แสดงธรรมต้นเดือน
๖ เมษายน ๒๕๕๑

หลักการเข้าถึงปฎิจจสมุปบาท

 

ปฏิจจสมุปบาทก็คือหลักปรัชญาการที่เรียกว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ก็ได้ เป็นเหตุปัจจัยของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป โดยหลักสามัญลักษณะ ปฎิจสมุปบาทสามารถเอามาประยุกต์เอามาแปลงหรือเอามารวม ร่วมกับสามัญลักษณะ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ เพราะมันเป็นเหตุปัจจัยของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วอะไรคือปฎิจจสมุปปันธรรมหรือปฎิจจสมุปบาท หรือหลักปรัชญาการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เริ่มต้นจากอวิชชา ความไม่รู้ ความโง่ ความไม่เข้าใจ ก็อาจจะมาจากหลายสาเหตุ ไม่รู้ โง่ ไม่เข้าใจ ก็เพราะไม่เข้าไป ไม่เข้าใกล้ เมื่อไม่เข้าไป ไม่เข้าใกล้ ก็ไม่เข้าใจที่มาของปัญหา แต่ถ้าเข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึงและเข้าใจด้วยก็จะทำให้เข้าถึงปัญหาอย่างชัดแจ้ง จะรู้ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร หลักปฎิจจสมุปบาทนั้นเราต้องขวนขวายเข้าไปศึกษา ถ้าเราปฏิเสธการขวนขวายการศึกษา ไม่เข้าไป ไม่เข้าใกล้ ไม่เข้าถึง จึงไม่เข้าใจ จนกลายเป็น ตัวไม่รู้ ตัวไม่เข้าใจ ตัวอวิชชา สั่งสมพอกพูนอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตักเตือนสอนให้เราได้มีความเพียร วิริเยนทุกขมัตเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร เรื่องปฎิจจสมุปบาทนี้จะผูกสัมพันธ์กับความเพียรด้วย คนมีความเพียรเป็นเบื้องต้นเบื้องหน้าก็จะกำจัดตัดซึ่งอวิชชาความไม่รู้ได้ พระพุทธเจ้าจึงสอนวิริเยนทุกขมัตเจติบุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ถ้าเราไม่เข้าไป คือเข้าไปใกล้ท่านผู้รู้ เข้าไปใกล้ปราชญ์ เข้าไปใกล้บัณฑิต เข้าไปใกล้ครูบาอาจารย์ เราปฏิเสธการเข้าไปใกล้เราก็จะไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็อย่าหวังจะได้เรียนรู้ศึกษาปฎิจจสมุปปันธรรม เราไม่ศึกษาปฎิจจสมุปปันธรรมแล้วมันจะเกิดเหตุผลอะไร มันก็จะทำให้เรากลายเป็นผู้สร้างสังขารการปรุงแต่ง มีกระบวนการปรุงแต่ง และมีวิญญาณการรับรู้ ตามมาด้วยนาม-รูป ก็คือกายกับใจปรากฏ เมื่อมีนามรูปก็จะเกิดสฬายตนะ ก็คือตาหู จมูก ลิ้น ในการรับรู้และปรากฏผัสสะมี ทุกข์สุขเรียกว่าเวทนา ต่อไปก็เกิดตัณหาความทะยานอยาก เกิดอุปทานความยึดถือ และเกิดชาติ ภพ ชรา มรณะ พยาธิตามมา ปฎิจจสมุปบาทไม่ต้องให้ผลข้ามภพข้ามชาติ แค่พริบตาก็เกิดได้ หลักปฎิจจสมุปบาทในวนรอบของมัน ไม่ได้ใช้เวลานานเลย ตัวอย่างเช่น เราไม่เข้าใจ ไม่เข้าไป ไม่เข้าใกล้ จนไม่เข้าใจ เราอาจจะตีความไปผิดๆ คิดไปผิดๆ วิเคราะห์ไปผิดๆ หรือไม่ก็ทำผิดๆ หรือไม่คิด ไม่วิเคราะห์ ไม่ตีความ ไม่กระทำ แต่เพิกเฉยสะสมจนกลายเป็นกระบวนความไม่เข้าไป ไม่เข้าใกล้ไม่เข้าใจมันก็คือไม่รู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีอยู่ทุกกรณี มีอยู่ทุกสรรพสิ่ง มีอยู่ทุกเรื่องราวในชีวิตที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านออกไป เกิดจากการที่เราปฏิเสธในการเข้าไป เข้าใกล้ เข้าใจ เราไม่ยอมที่จะเข้าใจกับทุกเรื่องที่ตาเห็น หูฟัง จมูกได้ ลิ้นรับ กายสัมผัส เราไม่ยอมทำความเข้าใจกับสิ่งที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า เราไม่ยอมทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไป เหล่านี้แหละเป็นที่พอกพูนสะสมอวิชชา เรากำลังพูดหัวข้ออวิชชาคือความไม่รู้ ฉะนั้นถ้าเราจะแก้อวิชชาก็ต้องเข้าไปเข้าใกล้ และทำความเข้าใจ ในเรื่องที่เราสงสัยก่อน ยังไม่จำเป็นต้องทุกเรื่อง เข้าไป เข้าใกล้ในเรื่องที่เราสงสัยก่อน จนแก้ความสงสัยเสียสิ้น อวิชชาเรื่องนั้นมันก็จะดับไป นี่คือพื้นฐานในการศึกษาปฏิจจสมุปปันธรรม หลักคือ ต้องเข้าไป ต้องเข้าใกล้ เข้าถึง และทำความเข้าใจ
การที่เราจะเข้าไปกำจัดอวิชชาได้ต้องอาศัยวิริยะความเพียรเป็นตัวเริ่มต้น พอเข้าไปแล้วมีปัญหาต้องใช้ขันติความอดทน อดกลั้นต่อปัญหา ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นทำให้เราล่าช้า ท้อแท้และท้อถอย แค่ไปกำจัดอวิชชาเกิด
ธรรมมะตั้งกี่เรื่องกี่ราวกี่อย่าง กี่ขั้นตอน ฉะนั้นวิริเยนทุกขมัตเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิด เรื่องสติมันเป็นเรื่องนิสัยอยู่แล้ว สติมันมีจนกลายเป็นนิสัย แต่ถ้าบางครั้งมีแต่ตัวสติอย่างเดียว มีแต่ความระลึกได้อย่างเดียว แต่ขาดวิริยะความเพียรมันก็ไม่ไปไหนเหมือนกันได้แต่นอนรู้ นอนระลึกอยู่อย่างนั้นแต่ไม่ไปเพราะขี้เกียจ ไม่เพียรพยายามที่จะเข้าไปใกล้ พอไม่เข้าไปใกล้ แค่รู้อย่างเดียวผิวเผินมันใช้การไม่ได้ เหมือนคนปัจจุบันที่บอก ดีรู้ไหม....รู้ ชั่วรู้ไหม.....รู้ แล้วทำไมจึงทำ คำตอบคือ ก็อยากทำ นี่ก็เพราะไม่รู้จริง มันขาดความเพียรที่จะไปรู้ผลของความดีอย่างชัดแจ้ง จะพาเราเข้าไปใกล้ผลของความดีจริงๆว่าความดีมีผลที่แตกต่างจากความชั่วอย่างหน้ามือเป็นหลังเท้า เมื่อเข้าใกล้ความชั่วก็จะรู้ชัดว่าความชั่วมันมีผลเผ็ดร้อนมันทำร้าย ทำลาย มันบีบคั้น มันทำให้เราทุรนทุราย เศร้าโศกเสียใจแล้วทำให้เราทุกข์ทรมานแสนสาหัสปางตายอย่างนี้เป็นต้น ที่เราไม่รู้เรื่องเหล่านี้เลยเพราะเราไม่มีวิริยะความเพียร พอถามทุกคนว่า รู้ดีไหม...