ธรรมะมีไว้กำกับดูแล
กาย วาจา ใจ ให้สะอาด
ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังมานานแล้วว่า เราสวดมนต์กัน ไม่ค่อยได้แปลอาจจะเป็นความเกียจคร้าน หรืออาจเป็นความลำบากหรือยังไงก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ ก็คือมันจะขัดต่ออุดมการณ์และกุศโลบาย ซึ่งใครๆก็คงจะเคยอ่านในบทสวดมนต์แล้วว่าเจตนาในการสวดมนต์นั้น เพื่อทำให้เกิดความเจริญ ความเจริญในที่นี้ หมายเอาการเจริญปัญญา จะทำให้เรา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ถ้าเราไม่รู้จักความหมายของคำสวด หรือไม่รู้ว่าสวดแล้วได้ประโยชน์อะไร มันก็คงจะรู้ จะตื่น จะเบิกบานอะไรกับใครเขาไปไม่ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้นก็ต้องถือว่าที่นี่เป็นกฎที่ต้องตายตัวแล้วก็รับปฏิบัติกันไว้ เป็นปกติ คือ การสวดมนต์แต่ละครั้ง ต้องแปล ๑ วัน ไม่แปล ๑ วัน แต่ยังไงก็ต้องมีบทแปล ก็เพราะฤทธิ์ที่เราไม่รู้ความหมายของบทสวดต่างๆ แม้แต่เวลาไปงานศพลูกหลานชาวบ้านหรือญาติคนสวดเองก็ตาม คนที่ฟังเขาสวดก็ตามบทสุดท้ายที่พระจะต้องสวดให้ฟังเป็นนิจสินเป็นปกติก็คือ "เตสังวู ปะสะโม สุโข" การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขาร ถือว่าเป็นความสุขในโลก เป็นความสุขอย่างยิ่ง"สังขาร" ตัวนี้แปลว่าการปรุงแต่ง ถ้าจะแปลตามใจหลวงปู่ก็ต้องบอกว่าการไม่ปรุงแต่งในสังขารทั้งปวง ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง
พระ เถร เณร ชี เวลามีงานสวดศพ สวดผี งานกินผี งานเผาผี หรือว่างานบรรจุกระดูก ต้องยังสวดบทนี้เป็นบทสุดท้ายว่า เตสังวู ปะสะโม สุโข ก็ฟังกันมาตั้งกี่ร้อยปีแล้วละ แต่ยังสักว่าฟังกันแค่นั้น และก็จบลงกันตรงนั้นไม่มีใครรู้เลยว่า มันแปลว่าอะไร จริงๆ แล้วเขาสวดเพื่อที่จะให้คนอยู่ได้ฟังว่า "การได้สงบระงับแห่งสังขาร คือ สงบระงับความ ปรุงแต่งทั้งปวง เป็นความสุขในโลก เป็นความสุขอย่างยิ่ง" ท่านเจตนาจะสอนคนเป็น ให้รู้จักสงบ ระงับ อย่าเศร้าโศก โศกาอาดูร พูลเทวษ อย่างปรุงแต่งไปตามตามเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ใจรับรู้อารมณ์แห่งความปรุง หรืออย่าปรุงไปตามระบบสังขาร เพราะสังขารที่ปรุงขึ้นมาเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
เมื่อครู่นี้พวกเราก็เพิ่งจะสวดไปอยู่หยกๆ บทสวดอันนั้นตรงกับบทที่สอนไปเมื่อไม่นานมานี้ว่า "รูปังอนิจจังรูปไม่เที่ยง" .... "เวทนา อนิจจา เวทนาไม่เที่ยง" .... "สัญญาอนิจจา สัญญาไม่เที่ยง".... "สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง"...."วิญญาณังอนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์" เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การเข้าไปสงบระงับในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง นี้จึงเป็นบทสวดมนต์ของผู้ที่ปฏิบัติ หรือนักปฏิบัติ
"นักปฏิบัติ" ตัวนี้แปลว่า ผู้ปฏิบัติบ่อยๆ ปฏิบัติอย่างยิ่ง ปฏิบัติเป็นปกติ
"นัก" ตัวนี้แปลว่าบ่อยๆ หรือผู้ชำนาญ บทสวดมนต์ดังกล่าว จึงจะต้องเป็นบทสวดมนต์ของผู้รู้ ผู้ตื่น คนสวดก็ฟังแล้วรู้เรื่อง คนฟังเขาสวดก็รู้เรื่อง เช่นนี้จึงเชื่อว่าสวดให้เกิดการปฏิบัติตรง ถูกต้อง แต่ถ้าไม่เป็นดังกล่าวมา ก็อาจจะเป็นนักปฏิเสธ หรือปฏิปัดไป มันไม่ใช่นักปฏิบัติเพราะว่ามันไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่อง มันจะไปทำเรื่องอะไรให้ถูกได้ยังไง หรือแม่แต่จะไป หยุดเรื่อง ดับเรื่อง แก้เรื่องหรือว่าสงบในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร มันก็คงจะเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นกฎตายตัวของที่นี่ว่า ในเวลาสวดมนต์นั้นเราสวดเพื่อที่จะเน้นให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา จากความรู้เรื่อง รู้เรื่องในบทที่สวด คนฟังเราสวดเขาก็รู้เรื่อง เราผู้สวดเองก็รู้เรื่อง เราต้องรู้เรื่องรู้ราวในบทที่เราสวด แล้วก็สวดให้ตัวเราฟัง อย่าสวดให้คนอื่นเขาฟัง นี่คือประเด็นที่ต้องการให้รู้เอาไว้ เพราะเท่าที่ผ่านๆ มาพวกเราขยันจะสวดมนต์ไม่แปลกันเป็นประจำ ก็เลยกลายเป็นความไม่รู้เรื่องอะไร ก็สวดกันไปอย่างนั้น
อีกอย่างหนึ่งก็คือ "กฎของหอพระกรรมฐาน" การเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน เขามีกฎเกณฑ์กติกาบ่งบอกไว้ ๕-๖ ข้อ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ก็ต้องขวนขวาย เรียนรู้กติกาในการอยู่ร่วมของสังคมที่เราจักเข้าไป เพื่อการปรับตัวเตรียมตัวให้อยู่ร่วมกันได้ โดยความพึ่งพิง อิงแอบ อาศัย รักษาประโยชน์ของกันและกัน ไม่ใช่มาเบียดบังผลประโยชน์ของพวกเรากันเอง แต่เรื่องของเรื่องนั้นก็คือ เพื่อที่จะสร้างเสริมผลประโยชน์ให้แก่พวกเรากันเองให้มากที่สุด และการที่เราก้าวเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน ที่ต้องสงบสำรวมเรียบร้อยนั้นก็เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนคนให้เป็นผู้ตื่น ขึ้นมาอย่างมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมรอดพ้นจากความโง่ หลงและหลับใหล ไม่เข้าใจอะไรการที่เราจะต้องระแวดระวังในกิริยาอาการขณะที่เข้ามาสู่หอพระ กรรมฐาน ด้วยความรู้สกึว่ามันเป็นสถานที่สิงสถิต แห่งวิญญาณและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิบาน หรือเป็นที่อยู่พักอาศัยของพระศาสดา พระพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง ซึ่งเราทั้งหลาย เข้ามาอยู่ท่ามกลางมหาสมาคม ของท่านคุรุ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อเราทำความรู้สึกได้ดังนี้ เราก็จักเกิดความระแวดระวัง ระมัดระวังกาย วาจา ใจของตน พอเราเกิดความระแวดระวัง ระมัดระวัง กิริยาอาการ กาย วาจา ใจแล้วเราก็จะเป็นผู้ดำรงสติ ตั้งมั่นเฉพาะหน้า ความสงบ สำรวม มันก็จะตามมา ตรงกับคำว่า "เตสังวู ปะสะโม สุโข" การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขารเป็นความสุขอย่างยิ่ง
เมื่อสติตั้งมั่นเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ความสงบ สำรวมระแวดระวังเกิดขึ้น นั่นก็ถือว่าเป็นการเจริญมหาสติ เมื่อเราเจริญมหาสติให้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถทั่วพร้อม ความกลัวแห่งอารมณ์ทั้งปวงก็ไม่ปรากฎ ความคิดยุ่งฟุ้งซ่าน รำคาญ อึดอัด ขัดเคือง ก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเราระแวดระวังตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น การยืน เดิน นั่ง นอน ย่าง ก้าว เหยียด คู้และก็จะรู้สึกตัวทั่วพร้อมในตัวเรา ความผิดพลาด บกพร่องไม่ถูกต้อง ก็จะไม่มีในกาย วาจา ใจ อิริยาบถเหล่านี้ มันเป็น"อิริยาบถของผู้สะอาด"
ธรรมะนั้น เขาไม่ได้มีให้เรานำเอามาคุยอวดกัน หรือมีเอาไว้จดใส่ตำรา หรือมีเอาไว้คุยและก็แสดงตนว่า ข้าเป็นผู้เก่งกาจธรรมะ แต่ธรรมะเขามีเอาไว้กำกับดูแล กิริยาอาการของเรา ให้ละเมียดละไม เรียบร้อย อ่อนช้อยสวยงาม เป็นสตรีก็เป็นกุลสตรีที่เหมาะสม ควรต่อการให้เกียรติและยอมรับของกุลบุตร ถ้าเป็นผู้ชาย ก็เป็นสุภาพบุรุษที่เยี่ยมยอดองอาจ กล้าหาญ โดดเด่น เด็ดเดี่ยว ซื่อตรง และก็มั่นคง ฉลาด เพราะธรรมะจะช่วยสร้างเสริมบุคลิกภาพของตนให้เป็นคนกล้าทำ กล้าพูด กล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องปฏิเสธสิ่งที่ผิดพลาด นั่นคือคนคนนั้นมีธรรมะ
ธรรมะมีเอาไว้กำกับดูแลกาย วาจา ใจของคนให้อยู่ในระบอบตรงกับระบบ ลบความผิดพลาด ทำลายสิ่งที่ชั่วร้าย ที่เกิดจากกิริยา อาการ กาย วาจา ใจ ให้หมดลดน้อยลงไป เพราะฉะนั้นคนที่มีธรรมะ ไม่จำเป็นต้องไปคุยโวโอ้อวด ไม่จำเป็นต้องเสวนา สังสรรค์เพียงแค่เราเดินย่างก้าว เข้าไปในบริเวณที่อยู่ของพวกท่านเหล่านั้น สังคมหมู่นั้น ท่านผู้นั้นก็จะแสดงให้เราได้เห็น ได้รับอานุภาพ รับพุทธานุภาพ รับธรรมานุภาพ และความบริสุทธิ์แห่งะรรมะ ที่อยู่ในหัวใจของท่านผู้นั้นและรอบๆ บริเวณสถานที่อยู่ของท่านเหล่านั้น
เราจะสังเกตเห็นว่า เมื่อใดที่เราย่างก้าวเข้าไปสู่สถานที่ของผู้ที่มีธรรมะ ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า ตั้งแต่บันไดยันที่นอน หรือตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบย่างเข้าไป สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม สถานที่อยู่แห่งผู้มีธรรมะเขาสะอาดตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงก้าวสุดท้าย หมดจด ละเอียดอ่อน ละเมียดละไม เรียบร้อยแล้วมันจะสวยงามเอง ไม่ต้องไปปรุงแต่งเติมแต้ม สี กลิ่น เสียงแสง
แต่คนที่มีธรรมะอยู่ที่ริมฝีปาก มีธรรมะอยู่เพียงแค่สมองและความทรงจำ มีธรรมะเพียงแค่ในตำราละก็ มันจะเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน เต็มไปด้วยขยะ หยากเยื่อหยากไย่ มีอะไรๆ ที่มันไม่ค่อยเป็นระบบ ขาดระเบียบ และก็ไม่เรียบร้อย กิริยาอาการที่แสดงออกมาก็จะดูเคอะเขิน เลอะๆ เลือนๆ เหมือนกับคนบ้าๆบอๆ หรือง่อยเปลี้ยเสียขา ขาดปฏิกิริยา และสามัญภาพในการทำพูด คิดที่ถูกต้อง พร่องความสมบูรณ์แบบเหมือนกับอวัยวะที่ไม่ครบ ๓๒
รวมความแล้วธรรมะ คือเครื่องเสริมสร้างจรรโลงและเจือจุนให้บุคคลนั้น กิน ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตด เรื่องทั้งหมดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องเรียบร้อยเป็นปกติ นั่นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ ก่อนที่จะมีการบวชพระบวชเณรก่อนที่จะมีการบวชเนกขัมมะ หอพระกรรมฐานหลวงปู่เข้าๆ ออกๆบ่อยครั้ง อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นธรรมะมันยังเยอะ พักหลังนี่ได้เข้าไปพบว่าห้องน้ำเข้าไปก็ขยะแขยง ขึ้นมาบนหอพระกรรมฐาน มองไปตามพื้นก็มากมีไปด้วยฝุ่น หน้าโต๊ะหมู่บูชาก็ฝุ่นหนาฝุ่นหนาเท่ากับกระดาษ หนังสือพิมพ์ แล้วพวกท่านได้เข้ามานั่งปฏิบัติกรรมฐานกันได้ทุกวันๆ สวดมนต์ปฏิบัติธรรมกันได้ทุกวัน แล้วจะเอากรรมที่เป็นฐานหรือฐานที่ตั้งแห่งกรรม ของการกระทำดีได้อย่างไร ในเมื่อตราบใดที่การย่างก้าว เหยียบ ยื่น เดินคู้ของพวกเรานั้น ยังสกปรกรกกรุงรัง เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
คนที่เขาจะมีธรรมะชั้นสูงนั้น เขาไม่ใช่ดูที่การยืนชูคอนั่งชูคอ อวดอ้างคุณภาพ ความรู้ความสามารถ เขาดูที่กิริยา การกระทำ ดูที่สิ่งแวดล้อมที่น้อมนำมาให้แสดงออกว่า คนคนนี้สะอาด หลวงปู่เคยสอนลูกหลานว่า
"ถ้าจะดูใครเป็นคนสะอาด ต้องดูที่การงานของเขาว่าเขาทำเพื่อประโยชน์สุข ส่วนรวมเป็นใหญ่หรือไม่ โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนเอง ยอมเสียสละเพื่อผู้อื่น อย่างชนิดที่ไม่คิดว่าจะได้อะไรตอบแทน เช่นนี้ต่างหาก จะถือว่าเป็นคนสะอาด และต้องสะอาดแม้กระทั่งการเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และสุดท้ายต้องเป็นผู้ซื่อตรงด้วย"
"ถ้าจะดูว่าใครเป็นคนที่มีสติ มีสมาธิ มีพลังอำนาจ ก็ต้องดูตอนที่เขาเกิดเรื่อง ว่าเขาสามารถรักษาทรงอารมณ์ของเขา ไม่ให้กระเพื่อม ไม่ให้ไหวอ่อนยวบยาบ สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ เปรียบประดุจดั่งขุนเขาที่ไม่สะท้านต่อกำลังของแรงลมพัด ก็ถือว่าเขามีธรรมะมีสติ มีสมาธิ มีพลัง เป็นคนคิดสะอาด"
"และถ้าอยากจะดูว่า ใครเป็นคนมีปัญญา ก็ต้องนั่งสนทนาอยู่กับเขา ดูว่า กิริยาอาการของเขา การวางตัวของเขาสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้อยู่ร่วมสนทนาด้วย มีปัญญาเพิ่มขึ้นแค่ไหนความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ความเข้าใจที่มีต่อสรรพสิ่ง สรรพวัตถุสรรพชีวิต กระจ่าง สว่าง แจ้ง ถูกต้อง ซื่อตรง ดำรงความจริงได้แค่ไหน ถ้าเราอยู่สนทนากับเขา และได้ความกระจ่างดังกล่าวแล้ว เช่นนี้จึงเรียกว่าผู้มีวาจาสะอาด แต่ถ้าไม่มีดังกล่าวมาถือว่าคนเหล่านั้นไม่มีธรรมะ มีแต่ธรรมเมา มันเมาไปด้วยกิริยาอาการของความหลงงมงายเชื่อง่าย ธรรมะนั้นถ้าอยู่กับตัว และในหัวใจของใครแล้ว จะทำให้อะไรๆ ในสิ่งแวดล้อมของคนคนนั้นดีไปหมด เจริญไปหมด เรียบร้อยไปหมด แล้วก็ดูสวยไปหมดแต่ว่าธรรมเมา มันอยู่ในกิริยาอาการและใจของใคร คนคนนั้นจะอยู่ในที่ใดๆ ก็มีแต่ความรก สกปรก เลอะเทอะเปรอะเปื้อน แล้วก็สับสนวุ่นวาย สร้างแต่ปัญหา เพราะเกิดจากตัณหาของผู้ไม่มีธรรมะ"
ฉะนั้น จึงอยากจะบอกท่านทั้งหลายเอาไว้ว่า อย่าได้ไปประกาศให้ใครเขารู้ว่า เราเป็นผู้มีธรรมะ ถ้าเมื่อใดที่นี่นั่งของเรายังสกปรก ที่นอนของเรายังรกรุงรัง ผ้าผ่อนท่อนสไบของเรายังมีกลิ่นเหม็นสาบ หรือยังมีคราบเหงื่อไคลเยอะแยะ กิริยาอาการของเรายังไม่ละเมียดละไมไม่ละเอียดอ่อน ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำลายธรรมะ และอย่างไปบอกใครว่า เรารู้ธรรมะ เราเข้าใจธรรมะลึกๆ และควรจะสอนธรรมะ หลวงปู่เห็นพวกท่านพูดสอนธรรมะ นั่งสมาธิกรรมฐานในหอนี้ก็เป็นสิบๆ วันแล้ว ที่ไหนได้.....ที่นี่ก็ยังมีเหมือนเดิมตรงไหนที่ยังมีรอยตืนหมาอยู่ ก็ยังมีเหมือนเดิม ในห้องส้วมที่ยังมีคราบอะไรต่อมิอะไรติดอยู่ตามซอก ตามมุมก็ยังเหมือนเดิม รอบๆ บริเวณยังสกปรกรกรุงรังอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม บนศาลา น้ำที่อยู่ในบ่อบัวในอ่างบัวแห่งอย่างไร ดูกี่วันกี่วันก็ยังเหมือนเดิมรอบๆ มีขยะกล่องนมหมากัดเล่น มีกากมะพร้าวหมากัดเกลื่อน อย่างไรก็ยังเหมือนเดิม แล้วก็ใช้เป็นที่ประชุม ฟังธรรม ใช้เป็นที่กิน ที่นอน สำหรับนักปฏิบัติเหมือนเดิมอย่างนี้ มันจะเป็นผู้มีธรรมะไปได้อย่างไร โถ....ช่างน่าอนาถเสียจริงๆ
เมื่อก่อนนี้หลวงปู่อยู่กัน ๒-๓ รูป สะอาดเรียบร้อย ถือว่าเราแก่ธรรมะ แก่กระทำ ผู้ที่มีธรรมะเขาลงมือกระทำนะไม่ใช่มีธรรมะแล้วนั่งบ่นท่องจำอย่างเดียว แต่เวลานี้อยู่กันร่วมครึ่งร้อย อะไรๆ ก็พลอยเละเทะไปหมด นี่แสดงว่ายังไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม พูดอย่างนี้ไม่ได้บ่นให้พวกท่านไม่สบายใจ แต่ต้องการจะพูดให้พวกท่านได้เข้าใจ และให้รู้ว่า หัวใจของพวกท่านยังไม่ได้มีธรรมะสิงสู่เข้าไปอยู่เลย มันเป็นเพียงแค่การฟัง จำ แล้วก็นำเอาไปคุยกันเป็นการรู้ธรรมะด้วยสัญญาเท่านั้นเอง "สัญญา" ก็คือความทรงจำ
ถ้าตราบใดที่เราเห็นขยะแล้วยังหน้าชื่นตาบานอยู่ได้แสดงว่าเรายังไม่เป็นผู้มีธรรมะ
ตราบใดที่เรายังเห็นของที่วางอยู่เลอะเทอะไม่เข้าที่เข้าทางแล้ว ยังสบายใจ เดินผ่านไปผ่านมา ไม่ตะขิดตะขวงใจแล้วละก็ แสดงว่าเรายังไม่เป็นผู้มีธรรมะ
ตราบใดที่ยังเดินผ่านไปผ่านมา แล้วขี้ดินยังติดหัวบันไดอยู่ ยังมีรอยตีนหมา ตีนแมว ตีนคน เกลื่อนเลอะเทอะไปหมด อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะ
มีนิทานโบราณเรื่องหนึ่ง เขาสอนเอาไว้ว่า เณรน้อยรูปหนึ่งอยากจะขึ้นไปเรียนกรรมฐานจากครูผู้วิเศษบนภูเขาใหญ่ ในขณะที่เดินผ่านขึ้นไป ก่อนจะถึงกุฎิของครูผู้วิเศษได้เห็นราวตากผ้าของครูถอดออกมาจากก้นรูปใดก็ พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดก้นพรึบลงจากเขาเลย ทั้งๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการ ตากผ้าของครูที่ถอดออกมาจากก้นรูปใดก็พาดบนราวรูปนั้น เห็นวิธีการตากผ้าของครูแล้วเณรไม่ยอมเรียน
มีคนถามว่า "อ้าว! เณรเรียนสำเร็จแล้วหรือ? ขึ้นไปไม่นานลงมาแล้ว"
เณรตอบว่า....."ไม่ได้เรียน"
ถามว่าทำไม?
