26 ส ค 2555 15.00 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
เอ้า เดี๋ยวไปพัก ลูก เข้าห้องน้ำห้องท่า เดี๋ยวเตรียมตัวมาปฏิบัติธรรม
วันนี้จะมีคำสอนพิเศษสำหรับผู้เจริญกรรมฐาน เอาหนังสือสวดมนต์มาคนละเล่มด้วย ใครที่ใหม่เลยแล้วไม่เคยฝึกมาเลย ยกมือซิ มีบ้างเหมือนกันเหรอ อ้อ โอเค ไป เอาหนังสือสวดมนต์มาคนละเล่มด้วย ไป พัก เข้าห้องน้ำห้องท่า
(กราบ)
.................
(กราบ)
เอ๊ย ไปไหนกันหมดหว่า
(เข้าห้องน้ำ)
อ๊อ นึกว่า ปฏิบัติธรรม กลับบ้านหมดแล้ว
เอ๊ย พวกที่ออกๆไปน่ะ ลูก มาเอาขนมถั่วตัดสิงโตที่เค้าไหว้เจ้า เอาไปกินคนละชิ้นเว้ย เฮ้ยอีหนู ที่เดินๆ กลับมาก่อน เอาขนมก่อน ลูก มา, กินแล้ว เฮง ลูก, ยกไปวางหน้าศาลาเอาไปคนละชิ้น
เค้าไหว้เจ้าวันอะไร วันฉลองเง็กเซียนฯ วันเกิดเจ้าพ่อกวนอู คุณสุภาฯ เค้าเอามา หน้าศาลาเออ วางข้างนอก พวกปฏิบัติธรรมยังไม่ต้อง ให้พวกที่เค้าจะกลับไปก่อน เออ เดินแทะไปคนละชิ้น ไหว้เจ้านี่มันดีนะ มีเหลือกินนะ เออ หยิบไปคนละชิ้น ลูก, กินแล้วรวย, เฮ้ย รวย ชิ้นเดียวพอ, ถ้าเอาไป 2 ชิ้นน่ะจน, เออ วางเลยเออ ไม่ต้องเอาไปฝากคนที่บ้านหรอก เอาแค่ของตนเท่านั้นแหละ คนละชิ้นพอ
เอ้อ อ้ายพวกนั่งในศาลาชักเริ่มชะเง้อล่ะ มันจะเหลือถึงกูไม๊ เหลือไม๊
...............
เอ้า เข้าที่ พร้อมแล้ว
ยัง ฟังก่อน เรียนมานานแล้ว ควรจะต้องพัฒนาตัวเองให้สูงขึ้นได้ละ เดี๋ยวจะมีคำสอนพิเศษทุกคนไปเอาหนังสือสวดมนต์มาคนละเล่ม
เปิดหน้า 94 เบอร์ 32 สวดมนต์แปลนะ คนที่ใหม่ไม่เคยเรียนเลย ยกมือซิ, มึงยังใหม่อีกเหรอ กูเห็นมึงมาทุกอาทิตย์ ทุกเดือนเลย หน้ามึงจะเป็นสนิมอยู่แล้วนะนั่นน่ะ อ๋อพักหลังน่ะเหรอ
เอ้า มีหน้าที่ เดี๋ยวจะให้ออกไปจากศาลาให้หมด ไปเดินสวด นั่งสวดที่ไหนก็ได้ แต่อย่าอยู่ในศาลา สวดเดินหน้า แล้วก็ถอยหลัง สวดในใจ ห้ามส่งเสียง สวดตั้งแต่หน้า 94 จนถึงหน้า 99
94 จนถึง 99 เดินหน้า แล้วก็ถอยหลัง คือ สวดไปหน้า 94 ครบ ถึง 99 แล้วสวดย้อนหลัง
ในขณะที่สวด มีข้อแม้ว่า ถ้าจิตหลุดออกไป ต้องเริ่มสวดใหม่ สวดทั้งเดินหน้า ขณะที่สวดเดินหน้า จิตแว๊บออกไป ไม่ว่าจะแว๊บออกไปกี่ครั้ง ก็สวดใหม่ทุกครั้ง เข้าใจไม๊
ต้องผูกจิตเอาไว้ให้อยู่ในบทสวดให้ได้ ถ้าจิตแว๊บออกไป ต้องนับ 1 ใหม่ มันจะจบแล้วดันแว๊บออกแหม เดินเมื่อย แว๊บอย่างนี้ เริ่มสวดใหม่เลย นับ 1 ใหม่
พูดอย่างนี้ เข้าใจไม๊
เมื่อครบ เดินหน้าก็ไม่แว๊บ ถอยหลังก็ไม่แว๊บ จึงเข้ามา แล้วจะเพ่งอารมณ์
เพ่งอารมณ์ ก็คือ เพ่งปราณบนกลางกระหม่อม เข้าใจไม๊
ฝึกอย่างนี้ เพื่อให้มีสติตั้งมั่น ให้มีสติรู้ตัวทุกขณะ ทุกขณะจิตที่หายใจเข้า หายใจออก
พร้อมแล้ว ออกไป
คนที่จะอยู่ในนี้ได้ ก็ต่อเมื่อ ต้องเป็นคนที่ผ่านการสวดอย่างจิตไม่แว๊บเท่านั้น
ออกไปเดิน นั่งข้างนอก เมื่อเห็นว่า สวดเดินหน้าแล้วไม่แว๊บ ถอยหลังก็ไม่แว๊บ จบแล้วเข้ามานั่งเพ่งอารมณ์ คือ เพ่งจิตเอาไว้บนกลางกระหม่อม
คนใหม่ก็ไปฝึกจิต ผูกจิตกับการสวด อย่าออกเสียง สวดในใจ
..................
