20 ส ค 2556 พระโพธิสัตว์กับการอวดอุตริ โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ 9.42 นาที
(กราบ)
เจริญธรรม เจริญสุข สาธุชนคนไอที ที่รักทุกท่าน
วันนี้ก็ มาพบกันอีกวาระหนึ่ง ห่างหายไปเสียนาน
เพราะมีภารกิจหลายอย่าง ที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการ
ไปดูแล แล้วก็ต้องเดินทางไปแสดงธรรม
เพราะเหตุกับการที่เดินทางไปแสดงธรรม ก็เลยมี
เรื่องมีราวมาพูดคุยกับท่านทั้งหลาย ที่ติดตามข่าว
สารข้อมูลทางไอที ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ไป
แสดงธรรมที่ชมรมธรรมะชมรมหนึ่ง จำชื่อไม่ได้
แล้วละ เพราะไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ สนใจแต่ว่า คนฟัง
ได้รับอะไร ก็อยู่ใกล้ๆ กับวัดชนะสงครม
หลังจากบรรยายธรรมไปสักพัก ก็มีกระบวนการถาม
ปัญหา ก็มีคนถามปัญหาหลากหลาย หนึ่งในปัญหานั้น
ก็มีคำถามซึ่งพอจะฟังออกว่า วลีที่ถามนั้น ไม่น่าจะ
เป็นคำถามที่ เพราะอยากรู้แต่เป็นคำถามที่น่าจะตั้ง
ป้อมที่จะจับผิด แต่ก็เป็นคำถามที่ดี ที่จะได้มีโอกาส
อธิบาย
คำถามนั้นก็คือ ถามว่า การกล่าวอ้างตัวเองว่า เป็น
พระโพธิสัตว์ จะถือว่า เป็นการอวดอุตริมนุส ธรรม
หรือเปล่า
ก็เลยอธิบายแก่เค้าว่า การการอวดอุตริมนุสธรรม ที่
จริงแล้วในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการอวดอุตริมนุ
สธรรม มันมีอวหารที่ชี้แจงเอาไว้ว่า ต้องกล่าวอ้าง
ด้วยฌาน ด้วยญาณ ด้วยสมาบัติ ด้วยความบรรลุธรรม
ด้วยความหลุดพ้น ด้วยวิมุตติ ด้วยวิโมกขศักดิ์ หรือ
แม้กระทั่งคำว่า ชาติสุดท้าย หรือว่า มีญาณวิเศษ มี
ตาทิพย์ หูทิพย์ สัมผัสทิพย์ อะไรพวกนี้ เหล่านี้เป็น
กระบวนการที่กล่าวอ้างคำว่า อวดอุตริมนุสธรรม
แต่ถ้าหากว่า ไม่ได้พูดถึงสิ่งเหล่านี้เลย ก็ไม่ถือว่า
เป็นการอวดอุตริมนุสธรรม แล้วในกรณีที่กล่าวอวด
นั้นว่า เรื่องสมาธิ เรื่องคำสอน เรื่องกระบวนการ
สอนให้ผู้คนได้เข้าถึงฌาน 1, 2, 3, 4, 5
อันนั้นไม่ใช่เป็นการอวดอุตริมนุสธรรมนะ เดี๋ยวจะ
เข้าใจผิด
ถ้ามีพระหรือมีภิกษุรูปใดสอนให้ผู้คนได้เข้าฌาน
สมาบัติ สอนให้คนรู้จักอารมณ์ฌาน อารมณ์สมาธิ
อารมณ์วิปัสสนา อารมณ์สมถะ อันนั้นไม่ใช่เป็นการ
กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม แต่เป็นการกล่าวอบรมสั่ง
สอน ชี้นำ เรียกว่า ชี้หนทางให้เดิน ทางที่ถูกต้อง เค้า
มีหลักการว่าอย่างนี้ๆ ในสมถะมีหลายหลักการ มี
หลักการในการเดิน คือ ฌานที่ 1,2,3,4 แล้วก็
มีวิชชา 3 มีสมาบัติ 8 อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนสายของวิปัสสนา ก็มีกระบวนการที่สอนให้รู้ถึง
เรื่อง ญาณ คือความหลุดพ้น เรียกว่า ปัญญา ญาณะ
หรือ ญาณ ความหลุดพ้น มีปัญญาสูงสุด ที่เรียกว่า
โคตรภูญาณ คือ ญาณที่ข้ามภพข้ามชาติ อย่างไร มี
ลักษณะอย่างไร มีองค์ประกอบแบบไหน อย่างนี้เป็น
ต้น อย่างนี้ไม่ใช่เรียกว่า เป็นการอวดอุตริ
