ระหว่าง ก พ. – มี ค. 2554 (1)   ถอดเทป ระหว่างปฏิบัติธรรม   โดย

องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
ขั้นที่ 1, 2, 3
สรุป 
ขั้นที่ 1 ระดับที่ 2 รักษาจิตตามจุด  ยิ่งตั้งอยู่นานเท่าไหร่ พลังทั้ง 3 ก็จะรวมกันได้

มากเท่านั้นในจุดนั้น
ขั้นที่ 2  จิตต้องตกภวังค์ ถึงจะเรียกว่า สำเร็จประโยชน์ของขั้นที่ 2
ขั้นที่ 3  ดูกายในกาย  สูตรสำเร็จของขั้นนี้ เมื่อก้าวไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราตามดูรู้ตลอด

สายของการเคลื่อนไหวของกายในกาย คือ น้ำหนักที่ถ่ายเทจนครบไม่ขาดเลย ตัวเราจะเบา

ขึ้น เท้าที่ก้าวไปมันจะลอยเหมือนปุยนุ่น

ใครที่ไม่เคยฝึกเลยน่ะ ลูก ยกมือ เดี๋ยวให้รุ่นพี่เค้าไปสอน แนะนำ
เออ มึงไปยกมืออยู่กลางถนน ใครเค้าจะไปสอนมึงได้
วันนี้ว่าจะสอบก็เสียเวลาอัดเทปเสียเกือบ 2 ชั่วโมง เลยไม่ได้สอบเสียที ไม่เป็นไร ยิ่งนาน

ใช้ยิ่งราคาแพง มึงได้แต่ละองค์ราคาล้านก็ดี หมายถึงต้องไปพยุงปีกมารับนะ ตะบันน้ำกิน
พร้อม
เดินในขั้นที่ 1   ขั้นที่ 1 น่ะมันมี 2 ระดับ
ระดับรักษาจังหวะ กับ ระดับรักษาจิต รุ่นพี่มันไม่ควรจะมารักษาจังหวะ มันต้องเริ่มรักษา

จิตแล้ว
เริ่ม ใครที่ยังไม่เคยเดิน ยกมือซิ เออ
รุ่นพี่น่ะเดินรักษาจิต ไม่ใช่แค่รักษาจังหวะ รุ่นน้องเพิ่งจะมา เดินรักษาจังหวะ เพราะขั้นที่ 1

มี 2 ระดับ
กิริยาของคนเดินรักษาจิต กับ กิริยาของคนเดินรักษาจังหวะ มันคนละชนิด มันจะแตกต่าง

กันราวฟ้ากับดินเลย อย่าให้เสียภูมิรุ่นพี่
จิตตั้งไว้กลางลำตัวที่หน้าอก รักษาไว้ อย่าให้กระเพื่อมเลื่อนหลุดไปไหน
ส่วนรุ่นน้องผู้มาใหม่ ก็ยังไม่ต้องเคร่งเครียด เพราะทำข้ามขั้นตอนแล้ว เดี๋ยวจะเสีย เดิน

รักษาจังหวะไปก่อน ลูก หูฟังเสียง ใจรับรู้ เท้าก้าวเดิน ตามจังหวะ
เคลื่อนจิตมาตั้งไว้ที่กลางกระหม่อม เดินประคองจิตไว้กลางกระหม่อมไม่ให้กระเพื่อม

สำหรับรุ่นพี่
ส่วนคนที่มาใหม่ ให้เดินไปตามจังหวะก่อน
รู้อยู่ที่กลางกระหม่อม รู้สึกที่กลางกระหม่อม สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม ไม่ใช่ที่หัว ต้องให้

แม่นยำ เที่ยงตรง กลางกระหม่อมก็คือกลางกระหม่อม ไม่ใช่หน้าผาก ไม่ใช่ท้ายทอย ไม่

ใช่ด้านข้างศีรษะ ตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม นิ่งอยู่ที่กลางกระหม่อม มั่นคงอยู่ที่กลางกระหม่อม

