วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ. กำแพงเสน จ.นครปฐม

บทที่ ๑๒ ปฏิบัติธรรมวิธีการแปลงวิชาปราณโอสถมาเป็นการเจริญวิปัสสนา วิถีจิต

ปราณโอสถ กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม

ปฏิบัติธรรมวิธีการแปลงวิชาปราณโอสถมาเป็นการเจริญวิปัสสนา วิถีจิต

แสดงธรรมวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

สาระสังเขป

     สอนการแปลงวิชาปราณโอสถมาเป็นการเจริญวิปัสสนา เจริญกรรมฐานวิถีจิต เริ่มจากกายรวมใจ ขั้นที่ ๒  ผ่อนคลายกายและจิต แล้วพิจารณาจิตว่ามีอารมณ์ใดปรุงแต่งจิตหรือไม่ ทั้งอารมณ์กุศลและอกุศล จิตกระเพื่อมส่ายไปมาหรือสงบ จิตรู้อยู่ จิตมีอุปาทานอยู่หรือไม่ เมื่อจิตมีตัวรู้ชัดเจน สงบ เย็นแล้ว เดินประคองจิตไม่ให้กระเพื่อม เป็นการเจริญปัญญา  เจริญวิปัสสนา เจริญสติ ขั้นที่ ๓ รู้ลมหายใจ เมื่อเห็นลมที่เข้าและออกชัดเจน​ ไม่สับส่าย​ ไม่ขาดเกิน​ ขยับขึ้นขั้นที่​ ๔​ ตามดูลม ว่าลมเข้าไปสุดตรงไหน​ ผ่านจุดใด กลับมาอยู่ขั้นที่ ๓ รู้ลมเฉยๆ แล้วทิ้งลมหายใจ ขยับมาอยู่ในขั้นที่ ๒ ผ่อนคลาย สรุปว่ากายรวมใจ เป็นพื้นฐานของการทำวิถีจิต ว่างอย่างอิสระ สงบ เย็น และสามารถพัฒนาไปสู่ความรู้ในวิชาปราณโอสถได้

คำสำคัญ

         ปราณโอสถ, ปราณ, สติปัฏฐาน, กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, วิปัสสนา. วิถีจิต, ปัญญา, จิต, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เนื้อหา

พื้นฐานวิชาปราณโอสถ ถ้าจะแปลงมาทำวิปัสสนา เจริญวิถีจิต ทำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะขั้นตอนแรก กายรวมใจ 

พ​อกายรวมใจ​ พอทิ้งกายได้ปุ๊บ ก็เข้ามาอยู่กับจิต​ ชำระ​จิต​ ดูแล​จิต​  รักษา​จิต​ สำรอก​จิต​ ไม่ให้​จิต​กระเพื่อม​ ไม่​ปรากฏ​อารมณ์​ใดๆ​ ทำจิต​ให้​ผ่องแผ้ว​ แจ่มใส​  

ง่ายจะตายไป 

อยู่​กับ​ "นครจิต"นั้น​ อยู่กับจิตอย่างนั้น​ อยู่ทั้งวันทั้งคืนได้​ ฝนตก​ ฟ้าร้อง​ น้ำท่วม​ ไฟไหม้​ ฟ้าผ่า​ ไม่สะดุ้งผวา​อยู่ได้ง่ายๆ 

ถ้าทำปราณโอสถเป็นพื้นฐานได้จนช่ำชอง เชี่ยวชาญ ชำนาญ ก็ทำวิปัสสนา เจริญปัญญา ฝึกวิถีจิตได้ ยิ่งง่ายใหญ่ ไปต่อยอดได้เยอะแยะ 

มากมาย พื้นฐานต้องทำปราณโอสถให้ลุล่วงสำเร็จ 

........ 

