เมื่อ ท่านสามารถปลดปล่อยตัวเอง ออกมาจากความห่วงกังวล นานัปการแล้ว ต้องถือว่า ท่านสอบผ่านการปฏิบัติธรรมในขั้นต้น มาได้ขั้นหนึ่ง ต่อไปนี้ จะเป็นแบบฝึกหัดของการปฏิบัติธรรมขั้นสูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ แบบฝึกหัด ที่ว่าด้วยการทำความรู้จักตนเอง เข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตนเอง จึงจักถือว่า ท่านพร้อมที่จะควบคุมตัวเองได้ ไหว้ตนเองถูก
เหล่านี้คือแบบฝึกหัดในขั้นนี้ เป็นแบบฝึกหัดที่จำเป็นพอสมควร สำหรับนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะเป็นผู้เก่าหรือผู้ปฏิบัติใหม่ก็ตาม ต้องทำความเข้าใจ ให้เกิดความรู้จริง มิใช่รู้จำ ส่วนวิธีที่จะทำความรู้จักตนเองนั้น ดูจะไม่ยาก เพราะพระบรมศาสดาผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ท่านทรงชี้บอกพวกเราให้ได้รู้ว่า ธรรมชาติในโลกนี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือธรรมชาติในตัวกับธรรมชาตินอกตัว ธรรมชาตินอกตัวนั้นได้แก่ สัปปายธรรม แปลว่า สิ่งของ สถานที่หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะสม เกื้อกูล เอื้ออำนวยแก่ผู้ปฏิบัติธรรมมีอยู่ 7 อย่างคือ
1. อาวาสสัปปายะ หมายถึง ที่อยู่อาศัยที่สบาย เหมาะแก่การปฏิบัติจิตให้สงบ โดยปราศจากสิ่งรบกวนนานาประการ เช่น คนกวน สัตว์กวน เสียงกวน กลิ่นกวน บรรยากาศรอบข้างกวน เหตุอันไม่เอื้อต่อการทำจิตให้สงบ ผู้ปฏิบัติ-ธรรมควรเลือกสถานที่ปฏิบัติที่ไม่รโหฐานเกินตัวนัก เพราะจะทำให้ยุ่งยากต่อการดูแลรักษา แต่ต้องไม่คับแคบเกินไป จะทำให้อึดอัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ใหม่เกินไป หมายถึงสีสันต้องไม่ฉูดฉาดมากนัก เป็นการเย้ายวน จิตให้ฟุ้งซ่าน จักทำจิตให้สงบได้ยากไม่เก่าจนเกินไป จนไม่สามารถป้องกันภัยจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก ลมพัด อากาศหนาว ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับความชอบใจ พอใจ ปลงใจ พอดี ของผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละท่าน
2. โคจรสัปปายะ หมายถึง หนทางที่เดินไปหาอาหารได้มาอย่างสบาย สบายในที่นี้ท่านจำแนกไว้ 2 ชนิดคือ
สบายกายกับสบายใจ สบายกายได้แก่ เดินไปในทางที่ไม่รกชัฏ ไม่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือถึงกับต้องปีนป่าย ทุรกันดารมากเกินไป และต้องไม่ไกลมากนัก จนทำให้เกิดทุกข์ยาก กังวลใจจนกลายเป็นต้องรีบเร่ง จ้ำเอาๆ เพื่อให้ทันเวลาอาหาร กิริยาเช่นนี้ผู้อื่นดูแล้วไม่สำรวม ไม่งาม เป็นกิริยาของผู้ละโมบ ตะกรุมตะกราม ไม่ใช่ลักษณะของสมณวิสัย
สบายใจ หนทางที่เดินไปนั้น ควรเลือกทางที่ร่มรื่นสงบเย็นไม่มีศัตรูหรือเครื่องล่อใดๆ มาทำให้จิตกระเพื่อม ไม่เดินไปในทางที่เป็นเหตุแห่งการครหานินทา เสียหาย ไม่เดินไปในทางที่จะทำให้ชีวิตเสื่อมสลายจากพระธรรม
3. กถาสัปปายะ คำพูดที่ผู้ฟัง ฟังแล้วผ่อนคลาย สบายใจ ฟังแล้วฉลาด สะอาด สงบ พูดแล้วยังให้เกิดศรัทธาต่อการปฏิบัติ เป็นคำพูดที่สนับ-สนุนส่งเสริม ให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไปยิ่งๆ ขึ้น เป็นคำพูดที่แนะนำประโยชน์ทำลายโทษได้
4. ปุคคลสัปปายะ ได้แก่ บุคคลรอบข้างทำให้สบาย หมายถึงผู้ปฏิบัติ ถ้าคิดจะอยู่ในสังคม ก็ให้เลือกสังคมแวดล้อม ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมด้วยกัน แล้วต่างฝ่ายต่างเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน โดยตั้งกัลยาณจิตไว้ในตนว่า จักช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการปฏิบัติธรรมด้วยความเต็มใจ จริงใจ บริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ ในการปฏิบัติต่อกันอย่างจริงจัง พร้อมที่จะไม่เป็นตัวสร้างปัญหาอันเป็นเหตุให้เสื่อมถอยต่อการปฏิบัติให้ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องรับผลเสียและไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ
5. อาหารสัปปายะ หมายถึง อาหารที่บริโภคแล้ว ทำให้ผู้บริโภคสบาย ต้องเป็นอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ต้องเป็นอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสม จนเป็นมลพิษแก่ชีวิตตนต้องเป็นอาหารเพื่อผ่อนคลายความหิวอย่างแท้จริง ต้องเป็นอาหารที่มิใช่ได้มาเพราะความมักมาก ต้องไม่เป็นอาหารที่บริโภคเพื่อจะบำรุงบำเรอร่างกาย ต้องเป็นอาหารที่ไม่สร้างภาระมากนัก
6. อุตุสัปปายะ คำว่าอุตุหมายถึง ฤดู อุณหภูมิ หรือสภาพแวดล้อม รวมความว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องเลือกอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นที่สบายแก่ตน จะยังให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติได้มากทีเดียว เพราะนักปฏิบัติ-ธรรมผู้มีประสบการณ์น้อย ยังขาดความมั่นคงต่อการปฏิบัติ หากไม่อยู่ในสภาพ-แวดล้อมที่ดี ไม่เหมาะแก่ตนเอง ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นที่เจริญหู เจริญตา เจริญใจ ไม่ช่วยให้จิตสงบสบาย ก็อาจจะทำให้ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ อาจทำให้เกียจคร้านต่อการปฏิบัติไปโดยปริยาย ฉะนั้น สภาพแวดล้อมที่ดี อุณหภูมิเหมาะสม ดูจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติอยู่เหมือนกัน
