16 พ ค 2554 10.15 น. ถอดเทป (1/2) ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน
สุญญตสมาธิ
หนึ่งวันก่อนวันวิสาขบูชา
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ
พร้อม เตรียมตัว สร้างกระบวนการให้เกิดสติ เจริญสติ ให้สติตั้งมั่นอยู่ภายในกาย ตาม
ระยะเวลาที่ตัวเองกำหนดได้ เรียกว่า สามารถควบคุม control สติ ให้ใจกับสติ จิ
ดกับสติเป็นหนึ่งเดียวกัน แล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการวิชาสุญญตสมาธิ
ในขณะที่เดินทุกย่างก้าวต้องมีสติ สติกับกายต้องรวมเป็นหนึ่ง
จิตตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม
รู้สึกอยู่ที่กลางกระหม่อม
ตัวรู้อยู่ที่กลางกระหม่อม
ระลึกอยู่ที่กลางกระหม่อมทุกย่างก้าว
สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม จิตต้องไม่เคลื่อนจากกลางกระหม่อม ไม่ว่าจะก้าวเท้าใด
เลิกเล่นกับมันเสียที เอาจริงๆ จังๆ ทำให้มีพัฒนาการทางจิต
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้อยู่กลางกระหม่อม
วิธีนี้ เป็นวิธีที่สามารถจะ control จิตทุกดวงไม่ให้หลุดร่วงออกไปจากกาย
จิตหนึ่งรู้จังหวะ จิตหนึ่งรู้การก้าว จิตต่อมารู้ที่ตั้ง ก็คือ กลางกระหม่อม
แต่ให้การรู้จังหวะ รู้การก้าว เป็นการรู้ที่ผิวเผินเหมือนกับตาที่เรามองไปรอบๆ
เห็น แต่ไม่ใส่ใจ ไม่พิจารณา เราจะพิจารณาต่อเมื่อจุดใดที่เราสนใจ ใส่ใจ เราจะเพ่ง จะจ้อง
จะดู
ในที่นี้เราเพ่ง จ้อง ดู อยู่ที่กลางกระหม่อม
ที่เหลือนอกนั้น เป็นความรู้ที่เบาบางและผิวเผิน นั่นคือ เป็นจิตหนึ่งๆ ซึ่งเราไม่ใส่สติเข้าไป
เดินก็ต้องให้ถูกจังหวะ
รู้จนสามารถเกิดความร้อนที่กลางกระหม่อมได้ สัมผัสมันได้ ทั้งร้อนและเย็น
บางคนอาจจะไม่ร้อน แต่เย็น บางคนไม่ร้อน ไม่เย็น แต่หนักๆ หน่วงๆ อุ่นๆ
ก็ต้องรับรู้ให้ได้ แต่ไม่ต้องแปลความ ไม่ต้องสงสัยว่า มันจะเป็นอะไรต่อไป แค่รู้เฉยๆ ไว้
รักษาจิตให้อยู่ที่กลางกระหม่อมให้ชัดเจน อย่าให้เคลื่อน เลื่อนหลุด ทุกย่างก้าวต้องมั่นคง
ที่ต้องฝึกอย่างนี้ ก็เพื่อให้เรามีความช่ำชอง เชี่ยวชาญในการคุมจิต
ไม่ว่า จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็สามารถคุมจิตได้
จิตที่สงบระงับ ไม่ใช่ต้องนั่งนิ่งๆ เฉยๆ
อ้ายนั่งนิ่งๆ เฉยๆ น่ะ มันคนพิการ คนที่ยืนไม่ได้ เดินไม่ได้ นอนไม่ได้
เอาแต่นั่งนิ่งๆ ถ้าไม่นั่งนิ่ง ก็จิตไม่สงบ
ชีวิตจริงๆ มันเป็นอย่างนั้นที่ไหน มันซักกี่เวลาที่เราจะนั่งนิ่ง
ทำไมไม่ทำให้มันสงบทุกอิริยาบท
นี่แหละ คือที่มาของการ ทำไมต้องเดินเพื่อจิตตั้งอยู่กลางกระหม่อม
เลิกอยู่กับความเพ้อฝัน และหลอกตัวเองเสียที หันมาอยู่กับชีวิตจริงๆ และทำให้ชีวิตจริงมี
สาระ
ชีวิตจริงที่ยืนได้ เดินได้ พูดได้ นอนได้ นั่งได้
ยืน เดิน นั่ง นอน มีแต่ได้ ไม่มีเสีย
ฝึกที่จะนั่ง แล้วได้ แล้วยืน เดิน ล่ะ ทำไมถึงไม่ได้ นอนล่ะ ทำไมถึงไม่ได้
อ้ายตัวเล็ก มึงบวชมาก็เดินไม่ได้เรื่อง สึกแล้วก็ยังเดินไม่ได้เรื่อง เดี๋ยวก็เปิ๊ด
ต่อไป เคลื่อนจิตไปอยู่ที่ฝ่ามือ ตรงกับเท้าที่ก้าวไปข้างหน้า
สมมุติก้าวเท้าขวา ก็ให้จิตอยู่ที่กลางฝ่ามือขวา
ก้าวเท้าซ้าย ก็ให้จิตเคลื่อนมาอยู่ที่ฝ่ามือซ้าย
จากกลางกระหม่อมมาเป็นกลางฝ่ามือ ทีละข้าง
ก้าวเท้าขวา จิตก็อยู่กลางฝ่ามือขวา
ก้าวเท้าซ้าย จิตก็ตั้งอยู่กลางฝ่ามือซ้าย