เณรตอบว่า...."ไม่มีครูที่ดี"
"อ้าว ก็ไปอยู่ข้างบนนั่นละใคร"
เณรตอบว่า..... "นั่นไม่ใช่ครู เพราะตัวของครูยังทำตัวเป็นรูอยู่เลย เรื่องของตัวเองแท้ๆ ยังไม่สามารถบริหารให้อยู่ในระเบียบเรียบร้อยได้ แล้วจะมีปัญญาไปสอนการบริหารคนอื่นให้ดีได้อย่างไร แค่ผ้าผ่อนสะบัดออกมาจากกัน ยังพาดส่งเดช โดยไม่ยอมจะตากจะพับทำให้มันดียังจัดระเบียบไม่ได้ แล้วจะมีหน้าไปจัดระเบียบของใคร ให้เป็นระบบของใจต่อลูกศิษย์ได้"
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะนี้ มันเป็นของละเอียดอ่อนอยู่ใกล้ๆ ตัวเรา อยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายเลือด คนที่เขามีธรรมะนี้ เขามีธรรมะอยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายเลือดอยู่ในชีวิตความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช่มีธรรมะอยู่แค่ริมฝีปากและความทรงจำแล้วเสแสร้งกระทำแสดงออก ถามว่าหลวงปู่จำเป็นต้องใช้ธรรมะไหม กับการสร้างที่นี่เพียงระยะเวลาไม่นานนัก ก็นี่แหละคือตัวการแสดงผลงานของตัวธรรมะ ถ้าไม่มีธรรมะ คงจะสร้างอะไรๆ อย่างนี้ไม่ได้ โดยใช้เวลาไม่นานนัก และกำลังคนก็ไม่เยอะเท่าไหร่ แต่เพราะตัวธรรมะ มันทำให้หลวงปู่รู้จักอะไรควรไม่ควร รู้จักอะไรมาก่อนมาหลัง รู้จักกาล รู้จักสมัย รู้จักคนรู้จักประมาณ รู้จักเวลาที่เหมาะและไม่เหมาะ รู้ว่าอะไรควรกระทำและไม่ควรกระทำ รู้จักว่าสร้างแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ต่อใคร
ตราบใดที่พวกท่านยังเดิน ก้าวข้ามกองขี้หมาของที่ยังใช้ส่วนรวมยังปล่อยใช้เกะกะ อย่าไปบอกใครเขานะว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมะ
ครั้งหนึ่งหลวงปู่เคยก้มกราบตีนเณร คือเห็นกองขี้หมามันเรี่ยราดอยู่หน้าโบสถ์ สมภารเดินผ่านก็มองข้ามกองขี้หมา รองสมภารเดินผ่านก็ข้ามกองขี้หมา พระผู้เฒ่า เด็กเล็ก พระใหม่ พระเก่า ก็ข้ามเดินผ่านกองขี้หมา แต่มีเณรองค์หนึ่งเดินผ่านมาไม่ข้าม รีบไปหากระดาษหนังสือพิมพ์มาเช็ด หลวงปู่ชอบใจลงนั่งคุกเข่ากราบเขาเลยแล้วพูดว่า แหม!ธรรมะอันวิเศษในตัวท่านช่างยิ่งใหญ่อะไรปานนี้ คนมีธรรมะอยู่ในหัวใจนั้น มักทำให้ทุกอย่างที่ผ่านพบ แล้วประสบความสำเร็จด้วยความจริงใจเสมอ
ถ้าตราบใดที่เราเห็นกองขี้หมาเกลื่อนกลาดแล้วยังสบายใจ ยิ้มร่าหัวเราะได้ อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะแล้ว ธรรมะตัวที่เช็ดกองขี้หมามันคือธรรมะตัวไหน ถ้าจะบอกให้ฟัง ก็ต้องบอกว่า นั่นแหละคือตัวธรรมะที่ยิ่งใหญ่ที่ทำลายอัตตา ความถือตัวถือตน มานะ ทิฐิ ทรนง จองหองเห็นแก่ตัว ใจคับแคบ ตระหนี่ โดนทำลายไปกับการหยิบกระดาษไปเช็ดกองขี้หมาด้วยมือตน เลยทำให้ความเสียสละอนุเคราะห์ต่อสรรพสัตว์ และผู้คนทั้งหลาย เอื้ออาทรต่อส่วนรวม หวังประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นใหญ่ ทำให้มีใจการุณย์ อุดหนุน โดนสร้างสรรค์ส่งเสริมให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาด้วยการเดินไปหยิบกระดาษมาเช็ดกอง ขี้หมา เราจะเห็นว่ามันเป็นคุณธรรม เป็นธรรมะที่เรียนจากตำราไม่ได้ จากครู จากปากของคนใดก็ไม่ได้ แต่มันได้มาจากการที่เราลงมือทำมัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีธรรมะนี้ ไม่จำเป็นต้องมานั่งสวดมนต์อ้อนวอนขอพรพระเจ้า หรือไม่จำเป็นต้องมานั่งหลับหู หลับตา แสดงท่าเป็นผู้วิเศษ ผู้ที่มีธรรมะนั้นก็คือ กิริยาอาการใดๆ ก็แล้วแต่ที่ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เอื้ออำนวย สรรพสัตว์ ให้เกิดสรรพสุข พ้นจากสรรพทุกข์ทั้งปวงได้ นั่นถือว่ากิริยาอาการเช่นนั้นเป็นคนมีธรรมะเดินไปกลางถนน เก็บขยะ มูลฝอย ที่รกอยู่กลางทาง ก็ถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะแล้ว มีธรรมะดีกว่าพวกที่นั่งหลับตาอยู่ในโบสถ์ ในวิหารศาลาการเปรียญเสียอีก
ลูกรัก..... ต่อให้เจ้าไปเรียนธรรมะในโรงเรียนวันละ ๑๐๐ ชั่วโมง สำหรับพ่อแล้ว สู้เดินไปข้างหน้า เห็นหญ้ามันขึ้นรกรุงรัง เอื้อมามือไปเด็ดหญ้าด้วยความเอื้ออาทรและคิดว่า คนมาข้างหลังจะไปเหยียบหญ้าสะดุดล้มสำหรับพ่อแล้วกิริยาอาการ และอิริยาบถที่เอื้อมมือไปเด็ดหญ้านั้น มีค่ายิ่งกว่าเรียนธรรมะในโรงเรียน ๑๐๐ ชั่วโมงเพราะคนที่เรียนในโรงเรียน ๑๐๐ ชั่วโมง ในข้อธรรมะนั้นๆก็ยังให้ประโยชน์ต่อโลก และสังคมไม่ได้ เพียงแค่จำกและก็ท่องให้ถ้อยคำกระดกอยู่ที่ปลายริมฝีปากและปลายลิ้นเท่านั้น เอง
ธรรมะอย่างนี้ ยังไม่สำเร็จประโยชน์ ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมะ อาจจะยังเมาอยู่ ถ้าตราบใดที่ยังเอื้ออำนวยประโยชน์สุข ให้แก่โลกและสังคม รวมทั้งตนเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกหลานทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ ก็ให้เข้าใจว่า พวกเรายังไม่ได้มีธรรมะอะไร กับใครเขาสักเท่าไร
หลวงปู่นี่ พวกอวดอ้างตนว่าเป็นอรหันต์ทั้งหลายเขาเคยมาลองของเยอะแยะ และก็เคยไปดูที่อยู่ของพวกอรหันต์ทั้งหลาย พอเห็นแล้วเลยบอกว่าพวกนี้ มันไม่ใช่อรหันต์ มันเป็นหมูหัน! เพราะว่าตั้งแต่หัวนอนจรดปลายเท้ายังมีขยะหยากเยื่อหยากไย่ เลอะเทอะและรอบๆ ที่อยู่อาศัยมันก็ยังสกปรกรกรุงรัง กิริยาอาการถึงแม้ว่าจะแสดงออกซึ่งความละเอียดอ่อน การแสดงธรรมที่ดีเยี่ยม การพูดที่เก่งกาจ นั่นอาจจะมาจากมายาการก็ได้ ถ้าตราบใดที่ยังไม่สามารถจัดระเบียบกายของตนให้ดีขึ้นมาได้ ใจเขาจะมีระบบที่ดีไม่ได้ มันยากไม่งั้นโบราณเขาคงไม่มีคำสอนหรอกว่า "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล การกระทำส่อความไพร่สถุล" หรือไม่ก็ไม่มีคำสอนที่เป็นของปราชญ์ราชบัณฑิตเขาสอนกันเอาไว้หรอกว่า "การกระทำทั้งหลายมีใจเป็นนายใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า"
เราลองมานึกดูซิว่า ถ้าธรรมะเกิดขึ้นอยู่ในใจใครแล้วมีหรือการกระทำมันจะขัดกัน กัดกัน ตีกัน เตะกัน มีเรื่องมีราวต้องทะเลาะวิวาท บาดหมาง และก็จะมีหรือว่า คนที่มีใจที่เป็นธรรมะ จะเดินผ่านไปพบกับของกองขยะจะไม่เก็บเป็นไปไม่ได้ คนที่เขามีธรรมะ เขารู้จักกิริยาอาการ รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควร รู้จักความถูก ความผิด รู้จักความเหมาะสม และไม่เหมาะสม นั่นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ เป็นคนที่ละเมียดละไม ละเอียดอ่อน
เพราะฉะนั้นคำจำกัดความสำหรับธรรมะก็คือธรรมะวินัยนี้มิใช่ยังให้ เกิดความล่าช้า แต่มันยังให้เกิดความรวดเร็ว เร่งรีบให้ทันการณ์ ทันสมัย รวบรัด และก็เรียบร้อย ถือว่านี่คือประโยชน์แห่งธรรมวินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ยังให้เราเกิดความมานะบากบั่น อดทน อดกลั้น ขยันหมั่นเพียร และปฏิบัติพากเพียร เล่าเรียนท่องบ่นท่องจำ กระทำให้ได้ประโยชน์ ทำลายสิ่งที่เป็นโทษทำให้เกิดประโยชน์ตน คนอื่นและส่วนรวมได้ด้วย
และถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นผู้รู้ธรรมะ ก็ต้องเอามาเปรียบเทียบกับตัวเองว่า เวลานี้เราเป็นคนอดทนอดกลั้นต่ออะไรได้บ้างหรือไม่ มีความซื่อตรง จริงใจการุณย์ ฉลาดขึ้นมาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคนหลังยาวเกียจคร้านไหม เวลานี้เรามีจิตใจเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละให้กับใครเขาได้บ้างหรือไม่เวลานี้เราเป็นคนที่มีจิตใจที่จริงจัง และก็มีความจริงใจต่อคนอื่นเขาบ้างหรือเปล่า เวลานี้จิตใจของเรากว้างขวาง ยอมรับเหตุและผลของคนอื่นเขาแล้วหรือยังเวลานี้ตัวของเราเองนั้น ทำตนเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นและตนเองได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าวิเคราะห์ได้อย่างนี้ว่าตัวเองดีตลอด หรือสมบูรณ์ทุกเรื่อง ก็ถือว่าเราเป็นผู้เจริญในธรรม มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย มีธรรมะเป็นเครื่องไป และก็มาด้วยพระธรรม
แต่ถ้าตราบใดที่สิ่งทั้งหลายที่กล่าวออกไปเมื่อครู่นี้ มันยังไม่ได้ปรากฎต่อตัวท่าน ยังมีการทำ พูด คิดที่ไม่มีประโยชน์ต่อตนและคนอื่น มีแต่โทษ และก็มีความละโมบโลภมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมะ ก็จงรู้เถิดว่า เรายังไม่ใช่เป็นผู้เข้าใกล้ธรรมะ ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่ด้วยธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ และก็ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องไป แถมไม่ได้มาด้วยธรรมะ แต่มันมาด้วยอำนาจของกรรมที่เป็นอกุศล คือการกระทำที่ไม่ฉลาด ผลที่รับจึงได้บ้างเสียบ้าง
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจว่าสำหรับหลวงปู่แล้ว ถ้าจะดูคนมีธรรมะ ไม่ใช่ดูที่หลับตาเก่ง คุยเก่ง แสดงเก่ง อวดเก่ง หรือว่าพูดเก่ง ทำเป็นเก่งแต่ดูที่กิริยา ที่กำจัดความระยำของตนเก่งแค่ไหน ถ้าหลวงปู่จะดูง่ายนิดเดียว แค่เดินให้เห็นก็รู้ว่า คนไหนมีธรรมะ ไม่มีธรรมะ คนที่เดินอย่างคนมีธรรมะ กับคนที่เดินอย่างขาดธรรมะ เดินต่างกันราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว เดินต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือเลย คนที่มีธรรมะเวลาพูด เวลานอนเวลาคุย เวลากิน เวลาขี้ เวลาเยี่ยว เวลาเข้าส้วม มันต่างกับคนที่ไม่มีธรรมะราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว แล้วเราก็ค่อยๆสังเกตดูว่า มันต่างกันอย่างไร ข้อจำกัดความสำหรับคนที่มีธรรมะ หรือคนที่เรียนรู้ธรรมะ มีธรรมะอยู่ในหัวใจ คือมีชีวิตอย่างไร้สาระ การุณย์ ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ ไม่จำเป็นต้องไปเรียบรู้ จดจำอะไรมากนัก เมื่อใดที่เราเดินไปเจอเศษกระดาษ แล้วยังหน้าด้านเดินข้ามผ่านไปได้แล้วละก็นั่นสอบตก
เข้าส้วมแล้วปล่อยให้น้ำมันไหลโจ๊กๆ ไฟมันยังเปิดสว่างโล่อยู่หรือว่ายังมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจอยู่ในส้วม แล้วยังเดินสะบัดก้นออกมาจากส้วมได้อย่างสบายใจละก็ นั่นสอบตก
ยังไม่ตะขิดตะขวงใจ ขณะที่ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีขึ้นนั่นสอบตก
ถ้าตราบใดที่เรายังเดิน ผ่านเพื่อน ผ่านผู้หลักผู้ใหญ่ผ่านผู้ควรต่อการเคารพ ไม่พินอบพิเทา ไม่ก้มหลัง ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้การยอมรับต่อกติกาสังคม และปฏิเสธระเบียบนิยมใดๆ นั่นสอบตก
ถ้าไม่รู้จักว่าของอะไรควรต่อตน และไม่ควรต่อตนของอะไรเป็นของพระ ของอะไรเป็นของชาวบ้าน ของอะไรเป็นของที่เหมาะสม ควรใช้ ของอะไรที่ไม่เหมาะสมไม่สมควรใช้ ก็ถือว่านั่นสอบตก
ถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าอันไหนเป็นของครูบาอาจารย์ อันไหนไม่ใช่ของครูบาอาจารย์ อันไหนเป็นเรื่องเป็นราวของตน อันไหนเป็นเรื่องเป็นราวของตน อันไหนเป็นเรื่อง เป็นราวของส่วนรวม อันไหนเป็นสิ่งที่ควรจะเคารพยอมรับอันไหนเป็นสิ่งที่ไม่ควรเคารพยอมรับ นั่นสอบตก
เหมือนอย่างเมื่อเช้านี้ เสื่อที่หลวงปู่ใช้นอนเอง ลูกศิษย์มันยังไปลากลงมานั่งกลางดิน ถือว่ามันไม่มีธรรมะอะไรขนาดของครูบาอาจารย์สำหรับใช้รองนอน มันยังเอามารองนั่งเหยียบย่ำ
