หลวงปู่สอนพระภิกษุในอาวาสทุกวันพฤหัสบดี ในระหว่างพรรษา  (ปี 2552)
จากซีดี  ปราณโอสถสอนสมาธิพระในพรรษา

 #  7
........ยืดเส้นยืดสาย ควรต่อการงาน ทำให้กายนี้เกิด ลหุตา คือเบากาย ต่อไปก็เป็นเรื่องของเบาใจ ทบทวนความรู้เรื่องเก่า พูดไปแล้วและทำไปแล้ว หลายครั้งแล้ว อยากจะฟังดูบ้าง มันมีหลักการอย่างไรบ้างในเรื่องของปราณโอสถ เอ้า มหาฯ ว่าให้ฟังหน่อยซิ ต้องอาศัยอะไรบ้าง

อะไรมาถึงอาหารเลย อยู่ดีๆก็โผล่มาแดกเลยเหรอ ไม่ต้องว่าอะไรเหรอ มันต้องมากายก่อนไม่ใช่เหรอ มันมีอะไร มีกาย มีลม มีจิต ไม่ใช่เหรอ
มีกาย มีปราณ มีจิตไม่ใช่เหรอ สมดุลย์กายคืออะไร เงียบ เอาใหม่
พระอ้วน สมดุลย์ของกายมีอะไรบ้าง กายนี้จะสมดุลย์ได้ต้องมีอะไรบ้าง ขี้หรือยัง น่าจะไปนอนในส้วม ตอบได้ถูกแบบ...
สมดุลย์ของกายต้องมี 3 อ.
1 ก็คือ อาหาร
2 อากาศ
3 อาการ
ร่างกายมันจะมีพลังได้ต้องมี
1 กินอาหารให้เหมาะสม อาหารที่เหมาะสม ก็คืออาหารที่กินตามฤดูกาล เช่นเวลานี้
ฤดูฝน ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ด ร้อน เปรี้ยว ขม เพราะอาหารรสเหล่านี้ เป็นรสอาหารที่บำรุง ทำให้เราไม่เป็นหวัด ไม่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ทำให้เราดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มันบีบคั้น โดยเฉพาะมีความชื้นมากในอากาศ มันจะทำให้ปอดชื้น
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องกินอาหารที่มีรสร้อน เผ็ด แล้วก็เปรี้ยว มันมีวิตามินซี มันป้องกันโรค มันเสริมสร้างสุขภาพพลานามัย
เพราะงั้นรสอาหารตามฤดูกาล คือการสมดุลย์ แล้วรสอาหารนี่ไม่คงที่ มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามฤดูกาล เดี๋ยวหมดฤดูฝนก็เข้าสู่ฤดูร้อน รสอาหารห็ต้องเปลี่ยนจากเผ็ดร้อนกลายเป็นจืด หวาน เย็น อย่างนี้เป็นต้น มันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ที่ให้กินขม ก็เพราะต้องการให้บำรุงน้ำดี ร่างกายเรา ถ้าท่อน้ำดีอุดตันในร่างกาย มันจะทำให้เราเป็นโรคง่าย เพราะภูมิคุ้มกันอันดับต้นๆ ก็คือ ท่อน้ำดี หรือน้ำดีที่แผ่ซ่านไปทั่วกล้ามเนื้อต่างๆ
เพราะงั้น วิชาปราณโอสถ จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้ ถามว่าทำไปจำเป็นต้องรู้ เพราะในแผนภูมิแห่งปราณโอสถ มันมีตั้ง 3000 กว่าแผนภูมิ  3338 แผนภูมิ นั่นคือ จุดต่างๆที่อยู่ในกาย จะต้องหาวิธีทะลุทะลวงมันให้ได้ เพราะงั้น เบื้องต้นต้องรู้จักให้ได้ว่า กายแข็งแรง เรียกว่า กายสมดุลย์ ต้องเกิดจากอาหารที่เหมาะสมตามฤดูกาล