ให้รู้แม้กระทั่งชีพจรที่เต้นอยู่ที่กลางฝ่ามือ และหลังมือ
แล้วพวกที่เดินกระแทกตีนน่ะ จะรู้ว่า เรากำลังทำร้ายตัวเอง เพราะชีพจรจะเต้นแรง เมื่อ
ชีพจรเต้นแรงขึ้น ร่างกายก็จะเผาผลาญ ทำงานเร็วขึ้น เซลล์ต่างๆ ก็จะอายุสั้นขึ้น เลือดก็จะ
สูบฉีดได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้เผาผลาญเซลล์ต่างๆ ให้อายุสั้นลง
ก้าวเท้าขวา จิตก็ตั้งอยู่กลางฝ่ามือขวา
ก้าวเท้าซ้าย จิตก็ตั้งอยู่กลางฝ่ามือซ้าย
คนที่เลื่อนลอย จะไม่มีสิทธิ์รับรู้ได้เลยว่า จิตตั้งอยู่ที่กลางฝ่ามือ และชีพจรเต้นอยู่ที่หลังมือ
เดินสักแต่ว่าเดิน เรียกว่า เดินแต่ซาก ก็จะไม่ได้อะไร ได้แค่เดิน
แต่คนที่เดินอย่างมีพัฒนาการทางจิต และตั้งใจที่จะฝึก ก็จะรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ลองทดสอบดูซิว่า เดินกระแทกตีน ชีพจรที่หลังมือจะเต้นเร็วขึ้นไม๊
หยุดอยู่กับที่ รอจังหวะ หลับตา ทรงสติไว้ภายในกาย จิตตั้งอยู่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง
รักษาจิตไว้ที่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง
ก้าวเดินและคุมจิตอยู่ที่ 2 ฝ่ามือ จิตตั้งอยู่ที่2 ฝ่ามือทุกย่างก้าว
ก้าวเท้าขวา จิตก็อยู่ทั้ง 2 ฝ่ามือ
ก้าวเท้าซ้าย จิตก็อยู่ทั้ง 2 ฝ่ามือ
ขยับขึ้นขั้นที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น ให้รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ
รุ่นพี่ช่วยสงเคราะห์หน่อย แสดงน้ำใจ
ให้จิตตั้งอยู่ที่ฝ่าเท้าทั้ง ข้างซ้ายและขวา เมื่อก้าวไปข้างหน้า
ทุกครั้งที่ฝ่าเท้าแนบพื้น แตะพื้น กระทบพื้น ต้องรู้สึกที่ฝ่าเท้า แต่เป็นความผ่อนคลาย
รู้สึกอย่างผ่อนคลาย ไม่ใช่รู้สึกอย่างเคร่งขรึม เหมือนกับขั้นที่ 1
ทุกครั้งที่ฝ่าเท้าย่ำพื้น ไม่ว่าจะขวาหรือซ้าย ต้องรู้สึกที่ฝ่าเท้านั้นให้ชัดแจ้งอย่างผ่อนคลาย
ไม่ใช่เคร่งขรึมเหมือนอย่างขั้นที่ 1
ทุกวันเราก็เดินแหละ แต่เดินแบบชนิดที่ไม่รับความรู้สึกจากฝ่าเท้า
แต่เวลานี้ วันนี้ เราจะเดินแบบชนิดที่รับความรู้สึกจากฝ่าเท้าให้ได้ว่า สิ่งที่ปรากฏ ปรากฏ
เป็นอะไร เป็นความแข็ง ความร้อน ความเย็น แล้วก็คุมจังหวะให้ได้ด้วย
เดินในจังหวะขั้นที่ 2 ไม่ใช่ขั้นที่ 1 เป็นความรู้สึกอย่างผ่อนคลาย
รุ่นพี่ๆ เห็นใครเดินผิด ก็เข้าไปบอกเค้าหน่อย ไปแนะนำเค้าหน่อย สงเคราะห์
พอ หยุดอยู่กับที่ หลับตา
16 พ ค 2554 10.35 น. ถอดเทป (2/2) ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน
สุญญตสมาธิ
หนึ่งวันก่อนวันวิสาขบูชา โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ
• ความว่าง เปรียบได้เหมือนกับแอ่งน้ำ
• ความไม่ว่าง เปรียบได้ดั่งขุนเขาและโขดหิน
• เมื่อว่างถึงขีดสุด จะเกิดปัญญาสูงสุด ในการชำแรก แจกแจง แทงตลอด
ต่อไปจะเป็นวิถีทางแห่งการเข้าสู่วิถีแห่งสุญญตสมาธิเบื้องต้น
สุญญตสมาธิเบื้องต้นที่จะทำได้ดี ก็ต้องรู้ให้ได้ เห็นให้ได้ และเข้าใจให้ได้ว่า อะไรในตัวเรา
เป็นของเรา
เริ่มพิจารณาตั้งแต่ ผมบนหัวเราว่า มันเป็นของเราหรือไม่
ถ้ามันเป็นของเราจริง มันต้องสั่งให้ได้ว่า อย่าหงอก อย่าร่วง อย่าหลุด อย่าล้าน อย่าโล้น
อย่าเปลี่ยนสี ต้องสั่งให้ได้
ถ้ามันเป็นของเราจริง ก็ต้องสั่งต่อไปว่า ต้องไม่สกปรก ต้องไม่มีกลิ่น ต้องไม่เหม็น เพราะ
ของๆเราต้องสั่งงานได้ เหมือนกับสตางค์ที่อยู่ในกระเป๋าเราว่า จะใช้อย่างไรก็ได้