7. อิริยาปถสัปปายะ คืออิริยาบถที่สบาย ผ่อนคลายทำได้นาน ถือว่าอิริยาบถนั้นเหมาะสมกับตนที่สุด การบำเพ็ญธรรมไม่จำเป็นต้องผูกขาดตายตัวอยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง ต้องถือว่าทุกอิริยาบถสามารถทำให้เราเข้าถึงธรรมได้ เพียงแต่ว่าถ้าอิริยาบถใด ทำให้จิตสงบระงับได้ง่าย ตั้งมั่นอยู่ได้นาน รู้ทั่วถึงธรรมได้เร็ว ก็ให้ถือว่าอิริยาบถนั้นเป็นที่สบายสำหรับเรา (สำหรับผู้ที่ชอบนั่ง และสามารถที่จักนั่งได้ เป็นที่สบายแก่ตน เพราะศาสดาทรงบัญญัติเครื่องรองนั่งเอาไว้ ทรงเรียกว่า นิสีทนะ ผ้าปูนั่ง เครื่องรองนั่ง ผู้เขียนแนะนำว่า ถ้าจะนั่งให้ถูกวิธี และไม่ผิดต่อหลักโครงสร้างสรีระ แถมยังเป็นที่สบายแก่ ผู้นั่ง ควรหาหมอนที่ยัดด้วยอะไรก็ได้ ที่มีความยืดหยุ่นพอ กว้างยาวเท่ากัน เช่น หมอนเหลี่ยมของทางอีสาน มารองที่ก้นกบของตน ส่วนเท้าและท่อนขา เข่า ปล่อยทับอยู่บนเสื่อหรือผ้า ถ้าไม่มี ก็เป็นพื้นเรียบๆ ธรรมดาก็ได้ แต่ต้องมีหมอนรองก้น เพื่อให้ลำตัวตั้งตรงกระดูกสันหลังไม่ขบบิด จะได้ไม่ทรมาน ทั้งยังทำให้นั่งได้นานด้วย)
สรุป ที่กล่าวมาแล้วนี้ คือธรรมชาตินอกกาย ซึ่งอาจจะมีอิทธิพลแก่วิถีธรรมของตนก็ได้ หรืออาจจะไม่มีอิทธิพลต่อชีวิตตนเลยก็ได้ ถ้าคิดว่าเรารู้จักตนเองอย่างแจ่มชัด เข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง ควบคุมตนเองได้ เป็นเจ้า-นายตัวเอง เป็นเจ้าของชีวิตตัวเองจริงๆ ธรรมชาตินอกกายดังกล่าวมานี้ ดูจะไม่มีอำนาจครอบงำเราได้เลย ทั้งนี้ สุดแต่ดุลพินิจของเพื่อนนักปฏิบัติธรรม จะพิเคราะห์ใคร่ครวญเลือกสรรเอาเอง ตามแต่จะเห็นสมควร
เมื่อนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ได้ทราบถึงธรรมชาตินอกกายตนไปแล้ว ก็จักขอบอกกล่าวถึงธรรมชาติ ในกายตนต่อไป ซึ่งพระพุทธะผู้เจริญ พระองค์ได้ทรงชี้ให้ชาวเราทั้งหลาย หันเข้ามามองและสังเกตสิ่งที่มีอยู่ในกายตน แล้วทรงสั่งสอนให้รู้จักแยกแยะว่า อะไรเป็นสาระและไร้สาระ ทั้งยังทรงบอกวิธีกำจัดสิ่งที่ไร้สาระ ระวังรักษาสร้างเสริมสิ่งที่เป็นสาระให้คงอยู่ เจริญขึ้นจนเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ธรรมชาติภายใน กายที่มีอยู่ในอุปนิสัย เป็นสิ่งที่ผูกสนิทติดตัวเราอยู่ ท่านเรียกว่า จริต คือ สิ่งที่มีประจำอยู่ในจิต อย่างชนิดจำเจ ซ้ำซากจนติดเป็นนิสัย จริตในกายเรามีอยู่ 6 อย่างคือ
1. ราคจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซากจำเจกับความรักสวยรักงาม ผู้มีจริตเช่นนี้จะเป็นคนที่นิยมชมชอบ ความมีระเบียบเรียบร้อย เป็นผู้มีรสนิยมสูง ทะเยอทะยาน ฟุ้งเฟ้อ หนักไปทางละโมบ
วิธีแก้ ท่านแนะนำให้ ทำ หา ใช้ สิ่งตรงกันข้ามกับความสวยงาม เช่น ให้ใช้เครื่องอุปโภค บริโภค ที่ตรงกันข้ามกับความสวยงาม คือ เครื่องอุปโภคบริโภคที่เศร้าหมอง ไม่บริโภคของที่มีรูปสวย ไม่บริโภคของที่มีสีฉูดฉาด ไม่บริโภคของที่มีกลิ่นหอมรุนแรง ไม่บริโภคของที่มีรสจัด
อิริยาบถ ที่เหมาะกับการบำเพ็ญธรรม ของผู้มีราคจริตก็คือ...อิริยาบถยืนและเดิน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนให้มากที่สุด
สี ที่แก้ราคจริตได้ดี คือ สีเขียว หรือไม่ก็ให้เลือกโทนสีมอซอ เศร้า-หมอง
ราคจริต มีกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ตนคือ กายคตานุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาอาการที่เกิดขึ้นในกายตนเป็นอารมณ์ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาให้เห็นสิ่งปฏิกูล สกปรก ที่มีอยู่ในกายตน และคนอื่น มรณานุสติกัมมัฏฐาน พิจารณาถึงความตาย ขณะที่เห็นสัตว์อื่นตาย กำลังตาย หลังตาย มีสภาพเช่นไร จนทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดยินดี ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. โทสจริต ได้แก่ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซากจำเจอยู่ในอารมณ์หงุดหงิด ฉุน-เฉียว โกรธง่าย ใจร้อน มักทำอะไรลวกๆ หยาบ รวดเร็ว มักง่าย ดูจะเป็นผู้มีกิริยากระตือรือร้น จนกลายเป็นความร้อนรนอยู่ไม่ค่อยติดที่ เหมือนจะไม่มีความสุข เป็นผู้ทนต่อคำสอนได้ยาก ปฏิบัติตามระเบียบวินัยลำบากไม่ค่อยอยากทำตาม ชีวิตเป็นอยู่มักจะไม่ค่อยรักษาความสะอาด
วิธีแก้ ท่านแนะให้หาเครื่องอุปโภคบริโภคที่ประณีตบรรจง สวยงาม มีรูปลักษณ์อันละเอียดอ่อน มีสีสดใส มีกลิ่นหอมสดชื่น มีรสอันละเมียดละไม กลมกล่อม ให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย คบหาสมาคมกับผู้มีกิริยาวาจาสุภาพ ใจคอโอบอ้อมอารี
อิริยาบถ ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมของผู้ที่มี โทสจริต คือ อิริยาบถนั่งหรือนอนมากกว่ายืนและเดิน
สี ที่ควรใช้ คือสีขาวและสีฟ้าอ่อน ต้องเป็นสีที่ใช้แล้วเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
โทสจริต เหมาะสมกับกัมมัฏฐานที่ว่าด้วย การเจริญเมตตา ซึ่งมีอยู่ในพรหมวิหาร 4 โดยตั้งความรัก ความปรารถนาดี คิดช่วยให้สัตว์ผู้ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่รอดปลอดภัย พ้นจากทุกข์ โทษภัยทั้งปวง พร้อมทั้งภาวนาในใจว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข จาคานุสติกัมมัฏฐาน บริจาคให้ปันสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมไปถึง ให้น้ำใจ ให้อภัย ให้ธรรม โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และวรรณกสิณ 4 คือ กสิณสีม่วง กสิณสีเหลือง กสิณสีแดง กสิณสีขาว
3. โมหจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซาก จำเจในอารมณ์ หงอยเหงา ซึมเศร้า ไม่ค่อยกระตือรือร้น มีกิริยาอาการเซื่องซึม เชื่องช้า ความรู้สึกนึกคิดไม่ค่อยปลอดโปร่ง ไม่ค่อยมีปัญญาหลังยาว ขี้เกียจ เวลาจะทำอะไร หรือใครมาชวนให้ทำอะไรก็มักจะทำตามๆ เขาไป ไม่ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ถ้ามีผลตอบรับมาเล็กๆ น้อยๆ ก็หลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ คนเช่นนี้จะมีอยู่มากในสังคม ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนา ทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ
วิธีแก้ไข ท่านให้เลือกเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีขนาดใหญ่ เช่น ที่อยู่อาศัย ก็ต้องให้มีขนาดใหญ่ โอ่โถง เปิดโล่ง มีการระบายอากาศได้ดี เปิดให้แสงสว่างจากธรรมชาติสาดส่องเข้ามาในที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด อุปกรณ์เครื่องใช้ทุกชนิด พยายามเลือกที่มีสีสันสดใส อาหารการกินก็ให้ประดับประดาตกแต่งอย่างประณีตวิจิตรบรรจง รสชาติต้องปรุงให้จัดจ้านพอสมควร กลิ่นต้องมีกลิ่นที่รุนแรง พยายามเลือกคบคน หรือเลือกเข้าสังคมที่กระตือรือร้น มีระเบียบวินัย ทำอะไรด้วยความคิดไตร่ตรอง รอบคอบ หาสังคมที่สามารถแนะนำประโยชน์ ชี้สิ่งที่เป็นโทษให้เรารู้ได้ เป็นสังคมที่อาจสอนให้เราทำอะไรๆ ด้วยความรวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด เรียบร้อย ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ สิ่งที่กล่าวมานี้ ดูจะเป็นที่สบายแก่ผู้มีโมหจริต
อิริยาบถ ที่เหมาะแก่ผู้มีโมหจริตได้แก่ อิริยาบถยืนกับเดิน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนให้มากที่สุด ถ้ามุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัย แก้ไขพฤติกรรมของตน
สี ต้องใช้สีดูแล้วสดใส สว่างไสว เช่น สีทอง สีเหลือง สีขาว
โมหจริต มีกัมมัฏฐานที่เป็นที่สบายคือ อานาปานสติกัมมัฏฐาน การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก
4. สัทธาจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยจำเจซ้ำซาก ในทางหลงงมงาย เชื่อง่าย มีอุปาทาน คือความยึดถือมาก ใครมาพูด มาบอก มาชวนอะไร ที่ตรงใจ ถูกใจ พอ-ใจ ชอบใจ ก็จะหลงเชื่อเขาไปหมด เป็นบุคคลที่ด้อยทางปัญญา ไม่ค่อยมีความคิดไตร่ตรองใคร่ครวญ ไม่ละเอียดอ่อน ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเชื่อหรือศรัทธาที่จะทำอะไรแล้ว จะทำอย่างหัวปักหัวปำ ดูคล้ายคนขยัน แต่ขยันไปในทางที่ไม่ค่อยฉลาด ดูเหมือนจะเป็นคนจริงจัง แต่เป็นความจริงจังในความหลง ถ้าจะมีระเบียบวินัย ก็เป็นระเบียบวินัยที่เป็นไปในความเชื่อผิดๆ ไม่ใคร่พิเคราะห์ พิสูจน์ทราบกับเขานัก ไม่ค่อยมีความคิดเป็นของตัวเอง ถ้าเผอิญคิดได้ ก็เป็นความคิดที่ไม่แยบคาย เป็นความคิดที่ไม่ทำลายปัญหา แต่กลับเป็นความคิดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาเสียด้วยซ้ำ
วิธีแก้ ต้องพยายามอยู่ในสังคมของคนที่มีปัญญา คบหาผู้คนที่เขามีความจริงใจ มีน้ำใจที่จะนำ วิถีคิด วิถีงาน วิถีชีวิต วิถีจิต ที่เป็นวิถีพุทธะ คือ รู้ ตื่น และเบิก-บานให้กับเรา เครื่องอุปโภคบริโภค ควรมีรูป รส กลิ่น สี ที่สดใสสวยงาม ละเอียดอ่อน ประณีตบรรจง หอมหวาน กลมกล่อม และเป็นระเบียบเรียบร้อย
อิริยาบถ ที่ควรแก่ผู้มีสัทธาจริต ก็คือ อิริยาบถนั่ง หรือนอนมากกว่ายืนและเดิน
สี ที่เหมาะได้แก่ สีขาวสดใส สีฟ้าอ่อน สีครีม หรือจะเป็นโทนสีที่สว่าง สีใดสีหนึ่งก็ได้
สัทธาจริต กัมมัฏฐานที่เป็นที่สบาย ได้แก่ อนุสติ 6
พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
สีลานุสติ ระลึกถึงคุณแห่งศีล วิธีรักษาศีล อานิสงส์แห่งศีลเป็นอารมณ์
จาคานุสติ ระลึกถึงการให้ปัน บริจาค เสียสละด้วยจิตเมตตา
เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณธรรมของเทวดา รักษา คุณธรรมนั้น ให้เจริญขึ้นในกายตน ยินดีในเทวดานั้นๆ ที่มากด้วยคุณธรรม
5. พุทธิจริต หมายถึง ผู้ที่มีความซ้ำซากจำเจ ต่อความขยันหมั่นเพียร เรียนรู้ สนใจจดจ่ออยู่กับการศึกษาค้นคว้า ไตร่ตรอง พิสูจน์ พิจารณาถี่ถ้วน ละเอียดรอบ-คอบ มีระเบียบวินัย และปัญญาดี ไม่เป็นคนที่เชื่อถืออะไรง่ายๆ ถ้าจะเชื่อก็ต้องพิสูจน์ จนเห็นผลแล้วจึงเชื่อ เป็นผู้มีเหตุผล อดทน กล้าที่จะเผชิญต่อปัญหานานานัปการ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างหมดจด รอบคอบ รู้จักหยิบและยึดถือในเวลา และสถานการณ์ที่ควรหยิบถือ รู้จักปล่อยวาง ในเวลาและสถานการณ์ที่ควรปล่อยวาง เป็นผู้ฉลาดในวิถีงาน วิถีชีวิต วิถีคิด วิถีจิต เป็นหนึ่งเดียวกับวิถีพุทธ รู้ ตื่น และเบิกบาน
วิธีแก้ไข ไม่มี เพราะมิได้เป็นผู้ก่อปัญหา ไม่สร้างมลภาวะ ทั้งยังมีชีวิตเพื่อยังประโยชน์ แก่ตนและสังคม แต่ก็มิใช่หมายความว่า จักเป็นผู้ดีเลิศจนถึงที่สุดทุกข์ เหตุเพราะยังมิได้ญาณ ปัญญาหยั่งรู้สามัญลักษณะ 3 ประการ คือ อนิจจา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตา ไม่มีตัวตน ด้วยปัญญาหยั่งรู้ หยั่งเห็นโดยแยบคาย ทุกขณะของลมหายใจ จึงต้องเพียรพยายามฝึกหัด ดัดกายวาจาใจ ให้อยู่ในมัชฌิ-มาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ไม่ข้องแวะที่สุด 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ทำตนให้พัวพันหลงไหลอยู่ในกามคุณ ด้วยคิดว่าเป็นวิถีพ้นทุกข์ อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากทรมารด้วยคิดว่าเป็นวิถีพ้นทุกข์ จะต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในองค์ 8 ประการ คือ