รู้ รู้ชั่วไหม....รู้ แต่ยังทำอยู่ก็เพราะมันไม่มีความเพียร ไม่มีความเพียรที่จะไปทำให้ตัวรู้มันกระจ่างชัด ไม่มีความเพียรที่จะทำให้รู้ว่าดีเป็นอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร แจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นมา มันก็เลยทำไปไม่สนใจไม่ใส่ใจ การเข้าไปต้องอาศัยหลักธรรม คือสติความระลึกได้ วิริยะความเพียรเข้าไป พอเข้าใกล้แล้ว ถ้ามันมีปัญหาอุปสรรคก็ต้องอาศัยหลักธรรมอีก หลักธรรมนั้นก็คือขันติความอดทน โสรัจจะความเสงี่ยมอย่างนี้เป็นต้น พอเข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึงแล้ว กว่าจะ
ทำความเข้าใจได้ต้องใช้ สัมปชัญญะคือปัญญาวิเคราะห์ใคร่ครวญ วิจารณ์ พินิจพิจารณา ว่าสิ่งที่เราเข้าไปอยู่ใกล้มันหรือมันอยู่ใกล้เรา มันจะต้องแก้ไข ต้องลบล้าง ต้องจัดการ ต้องปรับปรุงต้องเปลี่ยนแปลงแบบไหน ธรรมมะแค่รากศัพท์ตัวเดียวมันจะหลั่งไหลพร่างพรูไปอีกหลายร้อยหลายพันตัว
ที่จริงพูดถึงหลักปฎิจจสมุปบาทมันไม่ใช่แค่อวิชชา ตัณหา อุปทานอย่างเดียว มันรวมไปถึงกระบวนการของชีวิต ทำ พูด คิด ก็เป็นกระบวนการปฎิจจสมุปบาทไปด้วย เพราะสิ่งนี้เกิดจึงเกิดสิ่งนั้น เพราะสิ่งนั้นเกิดจึงเกิดสิ่งโน้นอย่างนี้เป็นต้น เพราะเราปรารถนาที่จะศึกษาคำว่าอวิชชา เราจึงต้องเข้าไป พอเข้าไปนี่มันเกิดวิริยะความเพียร มีความตั้งปรารถนาเป็นอธิษฐานธรรมเกิดขึ้นพออธิษฐานธรรมเกิดก็ตามด้วยวิริยะธรรม เกิดขันติธรรม เกิดโสรัจจะธรรมตามมาด้วย สัมปชัญญะธรรมอย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกปฎิจจสมุปปันธรรม แค่นิดหน่อยเท่านั้นแต่เกิดปรัชญาการมหาศาล เป็นกระบวนการมากมาย แม้การทำการงานภายในและภายนอกทั้งหลายก็เป็นไปตามหลักปฎิจจสมุปบาทพระพุทธเจ้าทรงสอนให้วิเคราะห์ แยกออกเป็นส่วนๆ ว่าปฎิจจสมุปบาทมีองค์ประกอบก็คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ แยกออกมาเป็นส่วนๆ การจะแยกออกมาเป็นส่วนๆได้เราต้องเข้าไป เข้าไปหาแต่ละส่วน เข้าใกล้ เข้าถึง เข้าใจ หลักการเรียนปฎิจจสมุปบาทต้องทำอย่างนี้

การปฏิบัติธรรมภาคบ่าย
คำสั่ง เตรียมกระดาษสำหรับขีดจิต

คำสั่งที่1 หายใจเข้า ขีดตามลมแบบละเอียดสุขุม
หายใจออก มองไปข้างหน้าภาวนาว่าสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข

คำส่งที่2 ลุกขึ้นยืน
หายใจเข้า ขีด หายใจออก ลดแขนลง
หายใจเข้า ยกแขนขึ้นพร้อมภาวนาว่าสติมาสัมประชาโน
หายใจออก ขีด หายใจเข้าลดแขนลง5
(หมายเหตุ ลมหายใจที่ขีดจะสลับกันไป ใช้เวลา5นาที)

คำสั่งที่3 ทิ้งแขนไว้ข้างลำตัว ค่อยๆยกแขนขึ้นหายใจเข้า สติมาสัมประชาโน
