เพื่อให้แน่ใจว่า ท่านกำลังเพียรพยายามพาตนเดินเข้ามาสู่วิถีแห่งพุทธะ คือรู้ตื่น และเบิกบาน ก่อนอื่นท่านต้องจัดการกับเครื่องผูก เครื่องข้อง และเหตุแห่งความกังวล หรือทำลายเหตุแห่งความกังวล หรือทำลายเหตุแห่งความกังวลทั้งหลาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นขยะ ที่สะสมอยู่ในตัวท่านให้ได้เสียก่อน โดยวิธีสลัดตัดกังวลทั้งปวง ชำระล้างขยะเก่า ทั้งที่ปรากฏภายในกาย และที่ปรากฏภายนอกกาย จัดว่าเป็นขยะใหม่ เหล่านี้เป็นกิจจำเป็น เบื้องต้น ของการมีชีวิตเบื้องต้น รวมทั้งต้องกระทำต่อไป จนกว่าจะถึงเบื้องปลายของชีวิต เพื่อปลดปล่อยชีวิตท่าน ให้เป็นอิสระจากเครื่องร้อบรัด ผูกพันและเป็นกังวลต่อการดำรงชีวิต ท่านต้องเพียรพยายาม ที่จักให้เสรีภาพแก่ตัวท่านเอง โดยการปล่อยภาระทุกอย่างกิจกรรมทุกเรื่อง ด้วยความคิดที่ว่า คราใดที่เราต้องการเข้าสู่วิถีแห่งพุทธะ ครานั้นทั้งหมดขององค์ประกอบแห่งชีวิตกรรมทุกชนิด กิจทุกอย่าง ต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง ต้องเป็นไปเพื่อความไม่สะสม ต้องเป็นไปเพื่อความสลัดหลุด ไม่ปล่อยให้อะไรๆ มามีอำนาจเหนือเรา
ปราชญ์ผู้รู้ ท่านให้ตัวอย่างแห่งความข้อง ความกังวลเอาไว้ 10 อย่าง คือ
1. อาวาสปลิโพธ ความกังวลใจในที่อยู่อาศัย เช่น กังวลว่าได้ที่อยู่กว้างไป ดูแลรักษายาก ได้ที่อยู่ดีเกินไป ไม่เหมาะแก่ผู้ถือสันโดษ ได้ที่อยู่แคบไป ไม่พอที่จักผ่อนคลายอิริยาบถ ได้ที่อยู่ที่สว่างไป ยากต่อการทำใจให้สงบ ได้ที่อยู่มืดไป ทำให้เกิด ปัญหาต่อการมองและดำรงชีวิต ได้ที่อยู่อับ ไม่สามารถทำให้อากาศถ่ายเทได้ ที่อยู่ชื้นแฉะ ก็จะกังวลใจว่า อาจจะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้ที่อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนไป ทำให้อยู่ยากไม่เป็นที่สบายได้ที่อยู่เย็นเกินไป ดูจะเป็นเรื่องลำบากต่อการดำรงชีพ ไม่ได้ที่อยู่ในทิศที่ตนกำหนด ไม่ได้ที่อยู่ในภูมิประเทศที่ตนต้องการ ไม่ได้ที่อยู่ ในบรรยากาศที่ตนอยากได้ ไม่ได้ที่อยู่ที่ดีพอเหมาะแก่ตน ไม่ได้ที่อยู่ที่ตนถูกใจ ไม่ได้ที่อยู่ที่สะดวกสบาย ไม่ได้ที่อยู่ที่ทำให้ตนผ่อนคลาย รวมทั้งกังวลว่า ตนจะไม่ได้ในที่อยู่ใดๆ เลย เหล่านี้เป็นความกังวลใจในเรื่องอาวาส