ต้องคิดให้ได้ว่า ผมบนหัวเราเป็นของเราจริงหรือไม่
แม้ที่สุด กระโหลกศีรษะ หนังบนศีรษะ หนังบนใบหน้า และหน้าที่เราถนอมมันตั้งแต่เกิด
จนวันนี้ สารพัดสารพันที่จะหาครีมมาบำรุง ทา ฉาบ แล้วมันยังคงรูปอยู่เหมือนเดิมไม๊ มัน
ยังเต่งตึง งดงามสดชื่น เปล่งปลั่ง สดใสเหมือนเดิมไม๊
ถ้ามันยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไรร่วงโรย หลุดหล่น ก็แสดงว่า มันเป็นของเราจริง
แต่ถ้ามันไม่ใช่ มันตรงกันข้าม ทั้งๆ ที่เราพยายามถนอม รักษาดูแลมันอย่างยิ่ง
แต่มันก็ไม่เชื่อฟัง มันยังร่วงโรย หลุดหล่น เศร้าหมอง เหี่ยวย่นมีอาการปรากฏที่ดูแล้ว มี
แต่ความเสื่อมกับความโทรม ทั้งที่เราดูแลรักษามันอย่างดี ก็แสดงว่า มันยังไม่ใช่ของเรา
ต้องคิดให้ได้อย่างนี้ก่อน เรียกว่า เป็นการเจริญปัญญา หรือเห็นกายคตานุสติกรรมฐาน
คือ มีสติพิจารณาดูภายในกายให้รู้ชัดตามความเป็นจริงก่อนว่า ตั้งแต่หัวจรดปลายตีน มี
อะไรเป็นของเรา ถ้าเห็นว่า มันไม่มีอะไรเป็นของเราได้อย่างชัดแจ้งทุกอณูของร่างกายแล้ว
อุปาทานมันจะถอน
อุปาทาน คือความยึดถือในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
และสัญญาขันธ์ มันก็หลุดหายไป
ทีนี้เมื่อ อุปาทานมันหายไป มันก็จะแตกสลายจากขันธ์ทั้งปวง ขันธ์ทั้งปวงที่ยึดกันก็จะ
พินาศไป ไม่ยึดเกาะเกี่ยวกับจิตที่โดนขันธ์ห่อหุ้มอยู่ ก็จะว่างเปล่า ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง
และมุมบังใดๆ มันเหลือแต่ความว่าง
ก็ต้องพิจารณาต่อไป เพราะว่างแค่นี้ ว่างแค่จิตเฉยๆ ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้า
ต้องว่างจนกระทั่งไม่มีจิต เรียกว่า เป็นความว่างสูงสุด ว่างจนถึงขั้นไม่มีจิต
มีแต่ตัวรู้ และท่านผู้รู้อย่างเดียว
ท่านผู้รู้ก็ยังไม่ถูกต้อง
มีแต่ตัวรู้เฉยๆ
แต่ยังไม่ถึงขั้นนี้ ก็เอาแค่เพียงแค่ว่า พิจารณาให้เห็นว่า ตั้งแต่หัวจรดปลายตีน มีอะไรเป็น
ของเรา
ลองตั้งคำถามปัญหาให้แก่ตัวเองดูซิว่า อะไรบ้างในกายเรานี่เป็นของเรา
ถ้าเป็นของเรา ต้องสั่งได้เวลานี้ เช่น กำลังปวดหัวอยู่ เมื่อยอยู่ เจ็บอยู่ ทรมานอยู่ ลองสั่งซิว่า
หยุด
เพราะถ้าเป็นของกู กูต้องสั่งมึงได้ control ได้ ควบคุมได้
ถ้าสั่งไม่ได้ control ไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ แสดงว่า มันไม่ใช่ของเรา แล้วเราจะโง่
มาห่วงใย อาทร ผูกพันธนาการกับมันอยู่ทำไม เรายังมาสนอกสนใจ ทะนุถนอมมันทำไม
เรายังมาผูกพัน รัดรึง หวงแหนแน่นหนากับมันอยู่ทำไม
อุปาทานมันก็จะคลายลง อุปาทาน คือ ความยึดถือก็จะคลายลง พออุปาทาน ความยึดถือ
เมื่อมันคลายลงแล้ว ทีนี้อ้ายเครื่องห่อหุ้ม และเกาะติดทั้งหลาย มันก็จะโดนปลดสลัก ความ
รัดรึงพันธนาการ ผูกพันทั้งหลาย มันก็จะโดนแก้
เหมือนกับบุคคลผู้มีปัญญาแก้หีบห่อ เปิดกุญแจ ให้แสงสว่างมันเข้าไป ความสว่างไสวก็
จะทำลายความมืด แล้วเราก็จะรู้ว่า อะไรเป็นของดี อะไรเป็นของไม่ดี อะไรถูก อะไรผิด
อะไรเป็นของใช่ กับไม่ใช่ อะไรเป็นของจริงกับของเทียม
พิจารณาให้เห็นให้ได้ ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า ค้นหาให้ได้ ส่งความรู้สึก สติไปในกาย ดูให้
ได้ว่า ตั้งแต่หัวจรดปลายตีน มีอะไรเป็นของเรา
อย่าเอาแต่โงก หลับ
เสร็จแล้วกลับไปหาที่นั่งตัวเอง เอากระดาษ ดินสอมา
เริ่มเข้าสู่กระบวนการสุญญตสมาธิ
