ในสมัยโบราณ คนที่สามารถจะเป็นช่างได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนการฝึกฝนมาอย่างยากลำบาก เริ่มตั้งแต่การซื้อโอเลี้ยงรวมไปถึงการปรนนิบัติพัดวีต่างๆ จนกว่าครูจะเห็นว่าผ่านการพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะฝึกปรือวิชาการทางการช่าง ต่างๆ ได้หรือไม่ ถึงจะเริ่มดำเนินการสอนตั้งแต่เบื้องต้น เช่น การล้างจานสี หรือการนวดดิน เป็นต้น จนถึงขั้นตอนที่ยากยิ่งขึ้นไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ต้องใช้ความอดทน และความตั้งใจสูง มีใจจดจ่อพอที่จะเป็นช่างที่ทำงานศิลปะที่ปราณีตและละเอียดละออนั้นได้
นอกจากการฝึกฝนทักษะเบื้องต้นต่างๆ เหล่านี้ให้ชำนาญแล้ว ศิลปะยังคงเป็นการใช้จินตนาการ ความใฝ่ฝัน ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงจากประสบการณ์ต่างๆ ของผู้ที่ทำงานศิลปะ ถ่ายทอดและนำเสนอออกมาเป็นรูปธรรม เช่น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม หรือนามธรรม เช่น งานนาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ และวรรณกรรม เป็นต้น
พอจะสรุปได้ว่า การทำงานศิลปะนั้นคงต้องอาศัยทักษะที่เกิดจากการฝีกฝนจนชำนาญ ประสบการณ์ในการมองเห็นโลกทัศน์ที่กว้างไกล และนึกคิดฝัน สร้างจินตนาการ เป็นความคิดรวบยอดนำเสนอเป็นชิ้นงานศิลปะต่างๆ ตามความถนัดหรือความชอบของผู้ที่ทำงานศิลปะ โดยทั้งหมดนี้ประสานสอดคล้องกลมกลืนกันด้วยมือ ด้วยตา และด้วยใจ จึงจะเป็นความงามที่ลงตัว
ข้าพเจ้ามีโอกาสได้คลุกคลีอยู่ในวงการศิลปะ ตั้งแต่เกิดและได้เริ่มทำงานเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังและทำงานศิลปะอย่างจริง จังและต่อเนื่องมาเป็นเวลา 9 ปี พอจะกล่าวได้ว่า เป็นเรื่องดีและเป็นครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและทีมงาน ที่ได้มีโอกาสเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังที่วัดอ้อน้อยแห่งนี้ ซึ่งมีหลวงปู่ที่เป็นที่รักเคารพและศรัทธาของบุคคลต่างกลุ่มต่างระดับ ต่างสถานที่เป็นจำนวนมาก และเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาในส่วนที่เป็นเนื้อหา เรื่องราวของศาสนาอย่างเป็นกันเอง ในขณะเดียวกันก็ให้แง่คิด มุมมองวิพากษ์วิจารณ์งานในเชิงศิลปะด้วยเช่นกัน
หลายครั้งที่ข้าพเจ้ายอมรับว่า หลวงปู่มีมุมมองและมีคุณสมบัติโดยพื้นฐานที่เหมาะสมที่จะเป็นศิลปินได้โดย ไม่แพ้คนที่จบจากสถาบันการศึกษาศิลปะ ทั้งๆ ที่หลวงปู่ไม่ได้ผ่านการศึกษาศิลปะจากสถาบันใด หรือครูสอนศิลปะที่ไหนมาก่อน แต่หลวงปู่มีศักยภาพจากการศึกษาธรรมชาติและประสบการณ์ พร้อมทั้งมีความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยผ่านขั้นตอนการคิดจากผลของการปฏิบัติชีวิตประจำวันด้วยความละเอียดอ่อน มีระเบียบวินัย พร้อมทั้งปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เกิดผลงานที่ดียิ่งขึ้น ไปตามกาละเทศะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งที่หลวงปู่เป็น คือลักษณะของคุณสมบัติที่คนทำงานศิลปะที่ดีที่พึงจะมี