ออกไปนอกศาลา
สวดมนต์แปล ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง ทั้งบาลีและทั้งคำแปล
.................
เออ เฮ้ย คนอยู่ในศาลา ก็ต่อเมื่อ ต้องผ่านการสวดครบแล้ว จิตไม่เคลื่อน เลื่อนไปไหนเลย
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ก็ไม่พัฒนาเสียที
ที่จริงน่ะ บทสวดมนต์ไม่จำเป็นต้องมากหรอก ลูก นะโม 3 จบ เดินหน้า ถอยหลัง ก็ศักดิ์สิทธิ์แหละ ไม่ต้องสวดเยอะ แล้วสวด 3 รอบนี่ จิตไม่เคลื่อนไปไหนเลย ยิ่งวิเศษใหญ่เดินหน้า ถอยหลังมีครบ
................
เริ่มเลย ของใครของมัน ทางใครทางมัน มนต์ใครมนต์มัน
ไม่ต้องรอกัน
ใครเสร็จแล้ว ไม่เคลื่อนเลื่อนไปไหนเลย ก็เข้ามานั่งที่
ถ้ายังเคลื่อนเลื่อนอยู่ ให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่
.................
ต้องให้จิตอยู่กับมนต์ มนต์กับจิตรวมป็นหนึ่งเดียวกัน
.................
ต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง ซื่อตรง ฝึกนิสัยให้เป็นผู้ซื่อตรง
บอกแล้วว่า คนที่จะสุข จะทุกข์ จะชั่ว จะดี
ไม่ใช่ดีแค่ภพชาติเดียว แต่มันต้องสะสมเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ
ไปเรื่อย จนถึงวันหนึ่งมันชั่ว หรือ วันหนึ่งมันดี
จนถึงวันนี้มันสุข หรือวันนี้มันทุกข์
งั้น ถ้าแว๊บ ต้องกลับไปเริ่มใหม่
ต้องซื่อตรงกับตัวเอง อย่าโกหกตัวเอง
ไม่มีใครรู้เท่าตัวเรา
ไม่ได้เสียหายอะไรกับการเริ่มใหม่
ถ้ามีโอกาสได้เริ่ม แล้วเริ่มแล้วมันถูก
ดีกว่าไม่ยอมเริ่ม แล้วปล่อยให้มันผิดซ้ำซาก จนข้ามภพข้ามชาติ
ย้ำทำย้ำคิด ตอกย้ำอยู่อย่างนั้นกับความผิดพลาด จนไม่รู้จักแก้ไข ทั้งที่มีโอกาสแก้ ก็ไม่แก้
มีโอกาสเลิก ก็ไม่เลิก มีโอกาสเริ่ม ก็ไม่เริ่ม
อย่างนี้ถือว่า เราไม่เจริญ ไม่หวังความเจริญในชีวิต
ทั้งโลกนี้ โลกหน้า ก็ไม่มีสิทธิ์เจริญ
งั้น ต้องซื่อตรง
แว๊บ ต้องเริ่มต้นใหม่ในทันที
...................
อย่างไร จึงจะเรียกว่า ถูกต้อง
ก็สาธยาย จนกระทั่งใจกับมนต์รวมเป็นหนึ่ง
มนต์แจ่มชัด ใจสว่าง เห็นช่องผิดถูกชัดเจน
สาธยายมนต์จนกระทั่ง มนต์กับใจรวมเป็นหนึ่ง
เห็นความผิดถูกชัดเจน มีสติตั้งมั่น
ความฉ่ำเย็นปรากฏ
ถ้าทำถูกวิธี จะรู้ว่า มนต์ทำให้เราฉ่ำเย็นใจ
สดชื่น แจ่มใสในจิตใจ
ถ้าสาธยายด้วยสติ
ไม่ใช่แค่ปาก หรือ สัญญา ความจำ
จริงจัง จับจ้อง
ไม่ใช่สักแต่ว่า สาธยายให้จบๆ
ตาดูมนต์ ใจรู้มนต์
ไม่ใช่ปากท่อง ไม่ใช้ปากท่อง ใช้ใจ
ไม่ต้องส่งเสียง ว่าในใจ
.....................
ทำยังไงก็ได้ อย่าให้จิตเคลื่อนออกจากมนต์
แม้ที่สุด จิตจะไปดูอวัยวะส่วนท้อง ระบายลม ลมหายใจ
รู้เรื่องอื่นๆ ก็แสดงว่า ไม่อยู่กับมนต์ละ
ใช้ไม่ได้ เริ่มต้นนับ 1 ใหม่
ไม่รู้ละ ทำยังไงก็ได้ ผูกจิตให้อยู่กับมนต์ให้ได้
เร็วไป มันไม่อยู่ ก็ช้า
ช้าอย่างมีสติ
ช้าๆ ชัดๆ จดจ่อ จับจ้อง ตั้งสติมั่น
มนต์กับเรา ต้องรวมกันเป็นหนึ่ง
...................