กระดาษกับดินสอ
นั่งในท่าที่สบายที่สุด ผ่อนคลายให้ได้มากที่สุด
แล้วเฝ้าดูความเป็นไปของจิต
เมื่อใดที่จิตมันคิด หรือแสดงปฏิกิริยา รัก โลภ โกรธ หลง เร้าร้อน ทุรนทุราย ที่เรียกว่า
ทุกขเวทนา ขีด
แต่เมื่อใดที่จิตว่าง ไม่ต้องขีด
ไม่มีความคิดใดๆ ปรากฏ ก็ไม่ต้องขีด
คิด เป็นขีด
จิตว่างๆ ไม่ต้องขีด
คิด เป็นขีด
ง่วงนี่ ว่างไม๊ เออ ไม่ว่าง ก็ ขีด
รู้สึกว่า ร้อน ทุรนทุราย อย่างนี้ เรียกว่า ว่างไม๊
ไม่ว่าง ก็ ขีด
ว่าง ต้องไม่มีอะไรเหลือเลย
ไม่มีแม้แต่ตัวกู ของกู ไม่มีความรู้สึกเวทนา สุข ทุกข์ ไม่มี
อย่างนั้น ไม่ต้องขีด
แสดงว่า เราเข้าถึงสุญญตสมาธิระดับหนึ่งล่ะ
แต่ถ้ามันยังมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ ตรึก ตรอง ใคร่ครวญ อย่างนี้ก็คือ ไม่ว่าง
อย่างนั้นต้องจับมันใส่กระดาษ
ขีด เพื่อกำจัดความคิดเหล่านั้น
แล้วบอกกับตัวเองได้ว่า นี่เป็นความคิดที่เราไม่ต้องการ
เวลานี้ เราไม่ต้องการคิดอะไร เราต้องการความว่าง
เพราะงั้น ถ้ามันคิด ต้องจับมันใส่กระดาษ
พูดอย่างนี้ เข้าใจไม๊
ถ้าคิด ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามที ต้องจับใส่กระดาษ คือ ขีดไป 1 ขีด 1 ครั้ง คิดครั้ง ก็ขีด
ครั้ง
ขีดแบบเลข 1 คิดครั้ง ก็ขีดครั้ง
แล้วต้องแยกให้ได้ว่า คิดกี่เรื่อง
เข้าใจไม๊ ใครไม่เข้าใจ ยกมือ อนุญาตให้ถาม
ถ้าว่าง ไม่ต้องขีด
ถ้า คิด เป็นขีด
มึงมองกูน่ะ มึงคิดหรือเปล่า
คิดแล้ว ทำไมไม่ขีด
แม้มึงมองกู ดูหน้ากู สุดหล่อเหลาของกู ก็ต้องขีด
หูฟังเสียง แล้วเก็บมาคิด ก็ขีด
ถ้าหูฟังเสียง แล้วเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไรเลย ว่างๆ
อย่างนั้น ไม่ต้องขีด
ไม่ว่าความรู้สึกที่เกิด จะเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ดีใจก็ตาม เสียใจก็ตาม
ขีดหมด เพราะมันเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ
เหมือนที่หลวงปู่เขียนบทโศลกสอนลูกหลานไว้ว่า
ลูกรัก ถ้าตราบใดที่เจ้าต้องการสมาธิ เห็นพระพุทธเจ้า ต้องฆ่าทิ้ง เห็นพระธรรม ต้องเผา
เห็นพระสงฆ์ ต้องหนีให้ไกล
เพราะเราต้องการความว่าง หรือ ความสงบ ไม่ใช่ต้องการพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ถูกไม๊ เออ คนไม่รู้ มันก็ด่ากู หาว่าปรามาสพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะมันไม่รู้ไง
จริงๆ แล้วก็คือ สิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง ก็คือ ความสงบ และความว่าง ไม่ใช่พระพุทธ ไม่
ใช่พระธรรม ไม่ใช่พระสงฆ์
เวลานี้ เราไม่ต้องการบุญ ไม่ต้องการกุศล ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น
ต้องการแค่ความว่าง ว่างแล้วเฉยๆ
ถ้าไม่ว่างแล้วเฉย
ขีดลงไป
ไม่ว่างครั้งนึง ไม่เฉยครั้งนึง
ก็ขีดไป
ต้องรู้ให้ได้ว่า เราไม่ว่างเรื่องอะไร แล้วกี่ครั้ง
ขีดไปด้วย
อ้ายที่นั่งสัปหงกน่ะ มันว่างไม๊ ว่างค่ะ ไม่ว่างจะสัปหงกเหรอ
เอ้า หัวเราะน่ะ มึงว่าไม๊
หัวเราะที่ไหนว่างวะ ว่างมึงจะหัวเราะเหรอ
มีอารมณ์อะไร ยังไม่ต้องแจกถึงอารมณ์ เพราะว่า อาการจิต 10 อย่าง
เคยสอนแล้ว นั่นต้องมาแจกอารมณ์ เที่ยวนี้ เพียงแค่จับว่า เราต้องว่างเท่านั้น
ถ้าไม่ว่าง ต้องขีด
นั่งว่างๆ เฉยๆ มีตัวรู้อยู่ภายในกาย ไม่ใช่ว่าง เพราะหลับสัปหงกนะ
อ้าว อีนั่น ว่างสนิทไปเลย หัวห้อยแล้ว
ทำไมไม่ขีด หูฟังแล้ว หัวเราะฮึๆ น่ะ