ตรงกลางกระหม่อม ไม่อย่างนั้น มันจะไม่เป็นประโยชน์เลย เหมือนน้ำที่แผ่ซ่านไปไหลทิ้ง

จะไม่มีพลัง จิตต้องแหลมคม มั่นคง และแข็งแรง
เดินประคอง อย่าให้กระเพื่อม ลูก
ผู้มาใหม่ก็เดินรักษาจังหวะ หูฟังเสียง ใจรับรู้ เท้าก้าวเดิน ให้ตรงกับจังหวะ ยังไม่ต้องข้าม

ขั้น ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะเสียหาย พอถึงขั้นสูงๆ แล้วจะพลาด
รู้สึก แต่ไม่ใช่บังคับลมหายใจ หลายคนเดินบังคับลมหายใจ ก็คือ บังคับลมหายใจโดยไม่

รู้สึกตัว เดินเหมือนไม่ค่อยหายใจ ระวังจะกลายเป็นความเกร็ง แล้วขมึงทึงตึงเครียด นั่นน่า

จะไม่ถูกต้องล่ะ แค่รู้สึก รู้สึกว่าจิตตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม  รู้สึกตรงไหน จิตตั้งอยู่ตรงนั้น

แล้วไม่ต้องบังคับลมหายใจ จะเข้า ก็ปล่อยมันเข้า จะออก ก็ปล่อยมันออก อย่างนั้นมันกลาย

เป็นความเครียด แล้วเกิดไอร้อนพวยพุ่งขึ้น มันเหมือนกับลมที่หมุนวนอยู่ในครอบแก้ว

แล้วมันจะเสียหาย จะทำให้ปวดหัว ปวดก้านคอ เมื่อย
เพราะงั้นให้ลมมันเข้าและออกโดยธรรมชาติ เป็นปกติ
เริ่ม
เคลื่อนจิตมาตั้งอยู่ที่ท้ายทอย รู้อยู่ที่ท้ายทอย รู้สึกอยู่ที่ท้ายทอย ตั้งอยู่ที่ท้ายทอย สัมผัสได้

ที่ท้ายทอย ท้ายทอย หรือต้นคอด้านหลัง การที่เคลื่อนจิตไปตั้งอยู่ตามจุดอวัยวะต่างๆ เป็น

ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในวิชาปราณโอสถ ยิ่งตั้งอยู่นานเท่าไหร่ พลังทั้ง 3 ก็จะ

รวมกันได้มากเท่านั้น ในจุดนั้น พลัง 3 ก็คือ พลังปราณ พลังจิต และพลังกาย
ต่อไป เคลื่อนจิตมาตั้งที่หัวเข่า ทุกครั้งที่ก้าวเท้าไปข้างหน้า จิตต้องตั้งอยู่เข่าด้านหลัง เช่น

ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า จิตตั้งอยู่ที่เข่าซ้าย  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า จิตตั้งอยู่ที่เข่าขวาที่อยู่

ด้านหลัง จิตตั้งอยู่ที่เข่าขวา ฝึกอย่างนี้เพื่อให้จิตมีพลังและความคล่องตัว ไม่ใช่นิ่งอยู่กับที่

สรุปแล้ว จิตตั้งอยู่ที่เข่าด้านหลังตลอด ไม่ว่าซ้ายหรือขวา แม้จะร้อนไปทั่วสรรพางค์กาย

ร้อนไปทั่วหัวเข่าและหน้าขา ก็อย่าสนใจ ต้องแม่นยำ ตรงต่อเป้าประสงค์ ถูกจุด เฉพาะเข่า

ด้านหลัง ขาไหนอยู่ข้างหลัง จิตตั้งอยู่เข่าด้านนั้น ขาไหนอยู่ด้านหน้า ไม่ต้องเอาจิตไปตั้ง หัว

เข่า ไม่ใช่ขาพับ
เดินในขั้นที่ 2 ผ่อนคลาย ใครไม่เคยทำ ยกมือขึ้นให้รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ พวกที่มาใหม่น่ะ
ผ่อนคลายไม่ใช่แค่ร่างกาย กล้ามเนื้อ แต่แม้อารมณ์ ระบบประสาท และจิตใจก็ต้องรู้สึก