งั้น ที่ต้องนำเรื่องนี้มาพูดมาคุย ก็เพื่ออธิบายให้เข้า
ใจว่า อวดอุตริมนุสธรรมในอวหารของอาบัติ
ปาราชิกนั้น มันหมายถึง การกล่าวอ้างว่า ตนเข้าถึง
ทั้งที่ตัวเองไม่มี ไม่ถึง เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อ ไม่ใช่กล่าว
อ้างตัวเองเพื่อจะสอนสั่ง
การกล่าวอ้างตัวเองเพื่อจะสอนสั่งก็ทำไม่ได้ ถ้ามีจริง
ก็ถือว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์เหมือนกัน
แต่ถ้ากล่าวอ้างโดยไม่ได้มุ่งหวังว่า ให้คนมาฟังแล้ว
เชื่อศรัทธา เพียงแค่วลีแห่งการสอนสั่งว่า เป็นหน
ทางแบบนี้ๆ เคยทำมาอย่างนี้ๆ มีประสบการณ์อย่างนี้
ทำให้เห็น ชี้ให้เห็นเท่านั้น และในขณะเดียวกันก็ไม่
ได้มุ่งหวังจะยกหรือจะอวด แม้ที่สุด การกล่าวอ้างนั้น
สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ ต้องบอกว่า แม้ที่สุด การ
กล่าวอ้างนั้นแม้สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ ถ้าพิสูจน์
ให้เห็นไม่ได้ ก็ไม่ใช่ ถือว่า เป็นการอวดอุตริมนุ
สธรรมเหมือนกัน
ทีนี้ ก็มาพูดถึงวลีที่มีคำถามว่า ท่านหรือว่าหลวงปู่
เป็นผู้ที่กล่าวอ้างตัวเองว่า เป็นพระโพธิสัตว์ อย่างนี้
เป็นการอวดอุตริมนุสธรรมหรือไม่
ก็ต้องบอกกับท่านทั้งหลายว่า ถ้าเป็นหัวหน้า เป็นผู้
ปกครอง เป็นผู้นำแล้วไม่ประกาศตัวเองว่า ชั้นเป็น
ปลัดกระทรวง ชั้นเป็นอธิบดี ชั้นเป็นนายอำเภอ ชั้น
เป็นผู้ว่าฯเนี่ย ผู้คนก็อาจจะเข้าใจผิดคิดว่า นี่คือ
ภารโรงก็ได้ การบริหารจัดการงานก็น่าจะมีปัญหา
พวกพ้องบริษัทบริวารก็น่าจะไม่ได้ให้ความร่วมมือ
ฉันใดก็ฉันนั้น การที่จะได้เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
มันจะต้องมีการสร้างเครือข่าย ใช้คำสมัยใหม่ก็
ต้องบอกว่า เป็นการสร้างเครือข่าย หรือสร้างบริษัท
หรือว่า บริษัทบริวารให้มีความเชื่อความศรัทธา
พอได้รู้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาพุทธภูมิในอนาคต มีผู้
ศรัทธาปสาทะ สาธุโนโมทนา นั่นคือ กระบวนการที่
สร้างศรัทธา สร้างความเชื่อ เพื่อจะเป็นบรรทัดฐาน
ในการที่ภพชาติต่อๆ ไปในการบำเพ็ญบารมี สั่งสม
สนับสนุนในการบำเพ็ญบารมี หรือไม่ก็ ไปเกิดร่วม
ภพร่วมชาติในภพชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วท่านเหล่านั้นก็จะได้เป็นพระสาวกในตำแหน่ง
หน้าที่ต่างๆ ที่เคยมีอัครสาวก อย่างนี้เป็นต้น
แต่ถ้าหากว่า ปฏิบัติพระโพธิญาณ ประพฤติในโพธิ
ธรรมแล้วไม่ได้ประกาศไม่ได้โฆษณา ไม่ได้บอก
แล้วเผอิญมีผู้คนที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้จัก เหมือนกับคนที่
เห็นผู้ว่าฯ มาแล้วมองเหมือนภารโรงแล้วไม่ได้
ประกาศไม่ได้บอกตำแหน่ง ชาวบ้านหรือแม้กระทั่ง
ที่สุดเจ้าพนักงานไปใช้ผู้ว่าฯ กวาด ทำความสะอาด
ห้องน้ำ อย่างนี้ หรือไม่ก็ไปทำเรื่องที่ไม่ใช่ฐานะ
หน้าที่ของผู้ว่าฯ ควรกระทำ มันก็ถือว่า เป็นการ
ปรามาส ล่วงเกิน ก้าวก่าย เหยียดหยาม ดูถูก ถือว่า
เป็นบาป เป็นความผิดชั่วหยาบ ในหลักการปกครอง