พอ เข้าที่ ช่างน่าสงสารนัก
(กราบ
)
26 ส ค 2555 15:30 น. หลังปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
• เราจะเห็น ช่องว่าง ของการเกิดดับของจิต ที่คุมได้กับคุมไม่ได้ ชัดเจน
ทั้งหมดนี่แหละ คือ วิถีแห่งปัญญาที่ต้องเรียนรู้ ต้องศึกษา
ฝึกให้มีสติ แค่มนต์บทเดียวนี่แหละ
• ปราณมีแล้ว แต่ผู้คุมปราณยังไม่มี
• ต้องฝึกผู้คุมปราณขึ้นมาให้ได้ เพราะผู้คุมปราณ ก็คือ ตัวสติ
• วันนี้ กูถือว่า กูให้คำสอนที่สำคัญในการที่จะเรียนรู้สภาพจิตของตน แล้วต้องเป็นคำสอนที่ชัดเจน แล้วเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อจะได้ให้รู้จักตัวเองให้ได้
มากขึ้นว่า เราพยายามให้ตาย บางทีมันมีวิบากให้ผล ก็ยากที่จะเอาชนะมัน
• งั้น อย่าโง่ที่จะพยายามแบบโง่ๆ
• รู้จักฝึกที่จะอยู่กับตัวเองเยอะๆ อย่าไปอยู่กับเรื่องไร้สาระ
พอ เข้าที่ ช่างน่าสงสารนัก
(กราบ)
เจ้าหน้าที่ อัดเทปเอาไว้
จนแล้วจนรอด ก็ไม่จบเสียที
เดี๋ยวแว๊บ ๆๆ
ที่มันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เพราะว่า ลูกหลานไม่มีความพยายาม
ถ้าได้ใช้ญาณพินิจพิจารณา ใช้ปัญญาใคร่ครวญ
แล้วจะเห็นว่า จิตที่เราควบคุมมันไม่ได้ นั่นคือ วิบาขจิต
วิบากจิต พูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็คือ วิบาก จิตที่มีวิบาก มีกรรมเป็นของมัน
เราคุมมันไม่ได้ เพราะกรรมมันครอบงำจิตนั้นๆอยู่
จิตที่ไม่มีวิบาก คือ จิตที่เราควบคุมได้
ทั้งหมดนี่ มันมาจากความที่เราไม่แข็งแรง เราไม่มีกำลัง
เรียกว่า ไม่มีพละ
พละ คือ กำลังอะไรบ้าง, ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
งั้น การที่เราไม่สามารถดูจิต ให้อ่านอยู่ในมนต์
มนต์กับจิตรวมเป็นหนึ่งได้ทุกจิตทุกดวง เดี๋ยวแว๊บๆๆ เดี๋ยวเริ่มใหม่ๆๆ
นั่นเป็น วิบากของจิต
เราอย่าเข้าใจผิด คิดว่า กรรมนี่จะให้ผล ส่งกับเฉพาะกาย วาจา
แม้จิตนี้ มันก็มีผลแห่งกรรมอยู่
กรรมให้ผลถึงจิตทุกดวง
ถ้าเป็นกุศลจิต คุมได้, อกุศลจิตก็คุมยาก
ยิ่งเป็น วิบาขจิต หรือ วิบาก จิตที่มีผลเป็นลบ เป็นชั่ว เราคุมมันไม่ได้
เพราะมันอยู่ในวิบาก เหมือนกับ น้ำที่ไหลเชี่ยวกราก แล้วเอาเรือไปขวาง
มันคุมไม่ได้ เอาใบไม้โยน มันก็ไหลตามน้ำไปหมด
งั้น เราก็ต้องฝึกฝน มีอะไรบ้าง
ก็ต้องฝึก ศรัทธา, วิริยะ ความเพียร, สติ, สมาธิ แล้วก็ปัญญาให้มากขึ้น
เพียร, ศรัทธา เชื่อ ในสิ่งที่กำลังทำ
เพียร ทำในสิ่งที่เชื่อ
เชื่อ ในสิ่งที่ทำ
เพียรทำในสิ่งที่เชื่อ แล้วก็เชื่อในสิ่งที่ทำ
ให้ต่อเนื่องยาวนาน ให้อยู่ตลอดเวลา
มันถึงจะเอาชนะ วิบาขจิต หรือ จิตที่มีวิบากกรรมได้
นั่นเป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง
ถ้าพวกมึงได้แยกแยะจิตให้ชัดเจน มีปัญญาเกิดขึ้นทุกขณะ
จะเห็นถึงวิบากของจิตเลยว่า
ทำไมตัวนี้ เราคุมมันไม่ได้ เดี๋ยวมันแว๊บไป
ทำไมตัวนี้ เราคุมได้ เหมือนมันอยู่กับที่
เราจะเห็น ช่องว่าง ของการเกิดดับของจิต ที่คุมได้กับคุมไม่ได้ ชัดเจน
ทั้งหมดนี่แหละ คือ วิถีแห่งปัญญาที่ต้องเรียนรู้ ต้องศึกษา
ฝึกให้มีสติ แค่มนต์บทเดียวนี่แหละ
เรายังอยู่กับมันไม่ได้ตลอด แล้วเราจะไปทำอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านี้
วิชาปราณโอสถ มันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก
ถ้ามีสติไม่ได้ทุกขณะ คุมวิบาขจิต คุมจิตไม่ได้ทุกขณะ
ปราณที่ทะลุทะลวงไปตามรูขุมขนและชำแรกไปตามเส้นประสาท
มันก็คุมมันไม่ได้ มันก็ไม่เป็นโอสถได้
ปราณน่ะ มีแล้ว แต่ผู้คุมปราณยังไม่มี