นิดนึงก็ไม่ได้ มันต้องว่างจริงๆ ถ้าไม่ขยัน วิริเย ทุกขมัต เจติ นี่ เค้าใช้กันตอนนี้
ถ้าไม่ขยันขีด ก็แสดงว่า เราจะแยกไม่ได้ระหว่าง ทองกับขี้ พลอยกับหิน เราแยกไม่ได้
เพราะงั้น ขีดเพื่อแยกให้ได้ว่า อะไรคือทอง อะไรคือ หิน อะไรคือ พลอย อะไร คือเพชร
สรุปแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับจิต ถ้าไม่ใช่ความว่าง
ต้องขีด ต้องฆ่ามัน ต้องจับมันใส่ลงไปในกระดาษ
ขีดเฉยๆ ไม่ต้องเขียน
ยิ่งเขียน มันก็ยิ่งไม่ว่างใหญ่ แล้วมานั่งเสียเวลาทำอะไรกับความไม่ว่าง
ไม่ได้ให้มาบันทึก ให้แค่ขีด
ไม่ว่าง 1 ครั้ง ก็ขีด 1 ครั้ง
ไม่ว่างอย่างมีสตินะ ไม่ใช่ไม่ว่างอย่างเหมอลอย อ้ายนั่นมันคนบ้า
ไม่ว่างอย่างมีตัวรู้อยู่ภายใน ไม่ใช่ออกไปรู้เรื่องข้างนอก
ง่วงหงาว หาวนอน ระแวงสงสัย อึดอัด ขัดเคือง
ขีดหมด เพราะมันไม่ใช่ความว่าง
ก็บอกแล้วว่า พระพุทธเจ้าก็คือ ความไม่มีอะไร
พระพุทธเจ้าก็คือ ความไม่ได้อะไร
พระพุทธเจ้าก็คือ ความไม่เหลืออะไร
และพระพุทธเจ้าก็คือ ตัวแทนของความว่างสูงสุด
เพราะว่างสูงสุด มันจึงบรรจุสรรพสิ่ง สรรพวิทยา สรรพสัตว์ สรรพธาตุ ทั้งหลายเข้ามาได้
มากมายมโหฬาร ความรู้ของพระพุทธเจ้าที่มาสอนพวกเรา เพียงแค่ใบไม้กำมือเดียว แต่
ที่เหลือนอกนั้น พระองค์ยังไม่ได้สอน
ที่พระองค์มีความรู้ได้มากขนาดนี้ ก็เพราะพระองค์ทำตัวให้ว่างจริงๆ และเข้าถึงความ
ว่างอย่างสูงสุด
เราลองนึกดูว่า ถ้าเราไม่ว่างจริงๆ เหมือนกับถังขยะไม่ว่าง แจกันไม่ว่าง ตุ่มน้ำไม่ว่าง เรา
จะมีปัญญาใส่อะไรเข้าไปได้อีก
เพราะงั้น เราต้องเข้าถึงความว่างให้สูงสุด แล้วความรู้หลากหลาย สรรพวิทยา วิชาทั้งปวงก็
จะหลั่งไหลพรั่งพรูเข้ามา
ความว่าง เปรียบได้เหมือนกับแอ่งน้ำ
ความไม่ว่าง เปรียบได้ดั่งขุนเขาและโขดหิน ไม่มีใครอยากตะกายขึ้นไป
แอ่งน้ำที่ว่างๆ ฝนตก มันก็จะไหลลงมาหาแอ่ง
ขุนเขา และโขดหิน ฝนตกมันก็ไหลแค่รด แล้วมันก็หายไป ไม่กักขังอยู่ได้ ฉันใด
จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้ารก สกปรก มีแต่ความรู้สึกโน่น รู้สึกนี่ รัก โลภ โกรธ หลง มันเต็มไป
หมด มันเหมือนยิ่งสูงเข้าๆ พอกพูนเข้า ก็ไม่ต่างอะไรกับ ขุนเขาหรือโขดหิน
เวลาพระธรมหล่นรดลงมา มันก็ไม่กักขังอยู่ได้ ฝนตกลงมา ไม่กักขังอยู่ได้ สุดท้ายก็ได้แค่
เปียก ชื้น แฉะ แล้วก็เป็นเชื้อรา เชื้อโรคอีกต่างหาก
เพราะงั้น เมื่อไดที่เราไม่ว่าง ต้องจับไปขีด
มึงมองหน้ากู แล้วมึงคิด ทำไมไม่ขีด อยู่ใกล้ๆ เดี๋ยว นึกว่ากูไม่รู้เหรอ
คิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ถือว่า ไม่ว่างทั้งนั้น ลูก ไม่ว่า จะกุศล หรือ อกุศล บุญหรือบาป เรา
ไม่ต้องการ
เวลานี้ เราต้องการเพียงแค่ความว่าง
ถูกหรือผิด ก็ไม่ต้องการ ดีหรือชั่ว ก็ไม่ต้องการ
ขีดลงไป
ไม่ต้องเขียน ถ้าเขียน ก็ไม่ว่างสิ
แค่ขีดเฉยๆ
ขีดเป็นเลข 1 นั่นแหละ ขีดไป
ไม่ว่างครั้ง ก็ขีดครั้ง
ไม่ว่างครั้ง ก็ขีดครั้ง
ต้องอยู่ในความว่างอยู่ตลอด
ไม่มีคำภาวนาอะไร ไม่ต้องไปรับรู้อะไร
รู้แต่ว่า ว่าง ๆ
แม้แต่ลมหายใจ ก็ไม่ต้องรับรู้
มีแต่ตัวรู้เฉยๆ
อ้ายพวกรู้ลมหายใจ ถือว่า ว่างไม๊
ไม่ว่าง เพราะว่า มันยังอยู่กับลมหายใจ
ลมหายใจ ไม่ใช่เป็นของว่าง
สุญญตสมาธิ คือ ความว่างสูงสุด สุญญตา หรือ สุญญตะ ก็คือ ความว่าง ว่างที่ไม่มีรูป
ลักษณ์ให้จับต้อง แม้ลมที่แผ่วเบาก็ไม่ปรากฏ
