ขณะที่จับปากกาขึ้นมาเขียนเรื่องนี้ เหลือบดูนาฬิกาเป็นเวลา ๑๕.๔๕ น. ของวันพุธที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เราสองสามี ภรรยาเพิ่งกลับจาก "ถ้ำไก่หล่น" ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาเหตุที่ตัดสินใจเขียนบันทึกเรื่องราวที่ได้ประสบมา เพราะเห็นว่าสิ่งที่จะพูดถึงต่อไปนี้มีคุณค่าควรแก่การจดจำไปชั่วชีวิต ชั่วลูกชั่วหลาน คงน่าเสียดายมากถ้าเราจะปล่อยให้เรื่องราวทั้งหลายเหล่านี้ ตายไปพร้อมกับตัวเรา แต่กว่าจะได้ลงมือบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เวลาก็ล่วงเลยมานานหลายเดือน
จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ กลับจากโรงเรียนตอนเย็น พบว่าสามีมีท่าทางตื่นเต้นขณะพูดกับฉันทำนองว่า อาจารย์หญิงวิทยาลัยครูเพชรบุรี (ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นสถาบันราชภัฏ) ชื่อพี่บุญล้อม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน มาชักชวน เขาให้ช่วยพาไป "ถ้ำไก่หล่น" ได้ข่าวว่ามีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาพำนักอยู่ รายละเอียดยังไม่ทราบ แต่ลูกศิษย์ของอาจารย์หญิง ซึ่งเป็นทหารค่ายธนรัชต์ ปราณบุรี บอกว่าสงสัยจะเป็น "หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร" ฉันหูผึ่ง ตาลุกขึ้นมาทันที เพราะเคยอ่านประวัติอันแสนลี้ลับพิสดารของหลวงปู่รูปนี้ในนิตยสารฉบับหนึ่ง นานมาแล้ว คิดว่าเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันมา ไม่เชื่อว่าจะมีจริง ถึงมีจริงก็ไม่เชื่อว่าใครจะได้พบท่านง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ด้วยความอยากรู้อยากเห็นเราต้องพิสูจน์ ตกลงกันว่าให้เขาไปก่อน ถ้าเป็นจริงตามคำร่ำลือ ก็อยู่สนทนาซักถามธรรมะให้มากๆ ถ้าไม่จริงจงรีบกลับ จะให้ดีควรจับตามองว่ามีประสงค์อะไรกันแน่ ถึงได้ปล่อยข่าวแอบอ้างว่าเป็นหลวงปู่เทพ-โลกอุดร
สมัยก่อนเราเป็นคนไม่เข้าวัดทั้งๆ ที่จังหวัดเพชรบุรีมีวัดเรียงรายเต็มไปหมด แต่ไม่ประทับใจในวัด หรือพระสงฆ์เอาเสียเลย ไม่เห็นท่านทำอะไรนอกจากบิณฑบาตรับนิมนต์งานบุญ ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับชีวิตเราสักเท่าไร ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า ถ้าจะสนใจพระก็สนใจเรื่องอภินิหาร เครื่องรางของขลังมากกว่าธรรมะ ต่อมาพอชีวิตประสบแต่เคราะห์กรรม จึงเริ่มหันหน้าเข้าหาวัด เคยไปบวชชีพราหมณ์ที่วัดใกล้บ้าน ซึ่งเลือกแล้วว่าพระสงฆ์วัดนี้มีข้อวัตรปฏิบัติเคร่งดี แถมฉันอาหารมังสวิรัติอีกต่างหาก ยังรู้สึกประทับใจ กับชีวิตคนวัดที่มีแต่ความสงบ เยือกเย็น แต่นานไปก็ถอยห่างจากวัดนั้น เพราะรู้สึกว่าแนวนี้ไม่ถูกกับจริตของเรา ยังมีอะไรๆ ให้เคลือบแคลงสงสัย ซึ่งหาคำตอบไม่ได้
จากนั้นก็ท่องเที่ยวไปทุกวัดที่ดังๆ ได้พบเกจิอาจารย์หลายรูปแบบที่มีแนวการสอนเฉพาะตน ประทับใจในบรรยากาศอันสวยงามของโบสถ์วิหาร และความร่มรื่นของมวลแมกไม้ที่ขึ้นเขียวครึ้ม แต่มาติดขัดตรงที่ว่า เราไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเจ้าสำนักได้เลย มีหน่วยคุ้มกันพิเศษบ้าง บรรดาศิษย์ใกล้ชิดบ้างประกอบกัเป็นคนช่างระแวงสงสัย พอเห็นอะไรไม่ชอบมาพากลก็เริ่มถอย เรียกว่า ไม่ปิ๊งในธรรมะ บอกกับตัวเองว่า นี่ไม่ใช่แนวที่เราชอบ พอมีพระบางรูปที่เคารพนับถือได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนตรงแนวดี แต่ท่านก็อยู่ไกล อายุท่านก็มาก ไม่มีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิด ได้แต่หาหนังสืออ่าน
สาเหตุที่อาจารย์หญิงมาชวนสามีไปเป็นเพื่อนเพราะ หนึ่ง เขาเป็นผู้ชาย เข้าป่าเข้าดงจะอุ่นใจกว่าเพศเดียวกัน สอง เขามีรถปิคอัพ น่าจะสะดวกในการบุกป่ากว่ารถเก๋งคันงาม พูดถึงปิคอัพคันนี้ มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง ปีก่อนโน้นจอดทิ้งไว้หน้าบ้าน พอเช้าขึ้นมาก็อันตรธารหายไปเสียแล้ว หนึ่งปีให้หลังได้คืนมาอย่างไม่คาดฝัน โดยตำรวจเมืองปราณบุรีโทรศัพท์มาแจ้งว่า พบรถของเราที่นั่น เราไม่ได้วิ่งเต้นแจ้งความบนบานศาลกล่าวอะไรเลย ส่วน รายละเอียดว่า รถคันนี้หายไปอย่างไร ไปอยู่กับใคร ก็อย่าไปสนใจ เลย เอาเป็นว่าพอได้คืนมาไม่กี่วัน อาจารย์หญิงเพื่อนสามีมาชวนไปหาพระที่ถ้ำไก่หล่น รถคันนี้ทำให้เราได้พบพระประหลาด และยังได้รับใช้ท่านอีกมากมายในเวลาต่อมา
ตอนแรกนัดกันว่าจะไปพรุ่งนี้ (วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม) สามีนึกอย่างไรไม่ทราบ ขอเลื่อนเป็นวันพุธ พอเช้าวันพุธ ฉัน ไปโรงเรียนตามปกติ ส่วนเขาไปถ้ำกับพี่บุญล้อม มีอาจารย์หญิง (พี่ดวงพร) ไปด้วยอีกคน รวมเป็นสามคน จนเย็นมากแล้วยังไม่กลับกันมาอีก ประมาณหนึ่งทุ่ม เขาจึงกลับมาด้วยท่าทางอิดโรย แต่แววตาสดใส บอกถึงความตื่นเต้นพอใจอะไรสักอย่าง ฉันรีบ ซักถามทันทีว่าเป็นอย่างไร เขาจุ๊ปาก ยกหัวแม่มือชูร่า แล้วเล่า รายละเอียดว่า