ถ้าอยากจะเคารพหลวงปู่ ครูบาอาจารย์ละก็ เอาสิ่งที่หลวงปู่และครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอน กลับไปประพฤติปฏิบัติให้เห็นผล และพยายามปรับตัวให้เข้ากับ กติกา สังคมเวลาจะเดินทางไปแห่งหนตำบลใด ทิศใด ชาวบ้านเขาจะมาสะกิดสีข้างถามเองว่า ท่านเป็นลูกศิษย์ของใคร ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ทำใมช่างละเมียดละไมดีพร้อมอย่างนี้ นั่นแหละถือว่าเป็นการเคารพครูบาอาจารย์แล้ว ชื่อของครูบาอาจารย์ ก็จะกระจาย กระฉ่อน เลื่องลือไปไกลในทางที่ดีที่ถูกต้อง
แต่ถ้าตราบใดท่านเอาแต่มานั่งกราบนั่งไหว้ แล้วกิริยาอาการในหัวใจยังระยำอัปรีย์ ทำสิ่งกาลีติดตัวอยู่เป็นประจำไปไหนใครๆ ก็เห็นมีแต่ความระยำตลอด เขาก็จะมาสะกิดสีข้างถามเหมือนกันว่า พ่อแม่ชื่ออะไร ครูอยู่ที่ไหน ทำไมสอนระยำอย่างนี้ การที่มีชีวิตอยู่แบบใช้ธรรมะแล้วให้ชาวบ้านเขามานั่งกราบอย่างนั้นก็ไม่ใช่ เรื่องดีนักมันเท่ากับว่า ทำให้ตัวเองต้องอับเฉา เสียหายลงไป ครูบาอาจารย์ ใครเป็นพ่อเป็นแม่ ก็พลอยซวยไปด้วยเหมือนกัน
ฉะนั้น หลวงปู่จึงบอกว่า ไม่ชอบที่จะให้ใครมายก มากราบ มายอมรับ แต่ที่ต้องสอนให้ยอมรับ ยอมรู้ ยอมดูยอมเห็น ยอมกระทำจะได้เป็น จะได้ไม่ทำเป็นพวกตากระทู้หูกระทะ คือมีตารอบตัว แต่มองอะไรไม่เห็น หูมีก็ฟังไม่ได้เอาไว้ใช้จับ ใช้หิ้วอย่างเดียว ถือว่าไม่รู้จักอะไรควรอะไรไม่ควร คนที่มีธรรมะ เขารู้จักใช้สมมติได้อย่างสมบูรณ์ ให้ความเคารพในสมมติ ยอมรับสมมติ ให้เกียรติสมมติ เขาสมมติว่านี่คือครู นี่คือพ่อ นี่คือแม่ นี่คือลูก นี่คือผัว นี่คือศิษย์ นี่คือเพื่อน นี่คือผู้อาวุโส นี่คือผู้อยู่ใกล้ เมื่อเขาสมมติกันมาอย่างนี้ เขาก็มีกฎเกณฑ์ของความเป็นสมมติว่า อยู่กับครูต้องทำกิริยาอย่างไรอยู่กับพ่อแม่ทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระธรรม ต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระสงฆ์ต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่ในสถานที่เช่นนี้ต้องทำกิริยาอย่างไร และถ้าเรายอมรับกับกิริยานั้นๆ แล้วกระทำปฏิบัติตาม ถือว่าคนคนนั้นเป็นคนมีธรรมะ เพราะธรรมะตัวนี้ มันเป็นตัวขัดเกลา ทำให้เราอ่อนโยน ยอมรับเหตุและผลของคนทั้งหลาย รวมทั้งทำตัวเองให้เป็นที่ยอมรับได้
แต่คนที่มีธรรมเมา เขาจะทำให้ตัวเองแข็งกระด้างไม่ค่อยยอมรับอะไร เดินชูงวง ทำเป็นปูชูก้ามื ช้างชูงวง กิ้งก่าชูคอมีแต่ความเสื่อมทรามและเสียหาย ทำลายตัวเองด้วยความไม่รู้ กฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ก็ไม่เรียนรู้ไม่ยอมรับ ทำหน้าที่พ่อไม่เป็น ทำหน้าที่เมียไม่เป็น ทำหน้าที่ผัวไม่เป็น ทำหน้าที่ลูกไม่เป็น ทำหน้าที่อาจารย์ไม่เป็น ทำหน้าที่ศิษย์ไม่ได้ แม้แต่ทำหน้าที่ให้แก่ตัวเองก็ไม่สนใจไม่เป็น แล้วจะอยู่กับใครเขาได้
เพราะฉะนั้นคนที่มีธรรมะ เขาไม่ได้ดูกันว่า ปริญญาพ่วงท้ายกี่ใบ หรือว่าสำเร็จเป็นมหาได้เปรียญ ๓ ประโยค ๙ ประโยค อะไรนั้น เขาดูกันว่า มีหน้าที่อย่างไร และทำหน้าที่อย่างนั้นสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน นั้นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ เรียกว่าถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
เพราะฉะนั้น ชั่วชีวิตของหลวงปู่ ไม่ชอบให้ใครมายกแต่ก็ไม่อยากให้ใครเขามาเหยียบคนที่เป็นลูกศิษย์ของตน เหตุผลก็เพราะว่าคำว่ายกตัวนี้มันหมายถึง ยกด้วยกิริยาอาการแห่งความต้องพินอบพิเทา เคารพยกย่อง เช่นนี้ไม่อยากจะให้เป็น ไม่อยากจะให้ใครมาโกหกหลอกลวงตัวเองอย่างนั้น ถึงว่าท่านจะมากราบเช้า กราบกลางวัน กราบเย็น กราบกลางคืน แต่หัวใจอัปรีย์ระยำละก็ ไม่อยากให้กราบเลยให้ตายเหอะ เหมือนกับเอาขี้มาทาทองเอาทองมาปิดไว้ในกองขี้ ใครเขาชอบกันบ้างละ หลวงปู่ไม่ชอบเลย แต่ที่ต้องสอนว่านี่ที่นั่งของพระ นี่ที่นั่งของครูนี่ที่นั่งของอาจารย์ นี่ที่นั่งของหลวงปู่ ก็ต้องการจะบรรเทาและทำลายหัวใจอัปรีย์กาลีระยำที่อยู่ภายในใจของศิษย์ ให้มันลดน้อยถอยลงไป การรู้จักกาล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้จักสมัย รู้จักเหตุ รู้จักปัจจัย รู้จักสิ่งแวดล้อม รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคล รู้จักสมมติ นั่นแหละคือตัวธรรมะ และถ้าหากมันไม่รู้จักมันไม่เข้าใจ ก็ต้องเพียรพยายาม จะทำให้รู้จักให้เข้าใจจะได้มีธรรมะเกิดขึ้น เช่นนี้จึงถือว่า ศิษย์ผู้นั้นไม่มีใครกล้าเหยียบ
นี่คือหน้าที่ของครูผู้ใจอารี ต้องพยายามชี้ให้ตรงจุด และก็กระแทกกระทั้นขยำขยี้ เพื่อให้ศิษย์จะได้ดีขึ้นมาผู้หวังดีจะทได้ดีขึ้นมา ผู้อยากดีและพบดีก็ต้องเจอดีจนได้ แต่ถ้าหากว่าศิษย์คนใด ไม่ยอมรับการขยำขยี้กระแทกกระทั้นจ้ำจี้จ้ำไช นั่นก็คือว่าไม่ดี ไม่อยากดี ไม่ต้องการดี และไม่มีดี ไม่ควรจะอยู่ดี และตายไปคงไม่ดีเป็นแน่
ฉะนั้นอย่าไปคิดว่า การที่หลวงปู่ต้องนั่งบ่นคอยจ้ำจี้จ้ำไช ด่าว่ากล่าวตักเตือน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะให้ตัวเองสูงส่ง ดีเลิศประเสริฐศรีในปฐพีหรอก แต่อยากจะให้พวกท่านทั้งหลายได้รู้จักว่า ธรรมะมันคืออะไร ธรรมะก็คือ การทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ถูกต้อง ตรงแนวและยุติธรรม ตามครรลองและทำนองคลองธรรมของกฎเกณฑ์แห่งสังคม และความเป็นสมมติในโลก และในที่สุดธรรมะมันก็เป็นตัวการทำให้เราพ้นจากอำนาจความเป็นสมมติได้ในที่ สุด เมื่อเราสามารถปฏิบัติ และยอมกระทำตามสมมตินั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะรู้จักมันขึ้นมาเองว่าอาการเช่นนี้ มันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติว่า อ้อ! สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงแค่กลกามของโลกที่เป็นสมมติเท่านั้น เราทำมันสมบูรณ์แล้วครบถ้วนกระบวนความแล้ว และก็วางมันได้อย่างสบายใจอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ใครเขาจะมาอาจคัดค้านเราไม่ได้ ใครจะมาว่ากล่าวเราทีหลังก็ไม่ได้ เพราะเราได้ทำมันมาสมบูรณ์แล้วเรียนรู้มันมาสมบูรณ์แล้ว ปฏิบัติมันมาสมบูรณ์แล้ว ยอมรับมันมาสมบูรณ์แล้ว สมบูรณ์ที่สุดแล้วตามหน้าที่ของความเป็นคน หน้าที่ของการเรียนรู้ หน้าที่ของการยอมรับเมื่อทำถึงขั้นนี้เราก็จะรู้เองว่า เราควรจะวางอย่างไร
แต่ถ้าตราบใด ยังเดินผ่านไปเห็นขยะยังไม่หยิบ เห็นความสกปรกยังไม่ล้าง เห็นพื้นที่ไม่สะอาดยังไม่เช็ด เห็นห้องน้ำไฟไม่ปิดก็ไม่ยอมช่วยปิด มองไม่เห็นกิริยาอาการแห่งความโสโครกสกปรกในตัวตนที่ยังมีอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครนะว่า เราเป็นคนมีธรรมะ ไม่เชื่อ ร้อยไม่เชื่อ พันไม่เชื่อ หลวงปู่ไม่เชื่อ เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปทำอะไรที่มันเป็นเรื่องเป็นราวนอก เหนือจากความเป็นคนที่สมบูรณ์และมนุษย์ที่ประเสริฐเลย อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมะ ไม่ได้สอนสัตว์เดรัจฉาน พรหมเทวดา แด่พระองค์แสดงธรรมะ เพื่อจะสอนคนให้เป็นมนุษย์นะ "มนุษย์" ตัวนี้แปลว่า ใจสูงมันยกระดับจากความเป็นคนขี้เมา สูงจากฝุ่นละอองและผงธุลี ที่จะแปดเปื้อนเรือนเลอะเทอะกับตัวคนเอง และพระองค์ก็ทรงสอนท ไม่ได้สอนใครผู้วิเศษที่ไหน สอนคนให้มีชีวิตอย่างไร สอนมนุษย์ให้มีชีวิตสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน
เมื่อเราทำได้อย่างนี้ก็ถือว่า "เราพ้นจากความเป็นคนขึ้นมาสู่ความเป็นมนุษย์" พระองค์ก็ยังมีข้อวัตรปฏิบัติจากมนุษย์ให้ขึ้นมาสู่ความเป็นนักบวช และพระต่อไป
เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่า พระองค์ไม่ได้สอนอะไรไปมากกว่าการทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ตามกาลควรเป็นตามเหตุตามปัจจัยที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อมนั้นๆ นั่นแหละคือลักษณะตัวธรรมะ มันไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ ถ้าดูให้มันดีๆ การปฏิบัติตามพระธรรมเพื่อนำสู่ตัวเราเอง ตัวเราเองที่ต้องกำจัดทำลายล้าง ซักฟอก ขัดสี แคะ แกะเกา ให้สนิมร้ายสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ฝุ่นละอองผงธุลีมันออกไปจากตัวเราบ้าง ให้เหลือไว้แต่ส่วนดีๆ นั่นแหละคือ ขบวนการกำจัดและทำลายของธรรมะ
แต่ถ้าตราบใดที่กิริยาอาการของเรายังไม่สามารถชำระล้างความสกปรก โสโครกออกไปจากตัวเราได้ ยังเป็นคนเกียจคร้าน หยาบกระด้าง โลภโมโทสัน หยิ่งผยอง ทรนงอวดดี ยโสโอหัง จิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัวแล้วละก็ อย่าไปบอกกับใครเขาว่าเรามีธรรมะ ไม่มีใครเชื่อหรอก เพราะว่าธรรมะมันก็คือ ปฏิกิริยาแห่งการกำจัดคราบ สี เสียงและกลิ่นแห่งความสกปรก ให้มันลดน้อยลงไป หากสิ่งเหล่านี้ ที่เป็นคราบ สี เสีย แสง กลิ่น แห่งความสกปรกยังคงที่อยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่า เราเป็นคนมีธรรมะ ไม่มีใครเชื่อเด็ดขาด
หลวงปู่จึงอยากจะบอกท่านทั้งหลายเอาไว้ เตือนกันในฐานะญาติสนิท ที่คิดว่าไม่ใช่คนอื่นคนใกลว่า พวกท่านทั้งหลายอย่างคิดว่าตัวเองเป็นคนมีธรรมะ เราไม่สังเกตหรือว่า หลวงปู่เดินขึ้นไปบนศาลาและไปยืนมองผ่านอ่างบัว เดินไปรอบๆ และก็ยืนนิ่งๆ แล้วก็พูดอยู่ทุกวันว่า ไม่เห็นพวกเราทำอะไรกัน ไม่มีธรรมะ ไม่เห็นมีธรรมะอะไรเลย รู้แล้วก็ไม่เห็นทำอะไร เพื่อจะเตือนให้ท่านได้รู้ว่า ธรรมะมันไม่ได้มีเอาไว้สำหรับนั่งหลับตา ไม่ได้มีไว้คุยจ้ออวดกัน ไม่ได้มีไว้เพื่อจดบันทึกไว้ในหนังสือ ไม่ได้มีเอาไว้จำ ไม่ได้มีเอาไว้สอน แต่มีเอาไว้กระทำ กำจัดความระยำที่มันหมักหมม หมักดอง อยู่ในหัวใจให้มันลดน้อยลงไป นั่นถือว่าคนมีธรรมะ
เหมือนอย่างหลวงปู่กล้าที่จะก้มกราบตีนเณร ที่เขาสามารถเก็บขี้หมา ที่กองอยู่หน้าโบสถ์ได้ ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็เดินข้ามไปข้ามมา ทั้งๆ ที่เณรองค์อื่นเขาก็มี แต่มีเณรองค์นั้นองค์เดียวที่กล้าทำ ซึ่งเขาก็ไม่ได้ทำต่อหน้า แต่ทำลับหลังไม่ได้ทำแบบอวดๆ ด้วย หลวงปู่แอบดูก็เลยไปกราบตีนเคารพ ในพระธรรมของเขา เพราะเขามีธรรมะ ธรรมะชั้นสูงเสียด้วย ไม่ใช่ธรรมะชั้นต่ำ
ฉะนั้น คนมีธรรมะนั้น มันไม่ใช่คนนั่งชูคอบนยอดปราสาท อยู่ในวัดหรืออยู่บนอาสนะสูงๆ แต่งตัวสวยๆหรือว่าแต่งตัวดีๆ ตาสี ตาสา ยายมา ยายมี แต่งตัวอัปรีย์อาจจะเป็นคนมีธรรมะชั้นดีก็ได้ คนแก่หู ตา มองไม่เห็น ก็อาจจะเป็นคนกมีธรรมะชั้นดีก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนที่ใกล้ตายก็อาจจะเป็นคนมีธรรมเมาก็ได้ เกิดมาเป็นใบ้ หูหนวก พูดไม่ได้ ก็อาจจะมีธรรมะชั้นเลิศได้ เกิดมาร้อยปีทำดีไม่ได้ ก็อาจจะมีธรรมเมาชั้นแย่ก็ได้
จึงอยากจะฝากบอกเอาไว้ว่า ศาสนานี้เขาไม่ได้ยกย่องคนดี คนแก่ ด้วยการอยู่นาน อยู่นานแต่ทำเป็นอันธพาลตลอดชาติ มีความระยำตลอดชาติ อยู่นานก็เปลืองประโยชน์ เขายกย่องคนแก่ คนดีตรงที่ทำได้ มีสาระปราศจากโทษได้ประโยชน์ เกิดวันเดียวก็มีสิทธิ์จะเป็นคนแก่ได้ ชาวโลกชาวบ้านเขาเรียกหลวงปู่ว่า เป็นหลวงปู่ก็ไม่ใช่เพราะว่าหลวงปู่อยู่นาน แต่เพราะหลวงปู่ทำอะไรเพราะหลวงปู่ทำอะไรนี่แหละ จึงทำให้คนทั้งหลายเรียกหลวงปู่ว่า เป็นคนแก่ เป็นผู้เฒ่า แล้วพวกท่านล่ะ พวกท่านทำอะไรกัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดมุ่งหวังอยากเป็นผู้รู้ธรรมะเข้าใจธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ อยู่ด้วยธรรมะ อาศัยธรรมะ และก็มีธรรมะเป็นเครื่องไป มาด้วยธรรมะแล้วละก็ ถามกันไว้แค่นี้ว่า พวกเราทำอะไร และกำลังจะทำอะไร อยากจะฝากบอกเอาไว้ ก็เพราะเห็นเข้ามาใช้สถานที่ตรงนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม มันจะพร่ำเพรื่อปฏิบัติธรรมะแบบพร่ำเพรื่อ เปรอะเลอะเทอะ ธรรมะมันเลอะไปหมด เต็มไปหมด ฝุ่นละอองแห่งธรรมะมันกระจุยกระจายจนกระทั่งเต็มไปในหัวใจของผู้ปฏิบัติ เต็มมาจนถึงโต๊ะหมู่บูชา เต็มมาถึงที่นั่งของหลวงปู่ เต็มไปถึงสถานที่ใกล้ๆและใกลๆ รอบๆ บริเวณส้วมเต็มไปด้วยคราบ ด้วยกลิ่นด้วยสี จะเป็นการแสดงออกของธรรมะชั้นไหน ต้องถามฝากไว้ในหัวใจไว้สักนิด มันต้องรวมไปถึงทั้งพระ ทั้งเณรเถร ชีทั้งหลายด้วยว่า มันเป็นธรรมะชั้นใด