2. กุลปลิโพธ หมายถึง ความห่วงสกุลอุปัฏฐาก หรือบุคคลผู้ช่วยเหลือสนับสนุนตน เช่น ห่วงกังวลว่า ถ้าเราปลีกตนออกปฏิบัติธรรมแล้ว จะมีใครคอยอนุเคราะห์แก่สกุลอุปัฏฐากของเราด้วยกุศลธรรมบ้างไหมหนอ หรือไม่ก็ห่วงกังวลว่า ญาติผู้อุปัฏฐากเรา จักคงได้รับอันตรายจากอุบัติภัยต่างๆ ไหมหนอ หรือไม่ก็รู้สึกลังเลกังวลว่า เราจะจากตระกูลอุปัฏฐากที่รู้ใจ คอยเฝ้าระวังอุปัฏฐากเราด้วยอาหารที่มีรสอันเลิศ สิ่งของเครื่องใช้อันประณีต เราจักได้รับอุปัฏฐากด้วยสิ่งของอันเลิศ และประณีตเช่นนี้ จากที่เราจะไปอาศัยไหมหนอ หรือไม่ก็กังวลใจว่า ตระกูลอุปัฏฐากของเราเป็นตระกูลใหญ่มีบริวารอันมาก เราผู้ตระกูลนี้บูชา อุปัฏฐาก ก็พลอยมีบริวารมากไปด้วย ถ้าเราจากไปเสียแล้ว บริวารเหล่านี้จะปรากฏแก่เราจากใครที่ไหนหนอ ท้ายสุดก็กังวลใจต่อไปว่า เมื่อเราปลีกตัวออกปฏิบัติธรรมแล้ว ผู้อุปัฏฐากจะลืมตน พากันไปอุปัฏฐากผู้อื่น เราก็จักไม่มีผู้อุปัฏฐากอีกต่อไป
3. ลาภปลิโพธ ความห่วงกังวลใจในลาภที่มีอยู่ จะหมดไปเหตุเพราะ เคยได้ลาภอันประณีตจากหมู่ชนที่ตนคุ้นเคย ไปอยู่ที่ใหม่หรือไปปฏิบัติธรรมในที่ไกล อาจจะได้ลาภไม่ดีเหมือนเก่าหรือไม่เท่าเก่า รวมทั้งกังวลใจว่า ก่อนและหลังปฏิบัติธรรมแล้ว จักได้ลาภน้อยลง หรือมากขึ้นกว่าเดิมไหมหนอ
4. คณปลิโพธ ห่วงใยกังวลใจในหมู่คณะที่อยู่ร่วม หรืออยู่ในใต้บังคับบัญชาจะรับผิดชอบของตน ว่าจะมีชีวิตเป็นอยู่กันอย่างไร ใครจะเป็นผู้อบรมสั่งสอน ใครจะเป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลด้วยปัจจัย 4 แก่เขาเหล่านั้น อันตรายที่จักเกิดขึ้น ใครจักเป็นผู้ชี้เตือนป้องกัน รวมทั้งกังวลใจว่าเมื่อตนจากไปแล้ว จะสูญเสียอำนาจในการบังคับบัญชา กังวลใจว่า หมู่คณะจะไม่เชื่อฟังตนต่อไป
5. กัมมปลิโพธ คือความกังวลใจต่อหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบ กังวลใจต่อการงานที่ทำคั่งค้าง คาราคาซัง กังวลใจต่องานที่ดำริจะทำต่อไป และกังวลใจต่อปัญหาของการงานที่มาถึงตนแล้วและยังมาไม่ถึง
6. อันตธานปลิโพธ กังวลใจ ต่อระยะทางที่จะเดินไปปฏิบัติธรรม กังวลใจต่อระยะทางที่จะกลับมาสู่ที่อาศัย กังวลใจต่อหนทางที่จะเดินไปบิณฑบาต กังวลใจต่อทางที่จะเดินไปหาทางน้ำหรือแหล่งน้ำ กังวลใจต่อระยะทางที่จะไปรักษาพยาบาลเมื่อตนเจ็บป่วย สุดท้าย กังวลใจต่อหนทางที่จะเดินมาสู่สถานที่ให้การศึกษาอบรม
7. ญาติปลิโพธ หมายถึง ความห่วงใยกังวลใจ ที่ตนจะเหินห่างกับญาติสายโลหิตของตน กังวลห่วงใยว่า เมื่อเราจากไปแล้วญาติของเราจักอยู่เป็นสุขไหมหนอ เมื่อเราจากไปแล้ว ญาติของเราจักเป็นทุกข์เดือดร้อนประการใดหนอเมื่อเราไปแล้วญาติของเราจักมี อุบัติภัย อันตรายใดๆ ไหมหนอ เมื่อเราจากไปแล้ว ญาติกับเราต้องห่างเหินกันจนลืมซึ่งกันและกันไหมหนอ
