20 ก ย 56 ภิกษุผู้ใฝ่ธรรม 6.41 นาที
เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชนคนไอทีที่รักทุกท่าน
วันนี้ ฝนฟ้าตกตลอดทั้งวันทั้งคืน เมื่อเช้าเลยไม่ได้
ออกบิณฑบาตร เพราะว่า ให้คนไปดูแล้ว คือ ผู้คนก็
อาจจะมายาก มาใส่บาตรลำบาก ก็เลยบอกว่า เอาไว้
ให้ฝนหยุด หรือไม่ก็วันที่ฝนไม่ตก ค่อยมา ไม่งั้น ก็
จะลำบากกับผู้ที่มาใส่บาตร
มีเวลาที่ไม่ได้ไปบิณฑบาตร ก็มาทบทวนถึงบทบาท
และพฤติกรรมของตนว่า วันต่อๆไปจะทำอะไร หรือ
วันนี้กำลังจะต้องทำอะไรต่อไป เลยหยิบปฏิทินขึ้นมาดู
เพื่อจะดูวันว่า เราจะไปปลูกป่าได้เมื่อไหร่ ด้วย
เหตุผลว่า นี่ยังเป็นช่วงฤดูฝน แม้จะอยู่ปลายๆ ใกล้ๆ
จะออกพรรษาก็ตามทีเถอะ แต่ก็สามารถที่จะปลูก
ต้นไม้ได้
ในขณะที่หยิบปฏิทินขึ้นมาก็ มันเกิดปิ๊งขึ้นมา นึกถึง
สิ่งที่เป็นทำนองคลองธรรม เป็นวิถีธรรม เป็นวิถีศีล
สมาธิ ปัญญา เลยหยิบปากกาขึ้นมาเขียนสิ่งที่เตือนใจ
ตัวเองเอาไว้ ก็ถือโอกาสมาอ่านให้พวกท่านทั้งหลาย
ได้รับฟังรับทราบว่า
ภิกษุผู้ปฏิบัติในศีล จำเป็นจะต้องสำรวมสังวรณ์ระวัง
เพียรพยายามอย่างยิ่ง คือ ไม่มองในรูป หรือ อย่ามอง
ในรูป อย่าฟังเสียง อย่าดมกลิ่น อย่าลิ้มรส อย่าสัมผัส
อย่ามีอารมณ์ จิตจะได้ไม่อยู่ในอำนาจของอะไรๆ และ
ใครๆ ได้เลย
ที่พูดอย่างนี้ ไม่ใช่หมายถึง ให้พวกเราผู้รักษาศีลไม่
ต้องกิน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องยืน ไม่ต้องนอน หรือ ไม่
ต้องทำกิจกรรมใดๆ ไม่ว่าคุณจะดู จะดม จะคลำ จะกิน
จะดื่ม หรือจะเกิดอารมณ์ใดๆ จะต้องสำรวมสังวรณ์
ระวังจิต อย่าให้ตกเป็นทาสในสิ่งนั้นๆ ก็แล้วกัน
แต่ดีที่สุดที่คนโบราณเค้าทำ พระปิดทวาร หรือ ปิดหู
ปิดตา ไว้เพื่อต้องการสอนให้เราสำรวมสังวรณ์ระวัง
ในศีล เพราะเมื่อใดที่ตาเห็นรูป มันก็เกิดจักษุปสาทะ
แล้วเกิดวิญญาณ
ประสาทรับรู้อารมณ์ แล้วก็มาปรุงแต่ง อาจจะทำให้
เสียศีล ผิดศีลได้ เหมือนอย่างตัวอย่างในความผิด
พลาดที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ
แล้วก็เขียนต่อมาว่า ภิกษุใดปรารถนาสมาธิ จะต้อง
ปฏิบัติตนให้พ้นจากการครอบงำของสิ่งที่เข้ามาทางตา
ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและใจ แล้วตั้งมั่นอยู่
ในอารมณ์ของกรรมฐานที่ตนทำอยู่ อย่างนี้จึงจะถือว่า
เป็นผู้เข้าถึงองค์คุณสมาธิได้
อีกเรื่องหนึ่งก็เขียนต่อมาว่า ภิกษุหรือ ผู้ต้องการ
ปรารถนาปัญญา ต้องเพียรพยายามรับรู้ทุกสรรพสิ่ง ที่
เข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น กายและใจ อย่าง
แจ่มชัดและเท่าทันตามความเป็นจริง อย่างเป็นผู้อยู่
เหนือสิ่งที่ถูกรู้ โดยไม่ตกเป็นทาส ไม่อยู่ในอำนาจ
ของอารมณ์อะไรๆ มีอิสระอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ดุจดั่ง
หยดน้ำที่ไม่ติดอยู่บนใบบัว
นี่คือ ผู้ที่ปรารถนาทางปัญญา
สรุปรวมก็คือ
ผู้รักษาศีล ต้องสำรวมสังวรณ์ระวัง ตาเห็นรูป หูฟัง
เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส
ผู้ต้องการสมาธิ ต้องสลัดตนให้หลุดจากเครื่องครอบงำ
ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็รักษาอารมณ์ให้หนึ่ง
เดียวอยู่กับกรรมฐานที่ตนกำลังกระทำ หรือ เจริญ
ผู้ต้องการปัญญา ต้องเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาทางตา
ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็จิตใจ อย่างเป็น
ผู้อยู่เหนือการเรียนรู้นั้น เหมือนประดุจดั่งหยดน้ำที่
ไม่ติดอยู่ในใบบัว ต้องมีอิสระในการเรียนรู้ เรียกว่า
รู้ทุกเรื่องอย่างแจ่มชัดตามความเป็นจริง จึงจะทำให้
เรามีอิสระในการเรียนรู้ แต่ถ้าเมื่อใดที่เรารู้ไม่แจ่มชัด
ไม่ตรงต่อความเป็นจริง เมื่อนั้น เราก็จะกลายเป็นผู้
ตกเป็นทาส และอยู่ในการครอบงำได้ เหมือนดั่งวลี
ของพระมหาเถระรูปหนึ่ง
ที่กล่าวว่า ชั่วชีวิตของการบวชแห่งเรา 60 พรรษา
ไม่เคยรู้เลยว่า ผู้หญิงสวยอย่างไร ผู้ชายหล่อเช่นใด
หญิงกับชายมีค่าเท่าเทียมกัน นั่นก็คือ มีเกิดขึ้นใน
เบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง สุดท้ายก็
แตกสลายในที่สุด แล้วท่านพระมหาเถระรูปนี้ก็เป็น
พระอรหันต์ในที่สุด
เจริญธรรม