ความเดิมตอนที่แล้ว
ฉันยกประเด็นที่อลัชชีต้นธาตุต้นธรรมมันจาบจ้วงพระพุทธเจ้าว่า ต้องถอดกายทิพย์ไปถามอดีตพุทธในอายตนะนิพพาน ที่อลัชชีมันสร้างขึ้นมาเอง
ประเด็นคือพระพุทธเจ้าต้องถอดกายทิพย์จริงหรือ
อดีตพุทธมีอยู่ในภพภูมิใดๆ อีกหรือ
พร้อมทั้งนำลีลาการตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกมาหักล้างและยืนยันว่า
ภพที่ชื่ออายตนะนิพพานไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
และยืนยันด้วยพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เมื่อเราดับตัณหาผู้สร้างภพเสียได้แล้ว
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตแต่เฉพาะในเวลากายของตถาคตดำรงอยู่เท่านั้น
เมื่อกายเราแตกสิ้นชีพแล้ว
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต
เปรียบเหมือนพวงมะม่วงที่ขาดจากขั้วแล้วฉะนั้น
---------------------------------------------
วันนี้เรามาดูการบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอนที่เจ้าลัทธิอลัชชีธรรมกายมันแหกตาสาวกมัน
---------------------------------------------
ธัมมชโย:
แล้วท่านก็เข้านิโรธ คือหยุด นิโรธะคือหยุด หยุดนิ่ง
พอหยุดนิ่งก็ตกศูนย์เข้าไปเลย
และยิ่งท่านหมดกิเลสไปแล้วจึงไม่มีอะไรมาเหนี่ยวรั้งท่านได้ เพราะท่านทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่งได้อย่างบริบูรณ์สมบูรณ์แล้ว
---------------------------------------------
ประเด็นที่ต้องหาข้อพิสูจน์ก็คือ
- นิโรธะคือการหยุดนิ่งจริงหรือ
- การหยุดนิ่งคือการตกศูนย์จริงไหม
ทีนี้มาดูคำว่านิโรธ ในพระธรรมวินัยนี้มีทั้งสิ้น ๕ ระดับคือ
---------------------------------------------
[๒๒๔] นิโรธ ๕ (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น)
๑.วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน)
[ขอบคุณข้อมูลจาก : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]
---------------------------------------------
อลัชชีชั่วตัวนี้มันบอกว่าพระพุทธเจ้าเข้านิโรธ คือ การหยุดนิ่ง ตกศูนย์ตามคำสอนที่วิปริตของลัทธิมัน
จากหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งท่านเจ้าคุณประยุทธ์ท่านนำมาเรียบเรียง รวบรวมเอาไว้จะเห็นว่า
นิโรธในขั้นที่หยุดนิ่ง เรียกว่า วิกขัมภนนิโรธ ซึ่งหยุดอยู่ได้เฉพาะอำนาจขององค์ฌานเท่านั้น หาได้ตรัสรู้หลุดพ้นใดๆ ไม่
นั่นก็เท่ากับว่า ไอ้อลัชชีต้นธาตุต้นธรรมตัวนี้มันย่ำยีพระพุทธเจ้า กล่าวตู่พระปัญญาคุณและพระบริสุทธิคุณของพระพุทธองค์
ด้วยคำสอนที่วิปริตของมันเช่นนี้ นอกจากจะไม่เกิดปัญญาต่อผู้ฟังแล้ว มันยังทำลายประโยชน์สูงสุดที่ผู้ฟังจะพึงได้ ด้วยการยัดใส่ข้อมูลผิดๆ เข้าไปในหัวและความทรงจำของผู้ฟัง
เมื่อฟังมาผิดๆ ก็เชื่อผิดๆ ทำย่อมผิด ความโง่หลงงมงาย มืดบอดในภพชาติก็จะเกิดขึ้นก็ผู้ฟังนั้นๆ
ทีนี้ลองมาดูมาศึกษาของจริง จับต้องได้จริง ได้ประโยชน์จริงๆ จากพระไตรปิฎกที่ถ่ายทอดมาจากพระโอษฐ์จริงๆ ว่าแตกต่างจากคำสอนเท็จของอลัชชีตนนี้หรือไม่
นิโรธ ในอริยสัจจ์ ๔
---------------------------------------------
[๒๐๔] อริยสัจจ์ ๔ (ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ)
๑. ทุกข์ (ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง, ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์)
๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา)
๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน)
๔. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา (ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
[ขอบคุณข้อมูลจาก : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]
---------------------------------------------
ท่านทั้งหลายจะเห็นว่านิโรธ เมื่ออยู่ในอริยสัจจ์ ๔ จะเรียกว่าทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา ซึ่งหมายถึงการดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
หาได้หมายถึงความนิ่ง ความหยุดไม่
สิ่งที่ผู้ปรารภความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์จะต้องศึกษาให้เข้าใจต่อไปคือ
กิจหรือหน้าที่ของอริยสัจจ์ ๔ โดยเฉพาะกิจหรือหน้าที่ของทุกขนิโรธะและทุกขนิโรธะคามีนิปฏิปทา มีลักษณะเช่นไร
กิจหรือหน้าที่ของทุกขนิโรธ นั้นคือ การต้องทำให้แจ้งแจ่มชัด
กิจหรือหน้าที่ของทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา คือการทำให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น หาได้หยุดนิ่งเฉยๆ ไม่
ตัวอย่างเช่น
---------------------------------------------
[๒๐๕] กิจในอริยสัจจ์ ๔ (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว)
๑. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํอริยสจฺจํปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา)
๒. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา)
๓. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธอริยสจฺจํสจฺฉิกาตพฺพํนิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ)
๔. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา)
[ขอบคุณข้อมูลจาก : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]
---------------------------------------------
สรุปความสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายคือ
ทุกข์ คือสิ่งที่ต้องรู้ เหตุที่เกิดทุกข์ คือสิ่งที่ต้องละ
ทางดับทุกข์ คือสิ่งที่ทำให้แจ่มชัด
ข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับ คือสิ่งที่ต้องทำให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น
ต่อมา มาดูคำว่านิโรธในสมาบัติที่ปรากฏในกามภูสูตรที่ ๒ ความว่า
---------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
กามภูสูตรที่ ๒
[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล
ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ
[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า
เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง
โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ
[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ
---------------------------------------------
หลักฐานจากพระไตรปิฎก จะเห็นว่าการเข้านิโรธสมาบัติ คือการละสังขารทั้ง ๓ จะดับ คือ
๑. กายสังขาร (การละลมหายใจเข้า ลมหายใจออก)
๒. วจีสังขาร (การละวิตก วิจาร)
๓. จิตตสังขาร (การละสัญญา เวทนา)
นั่นก็หมายความว่าในนิโรธสมาบัติ ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง ไม่มีความคิด (วจีสังขาร) ไม่มีความจำได้หมายรู้ (จิตตสังขาร)
หาได้เป็นการหยุดนิ่งหรือตกศูนย์แบบวิปริตใดๆ อย่างที่เจ้าลัทธิอลัชชีมันบอกเลย
พุทธะอิสระ
[ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]
ที่มา: https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/10154133817238446:0