าน​ รุนแรง​ บีบคั้น​ของสารพัด​ปัญหา​เหล่านั้น​ให้อันตรธานหรือพินาศ​ หรืออ่อนด้อยลงได้ 

ใช้สภาวะผ่อนคลายทุกอย่างแม้นจิตวิญญาณและความรับรู้ รู้สึก อารมณ์ก็ผ่อนคลาย 

ตั้งใจกรวดน้ำ 

สัพเพ​ สัตตา... 

กลับไปบ้าน​ อย่าลืมฝึกเน้อ ไม่ใช่เรียน​มาแล้วก็จบลงตรงนี้​ พอเสร็จ​แล้ว​ก็ทิ้งเอาไว้ให้กู​ ไปตัวเปล่าๆ​ ผ่อนคลาย​หมดตั้งแต่หัวจรดปลาย​เท้า​ ไม่จำอะไรเลย 

ที่สอนไปทั้งหมดเป็นคุณ​ คุณูปการ​แก่การดำเนินชีวิต​ทั้งโลกนี้และโลกหน้า​ รวมทั้งสมมติโลกและปรมัตถโลก 

ถ้าฝึกได้ ศึกษาได้ อบรมได้ บ่มเพาะให้เจริญขึ้นๆในกาย วาจา ใจ ในจิตวิญญาณได้ ยิ่งทำให้เราอยู่ง่าย โปร่ง เบา สบาย ไม่ทุกข์ร้อน ไม่ถูกบีบคั้น และสุดท้าย ตายเป็นสุข 

ฉะนั้น​ ฝึก​ ศึกษา​ เอาไปปฏิบัติ​ให้ชัดเจน 

พอแล้ว​สามวันแล้ว 

ตั้งใจรับพร​ ลูก 

ธรรมะรักษา​ลูก​ ให้เดินทาง​กลับ​โดยสวัสดิภาพ​ปลอดภัย​ เจริญ​รุ่ง​เรื่อง​ คิดหวัง​สิ่งใด​สมความ​ปรารถนา​ (สาธุ) 

ไป​ กราบลาพระ​ 

อะระหัง​ สัมมา 

แหล่งช้อมูล

หลวงปู่พุทธะอิสระ.  (๒๕๖๖).  ปฏิบัติธรรมฝึกปราณโอสถขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒   ใน ปราณโอสถ: กายรวมใจ

รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม, (น.๒๓๗ - ๒๔๑). นครปฐม: มูลนิธิธรรมอิสระ.

หลวงปู่​พุทธะอิสระ แสดงธรรม และปฏิบัติธรรม ช่วงบ่ายเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕

ณ ศาลาปฏิบัติธรรม วัดอ้อน้อย(ธรรมอิสระ) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, สืบค้น มีนาคม ๒๕๖๗ จากhttps://www.facebook.com/watch/?v=597891935172293

 

 

 

50 | 13 สิงหาคม 2024, 16:09
บทความอื่นๆ