ที่ให้ฝึกวันนี้ เป็นคำสอนพิเศษ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ต้องฝึก
ฝึกผู้คุมปราณขึ้นมาให้ได้ เพราะผู้คุมปราณนั้นคือ ตัวสติ
ให้มันอยู่กับสิ่ง กับการงาน กับเรื่องที่เราทำ อย่างชนิดที่คุมมันให้ได้ทุกขณะจิตเกิด ดับ
ไม่ใช่ลูกหลานไม่พยายาม กูเห็นละ มึงก็พยายาม, พยายาม แว๊บ พยายาม แว๊บ
มันเหมือนกับจับปรอทจริงๆ มันไวยิ่งกว่าปรอทอีก
จับทางนี้ มันปลิ้นไปทางโน้น จับทางโน้น มันปลิ้นมาทางนี้
นั่นคือ จิต ที่เหนือการคาดเดา เหนืออำนาจการควบคุม
มันเป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง
ถามว่า วิบากกรรมอย่างนี้ มันเกิดจากอะไร
ก็มันเกิดจากที่ไปแร๊ดๆๆๆๆๆ อยู่ทุกวันนี้
กูใช้คำว่า แร๊ดๆๆๆๆๆ เนี่ย ถูกต้องเลยล่ะ
เกิดจากจิตที่มันไปตะลอนๆ เลาะเรื่อย เรื่องไร้สาระ
เรื่อง เลอะเทอะ เปรอะเปื้อน เรื่องวุ่นวายสับสน แล้วก็มาสะสมเอาไว้
จิตดวงที่ 1, ดวงที่ 2, ดวงที่ 3, ดวงที่ 4, ดวงที่ 5, ดวงที่ 6
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้มีอินทรีย์สังวรณ์ สำรวมสังวรณ์ระวัง
ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส และใจรู้อารมณ์
เมื่อสังวรณ์แล้ว ก็ให้มีวิเวก มีกายวิเวก จิตวิเวก
คือ หาความสงบทางกาย สงบจิต
ก็ถือว่า เราก็สามารถกำหราบวิบาก วิบาขจิตที่มันจะเข้ามาครอบงำเรา
มาฉุดกระชากลากถูเรา มาดึงเราออกจากสาระ
ที่จริงแล้ว มันไม่ใช่มาดึงเรา แต่มันมีของมันอยู่อย่างนั้น
พอถึงคิวมัน มันก็แสดงผลออกมา
เราพยายามดึงมันให้อยู่ มันก็ไม่ได้ เพราะมันอยู่เหนืออำนาจ
ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกรรม ลูก
พระพุทธเจ้ายังไม่มีอำนาจเหนือกรรมเลย
กรรม เป็นของสัตว์
เรามีกรรมเป็นกำเนิด กัมมะพันธุ กัมมะปฏิสะระโณ กัมมะทายาโท
เรามีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นเครื่องอาศัย
จิตนี้ มันก็มีกรรมของมัน
ไม่ใช่เรา เราในที่นี้หมายถึง กาย วาจา อย่างเดียว ไม่ใช่
แม้ใจก็เป็นกรรม มีกรรมอย่างหนึ่งของมัน
กรรมที่เราคุมมันไม่ได้
เราอยากให้มันอยู่ตรงนี้ อยู่กับมนต์
บางคนนี่ ว่า ยังไม่ถึง 2 บรรทัดเลย ไปแล้ว
บางคนว่าไปเกินครึ่ง อ้าว ไปอีกแล้ว
ไม่จบเสียที
ทั้งหมด มันไม่ใช่มาจากความไม่พยายาม ลูก
แต่อดีตชาติ เราพยายามอย่างนี้น้อยมาก
ก็บอกแล้วว่า ความที่จะเป็นคนดีได้ คนชั่วได้ คนพาลได้ คนเลวได้ คนเจริญได้ คนพัฒนาได้
มันไม่ใช่สะสมกันมาแค่วันนี้ เดี๋ยวนี้ มันสั่งสมมาตั้งแต่อดีต ภพชาติไหนๆ ไม่รู้กี่ภพ กี่
ร้อยกี่พันชาติ
ถ้าเราไม่มีกำลังพอ ไม่มีแรงพอ ศรัทธาไม่ตั้งมั่น ความเพียรไม่ต่อเนื่อง ปัญญา สติ สมาธิ
ไม่ดำรงค์อยู่ ไม่มีสิทธิ์แยกแยะได้ เราไม่มีกำลังจะไปต่อสู้กับวิบากจิตนี้ได้
พูดอย่างนี้ก็เหมือนกับว่า เราไม่มีสิทธิ์ คนเราพอตกอยู่ในวิบากจิตหรือวิบาขจิตแล้ว ไม่มีสิทธิ์หลุดพ้น ต้องโดนครอบงำตลอดมี๊
ต้องมีกำลัง 5 อย่าง กำลัง 5 อย่าง คือ อะไร
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ แล้วก็ปัญญา
ต้องฝึกนี่ให้หนัก จึงจะชนะวิบากจิตเหล่านี้ได้
เมื่อมีอำนาจ มีพลัง เมื่อเกิดวิบาก เราก็จะครอบงำมันได้
เราจะรู้ทันเลยว่า จิตดวงหน้า ดวงนี้ มันจะเกิดวิบาก
เราจะมีเครื่อง มีปัญญาไปทำลายมัน ไปขวางกั้นมัน ไปกำจัดมัน
เมื่อกี้ หลวงปู่เห็นแหละ เห็นถึงวิบาก วิบาขจิตของพวกมึง
แล้วก็รู้สึกลำบากใจว่า กูยังตำหนิตัวกูเองเล๊ย
โอ้โห ตั้งกี่บท, 2 บท, รู้งี้ กูให้นะโม 3 จบก็พอแล้ว
อ้าว จริ๊ง จริง กูนึกอย่างนี้จริงๆ กูสงสารพวกมึงน่ะ