หายใจออกขีด หายใจเข้าลดแขนลง
หายใจออก ยกแขนขึ้นสติมาสัมประชาโน
หายใจเข้าขีด
(หมายเหตุลมหายใจที่ขีดจะสลับกันไป ใช้เวลา5นาที)

คำสั่งที่4 นั่งลงดู(หลวงปู่สาธิตให้ดู) ต่อไปจะทำให้สัมปชัญญะกล้าแข็งขึ้น เพื่อจะเข้าไปเรียนเรื่องปฎิจจสมุปบาทข้อว่า
ความโง่ที่เรียกว่าอวิชชาความไม่รู้จะได้ชัดแจ้งขึ้น เราต้องเข้าไป แล้วเข้าใกล้ให้มากขึ้นคือเอาปัญญาตามดูน้ำหนักที่ถ่าย ตามดูการเคลื่อนไหวการยกแขนลดแขน อาการตามดูอย่างนี้เรียกว่าสัมปชัญญะบรรพ สัมปชัญญะคือปัญญาสามารถทำให้ปัญญารู้ชัดตามสภาพธรรมที่ปรากฏกล้าขึ้น ละเอียดขึ้น

คำสั่งที่5 ลุกขึ้นยืนทิ้งแขนข้างลำตัว
หายใจเข้า ยกแขนขึ้นพร้อมถ่ายเทน้ำหนักไปทางขวา
หายใจออก ขีด (ตอนขีดไม่ต้องถ่ายน้ำหนัก)
หายใจเข้า ลดแขนลงพร้อมถ่ายเทน้ำหนักกลับมาตรง
หายใจออก ยกแขนขึ้นพร้อมถ่ายน้ำหนักไปทางซ้าย
หายใจเข้า ขีด
หายใจออก ลดแขนลงพร้อมถ่ายน้ำหนักกลับมาตรง
หายใจเข้า ยกแขนขึ้นพร้อมถ่ายน้ำหนักไปทางขวา
หายใจออก ขีด
หายใจเข้า ลดแขนลงพร้อมถ่ายน้ำหนักกลับมาตรง
หายใจออก ยกแขนขึ้นพร้อมถ่ายน้ำหนักไปทางซ้าย
หายใจเข้า ขีด
(หมายเหตุ ขีดลมหายใจเข้า และลมหายใจออกสลับกันไป 5นาที ขั้นตอนนี้คนไม่มีปัญญาจะทำไม่ครบทำผิดจังหวะข้ามขั้นตอน )

คำสั่งที่6 เพิ่มจากคำสั่งที่5 เวลายกแขน-ลดแขน-ถ่ายเทน้ำหนักให้หลับตาเพื่อส่งความรู้สึกระลึกรู้ภายใน มองด้านใน มันเป็นนิมิตหมายอันดีที่เราจะมีตัวรู้อย่างชัดแจ้ง ชัดเจนเพราะเดี๋ยวเราต้องใช้มันเพื่อทำตัวรู้ให้ปรากฏ มองไปข้างในดูอาการเคลื่อนไหวของกาย ยิ่งมองเห็นการไหวแห่งกายและลมทั้งภายใน ภายนอกได้ยิ่งดี ลืมตาได้เฉพาะเวลาขีด
เริ่ม หายใจเข้าหลับตายกแขนขึ้นพร้อมถ่ายเทน้ำหนัก
( ทำต่อไป)
อย่าปล่อยให้นิวรณ์เครื่องกั้นความดีเข้ามาครอบ ถึงเวลาลืมตาขีด ต้องลืมตาขีดอย่าทำข้ามขั้นตอนโดยให้นิวรณ์เข้ามาครอบ ถ้าจิตหยาบจะไม่สามารถเข้าถึงขั้นนี้ได้จะทำให้รู้สึกรำคาญ ต้องชำระสำรอกจิตให้ละเอียด นั่นคือหันมาสนใจ เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง ยิ่งพยศ ยิ่งมันอยากต่อต้าน อยากหนี อยากวิ่งก็ยิ่งต้องเข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง
คำสั่งพัก ค่อยๆนั่งลง ขั้นตอนต่อไปจะเข้าสู่กระบวนการอวิชชา
อวิชชาคือความไม่รู้ เราจะกำจัดอวิชชาได้คือต้องสร้างตัวรู้ ช่วงเวลาต่อไปนี้หน้าที่ของเราคือต้องมีตัวรู้ เมื่อใดที่ไม่รู้ต้องลงมือขีดลงไปในช่องไม่รู้คือ ช่องอวิชชาทันที ไม่รู้ แล้วไม่รู้เพราะอะไรปรุงอยู่ ก็ต้องขีดในช่องปรุงแต่งด้วย หรือมีวิญญาณไปรับรู้เรื่องอื่น ก็ต้องขีดในช่องวิญญาณ (เอาแค่3ช่องพอ)
