22 ก ย 56  14.45 น. ระหว่างปฏิบัติธรรมเดินขั้นที่ 1 ภาคที่ 1,2,3 , นั่ง, ยืน ดูจิตเป็นศีล สมาธิ, ปัญญา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

เตรียมเข้าที่ ปฏิบัติธรรม
เดี๋ยวคนที่มาใหม่ๆ ก็ถามรุ่นพี่ๆ เค้า จะปฏิบัติธรรม

อะไร
การปฏิบัติธรรม ก็คือ การชำระ การฟอก การกำจัด

การขัดเกลา การชำระล้างมลทินของจิต คนเราถ้าจิต

สะอาดๆ ทำสะอาด พูดสะอาด คิดสะอาด ปัญญาก็

รุ่งเรืองสำเร็จ
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้  ฝึกตัวรู้
................
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
..............
ผู้ที่มีแต่ความเพียร แต่ขาดปัญญา มันยากนักที่จะคุม

จิตให้อยู่กับที่
จะมีเฉพาะ ตัวรู้ รู้ไปเรื่อย
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
...................
จิตเราอยู่กับสรรพสิ่งรอบตัวเรากับชีวิต แต่จะอยู่กับ

เรื่องที่ เราอยากให้มันอยู่แค่นิดเดียว มันยาก แสดงว่า

เราไม่มีพลัง เราไม่มีอำนาจพอ อย่างนี้ เราก็ตกเป็น

ทาสไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
แค่ชาติปัจจุบัน ยังไม่เป็นตัวของตัวเราเอง ปลด

เปลื้องไม่ได้
แล้วชาติต่อๆ ไป จะเหลืออะไร
................
สิ่งที่ทำนี่คือ การเปลื้องจิต สร้างความสามารถในการ

ควบคุมจิตตัวเองให้อยู่กับงานที่เราต้องการทำ อย่าง

ตรงไปตรงมา มั่นคง ชัดเจน
..............
ไม่ใช่อยู่บ้างไปบ้าง อยู่บ้างแว๊บบ้าง ไม่คงที่
ถ้าอย่างนี้ ต้องฝึกให้หนัก
...............
ถ้าวันนี้ เรายังไม่สามารถควบคุมจิตได้ วันต่อๆ ไป

เราก็จะโดนอะไรมาควบคุม โลภบ้าง รักบ้าง โกรธบ้าง

หลงบ้าง ทุกข์บ้าง สุขบ้าง นรกบ้าง สวรรค์บ้าง แล้วจะ

ไปไหน ก็ตาย..
น่ากลัว
.............
ผู้รู้โบราณท่านจึงกล่าวว่า แม้จิตเดียวที่รู้และตาย ก็ยัง

มีผลอานิสงส์มากมายกว่าร้อยจิตที่ไม่รู้แล้วตาย
..............
สร้างตัวรู้ รักษาตัวรู้ ทำให้รู้ อยู่กับความรู้ แล้วทำให้ รู้

คงที่
อย่าปล่อยให้ผลุบๆโผล่ๆ รู้บ้างๆ ไม่รู้บ้าง
...............
แล้วตายแล้ว จะไปไหน
ไม่ต้องรอตาย แค่อยู่ ก็ยังไม่รู้ว่า จะเป็นผี เป็นคน
ผิดบ้าง ถูกบ้าง ได้บ้าง เสียบ้าง เพราะอยู่แบบรู้ ไม่รู้ รู้

ไม่รู้
ที่รู้ น้อยกว่าไม่รู้
............
หยุดอยู่กับที่ หลับตา
.............
ส่ง ความรู้สึก ลงไปในกาย
เรียนรู้สิ่งที่อยู่ในกายตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า
สร้าง ตัวรู้ ให้เกิดขึ้นภายในกาย
รับรู้เฉพาะในกายตน
...............
มี ตัวรู้ อยู่เฉพาะภายในกาย ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า
..............
เสร็จแล้ว ลืมตาขึ้น มองตรงไปข้างหน้าอย่างผ่อนคลาย

