20 กค 2556 ศีล สมาธิ ปัญญา โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ15.38 นาที
(กราบ)
เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชนคนไอที ที่รักทุกท่าน
คราวที่แล้วได้พูดถึงเรื่องสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่ไม่ควรทำ
เรียกตามภาษาพระธรรมวินัย ก็เรียกว่า อกรณียกิจ
กับนิสัย 4 หรือ นิสัย 4 อกรณียกิจ 4 ก็ได้บอก
ไปแล้วว่า มีอะไรบ้าง นั่นคือ สิ่งที่ควรทำ กับสิ่งที่ไม่
ควรทำ
ในพระวินัย ท่านก็ยังกำหนดพูดถึงเรื่องว่า สิ่งที่ต้อง
ศึกษาด้วย คือ สิ่งที่ต้องขวนขวาย สิ่งที่ต้องค้นคว้า สิ่ง
ที่ต้องแสวงหาให้เพิ่มเติมในมูลสันดานของตน ท่าน
เรียกสิ่งที่ต้องศึกษานั้นว่า สิกขา
สิกขา คือ สิ่งที่ต้องศึกษา มีอยู่ 3 อย่าง คือ สีละสิกขา
ก็ได้ หรือ เรียกว่า ศีลเฉยๆ ก็ได้, สมาธิ หรือ
สมาธิสิกขาก็ได้, ปัญญา หรือ ปัญญาสิกขาก็ได้
ศึกษาในศีล สมาธิ และปัญญา คือ สิ่งที่ผู้บวชเข้ามา
หรือ พุทธบริษัทจะต้องศึกษาให้แจ่มชัด และก็เข้าถึง
ความเข้าใจสูงสุดในศีล สมาธิ ปัญญา
ทีนี้ ศึกษาในศีล มันมีเรื่องต้องปฏิบัติ มีเรื่องที่จะต้อง
ฝึกหัด มีเรื่องที่จะต้องเปลี่ยนแปลงนิสัย แก้ไข
พฤติกรรม สรุปรวม นี่คือ ความหมายของคำว่า ศีล
หรือ จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศีล ก็คือ สภาพที่มัน
เป็นความจริงของชีวิตที่จะต้องกระทำ หรือว่า สภาพที่
เป็นปกติของชีวิตที่ต้องกระทำ ศีลมีอยู่กับใคร ชีวิต
ของคนๆ นั้นก็จะเป็นคนที่มีความปกติ ไม่วิกลวิการ
เรียกว่า ไม่ผิดจารีต ไม่ผิดขนบธรรมเนียม ไม่ผิด
ประเพณี
งั้น ศีลนี่จะเป็นตัวกำกับดูแลกาย กำกับดูแลวาจา
กำกับดูแลพฤติกรรม ให้เข้ากับสังคม จารีต
ธรรมเนียม และประเพณีนิยมในชุมชนท้องถิ่น หรือ
ว่าในประเทศนั้นๆ เมื่อคนศึกษาได้สมบูรณ์ ปฏิบัติ
ได้เหมาะสมแล้วจะได้อานิสงส์ ก็คือ จะทำให้ตนเป็น
บุคคลที่ไม่เดือดร้อน เรียกว่า ไม่มีวิปฏิสาร จะอยู่ก็
เป็นสุข หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข อีกทั้งก็เป็นที่ชื่น
ชอบนิยมยอมรับของผู้คนทั้งหลาย แล้วก็เป็นผู้ที่งด
งามแก่ผู้พบเห็น คนมีศีล นี่จะมีมารยาทงาม มีกิริยา
งาม มีวาจางาม
เพราะงั้น การศึกษาในศีลก็คือ ทำตนให้เป็นคนที่งด
งาม ในอานิสงส์ของการปฏิบัติศีล ท่านจึงกล่าวเอาไว้
ชัดว่า
