ตอนที่แล้วจบลงตรงที่ เจ้าพระยาอภัยราชา ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ ชาวเดนมาร์ก ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จเยือนยุโรป เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับสยาม และเป็นการแสดงให้ฝรั่งเศสกับอังกฤษได้เห็นว่า สยามมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ยังมีนานาอารยประเทศที่เจริญและทรงอำนาจ เป็นมหามิตรอยู่อีกมาก
พวกกลุ่มประเทศที่ล่าอาณานิคม จักได้เกรง ไม่กล้ามาคุกคามสยามอีกต่อไป
ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบดีว่า แผนการเสด็จเชื่อมสัมพันธมิตรยุโรปของสยาม จักต้องเป็นที่ไม่ชอบใจแก่ฝรั่งเศส และอังกฤษนักดอก หากแผนการเสด็จยุโรปของพระองค์ยังขืนล่าช้า คงจะเสียการใหญ่ จึงทรงรับสั่งให้ตระเตรียมเรือพระที่นั่งมหาจักรี ให้พร้อมออกเดินทางในเวลาอันรวดเร็ว
ลุถึงวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๐ (ร.ศ.๑๑๖) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงเครื่องเต็มพระยศอย่างจอมพลทหารบก ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และเจ้าพระยาอภัยราชา ชาวเดนมาร์ก ข้าราชบริพาร ร่วมเดินทางไปด้วย
ทรงเสด็จพร้อมผู้ติดตาม ณ ท่าราชวรดิฐ ทรงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นเรือพระที่นั่ง ในเวลานั้นพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร พ่อค้า ประชาชน ที่ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวจะทรงเสด็จไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับชาติยุโรป เพื่อแก้ปัญหาวิกฤต ร.ศ.๑๑๒ ต่างพากันมาน้อมส่งเสด็จกันอย่างเนืองแน่น พร้อมทั้งร้องตะโกนถวายพระพรให้มีชัยชนะ และความสำเร็จกลับมา
ก่อนที่จะเสด็จ ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ระหว่างทางขณะทรงเสด็จรอนแรมอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร อันเวิ้งว้าง กว้างไกล เป็นแรมเดือน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับความทุกข์ยากลำบากเป็นยิ่งยวด ทรงเสด็จเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศถึง ๑๐ ประเทศ ได้แก่ อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยียม อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย เดนมาร์ก เชโกสโลวาเกีย
การเสด็จครั้งนี้ทรงใช้เวลาถึง ๙ เดือน ทำให้เกิดมหามิตรสำคัญแก่สยามถึง ๒ ประเทศ คือ รัสเซีย และ เยอรมนี
โปรดติดตามตอนต่อไป...
พุทธะอิสระ

There are hundreds of reasons why Thais adore the monarchy (chapter 11)
January 14, 2021
The last chapter ended when Chow Phya Abhai Raja (Gustave Rolin-Jaequemyns), the Belgian foreign affairs advisor, recommended King Chulalongkorn (King Rama V) that the King visit Europe to strengthen relationship and to show France and the United Kingdom that Siam was not alone but had allies with several civilized and powerful countries.
So, these colonial superpowers would beware and no longer dare to threaten Siam.
At the same time, King Chulalongkorn knew well that France and the United Kingdome would not like Siamese plan to strengthen relationship with Europe. And if his visit to Europe delayed, it would be a great loss. Therefore, the King ordered his vassals to prepare the Maha Chakri Royal Barge to expedite the departure.
On April 7, 1897, King Chulalongkorn (King Rama V) wore full dress uniform of the Field Marshal with The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri. Maha Vajirunhis, Crown Prince of Siam, Chow Phya Abhai Raja, the Belgian foreign affairs advisor, and vassals joined the voyage.
The King and his companion came to Ratcha Woradit Pier and boarded the royal barge. Knowing that the King was going to Europe to establish relationship with European countries and solve issues arising from the Franco-Siamese War in 1893, the royal family, vassals, merchants, and people all came to see him off and shouted out loud blessings for him to come back with victory and success.
Before leaving, the King appointed Queen Saovabha Phongsri to be as regent in Siam during his travel to Europe.
On the way, the King was on voyage in the vast ocean for months and faced a lot of difficulties. The King visited ten countries including Italy, Austria-Hungary, Switzerland, France, Belgium, the United Kingdom, Germany, Russia, Denmark, and Czecho-Slovakia.
The voyage took nine months and resulted in the two great friends of Siam which were Russia and Germany.
To be continued…
Buddha Isara