 
ยังคง ตัวรู้ อยู่
...............
ตัวรู้ ตัวนี้แหละ เป็นตัวรักษาศีล เป็นตัวศีล
ตามอง ก็สักแต่ว่ามอง ไม่ปรุงแต่งเป็นอารมณ์
รูปที่ปรากฏ สีที่เกิด ไม่ทำให้อารมณ์กระเพื่อม
แสดงว่า ศีลเราคงที่ เราเป็นผู้มีศีล ศีลเราสมบูรณ์
...........
ทำให้เกิด ตัวรู้ อยู่ภายใน ใจไม่กระเพื่อมทางตาเห็น

หูฟัง จมูกได้ ลิ้นรับ กายสัมผัส อารมณ์ก็ไม่พลุ่งพล่าน

ไม่ฟุ้งซ่าน
มีแต่ ตัวรู้ แสดงว่า ศีลเราคงที่ สมบูรณ์ ไม่แหว่ง ไม่

วิ่น ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่เป็นรู ไม่พรุน
........
เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ต่อไป ก็ทำให้เกิดสมาธิ
กระบวนการทำให้เกิดสมาธิ ก็คือ ตั้งมั่นใน ตัวรู้  
ทำให้ ตัวรู้ ตั้งมั่น
อย่าปล่อยให้ ตัวรู้ เลื่อนไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย หรือทางใจ
รู้อยู่เฉพาะ อยู่ภายในกาย อย่างมั่นคง  
ไม่มีเรื่องอื่นต้อง รับรู้ นอกจากความรู้ภายในกาย
แล้วในกาย จุดไหนล่ะ มันกว้างเหลือเกิน  
ก็ทุกจุดภายในกายเรา
เมื่อรู้ให้ได้ทุกจุด จากศีล สมาธิ ก็พัฒนาไปถึงคำว่า

ปัญญา
รู้ให้ได้ทุกจุด รู้อย่างไร
ก็เริ่มต้นตั้งแต่รู้ว่า หัวเรามีอะไรอยู่เหนือหัว
ก็มีเส้นผม ถ้ามันจะเป็นปัญญา
ก็วิเคราะห์ว่า เส้นผมนี้ประกอบไปด้วยอะไร
มันประกอบไปด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม แล้วก็ธาตุ

ไฟ
แต่ละเส้น มันมีอายุขัยของมัน
ผม 1 เส้น มีเซลล์เส้นผมซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิต

เกาะกลุ่มกันเป็นล้านๆ ตัว แล้วเราก็มีสิ่งบำรุงบำเรอ

มัน ก็คือ อาหารที่ได้จากหนังศีรษะ จากสารอาหารที่

เรากิน และฮอร์โมนบนเส้นผม หรือบนหนังศีรษะ

ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เหล่านี้
เมื่อถึงคราวมันจะสิ้นอายุขัย มันก็เปลี่ยนสีและร่วงหล่น

ร่วงโรย เรียกว่า ผมหงอก
นี่ตือ การเจริญปัญญาละ แต่ยังไม่ต้องให้สูงขนาดนั้น
กลับเข้ามาสู่คำว่า สมาธิ
คือ มี ตัวรู้ แล้วเฉยๆอย่างตั้งมั่น
รู้ เฉยๆ อย่างตั้งมั่น  
ไม่รู้เรื่องอื่น ไม่มีสิ่งอื่นต้องรับรู้
รู้ อยู่เฉพาะภายในตัว
ถ้าจะให้มันมั่นคงแบบชนิดที่เป็น อุปจารสมาธิ
ก็ให้ ตัวรู้ มันตั้งอยู่ในอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่าง

กาย  
ในที่นี้ ก็ให้ ตัวรู้ ตั้งอยู่ที่กลางศีรษะ ก็คือ

กลางกระหม่อม
..........
มี ตัวรู้ ตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม อย่างไม่เคลื่อน ไม่เลื่อน