สีเลนะ สุคะติง ยันติ ศีลย่อมยังให้สู่สุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลย่อมยังให้เกิดโภคทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลย่อมยังให้สู่พระนิพพาน
อย่างนี้เป็นต้น
งั้น ผู้ที่อุปสมบท หรือ ผู้ที่บวชเข้ามาก็ตาม หรือ ผู้ที่
เรียกตัวเองว่า พุทธบริษัทก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง
ผู้ชาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องศีลให้แจ่มชัด
แล้วก็จะได้ผลหรือได้อานิสงส์ ส่งตนให้เป็นคนที่มี
โภคทรัพย์ มีสุคติภพ แล้วก็เป็นผู้ที่เข้าถึงความบรรลุ
สูงสุด หรือว่า สิ่งที่ต้องการสูงสุดสำหรับมนุษยชาติ
ของทุกผู้ทุกนาม ทุกเผ่าพันธุ์ ก็คือ ความพ้นทุกข์
ความหลุดพ้นจากห้วงแห่งวัฏสงสาร
ทีนี้ ศีล มีอะไรบ้าง เมื่อศึกษา ก็ต้องทำความเข้าใจ
มันก็มีตั้งแต่ ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ แล้วก็ ศีล 227
ศีลห้า ก็ถือว่า เป็นเรื่องของฆราวาสวิสัย หรือบุคคล
ทั่วๆ ไปที่เค้าดำรงค์ชีพอยู่ หรือ เรียกอีกอย่างว่า
ธรรมนูญชีวิต ก็ได้ ศีล 5 เนี่ย
ศีล 8 ก็เป็นศีลอุโบสถ หรือศีลของผู้ประพฤติธรรม
ที่พัฒนาตัวเองให้สูงขึ้น มีวิสัยทัศน์มากขึ้น มี
กระบวนการของอินทรีย์แกร่งกล้ามากขึ้น คือ มี
ศรัทธามากขึ้น มีสติมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น มีปัญญา
มากขึ้น แล้วก็มีความเพียรมากขึ้นนั่นเอง
หลังจากศีล 5 พัฒนาเข้าไปสู่ศีล 8 แล้ว ก็ขยับขึ้น
มาเป็นศีล 10 อันนั้นก็เป็นเรื่องของผู้เข้ามาอยู่
อาศัยในผ้ากาสาวพัตร์ ที่เรียกว่า เหล่ากอของสมณะ
หรือสามเณร แล้วก็ขยับเข้ามาจากสามเณรก็เข้ามา
สู่ความเป็นพระที่เรียกว่า พระภิกษุ หรือว่า สมณะ
หรือว่า นักบวช หรือ เรียกว่า พระ
ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ หรือ ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ
นักบวช แปลว่า ผู้ละ เว้น ปล่อยวาง ทางกาย วาจา ใจ
คือ ความชั่วทางกาย ความชั่วทางวาจา และความชั่ว
ทางจิตใจ เหล่านี้เรียกว่า นักบวช
สมณะ แปลว่า ผู้สงบกาย สงบวาจา แล้วก็ สงบใจ
แล้วก็ พระ แปลว่า ผู้ประเสริฐ ดีเลิศ แล้วก็ งามพร้อม
งั้น บุคคลผู้เข้าถึงองค์คุณแห่งศีล ได้รับประโยชน์
จากศีล ก็จะมีคุณลักษณะดังกล่าวมานี้ แต่ละขั้นแต่ละ
ตอนมีลักษณะดังกล่าวมา เมื่อศึกษาในศีลแล้ว พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ทรงบัญญัติต่อไป คือ สอนต่อไปว่า