1. ปัญญาเห็นชอบ ได้แก่เห็นอริยสัจ 4
2. ดำริชอบ
3. เจรจาชอบ
4. การงานชอบ
5. เลี้ยงชีวิตชอบ
6. เพียรชอบ
7. ระลึกชอบ
8. ตั้งใจชอบ
เหล่านี้เป็นมรรควิธีที่สบาย เจริญมั่นคงแก่ผู้มีพุทธิจริต อิริยาบถ ผู้ที่เป็นพุทธิจริตจะเหมาะสำหรับทุกอิริยาบถสี ผู้มีพุทธิจริต จักเหมาะสำหรับทุกสี
พุทธิจริต กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย 4 อย่าง คือ
มรณานุสติ พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ เราจักต้องตายเป็นแน่ ความตายเป็นสาธารณะ เป็นธรรมดาแก่สัตว์ทั้งหลาย เราหนีความตายไม่พ้น
อุปสมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ที่สามารถระงับกิเลสและกองทุกข์ได้
อาหาเรปฏิกูลสัญญา พิจารณาถึงความปฏิกูลในอาหาร พิจารณาถึงความน่ารังเกียต โดยการบริโภค โดยที่เกิดของอาหาร โดยอาการของอาหาร โดยการสะสม คั่งค้างอยู่นานของอาหารนั้น
จตุธาตุกัมมัฏฐาน พิจารณาให้เห็นชัดด้วยสติปัญญา ว่ากายนี้จริงๆ แล้วประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (รายละเอียดดูในธาตุกัมมัฏฐาน)
6. วิตกจริต ได้แก่ผู้มีอุปนิสัยจำเจซ้ำซาก ไปในความคิด สับสน ฟุ้งซ่าน จับจด เหม่อลอย ขาดสติ ขี้ลืมบ่อยๆ ทำพูดคิดมักจะผิดๆ พลาดๆ ไม่ค่อยรู้สึกตัว ความนึกคิดไม่ค่อยปะติดปะต่อ ไม่อยู่กับร่องกับรอย อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ไม่มีความรับผิดชอบ ชีวิตจะหนักไปในอคติ 4 คือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะไม่ชอบ ลำเอียงเพราะเขลา ลำเอียงเพราะกลัว เป็นผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็หลับไม่ค่อยสนิท จะฝันร้ายเป็นประจำ ระบบย่อยอาหารและขับถ่ายของเสียในร่างกาย มักไม่ค่อยปกติ มีชีวิตที่ไม่ค่อยเป็นสุข
วิธีแก้ไข ต้องพยายามเลือกอยู่ในสังคมที่สุข สงบ อบอวล แวดล้อมไปด้วยกลิ่นไอของธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติได้ช่วยบำบัดเครื่องอุปโภคบริโภคทั้ง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ต้องไม่วิจิตรพิสดาร มีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย พอเหมาะแก่การใช้สอย กลิ่นต้องไม่รุนแรง รสอาหารไม่จัดนัก ฟังเสียงเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ต้องไม่เป็นเสียงที่ทำให้คิดมากนัก สัมผัสต่างๆ ต้องบางเบาสบาย ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตตนเท่านั้น เพราะถ้าขืนมีเอาไว้มากๆ ก็จะทำให้คิดวิตกกังวลมากเรื่องอีก รวมความก็คือการแก้วิตกจริต ต้องแก้ด้วยค่าของความเป็นกลาง
อิริยาบถ ที่สบายของผู้มีวิตกจริต ต้องเป็นอิริยาบถเพื่อความผ่อนคลายเท่านั้น จะเป็น ยืน เดิน นั่ง นอนก็ได้ แต่ต้องไม่เกิดกังวลวิตก
สี ที่สบายแก่วิตกจริต คือ สีสะอาด เบาบาง ดูแล้วสบายตา เช่น สีน้ำทะเล สีตองอ่อน สีเขียวอ่อนๆ
วิตกจริต ให้เจริญภูตกสิณ 4 คือ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ และอรูปกัมมัฏฐาน 4 คือ
อากาสานัญจายตนะ พิจารณาว่าอาการอันหาที่สุดไม่ได้เป็นอารมณ์
วิญญานัญจายตนะ พิจารณาวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
อากิญจัญญายตนะ พิจารณาความไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
เนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นอารมณ์
กัมมัฏฐานเป็นที่สบายและเหมาะแก่จริตทั้งปวงได้แก่ อรูปกัมมัฏฐาน 4 (แต่ต้องเจริญกัมมัฏฐานกองอื่นมาก่อน)
จึงมาเจริญอรูปกัมมัฏฐาน เช่น รูปฌาน 4
อากาสานัญจายตนะ
วิญญานัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ภูตกสิณ 4
กสิณดิน คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือดินที่เพ่ง
กสิณน้ำ คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือน้ำที่เพ่ง
กสิณลม คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือลมที่เพ่ง
กสิณไฟ คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือไฟที่เพ่ง
สรุปว่า จริตทั้ง 6 นี้ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในกายของตนทุกคน อยู่แต่ว่าใครจะมีจริตชนิดไหนมากกว่าเท่านั้น การที่เราจะรู้ว่าจริตชนิดไหนมีจำเจซ้ำซากในตัวเรา เราก็ต้องหันกลับมาดูตัวเอง ค้นหาตัวเอง ทำความรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเอง แล้วเราก็จะบอกกับตัวเองได้ว่า ในตัวเรามีขี้กี่กอง มีทองกี่กอง ที่สำคัญเราต้องยอมรับว่าในตัวเรายังมีขยะที่ต้องกำจัดอยู่มาก รวมถึงจริตทั้ง 6 นี้ด้วย ผู้อื่นก็ไม่สามารถกำจัดขยะให้แก่เราได้นอกจากตนเอง
สำหรับวิธีเอาชนะ จริตทั้ง 6 ที่ผู้เขียนแสดงมานั้น อย่าถือว่าเป็นข้อยุติ ถูกต้องที่สุด ท่านอาจจะมีวิธีที่ดี และถูกต้องที่สุดกว่านี้ก็ได้ ถ้าท่านพยายามค้นหาทำด้วยตัวเอง ผู้เขียนเขียนจากความทรงจำ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากคำสอนของพระศาสดา บวกกับประสบการณ์ทางวิญญาณของตัวเอง ซึ่งก็อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกของท่านผู้อ่านมากนัก แต่ก็ขอให้ทำใจเป็นกลางๆ ในขณะที่อ่านแล้วโปรดสังเกต ใคร่ครวญวิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วน ท่านคงจะได้อะไรดีๆ บ้างไม่มากก็น้อย