ไม่รู้ต้องขีด แต่ถ้ารู้แล้วเฉย รู้แล้ววาง รู้แล้วว่าง รู้แล้วนิ่ง ไม่ต้องขีดเลย แต่ถ้าเมื่อใดไม่รู้ด้วยการง่วง ไม่รู้ด้วยการฟุ้งซาน ไม่รู้ด้วยการหงุดหงิด คำว่าไม่รู้ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่รู้เรื่องอื่นๆรอบตัว แต่ไม่รู้สิ่งที่เป็นไปภายในตัวเรา ให้มีตัวรู้อยู่ภายในตัวเราอยู่ตลอด ถ้าออกไปข้างนอกแสดงว่ามันไม่รู้ เช่นหูฟังแล้วไปรู้เรื่องอื่น อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้ภายในตัวเอง ต้องขีดช่องว่า ไม่รู้ ตาไปดูแล้วไม่รู้อยู่ภายตัวเองก็ต้องขีดช่องไม่รู้
ต่อไปนี้ให้นั่งเฝ้ามองโดยส่งความรู้สึกไปภายใน เมื่อใดความรู้ออกไปนอกกายนั่นหมายถึงเราไม่รู้ ก็ต้องขีด ต้องขยันเข้าไปค้นหาความไม่รู้มันซุกซ่อนอยู่ที่ไหน
คำสั่งพร้อม เริ่มของใครของมัน ส่งความรู้สึกไปในกาย ไม่รู้ต้องขีดที่ช่องอวิชาคือไม่รู้ แต่ถ้ารู้อยู่แบบนิ่งๆเฉยๆ มีตัวรู้ชัดแจ้งมีตัวรู้อยู่ตลอด ไม่ต้องขีดเช่นมีอาการหาว แสดงว่าไม่รู้ต้องขีดในช่องอวิชชา
นั่งเกาศีรษะ แสดงว่าไม่รู้ ต้องขีด ในช่องอวิชชา
ถ้ามีตัวรู้จะไม่หาว หรือเกาศีรษะที่หาวหรือเกาแสดงว่ามีตัวปรุงแต่ง คือสังขารเกิดขึ้นแล้ว และเกิดวิญญาณขึ้น ตามมาด้วยนามรูป สฬายตนะ เกิดผัสสะและตามมาด้วยเวทนาคืออาการคัน ปฏิจจสมุปบาทเกิดได้แว๊บเดียวในขณะที่เกาศีรษะ ไม่ต้องรอชาติ ภพ เลย ขอเพียงมีตัวรู้อยู่ รู้อยู่ รู้อยู่ รู้อยู่ ไม่ต้องรู้เรื่องอื่น รู้อยู่ภายในเท่านั้นพอ
(เสียงวัตถุกระทบพื้น ผู้ฝึกปฏิบัติบางคนสะดุ้ง) สิ่งที่รับรู้เข้ามาต้องไม่ปรุงมีแต่ตัวรู้เฉยๆ สะดุ้งแสดงว่ามีการปรุงเกิดขึ้น ต้องขีด รู้แล้วปรุงแสดงว่าไม่รู้ ถ้ารู้จะรู้อยู่แค่ภายในเฉยๆ ถ้าไปรู้นอกก็ถือว่าไม่รู้ใน เพราะตัวรู้จิตมันมีเจตสิกอยู่แค่ดวงเดียว
ตัวรู้เกิด ถ้ารู้ข้างนอกก็แสดงว่าไม่รู้ข้างใน ถ้ารู้ในรู้นอกก็ต้องไม่เกิด สิ่งที่ต้องการให้รู้เวลานี้คือรู้ในไม่ได้ให้รู้นอก ถ้าไปรับรู้ข้างนอกแสดงว่าตัวรู้ที่อยู่ข้างในตาย ถ้ารับรู้ข้างในตัวรู้ที่อยู่ข้างนอกก็ไม่เกิด นั่นคือธรรมชาติจิตแท้ ฉะนั้นให้มันมีแต่ตัวรู้ใน เรียกว่ารู้เป็นไปภายในกาย จิตในจิต ธรรมในธรรม เวทนาในเวทนา อย่างนี้เรียกว่ามหาสติปัฏฐาน (เสียงวัตถุกระทบพื้น) แว๊บเดียวมันหลุดออกไปจากรู้ในก็ต้องขีด ไม่ว่ามันจะพาเราไปรู้อะไรถ้าไม่รู้ข้างในก็ต้องขีด ให้รู้ภายในกายให้รู้ลึกเข้าไป เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง จนถึงก้นบึ้งของจิต ยิ่งเข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง เข้าใจ ยิ่งว่าง เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึงยิ่งเบา เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึงยิ่งอิสระ มันจะปลดไปเรื่อยๆๆ เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง เข้าใจ มันจะว่างเป็นเปราะๆ แล้วจะวางเป็นชั้นๆ มีแต่ตัวรู้ มันจะเป็นตัวกำจัดปฎิจจสมุปบบันธรรมไม่ให้เกิดทุกขั้นตอนเราจะได้เข้าใจถึงหัวใจของปฎิจจสมุปบาท และความเป็นไปของปฎิจจสมุปบาทให้มากขึ้น มากขึ้น เพราะ
ต้องเข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง เข้าใจให้มาก จนตัวรับรู้มันเต็มเปี่ยมอยู่ภายใน ไม่ใช่ออกไปรู้เรื่องข้างนอก พอรู้เรื่องข้างนอกแสดงว่าในไม่รู้ก็ต้องขีด ตามเข้าไปดูข้างใน เข้าไป เข้าใกล้ เข้าถึง ค้นหาให้รู้ให้ได้ว่าตัวไม่รู้มันยังซุกอยู่ที่ไหนอีกภายใน เพราะเราไม่เข้าไป เข้าใกล้ มันเกิดแล้วถึงได้ตามมันไป (บางคนนั่งหลับ)
คำสั่ง ลุกขึ้นยืนสร้างตัวรู้ ส่งตัวรู้เข้าไปภายในกาย สูดลมหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ หายใจเข้าไปใหม่ให้ลมกว้าง ลึก เต็ม รู้ หลับตาแล้วตามดูต่อไป หายใจออกเบา ยาว หมดรู้ เฝ้าดูต่อไป ถ้ายังทำลายความไม่รู้ไม่ได้ก็ไม่สามารถทำลาย จิต สังขาร และวิญญาณได้ ถ้ายังทำลายรากเหง้าของอกุศลไม่ได้ ก็ยังไม่สามารถที่จะไปกำจัด บริวาร บริษัทของอกุศลได้ คนที่ฝึกใหม่ๆจะสร้างตัวรู้ให้ปรากฏภายในกายมันไม่ใช่เรื่องง่าย เดี๋ยวมันก็แวบ เดี๋ยวมันก็วิ่ง มันไม่นิ่ง คนที่ฝึกมาพอจะรู้บ้าง ก็ยังยากที่จะประคับประคอง บังคับบัญชา เว้นเสียแต่ฝึกมาจนช่ำชอง เชี่ยวชาญ ชำนาญ กำหนดตัวรู้ที่ฝ่ามือ กำหนดตัวรู้ทีหน้าผาก กำหนดตัวรู้ที่หน้าอก กำหนดตัวรู้ที่สะดือ กำหนดตัวรู้ที่ท้องน้อย กำหนดตัวรู้ที่ฝ่าเท้า กำหนดตัวรู้ที่ท่อนขา หน้าแข้ง กำหนดตัวรู้ที่ก้นกบ กระดูกสันหลัง กำหนดตัวรู้ที่หัวไหล่ กะโหลกศีรษะ กลางกระหม่อม หน้าผาก พอกำหนดตัวรู้ได้อย่างนี้แล้วก็สามรถกำหนดตัวรู้ได้ทั้งโครงสร้างภายในกาย แล้วรู้อยู่แต่ภายใน ถ้าฝึกจนช่ำชอง เชี่ยวชาญแล้วก็สามารถจะมีเหมือนแสงสปอร์ตไลท์ที่ส่องสว่างไสวอยู่ภายในอยู่ตลอดเวลา รู้แล้วนิ่ง รู้แล้ววาง รู้แล้วว่าง รู้ ละ วาง ว่าง แล้วเข้าไปอีก เข้าไป เข้าใกล้ เข้าให้ถึง จนเราเข้าใจแล้วว่ามันไม่มีเหตุปัจจัยอะไรที่ต้องไปปรุงแต่ง เป็นสังขารขึ้นมา ตอนนี้เรามีหน้าที่รู้อยู่ภายในอย่าให้ตัวรู้หลุดออกมานอก อย่าให้รู้ทางหู อย่าให้รู้ทางตา อย่าให้รู้ทางกลิ่น อย่าให้รู้ทางลิ้น อย่าให้รู้ทางสัมผัส อย่าให้รู้ทางอารมณ์ รู้อยู่เพียงภายใน มีตัวรู้เฉพาะภายใน 5นาที 10 นาที่จะสร้างตัวรู้อยู่เพียงภายในก็ยาก พวกที่ไม่รู้แล้วไม่ขีดแสดงว่าไม่มีวิริยะ ความเพียร ทุคติก็ปรากฏชัด เหตุปัจจัยแห่งชรา มรณะ พยาธิ ก็อุบัติไม่หยุดนิ่ง