8. อาพาธปลิโพธ คือความกังวลใจว่า สถานที่ที่เราไปปฏิบัติธรรมนั้นจักมีภัยจากความเจ็บไข้ไม่สบายหรือเปล่าหนอ เราจักเจ็บไข้ในที่นั้นหรือเปล่าหนอ เราจะติดโรคเจ็บไข้จากผู้อื่นที่อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับเราหรือไม่หนอ จักมียาอะไรรักษาโรคเหล่านั้นไหมหนอ จะไปเอายาหรือหาหมอรักษาโรคได้จากที่ไหนหนอ แล้วจักรักษาหายไหมหนอ โรคที่เราเป็นอยู่เดิม จะทำให้เกิดเวทนามากขึ้น เมื่อเราไปปฏิบัติธรรมไหมหนอ เราจักถึงตายเพราะโรคร้ายหรือไม่หนอ (ข้อนี้ท่านแนะนำว่า ถ้าเจ็บไข้อยู่เดิมแล้ว ก็ให้รีบรักษาเสียให้หาย จะได้ไม่เป็นกังวล แต่ถ้าไม่หาย ก็ให้สลัดความกังวลหวาดกลัวในโรคนั้นทิ้งให้ได้ แล้วมุ่งมั่น เร่งรีบปฏิบัติธรรม เพื่อเอาชนะความตาย)
9. คันถปลิโพธ ได้แก่ ความกังวลห่วงใย ต่อการสะสมวิทยาการต่างๆ โดยกังวลว่า เราเสียเวลามาปฏิบัติ อยู่เช่นนี้ ไม่รู้ว่าจะมีมรรคผลสำเร็จเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ ทำไมไม่เอาเวลาที่มีไปเรียนและสอบให้ได้ใบประกาศนียบัตร ดูจะดีกว่าไหม เราเรียนไปด้วยปฏิบัติธรรมไปด้วย จะไม่ดีกว่าหรือ การปฏิบัติธรรมที่มีอยู่นี้หรือจะสู้ศึกษาท่องจำตำรา รีบๆ ขวนขวายศึกษาสะสมวิทยาการต่างๆ เอาไว้ก่อนดีกว่าไหม อย่างน้อยศึกษาได้มากแค่ไหน สังคมโลกก็ย่อมยอมรับเรามากแค่นั้น เพราะเรามีหลักฐานยืนยัน แต่การปฏิบัติธรรม ถ้าเสียเวลาทำไปแล้วไม่แน่ใจว่าจะได้ผล หรือถ้าเผอิญได้ผลขึ้นมา ก็ไม่รู้ว่าจะเอาหลักฐานอะไรไปยืนยันให้สังคมยอมรับ (ท่านมีคำแนะนำว่า ควรจะศึกษาพอเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ จึงจะดูสวยงาม กลมกลืน)
10. อิทธิปลิโพธ ความห่วงใยวิตกกังวลว่า การปฏิบัติเช่นนี้ๆ จะทำให้เกิดปาฏิหาริย์อย่างนั้นอย่างนี้ วิตกกังวลอยู่เช่นนี้จนกลายเป็นว่า ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจิตใต้สำนึกจะคอยแต่จะระลึกถึงแต่เรื่องอิทธิวิตก จนจิตไม่สงบ (ท่านมีคำแนะนำไว้ว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมพึงสำนึกว่า ธรรมที่เราปฏิบัติอยู่นี้ เพื่อฟอกจิต เพื่อชำระจิตให้สะอาดปราศจากมลทิน ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เห็นความจริงของโลกได้แก่ความจริงที่ว่า สรรพสิ่งในโลกและจักรวาลนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ปฏิบัติธรรมให้เห็นเช่นนี้ด้วยปัญญา มิใช่เห็นด้วยสัญญา ท่านเตือนว่า ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อมุ่งหวังอิทธิวิตก มักจะมีอาการวิกลจริตเพราะจิตวิตกกังวล)