อย่าว่าแต่ 2 บทนี้เลย แค่ นะโม 3 จบ มันก็ไม่ไหวแล้ว มันไม่รอดแล้ว
ไปกลับ 3 รอบ มันไม่ครบหร๊อก ให้ 5 โมง มันก็ไม่ครบ
แล้วจะมาฝึกปราณโอสถ
ยัง ยังอีกหลายขุมนะ ลูก
ยังไม่มีคนคุมปราณ ยังคุมปราณไม่ได้
ถ้าเมื่อใดที่เรายังไม่สามารถคุมวิบาขจิตได้ เราก็ยังคุมปราณไม่ได้
เรากำจัดวิบากของจิต หรือ ทำให้เอาชนะวิบากแห่งจิตให้ได้
วิธีเอาชนะวิบากแห่งจิต ไม่ต้องไปทำร้ายมัน ไม่ต้องไปทำลายมัน
แต่รู้เท่าทันมัน รู้ให้เท่าทันมันว่า นี่ ไม่ใช่ล่ะ นี่ไม่ใช่ตัวตั้งใจ ไม่ใช่สติ ไม่ใช่สมาธิ นี่มันแว๊บไป
สังเกตไม๊ว่า บางทีบางครั้ง เรื่องผิวเผินเล็กน้อย เราก็แว๊บล่ะ สะดุดหินหน่อย อ้าว แว๊บล่ะ
แว๊บ บางทีไม่รู้ตัว มารู้อีกทีหลัง อ้าว กู
ถ้ามีความละอาย มีหิริ ความละอายชั่ว มีโอตัปปะ ความเกรงกลัวบาป ก็จะรู้สึกได้ว่า ไม่ได้ล่ะ ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ถ้าไม่มีความละอาย แล้วไม่มีสติรับรู้ ก็ เผลอๆ ลืมไปเลย ทำเฉยๆเพราะสภาพของคนที่อ่านอยู่กับมนต์ มนต์อยู่กับเรา เราอยู่กับมนต์ ใจกับมนต์รวมเป็นหนึ่งเนี่ย มันชัดเจนมาก ลูก
พอว่า นะโมเม ไปปุ๊บเนี่ย จิตมันจะชัดเจนอยู่กับมนต์ แล้วมันจะซาบซ่านเย็น ดื่มด่ำ ฉ่ำใจสุขใจด้วยซ้ำ เพราะอยู่กับมนต์เต็มที่ ชัดเจนถึงขนาดเหมือนกับเราจะกลืนกินมนต์เข้าไปในตัวเราด้วยซ้ำ ชำแรกมนต์ มนต์นี่มันชำแรกเข้าไปในทรวงอกในจิต นั่นน่ะ มันชัดได้ขนาดนั้นแต่ถ้าอ่าน ดูผิวเผิน นะโมเม สัพพะพุทธานัง ว่ามันเรื่อยไป อ้ายนี่ ยังผิวเผิน ไม่ชัดเจน
แล้วทำไมมันถึงไม่ชัดเจน ก็เพราะเราฝึกอย่างนี้ นิสัยเป็นแบบนี้ไง ฝึกเป็นคนไม่จริงจังและความไม่จริงจังมันมีอยู่ในปัจจุบันไม๊
ไม่ใช่ มันสั่งสมมากี่ภพกี่ชาติล่ะ
งั้น หลวงปู่จึงพูด ชั่วชีวิตหลวงปู่เนี่ย คิดอย่างไร ทำอย่างนั้น ทำอย่างไร พูดเช่นนั้น คิด ทำพูดต้องเรื่องเดียวกัน ต้องซื่อตรง
จำได้ไม๊ว่า ข้อห้ามของกรรมฐาน ข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติของกรรมฐานในการเรียนรู้กรรมฐานของที่นี่ คือ
1. ต้องซื่อตรง ถูกไม๊ เออ ถ้าเราซื่อตรง เราจะเห็นชัดเจน ฝึกนิสัยเป็นคนซื่อตรง แรกๆ ก่อนหน้านี้มา ทำเหลาะแหละ เละเทะ เลอะเทอะ หลอก ปลิ้นปล้อน ตลบแตลงกะล่อนไปเรื่อย แต่พอฝึกธรรมะแล้ว ต้องซื่อตรงอ้ายความซื่อตรงนี่ มันเป็นผลอะไร มันเป็นผลในการฝึกจิต เพราะเมื่อตาเห็นมนต์ ปากท่องมนต์ ใจก็จะรู้มนต์
แต่ถ้าไม่ซื่อตรง ฝึกมาไม่ซื่อตรง ตาเห็นมนต์ ปากท่องมนต์ ใจไปไหนไม่รู้ เหมือนกับที่ทำกันอยู่ งั้น พวกมึงนี่ อย่าว่าแต่ นะโมเม ครบบทเลย นะโม 3 จบ ก็ไม่มีปัญญาจะครบ
ไม่ได้ดูถูก แล้วไม่ใช่เฉพาะพวกมึง สังฆมณฑลนี้ เหลือซักกี่องค์ที่ทำได้ ที่ นะโม 3 จบแล้วไม่หลุด ไม่เคลื่อน ไม่เลื่อนไปไหน ไม่มีวิบากจิตเข้ามาครอบงำ ถ้าไม่ใช้เดช ใช้อำนาจของพละ 5 อย่าง
ยากมาก ไม่ใช่ง่าย ลูก
เพราะงั้น ทศพลญาณ เค้ามีเอาไว้ให้สำหรับวิเคราะห์เรื่องพวกนี้ ให้ดูเรื่องพวกนี้ ว่าเหตุปัจจัยของสิ่งเหล่านี้ มันมาจากอะไร
งั้น วันนี้ กูถือว่า กูให้คำสอนที่สำคัญในการที่จะเรียนรู้สภาพจิตของตน แล้วต้องเป็นคำสอนที่ชัดเจน แล้วเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อจะได้ให้รู้จักตัวเองให้ได้มากขึ้นว่า เราพยายามให้ตาย บางทีมันมีวิบากให้ผล ก็ยากที่จะเอาชนะมัน
งั้น อย่าโง่ที่จะพยายามแบบโง่ๆ กลับมาเรียนรู้ศึกษาสรรพวิทยา กำลังวังชาสะสมให้เยอะเพื่อจะไปเล่นงานมัน แล้วอะไรล่ะ
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ไม่ใช่ใช้ท่อง แต่ใช้ทำ