ถ้ำไก่หล่นไม่ใช่วัด ไม่ใช่สำนักสงฆ์ แต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีพระธุดงค์แวะเวียนมารูปแล้วรูปเล่า ต้องปีนบันไดขึ้นไปสองร้อยกว่าขั้น ส่วนรถก็จอดทิ้งไว้ข้างล่าง เป็นลานกว้าง มีป่าเบญจพรรณ ล้อมรอบไปด้วยภูเขา ที่เหนื่อยเพราะปีนบันไดนี่เอง อายุก็มาก อ้วนก็อ้วน พอฉันถามว่า พระล่ะเป็นอย่างไร เขาบอกว่ายังหนุ่มอยู่เลย แต่ใครๆ เรียกว่า "หลวงปู่" พูดจาไม่ไพเราะ พูดมึงๆ กูๆ ฉันฟังแล้ว อี๊! ชักยังไงเสียแล้ว ฉันข้องใจตรงที่ว่าเป็นพระหนุ่ม แต่คนเรียกหลวงปู่ แถมพูดมึงกูอีก ฟังแล้วไม่เข้าท่า แล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เขาก็อธิบายไม่ถูก ฉันถามใหม่ว่า อ้วนหรือผอม เขาบอกไม่อ้วนไม่ผอม แล้วสูงหรือเตี้ยล่ะ สูงๆ เตี้ยๆ ยังไงไม่รู้ บอกไม่ถูก ถ้างั้นขาวหรือดำ ไม่ขาวไม่ดำนะบอกไม่ค่อย ถูกอีก (คนติงต๊อง แค่นี้ก็บอกไม่ถูก) เฮ้อ! เป็นอันว่าไม่ได้ความสักอย่าง หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร หน้าตาเป็นอย่างไรเขาไม่รู้จัก ฉันค้นหนังสือโลกทิพย์ฉบับเก่าๆ มาให้เขาดู เขาส่ายหน้าบอกไม่เหมือน ฉันนึกแล้วว่าต้องไม่ใช่ มันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก เขาบอก ว่าช่างเถอะเรื่องนั้น เขาสนใจธรรมะในตัวท่านมากกว่า ไม่เคยเห็น พระแบบนี้มาก่อน พูดจาไม่ไพเราะ แต่ภูมิปัญญาสูงมาก
ท่านเพิ่งกลับมาจากกรุงเทพฯ ความจริงท่านมีกำหนดกลับวันที่ ๒๑ มีนาคม คนที่อยู่บนถ้ำบอกว่า ไม่ทราบว่าทำไมหลวงปู่ถึงกลับ เร็วกว่ากำหนด ได้ยินท่านบอกเพียงว่า "ถ้ากูไม่กลับวันนี้ ก็ไม่พบไอ้พวกนี้ซิ มันร่ำๆ จะมาหากูตั้ง ๒ วันแล้วนี่! "
สามีแปลกใจว่าทำไมท่านจึงทราบว่า เขาร่ำๆ จะมาหา ๒ วัน แล้ว! พวกที่ไป อยู่สนทนาโต้ตอบกับท่านจนเย็นจึงลากลับ สามีเล่าว่า เขาอยากลองภูมิว่าจะแค่ไหน เลยแกล้งถามโน่นถามนี่ ชนิดจะต้อนให้เข้ามุม กะถลุงให้หมอบ ชอบนักเรื่องจับผิดพระ (ไม่ทราบบาปหรือเปล่า) แต่ภิกษุรูปนี้ตอบได้หมด เรียกว่าโต้วาทีกันอย่างเผ็ดร้อนบนยอดเขา เขาแกล้งพูดเอะอะยียวนใส่หลายครั้ง แต่ท่านก็ไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร จนใกล้ค่ำ สามีตัดสินใจกลับก่อน วันหลังค่อยกลับไปหาเรื่องใหม่ เขาถ่ายทอดประโยคเท่าที่จำได้ดังนี้
"มึงมากันทำไม? มาขอธรรมะอะไรจากกู กูไม่มีธรรมะอะไร จะให้หรอก ธรรมะมันอยู่ที่ตัวมึงนั่นไง ใครๆ เขาว่ากูบ้า มึงไม่กลัวจะบ้าเหมือนกูเรอะ กูว่า กูบ้าแล้วนะ พวกมึงยังบ้ายิ่งกว่ากูอีก... "
พอสามีกราบท่านแล้วเอ่ยปากลา ท่านอุทานออกมาว่า
"น่าจะกลับตั้งนานแล้ว! "
สามีจึงบอกว่า วันหลังจะมาใหม่ ท่านทำตาโต แล้วพูดว่า
"หา! นี่มึงยังกล้าหน้าด้านมาอีกเรอะ"
ตลอดการสนทนา มีแต่คำพูดรุนแรง เสียดสี ผลักไส ไร้เยื่อใย แต่แปลกตรงที่ไม่มีใครโกรธ ได้แต่หัวเราะ เพราะฟังให้ดี ๆ ในถ้อยคำเหล่านั้นมีสาระแฝงอยู่ เรียกว่าบาดอารมณ์ แต่คมคาย ไม่ถูกใจแต่ถูกต้องในเชิงเหตุผล แต่ฉันไม่ใคร่เชื่อถืออะไรนัก เพราะเห็นมามาก ท่าดีๆ พอถึงทีก็เหลว คิดอย่างเดียวว่า "ของแท้ต้องทนทานต่อการพิสูจน์ หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน"
วันต่อมาได้ข่าวว่าอาจารย์หญิงทั้งสอง พาเพื่อนหญิงไปหาท่านอีกคน คนนี้ความรู้สูง ปากกล้า เธอต่อปากต่อคำด้วยตลอดเวลา พอลงจากถ้ำวันนั้น เธอบอกว่าจะมาที่นี่เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย คนที่ถ้ำบอกว่า หลวงปู่ใช้ถ้อยคำเผ็ดร้อนรุนแรงกับเธอ คิดว่าเธอจะขุ่นเคือง แต่เธอก็ไปอีกและยอมรับนับถือหลวงปู่ ปัจจุบันเธอเป็นกำลังสำคัญของวัดในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เธอคืออาจารย์มณีรัตน์ (ติ๋ม)
พอถึงวันเสาร์ เราออกเดินทางแต่เช้า เพื่อให้ทันเลี้ยงเพล พาลูกชายคนเล็ก (เอด) ไปด้วย จากบ้านวิ่งรถไปหัวหิน ๖๐ กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปทางหนองพลับ ๓๐ กิโลเมตร ซ้ายมือจะมีป้ายบอกว่า "ถ้ำไก่หล่น" ซึ่งเป็นทางแคบ ถนนเป็นลูกรัง ผ่านบ้านคนประปราย มีไร่สับปะรดตลอดสองข้างทางประมาณ ๒ กิโลเมตรถึงตัวถ้ำ ลักษณะถ้ำไก่หล่นเป็นป่าเบญจพรรณ โอบล้อมด้วยภูเขา ขวามือเป็นลานไทร ลาดต่ำลงไปเป็นเขื่อน ซึ่งขณะนั้นใช้การไม่ได้ เพราะรั่วซึม กักน้ำไว้ไม่อยู่ เลยไปพอมองเห็นเป็นภูเขา ซ้ายมือคือภูเขาใหญ่อีกลูก ถ้ำไก่หล่นอยู่บนนั้น ตรงกลางเป็นถนน ถ้าเดินไปให้สุดจะถึงริมป่า ซ้ายมือเป็นบันไดขึ้นถ้ำ
ต่อมาเราได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ยังมีทางที่จะมา "ถ้ำไก่หล่น" ใกล้และดีกว่านี้อีก คือ จากเพชรบุรีถึงโรงแรมรีเจนท์ชะอำ พอข้ามสะพานก็ถึงทางแยกบางควาย ขวามือมีป้ายบอกว่า ทางสายชะอำ-ปราณบุรี เลี้ยวเข้าทางนั้นไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงสุดบ้านอ่างหินจะพบทางกำลังก่อสร้าง ๔ เลน (ทางบายพาส หรือถนนเลียบเมืองนั่นเอง ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว) เลี้ยวซ้ายวิ่งไปอีก ๑๙ กิโลเมตร ถึงทางสี่แยกเลี้ยวขวาไปหนองพลับ หรือจะวิ่งอีกเส้นทางก็ได้ คือจากเพชรบุรีวิ่งไปท่ายาง ผ่านเขื่อนเพชร สารเห็ด เขาตอหม้อ ยางชุม โป่งเกตุ โป่งแย้ หนองกระทุ่ม ถึงปากทางถ้ำไก่หล่น เลี้ยวขวา ร่นระยะทางไปอีก ๑๐ กิโลเมตร แต่ระหว่างเขาตอหม้อถึงยาง-ชุม (๗ กิโลเมตร) ถนนไม่ค่อยดี เลือกเอาก็แล้วกันว่าจะไปทางไหน ปัจจุบันจากเพชรบุรีวิ่งตรงไปทางชะอำ ถึงหุบกะพง มีทางแยกขวา ป้ายบอกว่าปราณบุรี วิ่งเลี้ยวขวาไปเลย (ทางบายพาสนั่นเอง)....ทางนี้ดีที่สุด