คำสั่ง ลงนั่ง แล้วดูที่ 3 ช่องแรก
ช่องแรกเขียนว่าอวิชชา ความไม่รู้
ช่องที่สองเขียนว่า สังขาร การปรุงแต่ง ตัวอย่างเช่นตาเห็นรูปแล้วเราเห็นว่า สวย ไม่สวย อย่างนี้เรียกว่าการปรุง แต่ถ้าดูแล้วรูปนี้เฉยๆ ก็แสดงว่าไม่ได้ปรุง
ช่องที่สามเขียนว่า วิญญาณ การรับรู้ เช่นรับรู้ทางตา ตาเห็นรูปเรียกว่าจักขุวิญญาณ รับรู้ทางหู หูฟังเสียงเรียกว่าโสตวิญญาณ รับรู้ทางจมูก รับรู้ทางลิ้น รับรู้ทางกาย และทางใจ
ให้ขีดแค่ 3 ช่องเท่านั้น
ความไม่รู้ทำให้เราเกิดการปรุง อารมณ์ที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ
ช่องที่1 ถ้าตัวรู้มันหลุดออกจากภายใน ให้ขีดเพราะความไม่รู้ได้เกิดขึ้นแล้ว
ช่องที่ 2 ถ้ามี สังขารการปรุงได้เกิดขึ้นในใจให้ขีดในช่องที่ 2 เพื่อให้รู้ว่ามีสังขารการปรุงเกิดขึ้น
ช่องสุดท้ายคือช่องที่ 3 ให้เขียนที่มาของการรับรู้ เช่นหูได้ยินเสียงหลวงปู่ ให้เขียนว่าเกิดจากหู หรือเห็นที่ตาก็ให้เขียนว่าเกิดขึ้นทางตา หรือจมูก ลิ้น กาย ใจอย่างนี้เป็นต้น
มีผู้ถาม ถามว่าที่ผ่านมาอะไรมันเกิดก่อน ระหว่างอวิชชา สังขาร วิญญาณ
หลวงปู่ตอบ ตอบว่าความไม่รู้เกิดขึ้นก่อน
ผู้ถาม ถามว่าวิญญาณเกิดก่อนสังขารหรือไม่ การรับเข้ามาก่อนจึงเกิดการปรุงใช่ไหม
หลวงปู่ตอบ ตอบว่าไม่เสมอไปเพราะเหตุปัจจัยของความไม่รู้ก็ทำให้เกิดกระบวนการกระตุ้นตัวรับ นั่นแหละคือการปรุงอย่างหนึ่ง เขาเรียกว่าสังขารในสังขาร เพราะเหตุปัจจัยความไม่รู้มันกระตุ้นจึงทำให้เกิดสังขารการปรุง และไปสร้างตัวรับกระบวนการรับมาก็ได้ แต่ในบางกรณี ที่เราไม่จำเป็นต้องมีคำสังขารก่อน แต่ไปรับมาก่อนแล้วมาปรุงก็ได้ แต่กรณีอย่างนี้ถือว่าหยาบมากเพราะเป็นนิมิตหมายที่จับต้องได้ แต่เรื่องปฎิจจสมุปบาทท่านแสดงไปถึงกระบวนการที่ไม่
สามารถจับต้องได้ ถ้าจะยกว่าอวิชชาความไม่รู้นี่ กระตุ้นทำให้เกิดความปรุง พอปรุงแล้วทำให้เกิดขวนขวายที่จะรับรู้ เพราะฉะนั้นในที่นี้มัน ก็เจือด้วยตัณหา เวลาหลวงปู่พูดถึงหลักปฎิจจสมุปบาทจึงชอบพูดสั้นๆว่าอวิชชา ตัณหาและอุปทาน 3 คำนี่เท่านั้น ในสังขารก็มีตัณหาเพราะถ้าไม่มีก็จะไม่กระตุ้นให้อยากที่จะไปรับรู้ เพราะมีสังขารการปรุงจึงอยากที่จะไปรับรู้ ในมุมกลับกันเพราะรับรู้มาจึงปรุง ก็อธิบายได้เหมือนกัน ฉะนั้นทำได้ทั้ง 2 อย่าง หลวงปู่จึงให้ขีด 3ช่องนี้เท่านั้น ตอนสุดท้ายก็อธิบายแล้วว่ารับแล้วจึงปรุง แล้วก็อวิชชา
คำสั่ง พร้อมเริ่มเฝ้าดูแล้วขีด รวมทั้งเขียน