ผ่อนคลาย ผ่อนคลายโดยถึงขั้นอยู่ในระดับคำว่า ตกภวังค์ หรือใช้คำว่า ภวังค์ คือ ความไร้

อารมณ์  ไม่ต้องแบกยึดถืออารมณ์ใดๆ อย่างนั้นจึงเรียกว่า ผ่อนคลาย ไม่มีอารมณ์ใดเลย

ปรกฏในจิต ไม่ใช่แค่ได้กายเฉยๆ ขั้นนี้สูงสุด จิตต้องตกภวังค์  ภวังค์ คือสภาพที่ไร้อารมณ์

เหมือนกับหลุมดำ เหมือนกับหลุมอากาศที่เครื่องบินไม่สามารถจะบินได้ มันไม่มีอะไรรอง

รับน้ำหนัก จิตมันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีเกิด ไม่มีเปลี้ย ไม่มีเพลีย ไม่มีเครียด ไม่มีอะไร

ทั้งนั้น มันต้องผ่อนคลายให้ได้ในระดับนั้น ถึงจะเรียกว่าสำเร็จประโยชน์ของขั้นที่ 2
แล้วจำไว้ด้วยว่า จะอธิบายอย่างนี้แค่รอบเดียว
เดินขยับไปเข้าสู่ขั้นที่ 3 คนที่มาฝึกใหม่ยังไม่ต้องทำ ลูก ทำขั้นที่ 1ไปก่อน จิตจะ

ละเอียดมากขึ้น ตามดูการเคลื่อนย้ายน้ำหนัก ไม่ใช่แค่ตั้งไว้จุดใดจุดหนึ่ง นี่คือการเคลื่อน

ไหวของจิตอย่างมีอานุภาพ ดูตลอดสายตั้งแต่ต้นจนจบ เหมือนกับนั่งดูภาพ ยืนดูภาพสโล

โมชั่น ช้าๆ เคลื่อนไหวให้เห็นชัดเจน แต่ดูกายในกาย  น้ำหนักที่ถ่ายจากเท้าขวามาเท้าซ้าย

จากหน้ามาหลัง หลังไปหน้า ตามดูให้ชัด
ตามดูสิ่งที่เคลื่อนอยู่ในกายและท่อนขา กระดูกสันหลัง ตะโพก ขา น่อง ฝ่าเท้า ลำตัว อย่างนี้

เค้าเรียกว่า รู้กายในกาย
รู้กายนอกกาย ก็คือ รู้จังหวะ รู้การก้าว
รู้กายในกาย ก็คือ รู้การถ่ายเทน้ำหนัก การเคลื่อนไหวของน้ำหนักกายที่สั่นไหวและโยก

โคลนไปตามกระบวนการก้าว อย่างนี้เค้าเรียกว่า รู้กายในกาย ตามดูให้ชัดตลอดสายอย่า

ให้ขาด ทั้งขวาและซ้าย
สูตรสำเร็จของขั้นนี้เมื่อก้าวไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราตามดูรู้ตลอดสายของการเคลื่อนไหว

ของกายในกาย คือ น้ำหนักที่ถ่ายเทจนครบไม่ขาดเลย ตัวเราจะเบาขึ้น เท้าที่ก้าวไปมันจะ

ลอยเหมือนปุยนุ่น
คนที่มาใหม่ ทำไม่ถูก ยกมือขึ้น รุ่นพี่เค้าจะได้ไปแนะนำ
ให้ดูกายในกาย มึงไม่ต้องไปมองคนโน้นคนนี้ ถ้าเหลอะแหละแล้วมึงจะเห็นไม๊เนี่ย
เนี่ย ตนเป็นที่พึ่งของตน มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน อายุปาเข้าไปปูนนี้แล้ว ยังช่วยตัว

เองไม่ได้ น่าเสียดาย ลูก
ขั้นที่ 3 เนี่ย มันจะต้องเนียนและสุขุมมากกว่าขั้นแรกอีกนะ
อิริยาบทของขั้นที่ 3 มันจะแตกต่างจากขั้นรักษาจิตในระดับที่ 2 ของขั้นที่ 1 เพราะ