เราเดินไปตามถนนลูกรังจนสุดแนวป่า ข้างหน้ามีห้องน้ำห้องส้วมเก่าๆ ๒ ห้อง ก่อนจะถึงห้องส้วม ซ้ายมือเป็นบันไดขึ้นถ้ำ ที่ตีนบันไดจะเห็นศาลาหลังคาสังกะสี สร้างขึ้นอย่างลวกๆ หลังเล็กๆ อยู่ข้างขวาของตีนบันได (ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว) เอ้า! ซ้าย หัน! ขึ้นบันไดได้ ๒๗๐ กว่าขั้น ตะไคร่น้ำเกาะตามบันไดเขียวอื๋อ แถมยังสร้างไม่ค่อยได้มาตรฐานนัก กว่าจะถึงข้างบนเหนื่อยหอบจนตัวโยน
พอขึ้นถึงบนเขา ซ้ายมือมีศาลาสร้างใหม่ หลังกะทัดรัดชื่อว่า "ศาลาประชาร่วมใจ" หลังคามุงด้วยหญ้าคา เสาสี่ต้นทำจากต้นไม้ ทาสีแดงแปร๊ด พื้นศาลาทำจากต้นมะพร้าว บนจั่วมีกาแลสีแดง รอบศาลาเป็นลูกกรงมีที่นั่งรอบ ๓ ด้าน (ยกเว้นทางเข้า) ใต้ถุนศาลามีห้องน้ำชาย-หญิง ๒ ห้อง ติดกับห้องน้ำเป็นห้องเก็บของ นอนได้ด้วยใครจะนอนก็ได้ แต่ตอนนั้นมีคุณปราณี สตรีวัยกลางคนอายุประมาณ ๕๐ กว่านอนอยู่ ส่วนใหญ่พวกผู้ชายจะนอนในถ้ำ
จากศาลา (เรายังยืนอยู่บนบันได) ข้างหน้าคือถ้ำ เดิมทีกุฏิพระตั้งขวางปากถ้ำ ตอนนี้ย้ายไปขวามือห่างพอประมาณ (ขวามือของผู้เขียน-ยังหันหน้าเข้าหาถ้ำ) ซ้ายมือห่างออกไปเป็นกุฏิพระเจ้าถิ่น คนเรียกกันว่า "สมภารอาทิตย์" หันมาพิจารณาถ้ำอีกครั้ง จากปากถ้ำ เป็นทางลาดลงไปสู่พื้นถ้ำเป็นอุโมงค์ใหญ่เหมือนท้องพระโรงมีหินงอก หินย้อยแบบถ้ำทั่วๆ ไป เบื้องหน้าเป็นผนังถ้ำ (เหมือนฉากลิเก) มีร้านไม้เตี้ยๆ ตัวใหญ่ ๒ ร้านตั้งพระพุทธรูปองค์น้อยใหญ่ปางต่างๆ และ เครื่องบูชาเต็มไปหมด โดดเด่นสะดุดตาที่สุดคือ พระพุทธรูปองค์ยืนประทับบนแท่นหลังร้าน (จำพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ มีเรื่องสำคัญเล่าตอนหลัง) ฉันเงยหน้าขึ้นดูเพดานถ้ำ ซึ่งอยู่สูงลิบลิ่ว จะมีช่องโหว่กลางเพดานเห็นใบไม้โบกไหวๆ อยู่ตรงช่อง คืนเดือนหงายจะเห็นดวงจันทร์ ดวงดาวส่องแสงงามตา กลางวันมีแสงอาทิตย์ส่องรำไร ช่องนี้แหละมีเรื่องเล่าขานกันว่า นายพรานมายิงไก่ป่าแถบนี้แล้วไก่หายไป แท้ที่จริงไก่ร่วงตกลงสู่พื้นถ้ำตรงนี้เอง จึงขนานนามถ้ำนี้ว่า "ถ้ำไก่หล่น"
ขวามือ (ของผู้เขียน-ยังหันหลังให้ปากถ้ำ) เป็นหลืบเหมือนโรงลิเก ภายในเป็นโพรงใหญ่ แต่เล็กกว่าของด้านนอกครึ่งหนึ่ง มีปล่องทะลุแบบเดียวกัน แต่มีรากไทรเลื้อยเกาะเกี่ยวลงมา มองเหมือนงู ข้างล่างเป็นเนินเตี้ยๆ รองรับ มีศาลเพียงตาหลังเล็กเก่าตั้งอยู่ (ตรงนี้จำไว้ด้วย เพราะสำคัญเช่นกัน)
ย้อนออกมาข้างนอก วันนี้มีคนมาทำบุญหนาตา เพราะเป็นวันหยุด มีคุณไก่ คุณวันเพ็ญ (หน้าตาสะสวย อายุราวๆ ๔๐ ปี) สองสามีภรรยา เจ้าของร้านทองในหัวหิน เป็นโยมอุปัฎฐากใกล้ชิด คุณปราณีเป็นพี่สาวคุณวันเพ็ญ ฉันคิดในใจว่าพระรูปนี้หนีไม่พ้นพวกศิษย์ใกล้ชิดล้อมหน้าล้อมหลังเช่นเคย ผู้คนบนถ้ำบอกว่า หลวงปู่ไม่อยู่ ท่านลงจากถ้ำข้ามฟากไปดูเขาทางเขื่อนโน้น เพื่อสำรวจพื้นที่ก่อนจะนำพระเณรมาธุดงค์ภาคฤดูร้อนนี้ ท่านบวชพระเณรทุกปี ปีละ ๑๐๐ กว่ารูป
มีคนเล่าว่า ท่านมีวัดของท่าน ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ มีชื่อว่า "ธรรมอิสระ" (ชื่อนี้ก็สำคัญ เช่นกันมีที่มาที่ไป ค่อยเล่าภายหลัง) ปัจจุบันได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการใช้ชื่อว่า "วัดอ้อน้อย" (ชื่อนี้มีเรื่องเล่าเหมือนกัน) ที่ถ้ำมีพระแก่ๆ มาอยู่ด้วยอีก ๑ รูป คือ "หลวงตาสุรพันธ์"
เมื่อครู่ฉันพูดถึงสมภารอาทิตย์ ขณะนั้นท่านกำลังเช็ดบาตรอยู่ ใต้กุฏิของท่าน มีคนนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาฉันบนศาลา (ประชาร่วมใจ ใช้เป็นที่ฉันอาหาร-รับแขก) ท่านยิ้มแค่นๆ บอกว่า ฉันเรียบร้อยแล้ว มาทราบทีหลังว่า เดิมทีก็ถูกคอกับหลวงปู่องค์นี้ดี ถึงกับไปเชียร์ให้ชาวหนองพลับมากราบไหว้ แถมยังเที่ยวบอกใครๆว่า หลวงปู่องค์นี้คือหลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร ฉันฟังเขาเล่าว่า พอหลวงปู่มาอยู่ได้ไม่นาน มีผลงานมากมาย พัฒนาถ้ำจนแปลกหูแปลกตา สมภารเลยทำใจไม่ได้ที่พระรูปนี้มาแซงหน้า
เสียงใครคนหนึ่งตะโกนโหวกเหวกบอก "หลวงปู่มาแล้ว" ชั่วอึดใจได้ยินเสียงพูดค่อนข้างดังจากพระภิกษุรูปที่ว่าท่านค่อย ๆ โผล่หน้าขึ้นมาจากบันไดทีละขั้น...ทีละขั้น มือขวาถือไม้เท้าทำจากไม้รวก คะเนอายุประมาณ ๓๐ กว่าๆ รูปร่างสันทัด ผิวเหลืองแบบชาวเอเซียทั่วไป ศีรษะโหนกโดยเฉพาะตรงหน้าผากเลยขึ้นไปถึงกระหม่อม นูนแบบหลังเต่า ใบหน้ายาว คางเป็นเหลี่ยม ขมับ กับแก้มตอบเล็กน้อย จมูกโด่งยาวพอประมาณ (แบบคนไทย ไม่เป็นสันโด่งอย่างฝรั่ง) ปากกว้างโค้งลงนิดๆ ฟันหน้าเรียงห่างๆ นุ่งสบงห่มอังสะสีซีด ที่สะดุดตาคือผ้าสีแดงคล้องคอ