สำหรับหลวงปู่แล้วไม่ถือว่า จำเป็นเฉพาะต้องมีธรรมะในที่นี่ ที่ไหนก็ได้ ที่เราเหยียบย่างเข้าไป ก็ต้องมีธรรมะอยู่ในหัวใจ หลวงปู่ไปอยู่วัดตะลุง วัดเขาบันไดอิฐอยู่วัดถ้ำสิงโตทอง อยู่วัดถ้ำรังเสือ อยู่ที่เขาตอหม้อ อยู่ที่ไหนๆ ให้ไปถามผู้ที่อยู่ที่นั้นๆ ได้เลย ว่าไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแค่หลวงปู่ไปอาศัยแค่ข้ามวันข้ามคืน ก็ทำให้วัดเขาสะอาด ถางหญ้า รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ปลูกต้นไม้ ล้างส้วม กวาดขยะ เก็บหยากเยื่อ หยากไย่ ไม่เคยหยุดนิ่งเพราะความมีธรรมะที่หลวงปู่รู้อยู่ในตัวว่า คนมีธรรมะเขาไม่ได้นิ่งเฉย ใจมันนิ่งแต่กิริยาอาการไม่ได้นิ่ง ถ้าขืนว่ากิริยาอาการยังนิ่งเฉยต่อสิ่งที่ควรทำ พูด คิด อยู่แล้วเราจะเป็นผู้มีธรรมะไม่ได้ ธรรมะเหมือนกับตัวจักรและฟันเฟือง ที่มันไม่ชำรุด มันจะขยับเขยื้อนเลื่อน ทำให้ตัวเป็นยานพาหนะที่ตนและผู้อื่นพึ่งพิงได้ เคลื่อนไปอย่างดีเยี่ยม และก็เป็นระเบียบเรียบร้อย จนกลายเป็นระบบของใจและกาย คนเราก็เหมือนตัวยานพาหนะ ธรรมะคือสิ่งที่เป็นฟันเฟืองอยู่ในใจ ถ้าฟันเฟืองเหล่านั้น มันไม่บิ่นไม่ชำรุดเสียหาย มันก็จะทำให้ขับเคลื่อนกายไปทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าฟันเฟืองมันชำรุดเสียหาย นั่นก็ถือว่าความฉิบหายของธรรมะที่อยู่ในใจนั้น เกิดขึ้นเสียแล้ว กายมันก็ไม่อยากจะทำอะไร มีแต่ความเฉื่อยชาเชื่องช้าตลอดกาล ลองไปถามเถอะ ที่ใดที่หลวงปู่เหยียบย่ำเข้าไปนั้น จะไม่เจริญเป็นไม่มี ไปอยู่วัดตะลุง ลพบุรี อยู่วันแรกก็จับจอบเสียม ถางฟัน ชำระล้างไอ้ที่เขารกกันมาเป็นปีๆ ก็สะอาดภายในไม่กี่วันที่หลวงปู่ไม่อยู่ จนชาวบ้านชาววัดต้องละอายร่วมแรงร่วมใจกันกลับมาทำ
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะนี้ มันไม่ใช่มีเอาไว้สำหรับที่จะมาเขียนใส่ตำรา คัมภีร์ และก็เรียนกันในห้องเรียน หรือนั่งกันอยู่ในเฉพาะหอพระกรรมฐาน
พวกท่านทั้งหลาย อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรม พูดช้าๆ สั้นๆ ให้หนักแน่นและได้ใจความก็คือ "การปฏิบัติธรรม" สถานที่ตรงนี้เขาเรียกว่า หอพระกรรมฐาน "กรรมคือการกระทำ" "ฐาน คือที่มั่นทำให้ใจนี้มันเป็นที่มั่นของการกระทำได้" ตราบใดที่เรายังไม่มีการกระทำที่เป็นที่มั่นของตัวเอง อย่าว่าแต่อยู่ในหอเลย อยู่นอกหอก็หาว มันก็ป่วยการ เสียเวลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ทำฐานที่มั่นของตนให้ดี แล้วเราจะทำอะไรก็ลุล่วงสำเร็จ เพราะเรามีฐานที่มั่นในการทำพูดคิดมันไม่ใช่ต้องมานั่งเสียเวลากับการนั่ง หลับตาอย่างเดียวเท่านั้น รวมไปถึงการกิน ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วย อย่างที่เมื่อวานหลวงปู่ตอบว่า สมาธิที่มีไว้ใช้กับกิจการงาน? ทำไมต้องเลือกใช้ในเฉพาะกิจการงาน เพราะโจรที่ปล้นเขาได้ก็มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ผิด มันควรจะมีชีวิตให้อยู่ในสมาธิ มีสมาธิเป็นเครื่องอยู่ มีสมาธิเป็นเครื่องยืน มีสมาธิกำกับการเดิน มีสมาธิกำกับการพูด มีสมาธิกำกับความคิด มีสมาธิกำกับการแสดงมีสมาธิกำกับการกิน การขี้เยี่ยวตด การนอนนั่ง มันควรจะเป็นไปด้วยอิริยาบถแห่งความรู้เนื้อรู้ตัว นั่นถือว่ามีสมาธิเป็นสมาธิที่อยู่ในขั้นสัมมาสมาธิ ไม่จำเป็นจะต้องมีเฉพาะแค่ทำงาน และถ้าหากว่า คนรู้เนื้อรู้ตัวในขณะกิน ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตดแล้ว ไม่มีการที่ขาขวาเตะขาซ้าย ฟันกัดลิ้นตัวเอง จะไม่มีเด็ดขาด ทุกอย่างมันจะสมบูรณ์แบบในหน้าที่ของมัน
เพราะเรามีตัวเจ้านายที่มีพลังอำนาจ คือตัวสมาธิที่เกิดจากตัวสติ คอยควบคุมกำกับดูแล กาย วาจา ใจ และอิริยาบถทั้งหลาย ให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ยุติธรรมถูกต้อง ตรงแนวเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของหลักการแห่งธรรมชาติ และเพียบพร้อมไปด้วยการรับผิดชอบ ต่อหน้าที่แห่งความเกิด และทำงาน นั่นคือคนมีสัมมาสมาธิ แต่ถ้าอะไรๆ มันยังเลอะเทอะเหลวแหลกเยอะแยะอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่าเรามีสมาธิ ปกติหลวงปู่ชอบเสียงดนตรี ชอบดอกไม้ ชอบอิสระ ชอบเสรีภาพ ชอบฟังเสียงน้ำไหลกระทบหินผ่า ชอบสายลม แสงแดดยามเช้า ชอบกลิ่นอายธรรมชาติ ก็เพียรพยายามจะทำตัวเองให้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพื่อจะดูตัวเองว่า มันเป็นความชอบที่เกิดจากกามหรือเป็นความชอบที่เกิดจากนิสัยแท้ๆ ก็เพียรพยายามจะตัด จะสะสางตัวเองด้วยธรรมะ ด้วยความอดทนอดกลั้น ตั้งอกตั้งใจที่จะทำให้มันจริงๆ จังๆ
เพราะฉะนั้นต้องฝากลูหลานทั้งหลายเอาไว้ว่า นี่ก็หลายฝากแล้วนะ เอาเป็นว่าขอฝากอีกทีหนึ่งว่า ธรรมะชั้นสูงสุดยอด วิเศษสุดนั้น ไม่ใช่เรียนมาจากตำรา อย่างที่หลวงปู่บอกเอาไว้ในบทโศลกว่า
ลูกรัก.... สุดตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก วินัยปิฏกมันไม่ได้ทำให้เจ้าเข้าถึงธรรมะ มันเป็นเพียงสื่อบอกธรรมะเท่านั้น การที่เจ้าจะเข้าถึงธรรมะได้ เจ้าต้องกระทำมันด้วยใจ ทำหน้าที่ทุกอย่างที่มีด้วยใจ ที่รู้แจ้งนั่นแหละถึงธรรมะ และเป็นธรรมะชั้นสูง เป็นพระบริสุทธิธรรม เป็นวิมุตติธรรม เป็นสัจธรรม เป็นอริยธรรม เจ้าก็จะได้ถึงความเป็นอริยเจ้า อริยบุคคลได้ในที่สุด
หรือไม่ก็มีบทโศลกที่หลวงปู่ได้เขียนเอาไว้ว่า
ลูกรัก.... ระเบียบกฎเกณฑ์ กติกา ที่หยุมหยิมยึกยัก นิดหน่อย น้อยนิดนั้น เจ้าอย่าคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ สำหรับพ่อแล้วถือว่าเป็นเครื่องมือ ในการปลุกให้เจ้าตื่น ให้เป็นผู้ตื่น และตื่นอย่างระมัดระวังทีเดียว เพราะความระมัดระวังว่า จะผิดกับกฎเกณฑ์กติกา และต้องทำมันด้วยใจนั้น มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ตื่นขึ้นมาอย่างชนิดที่เราไม่คิดยว่ามันจะตื่นจริงๆที่ต้องตั้งกฎเกณฑ์กติกา เอาไว้สำหรับผู้ใช้หอพระกรรมฐาน เพื่อจะเป็นเครื่องมือปลุกให้เราตื่นเท่านั้นเอง ตื่นจากอะไร? จากความโง่ งี่เง่า หลงงมงายและตื่นจากตายอย่างชนิดที่ไม่อยากตาย หรือไม่เตรียมตัวตาย ไม่รู้ว่าวันตายและไม่รู้ว่าชีวิตหลังความตายจะเป็นเช่นไร เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้วเราจะรู้ทันทีว่าชีวิตหลังความตาย ของผู้ตื่น จากราคะจากความโกรธ จากความรัก จากความชัง จากความชอบ จากความหลง จากความตกเป็นทาสด้วยการยอมรับปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกา อันหยุมหยิมยึกยักเหล่านั้นอย่างมีมหาสติ มันจะทำให้เราเป็นสุขสันติ อิสระ บริสุทธิ์ พ้นจากทุกข์ความระแวดระวังต่อการทำผิดกฎ นั่นแหละคือตัวการแห่งสติ มันคือตัวมหาสติอย่างยิ่งแหละและจะไปฝึกสติที่ไหนอีก ถ้าท่านยังไม่ยอมระแวดระวัง ต่อกฎเกณฑ์กติกาที่มีอยู่ การเรียนรู้ธรรมะจากธรรมชาตินี้ มันไม่มีขั้นตอนอะไรมากไปกว่า ชีวิต วิญญาณ ความรับรู้ และการยอมรับความจริงอย่างซื่อตรง จริงใจ ใช้ปัญญา และตั้งใจทำเท่านั้นแหละ สาธุ สาธุ พระพุทธะกำลังจะเกิดแล้ว
ลูกรัก
จงยืนให้เป็น เดินให้เป็น นั่งให้เป็นนอนให้เป็น อิริยาบถทั้งหมดนี้ สำหรับผู้ยังหลับใหลต่างจากผู้ตื่อน ชนิดขาวกับดำเลยทีเดียวหละ
ลูกรัก
จงใช้ชีวิต วิญญาณของท่าน ด้วยความประหยัด ต่อของเครื่องใช้ ทุกสรรพสิ่ง และเต็มเปี่ยมไปด้วยประโยชน์
ลูกรัก
มหาสติ มีอิริยาบถเป็นเครื่องอยู่ มีความรู้เป็นจุดมุ่งหมาย
ลูกรัก
มนุษย์เรามีอิริยาบถทุกขณะจิต เราควรจะพัฒนาอิริยาบถนั้นๆ ให้สะอาดทุกขณะจิต
ลูกรัก
ธรรมชาติ คือ ชีวิต ช่วยพิชิตความสกปรก นี่ไม่ใช่เรื่องตลก เพราะความสกปรกเป็นภัยต่อชีวิต
ถ้าเราไม่รู้จักความหมายของคำสวด หรือไม่รู้ว่าสวดแล้วได้ประโยชน์อะไร มันก็คงจะรู้ จะตื่น จะเบิกบานอะไรกับใครเขาไปไม่ได้เป็นแน่ เพราะฉะนั้นก็ต้องถือว่าที่นี่เป็นกฎที่ต้องตายตัวแล้วก็รับปฏิบัติกันไว้ เป็นปกติ คือ การสวดมนต์แต่ละครั้ง ต้องแปล ๑ วัน ไม่แปล ๑ วัน แต่ยังไงก็ต้องมีบทแปล ก็เพราะฤทธิ์ที่เราไม่รู้ความหมายของบทสวดต่างๆ แม้แต่เวลาไปงานศพลูกหลานชาวบ้านหรือญาติคนสวดเองก็ตาม คนที่ฟังเขาสวดก็ตามบทสุดท้ายที่พระจะต้องสวดให้ฟังเป็นนิจสินเป็นปกติก็คือ "เตสังวู ปะสะโม สุโข" การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขาร ถือว่าเป็นความสุขในโลก เป็นความสุขอย่างยิ่ง"สังขาร" ตัวนี้แปลว่าการปรุงแต่ง ถ้าจะแปลตามใจหลวงปู่ก็ต้องบอกว่าการไม่ปรุงแต่งในสังขารทั้งปวง ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง
พระ เถร เณร ชี เวลามีงานสวดศพ สวดผี งานกินผี งานเผาผี หรือว่างานบรรจุกระดูก ต้องยังสวดบทนี้เป็นบทสุดท้ายว่า เตสังวู ปะสะโม สุโข ก็ฟังกันมาตั้งกี่ร้อยปีแล้วละ แต่ยังสักว่าฟังกันแค่นั้น และก็จบลงกันตรงนั้นไม่มีใครรู้เลยว่า มันแปลว่าอะไร จริงๆ แล้วเขาสวดเพื่อที่จะให้คนอยู่ได้ฟังว่า "การได้สงบระงับแห่งสังขาร คือ สงบระงับความ ปรุงแต่งทั้งปวง เป็นความสุขในโลก เป็นความสุขอย่างยิ่ง" ท่านเจตนาจะสอนคนเป็น ให้รู้จักสงบ ระงับ อย่าเศร้าโศก โศกาอาดูร พูลเทวษ อย่างปรุงแต่งไปตามตามเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ใจรับรู้อารมณ์แห่งความปรุง หรืออย่าปรุงไปตามระบบสังขาร เพราะสังขารที่ปรุงขึ้นมาเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
เมื่อครู่นี้พวกเราก็เพิ่งจะสวดไปอยู่หยกๆ บทสวดอันนั้นตรงกับบทที่สอนไปเมื่อไม่นานมานี้ว่า "รูปังอนิจจังรูปไม่เที่ยง" .... "เวทนา อนิจจา เวทนาไม่เที่ยง" .... "สัญญาอนิจจา สัญญาไม่เที่ยง".... "สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง"...."วิญญาณังอนิจจัง วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์" เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การเข้าไปสงบระงับในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ถือว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง นี้จึงเป็นบทสวดมนต์ของผู้ที่ปฏิบัติ หรือนักปฏิบัติ
"นักปฏิบัติ" ตัวนี้แปลว่า ผู้ปฏิบัติบ่อยๆ ปฏิบัติอย่างยิ่ง ปฏิบัติเป็นปกติ
"นัก" ตัวนี้แปลว่าบ่อยๆ หรือผู้ชำนาญ บทสวดมนต์ดังกล่าว จึงจะต้องเป็นบทสวดมนต์ของผู้รู้ ผู้ตื่น คนสวดก็ฟังแล้วรู้เรื่อง คนฟังเขาสวดก็รู้เรื่อง เช่นนี้จึงเชื่อว่าสวดให้เกิดการปฏิบัติตรง ถูกต้อง แต่ถ้าไม่เป็นดังกล่าวมา ก็อาจจะเป็นนักปฏิเสธ หรือปฏิปัดไป มันไม่ใช่นักปฏิบัติเพราะว่ามันไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่อง มันจะไปทำเรื่องอะไรให้ถูกได้ยังไง หรือแม่แต่จะไป หยุดเรื่อง ดับเรื่อง แก้เรื่องหรือว่าสงบในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร มันก็คงจะเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นกฎตายตัวของที่นี่ว่า ในเวลาสวดมนต์นั้นเราสวดเพื่อที่จะเน้นให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา จากความรู้เรื่อง รู้เรื่องในบทที่สวด คนฟังเราสวดเขาก็รู้เรื่อง เราผู้สวดเองก็รู้เรื่อง เราต้องรู้เรื่องรู้ราวในบทที่เราสวด แล้วก็สวดให้ตัวเราฟัง อย่าสวดให้คนอื่นเขาฟัง นี่คือประเด็นที่ต้องการให้รู้เอาไว้ เพราะเท่าที่ผ่านๆ มาพวกเราขยันจะสวดมนต์ไม่แปลกันเป็นประจำ ก็เลยกลายเป็นความไม่รู้เรื่องอะไร ก็สวดกันไปอย่างนั้น