อย่าลืมว่า เรากำลังจะทำตนให้เป็นผู้พร้อมจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันพรุ่งนี้ ซึ่ง
เป็นวันประสูตร ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระองค์
งั้น เราต้องเตรียมตัวที่จะเข้าเฝ้า โดยการชำระมลทินภายในกายและใจของเราให้ว่างสนิท
วางจนหมด เพื่อเข้าถึงคำว่า บริสุทธิ์ บริสุทธิธรรม บริสุทธิจิต วันพรุ่งนี้ เราก็จะได้เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้อย่างภาคภูมิ
แม้คิดถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่ถือว่า ว่าง
ทำไมไม่ขีด
คิดถึงสิ่งที่กำลังจะทำ หรือทำต่อไปในวันข้างหน้า ก็ไม่ใช่ว่าง
ทำไมไม่ขีด
หัวเราะแล้ว ทำไมไม่ขีด
สะดุ้งแล้ว ทำไมไม่ขีด
สะดุ้ง ตกใจ ว่างไม๊
ต้องว่างแม้กระทั่งฟ้าผ่า ไฟไหม้ ฝนตก น้ำท่วม
ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร เราจะไม่ไหวติง เพราะเราไม่มีอะไรที่ต้องไหวติง
เมื่อว่างถึงขีดสุด จะเกิดปัญญาสูงสุด ในการชำแรก แจกแจง แทงตลอด แม้เสียงที่ปรากฏ
ขึ้น มากระทบหู ต้องปรุงแต่งจนเกิดความรู้สึก เมื่อเกิดความรู้สึกแล้วเกิดเวทนาตามมา
เกิดอาการกระตุ้นเตือนทางกาย แสดงอาการสะดุ้ง หวั่นไหว
เหล่านี้ต้องรู้ชัด แต่ทั้งหมดต้องมาจากความว่างสูงสุดก่อน
กระบวนการของคลื่นเสียง และระบบประสาทสั่งงาน ก็เกิดขึ้นอย่างรู้ชัด
ฟ้าผ่าครั้งนึง ทำให้เราสะดุ้ง เพราะเหตุปัจจัยอะไร
คนที่ว่างสูงสุด จะรู้ชัดแจ้ง ไม่ใช่เพียงแค่สะดุ้งแล้วก็จบ แค่ขีด
แต่กว่าจะถึงขนาดนี้ ต้องถึงความว่างให้ได้ก่อน
ทำไมไม่ขีด
เวลานี้ ไม่ต้องการอะไร แค่ว่างเฉยๆ
เหมือนสมัยที่กูไปอยู่ถ้ำไก่หล่น ยกหินแล้วหินมันหล่นใส่ ผู้คนทั้งหลายเค้าสังเกตุว่า ทำไม
กูถึงหลบหินเหล่านั้นได้อย่างไม่รู้สึกกระทบกระเทือน และก็ไม่ได้มีอันตรายใดๆ ปรากฏขึ้น
เพราะเมื่อใดที่จิตเราเข้าถึงความว่างสูงสุด สิ่งเหล่านั้นมันจะเหมือนกับภาพ slow
motion
เราจะเข้าถึงกระบวนการของคลื่นเสียง และความเป็นไปแห่งแสง เข้าถึงกระบวนการเกิด
ดับของทุกสรรพสิ่ง แล้วเรารู้ชัดตามความเป็นจริง
มึงคิดตามกู ทำไมไม่ขีด
สิ่งที่มึงต้องการ คือ ความว่าง หรือความคิดของกู
บอกแล้วว่า ต้องมีพัฒนาการไง
เมื่อวานให้คำกรรมฐาน ให้คำสอน
ฟังแล้วคิด ก็ต้องขีด ต้องไม่มีความคิดใดๆ ปรากฏเลย
นั่งสัปหงก เงิกงาก ทำไมไม่ขีด
ถีนะมิทธะ ครอบงำ ง่วงหงาว หาวนอน เกิดขึ้น ก็ถือว่า ไม่ว่าง ต้องขีด
คนที่เฉยๆ แล้วปล่อยตัวเองให้หลงอยู่ในพันธนาการแห่งอุปาทาน ความยึดถือ หลงอยู่ใน
ความครอบงำแห่งตัณหา กิเลส ความง่วง ความฟุ้งซ่าน แล้วไม่ยอมขีด
พวกนี้ยากต่อการพัฒนา ไม่ใช่พัฒนาไม่ได้ แต่พัฒนายาก
เพราะฉะนั้น ยิ่งถ้าปล่อย ก็ยิ่งยาก ต้องหาวิธีเอาชนะมันให้ได้ ลูก
ไม่งั้น มันก็จะไม่มีใครมาโปรดเรา มาดึงเราขึ้นจากหลุมล่ะ
เพราะตัวเราเอง ไม่ยอมถีบตัวเองให้ขึ้นจากหลุม
ช่วงนี้แหละ เป็นช่วงที่ต้องทดสอบ วิริเย ทุกขมัต เจติ คือ ความเพียร
คนที่มีความเพียรเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงสุญญตสมาธิขั้นต้นได้
ถ้าขี้เกียจ สันหลังยาว ทำเคลิ้ม ปล่อยให้อารมณ์มันครอบงำ เราไม่มีสิทธิ์จะพ้นจาก
พันธนาการแห่งอุปาทานในขันธ์ได้เลย
ขันธ์ 5 คือ เวทนา รูป สัญญา สังขาร และวิญญาณ มันเป็นตัวครอบงำจิตบริสุทธิ์ ที่เรียก
ว่า ปภัสสรของเราเอาไว้ ปกปิดไว้ ไม่ยอมให้แสดงผลอันยิ่งใหญ่ออกมา ถ้าเราไม่ทำลายมัน