ต่อมาก็คือ อากาศ อากาศอย่างนี้เค้าเรียกว่า อากาศที่เหมาะสม ไม่ได้ไปอยู่ในอากาศที่
อบชื้น หรืออับ หรือห้องที่อับชื้นมาก หรือว่าปิดบังหมด อย่างนั้นถือว่า อยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก

อาการ เมื่อครู่ที่ทำ เป็นข้อว่า อาการ เป็นข้อของคำว่า อาการ ความหมายของคำว่า อาการ ก็คือเราไม่ได้ เราไม่สามารถยกแขนขึ้นสุดได้ ไม่สามารถก้มลงสุดได้ เค้าเรียกว่า อาการไม่ดีแล้ว อาการน่าเป็นห่วงแล้ว งั้นคนที่ไม่พัฒนาอิริยาบททั้ง 4 ปล่อยให้อิริยาบททั้ง 4 คลุมเครือ เศร้าหมอง ยืนไม่ถูก เดินไม่เป็น นั่งไม่ดี นอนไม่หลับ มันทำให้ร่างกายเราไม่แข็งแรง เพราะงั้น ต้องยืนให้ถูก นอนให้เป็น เดินให้ดี นอนให้หลับ อย่างนี้เรียกว่า อาการ

3 อย่างนี้ เรียกว่า 3 อ.  ทำให้ร่างกายแข็งแรง คือ สมดุลย์ของกาย

ข้อต่อมา สมดุลย์ของปราณ ร่างกายของเราประกอบด้วย มหาภูตรูป หรือ ธาตุทั้ง 4
ธาตุทั้ง 4 จะสมดุลย์ได้ก็ต้องอาศัย อาหาร อากาศ แล้วก็อาการ มันจะเกื้อหนุน หรือเอื้อกัน ธาตุทั้ง 4 เมื่อสมดุลย์แล้ว

ต่อมาก็คือ ลมหายใจ ลมหายใจต้องเหมาะสม ทุกวันนี้เราหายใจทิ้ง หายใจแล้วเค้าเรียกว่า ไม่ใช่ลมหายใจสุขุม ในหลักโพชฌงค์ 7 ประการ เราจะวิจารณ์ วิจัยธรรมะ มีสติเลือกเฟ้นธรรม มีสติพิจารณาเลือกเฟ้นธรรมที่เหมาะสมสำหรับตน ปฏิบัติธรรมนั้นด้วยความเพียร จนเกิดปิติและปัฏสนธิ คือความสงบระงับ แล้วธรรมในที่นี้ ก็คือ ลมหายใจ
ทำลมหายใจให้เหมาะสม ไม่แรงไป ไม่เบาไป ไม่หนักไป ไม่ค่อยไป ไม่สั้นไป ไม่ยาวไป เรียกว่า ลมหายใจที่เหมาะสม หรือเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา กลางๆ แล้วเกิดความสมดุลย์ในกายไปปรุงชีวะได้ ลมที่เข้าไปปรุงชีวะได้

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านบอกไว้ชัดว่า หายใจเข้าดั่งอะไร ดั่งช้าง หายใจออกเหมือนดั่งงู
ช้าวนี้ตัวมันกว้างขนาดไหน มันก็หายใจเท่าๆ ลำตัวมัน
งูตัวมันยาวขนาดไหน เวลามันหายใจออก มันจะหายใจออกเท่าลำตัวมัน เข้าก็เท่าลำตัวมัน

ทุกวันนี้ เราหายใจเหมือนดั่งสัตว์ 2 ชนิด ก็คือ กระต่ายกับสุนัข หอบถี่ เร็ว การเผาผลาญพลังงานในร่างกายก็ไม่ได้ดี เราจะเสื่อมเร็ว สมองฝ่อเร็ว ความจำไม่ดี แก่ง่าย ตายลำบาก อยู่ก็ทุกข์ยาก