อีกอย่างหนึ่งก็คือ "กฎของหอพระกรรมฐาน" การเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน เขามีกฎเกณฑ์กติกาบ่งบอกไว้ ๕-๖ ข้อ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ก็ต้องขวนขวาย เรียนรู้กติกาในการอยู่ร่วมของสังคมที่เราจักเข้าไป เพื่อการปรับตัวเตรียมตัวให้อยู่ร่วมกันได้ โดยความพึ่งพิง อิงแอบ อาศัย รักษาประโยชน์ของกันและกัน ไม่ใช่มาเบียดบังผลประโยชน์ของพวกเรากันเอง แต่เรื่องของเรื่องนั้นก็คือ เพื่อที่จะสร้างเสริมผลประโยชน์ให้แก่พวกเรากันเองให้มากที่สุด และการที่เราก้าวเข้ามาสู่หอพระกรรมฐาน ที่ต้องสงบสำรวมเรียบร้อยนั้นก็เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนคนให้เป็นผู้ตื่น ขึ้นมาอย่างมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมรอดพ้นจากความโง่ หลงและหลับใหล ไม่เข้าใจอะไรการที่เราจะต้องระแวดระวังในกิริยาอาการขณะที่เข้ามาสู่หอพระ กรรมฐาน ด้วยความรู้สกึว่ามันเป็นสถานที่สิงสถิต แห่งวิญญาณและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิบาน หรือเป็นที่อยู่พักอาศัยของพระศาสดา พระพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งปวง ซึ่งเราทั้งหลาย เข้ามาอยู่ท่ามกลางมหาสมาคม ของท่านคุรุ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อเราทำความรู้สึกได้ดังนี้ เราก็จักเกิดความระแวดระวัง ระมัดระวังกาย วาจา ใจของตน พอเราเกิดความระแวดระวัง ระมัดระวัง กิริยาอาการ กาย วาจา ใจแล้วเราก็จะเป็นผู้ดำรงสติ ตั้งมั่นเฉพาะหน้า ความสงบ สำรวม มันก็จะตามมา ตรงกับคำว่า "เตสังวู ปะสะโม สุโข" การเข้าไปสงบระงับแห่งสังขารเป็นความสุขอย่างยิ่ง
เมื่อสติตั้งมั่นเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ความสงบ สำรวมระแวดระวังเกิดขึ้น นั่นก็ถือว่าเป็นการเจริญมหาสติ เมื่อเราเจริญมหาสติให้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถทั่วพร้อม ความกลัวแห่งอารมณ์ทั้งปวงก็ไม่ปรากฎ ความคิดยุ่งฟุ้งซ่าน รำคาญ อึดอัด ขัดเคือง ก็จะไม่เกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเราระแวดระวังตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น การยืน เดิน นั่ง นอน ย่าง ก้าว เหยียด คู้และก็จะรู้สึกตัวทั่วพร้อมในตัวเรา ความผิดพลาด บกพร่องไม่ถูกต้อง ก็จะไม่มีในกาย วาจา ใจ อิริยาบถเหล่านี้ มันเป็น"อิริยาบถของผู้สะอาด"
ธรรมะนั้น เขาไม่ได้มีให้เรานำเอามาคุยอวดกัน หรือมีเอาไว้จดใส่ตำรา หรือมีเอาไว้คุยและก็แสดงตนว่า ข้าเป็นผู้เก่งกาจธรรมะ แต่ธรรมะเขามีเอาไว้กำกับดูแล กิริยาอาการของเรา ให้ละเมียดละไม เรียบร้อย อ่อนช้อยสวยงาม เป็นสตรีก็เป็นกุลสตรีที่เหมาะสม ควรต่อการให้เกียรติและยอมรับของกุลบุตร ถ้าเป็นผู้ชาย ก็เป็นสุภาพบุรุษที่เยี่ยมยอดองอาจ กล้าหาญ โดดเด่น เด็ดเดี่ยว ซื่อตรง และก็มั่นคง ฉลาด เพราะธรรมะจะช่วยสร้างเสริมบุคลิกภาพของตนให้เป็นคนกล้าทำ กล้าพูด กล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องปฏิเสธสิ่งที่ผิดพลาด นั่นคือคนคนนั้นมีธรรมะ
ธรรมะมีเอาไว้กำกับดูแลกาย วาจา ใจของคนให้อยู่ในระบอบตรงกับระบบ ลบความผิดพลาด ทำลายสิ่งที่ชั่วร้าย ที่เกิดจากกิริยา อาการ กาย วาจา ใจ ให้หมดลดน้อยลงไป เพราะฉะนั้นคนที่มีธรรมะ ไม่จำเป็นต้องไปคุยโวโอ้อวด ไม่จำเป็นต้องเสวนา สังสรรค์เพียงแค่เราเดินย่างก้าว เข้าไปในบริเวณที่อยู่ของพวกท่านเหล่านั้น สังคมหมู่นั้น ท่านผู้นั้นก็จะแสดงให้เราได้เห็น ได้รับอานุภาพ รับพุทธานุภาพ รับธรรมานุภาพ และความบริสุทธิ์แห่งะรรมะ ที่อยู่ในหัวใจของท่านผู้นั้นและรอบๆ บริเวณสถานที่อยู่ของท่านเหล่านั้น
เราจะสังเกตเห็นว่า เมื่อใดที่เราย่างก้าวเข้าไปสู่สถานที่ของผู้ที่มีธรรมะ ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า ตั้งแต่บันไดยันที่นอน หรือตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบย่างเข้าไป สำหรับสำนักปฏิบัติธรรม สถานที่อยู่แห่งผู้มีธรรมะเขาสะอาดตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงก้าวสุดท้าย หมดจด ละเอียดอ่อน ละเมียดละไม เรียบร้อยแล้วมันจะสวยงามเอง ไม่ต้องไปปรุงแต่งเติมแต้ม สี กลิ่น เสียงแสง
แต่คนที่มีธรรมะอยู่ที่ริมฝีปาก มีธรรมะอยู่เพียงแค่สมองและความทรงจำ มีธรรมะเพียงแค่ในตำราละก็ มันจะเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน เต็มไปด้วยขยะ หยากเยื่อหยากไย่ มีอะไรๆ ที่มันไม่ค่อยเป็นระบบ ขาดระเบียบ และก็ไม่เรียบร้อย กิริยาอาการที่แสดงออกมาก็จะดูเคอะเขิน เลอะๆ เลือนๆ เหมือนกับคนบ้าๆบอๆ หรือง่อยเปลี้ยเสียขา ขาดปฏิกิริยา และสามัญภาพในการทำพูด คิดที่ถูกต้อง พร่องความสมบูรณ์แบบเหมือนกับอวัยวะที่ไม่ครบ ๓๒
รวมความแล้วธรรมะ คือเครื่องเสริมสร้างจรรโลงและเจือจุนให้บุคคลนั้น กิน ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตด เรื่องทั้งหมดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องเรียบร้อยเป็นปกติ นั่นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ ก่อนที่จะมีการบวชพระบวชเณรก่อนที่จะมีการบวชเนกขัมมะ หอพระกรรมฐานหลวงปู่เข้าๆ ออกๆบ่อยครั้ง อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นธรรมะมันยังเยอะ พักหลังนี่ได้เข้าไปพบว่าห้องน้ำเข้าไปก็ขยะแขยง ขึ้นมาบนหอพระกรรมฐาน มองไปตามพื้นก็มากมีไปด้วยฝุ่น หน้าโต๊ะหมู่บูชาก็ฝุ่นหนาฝุ่นหนาเท่ากับกระดาษ หนังสือพิมพ์ แล้วพวกท่านได้เข้ามานั่งปฏิบัติกรรมฐานกันได้ทุกวันๆ สวดมนต์ปฏิบัติธรรมกันได้ทุกวัน แล้วจะเอากรรมที่เป็นฐานหรือฐานที่ตั้งแห่งกรรม ของการกระทำดีได้อย่างไร ในเมื่อตราบใดที่การย่างก้าว เหยียบ ยื่น เดินคู้ของพวกเรานั้น ยังสกปรกรกกรุงรัง เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
คนที่เขาจะมีธรรมะชั้นสูงนั้น เขาไม่ใช่ดูที่การยืนชูคอนั่งชูคอ อวดอ้างคุณภาพ ความรู้ความสามารถ เขาดูที่กิริยา การกระทำ ดูที่สิ่งแวดล้อมที่น้อมนำมาให้แสดงออกว่า คนคนนี้สะอาด หลวงปู่เคยสอนลูกหลานว่า
"ถ้าจะดูใครเป็นคนสะอาด ต้องดูที่การงานของเขาว่าเขาทำเพื่อประโยชน์สุข ส่วนรวมเป็นใหญ่หรือไม่ โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนเอง ยอมเสียสละเพื่อผู้อื่น อย่างชนิดที่ไม่คิดว่าจะได้อะไรตอบแทน เช่นนี้ต่างหาก จะถือว่าเป็นคนสะอาด และต้องสะอาดแม้กระทั่งการเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และสุดท้ายต้องเป็นผู้ซื่อตรงด้วย"
"ถ้าจะดูว่าใครเป็นคนที่มีสติ มีสมาธิ มีพลังอำนาจ ก็ต้องดูตอนที่เขาเกิดเรื่อง ว่าเขาสามารถรักษาทรงอารมณ์ของเขา ไม่ให้กระเพื่อม ไม่ให้ไหวอ่อนยวบยาบ สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ เปรียบประดุจดั่งขุนเขาที่ไม่สะท้านต่อกำลังของแรงลมพัด ก็ถือว่าเขามีธรรมะมีสติ มีสมาธิ มีพลัง เป็นคนคิดสะอาด"
"และถ้าอยากจะดูว่า ใครเป็นคนมีปัญญา ก็ต้องนั่งสนทนาอยู่กับเขา ดูว่า กิริยาอาการของเขา การวางตัวของเขาสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้อยู่ร่วมสนทนาด้วย มีปัญญาเพิ่มขึ้นแค่ไหนความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ความเข้าใจที่มีต่อสรรพสิ่ง สรรพวัตถุสรรพชีวิต กระจ่าง สว่าง แจ้ง ถูกต้อง ซื่อตรง ดำรงความจริงได้แค่ไหน ถ้าเราอยู่สนทนากับเขา และได้ความกระจ่างดังกล่าวแล้ว เช่นนี้จึงเรียกว่าผู้มีวาจาสะอาด แต่ถ้าไม่มีดังกล่าวมาถือว่าคนเหล่านั้นไม่มีธรรมะ มีแต่ธรรมเมา มันเมาไปด้วยกิริยาอาการของความหลงงมงายเชื่อง่าย ธรรมะนั้นถ้าอยู่กับตัว และในหัวใจของใครแล้ว จะทำให้อะไรๆ ในสิ่งแวดล้อมของคนคนนั้นดีไปหมด เจริญไปหมด เรียบร้อยไปหมด แล้วก็ดูสวยไปหมดแต่ว่าธรรมเมา มันอยู่ในกิริยาอาการและใจของใคร คนคนนั้นจะอยู่ในที่ใดๆ ก็มีแต่ความรก สกปรก เลอะเทอะเปรอะเปื้อน แล้วก็สับสนวุ่นวาย สร้างแต่ปัญหา เพราะเกิดจากตัณหาของผู้ไม่มีธรรมะ"
ฉะนั้น จึงอยากจะบอกท่านทั้งหลายเอาไว้ว่า อย่าได้ไปประกาศให้ใครเขารู้ว่า เราเป็นผู้มีธรรมะ ถ้าเมื่อใดที่นี่นั่งของเรายังสกปรก ที่นอนของเรายังรกรุงรัง ผ้าผ่อนท่อนสไบของเรายังมีกลิ่นเหม็นสาบ หรือยังมีคราบเหงื่อไคลเยอะแยะ กิริยาอาการของเรายังไม่ละเมียดละไมไม่ละเอียดอ่อน ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำลายธรรมะ และอย่างไปบอกใครว่า เรารู้ธรรมะ เราเข้าใจธรรมะลึกๆ และควรจะสอนธรรมะ หลวงปู่เห็นพวกท่านพูดสอนธรรมะ นั่งสมาธิกรรมฐานในหอนี้ก็เป็นสิบๆ วันแล้ว ที่ไหนได้.....ที่นี่ก็ยังมีเหมือนเดิมตรงไหนที่ยังมีรอยตืนหมาอยู่ ก็ยังมีเหมือนเดิม ในห้องส้วมที่ยังมีคราบอะไรต่อมิอะไรติดอยู่ตามซอก ตามมุมก็ยังเหมือนเดิม รอบๆ บริเวณยังสกปรกรกรุงรังอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม บนศาลา น้ำที่อยู่ในบ่อบัวในอ่างบัวแห่งอย่างไร ดูกี่วันกี่วันก็ยังเหมือนเดิมรอบๆ มีขยะกล่องนมหมากัดเล่น มีกากมะพร้าวหมากัดเกลื่อน อย่างไรก็ยังเหมือนเดิม แล้วก็ใช้เป็นที่ประชุม ฟังธรรม ใช้เป็นที่กิน ที่นอน สำหรับนักปฏิบัติเหมือนเดิมอย่างนี้ มันจะเป็นผู้มีธรรมะไปได้อย่างไร โถ....ช่างน่าอนาถเสียจริงๆ
เมื่อก่อนนี้หลวงปู่อยู่กัน ๒-๓ รูป สะอาดเรียบร้อย ถือว่าเราแก่ธรรมะ แก่กระทำ ผู้ที่มีธรรมะเขาลงมือกระทำนะไม่ใช่มีธรรมะแล้วนั่งบ่นท่องจำอย่างเดียว แต่เวลานี้อยู่กันร่วมครึ่งร้อย อะไรๆ ก็พลอยเละเทะไปหมด นี่แสดงว่ายังไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม พูดอย่างนี้ไม่ได้บ่นให้พวกท่านไม่สบายใจ แต่ต้องการจะพูดให้พวกท่านได้เข้าใจ และให้รู้ว่า หัวใจของพวกท่านยังไม่ได้มีธรรมะสิงสู่เข้าไปอยู่เลย มันเป็นเพียงแค่การฟัง จำ แล้วก็นำเอาไปคุยกันเป็นการรู้ธรรมะด้วยสัญญาเท่านั้นเอง "สัญญา" ก็คือความทรงจำ
ถ้าตราบใดที่เราเห็นขยะแล้วยังหน้าชื่นตาบานอยู่ได้แสดงว่าเรายังไม่เป็นผู้มีธรรมะ
ตราบใดที่เรายังเห็นของที่วางอยู่เลอะเทอะไม่เข้าที่เข้าทางแล้ว ยังสบายใจ เดินผ่านไปผ่านมา ไม่ตะขิดตะขวงใจแล้วละก็ แสดงว่าเรายังไม่เป็นผู้มีธรรมะ
ตราบใดที่ยังเดินผ่านไปผ่านมา แล้วขี้ดินยังติดหัวบันไดอยู่ ยังมีรอยตีนหมา ตีนแมว ตีนคน เกลื่อนเลอะเทอะไปหมด อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะ
มีนิทานโบราณเรื่องหนึ่ง เขาสอนเอาไว้ว่า เณรน้อยรูปหนึ่งอยากจะขึ้นไปเรียนกรรมฐานจากครูผู้วิเศษบนภูเขาใหญ่ ในขณะที่เดินผ่านขึ้นไป ก่อนจะถึงกุฎิของครูผู้วิเศษได้เห็นราวตากผ้าของครูถอดออกมาจากก้นรูปใดก็ พาดบนราวรูปนั้น เณรสะบัดก้นพรึบลงจากเขาเลย ทั้งๆ ที่ไต่ขึ้นเขาเป็นเวลาหลายวัน เพื่ออยากจะไปเรียนธรรมะกับครูแต่เห็นวิธีการ ตากผ้าของครูที่ถอดออกมาจากก้นรูปใดก็พาดบนราวรูปนั้น เห็นวิธีการตากผ้าของครูแล้วเณรไม่ยอมเรียน
มีคนถามว่า "อ้าว! เณรเรียนสำเร็จแล้วหรือ? ขึ้นไปไม่นานลงมาแล้ว"
เณรตอบว่า....."ไม่ได้เรียน"
ถามว่าทำไม?