ศรัทธาคือ อะไร ต้องเชื่อ เชื่อในสิ่งที่เรากำลังทำว่า เป็นผลแห่งการกระทำที่ประเสริฐ ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์บรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย พระศาสดาทรงสอนเรา เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว ต้องทำอย่างต่อเนื่องยาวนานติดต่อ อย่าคิดว่า รอเวลาอาทิตย์ต้นเดือน กลางเดือน ปลายเดือน มีลมหายใจทุกขณะ เช้าๆ หลวงปู่เดินบิณฑบาตร ไปอยู่กับเรื่องนู้นบ้าง มาอยู่กับเรื่องนี้บ้าง
เมื่อเช้าเดินบิณฑบาตร ผัวอีอ้วนมันเอาเครื่องมาถวาย, ถามว่า เอามาถวายทำไม, เค้าบอก เครื่องรถ, อ้าว รถกูไม่มีเครื่องเหรอ, มี, แล้วทำไม, น้ำมันแห้ง, มันขับจนน้ำแห้ง, เราก็จี๊ดขึ้นมาในทันทีเลย, อืม จี๊ด กูก็ อืม กูไปอยู่กับเครื่องล่ะ ไม่ได้ๆกลับมาอยู่กับตัวกูเอง..., เออ พอไปอยู่กับเครื่อง ไปอยู่กับเครื่องก็ต้องถามหาล่ะใครขับ เออ เพราะถ้าขับแล้วมันไม่รู้จักเติมน้ำ ปล่อยให้น้ำแห้ง นี่ มันหมาแล้ว ไม่ใช่คนแล้ว มันเลว ขับไปจนกระทั่งความร้อนขึ้น อ้ายเสื้อสูบ อะไรต่ออะไรโป่ง นี่แสดงว่า มันแย่มากแล้ว มันเป็นคนขับพันธุ์ไหน แล้วเราก็นึกว่า ไปอยู่กับมัน ก็จี๊ดจ๊าด ปวดหัวใจ เอ๊ยอยู่กับตัวกูเองดีกว่าเว้ย เย็นชุ่มฉ่ำสบายใจ เดินบิณฑบาตร อยู่กับตัวเอง
เพราะฉะนั้น รู้จักฝึกที่จะอยู่กับตัวเองเยอะๆ อย่าไปอยู่กับเรื่องไร้สาระ
คำว่า อินทรีย์สังวรณ์ คือ สำรวมระวัง ตาเห็นรูปสวย หูฟังเสียงเพราะ จมูกดมกลิ่นหอม ลิ้นรับรสอร่อย กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้อารมณ์
ไม่ใช่ให้เราไป พอเห็นรูปแล้วปิดตา ฟังเสียงแล้วปิดหู
ไม่ใช่ แต่มันรวมหมายถึง อยู่กับตัวเองเยอะๆ อย่าไปอยู่กับเรื่องอื่น อยู่กับตัวเอง ดูตัวเองวิเคราะห์ตัวเอง ใคร่ครวญตัวเอง พิจารณาตัวเอง สำรวจตัวเอง ซึมซับตัวเอง ศึกษาตัวเอง รู้ชัดในตัวเอง ตัวเองมีอะไรบ้าง ตั้งแต่หัวจรดปลายตีน
ถ้าว่ากันตามหลักธรรมะ พระอภิธรรม ก็ รูปกับนาม
รูป คือ สิ่งที่ปรุงแต่ง
นาม คือ สภาวะธรรม
นั่นคือ หัวใจ หรือ จิตใจ หรือ อารมณ์
สภาพธรรมที่ปรากฏทั้งรูปและนาม มันรวมแล้ว เราเรียกมันโดยสมมุติว่า นี่คือ ตัวเอง
เอาแค่นี้ก่อน อย่าเพิ่งพ้นจากสมมุติ เมื่อเข้าใจความหมายนี้แล้ว เราก็ไม่ต้องว้าวุ่น โลกก็ไม่ทำให้เราสับสน ความทุรนทุรายเร้าร้อน ปัญหาสารพัดสารพันที่ย่ำยี บีฑา บีบคั้น หลั่งไหล พรั่งพรูเข้ามา มันก็ไม่ทำร้ายเรา เพราะเราอยู่กับตัวเอง อยู่ในถ้ำ เหมือนกับอยู่ในเกราะ มีเกราะป้องกัน ใครก็ทำร้ายเราไม่ได้
นั่นคือ วิธีการ วิธีที่เรียกว่า อินทรีย์สังวรณ์
แล้วมันก็เป็น เป็นอะไร เป็นพละ คือ เป็นกำลัง ทีนี้อะไรมันจะเกิดขึ้น ก็จะรู้ล่ะ กุศลจิตเกิดอกุศลจิตเกิด อัพยากฤตจิตเกิด เราก็จะรู้ล่ะ เพราะเราอยู่กับตัวเองจนคุ้นเคยกับมันล่ะ ใครจะเข้าจะออก แขกแปลกหน้า มิตรศัตรู เพื่อนฝูง คนรู้จักมักคุ้น คนคุ้นเคย อันตรายหรือไม่อันตราย เราจะรู้ชัด
แต่ไปอยู่กับรูป อยู่กับรส อยู่กับกลิ่น อยู่กับเสียง อยู่กับสัมผัส อยู่กับนู่นนี่นั่นเยอะแยะมากมาย ลูกผัวตัวเมียใคร อยู่กันไปหมด พอถึงเวลาอยู่กับตัวเอง อ้าว อ้ายนู่นก็เข้ามา มึงมาไงวะ เดินๆ ไป อ้าว แว๊บ เอ๋ย กูก็ทำไม่เสร็จเสียที มึงแว๊บอยู่เนี่ยน่ะ
งั้น อาทิตย์หน้า เที่ยวหน้ามาใหม่ กูให้มึงแค่ นะโม เท่านั้นแหละ ไม่ต้องถึงขนาด นะโมเม
นะโม ม่อย มอดม้วย นะโม แน่ๆ, 3 บทพอแล้ว ดูว่าจะมีปัญญาพ้นไม๊
ไม่เชื่อ เย็นนี้ ลองกลับไปทำดูก็ได้ มึงลองไปสวดนะโมแบบชัดๆ โดยไม่แว๊บเลยซักทีซิฝึกอยู่กับบ้าน ไม่ต้องสวดเยอะ อย่าไปสวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เลอะเทอะ เหลือเฟือ