ลองดูซิ กายรวมใจ สอนไปแล้วเมื่อกลางวัน​ วิธีรวม​ รวมอย่างไร ไล่ไปตามอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ฝึกจนชำนาญ​ จะได้รู้ว่า​อะไรคือกาย​ อะไรคือใจ ตั้งแต่​หัวจรดฝ่าเท้า ตั้งแต่​ฝ่าเท้าขึ้นมายันหัว 

๐ ขั้นที่ ๑ กายรวมใจ 

  • ไล่ตั้งแต่​หัว​ กะโหลก​ศีรษะ​ คอ​ บ่า ไหปลาร้า​ ๒​ ข้าง 
  • กระดูกท่อนแขนบนตั้งแต่หัวไหล่ลงไปจนถึงข้อศอก​ ๒​ ข้าง 
  • ท่อนแขน​ล่าง​ ๒​ ข้าง​ ข้อมือ​ ​๒​ ข้าง​ ฝ่ามือ​ ๒​ข้าง​ นิ้วมือทั้ง​ ๑๐​ 
  • ละจากนิ้วมือ​ ขึ้นมาที่ฝ่ามือ​ ๒​ ข้าง 
  • ละจากฝ่ามือ​ มาถึงข้อมือ​ ๒​ ข้าง 
  • ละจากข้อมือ​ มาถึงท่อนแขนล่าง​ ๒​ ข้าง 
  • ละจากท่อนแขนล่าง​ มาที่ข้อศอก​ ๒​ ข้าง 
  • ละจากข้อศอก มาถึงท่อนแขนบน ๒​ ข้าง 
  • ท่อนแขนบน​ ละมาถึงบ่า ๒​ ข้าง 
  • ละจากบ่า​ มาที่สะบัก​ ๒​ ข้าง กล้ามเนื้อ​สะบัก​ กระดูก​สะบักที่ติดอยู่กับหัวไหล่ด้านหลัง 
  • มาอยู่ที่โครงกระดูก​สันหลัง​ กล้ามเนื้อ​สันหลัง​ แผ่นหลัง 
  • จากแผ่นหลังด้านบนลงไปถึงก้นกบ 
  • จากหลังเท้า​ มาที่ข้อเท้า​ ๒​ ข้าง 

จิตตามดูไป   ​ 

  • จากข้อเท้า​ มาที่หน้าแข้ง​ ๒​ ข้าง 
  • จากหน้าแข้ง​ มาที่ห้วเข่า​ ๒​ ข้าง 
  • จากหัวเข่า​ มาที่หน้าขา ๒​ ข้าง 
  • จากหน้าขา​ มาที่ต้นขา​ ๒​ ข้าง 
  • จากต้นขา​ มาที่ช่องท้องน้อยใต้สะดือ​ ช่องท้องเหนือสะดือ​ ซี่โครงอ่อนติดกับช่องท้อง​ มาที่ลิ้นปี่​ ขยับมาที่ทรวงอก​ 
  • จากทรวงอก​ มาที่ไหปลาร้า 
  • จากไหปลาร้า​ มาที่ลำคอ 
  • จากลำคอ​ มาที่กรามซ้าย-ขวา 
  • จากกรามซ้าย-ขวา​ มาที่คาง 
  • จากคาง​ มาที่ริมฝีปากล่าง 
  • จากริมฝีปาก​ล่าง​ ขึ้นมาที่ริมฝีปากบน 
  • จากริมฝีปาก​บน​ มาที่ใต้จมูก​ ขยับขึ้นมาที่สันจมูก​ 
  • เคลื่อนจากสันจมูก​ มาที่โหนกแก้ม​ ซ้าย-ขวา 
  • จากโหนกแก้ม​ มาที่กระบอกตา 
  • จากกระบอกตา​ มาที่โหนกคิ้ว​ ๒​ ข้าง 
  • จากโหนกคิ้ว​ มาที่หน้าผาก 
  • จากหน้าผาก​ ไปที่กลางกระหม่อม 
  • ถึงกลางกระหม่อม​ สำรวจดูให้ชัด​ แล้วผ่อนคลาย 

๐ ขยับขึ้นขั้นที่  ผ่อนคลาย 

  • ไม่ใช่ให้ขยับตัว​ แต่ผ่อนคลาย​จิต​ ผ่อนคลาย​ระบบประสาท​ 

ผ่อนคลาย​กล้ามเนื้อ​ ผ่อนคลาย​อารมณ์​ 

  • พอถึงขั้นผ่อนคลาย​ ทีนี้ชำแรกไปที่จิต 

 
๐ วิธีจะเข้าสู่วิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า วาง ว่าง ดับ เย็น 