สรุป ความกังวลทั้ง 10 ประการดังกล่าวมานี้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องกางกั้นท่านกับธรรมปฏิบัติ เป็นเครื่องกีดขวางสายธารแห่งธรรม ที่จะหลั่งไหลเข้าสู่ดวงจิต เป็นเครื่องห่อหุ้มปกคลุมดวงจิตให้มืดบอด เป็นเครื่องทำร้ายทำลายท่าน ให้ไม่รอดพ้นจากพิษภัยแห่งวัฏฏะ เป็นเครื่องพันธนาการจิตวิญญาณของท่าน ให้ตกอยู่ในอำนาจของเหล่ามาร และเสนามารทั้งปวง อย่าเลย จงหยุดเถิด เราพอแล้ว เราวางแล้ว เราปลดปล่อยตนเองจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงแล้ว เรากำลังจะก้าวเดินเข้าไปสู่มรรคาแห่งมัชฌิมาปฏิปทาแล้ว เรากำลังจะแสวงหาเสรีภาพ และอิสรภาพจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงแล้ว
วลีเหล่านี้ คิดว่า น่าจะใช้จัดการกับความห่วงใยวิตกกังวลทั้งหลายได้ดี หวังว่าท่านคงจะมีชัยชนะ
ปราชญ์ผู้รู้ ท่านให้ตัวอย่างแห่งความข้อง ความกังวลเอาไว้ 10 อย่าง คือ
1. อาวาสปลิโพธ ความกังวลใจในที่อยู่อาศัย เช่น กังวลว่าได้ที่อยู่กว้างไป ดูแลรักษายาก ได้ที่อยู่ดีเกินไป ไม่เหมาะแก่ผู้ถือสันโดษ ได้ที่อยู่แคบไป ไม่พอที่จักผ่อนคลายอิริยาบถ ได้ที่อยู่ที่สว่างไป ยากต่อการทำใจให้สงบ ได้ที่อยู่มืดไป ทำให้เกิด ปัญหาต่อการมองและดำรงชีวิต ได้ที่อยู่อับ ไม่สามารถทำให้อากาศถ่ายเทได้ ที่อยู่ชื้นแฉะ ก็จะกังวลใจว่า อาจจะก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้ที่อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิร้อนไป ทำให้อยู่ยากไม่เป็นที่สบายได้ที่อยู่เย็นเกินไป ดูจะเป็นเรื่องลำบากต่อการดำรงชีพ ไม่ได้ที่อยู่ในทิศที่ตนกำหนด ไม่ได้ที่อยู่ในภูมิประเทศที่ตนต้องการ ไม่ได้ที่อยู่ ในบรรยากาศที่ตนอยากได้ ไม่ได้ที่อยู่ที่ดีพอเหมาะแก่ตน ไม่ได้ที่อยู่ที่ตนถูกใจ ไม่ได้ที่อยู่ที่สะดวกสบาย ไม่ได้ที่อยู่ที่ทำให้ตนผ่อนคลาย รวมทั้งกังวลว่า ตนจะไม่ได้ในที่อยู่ใดๆ เลย เหล่านี้เป็นความกังวลใจในเรื่องอาวาส
2. กุลปลิโพธ หมายถึง ความห่วงสกุลอุปัฏฐาก หรือบุคคลผู้ช่วยเหลือสนับสนุนตน เช่น ห่วงกังวลว่า ถ้าเราปลีกตนออกปฏิบัติธรรมแล้ว จะมีใครคอยอนุเคราะห์แก่สกุลอุปัฏฐากของเราด้วยกุศลธรรมบ้างไหมหนอ หรือไม่ก็ห่วงกังวลว่า ญาติผู้อุปัฏฐากเรา จักคงได้รับอันตรายจากอุบัติภัยต่างๆ ไหมหนอ หรือไม่ก็รู้สึกลังเลกังวลว่า เราจะจากตระกูลอุปัฏฐากที่รู้ใจ คอยเฝ้าระวังอุปัฏฐากเราด้วยอาหารที่มีรสอันเลิศ สิ่งของเครื่องใช้อันประณีต เราจักได้รับอุปัฏฐากด้วยสิ่งของอันเลิศ และประณีตเช่นนี้ จากที่เราจะไปอาศัยไหมหนอ หรือไม่ก็กังวลใจว่า ตระกูลอุปัฏฐากของเราเป็นตระกูลใหญ่มีบริวารอันมาก เราผู้ตระกูลนี้บูชา อุปัฏฐาก ก็พลอยมีบริวารมากไปด้วย ถ้าเราจากไปเสียแล้ว บริวารเหล่านี้จะปรากฏแก่เราจากใครที่ไหนหนอ ท้ายสุดก็กังวลใจต่อไปว่า เมื่อเราปลีกตัวออกปฏิบัติธรรมแล้ว ผู้อุปัฏฐากจะลืมตน พากันไปอุปัฏฐากผู้อื่น เราก็จักไม่มีผู้อุปัฏฐากอีกต่อไป