โอ้โห อุ๊ย สวดจนเทวดางง, งง สรุปแล้ว มึงจะสวดให้กูฟัง หรือว่า จะให้กูมานั่งฟังบ่นอะไรก็ไม่รู้ ถ้าสวดให้เทวดาฟังนี่ไม่ยากเลย ลูก นะโม 3 จบ ชัดๆ นี่ โอ้โห เทวดาศักดิ์สิทธิ์มนต์นั้นศักดิ์สิทธิ์ วิเศษ เรียกพรหมก็มา เรียกมารก็มา เทวดาก็สะเทือน
มึงสวดให้ตาย ยังไงก็ไม่ได้เรื่อง
หลวงปู่ปลุกเสกพระ ไม่ได้ใช้มนต์อะไรนะ อยู่กับตัวกูเอง นะโม 3 จบเท่านั้นแหละ เดินหน้า ถอยหลังเท่านั้น ไม่ต้องมนต์อะไรเยอะแยะมากมาย
สำคัญที่สุด เราต้องสำรวมสังวรณ์ระวัง อย่าไปอยู่กับสิ่งอื่นมากนัก เพราะการอยู่กับเรื่องอื่นสิ่งอื่น คนอื่น วัตถุอื่น ของอื่นๆ เมื่อถึงคราวสิ่งที่อยู่นั้น มันเสียหาย บุบสลาย ทำร้ายทำลายหรือว่า พลัดพรากจากเราไป เราก็จะเสียใจ เสียดาย อาลัยอาวรณ์ ถ้าไปอยู่กับตัวเราเสียบ้างรู้จักเรียนรู้ ศึกษา ฝึกฝน อยู่กับตัวเองบ้างอยู่กับตัวเองมากๆหน่อย ไม่ใช่ฝึกให้ตนเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่ฝึกให้ตนเป็นคนเรียนรู้ตัวเองให้มากๆ เพื่อจะได้รู้ว่า เราควรมีสมรรถนะ ศักยภาพ ทำอะไรให้มันเยอะขึ้น มากกว่าจะไปอยู่เรื่องอื่นๆ สิ่งอื่นๆ ชีวิตคนอื่น สังคมอื่นๆ แล้วสุดท้ายตัวเองพิการ ทำอะไรไม่เป็นแล้วพึ่งคนอื่นตลอด ถ้าอย่างนี้ ก็กลายเป็นคนที่ไร้สาระ เสียชาติเกิด ไม่ควรที่จะมีชีวิตอยู่
งั้น เรื่องวิบาขจิต เราไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธมันหรอก ลูก ถ้าเรายังเป็นคนอ่อนแออยู่
ให้รู้ว่า กรรมนี่มันให้ผลแม้กระทั่งอารมณ์จิต สภาพจิต เราพยายามจะข่มมันให้ตาย ก็ไม่มีสิทธิ์ เพราะมันเป็นกรรม มันเป็นกรรม เหมือนกับองคุลีมาร บวชเข้ามาใหม่ๆ เจริญสมถะเข้าสมาธิวิปัสสนา หลับตาไม่ได้ เพราะกรรมมันเข้ามาทวงไง เอานิ้วกูคืนมา เอาชีวิคกูคืนมาเอาตากูคืนมา เอาใจกูคืนมา เอาหัวกูคืนมา เอาร่างกายกูคืนมา จนกระทั่งใกล้จะวิปลาสพระศาสดาทรงรู้เข้าด้วยข่ายพระญาณ พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นว่า เนี่ย มันเป็นวิบากกรรมเป็นวิบากจิต เป็นผลที่เกิดจากการกระทำของตนในอดีตส่งผลให้จิต แม้ที่สุด คนนอนหลับก็เหมือนกัน ก็เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่งนะ อ้ายที่ฝันเลอะเทอะเปรอะเปื้อน นั่นน่ะ เป็นอาการวิบากจิตอย่างหนึ่ง
แล้วเราคุมมันได้ไม๊
คุมมันไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าก็สอนพระองคุลีมาร ว่าอย่างไร
องคุลีมาร เธอจงพิจารณาสภาพความว่าง พิจารณาให้เห็นสภาพความว่าง มันไม่มีอะไรเป็นเครื่องมือ เครื่องยึดถือได้ มันว่างไปหมด วิบากก็ว่าง ทุกอย่างว่างหมด
มีสติ พิจารณาสภาวะความว่างเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่า สุญญตสมาธิ
องคุลีมารถึงได้หลับได้ หลับทีไร เจอแต่คนทวงทุกที หลับตานั่งสมาธิ ก็มีคนมาทวงชีวิต เนี่ยเป็นวิบาก ถามว่า ท่านเป็นคนละความเพียรไม๊, ไม่ มีความเพียรมาก แต่มันเป็นวิบากที่หนีมันไม่พ้น
งั้น ต้องใช้ปัญญาระดับขั้นพระพุทธเจ้าชี้นำ แม้ในมุมกลับกัน พวกเราเอง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องพละ 5 อย่าง คือ กำลัง 5 อย่างที่จะเอาชนะได้ทุกเรื่อง
กำลัง 5 อย่าง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คนมีกำลังอย่างนี้ เค้าเรียกว่า เหมือนดั่งพญาช้างสาร
เราไม่คิดจะเอาชนะกรรม
แต่เราสามารถที่จะตัดช่วงบ่วงแห่งกรรมที่จะมาผูก พันธนาการในจิตแต่ละดวงๆ ได้