เณรตอบว่า...."ไม่มีครูที่ดี"
"อ้าว ก็ไปอยู่ข้างบนนั่นละใคร"
เณรตอบว่า..... "นั่นไม่ใช่ครู เพราะตัวของครูยังทำตัวเป็นรูอยู่เลย เรื่องของตัวเองแท้ๆ ยังไม่สามารถบริหารให้อยู่ในระเบียบเรียบร้อยได้ แล้วจะมีปัญญาไปสอนการบริหารคนอื่นให้ดีได้อย่างไร แค่ผ้าผ่อนสะบัดออกมาจากกัน ยังพาดส่งเดช โดยไม่ยอมจะตากจะพับทำให้มันดียังจัดระเบียบไม่ได้ แล้วจะมีหน้าไปจัดระเบียบของใคร ให้เป็นระบบของใจต่อลูกศิษย์ได้"
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะนี้ มันเป็นของละเอียดอ่อนอยู่ใกล้ๆ ตัวเรา อยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายเลือด คนที่เขามีธรรมะนี้ เขามีธรรมะอยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายเลือดอยู่ในชีวิตความรู้สึกนึกคิด ไม่ใช่มีธรรมะอยู่แค่ริมฝีปากและความทรงจำแล้วเสแสร้งกระทำแสดงออก ถามว่าหลวงปู่จำเป็นต้องใช้ธรรมะไหม กับการสร้างที่นี่เพียงระยะเวลาไม่นานนัก ก็นี่แหละคือตัวการแสดงผลงานของตัวธรรมะ ถ้าไม่มีธรรมะ คงจะสร้างอะไรๆ อย่างนี้ไม่ได้ โดยใช้เวลาไม่นานนัก และกำลังคนก็ไม่เยอะเท่าไหร่ แต่เพราะตัวธรรมะ มันทำให้หลวงปู่รู้จักอะไรควรไม่ควร รู้จักอะไรมาก่อนมาหลัง รู้จักกาล รู้จักสมัย รู้จักคนรู้จักประมาณ รู้จักเวลาที่เหมาะและไม่เหมาะ รู้ว่าอะไรควรกระทำและไม่ควรกระทำ รู้จักว่าสร้างแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร ต่อใคร
ตราบใดที่พวกท่านยังเดิน ก้าวข้ามกองขี้หมาของที่ยังใช้ส่วนรวมยังปล่อยใช้เกะกะ อย่าไปบอกใครเขานะว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมะ
ครั้งหนึ่งหลวงปู่เคยก้มกราบตีนเณร คือเห็นกองขี้หมามันเรี่ยราดอยู่หน้าโบสถ์ สมภารเดินผ่านก็มองข้ามกองขี้หมา รองสมภารเดินผ่านก็ข้ามกองขี้หมา พระผู้เฒ่า เด็กเล็ก พระใหม่ พระเก่า ก็ข้ามเดินผ่านกองขี้หมา แต่มีเณรองค์หนึ่งเดินผ่านมาไม่ข้าม รีบไปหากระดาษหนังสือพิมพ์มาเช็ด หลวงปู่ชอบใจลงนั่งคุกเข่ากราบเขาเลยแล้วพูดว่า แหม!ธรรมะอันวิเศษในตัวท่านช่างยิ่งใหญ่อะไรปานนี้ คนมีธรรมะอยู่ในหัวใจนั้น มักทำให้ทุกอย่างที่ผ่านพบ แล้วประสบความสำเร็จด้วยความจริงใจเสมอ
ถ้าตราบใดที่เราเห็นกองขี้หมาเกลื่อนกลาดแล้วยังสบายใจ ยิ้มร่าหัวเราะได้ อย่าไปบอกใครว่าเรามีธรรมะแล้ว ธรรมะตัวที่เช็ดกองขี้หมามันคือธรรมะตัวไหน ถ้าจะบอกให้ฟัง ก็ต้องบอกว่า นั่นแหละคือตัวธรรมะที่ยิ่งใหญ่ที่ทำลายอัตตา ความถือตัวถือตน มานะ ทิฐิ ทรนง จองหองเห็นแก่ตัว ใจคับแคบ ตระหนี่ โดนทำลายไปกับการหยิบกระดาษไปเช็ดกองขี้หมาด้วยมือตน เลยทำให้ความเสียสละอนุเคราะห์ต่อสรรพสัตว์ และผู้คนทั้งหลาย เอื้ออาทรต่อส่วนรวม หวังประโยชน์สุขส่วนรวมเป็นใหญ่ ทำให้มีใจการุณย์ อุดหนุน โดนสร้างสรรค์ส่งเสริมให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาด้วยการเดินไปหยิบกระดาษมาเช็ดกอง ขี้หมา เราจะเห็นว่ามันเป็นคุณธรรม เป็นธรรมะที่เรียนจากตำราไม่ได้ จากครู จากปากของคนใดก็ไม่ได้ แต่มันได้มาจากการที่เราลงมือทำมัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่มีธรรมะนี้ ไม่จำเป็นต้องมานั่งสวดมนต์อ้อนวอนขอพรพระเจ้า หรือไม่จำเป็นต้องมานั่งหลับหู หลับตา แสดงท่าเป็นผู้วิเศษ ผู้ที่มีธรรมะนั้นก็คือ กิริยาอาการใดๆ ก็แล้วแต่ที่ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เอื้ออำนวย สรรพสัตว์ ให้เกิดสรรพสุข พ้นจากสรรพทุกข์ทั้งปวงได้ นั่นถือว่ากิริยาอาการเช่นนั้นเป็นคนมีธรรมะเดินไปกลางถนน เก็บขยะ มูลฝอย ที่รกอยู่กลางทาง ก็ถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะแล้ว มีธรรมะดีกว่าพวกที่นั่งหลับตาอยู่ในโบสถ์ ในวิหารศาลาการเปรียญเสียอีก
ลูกรัก..... ต่อให้เจ้าไปเรียนธรรมะในโรงเรียนวันละ ๑๐๐ ชั่วโมง สำหรับพ่อแล้ว สู้เดินไปข้างหน้า เห็นหญ้ามันขึ้นรกรุงรัง เอื้อมามือไปเด็ดหญ้าด้วยความเอื้ออาทรและคิดว่า คนมาข้างหลังจะไปเหยียบหญ้าสะดุดล้มสำหรับพ่อแล้วกิริยาอาการ และอิริยาบถที่เอื้อมมือไปเด็ดหญ้านั้น มีค่ายิ่งกว่าเรียนธรรมะในโรงเรียน ๑๐๐ ชั่วโมงเพราะคนที่เรียนในโรงเรียน ๑๐๐ ชั่วโมง ในข้อธรรมะนั้นๆก็ยังให้ประโยชน์ต่อโลก และสังคมไม่ได้ เพียงแค่จำกและก็ท่องให้ถ้อยคำกระดกอยู่ที่ปลายริมฝีปากและปลายลิ้นเท่านั้น เอง
ธรรมะอย่างนี้ ยังไม่สำเร็จประโยชน์ ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมะ อาจจะยังเมาอยู่ ถ้าตราบใดที่ยังเอื้ออำนวยประโยชน์สุข ให้แก่โลกและสังคม รวมทั้งตนเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นลูกหลานทั้งหลายที่นั่งอยู่ที่นี่ ก็ให้เข้าใจว่า พวกเรายังไม่ได้มีธรรมะอะไร กับใครเขาสักเท่าไร
หลวงปู่นี่ พวกอวดอ้างตนว่าเป็นอรหันต์ทั้งหลายเขาเคยมาลองของเยอะแยะ และก็เคยไปดูที่อยู่ของพวกอรหันต์ทั้งหลาย พอเห็นแล้วเลยบอกว่าพวกนี้ มันไม่ใช่อรหันต์ มันเป็นหมูหัน! เพราะว่าตั้งแต่หัวนอนจรดปลายเท้ายังมีขยะหยากเยื่อหยากไย่ เลอะเทอะและรอบๆ ที่อยู่อาศัยมันก็ยังสกปรกรกรุงรัง กิริยาอาการถึงแม้ว่าจะแสดงออกซึ่งความละเอียดอ่อน การแสดงธรรมที่ดีเยี่ยม การพูดที่เก่งกาจ นั่นอาจจะมาจากมายาการก็ได้ ถ้าตราบใดที่ยังไม่สามารถจัดระเบียบกายของตนให้ดีขึ้นมาได้ ใจเขาจะมีระบบที่ดีไม่ได้ มันยากไม่งั้นโบราณเขาคงไม่มีคำสอนหรอกว่า "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล การกระทำส่อความไพร่สถุล" หรือไม่ก็ไม่มีคำสอนที่เป็นของปราชญ์ราชบัณฑิตเขาสอนกันเอาไว้หรอกว่า "การกระทำทั้งหลายมีใจเป็นนายใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า"
เราลองมานึกดูซิว่า ถ้าธรรมะเกิดขึ้นอยู่ในใจใครแล้วมีหรือการกระทำมันจะขัดกัน กัดกัน ตีกัน เตะกัน มีเรื่องมีราวต้องทะเลาะวิวาท บาดหมาง และก็จะมีหรือว่า คนที่มีใจที่เป็นธรรมะ จะเดินผ่านไปพบกับของกองขยะจะไม่เก็บเป็นไปไม่ได้ คนที่เขามีธรรมะ เขารู้จักกิริยาอาการ รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควร รู้จักความถูก ความผิด รู้จักความเหมาะสม และไม่เหมาะสม นั่นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ เป็นคนที่ละเมียดละไม ละเอียดอ่อน
เพราะฉะนั้นคำจำกัดความสำหรับธรรมะก็คือธรรมะวินัยนี้มิใช่ยังให้ เกิดความล่าช้า แต่มันยังให้เกิดความรวดเร็ว เร่งรีบให้ทันการณ์ ทันสมัย รวบรัด และก็เรียบร้อย ถือว่านี่คือประโยชน์แห่งธรรมวินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ยังให้เราเกิดความมานะบากบั่น อดทน อดกลั้น ขยันหมั่นเพียร และปฏิบัติพากเพียร เล่าเรียนท่องบ่นท่องจำ กระทำให้ได้ประโยชน์ ทำลายสิ่งที่เป็นโทษทำให้เกิดประโยชน์ตน คนอื่นและส่วนรวมได้ด้วย
และถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นผู้รู้ธรรมะ ก็ต้องเอามาเปรียบเทียบกับตัวเองว่า เวลานี้เราเป็นคนอดทนอดกลั้นต่ออะไรได้บ้างหรือไม่ มีความซื่อตรง จริงใจการุณย์ ฉลาดขึ้นมาบ้างหรือเปล่า เวลานี้เราเป็นคนหลังยาวเกียจคร้านไหม เวลานี้เรามีจิตใจเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละให้กับใครเขาได้บ้างหรือไม่เวลานี้เราเป็นคนที่มีจิตใจที่จริงจัง และก็มีความจริงใจต่อคนอื่นเขาบ้างหรือเปล่า เวลานี้จิตใจของเรากว้างขวาง ยอมรับเหตุและผลของคนอื่นเขาแล้วหรือยังเวลานี้ตัวของเราเองนั้น ทำตนเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นและตนเองได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าวิเคราะห์ได้อย่างนี้ว่าตัวเองดีตลอด หรือสมบูรณ์ทุกเรื่อง ก็ถือว่าเราเป็นผู้เจริญในธรรม มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย มีธรรมะเป็นเครื่องไป และก็มาด้วยพระธรรม
แต่ถ้าตราบใดที่สิ่งทั้งหลายที่กล่าวออกไปเมื่อครู่นี้ มันยังไม่ได้ปรากฎต่อตัวท่าน ยังมีการทำ พูด คิดที่ไม่มีประโยชน์ต่อตนและคนอื่น มีแต่โทษ และก็มีความละโมบโลภมาก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมะ ก็จงรู้เถิดว่า เรายังไม่ใช่เป็นผู้เข้าใกล้ธรรมะ ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่ด้วยธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ และก็ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องอาศัย ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องไป แถมไม่ได้มาด้วยธรรมะ แต่มันมาด้วยอำนาจของกรรมที่เป็นอกุศล คือการกระทำที่ไม่ฉลาด ผลที่รับจึงได้บ้างเสียบ้าง
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจว่าสำหรับหลวงปู่แล้ว ถ้าจะดูคนมีธรรมะ ไม่ใช่ดูที่หลับตาเก่ง คุยเก่ง แสดงเก่ง อวดเก่ง หรือว่าพูดเก่ง ทำเป็นเก่งแต่ดูที่กิริยา ที่กำจัดความระยำของตนเก่งแค่ไหน ถ้าหลวงปู่จะดูง่ายนิดเดียว แค่เดินให้เห็นก็รู้ว่า คนไหนมีธรรมะ ไม่มีธรรมะ คนที่เดินอย่างคนมีธรรมะ กับคนที่เดินอย่างขาดธรรมะ เดินต่างกันราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว เดินต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือเลย คนที่มีธรรมะเวลาพูด เวลานอนเวลาคุย เวลากิน เวลาขี้ เวลาเยี่ยว เวลาเข้าส้วม มันต่างกับคนที่ไม่มีธรรมะราวฟ้ากับดินเลยทีเดียว แล้วเราก็ค่อยๆสังเกตดูว่า มันต่างกันอย่างไร ข้อจำกัดความสำหรับคนที่มีธรรมะ หรือคนที่เรียนรู้ธรรมะ มีธรรมะอยู่ในหัวใจ คือมีชีวิตอย่างไร้สาระ การุณย์ ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ ไม่จำเป็นต้องไปเรียบรู้ จดจำอะไรมากนัก เมื่อใดที่เราเดินไปเจอเศษกระดาษ แล้วยังหน้าด้านเดินข้ามผ่านไปได้แล้วละก็นั่นสอบตก
เข้าส้วมแล้วปล่อยให้น้ำมันไหลโจ๊กๆ ไฟมันยังเปิดสว่างโล่อยู่หรือว่ายังมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจอยู่ในส้วม แล้วยังเดินสะบัดก้นออกมาจากส้วมได้อย่างสบายใจละก็ นั่นสอบตก
ยังไม่ตะขิดตะขวงใจ ขณะที่ไม่ได้ทำอะไรให้มันดีขึ้นนั่นสอบตก
ถ้าตราบใดที่เรายังเดิน ผ่านเพื่อน ผ่านผู้หลักผู้ใหญ่ผ่านผู้ควรต่อการเคารพ ไม่พินอบพิเทา ไม่ก้มหลัง ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้การยอมรับต่อกติกาสังคม และปฏิเสธระเบียบนิยมใดๆ นั่นสอบตก