ไม่หลุด  
อย่างนี้ ก็เป็น อุปจารสมาธิ แล้ว
ลองดูซิ
เอา ตัวรู้ ตั้งอยู่ที่ กลางกระหม่อม
................
ไม่ต้องหลับตา
ดูซิว่า กลางกระกม่อม มีอะไร ทำความรู้สึก
รับความรู้สึกที่กลางกระหม่อม
สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม ตั้งมั่นอยู่ที่กลางกระหม่อม
จับต้องได้เฉพาะกลางกระหม่อม
...........
รู้อย่างนี้ ถ้าไม่ใช้ปัญญา ก็กลายเป็นสมาธิ
ถ้ามันตั้งมั่น ไม่เคลื่อน ไม่คลอน ไม่โยก ไม่โคลน ไม่

โคลงเคลง
จะทดสอบมันอย่างไรว่า มันเคลื่อน มันคลอน มันโยก

มันโคลนมั้ย
ลองหันไปทางขวามือ 1 ครั้งซิ
หมุนตัวไปที่ขวามือของตนว่า ตัวรู้ ยังอยู่คงที่มั้ย
หมุนตัว
............
ตัวรู้ ยังอยู่ที่กลางกระหม่อมหรือเปล่า
รู้เฉพาะที่กลางกระหม่อมมั้ย
ถ้ารู้เฉพาะที่กลางกระหม่อม ก็แสดงว่า สมาธิเรายัง

ไม่หาย
สมาธิ มีสถานะ คือ อารมณ์ไม่เป็นสอง นั่นคือ อารมณ์

เป็นหนึ่ง
มีรสชาติ คือ ความสงบ  
มีคุณลักษณะ คือ รู้เฉพาะ ไม่แปรเปลี่ยน ตัวรู้ เลย
นั่นคือ คุณลักษณะของสมาธิ อยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ

หรือ สมาธิเบื้องต้น
....
ลองหมุนไปทางขวามืออีกครั้งหนึ่งซิ
..............
ตัวรู้ ยังคงที่อยู่มั้ย
..............
ถ้า ตัวรู้ ยังคงที่ นอกจากเรามีศีลเป็นบาตรบรรทัด

ฐานของสมาธิแล้วสมาธิก็ยังตั้งอยู่
ศีลเป็นบรรทัดฐาน หรือ เกิดกับเราอย่างไร
ก็อย่างที่หลวงปู่พูดให้ฟังว่า เมื่อใดที่เราปิดหู ปิดตา

ปิดกายและใจ
จิตไม่กระเพื่อม การครอบงำใดๆ ชื่อว่า เป็นผู้รักษาศีล
เวลานี้ เราเป็นผู้รักษาศีล ผู้ปฏิบัติศีล เราเป็ผู้มีศีล
เมื่อใดที่จิตมั่นคง ตั้งมั่น การกระเพื่อมไม่ปรากฏในจิต

ชื่อว่า เป็นผู้เจริญสมาธิ
.............
พา ตัวรู้ นั่งลง อย่างเป็นผู้รู้ ช้าๆ
อย่าให้ ตัวรู้ กระเพื่อม
.............
ยังอยู่กับ ตัวรู้ อยู่ที่กลางกระหม่อม
ไม่มีเรื่องอื่นต้องรู้
...........
ไม่มีข้อจำกัดว่า ต้องนั่งท่าไหน
สมาธิในตำรากับสมาธิในชีวิตจริง จะแตกต่างกันดังฟ้า

กับเหว
เหตุผลก็เพราะ สรีระของแต่ละคนมีสถานะไม่เหมือน

กัน แตกต่างกัน
เราจะให้นั่งเหมือนกัน ก็เท่ากับว่า พูดเกินความจริง
เพราะงั้น การทำให้สมาธิตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่ง ยืน

เดิน หรือ นอน
แต่มันอยู่ที่จิต
แต่ท่านกันเอาไว้ว่า ท่านั่งที่สมาธิจะอยู่กับเราได้ยาว