บ้านเมือง ก็ถือว่าเป็นการละเมิด หรือว่า ล่วงเกิน
ก้าวก่าย ต่อศักดิ์และสิทธิ์ของผู้นำ เรียกว่า ลบหลู่ผู้นำ
ในพระธรรมวินัย ก็ถือว่า เป็นการละมิดและทำ
กรรมอันหนัก เพราะท่านผู้นั้นจะปรารถนาพุทธภูมิ
จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
งั้น การประกาศตัวเองก็พื่อให้ผู้คนทั้งหลาย ไม่ใช่ยำ
เกรง แต่ให้รู้ให้เข้าใจ แล้วก็มีศรัทธาปสาทะร่วม
อนุโมทนา แล้วคนเหล่านั้นก็จะได้มีโอกาสได้ไปเกิด
ร่วมภพร่วมชาติที่จะสั่งสมบารมีต่อไป
งั้น ในหลักการของบุคคลผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้อง
ประกาศ ถ้าไม่ประกาศก็ไม่มีใครรู้ แล้วการประกาศ
นั้น ก็เป็นอธิษฐานธรรม การประกาศนั้นก็ถือว่า
เป็นการบำเพ็ญบารมี การประกาศนั้นถือว่าเป็นการ
แสดงเจตน์จำนงค์อย่างชัดเจนว่า ต่อหน้า ลับหลัง ต่อ
ธารกำนัล หรือว่าลับหลังธารกำนัล ยืน เดิน นั่ง นอน
หลับ ตื่น ถ้าเป็นพระโพธิสัตว์แล้วไม่ประกาศ ก็ถือว่า
เป็น ปัจเจกโพธิ์ คือ ปัเจกพุทธเจ้า คือ ตรัสรู้แล้วไม่
สามารถจะสอนคนอื่นได้ แต่การประกาศนั่นแหละ
เป็นการสร้างให้เกิดศรัทธาปสาทะกับผู้ที่เห็น ผู้ที่รู้ ผู้
ที่เข้าใจ แล้วก็อนุโมทนาว่า ยินดีด้วยว่า พระพุทธเจ้า
ในอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
งั้น จึงจำเป็นต้องประกาศ
งั้น การประกาศว่าตน หรือใครก็ตามที่ประพฤติ
โพธิญาณ ปรารถนาพุทธภูมิว่า ตัวเองต้องการเป็น
พระพุทธเจ้าในอนาคต หรือเป็นพระโพธิสัตว์ ไม่ใช่
เป็นการกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
แล้วหลักการของพระพุทธเจ้า หรือว่า พระโพธิสัตว์ที่
จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต หรือ ตรัสรู้อนุตตระ
สัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตนั้นเค้ามี เค้าใช้คำว่า
มหาปณิธาน หรืออุดมกาณ์ 4 อย่าง
อุดมการณ์หรือ มหาปณิธาน 4 อย่าง เริ่มต้นจาก
1. เราจะต้องละกิเลสทั้งปวงให้สิ้น กิเลส
หมายถึงกิเลสในตัวตนของตนเอง ละกิเลสทั้งปวงให้
สิ้น
2. ต้องเพียรพยายามศึกษาพุทธธรรมให้
จบ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่มีมาแล้ว และกำลัง
สอนอยู่ กำลังเผยแพร่อยู่ ก็ต้องศึกษาให้จบ
3. เราจะต้องโปรดสัตว์ทั้งปวงให้พ้นทุกข์
ให้ได้
4. เป็นข้อที่สำคัญมาก คือ เราจะต้อง
เพียรพยายามอย่างยิ่งในการบำเพ็ญโพธิบารมีทั้ง 10
ประการ ก็เริ่มต้นจาก ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัม
มะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะ
บารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี
ในบารมีทั้ง 10 ประการ ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่ง
ที่จะประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระโพธิญาณใน
อนาคตกาลให้ได้ ได้ตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิ
ญาณสืบไป
เจริญธรรม