ไม่กำจัดมันด้วยการจับมันขีด จับมันใส่กระดาษ เราเคลิ้มไปกับกระบวนการ รูป รส กลิ่น
เสียง สัมผัส เป็นบริวารของขันธ์ ทั้ง 5 เป็นเครื่องมือของซาตาน มาร เราก็จะโดน
พันธนาการที่เรียกขานว่า อุปาทาน ความยึดถือ
งั้น ต้องทำลายปราการด่านนี้ออกไปให้ได้ ความยึดถือที่เรียกว่า อุปาทาน
ไม่ว่าง เป็นขีด
ง่วง เมื่อย ซึม ปวด
หัวเราะ ทำไมไม่ขีด
อยู่กับความว่าง เห็นความว่าง สัมผัสความว่าง รู้ถึงความว่าง เข้าใกล้ความว่าง แล้วมีความ
ว่างอยู่ภายในใจ
เมื่อใดที่ไม่ว่าง จับมันใส่ลงกระดาษไป
พอว่างแล้ว อาการที่ตามมาคือ สมองมันจะโล่ง สภาพภายในภาระกรรมทั้งหลาย จะไม่
ปรากฏให้เราขมึงทึง ตึงเครียด
สุญญตสมาธิ เป็นแค่กิจกรรมเบื้องต้น ถ้าจะพัฒนาจิตให้ถึงขีดสูงสุด ก็ต้องไปเรียนรู้เรื่อง
อาการจิต 10 อย่าง นั่นเป็นการฝนปัญญา เหมือนกับฝนเหล็กให้เป็นเข็ม
เคยสอนมาแล้วทั้งนั้น
สุญญตสมาธิ เหมือนกับทางลัด ขึ้นเขาไม่จำเป็นต้องมาทิศเหนือ หรือทิศใต้ คนฉลาดอาจ
จะขึ้นเครื่องบินแล้วกระโดดร่มลงมาก็ได้
ไม่จำเป็นต้องตะกายจากทิศใดเลย
หนทางที่จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ใช่มีแค่ทางเดียว แม้จะบอกว่า เป็นทางอันเอก เป็น
ทางเดียว คือ มรรคาปฏิปทา
แต่ที่เรากำลังทำอยู่นี่ก็คือ มรรคาปฏิปทา เพราะมีสัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง เป็นข้อต้น
และข้อสุดท้ายด้วย
เห็นถูกต้องอย่างไร เห็นว่า สรรพสิ่งในโลกไม่มีตัวตนแท้จริง เป็นความเห็นที่สอดคล้องกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงสอนไว้
คิดแล้ว ทำไมไม่ขีด
พูดให้ขีด
เราจะไม่รับอะไรทั้งนั้น
เราจะว่างอย่างเดียว
อ้าว สัปหงกอีก สัปหงก ก็ไม่ขีดอีก
ว่าง แล้วเฉยๆ ไม่ใช่ว่างแล้วไปรู้ลม รู้โน่น รู้นี่ รู้นั่น ก็ถือว่า ไม่ว่าง
ยังสะดุ้งอยู่
ต้องว่าง แบบชนิดฟ้าผ่าก็ไม่รู้สึก
ว่างน่ะ มีตัวรู้ด้วย ไม่ใช่ว่างแบบเคลิบเคลิ้ม หลับไหล หลงลืม หรือลื่นถลา
บอกว่า ว่างแล้ว ไม่รู้สึกตัว แสดงว่า ไม่ใช่แล้ว มันหลับแล้ว
ทำไมไม่ขีด
ทั้งหมดลุกขึ้นยืน
นั่งเฉยๆ บางทีอาจจะว่างไม่สนิท
เอากระดาษขึ้นมา
มันแอบว่าง
อ้าว ยืนบิดขี้เกียจอีก แสดงว่า ที่ผ่านมานี่ นั่งซกมก พกความขี้เกียจ
เอ้า พับกระดาษให้เหมาะสมที่จะขีด
ดูความว่างภายใน
ถ้าไม่ว่าง เริ่มขีด
กูไม่ปล่อยให้มึงเอาเปรียบกูหรอก
ไม่ว่าง จึงขีด
ว่าง ไม่ต้องขีด
เฒ่ามามองทำไม ทำไมไม่ขีด ไม่อยู่กับความว่าง
(เสียงฉาบตกพื้น)
หูแค่ฟังเสียงเฉยๆ แล้วไม่เกิดอาการใดๆ ไม่รู้สึกอะไร ก็ไม่ต้องขีด เพราะเรายังไม่ได้เรียน
เราไม่ใช่เรียนเรื่องอาการของจิต
ถ้าเรียนเรื่องอาการของจิต ก็ต้องจำแนกแจกออกมาว่า เสียงที่เข้ามาเป็นสุข หรือ ทุกข์
เวทนา สะดุ้ง ตื่นกลัว อย่างนั้นล่ะ ต้องขีด
แต่นี่เราแค่ต้องการความว่างเฉยๆ แค่หูฟังเสียงแล้ว ไม่รู้สึกอะไร
เฉยๆ ก็ไม่ต้องขีด
อย่าเอามาปนเปกัน
สุญญตสมาธิ คือ การเพ่งความว่างเป็นอารมณ์ ถ้าจะพัฒนาให้สูงขึ้น ค่อยไปดูอาการของจิต
ดูวิถีแห่งการเกิด ดับของจิต
อยู่กับความว่างอย่างเดียว ลูก
สำหรับหลวงปู่แล้ว ความว่างถือเสมือนกับถ้ำที่เราเข้าไปพักผ่อน ทุกครั้งที่เหน็ดเหนื่อย
หนักหนา สาหัส
เอ้า หาว หาวต้องขีดหลายขีด
ทุกครั้งที่เหน็ดเหนื่อย หนักหนา สาหัส มีปัญหาสารพัน สารพัดรุมเร้า ต้องเข้าถ้ำ ถ้ำในที่นี้
