ความเดิมตอนที่แล้วจบลงตรงที่อลัชชีตัวพ่อมันย่ำยีจาบจ้วงพระพุทธเจ้า

ว่าแม้พระพุทธเจ้าจะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ยังไม่รู้จักมาร

จึงตอบคำถามของมารหัวโขนที่มันเมคขึ้นมาไม่ได้

มารเข้ามาถามพระพุทธเจ้าว่า “ท่านจะสู้กับเราหรือว่าจะโปรดสัตว์ตามธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าที่ผ่านมา”

พุทธะอิสระได้นำหลักฐานจากพระไตรปิฎกมายืนยันว่า

ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้จนถึงนิพพาน ไม่มีมารตนใดเข้ามาถามพระพุทธเจ้าดังที่อลัชชีมันกล่าวอ้าง
ส่วนประเด็นที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่สามารถตอบคำถามของมารจริงหรือ

ฉันได้นำหลักฐานจากพระไตรปิฎกมาชี้แจงยืนยันว่าอลัชชีมันโกหก

---------------------------------

ทีนี้มาดูความกระล่อนลวงโลกของมันต่อ
อลัชชีมันแหกตาสาวกของมันว่า

“หากพระพุทธเจ้าจะแสวงคำตอบนี้ ต้องไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ไง ที่ท่านดับขันธปรินิพพานไปแล้วอยู่ในอายตนนิพาน ถอดกายเนี่ยนะจ๊ะ มีธรรมกายทั้งหมดเลย”

---------------------------------

ประเด็นที่ควรจะหาคำตอบก็คือ
พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันและองค์ก่อนๆ นิพพานไปแล้ว จะไปอยู่ในภพภูมิที่อลัชชีเรียกว่า “อายตนะนิพพาน” จริงหรือ
และอายตนะนิพพานมีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนหรือ

และพระพุทธเจ้าต้องเข้าฌาณไปถามพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ จริงหรือ

ลองมาดูความจริงในพระไตรปิฎก
โดยเฉพาะที่ฉันขีดเส้นใต้เอาไว้
---------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ***เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง*** อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ ***เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ***

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๗
---------------------------------

พระสุตตันตปิฎกที่ยกมาให้ท่านได้ศึกษา จะเห็นว่ามีเนื้อหาอธิบายสภาวะนิพพาน ๒ ชนิด สรุปง่ายๆ ว่า ดับกิเลสแต่ยังมีชีวิตหรือเบญจขันธ์อยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน

ดับกิเลสและดับเบญจขันธ์ หรือไม่มีชีวิตอยู่แล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน

ในประเด็นอนุปาทิเสสนิพพานนี้มีคำอธิบายจากพระพุทธเจ้าเอาไว้ว่า เป็นการดับสนิทแห่งภพ คือแดนเกิดทั้งปวง

และมีประเด็นที่ท่านทั้งหลายต้องอ่านเพื่อยืนยันความจริงว่า

พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์เมื่อลุถึงอนุปาทิเสสนิพพาน คือดับทั้งกิเลส ดับทั้งเบญจขันธ์

สิ่งที่ท่านทั้งหลายควรจะอ่านเพื่อทำความเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนิพพานให้ลึกซึ้งแจ่มชัดมากยิ่งขึ้น

ต้องอ่าน ต้องศึกษาตรงนี้
---------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

๑. พรหมชาลสูตร - ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว

แต่ยังดำรงอยู่

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่

เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต

เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว

ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป
---------------------------------

ทีนี้เข้าใจหรือยังว่าทำไมพุทธะอิสระถึงได้ไล่ไอ้อลัชชีต้นธาตุต้นธรรมและ สาวกมันให้ไปตั้งศาสนาใหม่ อย่าอาศัยพระธรรมวินัยนี้หากินอยู่เลย

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ลองศึกษาทำความเข้าใจต่อพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเรื่องอนัต ตลักษณะสูตร ว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ามีลักษณะอย่างไร
---------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง

เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
-----------------------------------------------------


ไม่รู้ว่าพวกมิจฉาทิฏฐิที่มีความเห็นวิปลาสจักรู้สึกอย่างไร

-----------------------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
วิปัลลาสสูตร

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑
ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑
ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑
ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
และสำคัญในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติและมรณะ
ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใด
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์
ชนเหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ได้จิตของตน
ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ประเด็นคำว่า

“อายตนะนิพพาน” ที่อลัชชีต้นธาตุต้นธรรมมันสร้างขึ้นเอง หาได้มีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มใด ๆ ไม่

พุทธะอิสระ

[ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]

ที่มา: https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/10154125528633446:0