เหล่านี้คือแบบฝึกหัดในขั้นนี้ เป็นแบบฝึกหัดที่จำเป็นพอสมควร สำหรับนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จะเป็นผู้เก่าหรือผู้ปฏิบัติใหม่ก็ตาม ต้องทำความเข้าใจ ให้เกิดความรู้จริง มิใช่รู้จำ ส่วนวิธีที่จะทำความรู้จักตนเองนั้น ดูจะไม่ยาก เพราะพระบรมศาสดาผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ท่านทรงชี้บอกพวกเราให้ได้รู้ว่า ธรรมชาติในโลกนี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือธรรมชาติในตัวกับธรรมชาตินอกตัว ธรรมชาตินอกตัวนั้นได้แก่ สัปปายธรรม แปลว่า สิ่งของ สถานที่หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะสม เกื้อกูล เอื้ออำนวยแก่ผู้ปฏิบัติธรรมมีอยู่ 7 อย่างคือ
1. อาวาสสัปปายะ หมายถึง ที่อยู่อาศัยที่สบาย เหมาะแก่การปฏิบัติจิตให้สงบ โดยปราศจากสิ่งรบกวนนานาประการ เช่น คนกวน สัตว์กวน เสียงกวน กลิ่นกวน บรรยากาศรอบข้างกวน เหตุอันไม่เอื้อต่อการทำจิตให้สงบ ผู้ปฏิบัติ-ธรรมควรเลือกสถานที่ปฏิบัติที่ไม่รโหฐานเกินตัวนัก เพราะจะทำให้ยุ่งยากต่อการดูแลรักษา แต่ต้องไม่คับแคบเกินไป จะทำให้อึดอัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ใหม่เกินไป หมายถึงสีสันต้องไม่ฉูดฉาดมากนัก เป็นการเย้ายวน จิตให้ฟุ้งซ่าน จักทำจิตให้สงบได้ยากไม่เก่าจนเกินไป จนไม่สามารถป้องกันภัยจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก ลมพัด อากาศหนาว ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับความชอบใจ พอใจ ปลงใจ พอดี ของผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละท่าน
2. โคจรสัปปายะ หมายถึง หนทางที่เดินไปหาอาหารได้มาอย่างสบาย สบายในที่นี้ท่านจำแนกไว้ 2 ชนิดคือ
สบายกายกับสบายใจ สบายกายได้แก่ เดินไปในทางที่ไม่รกชัฏ ไม่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือถึงกับต้องปีนป่าย ทุรกันดารมากเกินไป และต้องไม่ไกลมากนัก จนทำให้เกิดทุกข์ยาก กังวลใจจนกลายเป็นต้องรีบเร่ง จ้ำเอาๆ เพื่อให้ทันเวลาอาหาร กิริยาเช่นนี้ผู้อื่นดูแล้วไม่สำรวม ไม่งาม เป็นกิริยาของผู้ละโมบ ตะกรุมตะกราม ไม่ใช่ลักษณะของสมณวิสัย
สบายใจ หนทางที่เดินไปนั้น ควรเลือกทางที่ร่มรื่นสงบเย็นไม่มีศัตรูหรือเครื่องล่อใดๆ มาทำให้จิตกระเพื่อม ไม่เดินไปในทางที่เป็นเหตุแห่งการครหานินทา เสียหาย ไม่เดินไปในทางที่จะทำให้ชีวิตเสื่อมสลายจากพระธรรม
3. กถาสัปปายะ คำพูดที่ผู้ฟัง ฟังแล้วผ่อนคลาย สบายใจ ฟังแล้วฉลาด สะอาด สงบ พูดแล้วยังให้เกิดศรัทธาต่อการปฏิบัติ เป็นคำพูดที่สนับ-สนุนส่งเสริม ให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไปยิ่งๆ ขึ้น เป็นคำพูดที่แนะนำประโยชน์ทำลายโทษได้
4. ปุคคลสัปปายะ ได้แก่ บุคคลรอบข้างทำให้สบาย หมายถึงผู้ปฏิบัติ ถ้าคิดจะอยู่ในสังคม ก็ให้เลือกสังคมแวดล้อม ที่เป็นนักปฏิบัติธรรมด้วยกัน แล้วต่างฝ่ายต่างเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน โดยตั้งกัลยาณจิตไว้ในตนว่า จักช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการปฏิบัติธรรมด้วยความเต็มใจ จริงใจ บริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ ในการปฏิบัติต่อกันอย่างจริงจัง พร้อมที่จะไม่เป็นตัวสร้างปัญหาอันเป็นเหตุให้เสื่อมถอยต่อการปฏิบัติให้ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องรับผลเสียและไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ
5. อาหารสัปปายะ หมายถึง อาหารที่บริโภคแล้ว ทำให้ผู้บริโภคสบาย ต้องเป็นอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ต้องเป็นอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสม จนเป็นมลพิษแก่ชีวิตตนต้องเป็นอาหารเพื่อผ่อนคลายความหิวอย่างแท้จริง ต้องเป็นอาหารที่มิใช่ได้มาเพราะความมักมาก ต้องไม่เป็นอาหารที่บริโภคเพื่อจะบำรุงบำเรอร่างกาย ต้องเป็นอาหารที่ไม่สร้างภาระมากนัก
6. อุตุสัปปายะ คำว่าอุตุหมายถึง ฤดู อุณหภูมิ หรือสภาพแวดล้อม รวมความว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องเลือกอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นที่สบายแก่ตน จะยังให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติได้มากทีเดียว เพราะนักปฏิบัติ-ธรรมผู้มีประสบการณ์น้อย ยังขาดความมั่นคงต่อการปฏิบัติ หากไม่อยู่ในสภาพ-แวดล้อมที่ดี ไม่เหมาะแก่ตนเอง ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นที่เจริญหู เจริญตา เจริญใจ ไม่ช่วยให้จิตสงบสบาย ก็อาจจะทำให้ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ อาจทำให้เกียจคร้านต่อการปฏิบัติไปโดยปริยาย ฉะนั้น สภาพแวดล้อมที่ดี อุณหภูมิเหมาะสม ดูจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติอยู่เหมือนกัน