คือความว่าง แล้วมันจะว่าง แล้ว วาง วางแล้วว่าง สารพันปัญหา มันจะโดน ปัญหากลืนหาย
ไป หรือทำร้าย ทำลาย หรือชะล้างจนสูญสิ้น
มองโน่น มองนี่ คิดโน่น คิดนี่ ทำไมไม่ขีด
อย่าขี้เกียจ
ไอน่ะ มันว่างไม๊
ถ้าไม่ว่าง ทำไมไม่ขีด
ความว่าง ไม่มีสุข ทุกข์ ไม่มีเจ็บปวด ไม่มีเวทนา มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น ลูก ไม่มีบุญ ไม่มีบาป
ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล ไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มีเหนื่อย ไม่มีเปลี้ย เปลี้ย
เพลีย หมดเรี่ยวแรง แข็งขัน ไม่มีอะไรทั้งนั้น
เพราะมันไม่มีตัวกู ของกู แล้วมันจะมีอะไรเป็นที่รองรับความรู้สึกเหล่านั้นได้เล่า
ถ้ามันยังมีอะไรอยู่ แสดงว่า มันไม่ว่าง
ต้องจับมันใส่กระดาษลงไปให้หมด
บอกแล้วว่า มันต้องถึงคำว่า ว่างจนถึงสูงสุด
ไม่มีความรู้สึกอะไรทั้งนั้น แม้อาการปวด เมื่อย เปลี้ย เพลีย เหนื่อยหน่าย ง่วงหงาวหาวน
อน แสดงว่า นั่นไม่ว่างแล้ว จิตไปเสพอารมณ์แล้ว เวทนา จิตเกิดขึ้นแล้ว
เพ่งความว่างเป็นอารมณ์
ไม่ใช่ไปดูคนอื่นว่าง ดูตัวเองว่าง
ที่เงิกงากๆ โยกไปโยกมา มันว่างหรือเปล่า
ทำไมไม่ขีด
มีพัฒนาการ รู้ว่าหลับตาแล้ว จะทำให้ขาดสติง่าย อย่าหลับตา
ต้องหาวิธีพัฒนาตัวเองอยู่เนืองๆ ไง
รู้ว่านั่งแล้ว มันจะทำให้ถีนะมิทธะ ความง่วงเข้ามาครอบ ก็ยืน
เรากำลังสำรอกจิต จิตที่โดนพันธนาการด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นบริวารของขันธ์
ทั้ง 5 คือ กายขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เป็นขันธ์ทั้ง 5 ที่มันครอบงำเรา แล้วมันก็สร้างบริวารเข้ามาเพิ่มพูนมาก
มายมหาศาล ต้องการกลิ่น ต้องการรส ต้องการเสียง ต้องการสัมผัส
นี่คือ บริวารของกาย เวทนา เป็นบริวารที่เราหลงเชื่อมาเนิ่นนาน
วันนี้เราจะปลดเปลื้องมันเสียที เราคบมันมานาน ก็ไม่เห็นมันได้ดีไปกว่านี้
วันนี้เราจะไม่คบมันล่ะ เราจะหันมาคบกับความไม่มีมัน
เราไม่คบกับใคร เพียงแค่ว่า ทำให้ไม่มีมัน ไม่มีมัน ไม่มีมึง ไม่มีกู ไม่มีอะไรเลยล่ะ
เอ้า ทีนี้ลองนั่ง
นั่งแล้วอยู่กับอะไร
นั่งแล้ว ไม่ได้อยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
นั่งแล้วอยู่กับความว่าง
พอนั่งปุ๊บ ก็เริ่มฟุ้งล่ะ
เอ้า พอ เก็บกระดาษ
หันไปอยู่กับลมหายใจ ดูซิ
ไม่ต้องตั้งท่าอะไรมาก ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
อยู่กับลมหายใจทันที
กูบอกให้อยู่กับลมหายใจ ไม่ใช่อยู่กับลมออกจากปาก หาว
หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ดูซิ มันชัดกว่าเก่าไม๊
คำภาวนากับลมหายใจชัดขึ้นกว่าเก่าที่เคยทำมาไม๊
ลืมตา แล้วภาวนา
หายใจเข้า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ดูซิว่า ลืมตา กับหลับตา อันไหนชัดกว่ากัน
เริ่ม
หนังตามันชั่งหนักแท้นะ
สัตว์ทั้งปวงน่ะเป็นสุข แต่สัตว์ทั้งปวงจะรู้ไม๊ว่า กูกำลังเป็นทุกข์
หนังตากูมันหนักเหลือเกิน น่าสมเพช
พอ ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
วันนี้เอาแค่นี้ เดี๋ยวบ่ายโมง พร้อมเจอกันใหม่ ฝึกต่อ
สมองโล่งไม๊ โล่ง หรือหลับ
บ่าย เตรียมกระดาษกับดินสอเอาไว้ แล้วเคลียพื้นที่ ยังไม่ต้องปูพื้น
บ่ายจะสอนเพิ่มขึ้นกว่านี้
ไป เตรียมตัวพัก เดี๋ยวไปกินข้าว
รอให้พระเค้าบิณฑบาตรเสร็จก่อน คุณพระเตรียมบิณฑบาตรได้