นาน ก็คือ นั่งคู้บัลลังค์ ตั้งกายให้ตรง แล้วจิตจะตั้งมั่น

เค้าเชื่อกันอย่างนั้น
ในมุมกลับกัน ถ้าเราเป็นฝีที่ก้น หรือขาขาด นั่งคู้บัล

ลังค์ คงทำไม่ได้ ก็ทำสมาธิไม่ได้อีก
ซึ่งก็ไม่ใช่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเฉลยว่า สมาธิ อยู่ที่จิต จิตตั้ง

มั่นอยู่ที่ไหน อย่างไม่โยกโคลน ไม่สั่นคลอน ก็ถือว่า

นั่งสมาธิ เป็นผู้เจริญสมาธิ
ในที่นี้ จิตเราตั้งมั่นอยู่กลางกระหม่อม
รักษาความตั้งมั่นเอาไว้
ทำ ตัวรู้ ให้ปรากฏอยู่ที่กลางกระหม่อม
เรากำลังเข้าสู่สมาธิ
...............
สมาธิที่ประกอบไปด้วย ตัวรู้ ชื่อว่า สัมมาสมาธิ
แล้วจะรู้อะไร ต่อไป ก็พัฒนา ตัวรู้ ให้กลายเป็นปัญญา
ก็สิ่งที่เราตั้งมั่นอยู่ ฐานที่เราตั้งมั่นอยู่ ที่ๆ เราตั้งมั่นอยู่

มันมั่นคงหรือไม่
ลองวิเคราะห์ดูซิว่า ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้าเรา ตั้งแต่

เกิดจนถึงวันนี้ มันมีอะไรมั่นคงมั่ง
อ้าว นั่งสัปหงก ไม่ได้ให้นั่งหลับเลย
ลืมตาขึ้น
............
ดูซิว่า ตัวเรามีอะไรมั่นคงมั่ง
............
ตรึก ตอนนี้ไม่ต้องใช้ ตัวรู้ ที่ตั้งอยู่ละ
แต่ใช้ ตัวรู้ ที่ชำแรก ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้าละ มา

วิเคราะห์ มาตรึก
ตั้งแต่เด็กๆ ออกจากท้องแม่ ตัวยังแดงๆ เปื้อนมลทิน

ยังมีสิ่งสกปรกห่อหุ้มและพันร่างกายมา ก็ควรชำระล้าง
ร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลงเมื่อกระทบกับความร้อน

ความหนาว บรรยากาศของโลก การเจริญเติบโตก็

ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากสารอาหารที่ดูดกินจากนมแม่

และอาหารที่เป็นก้อนข้าวและหยดน้ำ จนถึงวันนี้ เรา

เปลี่ยนแปลงตลอด ไม่เคยคงที่
บอกให้ลืมตาขึ้น
...............
ตรึก ถึงความเปลี่ยนแปลง เห็นสภาพความเปลี่ยน

แปลง ไม่คงที่
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มันเหมือนวัฏจักรแห่ง

ความหลอกลวง เพราะมันเริ่มต้นจากความเจริญ แล้ว

ก็เสื่อมโทรม สุดท้ายก็ลงด้วยคำว่า ทรุด แล้วก็ เสียหาย
เจริญ เสื่อมโทรม ทรุด แล้วก็ เสียหาย เรากำลังใช้

ปัญญา  
ศีล สมาธิเราทำแล้ว  
เวลานี้ เรากำลังทำให้ปัญญาเราเจริญ
เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เจริญ เสื่อม แล้วก็ทรุด แล้วก็

เสียหาย จนกลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า

สามัญลักษณะ คือ ลักษณะอันเป็นสามัญต่อสัตว์ทั้งปวง

ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย ตัวเมีย ตัวผู้ ศุง ต่ำ ดำ ขาว ยาว สั้น

