มีอาคันตุกะยามราตรีมาถามปัญหาว่า
ท่านบำเพ็ญทศบารมีอย่างไร เห็นท่านก็ใช้ชีวิตแบบธรรมดา แล้วเช่นนี้ท่านจะช่วยเหลือหมู่สัตว์ได้อย่างไร
ตอบ :
การบำเพ็ญทานบารมีนอกจากจะบริจาคสิ่งของ แก้วแหวนเงินทองแล้ว ก็ให้ธรรมเป็นทาน การให้อภัยทาน การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแผ่เมตตา เหล่านี้ก็จัดว่าเป็นการบำเพ็ญทานบารมีได้
 
ตอบ :
การบำเพ็ญศีลบารมี คือ การสำรวม สังวรระวัง รักษากาย วาจา ใจ ให้สงบ ระงับ เรียบร้อย ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทำเช่นนี้บ่อยๆ ทำจนกลายเป็นนิสัยสันดาน จนกลายเป็นบารมีเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นกระทำตามได้
โดยเฉพาะใจต้องมีหิริ ความละอายชั่วต่อหน้าและลับหลัง โอตัปปะ ความเกรงกลัวผลของอกุศลบาป
๑ อินทรีย์สังวร ความสำรวมสังวรระวัง กาย วาจา และจิตใจ ให้สงบ ระงับ เรียบร้อย เป็นปกติ
๓ สติความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา เวลาทำ พูด คิด จะได้ไม่ผิดพลาด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล บำเพ็ญศีลบารมี
 
ตอบ :
เนกขัมมะ อดใจ ห้ามจิตใจ ระมัดระวังกาย วาจา ใจ ให้ตั้งมั่นอยู่ในทำนองคลองธรรมไม่ปล่อยตัว ปล่อยใจให้หลงระเริงไปกับสิ่งเร้าเครื่องล่อทั้งหลาย ที่เข้ามายั่วยวน หลอกล่อทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิตใจ
เพียรพยายามปลดเปลื้องพันธนาการของกิเลสตัณหา อุปาทานซึ่งเป็นพันธนาการของพญามารทั้งปวง
มุ่งประพฤติปฏิบัติตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรม ในข้อห้ามและข้ออนุญาตที่องค์พระศาสดาทรงกำหนด เช่นนี้จึงชื่อว่า บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี
(หากต้องการจะบรรลุอรหันต์ก็ต้องรวมเอาชาติภพที่ต้องปลดเปลื้องเข้าไปด้วย)
 
ตอบ :
ปัญญาการดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัญญา
เป็นเครื่องนำพาทุกเรื่องที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกสิ่งที่คิด ต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญไตร่ตรอง พินิจพิจารณาให้รอบคอบถี่ถ้วนให้ถูกตรงต่อความเป็นจริงและชัดเจนอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมทั้ง ๒ โลก
ซึ่งความถูกต้องเป็นจริง ก็มีอยู่ในโลกทั้ง ๒ คือ
- ความถูกต้องเป็นจริงตามวิถีโลกแห่งสมมุติบัญญัติ
- ความถูกต้องเป็นจริงตามวิถีโลกแห่งโลกปรมัติ
ซึ่งความถูกต้องเป็นจริง ชัดเจนของทั้งสองโลกดังกล่าวนี้ต้องใช้สติปัญญาค้นหาไตร่ตรอง พินิจพิจารณา ใคร่ครวญให้ถี่ถ้วนอย่างรอบคอบ ชัดเจน เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้บำเพ็ญปัญญาบารมี
 
ตอบ :
ผู้บำเพ็ญวิริยะบารมีนั้น ต้องมีนิสัย จิตใจกระตือรือร้น ขวนขวาย มีอุดมการณ์ มีเป้าหมายแล้วมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียร เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่กามคุณทั้ง ๕ ต้องระลึกรู้อยู่เสมอๆ ว่า กิเลสและกามคุณทั้ง ๕ อันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กินนอน ล้วนเป็นเป็นเครื่องหลอกล่อฉุดรั้งเราให้ต้องล่าช้า ไม่ก้าวหน้า ไม่พัฒนา สุดท้ายจะเสียหายต่อการมีชีวิตตามอุดมการณ์ ต่อเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
ฉะนั้นความตื่นตัว ตื่นตา ตื่นใจ มีสติปัญญาในทุกขณะจึงเป็นเครื่องกระตุ้นให้วิริยะบารมีขับเครื่องเจริญได้
เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้บำเพ็ญวิริยะบารมี
 
ตอบ :
เมื่อใดที่ท่านมีชีวิตอยู่ด้วยการขวนขวาย ขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จักบำเพ็ญประโยชน์นานาประการ ให้ได้ทุกเมื่อเชื่อวันนั่นแหละชื่อว่า เป็นการบำเพ็ญขันติบารมีแล้วหละ
ด้วยเพราะการทำการงานและบำเพ็ญประโยชน์ทั้งปวง ล้วนต้องมีขันติ มานะ เพื่อฝ่าฟันต่อสู้ต่ออุปสรรค ที่จะเกิดขึ้นขณะที่ทำการงานและบำเพ็ญประโยชน์นั้นๆ
แต่ก็ยังเป็นการบำเพ็ญบารมีอย่างอ่อนๆ ยังไม่ถึงขั้นปรมัติบารมี จนแกร่งกล้าที่จะอดทน อดกลั้นต่อสิ่งเร้าเครื่องล่อ ทั้งทางกาย และทางจิตใจ ไม่ให้กระเพื่อมตามไปได้
เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ผู้บำเพ็ญขันติบารมี
 
ตอบ :
ฝึกฝน สร้างนิสัยให้เป็นผู้จริงจัง ตั้งอกตั้งใจ ทำ พูด คิด ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่ ด้วยความจริงใจ จริงจัง มิได้มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน เช่นนี้จึงชื่อว่า เป็นผู้บำเพ็ญสัจจะบารมี ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
โปรดติดตามตอนต่อไป
 
พุทธะอิสระ