ต้องพัฒนาจิตให้สูงขึ้น พัฒนากระบวนทัศน์ของ
การดำรงค์ชีวิต วิสัยทัศน์และสิ่งที่ทำ พูด คิด ให้มัน
มากขึ้น ให้มันสูงขึ้น ให้เหนือกว่าผู้มีธรรมนูญชีวิต
ธรรมดาๆ หรือ เป็นผู้มีศีลธรรมดาๆ เรียกว่า มีเดช
มีตบะ มีอำนาจ มีศักดาในจิต หรือ มีอานุภาพทางจิต
นั่นเอง
การจะมีเดช มีศักดา มีตบะ มีอานุภาพทางจิต ก็ต้อง
ศีกษาในสมาธิ สมาธินี่ก็มีตั้งแต่ระดับ ขณิก สมาธิ
อุปจารสมาธิแล้วก็อัปนาสมาธิ เรียกว่า สมาธิ 3 ชั้น
สมาธิ 3 อย่าง
ขณิกสมาธิ คือ อย่างไรบ้าง
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิเล็กๆ น้อยๆ ที่เราหาอยู่หากิน
ดำรงค์ชีวิตอยู่ที่มีความตั้งใจ
สมาธิ นี่ต้องเข้าใจความหมายเสียก่อนว่า มันคือ
ความตั้งอกตั้งใจในการทำการงาน ความมีใจจดจ่อใน
การงานและหน้าที่ที่กำลังทำ อย่างนี้เค้าเรียกว่า มี
สมาธิ งั้น เด็กๆ ที่บอกว่า สมาธิสั้นๆ นั่นก็แสดงว่า
ทำงานแบบหยิบโหย่ง ฉาบฉวย หรือที่ชาวบ้านเค้า
มักพูดเปรียบเปรยว่า เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทำตรงนั้น
อย่าง ทำตรงนี้อย่าง ทำตรงนู้นอย่าง แล้วมันก็ไม่
เสร็จสักอย่าง อย่างนี้เค้าเรียกว่า เป็นผู้ที่ไม่มีสมาธิ
หรือ สมาธิสั้น มี แต่มันน้อยมาก ไม่มีคุณลักษณะที่
จะสนับสนุนกรรม และการงานที่ตนกระทำให้ลุล่วง
สำเร็จไปได้
งั้น คนที่มีสมาธิมากๆ ก็จะเป็นคนที่มีจิตใจจดจ่อ จับ
จ้อง จริงจัง แล้วก็ตั้งใจในหน้าที่การงานที่กระทำ
แล้วก็ทำอย่างถูกต้อง ถูกตรง สมกับสถานภาพของ
การงานนั้นๆ ให้ลุล่วง ให้สำเร็จไปได้ด้วยดี คนมี
สมาธิ นอกจากมีคุณลักษณะที่อยู่กับการงานได้เนิ่น
นาน ก็ยังมีลักษณะของขันติธรรม หรือ ขันติบารมี คือ
จะมีความอดทน อดกลั้นต่อแรงบีบคั้น สิ่งเร้าและ
เครื่องล่อทั้งปวงที่อยู่รอบๆ กายได้ดีกว่าคนที่มีสมาธิ
น้อย หรือ คนที่ไม่มีสมาธิเลย
สังเกตุว่า คนที่มีสมาธิน้อย หรือ คนที่ไม่มีสมาธิเลย
เวลามีสิ่งเร้าเครื่องล่อ หรือ แรงบีบคั้นรอบกาย ก็จะ
แสดงปฏิกิริยาโวยวาย คือ ไม่สามารถสงบ ไม่
สามารถสำรวม ไม่สามารถนิ่ง ไม่สามารถหยุดต่อสิ่ง
เร้าเครื่องล่อเหล่านั้นได้ สุดท้ายตัวเองก็ตกเป็นทาส
ของสิ่งเร้าเครื่องล่อ
งั้น รวมๆ สรุป ก็คือ สมาธินอกจากจะทำให้ท่านผู้มี
ได้ดำรงค์ชีวิตอยู่ในกรรม และการงานที่กระทำได้
อย่างต่อเนื่องยาวนาน มั่นคงแล้ว ก็ยังทำให้ตนเป็น
คนที่มีขันติ ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งเร้าเครื่องล่อ