7. อิริยาปถสัปปายะ คืออิริยาบถที่สบาย ผ่อนคลายทำได้นาน ถือว่าอิริยาบถนั้นเหมาะสมกับตนที่สุด การบำเพ็ญธรรมไม่จำเป็นต้องผูกขาดตายตัวอยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง ต้องถือว่าทุกอิริยาบถสามารถทำให้เราเข้าถึงธรรมได้ เพียงแต่ว่าถ้าอิริยาบถใด ทำให้จิตสงบระงับได้ง่าย ตั้งมั่นอยู่ได้นาน รู้ทั่วถึงธรรมได้เร็ว ก็ให้ถือว่าอิริยาบถนั้นเป็นที่สบายสำหรับเรา (สำหรับผู้ที่ชอบนั่ง และสามารถที่จักนั่งได้ เป็นที่สบายแก่ตน เพราะศาสดาทรงบัญญัติเครื่องรองนั่งเอาไว้ ทรงเรียกว่า นิสีทนะ ผ้าปูนั่ง เครื่องรองนั่ง ผู้เขียนแนะนำว่า ถ้าจะนั่งให้ถูกวิธี และไม่ผิดต่อหลักโครงสร้างสรีระ แถมยังเป็นที่สบายแก่ ผู้นั่ง ควรหาหมอนที่ยัดด้วยอะไรก็ได้ ที่มีความยืดหยุ่นพอ กว้างยาวเท่ากัน เช่น หมอนเหลี่ยมของทางอีสาน มารองที่ก้นกบของตน ส่วนเท้าและท่อนขา เข่า ปล่อยทับอยู่บนเสื่อหรือผ้า ถ้าไม่มี ก็เป็นพื้นเรียบๆ ธรรมดาก็ได้ แต่ต้องมีหมอนรองก้น เพื่อให้ลำตัวตั้งตรงกระดูกสันหลังไม่ขบบิด จะได้ไม่ทรมาน ทั้งยังทำให้นั่งได้นานด้วย)
สรุป ที่กล่าวมาแล้วนี้ คือธรรมชาตินอกกาย ซึ่งอาจจะมีอิทธิพลแก่วิถีธรรมของตนก็ได้ หรืออาจจะไม่มีอิทธิพลต่อชีวิตตนเลยก็ได้ ถ้าคิดว่าเรารู้จักตนเองอย่างแจ่มชัด เข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง ควบคุมตนเองได้ เป็นเจ้า-นายตัวเอง เป็นเจ้าของชีวิตตัวเองจริงๆ ธรรมชาตินอกกายดังกล่าวมานี้ ดูจะไม่มีอำนาจครอบงำเราได้เลย ทั้งนี้ สุดแต่ดุลพินิจของเพื่อนนักปฏิบัติธรรม จะพิเคราะห์ใคร่ครวญเลือกสรรเอาเอง ตามแต่จะเห็นสมควร
เมื่อนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ได้ทราบถึงธรรมชาตินอกกายตนไปแล้ว ก็จักขอบอกกล่าวถึงธรรมชาติ ในกายตนต่อไป ซึ่งพระพุทธะผู้เจริญ พระองค์ได้ทรงชี้ให้ชาวเราทั้งหลาย หันเข้ามามองและสังเกตสิ่งที่มีอยู่ในกายตน แล้วทรงสั่งสอนให้รู้จักแยกแยะว่า อะไรเป็นสาระและไร้สาระ ทั้งยังทรงบอกวิธีกำจัดสิ่งที่ไร้สาระ ระวังรักษาสร้างเสริมสิ่งที่เป็นสาระให้คงอยู่ เจริญขึ้นจนเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ธรรมชาติภายใน กายที่มีอยู่ในอุปนิสัย เป็นสิ่งที่ผูกสนิทติดตัวเราอยู่ ท่านเรียกว่า จริต คือ สิ่งที่มีประจำอยู่ในจิต อย่างชนิดจำเจ ซ้ำซากจนติดเป็นนิสัย จริตในกายเรามีอยู่ 6 อย่างคือ
1. ราคจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซากจำเจกับความรักสวยรักงาม ผู้มีจริตเช่นนี้จะเป็นคนที่นิยมชมชอบ ความมีระเบียบเรียบร้อย เป็นผู้มีรสนิยมสูง ทะเยอทะยาน ฟุ้งเฟ้อ หนักไปทางละโมบ
วิธีแก้ ท่านแนะนำให้ ทำ หา ใช้ สิ่งตรงกันข้ามกับความสวยงาม เช่น ให้ใช้เครื่องอุปโภค บริโภค ที่ตรงกันข้ามกับความสวยงาม คือ เครื่องอุปโภคบริโภคที่เศร้าหมอง ไม่บริโภคของที่มีรูปสวย ไม่บริโภคของที่มีสีฉูดฉาด ไม่บริโภคของที่มีกลิ่นหอมรุนแรง ไม่บริโภคของที่มีรสจัด
อิริยาบถ ที่เหมาะกับการบำเพ็ญธรรม ของผู้มีราคจริตก็คือ...อิริยาบถยืนและเดิน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนให้มากที่สุด
สี ที่แก้ราคจริตได้ดี คือ สีเขียว หรือไม่ก็ให้เลือกโทนสีมอซอ เศร้า-หมอง
ราคจริต มีกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ตนคือ กายคตานุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาอาการที่เกิดขึ้นในกายตนเป็นอารมณ์ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาให้เห็นสิ่งปฏิกูล สกปรก ที่มีอยู่ในกายตน และคนอื่น มรณานุสติกัมมัฏฐาน พิจารณาถึงความตาย ขณะที่เห็นสัตว์อื่นตาย กำลังตาย หลังตาย มีสภาพเช่นไร จนทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดยินดี ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. โทสจริต ได้แก่ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซากจำเจอยู่ในอารมณ์หงุดหงิด ฉุน-เฉียว โกรธง่าย ใจร้อน มักทำอะไรลวกๆ หยาบ รวดเร็ว มักง่าย ดูจะเป็นผู้มีกิริยากระตือรือร้น จนกลายเป็นความร้อนรนอยู่ไม่ค่อยติดที่ เหมือนจะไม่มีความสุข เป็นผู้ทนต่อคำสอนได้ยาก ปฏิบัติตามระเบียบวินัยลำบากไม่ค่อยอยากทำตาม ชีวิตเป็นอยู่มักจะไม่ค่อยรักษาความสะอาด
วิธีแก้ ท่านแนะให้หาเครื่องอุปโภคบริโภคที่ประณีตบรรจง สวยงาม มีรูปลักษณ์อันละเอียดอ่อน มีสีสดใส มีกลิ่นหอมสดชื่น มีรสอันละเมียดละไม กลมกล่อม ให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย คบหาสมาคมกับผู้มีกิริยาวาจาสุภาพ ใจคอโอบอ้อมอารี
อิริยาบถ ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมของผู้ที่มี โทสจริต คือ อิริยาบถนั่งหรือนอนมากกว่ายืนและเดิน
สี ที่ควรใช้ คือสีขาวและสีฟ้าอ่อน ต้องเป็นสีที่ใช้แล้วเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
โทสจริต เหมาะสมกับกัมมัฏฐานที่ว่าด้วย การเจริญเมตตา ซึ่งมีอยู่ในพรหมวิหาร 4 โดยตั้งความรัก ความปรารถนาดี คิดช่วยให้สัตว์ผู้ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่รอดปลอดภัย พ้นจากทุกข์ โทษภัยทั้งปวง พร้อมทั้งภาวนาในใจว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข จาคานุสติกัมมัฏฐาน บริจาคให้ปันสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมไปถึง ให้น้ำใจ ให้อภัย ให้ธรรม โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และวรรณกสิณ 4 คือ กสิณสีม่วง กสิณสีเหลือง กสิณสีแดง กสิณสีขาว
3. โมหจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยซ้ำซาก จำเจในอารมณ์ หงอยเหงา ซึมเศร้า ไม่ค่อยกระตือรือร้น มีกิริยาอาการเซื่องซึม เชื่องช้า ความรู้สึกนึกคิดไม่ค่อยปลอดโปร่ง ไม่ค่อยมีปัญญาหลังยาว ขี้เกียจ เวลาจะทำอะไร หรือใครมาชวนให้ทำอะไรก็มักจะทำตามๆ เขาไป ไม่ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ถ้ามีผลตอบรับมาเล็กๆ น้อยๆ ก็หลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ คนเช่นนี้จะมีอยู่มากในสังคม ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนา ทั้งทางวัตถุและจิตวิญญาณ
วิธีแก้ไข ท่านให้เลือกเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีขนาดใหญ่ เช่น ที่อยู่อาศัย ก็ต้องให้มีขนาดใหญ่ โอ่โถง เปิดโล่ง มีการระบายอากาศได้ดี เปิดให้แสงสว่างจากธรรมชาติสาดส่องเข้ามาในที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด อุปกรณ์เครื่องใช้ทุกชนิด พยายามเลือกที่มีสีสันสดใส อาหารการกินก็ให้ประดับประดาตกแต่งอย่างประณีตวิจิตรบรรจง รสชาติต้องปรุงให้จัดจ้านพอสมควร กลิ่นต้องมีกลิ่นที่รุนแรง พยายามเลือกคบคน หรือเลือกเข้าสังคมที่กระตือรือร้น มีระเบียบวินัย ทำอะไรด้วยความคิดไตร่ตรอง รอบคอบ หาสังคมที่สามารถแนะนำประโยชน์ ชี้สิ่งที่เป็นโทษให้เรารู้ได้ เป็นสังคมที่อาจสอนให้เราทำอะไรๆ ด้วยความรวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด เรียบร้อย ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ สิ่งที่กล่าวมานี้ ดูจะเป็นที่สบายแก่ผู้มีโมหจริต
อิริยาบถ ที่เหมาะแก่ผู้มีโมหจริตได้แก่ อิริยาบถยืนกับเดิน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนให้มากที่สุด ถ้ามุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัย แก้ไขพฤติกรรมของตน
สี ต้องใช้สีดูแล้วสดใส สว่างไสว เช่น สีทอง สีเหลือง สีขาว
โมหจริต มีกัมมัฏฐานที่เป็นที่สบายคือ อานาปานสติกัมมัฏฐาน การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก
4. สัทธาจริต หมายถึง ผู้มีอุปนิสัยจำเจซ้ำซาก ในทางหลงงมงาย เชื่อง่าย มีอุปาทาน คือความยึดถือมาก ใครมาพูด มาบอก มาชวนอะไร ที่ตรงใจ ถูกใจ พอ-ใจ ชอบใจ ก็จะหลงเชื่อเขาไปหมด เป็นบุคคลที่ด้อยทางปัญญา ไม่ค่อยมีความคิดไตร่ตรองใคร่ครวญ ไม่ละเอียดอ่อน ขาดความเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเชื่อหรือศรัทธาที่จะทำอะไรแล้ว จะทำอย่างหัวปักหัวปำ ดูคล้ายคนขยัน แต่ขยันไปในทางที่ไม่ค่อยฉลาด ดูเหมือนจะเป็นคนจริงจัง แต่เป็นความจริงจังในความหลง ถ้าจะมีระเบียบวินัย ก็เป็นระเบียบวินัยที่เป็นไปในความเชื่อผิดๆ ไม่ใคร่พิเคราะห์ พิสูจน์ทราบกับเขานัก ไม่ค่อยมีความคิดเป็นของตัวเอง ถ้าเผอิญคิดได้ ก็เป็นความคิดที่ไม่แยบคาย เป็นความคิดที่ไม่ทำลายปัญหา แต่กลับเป็นความคิดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาเสียด้วยซ้ำ
วิธีแก้ ต้องพยายามอยู่ในสังคมของคนที่มีปัญญา คบหาผู้คนที่เขามีความจริงใจ มีน้ำใจที่จะนำ วิถีคิด วิถีงาน วิถีชีวิต วิถีจิต ที่เป็นวิถีพุทธะ คือ รู้ ตื่น และเบิก-บานให้กับเรา เครื่องอุปโภคบริโภค ควรมีรูป รส กลิ่น สี ที่สดใสสวยงาม ละเอียดอ่อน ประณีตบรรจง หอมหวาน กลมกล่อม และเป็นระเบียบเรียบร้อย
อิริยาบถ ที่ควรแก่ผู้มีสัทธาจริต ก็คือ อิริยาบถนั่ง หรือนอนมากกว่ายืนและเดิน
สี ที่เหมาะได้แก่ สีขาวสดใส สีฟ้าอ่อน สีครีม หรือจะเป็นโทนสีที่สว่าง สีใดสีหนึ่งก็ได้
สัทธาจริต กัมมัฏฐานที่เป็นที่สบาย ได้แก่ อนุสติ 6
พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
สีลานุสติ ระลึกถึงคุณแห่งศีล วิธีรักษาศีล อานิสงส์แห่งศีลเป็นอารมณ์
จาคานุสติ ระลึกถึงการให้ปัน บริจาค เสียสละด้วยจิตเมตตา
เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณธรรมของเทวดา รักษา คุณธรรมนั้น ให้เจริญขึ้นในกายตน ยินดีในเทวดานั้นๆ ที่มากด้วยคุณธรรม
5. พุทธิจริต หมายถึง ผู้ที่มีความซ้ำซากจำเจ ต่อความขยันหมั่นเพียร เรียนรู้ สนใจจดจ่ออยู่กับการศึกษาค้นคว้า ไตร่ตรอง พิสูจน์ พิจารณาถี่ถ้วน ละเอียดรอบ-คอบ มีระเบียบวินัย และปัญญาดี ไม่เป็นคนที่เชื่อถืออะไรง่ายๆ ถ้าจะเชื่อก็ต้องพิสูจน์ จนเห็นผลแล้วจึงเชื่อ เป็นผู้มีเหตุผล อดทน กล้าที่จะเผชิญต่อปัญหานานานัปการ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างหมดจด รอบคอบ รู้จักหยิบและยึดถือในเวลา และสถานการณ์ที่ควรหยิบถือ รู้จักปล่อยวาง ในเวลาและสถานการณ์ที่ควรปล่อยวาง เป็นผู้ฉลาดในวิถีงาน วิถีชีวิต วิถีคิด วิถีจิต เป็นหนึ่งเดียวกับวิถีพุทธ รู้ ตื่น และเบิกบาน
วิธีแก้ไข ไม่มี เพราะมิได้เป็นผู้ก่อปัญหา ไม่สร้างมลภาวะ ทั้งยังมีชีวิตเพื่อยังประโยชน์ แก่ตนและสังคม แต่ก็มิใช่หมายความว่า จักเป็นผู้ดีเลิศจนถึงที่สุดทุกข์ เหตุเพราะยังมิได้ญาณ ปัญญาหยั่งรู้สามัญลักษณะ 3 ประการ คือ อนิจจา ความไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตา ไม่มีตัวตน ด้วยปัญญาหยั่งรู้ หยั่งเห็นโดยแยบคาย ทุกขณะของลมหายใจ จึงต้องเพียรพยายามฝึกหัด ดัดกายวาจาใจ ให้อยู่ในมัชฌิ-มาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ไม่ข้องแวะที่สุด 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ทำตนให้พัวพันหลงไหลอยู่ในกามคุณ ด้วยคิดว่าเป็นวิถีพ้นทุกข์ อัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากทรมารด้วยคิดว่าเป็นวิถีพ้นทุกข์ จะต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในองค์ 8 ประการ คือ