ถ้าไม่รู้จักว่าของอะไรควรต่อตน และไม่ควรต่อตนของอะไรเป็นของพระ ของอะไรเป็นของชาวบ้าน ของอะไรเป็นของที่เหมาะสม ควรใช้ ของอะไรที่ไม่เหมาะสมไม่สมควรใช้ ก็ถือว่านั่นสอบตก
ถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าอันไหนเป็นของครูบาอาจารย์ อันไหนไม่ใช่ของครูบาอาจารย์ อันไหนเป็นเรื่องเป็นราวของตน อันไหนเป็นเรื่องเป็นราวของตน อันไหนเป็นเรื่อง เป็นราวของส่วนรวม อันไหนเป็นสิ่งที่ควรจะเคารพยอมรับอันไหนเป็นสิ่งที่ไม่ควรเคารพยอมรับ นั่นสอบตก
เหมือนอย่างเมื่อเช้านี้ เสื่อที่หลวงปู่ใช้นอนเอง ลูกศิษย์มันยังไปลากลงมานั่งกลางดิน ถือว่ามันไม่มีธรรมะอะไรขนาดของครูบาอาจารย์สำหรับใช้รองนอน มันยังเอามารองนั่งเหยียบย่ำ
ถ้าอยากจะเคารพหลวงปู่ ครูบาอาจารย์ละก็ เอาสิ่งที่หลวงปู่และครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอน กลับไปประพฤติปฏิบัติให้เห็นผล และพยายามปรับตัวให้เข้ากับ กติกา สังคมเวลาจะเดินทางไปแห่งหนตำบลใด ทิศใด ชาวบ้านเขาจะมาสะกิดสีข้างถามเองว่า ท่านเป็นลูกศิษย์ของใคร ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ทำใมช่างละเมียดละไมดีพร้อมอย่างนี้ นั่นแหละถือว่าเป็นการเคารพครูบาอาจารย์แล้ว ชื่อของครูบาอาจารย์ ก็จะกระจาย กระฉ่อน เลื่องลือไปไกลในทางที่ดีที่ถูกต้อง
แต่ถ้าตราบใดท่านเอาแต่มานั่งกราบนั่งไหว้ แล้วกิริยาอาการในหัวใจยังระยำอัปรีย์ ทำสิ่งกาลีติดตัวอยู่เป็นประจำไปไหนใครๆ ก็เห็นมีแต่ความระยำตลอด เขาก็จะมาสะกิดสีข้างถามเหมือนกันว่า พ่อแม่ชื่ออะไร ครูอยู่ที่ไหน ทำไมสอนระยำอย่างนี้ การที่มีชีวิตอยู่แบบใช้ธรรมะแล้วให้ชาวบ้านเขามานั่งกราบอย่างนั้นก็ไม่ใช่ เรื่องดีนักมันเท่ากับว่า ทำให้ตัวเองต้องอับเฉา เสียหายลงไป ครูบาอาจารย์ ใครเป็นพ่อเป็นแม่ ก็พลอยซวยไปด้วยเหมือนกัน
ฉะนั้น หลวงปู่จึงบอกว่า ไม่ชอบที่จะให้ใครมายก มากราบ มายอมรับ แต่ที่ต้องสอนให้ยอมรับ ยอมรู้ ยอมดูยอมเห็น ยอมกระทำจะได้เป็น จะได้ไม่ทำเป็นพวกตากระทู้หูกระทะ คือมีตารอบตัว แต่มองอะไรไม่เห็น หูมีก็ฟังไม่ได้เอาไว้ใช้จับ ใช้หิ้วอย่างเดียว ถือว่าไม่รู้จักอะไรควรอะไรไม่ควร คนที่มีธรรมะ เขารู้จักใช้สมมติได้อย่างสมบูรณ์ ให้ความเคารพในสมมติ ยอมรับสมมติ ให้เกียรติสมมติ เขาสมมติว่านี่คือครู นี่คือพ่อ นี่คือแม่ นี่คือลูก นี่คือผัว นี่คือศิษย์ นี่คือเพื่อน นี่คือผู้อาวุโส นี่คือผู้อยู่ใกล้ เมื่อเขาสมมติกันมาอย่างนี้ เขาก็มีกฎเกณฑ์ของความเป็นสมมติว่า อยู่กับครูต้องทำกิริยาอย่างไรอยู่กับพ่อแม่ทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระธรรม ต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่กับพระสงฆ์ต้องทำกิริยาอย่างไร อยู่ในสถานที่เช่นนี้ต้องทำกิริยาอย่างไร และถ้าเรายอมรับกับกิริยานั้นๆ แล้วกระทำปฏิบัติตาม ถือว่าคนคนนั้นเป็นคนมีธรรมะ เพราะธรรมะตัวนี้ มันเป็นตัวขัดเกลา ทำให้เราอ่อนโยน ยอมรับเหตุและผลของคนทั้งหลาย รวมทั้งทำตัวเองให้เป็นที่ยอมรับได้
แต่คนที่มีธรรมเมา เขาจะทำให้ตัวเองแข็งกระด้างไม่ค่อยยอมรับอะไร เดินชูงวง ทำเป็นปูชูก้ามื ช้างชูงวง กิ้งก่าชูคอมีแต่ความเสื่อมทรามและเสียหาย ทำลายตัวเองด้วยความไม่รู้ กฎเกณฑ์ กติกาของสังคม ก็ไม่เรียนรู้ไม่ยอมรับ ทำหน้าที่พ่อไม่เป็น ทำหน้าที่เมียไม่เป็น ทำหน้าที่ผัวไม่เป็น ทำหน้าที่ลูกไม่เป็น ทำหน้าที่อาจารย์ไม่เป็น ทำหน้าที่ศิษย์ไม่ได้ แม้แต่ทำหน้าที่ให้แก่ตัวเองก็ไม่สนใจไม่เป็น แล้วจะอยู่กับใครเขาได้
เพราะฉะนั้นคนที่มีธรรมะ เขาไม่ได้ดูกันว่า ปริญญาพ่วงท้ายกี่ใบ หรือว่าสำเร็จเป็นมหาได้เปรียญ ๓ ประโยค ๙ ประโยค อะไรนั้น เขาดูกันว่า มีหน้าที่อย่างไร และทำหน้าที่อย่างนั้นสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน นั้นถือว่าคนคนนั้นมีธรรมะ เรียกว่าถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
เพราะฉะนั้น ชั่วชีวิตของหลวงปู่ ไม่ชอบให้ใครมายกแต่ก็ไม่อยากให้ใครเขามาเหยียบคนที่เป็นลูกศิษย์ของตน เหตุผลก็เพราะว่าคำว่ายกตัวนี้มันหมายถึง ยกด้วยกิริยาอาการแห่งความต้องพินอบพิเทา เคารพยกย่อง เช่นนี้ไม่อยากจะให้เป็น ไม่อยากจะให้ใครมาโกหกหลอกลวงตัวเองอย่างนั้น ถึงว่าท่านจะมากราบเช้า กราบกลางวัน กราบเย็น กราบกลางคืน แต่หัวใจอัปรีย์ระยำละก็ ไม่อยากให้กราบเลยให้ตายเหอะ เหมือนกับเอาขี้มาทาทองเอาทองมาปิดไว้ในกองขี้ ใครเขาชอบกันบ้างละ หลวงปู่ไม่ชอบเลย แต่ที่ต้องสอนว่านี่ที่นั่งของพระ นี่ที่นั่งของครูนี่ที่นั่งของอาจารย์ นี่ที่นั่งของหลวงปู่ ก็ต้องการจะบรรเทาและทำลายหัวใจอัปรีย์กาลีระยำที่อยู่ภายในใจของศิษย์ ให้มันลดน้อยถอยลงไป การรู้จักกาล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้จักสมัย รู้จักเหตุ รู้จักปัจจัย รู้จักสิ่งแวดล้อม รู้จักสถานที่ รู้จักบุคคล รู้จักสมมติ นั่นแหละคือตัวธรรมะ และถ้าหากมันไม่รู้จักมันไม่เข้าใจ ก็ต้องเพียรพยายาม จะทำให้รู้จักให้เข้าใจจะได้มีธรรมะเกิดขึ้น เช่นนี้จึงถือว่า ศิษย์ผู้นั้นไม่มีใครกล้าเหยียบ
นี่คือหน้าที่ของครูผู้ใจอารี ต้องพยายามชี้ให้ตรงจุด และก็กระแทกกระทั้นขยำขยี้ เพื่อให้ศิษย์จะได้ดีขึ้นมาผู้หวังดีจะทได้ดีขึ้นมา ผู้อยากดีและพบดีก็ต้องเจอดีจนได้ แต่ถ้าหากว่าศิษย์คนใด ไม่ยอมรับการขยำขยี้กระแทกกระทั้นจ้ำจี้จ้ำไช นั่นก็คือว่าไม่ดี ไม่อยากดี ไม่ต้องการดี และไม่มีดี ไม่ควรจะอยู่ดี และตายไปคงไม่ดีเป็นแน่
ฉะนั้นอย่าไปคิดว่า การที่หลวงปู่ต้องนั่งบ่นคอยจ้ำจี้จ้ำไช ด่าว่ากล่าวตักเตือน ไม่ใช่เพียงเพื่อจะให้ตัวเองสูงส่ง ดีเลิศประเสริฐศรีในปฐพีหรอก แต่อยากจะให้พวกท่านทั้งหลายได้รู้จักว่า ธรรมะมันคืออะไร ธรรมะก็คือ การทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ถูกต้อง ตรงแนวและยุติธรรม ตามครรลองและทำนองคลองธรรมของกฎเกณฑ์แห่งสังคม และความเป็นสมมติในโลก และในที่สุดธรรมะมันก็เป็นตัวการทำให้เราพ้นจากอำนาจความเป็นสมมติได้ในที่ สุด เมื่อเราสามารถปฏิบัติ และยอมกระทำตามสมมตินั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เราก็จะรู้จักมันขึ้นมาเองว่าอาการเช่นนี้ มันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติว่า อ้อ! สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงแค่กลกามของโลกที่เป็นสมมติเท่านั้น เราทำมันสมบูรณ์แล้วครบถ้วนกระบวนความแล้ว และก็วางมันได้อย่างสบายใจอย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ใครเขาจะมาอาจคัดค้านเราไม่ได้ ใครจะมาว่ากล่าวเราทีหลังก็ไม่ได้ เพราะเราได้ทำมันมาสมบูรณ์แล้วเรียนรู้มันมาสมบูรณ์แล้ว ปฏิบัติมันมาสมบูรณ์แล้ว ยอมรับมันมาสมบูรณ์แล้ว สมบูรณ์ที่สุดแล้วตามหน้าที่ของความเป็นคน หน้าที่ของการเรียนรู้ หน้าที่ของการยอมรับเมื่อทำถึงขั้นนี้เราก็จะรู้เองว่า เราควรจะวางอย่างไร
แต่ถ้าตราบใด ยังเดินผ่านไปเห็นขยะยังไม่หยิบ เห็นความสกปรกยังไม่ล้าง เห็นพื้นที่ไม่สะอาดยังไม่เช็ด เห็นห้องน้ำไฟไม่ปิดก็ไม่ยอมช่วยปิด มองไม่เห็นกิริยาอาการแห่งความโสโครกสกปรกในตัวตนที่ยังมีอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครนะว่า เราเป็นคนมีธรรมะ ไม่เชื่อ ร้อยไม่เชื่อ พันไม่เชื่อ หลวงปู่ไม่เชื่อ เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปทำอะไรที่มันเป็นเรื่องเป็นราวนอก เหนือจากความเป็นคนที่สมบูรณ์และมนุษย์ที่ประเสริฐเลย อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมะ ไม่ได้สอนสัตว์เดรัจฉาน พรหมเทวดา แด่พระองค์แสดงธรรมะ เพื่อจะสอนคนให้เป็นมนุษย์นะ "มนุษย์" ตัวนี้แปลว่า ใจสูงมันยกระดับจากความเป็นคนขี้เมา สูงจากฝุ่นละอองและผงธุลี ที่จะแปดเปื้อนเรือนเลอะเทอะกับตัวคนเอง และพระองค์ก็ทรงสอนท ไม่ได้สอนใครผู้วิเศษที่ไหน สอนคนให้มีชีวิตอย่างไร สอนมนุษย์ให้มีชีวิตสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน
เมื่อเราทำได้อย่างนี้ก็ถือว่า "เราพ้นจากความเป็นคนขึ้นมาสู่ความเป็นมนุษย์" พระองค์ก็ยังมีข้อวัตรปฏิบัติจากมนุษย์ให้ขึ้นมาสู่ความเป็นนักบวช และพระต่อไป
เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่า พระองค์ไม่ได้สอนอะไรไปมากกว่าการทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ตามกาลควรเป็นตามเหตุตามปัจจัยที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อมนั้นๆ นั่นแหละคือลักษณะตัวธรรมะ มันไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่านี้ ถ้าดูให้มันดีๆ การปฏิบัติตามพระธรรมเพื่อนำสู่ตัวเราเอง ตัวเราเองที่ต้องกำจัดทำลายล้าง ซักฟอก ขัดสี แคะ แกะเกา ให้สนิมร้ายสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ฝุ่นละอองผงธุลีมันออกไปจากตัวเราบ้าง ให้เหลือไว้แต่ส่วนดีๆ นั่นแหละคือ ขบวนการกำจัดและทำลายของธรรมะ
แต่ถ้าตราบใดที่กิริยาอาการของเรายังไม่สามารถชำระล้างความสกปรก โสโครกออกไปจากตัวเราได้ ยังเป็นคนเกียจคร้าน หยาบกระด้าง โลภโมโทสัน หยิ่งผยอง ทรนงอวดดี ยโสโอหัง จิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัวแล้วละก็ อย่าไปบอกกับใครเขาว่าเรามีธรรมะ ไม่มีใครเชื่อหรอก เพราะว่าธรรมะมันก็คือ ปฏิกิริยาแห่งการกำจัดคราบ สี เสียงและกลิ่นแห่งความสกปรก ให้มันลดน้อยลงไป หากสิ่งเหล่านี้ ที่เป็นคราบ สี เสีย แสง กลิ่น แห่งความสกปรกยังคงที่อยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่า เราเป็นคนมีธรรมะ ไม่มีใครเชื่อเด็ดขาด
หลวงปู่จึงอยากจะบอกท่านทั้งหลายเอาไว้ เตือนกันในฐานะญาติสนิท ที่คิดว่าไม่ใช่คนอื่นคนใกลว่า พวกท่านทั้งหลายอย่างคิดว่าตัวเองเป็นคนมีธรรมะ เราไม่สังเกตหรือว่า หลวงปู่เดินขึ้นไปบนศาลาและไปยืนมองผ่านอ่างบัว เดินไปรอบๆ และก็ยืนนิ่งๆ แล้วก็พูดอยู่ทุกวันว่า ไม่เห็นพวกเราทำอะไรกัน ไม่มีธรรมะ ไม่เห็นมีธรรมะอะไรเลย รู้แล้วก็ไม่เห็นทำอะไร เพื่อจะเตือนให้ท่านได้รู้ว่า ธรรมะมันไม่ได้มีเอาไว้สำหรับนั่งหลับตา ไม่ได้มีไว้คุยจ้ออวดกัน ไม่ได้มีไว้เพื่อจดบันทึกไว้ในหนังสือ ไม่ได้มีเอาไว้จำ ไม่ได้มีเอาไว้สอน แต่มีเอาไว้กระทำ กำจัดความระยำที่มันหมักหมม หมักดอง อยู่ในหัวใจให้มันลดน้อยลงไป นั่นถือว่าคนมีธรรมะ