คหบดี เศรษฐี เจ้าฟ้า ขี้ข้า ยาจก เทวดา พรหม มี

ลักษณะอันเป็นสามัญ 3 อย่างนี้เสมอกันหมด ส่วน

จะช้าจะเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจและฐานะ วาสนา และ

กรรมของตนๆ
ตรึก วิเคราะห์ ใช้ปัญญา
................
เห็นความเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่เล็กยันเจริญ วัยรุ่นยัน

สาวยันหนุ่ม จากหนุ่มสาวก็มาคร่ำคร่า ชราภาพ แก่

เฒ่า แล้วก็ทรุดโทรม
............
ไม่จบสิ้น ทั้งชีวิตเราหาเลี้ยงสิ่งนี้ บางครั้งก็เอาชีวิต

เข้าแลกด้วยสิ่งนี้
เจริญ วัยรุ่น เป็นหนุ่ม เป็นสาว  
เสื่อมโทรม แก่เฒ่า ชราภาพ แล้วก็ ทรุดโทรม
.............
เราเลี้ยงสิ่งเหล่านี้มาตลอดทั้งชีวิต ต้องแย่งกันทำมา

เพื่อเลี้ยงสิ่งนี้ ต้องแสวงหามาเพื่อเลี้ยงสิ่งนี้
บางครั้งต้องฆ่าฟันเพื่อยื้อแย่งให้ได้มาเพื่อเลี้ยงสิ่งนี้
ต้องทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะดีหรือเลวเพื่อเลี้ยงสิ่งนี้

รักษาสิ่งนี้
สิ่งนี้ที่เราเรียกมันว่า ตัวกู หรือ ชีวิต
บางครั้งถึงขนาดไม่อายดินฟ้าเพื่อให้ได้สิ่งนี้มา รักษา

สิ่งนี้ไว้ ดำรงสิ่งนี้ให้คงที่
.................
แล้วสุดท้าย เราก็อยู่กับสิ่งนี้ไม่ได้ เมื่อถึงคราวสิ่งนี้

มันต้องแตกสลาย เราไม่สามารถรักษามันได้ชั่วกัป

ชั่วกัลป์
อย่าหลับตา
................
กลับมาอยู่กับความตั้งมั่น  
เคลื่อนตัวรู้มาอยู่ที่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง
.................
ลืมตา
..............
รู้เฉยๆ
..............
รู้อย่างเดียว ไม่ต้องคิด ไม่ต้องวิคราะห์ ไม่ต้องตรึก

ไม่ต้องใคร่ครวญ ไม่ต้องคำนวณ พินิจพิจารณา
มีแต่ ตัวรู้ ที่กลางฝ่ามือ ซ้ายและขวา
ทำให้ ตัวรู้ คงที่  
ด้วยอำนาจแห่ง ตัวรู้ นี่แหละ มันประกอบไปด้วย วิเส

ธจิต
คือ จิตที่พิเศษ จิตที่ไม่อยู่ในอำนาจการครอบงำ
จิตที่มี ตัวรู้ จิตที่สะอาด จิตของผู้ถือศีล คือ ไม่ทุศีล
จิตของผู้ไม่พร่อง คือ เต็ม
จิตของตัวรู้ และ ผู้รู้ คือ จิตที่มีอำนาจ ไม่ตกเป็นทาส
.............
ท่านถึงได้กล่าวไว้ว่า เพียงจิตเดียวที่รู้ แม้ตาย ก็มี

อานิสงส์มากกว่าร้อยจิตที่ไม่รู้
พา ตัวรู้ ค่อยๆ ลุกขึ้นยืน
...............
ยังอยู่ที่กลางฝ่ามือ 2 ข้าง
........
ยืนมาแล้ว ยังอยู่ที่ กลางฝ่ามือ มั้ย สำรวจ
...............
พา ตัวรู้ เดินเข้าที่
..............
นั่งแล้ว เคลื่อน ตัวรู้ มาอยู่ที่ ปลายจมูก
................
รู้สึกให้ได้ถึงลมที่เข้าและออก
เมื่อลมเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข  
ลมออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
.............
อย่าบังคับลม ปล่อยลมให้เป็นธรรมชาติ
แค่รับรู้ว่า ลมมันเข้าอยู่หรือ ออกอยู่ พร้อมใส่คำ