ทำต่อไปเถอะ แล้วมึงจะเห็นว่า อาการเกิดของวิบาขจิตนี่ มันมีขั้นตอน มีช่องว่างที่จะทำให้เราเกิดแสงสว่าง แล้วเข้าไปกางกั้นวิบากนั้น ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิต
ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นเอง ว่าวิบาก คือ ผลของกรรม มันจะครอบงำจิตในเวลาใดๆ เราจะรู้ชัดเอง แต่นั่นต้องหมายถึงว่า เราต้องแข็งแรงมากนะ มีปัญญาเยอะล่ะ เหมือนกับที่สอนให้อ่านอย่างตั้งอกตั้งใจ แล้วเราจะรู้ว่า ไม่ต้องมากมนต์ แค่ 2 ตัว เราก็ซาบซ่าน เป็นสุขแล้ว
มนต์นี่ 2 ตัวก็ซาบซ่านเป็นสุขล่ะ ถ้าเราอยู่กับมนต์ ใจรู้มนต์ ตารู้มนต์ ปากท่องมนต์ทุกอย่างเป็นมนต์ เรากับมนต์รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ต้องเยอะ
เฉกเดียวกัน คนที่มีปัญญาตั้งมั่น มีพละแข็งแรง เราจะเห็นอาการให้ผลของจิตหรือวิบากที่เกิดกับจิต เห็นชัด ว่ามันเกิดได้อย่างไร
จิตดวงไหนบ้างที่จะมีวิบาก เราจะเห็นชัด เห็นในขณะที่เกิด
ถ้าพัฒนาจนกระทั่งเห็นก่อนเกิด นั่นเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าแล้ว พวกมึงไม่สามารถ
งั้น ต้องฝึก ต้องศึกษา ต้องพยายามทำบ่อยๆ อย่าเอาเฉพาะ แล้วไม่ต้องอะไรเยอะแยะ ลูก
เอาเพียงแค่ นะโม 3 จบ อย่างที่ว่า
มึงอยู่กับ นะโม ให้ได้ครบ 3 จบ ก็ถือว่า มึงก็เก่งล่ะ
ไม่ต้องไป อิติปิโสฯ พาหุงฯ แต่อย่าถึงขั้นบอก หลวงพ่อ เหมือนเดิม
อ้ายอย่างนี้ อยู่แน่เลย อยู่ตลอดเลย หลวงพ่อ เหมือนเดิม
อย่าเลวได้ขนาดนั้น
เอ้า กรวดน้ำ แผ่เมตตา
อ้อ เดี๋ยวถวายทานก่อน ลูก
(กราบ)
นะโม 3 จบ
..............
สังฆทานและสิ่งของทั้งหลายที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่รับแล้ว ลูก ยกให้เป็นสมบัติของวัด
และมูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะสงเคราะห์ สาธารณะประโยชน์
ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนา (สาธุ)
ตั้งใจกรวดน้ำ ว่าตาม แล้วรับพร ลูก
อิทัง โนยาตินัง
..................
หลวงปู่ให้พร
..............
(สาธุ)
โชคดี ลูก ธรรมะรักษา ให้รุ่งเรืองเจริญในธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีชัยชนะต่อวิบากกรรมทั้งปวง สติปัญญาตั้งมั่น สำเร็จประโยชน์ทุกท่านทุกคนเทอญ(สาธุ)
ไปฝึกเจริญมนต์ เอาแค่ นะโม พอ ลูก
มันก็สำคัญเหมือนกันนะ ลูก เรื่องอธิษฐานธรรม คนที่ไม่เคยมีอธิษฐานธรรมไว้ในใจนี่ มันจะทำให้หวั่นไหว ขลาดกลัว หวาดผวา สะดุ้ง แล้วก็คลางแคลงสงสัยต่อพฤติกรรมและสิ่งที่ตัวเองกระทำ
หลายคนเมื่อครู่นี้ รู้สึกไม่มั่นใจ เอ๊ กูจะเสร็จดีไม๊ กูจะเสร็จไม๊ จบไม๊เนี่ย เลิกเถอะ เลิกก่อนไม๊ หรือจะมั่วๆ ให้มันจบๆ ไป เออ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดเนี่ย มันมาจากการขาดอธิษฐานธรรม
งั้น เรื่องอธิษฐานธรรม แม้จะเป็นทศบารมีของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นความจำเป็นสำหรับการเจริญสมณธรรม วิถีแห่งความหลุดพ้นได้เหมือนกัน
งั้น เราตั้งอธิษฐานธรรมไว้ในใจว่า
เอาล่ะ ช่วงเวลานี้ กูจะ นะโม 3 จบ ให้ครบโดยไม่ลุกไปจากที่ ถ้าไม่ครบ แว๊บออกไป กูจะไม่ยอมลุก ให้ละครวันนี้ กูก็ไม่ไป ถึงเวลาผัวเรียกให้กินข้าว กูก็ไม่กิน
ลองดู ลองตั้งอธิษฐานธรรมดู แล้วจะได้ มันเป็นกำลังใจ เป็นกำลังใจให้แก่ตัวเอง มันเป็นเครื่องปรุงจิตให้แกร่ง กล้า องอาจ
ทีนี้ เราก็จะกลายเป็นคนที่มีตบะ มีเดชในตัวเอง
ฝึก
กราบลาพระ อะระหัง สัมมา
...................
(กราบ)
(หลวงปู่ เขียนใส่กระดาษ ยื่นให้เจ้าหน้าที่)
เอาอันนี้ไปเบิกยาให้ยายซิ้ม