เหมือนอย่างหลวงปู่กล้าที่จะก้มกราบตีนเณร ที่เขาสามารถเก็บขี้หมา ที่กองอยู่หน้าโบสถ์ได้ ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็เดินข้ามไปข้ามมา ทั้งๆ ที่เณรองค์อื่นเขาก็มี แต่มีเณรองค์นั้นองค์เดียวที่กล้าทำ ซึ่งเขาก็ไม่ได้ทำต่อหน้า แต่ทำลับหลังไม่ได้ทำแบบอวดๆ ด้วย หลวงปู่แอบดูก็เลยไปกราบตีนเคารพ ในพระธรรมของเขา เพราะเขามีธรรมะ ธรรมะชั้นสูงเสียด้วย ไม่ใช่ธรรมะชั้นต่ำ
ฉะนั้น คนมีธรรมะนั้น มันไม่ใช่คนนั่งชูคอบนยอดปราสาท อยู่ในวัดหรืออยู่บนอาสนะสูงๆ แต่งตัวสวยๆหรือว่าแต่งตัวดีๆ ตาสี ตาสา ยายมา ยายมี แต่งตัวอัปรีย์อาจจะเป็นคนมีธรรมะชั้นดีก็ได้ คนแก่หู ตา มองไม่เห็น ก็อาจจะเป็นคนกมีธรรมะชั้นดีก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนที่ใกล้ตายก็อาจจะเป็นคนมีธรรมเมาก็ได้ เกิดมาเป็นใบ้ หูหนวก พูดไม่ได้ ก็อาจจะมีธรรมะชั้นเลิศได้ เกิดมาร้อยปีทำดีไม่ได้ ก็อาจจะมีธรรมเมาชั้นแย่ก็ได้
จึงอยากจะฝากบอกเอาไว้ว่า ศาสนานี้เขาไม่ได้ยกย่องคนดี คนแก่ ด้วยการอยู่นาน อยู่นานแต่ทำเป็นอันธพาลตลอดชาติ มีความระยำตลอดชาติ อยู่นานก็เปลืองประโยชน์ เขายกย่องคนแก่ คนดีตรงที่ทำได้ มีสาระปราศจากโทษได้ประโยชน์ เกิดวันเดียวก็มีสิทธิ์จะเป็นคนแก่ได้ ชาวโลกชาวบ้านเขาเรียกหลวงปู่ว่า เป็นหลวงปู่ก็ไม่ใช่เพราะว่าหลวงปู่อยู่นาน แต่เพราะหลวงปู่ทำอะไรเพราะหลวงปู่ทำอะไรนี่แหละ จึงทำให้คนทั้งหลายเรียกหลวงปู่ว่า เป็นคนแก่ เป็นผู้เฒ่า แล้วพวกท่านล่ะ พวกท่านทำอะไรกัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดมุ่งหวังอยากเป็นผู้รู้ธรรมะเข้าใจธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ อยู่ด้วยธรรมะ อาศัยธรรมะ และก็มีธรรมะเป็นเครื่องไป มาด้วยธรรมะแล้วละก็ ถามกันไว้แค่นี้ว่า พวกเราทำอะไร และกำลังจะทำอะไร อยากจะฝากบอกเอาไว้ ก็เพราะเห็นเข้ามาใช้สถานที่ตรงนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม มันจะพร่ำเพรื่อปฏิบัติธรรมะแบบพร่ำเพรื่อ เปรอะเลอะเทอะ ธรรมะมันเลอะไปหมด เต็มไปหมด ฝุ่นละอองแห่งธรรมะมันกระจุยกระจายจนกระทั่งเต็มไปในหัวใจของผู้ปฏิบัติ เต็มมาจนถึงโต๊ะหมู่บูชา เต็มมาถึงที่นั่งของหลวงปู่ เต็มไปถึงสถานที่ใกล้ๆและใกลๆ รอบๆ บริเวณส้วมเต็มไปด้วยคราบ ด้วยกลิ่นด้วยสี จะเป็นการแสดงออกของธรรมะชั้นไหน ต้องถามฝากไว้ในหัวใจไว้สักนิด มันต้องรวมไปถึงทั้งพระ ทั้งเณรเถร ชีทั้งหลายด้วยว่า มันเป็นธรรมะชั้นใด
สำหรับหลวงปู่แล้วไม่ถือว่า จำเป็นเฉพาะต้องมีธรรมะในที่นี่ ที่ไหนก็ได้ ที่เราเหยียบย่างเข้าไป ก็ต้องมีธรรมะอยู่ในหัวใจ หลวงปู่ไปอยู่วัดตะลุง วัดเขาบันไดอิฐอยู่วัดถ้ำสิงโตทอง อยู่วัดถ้ำรังเสือ อยู่ที่เขาตอหม้อ อยู่ที่ไหนๆ ให้ไปถามผู้ที่อยู่ที่นั้นๆ ได้เลย ว่าไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงแค่หลวงปู่ไปอาศัยแค่ข้ามวันข้ามคืน ก็ทำให้วัดเขาสะอาด ถางหญ้า รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ปลูกต้นไม้ ล้างส้วม กวาดขยะ เก็บหยากเยื่อ หยากไย่ ไม่เคยหยุดนิ่งเพราะความมีธรรมะที่หลวงปู่รู้อยู่ในตัวว่า คนมีธรรมะเขาไม่ได้นิ่งเฉย ใจมันนิ่งแต่กิริยาอาการไม่ได้นิ่ง ถ้าขืนว่ากิริยาอาการยังนิ่งเฉยต่อสิ่งที่ควรทำ พูด คิด อยู่แล้วเราจะเป็นผู้มีธรรมะไม่ได้ ธรรมะเหมือนกับตัวจักรและฟันเฟือง ที่มันไม่ชำรุด มันจะขยับเขยื้อนเลื่อน ทำให้ตัวเป็นยานพาหนะที่ตนและผู้อื่นพึ่งพิงได้ เคลื่อนไปอย่างดีเยี่ยม และก็เป็นระเบียบเรียบร้อย จนกลายเป็นระบบของใจและกาย คนเราก็เหมือนตัวยานพาหนะ ธรรมะคือสิ่งที่เป็นฟันเฟืองอยู่ในใจ ถ้าฟันเฟืองเหล่านั้น มันไม่บิ่นไม่ชำรุดเสียหาย มันก็จะทำให้ขับเคลื่อนกายไปทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าฟันเฟืองมันชำรุดเสียหาย นั่นก็ถือว่าความฉิบหายของธรรมะที่อยู่ในใจนั้น เกิดขึ้นเสียแล้ว กายมันก็ไม่อยากจะทำอะไร มีแต่ความเฉื่อยชาเชื่องช้าตลอดกาล ลองไปถามเถอะ ที่ใดที่หลวงปู่เหยียบย่ำเข้าไปนั้น จะไม่เจริญเป็นไม่มี ไปอยู่วัดตะลุง ลพบุรี อยู่วันแรกก็จับจอบเสียม ถางฟัน ชำระล้างไอ้ที่เขารกกันมาเป็นปีๆ ก็สะอาดภายในไม่กี่วันที่หลวงปู่ไม่อยู่ จนชาวบ้านชาววัดต้องละอายร่วมแรงร่วมใจกันกลับมาทำ
เพราะฉะนั้นตัวธรรมะนี้ มันไม่ใช่มีเอาไว้สำหรับที่จะมาเขียนใส่ตำรา คัมภีร์ และก็เรียนกันในห้องเรียน หรือนั่งกันอยู่ในเฉพาะหอพระกรรมฐาน
พวกท่านทั้งหลาย อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรม พูดช้าๆ สั้นๆ ให้หนักแน่นและได้ใจความก็คือ "การปฏิบัติธรรม" สถานที่ตรงนี้เขาเรียกว่า หอพระกรรมฐาน "กรรมคือการกระทำ" "ฐาน คือที่มั่นทำให้ใจนี้มันเป็นที่มั่นของการกระทำได้" ตราบใดที่เรายังไม่มีการกระทำที่เป็นที่มั่นของตัวเอง อย่าว่าแต่อยู่ในหอเลย อยู่นอกหอก็หาว มันก็ป่วยการ เสียเวลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ทำฐานที่มั่นของตนให้ดี แล้วเราจะทำอะไรก็ลุล่วงสำเร็จ เพราะเรามีฐานที่มั่นในการทำพูดคิดมันไม่ใช่ต้องมานั่งเสียเวลากับการนั่ง หลับตาอย่างเดียวเท่านั้น รวมไปถึงการกิน ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วย อย่างที่เมื่อวานหลวงปู่ตอบว่า สมาธิที่มีไว้ใช้กับกิจการงาน? ทำไมต้องเลือกใช้ในเฉพาะกิจการงาน เพราะโจรที่ปล้นเขาได้ก็มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ผิด มันควรจะมีชีวิตให้อยู่ในสมาธิ มีสมาธิเป็นเครื่องอยู่ มีสมาธิเป็นเครื่องยืน มีสมาธิกำกับการเดิน มีสมาธิกำกับการพูด มีสมาธิกำกับความคิด มีสมาธิกำกับการแสดงมีสมาธิกำกับการกิน การขี้เยี่ยวตด การนอนนั่ง มันควรจะเป็นไปด้วยอิริยาบถแห่งความรู้เนื้อรู้ตัว นั่นถือว่ามีสมาธิเป็นสมาธิที่อยู่ในขั้นสัมมาสมาธิ ไม่จำเป็นจะต้องมีเฉพาะแค่ทำงาน และถ้าหากว่า คนรู้เนื้อรู้ตัวในขณะกิน ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตดแล้ว ไม่มีการที่ขาขวาเตะขาซ้าย ฟันกัดลิ้นตัวเอง จะไม่มีเด็ดขาด ทุกอย่างมันจะสมบูรณ์แบบในหน้าที่ของมัน
เพราะเรามีตัวเจ้านายที่มีพลังอำนาจ คือตัวสมาธิที่เกิดจากตัวสติ คอยควบคุมกำกับดูแล กาย วาจา ใจ และอิริยาบถทั้งหลาย ให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ยุติธรรมถูกต้อง ตรงแนวเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของหลักการแห่งธรรมชาติ และเพียบพร้อมไปด้วยการรับผิดชอบ ต่อหน้าที่แห่งความเกิด และทำงาน นั่นคือคนมีสัมมาสมาธิ แต่ถ้าอะไรๆ มันยังเลอะเทอะเหลวแหลกเยอะแยะอยู่ละก็ อย่าไปบอกใครว่าเรามีสมาธิ ปกติหลวงปู่ชอบเสียงดนตรี ชอบดอกไม้ ชอบอิสระ ชอบเสรีภาพ ชอบฟังเสียงน้ำไหลกระทบหินผ่า ชอบสายลม แสงแดดยามเช้า ชอบกลิ่นอายธรรมชาติ ก็เพียรพยายามจะทำตัวเองให้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพื่อจะดูตัวเองว่า มันเป็นความชอบที่เกิดจากกามหรือเป็นความชอบที่เกิดจากนิสัยแท้ๆ ก็เพียรพยายามจะตัด จะสะสางตัวเองด้วยธรรมะ ด้วยความอดทนอดกลั้น ตั้งอกตั้งใจที่จะทำให้มันจริงๆ จังๆ
เพราะฉะนั้นต้องฝากลูหลานทั้งหลายเอาไว้ว่า นี่ก็หลายฝากแล้วนะ เอาเป็นว่าขอฝากอีกทีหนึ่งว่า ธรรมะชั้นสูงสุดยอด วิเศษสุดนั้น ไม่ใช่เรียนมาจากตำรา อย่างที่หลวงปู่บอกเอาไว้ในบทโศลกว่า
ลูกรัก.... สุดตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก วินัยปิฏกมันไม่ได้ทำให้เจ้าเข้าถึงธรรมะ มันเป็นเพียงสื่อบอกธรรมะเท่านั้น การที่เจ้าจะเข้าถึงธรรมะได้ เจ้าต้องกระทำมันด้วยใจ ทำหน้าที่ทุกอย่างที่มีด้วยใจ ที่รู้แจ้งนั่นแหละถึงธรรมะ และเป็นธรรมะชั้นสูง เป็นพระบริสุทธิธรรม เป็นวิมุตติธรรม เป็นสัจธรรม เป็นอริยธรรม เจ้าก็จะได้ถึงความเป็นอริยเจ้า อริยบุคคลได้ในที่สุด
หรือไม่ก็มีบทโศลกที่หลวงปู่ได้เขียนเอาไว้ว่า
ลูกรัก.... ระเบียบกฎเกณฑ์ กติกา ที่หยุมหยิมยึกยัก นิดหน่อย น้อยนิดนั้น เจ้าอย่าคิดว่ามันไม่มีประโยชน์ สำหรับพ่อแล้วถือว่าเป็นเครื่องมือ ในการปลุกให้เจ้าตื่น ให้เป็นผู้ตื่น และตื่นอย่างระมัดระวังทีเดียว เพราะความระมัดระวังว่า จะผิดกับกฎเกณฑ์กติกา และต้องทำมันด้วยใจนั้น มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ตื่นขึ้นมาอย่างชนิดที่เราไม่คิดยว่ามันจะตื่นจริงๆที่ต้องตั้งกฎเกณฑ์กติกา เอาไว้สำหรับผู้ใช้หอพระกรรมฐาน เพื่อจะเป็นเครื่องมือปลุกให้เราตื่นเท่านั้นเอง ตื่นจากอะไร? จากความโง่ งี่เง่า หลงงมงายและตื่นจากตายอย่างชนิดที่ไม่อยากตาย หรือไม่เตรียมตัวตาย ไม่รู้ว่าวันตายและไม่รู้ว่าชีวิตหลังความตายจะเป็นเช่นไร เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้วเราจะรู้ทันทีว่าชีวิตหลังความตาย ของผู้ตื่น จากราคะจากความโกรธ จากความรัก จากความชัง จากความชอบ จากความหลง จากความตกเป็นทาสด้วยการยอมรับปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กติกา อันหยุมหยิมยึกยักเหล่านั้นอย่างมีมหาสติ มันจะทำให้เราเป็นสุขสันติ อิสระ บริสุทธิ์ พ้นจากทุกข์ความระแวดระวังต่อการทำผิดกฎ นั่นแหละคือตัวการแห่งสติ มันคือตัวมหาสติอย่างยิ่งแหละและจะไปฝึกสติที่ไหนอีก ถ้าท่านยังไม่ยอมระแวดระวัง ต่อกฎเกณฑ์กติกาที่มีอยู่ การเรียนรู้ธรรมะจากธรรมชาตินี้ มันไม่มีขั้นตอนอะไรมากไปกว่า ชีวิต วิญญาณ ความรับรู้ และการยอมรับความจริงอย่างซื่อตรง จริงใจ ใช้ปัญญา และตั้งใจทำเท่านั้นแหละ สาธุ สาธุ พระพุทธะกำลังจะเกิดแล้ว
ลูกรัก
จงยืนให้เป็น เดินให้เป็น นั่งให้เป็นนอนให้เป็น อิริยาบถทั้งหมดนี้ สำหรับผู้ยังหลับใหลต่างจากผู้ตื่อน ชนิดขาวกับดำเลยทีเดียวหละ
ลูกรัก
จงใช้ชีวิต วิญญาณของท่าน ด้วยความประหยัด ต่อของเครื่องใช้ ทุกสรรพสิ่ง และเต็มเปี่ยมไปด้วยประโยชน์
ลูกรัก
มหาสติ มีอิริยาบถเป็นเครื่องอยู่ มีความรู้เป็นจุดมุ่งหมาย
ลูกรัก
มนุษย์เรามีอิริยาบถทุกขณะจิต เราควรจะพัฒนาอิริยาบถนั้นๆ ให้สะอาดทุกขณะจิต
ลูกรัก
ธรรมชาติ คือ ชีวิต ช่วยพิชิตความสกปรก นี่ไม่ใช่เรื่องตลก เพราะความสกปรกเป็นภัยต่อชีวิต