1. ปัญญาเห็นชอบ ได้แก่เห็นอริยสัจ 4
2. ดำริชอบ
3. เจรจาชอบ
4. การงานชอบ
5. เลี้ยงชีวิตชอบ
6. เพียรชอบ
7. ระลึกชอบ
8. ตั้งใจชอบ
เหล่านี้เป็นมรรควิธีที่สบาย เจริญมั่นคงแก่ผู้มีพุทธิจริต อิริยาบถ ผู้ที่เป็นพุทธิจริตจะเหมาะสำหรับทุกอิริยาบถสี ผู้มีพุทธิจริต จักเหมาะสำหรับทุกสี
พุทธิจริต กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย 4 อย่าง คือ
มรณานุสติ พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ เราจักต้องตายเป็นแน่ ความตายเป็นสาธารณะ เป็นธรรมดาแก่สัตว์ทั้งหลาย เราหนีความตายไม่พ้น
อุปสมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ที่สามารถระงับกิเลสและกองทุกข์ได้
อาหาเรปฏิกูลสัญญา พิจารณาถึงความปฏิกูลในอาหาร พิจารณาถึงความน่ารังเกียต โดยการบริโภค โดยที่เกิดของอาหาร โดยอาการของอาหาร โดยการสะสม คั่งค้างอยู่นานของอาหารนั้น
จตุธาตุกัมมัฏฐาน พิจารณาให้เห็นชัดด้วยสติปัญญา ว่ากายนี้จริงๆ แล้วประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (รายละเอียดดูในธาตุกัมมัฏฐาน)
6. วิตกจริต ได้แก่ผู้มีอุปนิสัยจำเจซ้ำซาก ไปในความคิด สับสน ฟุ้งซ่าน จับจด เหม่อลอย ขาดสติ ขี้ลืมบ่อยๆ ทำพูดคิดมักจะผิดๆ พลาดๆ ไม่ค่อยรู้สึกตัว ความนึกคิดไม่ค่อยปะติดปะต่อ ไม่อยู่กับร่องกับรอย อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ไม่มีความรับผิดชอบ ชีวิตจะหนักไปในอคติ 4 คือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะไม่ชอบ ลำเอียงเพราะเขลา ลำเอียงเพราะกลัว เป็นผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหลับก็หลับไม่ค่อยสนิท จะฝันร้ายเป็นประจำ ระบบย่อยอาหารและขับถ่ายของเสียในร่างกาย มักไม่ค่อยปกติ มีชีวิตที่ไม่ค่อยเป็นสุข
วิธีแก้ไข ต้องพยายามเลือกอยู่ในสังคมที่สุข สงบ อบอวล แวดล้อมไปด้วยกลิ่นไอของธรรมชาติ เพื่อให้ธรรมชาติได้ช่วยบำบัดเครื่องอุปโภคบริโภคทั้ง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ต้องไม่วิจิตรพิสดาร มีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย พอเหมาะแก่การใช้สอย กลิ่นต้องไม่รุนแรง รสอาหารไม่จัดนัก ฟังเสียงเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ต้องไม่เป็นเสียงที่ทำให้คิดมากนัก สัมผัสต่างๆ ต้องบางเบาสบาย ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตตนเท่านั้น เพราะถ้าขืนมีเอาไว้มากๆ ก็จะทำให้คิดวิตกกังวลมากเรื่องอีก รวมความก็คือการแก้วิตกจริต ต้องแก้ด้วยค่าของความเป็นกลาง
อิริยาบถ ที่สบายของผู้มีวิตกจริต ต้องเป็นอิริยาบถเพื่อความผ่อนคลายเท่านั้น จะเป็น ยืน เดิน นั่ง นอนก็ได้ แต่ต้องไม่เกิดกังวลวิตก
สี ที่สบายแก่วิตกจริต คือ สีสะอาด เบาบาง ดูแล้วสบายตา เช่น สีน้ำทะเล สีตองอ่อน สีเขียวอ่อนๆ
วิตกจริต ให้เจริญภูตกสิณ 4 คือ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ และอรูปกัมมัฏฐาน 4 คือ
อากาสานัญจายตนะ พิจารณาว่าอาการอันหาที่สุดไม่ได้เป็นอารมณ์
วิญญานัญจายตนะ พิจารณาวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
อากิญจัญญายตนะ พิจารณาความไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรเป็นอารมณ์
เนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นอารมณ์
กัมมัฏฐานเป็นที่สบายและเหมาะแก่จริตทั้งปวงได้แก่ อรูปกัมมัฏฐาน 4 (แต่ต้องเจริญกัมมัฏฐานกองอื่นมาก่อน)
จึงมาเจริญอรูปกัมมัฏฐาน เช่น รูปฌาน 4
อากาสานัญจายตนะ
วิญญานัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ภูตกสิณ 4
กสิณดิน คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือดินที่เพ่ง
กสิณน้ำ คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือน้ำที่เพ่ง
กสิณลม คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือลมที่เพ่ง
กสิณไฟ คือเครื่องจูงใจ ผูกใจเอาไว้ในอารมณ์เดียว คือไฟที่เพ่ง
สรุปว่า จริตทั้ง 6 นี้ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในกายของตนทุกคน อยู่แต่ว่าใครจะมีจริตชนิดไหนมากกว่าเท่านั้น การที่เราจะรู้ว่าจริตชนิดไหนมีจำเจซ้ำซากในตัวเรา เราก็ต้องหันกลับมาดูตัวเอง ค้นหาตัวเอง ทำความรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเอง แล้วเราก็จะบอกกับตัวเองได้ว่า ในตัวเรามีขี้กี่กอง มีทองกี่กอง ที่สำคัญเราต้องยอมรับว่าในตัวเรายังมีขยะที่ต้องกำจัดอยู่มาก รวมถึงจริตทั้ง 6 นี้ด้วย ผู้อื่นก็ไม่สามารถกำจัดขยะให้แก่เราได้นอกจากตนเอง
สำหรับวิธีเอาชนะ จริตทั้ง 6 ที่ผู้เขียนแสดงมานั้น อย่าถือว่าเป็นข้อยุติ ถูกต้องที่สุด ท่านอาจจะมีวิธีที่ดี และถูกต้องที่สุดกว่านี้ก็ได้ ถ้าท่านพยายามค้นหาทำด้วยตัวเอง ผู้เขียนเขียนจากความทรงจำ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากคำสอนของพระศาสดา บวกกับประสบการณ์ทางวิญญาณของตัวเอง ซึ่งก็อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกของท่านผู้อ่านมากนัก แต่ก็ขอให้ทำใจเป็นกลางๆ ในขณะที่อ่านแล้วโปรดสังเกต ใคร่ครวญวิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วน ท่านคงจะได้อะไรดีๆ บ้างไม่มากก็น้อย