และสิ่งบีบคั้นทั้งปวงทั้งภายในและภายนอกได้อย่างดี
ยิ่ง
งั้น สมาธิในระดับขั้นขณิกสมาธิ ก็อย่างที่บอกว่า เรา
ใช้สำหรับการหาอยู่หากิน หาดำรงค์ชีวิตอยู่ไปวันๆ
ถ้าพัฒนาให้สูงขึ้นหน่อย ก็เป็นอุปจารสมาธิ ถ้าอย่างนี้
ก็ต้องพูดถึงขั้นฌานละ องค์ฌาน
อุปจารสมาธิ เป็นองค์ฌานระดับไหน ก็ต้องตั้งแต่
ปฐมฌาน
ปฐมฌาน ต้องมีลักษณะอย่างไร
ปฐมฌาน มีลักษณะองค์คุณ 5 อย่าง คือ มี วิตก
วิจารณ์ ปีติ สุข แล้วก็ เอกัคคตารมณ์ องค์ประกอบ 5
ชนิด อยู่ในสภาพของบุคคลที่ทรงอุปจารสมาธิ เรียกว่า
ขั้นฌาน หรือว่า ปฐมฌาน
แล้วก็ขยับ จากปฐมฌาน หรือว่าอุปจารสมาธิ เข้าสู่
อัปปนาสมาธิ ก็ขึ้นถึงกระบวนการของฌานที่ 4 ว่ามี
อุเบกขากับเอกัคคตารมณ์
สรุปรวมๆ ก็คือ ถ้าบุคคลผู้ใดสามารถจะยกจิตตัวเอง
หรือทำให้ตัวเองตั้งมั่นอยู่ในกรรมและการงานได้ใน
ระดับที่สามารถยาวนานและคงทน ก็ถือว่าเป็นขณิก
สมาธิ
ท่านผู้ใดที่สามารถจะยกจิตตัวเองให้สู่องค์คุณแห่ง
องค์ปฐมฌาน มีอารมณ์ 5 อย่าง วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข
เอกัคคตารมณ์ ก็ถือว่าเป็นปฐมฌาน หรือ อุปจาร
สมาธิ จนกระทั่งถึงฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 อย่างนี้
ยังอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิอยู่ แต่เมื่อขยับเข้าสู่อารมณ์
2 ชนิด คือ ไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรกเลย มีแต่
อารมณ์ 2 ชนิดเท่านั้น ก็คือ อุเบกขากับเอกัคคตา
รมณ์ อย่างนี้ ท่านก็เรียกว่า ท่านผู้นั้นหรือว่า คนๆ
นั้นมีคุณลักษณะที่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มันมีผลอะไรบ้าง
มันก็ทำให้จิตนี้มีอานุภาพมาก ท่านว่าไว้ว่า ผู้ที่เข้าถึง
อัปปนาสมาธิ หรือ สมาธิที่แนบแน่น มั่นคงเนี่ย เค้า
เรียกว่า ฟ้าผ่าก็ไม่สะดุ้ง ฝนตก ฟ้าร้อง น้ำท่วม ฟ้าผ่า
มีเหตุการณ์ มีสถานการณ์อย่างไร จะไม่สะดุ้ง หวั่น
ไหว หรือไม่สะเทือนใดๆ ท่านเปรียบอารมณ์อย่างนี้
เอาไว้ประดุจดั่งขุนเขา ผู้เข้าถึงอัปปนาสมาธิ คือ เขา
ลูกหนึ่งที่ไม่สั่นสะเทือน ไม่หวาดหวั่น ไม่สะดุ้งผวา
ต่อสถานการณ์บีบคั้นรอบๆทั้งข้างบนข้างล่างใดๆ
นี่คือ กระบวนการของการศึกษาสมาธิ แล้วได้
คุณลักษณะอันพิเศษดังกล่าวมา
หลังจากศึกษาในสมาธิสิกขาแล้วก็พระผู้มีพระภาค
เจ้าก็สอนให้เรายกขึ้นสู่ปัญญา เรียกว่า มีปัญญาเข้า
ใจสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง
ปัญญา นี่ท่านวิจัยวิจารณ์เอาไว้เยอะแยะมากมาย มี
ตั้งแต่โลกียปัญญา แล้วก็โลกุตตระปัญญา แต่ในโล
กียปัญญา เราคงไม่ต้องอธิบายมั๊ง เพราะทุกคนก็มี
ปัญญาที่จะหาอยู่หากินอยู่แล้ว มีปัญญาที่จะมีชีวิตอยู่
ในโลกแห่งความบีบคั้นได้อย่างเอาตัวรอดปลอดภัย
ได้ในระดับหนึ่งแล้ว เหล่านี้แหละเค้าเรียกว่า โลกีย
ปัญญา ปัญญาในการซื้อ การขาย การแลกเปลี่ยน
สินค้า การเจรจา การแสดงออก และที่สุดก็คือ
ปัญญาที่เป็นที่พึ่งของตนแล้วก็คนอื่นรอบข้างใน
กระบวนการที่จะดำรงค์ชีวิตอยู่ได้อย่างรอดปลอดภัย
ผ่อนคลายแล้วก็ร่มเย็น อย่างนี้ก็จัดอยู่ในโลกียปัญญา
แต่ถ้าปัญญาระดับโลกุตตระปัญญา หรือ ปัญญาขั้นสูง
ก็คือ ปัญญาที่จะหลุดพ้น ปัญญาที่จะพ้นจากการ
ครอบงำ ปัญญาที่จะพ้นทุกข์ ปัญญาที่จะพ้นจาก
อำนาจของกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หรือ
ปัญญาที่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ พยาธิ หรือ ปัญญาที่
พูดเป็นภาษาจอมยุทธหน่อย ก็ต้องบอกว่า ปัญญาที่
พ้นจากพยามารทั้งปวง เอาชนะพยามารได้ แล้วมาร
ในที่นี้ คือใคร
มารในที่นี้ ก็คือ วัฏสงสาร วัฏฏะ แปลว่า ความวนรอบ
มีอะไรบ้าง มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ แล้วก็มีตาย
ปัญญาระดับที่เป็นโลกุตตระปัญญา มันสามารถจะทำ
ให้เราพ้นจากการเกิด การแก่ การเจ็บ แล้วก็การตาย
ไม่มีการที่จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปแล้ว
อย่างนี้ถือว่าเป็นโลกุตตระปัญญา
รวมๆ สรุป ศึกษาในปัญญา ก็คือ การทำให้ตัวเรา
เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง
เพราะงั้น การศึกษาในสิกขาทั้ง 3 ไม่ว่าจะเป็น ศีล
สมาธิ และปัญญา เป็นสิ่งที่พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องเรียนรู้ศึกษาให้แจ่มชัด เข้าใจอย่างถ่องแท้
แล้วก็เข้าถึงให้ครบองค์ประกอบ ถ้าไม่เช่นนั้น เราก็
จะกลายเป็นคนที่หัวมงกุฎท้ายมังกร เรียกว่า ผลุบๆ
โผล่ๆ บ้าง ศรัทธาหัวเต่าบ้าง หรือไม่ก็รู้ไม่จริงบ้าง
เข้าใจไม่ถูกบ้าง สุดท้ายก็เวลาพูดก็ตาม คิดก็ตาม
แสดงออกก็ตาม มันก็กลายเป็นหัวมงกุฎท้ายมังกร
ได้บ้าง เสียบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง โง่บ้าง ฉลาดบ้าง
ส่วนใหญ่จะหนักไปทางโง่ ฉลาดนี่น้อยมาก แล้วก็จบ
ลงคำว่า เพลี่ยงพล้ำ ผิดพลาด ไม่ฉลาด แล้วโดน
หลอกตลอดกาล
เจริญธรรม