3. ลาภปลิโพธ ความห่วงกังวลใจในลาภที่มีอยู่ จะหมดไปเหตุเพราะ เคยได้ลาภอันประณีตจากหมู่ชนที่ตนคุ้นเคย ไปอยู่ที่ใหม่หรือไปปฏิบัติธรรมในที่ไกล อาจจะได้ลาภไม่ดีเหมือนเก่าหรือไม่เท่าเก่า รวมทั้งกังวลใจว่า ก่อนและหลังปฏิบัติธรรมแล้ว จักได้ลาภน้อยลง หรือมากขึ้นกว่าเดิมไหมหนอ
4. คณปลิโพธ ห่วงใยกังวลใจในหมู่คณะที่อยู่ร่วม หรืออยู่ในใต้บังคับบัญชาจะรับผิดชอบของตน ว่าจะมีชีวิตเป็นอยู่กันอย่างไร ใครจะเป็นผู้อบรมสั่งสอน ใครจะเป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลด้วยปัจจัย 4 แก่เขาเหล่านั้น อันตรายที่จักเกิดขึ้น ใครจักเป็นผู้ชี้เตือนป้องกัน รวมทั้งกังวลใจว่าเมื่อตนจากไปแล้ว จะสูญเสียอำนาจในการบังคับบัญชา กังวลใจว่า หมู่คณะจะไม่เชื่อฟังตนต่อไป
5. กัมมปลิโพธ คือความกังวลใจต่อหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบ กังวลใจต่อการงานที่ทำคั่งค้าง คาราคาซัง กังวลใจต่องานที่ดำริจะทำต่อไป และกังวลใจต่อปัญหาของการงานที่มาถึงตนแล้วและยังมาไม่ถึง
6. อันตธานปลิโพธ กังวลใจ ต่อระยะทางที่จะเดินไปปฏิบัติธรรม กังวลใจต่อระยะทางที่จะกลับมาสู่ที่อาศัย กังวลใจต่อหนทางที่จะเดินไปบิณฑบาต กังวลใจต่อทางที่จะเดินไปหาทางน้ำหรือแหล่งน้ำ กังวลใจต่อระยะทางที่จะไปรักษาพยาบาลเมื่อตนเจ็บป่วย สุดท้าย กังวลใจต่อหนทางที่จะเดินมาสู่สถานที่ให้การศึกษาอบรม
7. ญาติปลิโพธ หมายถึง ความห่วงใยกังวลใจ ที่ตนจะเหินห่างกับญาติสายโลหิตของตน กังวลห่วงใยว่า เมื่อเราจากไปแล้วญาติของเราจักอยู่เป็นสุขไหมหนอ เมื่อเราจากไปแล้ว ญาติของเราจักเป็นทุกข์เดือดร้อนประการใดหนอเมื่อเราไปแล้วญาติของเราจักมี อุบัติภัย อันตรายใดๆ ไหมหนอ เมื่อเราจากไปแล้ว ญาติกับเราต้องห่างเหินกันจนลืมซึ่งกันและกันไหมหนอ
8. อาพาธปลิโพธ คือความกังวลใจว่า สถานที่ที่เราไปปฏิบัติธรรมนั้นจักมีภัยจากความเจ็บไข้ไม่สบายหรือเปล่าหนอ เราจักเจ็บไข้ในที่นั้นหรือเปล่าหนอ เราจะติดโรคเจ็บไข้จากผู้อื่นที่อยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับเราหรือไม่หนอ จักมียาอะไรรักษาโรคเหล่านั้นไหมหนอ จะไปเอายาหรือหาหมอรักษาโรคได้จากที่ไหนหนอ แล้วจักรักษาหายไหมหนอ โรคที่เราเป็นอยู่เดิม จะทำให้เกิดเวทนามากขึ้น เมื่อเราไปปฏิบัติธรรมไหมหนอ เราจักถึงตายเพราะโรคร้ายหรือไม่หนอ (ข้อนี้ท่านแนะนำว่า ถ้าเจ็บไข้อยู่เดิมแล้ว ก็ให้รีบรักษาเสียให้หาย จะได้ไม่เป็นกังวล แต่ถ้าไม่หาย ก็ให้สลัดความกังวลหวาดกลัวในโรคนั้นทิ้งให้ได้ แล้วมุ่งมั่น เร่งรีบปฏิบัติธรรม เพื่อเอาชนะความตาย)