ฉันนึกในใจว่าพระรูปนี้น่ะหรือไม่เห็นมีอะไรแปลกพิเศษเลย อายุก็ยังน้อย เป็นหลวงปู่ได้ยังไง หน้าเด็กเหมือนเณร หน้าตาท่าทางดูยโสและกวนๆ ยังไงไม่รู้ มิหนำซ้ำ เอาผ้าแดงแจ๋มาคล้องคออีก วันนั้นท่านเพิ่งโกนศีรษะ ต่อมาเมื่อผมยาวสังเกตว่า สีผมจะดำาา....ดำเหมือนขนกา มีฆราวาสชายตามหลัง ๒-๓ คน ญาติโยมนั่งรอบนศาลาซึ่งมีอาหารหวานคาวตระเตรียมไว้แล้ว นิมนต์ท่านให้ฉันเพล ท่านเดินไปหยิบจีวรมาห่มคลุม คุณวันเพ็ญบอก "ใครไม่รู้! เอาทุเรียนมาทำบุญ" เธอต้องรีบหยิบออก เพราะท่านแพ้กลิ่น ทุเรียน อ้อ! ไม่ชอบทุเรียน (ฉันนึกในใจ)
ท่านนั่งสวดพิจารณาอาหารบทสั้นๆ แล้วลงมือฉันอาหาร นานๆ ก็หันไปพูดคุยกับบรรดาสานุศิษย์ เสียงดังชัดถ้อยชัดคำแต่ช้า สังเกตว่าทำตัวสบายๆเรื่องที่พูดก็เกี่ยวกับการงานที่กำลังทำอยู่ ปนเปกับเรื่องขำขันของลูกศิษย์ มีดุด่าข้อบกพร่องของฆราวาสญาติโยมใกล้ชิดด้วยภาษาไทยแท้ๆ แต่ไม่มีใครโกรธ ได้แต่หัวเราะกันเป็นที่ครื้นเครง บรรยากาศไม่เหมือนวัดอื่นที่ไปมา จะเงียบสงบพระจะสำรวม เวลาฉันไม่พูดไม่จา แต่ที่นี่จะมีเสียงผู้คนโหวกโหวก และหัวเราะชนิดที่ไม่ติดเบรค เรียกว่าหัวเราะจนนกบินผ่านได้ยินเสียงแทบถลาตกลงพื้นก็ว่าได้
พอฉันเสร็จท่านก็ตะโกนเสียงหวานเชียวว่า "รับพรจ้า"
แน่ะ! พูดจ๊ะจ๋าก็เป็นด้วยเหรอ ผู้คนมารวมตัวที่ศาลาเพื่อรับพร ฉันคลานเข้าไปนั่งใกล้ๆ ท่าน หลังจากสังเกตอยู่ห่างๆ มานาน จะพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนชนิดที่เรียกว่าส่องกล้องกันละ เสียงสวดให้พรต่างจากตอนพูดจาเสียนี่กระไร เยือกเย็นอ่อนหวาน เนิบนาบ เบา แต่ชัดเจน พอสวดจบก็หันขวับมาทางฉัน แล้วถามชนิดตั้งตัวไม่ติด
"อีนี่มาทำไมวะ? "
ฉันสะดุ้งทั้งๆ ที่เสียงนั้นก็เบา และเนิบนาบ คงตกใจคำว่า "อีนี่" กับคำว่า"วะ" ฉันตอบอย่างอึกอักว่า "ตามแฟนมาค่ะ" (คิดคำตอบไม่ทันจึงพูดไปอย่างนั้น)
"ไหนผัวมึง?" (เน้นคำว่า ผัวและมึง) ฉันชี้มือไปที่สามีซึ่งนั่งอยู่รอบนอกหน้าศาลา ท่านมองตามแล้วผุดลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ปากก็พูดพึมพำว่า
"แค่เนี้ยะ อุตส่าห์ตะกายขึ้นมา กูนึกว่าจะมีอะไร ที่แท้ก็ไม่มีอะไร"
แล้วท่านก็ตะโกนว่า "กินข้าวจ้า"
ฉันนึกอยู่ในใจว่า พระรูปนี้แปลกๆ แต่งตัวแปลกๆ (มีผ้าแดงคล้องคอ) พูดจาแปลกๆ ท่าทางแปลกๆ แปลกไปหมด ไม่เหมือนพระทั่วไป พูดไม่เพราะหูเลย แต่ชวนให้ฟังและคิด ถึงกระนั้นก็เถอะ เพิ่งพบกันวันเดียวยังตัดสินอะไรไม่ได้หรอก ท่านเดินออกจากศาลาไป ปล่อยให้พวกเรารับประทานอาหารตามลำพัง ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารอีสานเช่น ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ รสจัดจ้าน ตอนท่านเดินผ่านฉันไปก็ด่าไปว่า เผ็ดเกิน หวานเกิน เค็มเกิน จืดเกิน ไม่อร่อยสักอย่าง... ไอ้นี่น้ำปลาหกใส่ใช่ไหม ไอ้นั่นใส่พริกหมดต้นหรือยังทำกับข้าวอย่างนี้น่าให้ผัวทิ้ง ฯลฯ
สรุปแล้ว ไม่มีดีสักอย่าง ตอนนั้นฉันคิดว่า พระรูปนี้จู้จี้จัง พูดมากปากจัดอีกต่างหาก พอด่าว่าเสร็จก็จะสอนว่า เคล็ดลับในการทำอาหารให้อร่อยมีอะไรบ้าง อ้อ! มีความรู้เรื่องอาหารเหมือนกันนะ
หลังจากรับประทานอาหารเสร็จสรรพ พวกผู้หญิงช่วยกันล้างจาน ผู้ชายไปทำงานต่อ (พัฒนาถ้ำ) ผู้คนทยอยกลับ เหลือคนบางตา ลูกชายคนเล็กซึ่งมาด้วย ขอตัวไปเดินเล่นในถ้ำตามประสาเด็กซุกซน เราสองตายายนั่งคอยอยู่ในศาลาเป็นนานสองนาน ไม่เห็นท่านออกมาอีกเลย จึงลุกไปถามลูกศิษย์ (สังเกตว่าแต่ละคนจะไม่อยู่นิ่ง ทำงานกันง่วน) ว่าท่านไปไหน แต่ละคนจะอึกอักสุดท้ายคุณปราณีคงสงสารเรา เธอบุ้ยใบ้ว่า "หลวงปู่อยู่ทางโน้นค่ะ" หมายถึงระหว่างกุฏิกับห้องน้ำจะมีทางเดินแคบๆ มีชะง่อนหิน ท่านหลบอยู่แถวๆ นั้นแหละ
เราไม่เข้าใจ ทำสีหน้างุนงงว่า ทำไมถึงไม่ออกมาต้อนรับฆราวาสญาติโยมแล้วสนทนาธรรม
คุณปราณีบอกว่า "ท่านไม่อยากให้ใครมารู้จัก ท่านหลบอย่างนี้ประจำ คุณอย่าบอกว่าฉันบอกนะ เดี๋ยวโดนเอ็ด"
แปลก! ฉันไม่เข้าใจว่า นั่นเป็นแบบฉบับของท่าน ต่อมาพอสนิทคุ้นเคยกัน ถึงได้รู้ว่าท่านจะหลบผู้คน ถ้าไม่หลบก็จะพูดจาแรงๆ ถ้าใครทนไม่ได้ก็อดพบของดี ส่วนใหญ่อดทนจนได้พบ และจะติดตามมาหาเป็นหนสอง...สาม... เรากำลังถูกทดสอบ สามีไม่ค่อยวิตกกังวล เพราะเขามาพบแล้วครั้งหนึ่ง ย่อมรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร แต่ฉันรู้สึกอึดอัดจะชวนกลับท่าเดียว เขาบอกให้ใจเย็นๆ
เราเดินผ่านกุฏิ ผ่านโรงครัวที่ติดข้างกุฏิ ทางเดินแคบนิดเดียว น่ากลัวจะหล่นตกเขาจริงๆ ภาพที่เห็นคือ ท่านนั่งยองๆ อยู่บนชะง่อนหินใกล้ๆ ครัว ทำหน้าทำตาเฉยเมย ไม่รู้ไม่ชี้ เรารู้สึกเก้อๆ ยืนเก้ๆ กังๆ อยู่ชั่วครู่ก็ถอยออกมาปักหลักหน้าศาลาประชาร่วมใจอีกครั้ง
สักครู่ท่านเดินกลับมานั่งที่ศาลา ท่านนั่งบนที่นั่งซึ่งตียกขึ้นมารอบศาลา ตะแคงข้างให้เรา หันไปมองวิวทิวทัศน์รอบเชิงเขา ทำท่าไม่รู้ไม่ชี้อีก สามีชวนให้เข้าไปนั่งในศาลาอีกครั้ง ฉันขยับตัวด้วยความอึดอัด หันมามองหน้าสามีทำสายตาถามว่าจะเอายังไง จะนั่งเป็นใบ้กันอยู่อย่างนี้อีกนานไหม ท่าทางท่านไม่ยินดียินร้าย ไม่รับแขกเอาเสียเลย