    ดูว่า  :  

  • จิต​ มีกุศล​หรืออกุศล 
  • จิต​ มีบุญหรือมีบาป 
  • จิต​ มีราคะหรือไม่มีราคะ 
  • จิต​ มีโทสะหรือไม่มีโทสะ 
  • จิตนี้​ มีความโลภอยู่หรือไม่มีอยู่ 
  • จิต​ ยึดถืออยู่หรือผ่อนคลาย​ ปล่อยวาง 
  • จิตนี้​ กระเพื่อม​อยู่หรือสงบนิ่งอยู่ 
  • จิตนี้​ สับส่ายอยู่หรือเยือกเย็น​อยู่ 
  • จิตนี้​ มีตัวรู้ชัดหรือหลงๆ​ ลืมๆ 
  • จิตนี้​ มีอุปาทาน​หรือไม่มีอุปาทาน​อยู่.. อุปาทาน​ คือ​ ความยึดถือ 
  • จิตนี้​ มีสับส่าย​ ทุรนทุราย​ ว้าวุ่น​ ฟุ้งซ่าน​อยู่​ หรือสงบอยู่ 

ตั้งคำถามค้นหา ถ้าจิตนี้รู้ชัด สงบ เย็น อยู่ พา"กาย" ออกเดิน 

๐ เดินประคองจิตไม่ให้กระเพื่อม 

  • ยืนก็ไม่กระเพื่อม​ เดินก็ไม่กระเพื่อม 
  • รู้ชัดอยู่  สงบเย็น​อยู่ 
  • ไม่สัดส่าย​ ไม่ทุรนทุราย​อยู่ 
     

    เมื่อใดจิตนี้กระเพื่อม ว้าวุ่น ทุรนทุราย สับส่าย ไม่สงบ.. ต้องหยุดเดิน 

    สงบ ต้องไม่คิด ถ้าคิด ไม่สงบ  
    สงบ ต้องรู้  ถ้าไม่รู้ ไม่สงบ 

  • รู้อยู่​ว่า​ จิตนี้สงบแล้ว 
  • รู้อยู่​ว่า​ จิตนี้ไม่กระเพื่อม​แล้ว 
  • รู้อยู่​ว่า​ จิตนี้เย็น วาง​ ว่าง 

 
ขั้นตอนนี้ เรียกว่าเป็นการเจริญปัญญา  เจริญวิปัสสนา เจริญสติ 

  • รักษา​ความสงบจิตที่ไม่กระเพื่อม​ เคลื่อน​ไหวกายอย่างอิสระ​ ไม่ถูก​อารมณ์​ใดๆ​ ครอบงำได้ 
  • ยืนก็เป็นอิสระ​ นั่งก็เป็นอิสระ​ นอนก็เป็นอิสระ​ เดินก็เป็​นอิสระ 
  • "ความเป็นอิสระ" อยู่กับ​เรา​ได้นานเท่าไหร่​ มากเท่าไหร่​ ให้ตั้งมั่น​เพียงใด​ เมื่อนั้นมัจจุราช​จะมองไม่เห็น​เรา​ โรคาพยาธาตุ​ ทุกขโทมมัสจะไม่กล้ำกรายบีฑาเรา 

 

สงบกับความผ่อนคลาย ให้สังเกตดูว่า ใกล้เคียงกันมาก 

อยู่กับความสงบ​ และ​ความผ่อนคลาย​ ไม่ต้องใส่ใจ​เรื่อง​อื่น จิตสะอาด 
รักษา​ความสงบ​ ผ่อนคลาย​ไว้ได้นานเท่าไหร่​ จิตเราก็สะอาดได้นานเท่านั้น 
  

อธิจิตเต จะ อาโยโค  ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง 

เอตัง พุทธานะสาสะนัง​ นี่คือสิ่งที่พระพุทธ​เจ้าทรงสอน 

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว แจ่มใส และขาวรอบ 

เอตัง พุทธานะสาสะนัง​ นี่คือสิ่งที่พระพุทธ​เจ้าทั้งหลายทรงสอน 

........ 