9. คันถปลิโพธ ได้แก่ ความกังวลห่วงใย ต่อการสะสมวิทยาการต่างๆ โดยกังวลว่า เราเสียเวลามาปฏิบัติ อยู่เช่นนี้ ไม่รู้ว่าจะมีมรรคผลสำเร็จเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ ทำไมไม่เอาเวลาที่มีไปเรียนและสอบให้ได้ใบประกาศนียบัตร ดูจะดีกว่าไหม เราเรียนไปด้วยปฏิบัติธรรมไปด้วย จะไม่ดีกว่าหรือ การปฏิบัติธรรมที่มีอยู่นี้หรือจะสู้ศึกษาท่องจำตำรา รีบๆ ขวนขวายศึกษาสะสมวิทยาการต่างๆ เอาไว้ก่อนดีกว่าไหม อย่างน้อยศึกษาได้มากแค่ไหน สังคมโลกก็ย่อมยอมรับเรามากแค่นั้น เพราะเรามีหลักฐานยืนยัน แต่การปฏิบัติธรรม ถ้าเสียเวลาทำไปแล้วไม่แน่ใจว่าจะได้ผล หรือถ้าเผอิญได้ผลขึ้นมา ก็ไม่รู้ว่าจะเอาหลักฐานอะไรไปยืนยันให้สังคมยอมรับ (ท่านมีคำแนะนำว่า ควรจะศึกษาพอเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ จึงจะดูสวยงาม กลมกลืน)
10. อิทธิปลิโพธ ความห่วงใยวิตกกังวลว่า การปฏิบัติเช่นนี้ๆ จะทำให้เกิดปาฏิหาริย์อย่างนั้นอย่างนี้ วิตกกังวลอยู่เช่นนี้จนกลายเป็นว่า ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจิตใต้สำนึกจะคอยแต่จะระลึกถึงแต่เรื่องอิทธิวิตก จนจิตไม่สงบ (ท่านมีคำแนะนำไว้ว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมพึงสำนึกว่า ธรรมที่เราปฏิบัติอยู่นี้ เพื่อฟอกจิต เพื่อชำระจิตให้สะอาดปราศจากมลทิน ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เห็นความจริงของโลกได้แก่ความจริงที่ว่า สรรพสิ่งในโลกและจักรวาลนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ปฏิบัติธรรมให้เห็นเช่นนี้ด้วยปัญญา มิใช่เห็นด้วยสัญญา ท่านเตือนว่า ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อมุ่งหวังอิทธิวิตก มักจะมีอาการวิกลจริตเพราะจิตวิตกกังวล)
สรุป ความกังวลทั้ง 10 ประการดังกล่าวมานี้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องกางกั้นท่านกับธรรมปฏิบัติ เป็นเครื่องกีดขวางสายธารแห่งธรรม ที่จะหลั่งไหลเข้าสู่ดวงจิต เป็นเครื่องห่อหุ้มปกคลุมดวงจิตให้มืดบอด เป็นเครื่องทำร้ายทำลายท่าน ให้ไม่รอดพ้นจากพิษภัยแห่งวัฏฏะ เป็นเครื่องพันธนาการจิตวิญญาณของท่าน ให้ตกอยู่ในอำนาจของเหล่ามาร และเสนามารทั้งปวง อย่าเลย จงหยุดเถิด เราพอแล้ว เราวางแล้ว เราปลดปล่อยตนเองจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงแล้ว เรากำลังจะก้าวเดินเข้าไปสู่มรรคาแห่งมัชฌิมาปฏิปทาแล้ว เรากำลังจะแสวงหาเสรีภาพ และอิสรภาพจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงแล้ว
วลีเหล่านี้ คิดว่า น่าจะใช้จัดการกับความห่วงใยวิตกกังวลทั้งหลายได้ดี หวังว่าท่านคงจะมีชัยชนะ