ทันใดนั้น ท่านก็ถามสามีว่า "ทำไมมึงถึงขยันพาคนโน้นคนนี้ มาหากูเรื่อยวะ? "
เขาตอบว่า "จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ใช่หรอกครับ นี่ลูกผม เมียผม คนในครอบ-ครัวของผมไม่ใช่คนอื่น ถ้านอกจากนี้ ผมคงไม่พามาหรอกครับ"
จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ กลับจากโรงเรียนตอนเย็น พบว่าสามีมีท่าทางตื่นเต้นขณะพูดกับฉันทำนองว่า อาจารย์หญิงวิทยาลัยครูเพชรบุรี (ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นสถาบันราชภัฏ) ชื่อพี่บุญล้อม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงาน มาชักชวน เขาให้ช่วยพาไป "ถ้ำไก่หล่น" ได้ข่าวว่ามีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาพำนักอยู่ รายละเอียดยังไม่ทราบ แต่ลูกศิษย์ของอาจารย์หญิง ซึ่งเป็นทหารค่ายธนรัชต์ ปราณบุรี บอกว่าสงสัยจะเป็น "หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร" ฉันหูผึ่ง ตาลุกขึ้นมาทันที เพราะเคยอ่านประวัติอันแสนลี้ลับพิสดารของหลวงปู่รูปนี้ในนิตยสารฉบับหนึ่ง นานมาแล้ว คิดว่าเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันมา ไม่เชื่อว่าจะมีจริง ถึงมีจริงก็ไม่เชื่อว่าใครจะได้พบท่านง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ด้วยความอยากรู้อยากเห็นเราต้องพิสูจน์ ตกลงกันว่าให้เขาไปก่อน ถ้าเป็นจริงตามคำร่ำลือ ก็อยู่สนทนาซักถามธรรมะให้มากๆ ถ้าไม่จริงจงรีบกลับ จะให้ดีควรจับตามองว่ามีประสงค์อะไรกันแน่ ถึงได้ปล่อยข่าวแอบอ้างว่าเป็นหลวงปู่เทพ-โลกอุดร
สมัยก่อนเราเป็นคนไม่เข้าวัดทั้งๆ ที่จังหวัดเพชรบุรีมีวัดเรียงรายเต็มไปหมด แต่ไม่ประทับใจในวัด หรือพระสงฆ์เอาเสียเลย ไม่เห็นท่านทำอะไรนอกจากบิณฑบาตรับนิมนต์งานบุญ ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับชีวิตเราสักเท่าไร ต่างคนต่างอยู่ดีกว่า ถ้าจะสนใจพระก็สนใจเรื่องอภินิหาร เครื่องรางของขลังมากกว่าธรรมะ ต่อมาพอชีวิตประสบแต่เคราะห์กรรม จึงเริ่มหันหน้าเข้าหาวัด เคยไปบวชชีพราหมณ์ที่วัดใกล้บ้าน ซึ่งเลือกแล้วว่าพระสงฆ์วัดนี้มีข้อวัตรปฏิบัติเคร่งดี แถมฉันอาหารมังสวิรัติอีกต่างหาก ยังรู้สึกประทับใจ กับชีวิตคนวัดที่มีแต่ความสงบ เยือกเย็น แต่นานไปก็ถอยห่างจากวัดนั้น เพราะรู้สึกว่าแนวนี้ไม่ถูกกับจริตของเรา ยังมีอะไรๆ ให้เคลือบแคลงสงสัย ซึ่งหาคำตอบไม่ได้
จากนั้นก็ท่องเที่ยวไปทุกวัดที่ดังๆ ได้พบเกจิอาจารย์หลายรูปแบบที่มีแนวการสอนเฉพาะตน ประทับใจในบรรยากาศอันสวยงามของโบสถ์วิหาร และความร่มรื่นของมวลแมกไม้ที่ขึ้นเขียวครึ้ม แต่มาติดขัดตรงที่ว่า เราไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเจ้าสำนักได้เลย มีหน่วยคุ้มกันพิเศษบ้าง บรรดาศิษย์ใกล้ชิดบ้างประกอบกัเป็นคนช่างระแวงสงสัย พอเห็นอะไรไม่ชอบมาพากลก็เริ่มถอย เรียกว่า ไม่ปิ๊งในธรรมะ บอกกับตัวเองว่า นี่ไม่ใช่แนวที่เราชอบ พอมีพระบางรูปที่เคารพนับถือได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนตรงแนวดี แต่ท่านก็อยู่ไกล อายุท่านก็มาก ไม่มีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิด ได้แต่หาหนังสืออ่าน
สาเหตุที่อาจารย์หญิงมาชวนสามีไปเป็นเพื่อนเพราะ หนึ่ง เขาเป็นผู้ชาย เข้าป่าเข้าดงจะอุ่นใจกว่าเพศเดียวกัน สอง เขามีรถปิคอัพ น่าจะสะดวกในการบุกป่ากว่ารถเก๋งคันงาม พูดถึงปิคอัพคันนี้ มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง ปีก่อนโน้นจอดทิ้งไว้หน้าบ้าน พอเช้าขึ้นมาก็อันตรธารหายไปเสียแล้ว หนึ่งปีให้หลังได้คืนมาอย่างไม่คาดฝัน โดยตำรวจเมืองปราณบุรีโทรศัพท์มาแจ้งว่า พบรถของเราที่นั่น เราไม่ได้วิ่งเต้นแจ้งความบนบานศาลกล่าวอะไรเลย ส่วน รายละเอียดว่า รถคันนี้หายไปอย่างไร ไปอยู่กับใคร ก็อย่าไปสนใจ เลย เอาเป็นว่าพอได้คืนมาไม่กี่วัน อาจารย์หญิงเพื่อนสามีมาชวนไปหาพระที่ถ้ำไก่หล่น รถคันนี้ทำให้เราได้พบพระประหลาด และยังได้รับใช้ท่านอีกมากมายในเวลาต่อมา
ตอนแรกนัดกันว่าจะไปพรุ่งนี้ (วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม) สามีนึกอย่างไรไม่ทราบ ขอเลื่อนเป็นวันพุธ พอเช้าวันพุธ ฉัน ไปโรงเรียนตามปกติ ส่วนเขาไปถ้ำกับพี่บุญล้อม มีอาจารย์หญิง (พี่ดวงพร) ไปด้วยอีกคน รวมเป็นสามคน จนเย็นมากแล้วยังไม่กลับกันมาอีก ประมาณหนึ่งทุ่ม เขาจึงกลับมาด้วยท่าทางอิดโรย แต่แววตาสดใส บอกถึงความตื่นเต้นพอใจอะไรสักอย่าง ฉันรีบ ซักถามทันทีว่าเป็นอย่างไร เขาจุ๊ปาก ยกหัวแม่มือชูร่า แล้วเล่า รายละเอียดว่า