ภาวนา
............
สมาธิอย่างนี้ ถ้ามันเป็นความตั้งมั่น เรียกว่า สมาธิ  
ถ้าเป็นสมาธิ ก็ต้องเรียกว่า สัมมาสมาธิ เพราะเรามี

ปัญญาใส่เข้าไปด้วย
ปัญญาตรงไหน  
ก็รู้ว่า ลมกำลังเข้า แล้วจึงภาวนา
รู้ว่า ลมกำลังออก แล้วจึงภาวนา
อย่างนี้ เรียกว่า ปัญญา
แต่ถ้าเข้า ไม่รู้ว่า เข้า หรือรู้ ก็ไม่ภาวนา
อย่างนั้น เค้าเรียกว่า สมาธิเฉยๆ
ถ้าจัดเป็นชนิดสมาธิ ก็ถือว่า เป็นมิจฉาสมาธิ หรือ โล

กียสมาธิ
............
สัมมาสมาธิและโลกุตตระสมาธิ คือ ต้องมีปัญญา
การที่เรารู้ว่า ลมกำลังเข้า แล้วภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง

จงเป็นสุข  
รู้ว่า ลมออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
ถ้าไม่ใช้ปัญญา คือ ไม่ใช้สติสัมปชัญญะ ก็จะเป็นไปไม่

ได้
จึงชื่อว่า การรู้ลมเข้า ภาวนา สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข  
รู้ลมออก ภาวนา สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
จึงเป็นสัมมาสมาธิ เพราะสัมปยุตไปด้วยปัญญา
.............
อย่าบังคับลม
..............
พอ สูดลมหายใจเข้า แล้วยกมือไหว้พระกรรมฐาน
...........
(กราบ)
ภาวนามั้ย
.........
ถามใหม่ก็ได้ว่า เจริญมั้ย
..........
จิต เจริญมั้ย
....
อารมณ์ เจริญมั้ย
.......
สำนึก เจริญมั้ย
....
ถ้าเจริญ ก็เรียกว่า ภาวนา
แต่ถ้ามันคงที่ ไม่เคลื่อน ไม่เลื่อน ไม่ย้ายไปไหนเลย
ก็แสดงว่า ไม่ได้ภาวนาอยู่ คือไม่เจริญขึ้น หรือ แย่

กว่าเก่า ก็ไม่เรียกว่า ภาวนา
คือ ไม่เรียกว่า เจริญ แสดงว่า เสื่อม
กายเราว่าเสื่อมแล้ว สังขารว่าเสื่อมแล้ว เนื้อหนัง

มังสาว่าเสื่อมแล้ว
พระพุทธเจ้าไม่เรียกว่า เสื่อม เท่ากับใจเสื่อม จิตเสื่อม

อารมณ์เสื่อม
เพราะเมื่อใดที่ใจเสื่อม จิตเสื่อม อารมณ์เสื่อม
 ความเสื่อมนี้ มันจะตามไปยันไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
กายเสื่อมน่ะ มันแค่ชาติเดียว
หนังเสื่อม ผิวเสื่อม ชีวิตเสื่อม มันก็แค่ชาติเดียว
แต่ถ้าใจเสื่อม มันให้ผลไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
พระพุทธองค์จึงสอนให้เราพยายามอย่าทำให้ใจเสื่อม

ก็คือ ภาวนาอยู่เนืองๆ
ทำให้มันเจริญ ใจเจริญอยู่เนืองๆ ปัญญาเจริญอยู่

เนืองๆ
เอ้า พอ ถวายทาน ลูก
เตรียม ถวายทาน
.............
ตั้งใจรับพร ลูก
...................
(สาธุ)
กราบลาพระ
.............
ให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ธรรมะรักษาทุกคน ลูก
(สาธุ)
(กราบ)