ที่ได้ยินหลวงปู่ทางไหน ให้เขียนลงไป รับหรือเปล่า รับแล้วปรุงไหม ถ้าไม่ปรุงไม่ต้องขีด ถ้าปรุงก็ขีดในช่องสังขาร เช่นถ้ารับแล้วรู้แสดงว่าปรุงให้ขีดช่องสังขาร แต่ถ้ารับแล้วไม่ปรุงก็จะไม่มีการเอามาวิเคราะห์ ขบคิดใคร่ครวญใดๆทั้งสิ้น ขบวนการตัวรู้ก็จะไม่ตามมา เรียกว่ารับเฉย รับเฉย รับเฉย ก็เขียนว่ารับทางหู วิถีของปัญญามันไม่ได้ฝึกง่าย ไม่เหมือนกับสมาธิที่ต้องนั่งนิ่งๆเฉยๆ พอแล้ว
ตามอง รับทางตาก็เขียนว่ารับทางตา ในช่องที่3 รับแล้วปรุงก็ขีดในช่องที่2 ช่องปรุงแต่ง ขีดในช่องที่ 1 ช่องอวิชชาความไม่รู้จึงปรุง
วิถีของปัญญาไม่ได้ใช้สมองคิดไม่ต้องเครียด ที่เครียดนั่นเกิดจากสังขารการปรุงแล้ว มันเลยวิญญาณ เลยนามรูป เลยสฬายตะนะ เลยผัสสะไปปรากฏเวทนาแล้ว ยังไม่ได้ให้ขีดถึงขั้นนั้นแต่ให้รู้ว่านั่นมันปรุงแล้ว เพราะฉะนั้นจะฝึกปฎิจจสมุปบาทต้องฝึกชนิดที่เทียนไม่เปียกน้ำ เอาเทียนจุ่มน้ำแล้วไม่เปียก ถ้าจุ่มแล้วเหมือนสำลีอย่างนั้นฝึกไม่ได้ ยิ่งฝึกจะยิ่งบ้า ยิ่งฝึกจะยิ่งจม ฝึกแล้วต้องมีอาการรู้ ละ วาง รู้ ละ วาง เหมือนกับเทียนจุ่มน้ำ รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ยิ่งฝึกต้องยิ่งเบา ไม่ใช่ยิ่งฝึกยิ่งหนัก ฝึกแล้วต้องรู้แล้วละ วางแล้วว่าง รู้แล้วละ วางแล้วว่าง
คำสั่งพอ วันนี้เอาแค่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ พอวางกระดาษปากกา ยืดอกขึ้น ตั้งตัวให้ตรง หลับตาสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ให้ลมขึ้นไปที่หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ 2 ข้าง ลงมาที่ท่อนแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือหายใจออก
หายใจเข้าขึ้นจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง แยกไปหัวไหล่ซ้าย-ขวา ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ หลังมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
สูดลมหายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ ลงไปไหปลาร้า หัวไหล่ ท่อนแขนด้านบน ข้อพับ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม รู้
หายใจออก ยาว เบา หมด รู้
หายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอ กระดูกสันหลัง ลงไปที่ก้นกบทะลุไปที่ช่องท้อง ไปที่ลิ้นปี่ หน้าอก ราวนม ลำคอ ออกปาก
หายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง กระดูกสันหลัง ก้นกบ ทะลุไปที่ช่องท้อง สะดือ ลิ้นปี่ หน้าอก ลำคอ ออกปาก
หายใจเข้า จมูก หลอดลม ลำคอ ไหปลาร้า หัวไหล่ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้า ภาวนาว่าสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ กว้าง ลึก เต็ม รู้
หายใจออก ผ่อนคลาย
ยกมือไหว้พระกัมมัฏฐาน