ถ้ำไก่หล่นไม่ใช่วัด ไม่ใช่สำนักสงฆ์ แต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีพระธุดงค์แวะเวียนมารูปแล้วรูปเล่า ต้องปีนบันไดขึ้นไปสองร้อยกว่าขั้น ส่วนรถก็จอดทิ้งไว้ข้างล่าง เป็นลานกว้าง มีป่าเบญจพรรณ ล้อมรอบไปด้วยภูเขา ที่เหนื่อยเพราะปีนบันไดนี่เอง อายุก็มาก อ้วนก็อ้วน พอฉันถามว่า พระล่ะเป็นอย่างไร เขาบอกว่ายังหนุ่มอยู่เลย แต่ใครๆ เรียกว่า "หลวงปู่" พูดจาไม่ไพเราะ พูดมึงๆ กูๆ ฉันฟังแล้ว อี๊! ชักยังไงเสียแล้ว ฉันข้องใจตรงที่ว่าเป็นพระหนุ่ม แต่คนเรียกหลวงปู่ แถมพูดมึงกูอีก ฟังแล้วไม่เข้าท่า แล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เขาก็อธิบายไม่ถูก ฉันถามใหม่ว่า อ้วนหรือผอม เขาบอกไม่อ้วนไม่ผอม แล้วสูงหรือเตี้ยล่ะ สูงๆ เตี้ยๆ ยังไงไม่รู้ บอกไม่ถูก ถ้างั้นขาวหรือดำ ไม่ขาวไม่ดำนะบอกไม่ค่อย ถูกอีก (คนติงต๊อง แค่นี้ก็บอกไม่ถูก) เฮ้อ! เป็นอันว่าไม่ได้ความสักอย่าง หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร หน้าตาเป็นอย่างไรเขาไม่รู้จัก ฉันค้นหนังสือโลกทิพย์ฉบับเก่าๆ มาให้เขาดู เขาส่ายหน้าบอกไม่เหมือน ฉันนึกแล้วว่าต้องไม่ใช่ มันไม่ง่ายอย่างที่คิดหรอก เขาบอก ว่าช่างเถอะเรื่องนั้น เขาสนใจธรรมะในตัวท่านมากกว่า ไม่เคยเห็น พระแบบนี้มาก่อน พูดจาไม่ไพเราะ แต่ภูมิปัญญาสูงมาก
ท่านเพิ่งกลับมาจากกรุงเทพฯ ความจริงท่านมีกำหนดกลับวันที่ ๒๑ มีนาคม คนที่อยู่บนถ้ำบอกว่า ไม่ทราบว่าทำไมหลวงปู่ถึงกลับ เร็วกว่ากำหนด ได้ยินท่านบอกเพียงว่า "ถ้ากูไม่กลับวันนี้ ก็ไม่พบไอ้พวกนี้ซิ มันร่ำๆ จะมาหากูตั้ง ๒ วันแล้วนี่! "
สามีแปลกใจว่าทำไมท่านจึงทราบว่า เขาร่ำๆ จะมาหา ๒ วัน แล้ว! พวกที่ไป อยู่สนทนาโต้ตอบกับท่านจนเย็นจึงลากลับ สามีเล่าว่า เขาอยากลองภูมิว่าจะแค่ไหน เลยแกล้งถามโน่นถามนี่ ชนิดจะต้อนให้เข้ามุม กะถลุงให้หมอบ ชอบนักเรื่องจับผิดพระ (ไม่ทราบบาปหรือเปล่า) แต่ภิกษุรูปนี้ตอบได้หมด เรียกว่าโต้วาทีกันอย่างเผ็ดร้อนบนยอดเขา เขาแกล้งพูดเอะอะยียวนใส่หลายครั้ง แต่ท่านก็ไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร จนใกล้ค่ำ สามีตัดสินใจกลับก่อน วันหลังค่อยกลับไปหาเรื่องใหม่ เขาถ่ายทอดประโยคเท่าที่จำได้ดังนี้
"มึงมากันทำไม? มาขอธรรมะอะไรจากกู กูไม่มีธรรมะอะไร จะให้หรอก ธรรมะมันอยู่ที่ตัวมึงนั่นไง ใครๆ เขาว่ากูบ้า มึงไม่กลัวจะบ้าเหมือนกูเรอะ กูว่า กูบ้าแล้วนะ พวกมึงยังบ้ายิ่งกว่ากูอีก... "
พอสามีกราบท่านแล้วเอ่ยปากลา ท่านอุทานออกมาว่า
"น่าจะกลับตั้งนานแล้ว! "
สามีจึงบอกว่า วันหลังจะมาใหม่ ท่านทำตาโต แล้วพูดว่า
"หา! นี่มึงยังกล้าหน้าด้านมาอีกเรอะ"
ตลอดการสนทนา มีแต่คำพูดรุนแรง เสียดสี ผลักไส ไร้เยื่อใย แต่แปลกตรงที่ไม่มีใครโกรธ ได้แต่หัวเราะ เพราะฟังให้ดี ๆ ในถ้อยคำเหล่านั้นมีสาระแฝงอยู่ เรียกว่าบาดอารมณ์ แต่คมคาย ไม่ถูกใจแต่ถูกต้องในเชิงเหตุผล แต่ฉันไม่ใคร่เชื่อถืออะไรนัก เพราะเห็นมามาก ท่าดีๆ พอถึงทีก็เหลว คิดอย่างเดียวว่า "ของแท้ต้องทนทานต่อการพิสูจน์ หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน"
วันต่อมาได้ข่าวว่าอาจารย์หญิงทั้งสอง พาเพื่อนหญิงไปหาท่านอีกคน คนนี้ความรู้สูง ปากกล้า เธอต่อปากต่อคำด้วยตลอดเวลา พอลงจากถ้ำวันนั้น เธอบอกว่าจะมาที่นี่เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย คนที่ถ้ำบอกว่า หลวงปู่ใช้ถ้อยคำเผ็ดร้อนรุนแรงกับเธอ คิดว่าเธอจะขุ่นเคือง แต่เธอก็ไปอีกและยอมรับนับถือหลวงปู่ ปัจจุบันเธอเป็นกำลังสำคัญของวัดในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เธอคืออาจารย์มณีรัตน์ (ติ๋ม)
พอถึงวันเสาร์ เราออกเดินทางแต่เช้า เพื่อให้ทันเลี้ยงเพล พาลูกชายคนเล็ก (เอด) ไปด้วย จากบ้านวิ่งรถไปหัวหิน ๖๐ กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปทางหนองพลับ ๓๐ กิโลเมตร ซ้ายมือจะมีป้ายบอกว่า "ถ้ำไก่หล่น" ซึ่งเป็นทางแคบ ถนนเป็นลูกรัง ผ่านบ้านคนประปราย มีไร่สับปะรดตลอดสองข้างทางประมาณ ๒ กิโลเมตรถึงตัวถ้ำ ลักษณะถ้ำไก่หล่นเป็นป่าเบญจพรรณ โอบล้อมด้วยภูเขา ขวามือเป็นลานไทร ลาดต่ำลงไปเป็นเขื่อน ซึ่งขณะนั้นใช้การไม่ได้ เพราะรั่วซึม กักน้ำไว้ไม่อยู่ เลยไปพอมองเห็นเป็นภูเขา ซ้ายมือคือภูเขาใหญ่อีกลูก ถ้ำไก่หล่นอยู่บนนั้น ตรงกลางเป็นถนน ถ้าเดินไปให้สุดจะถึงริมป่า ซ้ายมือเป็นบันไดขึ้นถ้ำ
ต่อมาเราได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ยังมีทางที่จะมา "ถ้ำไก่หล่น" ใกล้และดีกว่านี้อีก คือ จากเพชรบุรีถึงโรงแรมรีเจนท์ชะอำ พอข้ามสะพานก็ถึงทางแยกบางควาย ขวามือมีป้ายบอกว่า ทางสายชะอำ-ปราณบุรี เลี้ยวเข้าทางนั้นไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงสุดบ้านอ่างหินจะพบทางกำลังก่อสร้าง ๔ เลน (ทางบายพาส หรือถนนเลียบเมืองนั่นเอง ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว) เลี้ยวซ้ายวิ่งไปอีก ๑๙ กิโลเมตร ถึงทางสี่แยกเลี้ยวขวาไปหนองพลับ หรือจะวิ่งอีกเส้นทางก็ได้ คือจากเพชรบุรีวิ่งไปท่ายาง ผ่านเขื่อนเพชร สารเห็ด เขาตอหม้อ ยางชุม โป่งเกตุ โป่งแย้ หนองกระทุ่ม ถึงปากทางถ้ำไก่หล่น เลี้ยวขวา ร่นระยะทางไปอีก ๑๐ กิโลเมตร แต่ระหว่างเขาตอหม้อถึงยาง-ชุม (๗ กิโลเมตร) ถนนไม่ค่อยดี เลือกเอาก็แล้วกันว่าจะไปทางไหน ปัจจุบันจากเพชรบุรีวิ่งตรงไปทางชะอำ ถึงหุบกะพง มีทางแยกขวา ป้ายบอกว่าปราณบุรี วิ่งเลี้ยวขวาไปเลย (ทางบายพาสนั่นเอง)....ทางนี้ดีที่สุด