ความระมัดระวังมันจะมีมากขึ้น สัมปะชัญญะจะเกิดเยอะขึ้น สติจะเพิ่มพูนมากขึ้น เพียง

เพื่อจะตามดูการเคลื่อนไหวกายในกาย และน้ำหนักที่ถ่ายเทให้ตลอดสาย ไม่ใช่แค่จุดใดจุด

หนึ่ง หรือข้างใดข้างหนึ่ง เท้าหลังส่งกำลังน้ำหนักมาที่เท้าหน้า เท้าหน้ารับน้ำหนัก เหยียบ

และก็ส่งกำลังยกเท้าหลัง ทั้งหมดมันเป็นสายของมัน เหมือนน้ำที่ไหลไม่ขาดสาย จากซ้าย

มาขวา ขวามาซ้าย เพราะงั้น อิริยาบทมันจะเนียน มันจะนุ่ม มันจะสุขุม มันเกือบจะถึงขั้น

คำว่า กายวิเวก คือ สงบกาย
ไม่ย่องก็เหมือนย่อง ไม่ช้าก็เหมือนช้า ด้วยเหตุผลว่า เราต้องการดูทุกขณะของการไหว

กายแห่งกาย
เดินในขั้นที่ 2 ผ่อนคลาย
ดูซิว่า จิตเราอยู่กับภวังค์ไม๊ ยังแบกอารมณ์เดินอยู่หรือเปล่า
หยุดอยู่กับที่ หลับตา
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก เบา ยาว หมด ของเสียในกายให้ออกมากับลมหายใจที่พ่นออกมา
เข้าไปใหม่ ช้าๆ กว้าง ลึก เต็ม  แล้วก็ ออก เบา ๆ ยาว หมด รู้
หายใจเข้า  จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่

2 ข้าง ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ  หายใจออก
สูดลมหายใจเข้า   หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง ลงไป

ที่บ่า ไปที่ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ  หายใจ

ออก
พักนิดนึง
หายใจเข้า  จมูก หลอดลมลำคอ ลงไปที่ช่องท้อง ใต้สะดือ ทะลุไปที่กระดูกสันหลัง ขึ้นมาที่

ต้นคอ กระโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออก จมูก
หายใจเข้า  จมูก หลอดลมลำคอ ลงไปที่หน้าอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ ใต้สะดือ เดิน

ไปที่หัวหน่าว ทะลุไปที่กระดูกสันหลัง ก้นกบ ขึ้นมาตามกระดูกสันหลัง ผ่านสบักไหล่ 2

ข้าง ขึ้นไปที่ต้นคอ กระโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออก จมูก
พักนิดนึง
สูดลมหายใจเข้า  จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง

ลงไปที่กระดูกสันหลัง ก้นกบ ทะลุไปที่หัวหน่าว ใต้สะดือ เหนือสะดือ ลิ้นปี่ หน้าอก ลำคอ

ออกปาก
พักนิดนึง
หายใจเข้า  กว้าง ลึก เต็ม ตั้งแต่บนจนถึงลงไปที่ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ ฝ่ามือ  หายใจ

ออก
อีกที
เข้า กว้าง ลึก เต็ม บนจนลงล่างสุด แล้วหายใจออก
จิตตั้งอยู่ที่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง เลื่อนจิตมาอยู่ที่ปลายนิ้วชี่ 2 ข้าง ดูซิมีอะไรเกิดขึ้นที่ปลาย

นิ้วชี้ ให้แม่นยำ ชัดเจน นิ้วชี้ก็นิ้วชี้  ไม่ใช่รวมนิ้วอื่นเข้าไปด้วย
ดึงจิตกลับมาอยู่ที่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม กักลมทิ้งไว้พักนึง แล้วหายใจออก  เบา ยาว หมด
ทีนี้หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
สูดลมหายใจเข้า ยกมือไหว้พระกรรมฐาน หายใจออก ลืมตา เข้าที่ ลูก