  พาความสงบ อิสระ เข้ามายืน 

  • ยืน​อยู่ด้วยความสงบ 
  • สงบกาย​ สงบใจ​ สงบวาจา 

"สงบ"อย่างเป็นผู้ตื่นรู้ ไม่ใช่สงบแล้วไม่รู้ 

...... 

  ขยับขึ้นสู่ขั้นที่ 

รู้ลมหายใจ 

ดูที่ลม 

  • ลมเข้าอยู่.. รู้ 
  • ลมออกอยู่​.. รู้ 
  • เข้ายาว.. รู้ 
  • ออกสั้น.. รู้ 
  • เข้าสั้น.. รู้ 
  • ออกยาว.. รู้ 
  • รู้อยู่​แค่ปลายจมูกกับกองลมที่เข้าและออก 
  • ยังไม่ถึงขั้นที่ ๔​ ที่จะตามดูลม รู้แค่ลมเข้าและออกเฉยๆ 
     

เมื่อเห็นลมที่เข้าและออกชัดเจน ไม่สับส่าย ไม่ขาดเกิน ขยับขึ้นขั้นที่ 

 

๐ ขั้นที่ ตามดูลม 

"ลมเข้า"ไปสุดตรงไหน ผ่านจุดใด 

  • ลมเข้าจมูก​ ขึ้นหน้าผาก​ ผ่านกลางกระหม่อม​ กะโหลก​ศีรษะ​ด้านหลัง​ ต้นคอด้านหลัง​ ลงไปที่กระดูก​สันหลัง​ถึงก้นกบ​ ทะลุมาที่ช่องท้อง 
  • เริ่มผ่อนลมออกเบาๆ จากลมช่องท้อง​ ขยับขึ้นมาใต้สะดือ​ เหนือ​สะดือ จุดต่างๆที่เราเคยคุ้นเคย​กับกายรวมใจนั่นแหละ​เอามาใช้เดินลม​ เป็นท่อลม 
  • มาที่ช่องท้อง​ ลิ้นปี่​ ทรวงอก​ ลำคอ​ ออกปาก 
    ทำต่อได้เลย 

 

๐ ขยับกลับมาอยู่ขั้นที่ รู้ลมเฉยๆ 

ลมเข้าอยู่.. รู้ 

ลมออกอยู่.. รู้ 

แล้วภาวนา 

  • ลมเข้า..​ สัตว์​ทั้งปวง​จงเป็น​สุข 
  • ลมออก​.. สัตว์​ทั้งปวงจงพ้นทุกข์ 

๐ ทิ้งลมหายใจ ขยับมาอยู่ในขั้นที่ ผ่อนคลาย 

สมองผ่อนคลาย กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ระบบประสาทผ่อนคลาย 

  • "รู้" ว่า​ร่างกาย​ผ่อนคลาย​อยู่ 
  • อวัยวะ​ทุกส่วนในร่างกายผ่อนคลาย 
  • เมื่อเห็นว่าทุกอย่าง​ผ่อนคลาย​แล้ว​ ยกมือไหว้​พระ​กรรมฐาน 

นั่งลง 

กายรวมใจ เป็นพื้นฐานของการทำวิถีจิตว่างอย่างอิสระ สงบ เย็น  

และสามารถพัฒนาไปสู่ความรู้ในวิชาปราณโอสถ 

  

พอ​ กราบพระ 

อะระหัง​ สัมมา 

 --------------- 

 

แหล่งข้อมูล

มูลนิธิธรรมอิสระ.  (๒๕๖๖).  ปฏิบัติธรรมวิธีการแปลงวิชาปราณโอสถมาเป็นการเจริญวิปัสสนา วิถีจิต ใน ปราณโอสถ: กายรวมใจ รักษาใจไม่ให้กระเพื่อม, (น. ๒๒๙ - ๒๓๖).

     นครปฐม: มูลนิธิ.

หลวงปู่พุทธะอิสระ เจริญพุทธมนต์ และปฏิบัติธรรม ช่วงเย็น วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕, สืบค้น เมษายน ๒๕๖๗ จาก

     https://www.facebook.com/issaradham/videos/1547664292413949

Qr Code

 

 

 

45 | 7 สิงหาคม 2024, 14:36
บทความอื่นๆ