เราเดินไปตามถนนลูกรังจนสุดแนวป่า ข้างหน้ามีห้องน้ำห้องส้วมเก่าๆ ๒ ห้อง ก่อนจะถึงห้องส้วม ซ้ายมือเป็นบันไดขึ้นถ้ำ ที่ตีนบันไดจะเห็นศาลาหลังคาสังกะสี สร้างขึ้นอย่างลวกๆ หลังเล็กๆ อยู่ข้างขวาของตีนบันได (ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งไปแล้ว) เอ้า! ซ้าย หัน! ขึ้นบันไดได้ ๒๗๐ กว่าขั้น ตะไคร่น้ำเกาะตามบันไดเขียวอื๋อ แถมยังสร้างไม่ค่อยได้มาตรฐานนัก กว่าจะถึงข้างบนเหนื่อยหอบจนตัวโยน
พอขึ้นถึงบนเขา ซ้ายมือมีศาลาสร้างใหม่ หลังกะทัดรัดชื่อว่า "ศาลาประชาร่วมใจ" หลังคามุงด้วยหญ้าคา เสาสี่ต้นทำจากต้นไม้ ทาสีแดงแปร๊ด พื้นศาลาทำจากต้นมะพร้าว บนจั่วมีกาแลสีแดง รอบศาลาเป็นลูกกรงมีที่นั่งรอบ ๓ ด้าน (ยกเว้นทางเข้า) ใต้ถุนศาลามีห้องน้ำชาย-หญิง ๒ ห้อง ติดกับห้องน้ำเป็นห้องเก็บของ นอนได้ด้วยใครจะนอนก็ได้ แต่ตอนนั้นมีคุณปราณี สตรีวัยกลางคนอายุประมาณ ๕๐ กว่านอนอยู่ ส่วนใหญ่พวกผู้ชายจะนอนในถ้ำ
จากศาลา (เรายังยืนอยู่บนบันได) ข้างหน้าคือถ้ำ เดิมทีกุฏิพระตั้งขวางปากถ้ำ ตอนนี้ย้ายไปขวามือห่างพอประมาณ (ขวามือของผู้เขียน-ยังหันหน้าเข้าหาถ้ำ) ซ้ายมือห่างออกไปเป็นกุฏิพระเจ้าถิ่น คนเรียกกันว่า "สมภารอาทิตย์" หันมาพิจารณาถ้ำอีกครั้ง จากปากถ้ำ เป็นทางลาดลงไปสู่พื้นถ้ำเป็นอุโมงค์ใหญ่เหมือนท้องพระโรงมีหินงอก หินย้อยแบบถ้ำทั่วๆ ไป เบื้องหน้าเป็นผนังถ้ำ (เหมือนฉากลิเก) มีร้านไม้เตี้ยๆ ตัวใหญ่ ๒ ร้านตั้งพระพุทธรูปองค์น้อยใหญ่ปางต่างๆ และ เครื่องบูชาเต็มไปหมด โดดเด่นสะดุดตาที่สุดคือ พระพุทธรูปองค์ยืนประทับบนแท่นหลังร้าน (จำพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ มีเรื่องสำคัญเล่าตอนหลัง) ฉันเงยหน้าขึ้นดูเพดานถ้ำ ซึ่งอยู่สูงลิบลิ่ว จะมีช่องโหว่กลางเพดานเห็นใบไม้โบกไหวๆ อยู่ตรงช่อง คืนเดือนหงายจะเห็นดวงจันทร์ ดวงดาวส่องแสงงามตา กลางวันมีแสงอาทิตย์ส่องรำไร ช่องนี้แหละมีเรื่องเล่าขานกันว่า นายพรานมายิงไก่ป่าแถบนี้แล้วไก่หายไป แท้ที่จริงไก่ร่วงตกลงสู่พื้นถ้ำตรงนี้เอง จึงขนานนามถ้ำนี้ว่า "ถ้ำไก่หล่น"
ขวามือ (ของผู้เขียน-ยังหันหลังให้ปากถ้ำ) เป็นหลืบเหมือนโรงลิเก ภายในเป็นโพรงใหญ่ แต่เล็กกว่าของด้านนอกครึ่งหนึ่ง มีปล่องทะลุแบบเดียวกัน แต่มีรากไทรเลื้อยเกาะเกี่ยวลงมา มองเหมือนงู ข้างล่างเป็นเนินเตี้ยๆ รองรับ มีศาลเพียงตาหลังเล็กเก่าตั้งอยู่ (ตรงนี้จำไว้ด้วย เพราะสำคัญเช่นกัน)
ย้อนออกมาข้างนอก วันนี้มีคนมาทำบุญหนาตา เพราะเป็นวันหยุด มีคุณไก่ คุณวันเพ็ญ (หน้าตาสะสวย อายุราวๆ ๔๐ ปี) สองสามีภรรยา เจ้าของร้านทองในหัวหิน เป็นโยมอุปัฎฐากใกล้ชิด คุณปราณีเป็นพี่สาวคุณวันเพ็ญ ฉันคิดในใจว่าพระรูปนี้หนีไม่พ้นพวกศิษย์ใกล้ชิดล้อมหน้าล้อมหลังเช่นเคย ผู้คนบนถ้ำบอกว่า หลวงปู่ไม่อยู่ ท่านลงจากถ้ำข้ามฟากไปดูเขาทางเขื่อนโน้น เพื่อสำรวจพื้นที่ก่อนจะนำพระเณรมาธุดงค์ภาคฤดูร้อนนี้ ท่านบวชพระเณรทุกปี ปีละ ๑๐๐ กว่ารูป
มีคนเล่าว่า ท่านมีวัดของท่าน ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จอยู่ที่ถนนมาลัยแมน ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ขณะนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ มีชื่อว่า "ธรรมอิสระ" (ชื่อนี้ก็สำคัญ เช่นกันมีที่มาที่ไป ค่อยเล่าภายหลัง) ปัจจุบันได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการใช้ชื่อว่า "วัดอ้อน้อย" (ชื่อนี้มีเรื่องเล่าเหมือนกัน) ที่ถ้ำมีพระแก่ๆ มาอยู่ด้วยอีก ๑ รูป คือ "หลวงตาสุรพันธ์"
เมื่อครู่ฉันพูดถึงสมภารอาทิตย์ ขณะนั้นท่านกำลังเช็ดบาตรอยู่ ใต้กุฏิของท่าน มีคนนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาฉันบนศาลา (ประชาร่วมใจ ใช้เป็นที่ฉันอาหาร-รับแขก) ท่านยิ้มแค่นๆ บอกว่า ฉันเรียบร้อยแล้ว มาทราบทีหลังว่า เดิมทีก็ถูกคอกับหลวงปู่องค์นี้ดี ถึงกับไปเชียร์ให้ชาวหนองพลับมากราบไหว้ แถมยังเที่ยวบอกใครๆว่า หลวงปู่องค์นี้คือหลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร ฉันฟังเขาเล่าว่า พอหลวงปู่มาอยู่ได้ไม่นาน มีผลงานมากมาย พัฒนาถ้ำจนแปลกหูแปลกตา สมภารเลยทำใจไม่ได้ที่พระรูปนี้มาแซงหน้า
เสียงใครคนหนึ่งตะโกนโหวกเหวกบอก "หลวงปู่มาแล้ว" ชั่วอึดใจได้ยินเสียงพูดค่อนข้างดังจากพระภิกษุรูปที่ว่าท่านค่อย ๆ โผล่หน้าขึ้นมาจากบันไดทีละขั้น...ทีละขั้น มือขวาถือไม้เท้าทำจากไม้รวก คะเนอายุประมาณ ๓๐ กว่าๆ รูปร่างสันทัด ผิวเหลืองแบบชาวเอเซียทั่วไป ศีรษะโหนกโดยเฉพาะตรงหน้าผากเลยขึ้นไปถึงกระหม่อม นูนแบบหลังเต่า ใบหน้ายาว คางเป็นเหลี่ยม ขมับ กับแก้มตอบเล็กน้อย จมูกโด่งยาวพอประมาณ (แบบคนไทย ไม่เป็นสันโด่งอย่างฝรั่ง) ปากกว้างโค้งลงนิดๆ ฟันหน้าเรียงห่างๆ นุ่งสบงห่มอังสะสีซีด ที่สะดุดตาคือผ้าสีแดงคล้องคอ
ฉันนึกในใจว่าพระรูปนี้น่ะหรือไม่เห็นมีอะไรแปลกพิเศษเลย อายุก็ยังน้อย เป็นหลวงปู่ได้ยังไง หน้าเด็กเหมือนเณร หน้าตาท่าทางดูยโสและกวนๆ ยังไงไม่รู้ มิหนำซ้ำ เอาผ้าแดงแจ๋มาคล้องคออีก วันนั้นท่านเพิ่งโกนศีรษะ ต่อมาเมื่อผมยาวสังเกตว่า สีผมจะดำาา....ดำเหมือนขนกา มีฆราวาสชายตามหลัง ๒-๓ คน ญาติโยมนั่งรอบนศาลาซึ่งมีอาหารหวานคาวตระเตรียมไว้แล้ว นิมนต์ท่านให้ฉันเพล ท่านเดินไปหยิบจีวรมาห่มคลุม คุณวันเพ็ญบอก "ใครไม่รู้! เอาทุเรียนมาทำบุญ" เธอต้องรีบหยิบออก เพราะท่านแพ้กลิ่น ทุเรียน อ้อ! ไม่ชอบทุเรียน (ฉันนึกในใจ)