เพราะงั้นต้องหัดที่จะหายใจเป็น อย่างนี้เรียกว่า สมดุลย์ของปราณ

สมดุลย์ที่ 3 ก็คือ สมดุลย์ของจิต จิตนี้จะสมดุลย์ก็ต่อเมื่อ ต้องปรับอารมณ์ให้เหมาะสม ทำจิตให้สมดุลย์ ก็คือ สมดุลย์ในอารมณ์
สมดุลย์ในอารมณ์ คืออย่างไร มันมีคำจำกัดความที่ผมสอนพวกชาวบ้านไว้ทุกๆ เดือน ให้เค้าท่องจำ

เห็นตรง ถูกต้อง เข้าใจ รู้จัก ตามความเป็นจริง

นั่นแหละ คือ ทำให้จิตสมดุลย์ ลองท่องซิ
อย่าไปพูดรวมกัน เพราะแต่ละบท แต่ละบาทนั้น มันคือ แต่ละความหมาย

คำว่า เห็นตรง คือ เห็นตรงตามทำนองครองธรรม
ถูกต้อง คือ ไม่ผิด ไม่บิดเบี้ยว ไปจากทำนองครองธรรม

รู้จัก รู้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป เรียกว่า พัฒนาความเห็นขึ้นมาในระดับหนึ่ง

เข้าใจ เข้าใจสิ่งรอบกาย เข้าใจตัวเราเอง สำคัญที่สุด คือ เข้าใจตัวเอง

เห็นตรง ถูกต้อง รู้จัก เข้าใจ ตามความเป็นจริง  ความเป็นจริงของโลกมีอะไร ก็เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง สุดท้ายแตกสลายในที่สุด เข้าใจตามความเป็นจริงอย่างนี้ อารมณ์มันไม่กระเพื่อม เห็นเกิดก็เฉย  เห็นตายก็ใช่ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า เห็นตรง ถูกต้อง รู้จัก เข้าใจ ตามความเป็นจริง

ใช้ปัญญาในการเห็น เรียกว่า มีสัมมาทิฐิ ดำริที่จะพ้นจากความผิดพลาด เสียหาย

เอ้า เข้าใจเบื้องต้นแล้ว ต่อไปนี้ก็ปฏิบัติด้วยการขัดเกลาจิต ผูกจิตไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เอ้า มิวสิค
นั่งขัดสมาธิ  2 แขนวางไว้ที่หัวเข่า หงายฝ่ามือขึ้น ใครที่ใหม่ๆ ยังไม่เคยทำ ให้ดูก่อน

ยืดอกขึ้น
เริ่ม  คนที่ไม่เคยทำ ให้สังเกตกระบวนการต่อไปนี้ จะฝึกสติและสัมปชัญญะ จากสิ่งเร้าภายนอก เพื่อให้ท่านได้มีชีวิตอยู่กับภายนอกได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด

หูแยกเสียง จับเสียงป๊อก แล้วดีดนิ้ว
หูเป็นสติ ดีดนิ้วเป็นสัมปชัญญะ
ขั้นต่อไป จะขยับให้สัมปชัญญะแก่กล้ามากขึ้น
ลืมตาดู
ลุกขึ้นยืน ขนาดมีนิ้วให้ดีด ยังหลับได้ ไม่ได้ฝึกสมาธิเลย ฝึกแค่สติกับสัมปชัญญะเฉยๆ
หูฟังเสียงเป็นสติ ดีดนิ้วเป็นสัมปชัญญะ
ขั้นที่ 2 ยิ่งใช้ปัญญา คือ สัมปชัญญะยิ่งมาก
กลายเป็นว่า หลับไปได้ยังไง เผลอไปได้ยังไง
ยก 2 มือขึ้นมาดีดนิ้ว ดีดในจังหวะที่ 2
ใครไม่เป็น ไม่เห็น ไม่รู้ ดู
ผมจะไม่สอนคน 2 ชนิด ก็คือ คนตายกับคนหลับ
แล้วก็ไม่ชอบเห็นคนหลับในเวลาสอนกรรมฐาน
พอ ทิ้ง 2 แขนข้างลำตัว