ท่านนั่งสวดพิจารณาอาหารบทสั้นๆ แล้วลงมือฉันอาหาร นานๆ ก็หันไปพูดคุยกับบรรดาสานุศิษย์ เสียงดังชัดถ้อยชัดคำแต่ช้า สังเกตว่าทำตัวสบายๆเรื่องที่พูดก็เกี่ยวกับการงานที่กำลังทำอยู่ ปนเปกับเรื่องขำขันของลูกศิษย์ มีดุด่าข้อบกพร่องของฆราวาสญาติโยมใกล้ชิดด้วยภาษาไทยแท้ๆ แต่ไม่มีใครโกรธ ได้แต่หัวเราะกันเป็นที่ครื้นเครง บรรยากาศไม่เหมือนวัดอื่นที่ไปมา จะเงียบสงบพระจะสำรวม เวลาฉันไม่พูดไม่จา แต่ที่นี่จะมีเสียงผู้คนโหวกโหวก และหัวเราะชนิดที่ไม่ติดเบรค เรียกว่าหัวเราะจนนกบินผ่านได้ยินเสียงแทบถลาตกลงพื้นก็ว่าได้
พอฉันเสร็จท่านก็ตะโกนเสียงหวานเชียวว่า "รับพรจ้า"
แน่ะ! พูดจ๊ะจ๋าก็เป็นด้วยเหรอ ผู้คนมารวมตัวที่ศาลาเพื่อรับพร ฉันคลานเข้าไปนั่งใกล้ๆ ท่าน หลังจากสังเกตอยู่ห่างๆ มานาน จะพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนชนิดที่เรียกว่าส่องกล้องกันละ เสียงสวดให้พรต่างจากตอนพูดจาเสียนี่กระไร เยือกเย็นอ่อนหวาน เนิบนาบ เบา แต่ชัดเจน พอสวดจบก็หันขวับมาทางฉัน แล้วถามชนิดตั้งตัวไม่ติด
"อีนี่มาทำไมวะ? "
ฉันสะดุ้งทั้งๆ ที่เสียงนั้นก็เบา และเนิบนาบ คงตกใจคำว่า "อีนี่" กับคำว่า"วะ" ฉันตอบอย่างอึกอักว่า "ตามแฟนมาค่ะ" (คิดคำตอบไม่ทันจึงพูดไปอย่างนั้น)
"ไหนผัวมึง?" (เน้นคำว่า ผัวและมึง) ฉันชี้มือไปที่สามีซึ่งนั่งอยู่รอบนอกหน้าศาลา ท่านมองตามแล้วผุดลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ปากก็พูดพึมพำว่า
"แค่เนี้ยะ อุตส่าห์ตะกายขึ้นมา กูนึกว่าจะมีอะไร ที่แท้ก็ไม่มีอะไร"
แล้วท่านก็ตะโกนว่า "กินข้าวจ้า"
ฉันนึกอยู่ในใจว่า พระรูปนี้แปลกๆ แต่งตัวแปลกๆ (มีผ้าแดงคล้องคอ) พูดจาแปลกๆ ท่าทางแปลกๆ แปลกไปหมด ไม่เหมือนพระทั่วไป พูดไม่เพราะหูเลย แต่ชวนให้ฟังและคิด ถึงกระนั้นก็เถอะ เพิ่งพบกันวันเดียวยังตัดสินอะไรไม่ได้หรอก ท่านเดินออกจากศาลาไป ปล่อยให้พวกเรารับประทานอาหารตามลำพัง ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารอีสานเช่น ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ รสจัดจ้าน ตอนท่านเดินผ่านฉันไปก็ด่าไปว่า เผ็ดเกิน หวานเกิน เค็มเกิน จืดเกิน ไม่อร่อยสักอย่าง... ไอ้นี่น้ำปลาหกใส่ใช่ไหม ไอ้นั่นใส่พริกหมดต้นหรือยังทำกับข้าวอย่างนี้น่าให้ผัวทิ้ง ฯลฯ
สรุปแล้ว ไม่มีดีสักอย่าง ตอนนั้นฉันคิดว่า พระรูปนี้จู้จี้จัง พูดมากปากจัดอีกต่างหาก พอด่าว่าเสร็จก็จะสอนว่า เคล็ดลับในการทำอาหารให้อร่อยมีอะไรบ้าง อ้อ! มีความรู้เรื่องอาหารเหมือนกันนะ
หลังจากรับประทานอาหารเสร็จสรรพ พวกผู้หญิงช่วยกันล้างจาน ผู้ชายไปทำงานต่อ (พัฒนาถ้ำ) ผู้คนทยอยกลับ เหลือคนบางตา ลูกชายคนเล็กซึ่งมาด้วย ขอตัวไปเดินเล่นในถ้ำตามประสาเด็กซุกซน เราสองตายายนั่งคอยอยู่ในศาลาเป็นนานสองนาน ไม่เห็นท่านออกมาอีกเลย จึงลุกไปถามลูกศิษย์ (สังเกตว่าแต่ละคนจะไม่อยู่นิ่ง ทำงานกันง่วน) ว่าท่านไปไหน แต่ละคนจะอึกอักสุดท้ายคุณปราณีคงสงสารเรา เธอบุ้ยใบ้ว่า "หลวงปู่อยู่ทางโน้นค่ะ" หมายถึงระหว่างกุฏิกับห้องน้ำจะมีทางเดินแคบๆ มีชะง่อนหิน ท่านหลบอยู่แถวๆ นั้นแหละ
เราไม่เข้าใจ ทำสีหน้างุนงงว่า ทำไมถึงไม่ออกมาต้อนรับฆราวาสญาติโยมแล้วสนทนาธรรม
คุณปราณีบอกว่า "ท่านไม่อยากให้ใครมารู้จัก ท่านหลบอย่างนี้ประจำ คุณอย่าบอกว่าฉันบอกนะ เดี๋ยวโดนเอ็ด"
แปลก! ฉันไม่เข้าใจว่า นั่นเป็นแบบฉบับของท่าน ต่อมาพอสนิทคุ้นเคยกัน ถึงได้รู้ว่าท่านจะหลบผู้คน ถ้าไม่หลบก็จะพูดจาแรงๆ ถ้าใครทนไม่ได้ก็อดพบของดี ส่วนใหญ่อดทนจนได้พบ และจะติดตามมาหาเป็นหนสอง...สาม... เรากำลังถูกทดสอบ สามีไม่ค่อยวิตกกังวล เพราะเขามาพบแล้วครั้งหนึ่ง ย่อมรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร แต่ฉันรู้สึกอึดอัดจะชวนกลับท่าเดียว เขาบอกให้ใจเย็นๆ
เราเดินผ่านกุฏิ ผ่านโรงครัวที่ติดข้างกุฏิ ทางเดินแคบนิดเดียว น่ากลัวจะหล่นตกเขาจริงๆ ภาพที่เห็นคือ ท่านนั่งยองๆ อยู่บนชะง่อนหินใกล้ๆ ครัว ทำหน้าทำตาเฉยเมย ไม่รู้ไม่ชี้ เรารู้สึกเก้อๆ ยืนเก้ๆ กังๆ อยู่ชั่วครู่ก็ถอยออกมาปักหลักหน้าศาลาประชาร่วมใจอีกครั้ง
สักครู่ท่านเดินกลับมานั่งที่ศาลา ท่านนั่งบนที่นั่งซึ่งตียกขึ้นมารอบศาลา ตะแคงข้างให้เรา หันไปมองวิวทิวทัศน์รอบเชิงเขา ทำท่าไม่รู้ไม่ชี้อีก สามีชวนให้เข้าไปนั่งในศาลาอีกครั้ง ฉันขยับตัวด้วยความอึดอัด หันมามองหน้าสามีทำสายตาถามว่าจะเอายังไง จะนั่งเป็นใบ้กันอยู่อย่างนี้อีกนานไหม ท่าทางท่านไม่ยินดียินร้าย ไม่รับแขกเอาเสียเลย
ทันใดนั้น ท่านก็ถามสามีว่า "ทำไมมึงถึงขยันพาคนโน้นคนนี้ มาหากูเรื่อยวะ? "
เขาตอบว่า "จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ใช่หรอกครับ นี่ลูกผม เมียผม คนในครอบ-ครัวของผมไม่ใช่คนอื่น ถ้านอกจากนี้ ผมคงไม่พามาหรอกครับ"