ผลงานทางศิลปะที่หลวงปู่ได้สร้างสรรค์นั้น เราสามารถเห็นได้ทั่วไปในวัดอ้อน้อยแห่งนี้ เช่นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งหลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้ว่า"ท่านได้แรง บันดาลใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมภายในวัดอ้อน้อย มาจากความเชื่อในเรื่องจักรวาล และตำนานโบราณ เช่น ตำราพลศาสตร์ ฮวงจุ๊ยศาสตร์ นรลักษณ์ศาสตร์ และตำราพิชัยสงคราม ในคัมภีร์หรือตำราโบราณเหล่านี้ ได้เน้นย้ำถึงทิศทาง ตำแหน่งแห่งความเหมาะสมของการก่อตั้ง หรือสร้างอาคารโรงเรือนต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้ประโยชน์ต่อการใช้สอนอย่างสูงสุด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลตอบรับของผู้ที่อยู่อาศัยนั้นก็คือ รู้สึกอบอุ่น ร่มเย็น ปลอดภัย ปลอดโปร่ง และรู้สึกสบาย"
จากแนวความคิดและความเชื่อนี้ได้ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม ดังเช่นโบสถ์ที่มีการวางรูปแบบให้มีน้ำล้อมรอบ มีขอบเขตชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน ตัวโบสถ์เป็นรูปจตุรมุข ตัวอาคารฝาผนังเปิดโล่ง ประดับด้วยลวดลายต่างๆ ที่มีลักษณะผสมผสานศิลปะแต่ละยุคสมัย ออกมาเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ให้ความโดดเด่น และมีจังหวะ โดยมีความสอดคล้องกับแนวความคิดที่หลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
ส่วนงานด้านประติมากรรมนั้น ท่านได้กล่าวต่อว่า เป็นแนวความคิดที่มีต่อเนื่องจากงานโบสถ์ที่มีลักษณะอ่อนหวาน ทำให้มีความคิดที่จะสร้างประติมากรรมเป็นรูป 18 อรหันต์ ให้มีกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา และรูปลักษณ์ ให้ดูดุดัน เข้มแข็งเป็นดุลย์ถ่วงเพื่อให้เกิดความสมดุล และเมื่อคนที่อยู่ในพิธีกรรมภายในโบสถ์จะได้รับความรู้สึกอบอุ่น เคร่งขรึม ระมัดระวัง ต่ออากัปกิริยาที่จะผิดพลาดล่วงเกินต่อตนและคนอื่น และรู้สึกเหมือนได้เข้ามานั่งอยู่ในวงล้อมของผู้ใหญ่ที่มีทั้งความเมตตา อ่อนโยน เข้มแข็ง ถมึนทึง ดุดัน มีความรักและความเอื้ออาทร
สำหรับงานตกแต่งสถานที่ ที่ประดับไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และการวางผังอาคารต่างๆ ที่มีแนวความคิดให้เป็นไปตามทิศทางของแสงสว่างและแนวทางแห่งกระแสลม โดยมีบรรทัดฐานจากหลวงปู่ ออกมาเป็นงานสร้างสรรค์รวมไปถึงบทโศลกที่ท่านได้เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ ทางวิญญาณที่ได้ใช้ศิลปะทางภาษาเข้ามาสื่อสารตามแนวความคิดออกมาได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นผลงานที่สามารถสำเร็จขึ้นมาได้เพราะศักยภาพที่หลวงปู่มี และสิ่งที่หลวงปู่เป็น
จากผลงานของแต่ละบุคคลบ่งบอกถึงความเป็นไปของชีวิตแต่ละบุคคลไม่ว่า จะเป็นงานในสาขาใดๆ ฉะนั้นถ้าใครก็ตามที่ได้มีธรรมะอยู่ในใจ การทำงานก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผลของงานก็จะปรากฏออกมาดี ดังเช่นบทโศลกของหลวงปู่ตอนหนึ่งว่า
"สมาธิเป็นพลังของพฤติกรรม ความตั้งมั่น ความระลึกรู้...เป็นผู้ช่วย ช่วยสนับสนุนพฤติกรรม ความใคร่ครวญไตร่ตรองเป็นเครื่องรองรับพฤติกรรม ความมีคุณ มีประโยชน์เป็นสาระปราศจากโทษของพฤติกรรมและชีวิต"
กาพย์แก้ว สุวรรณกูฎ
29 สิงหาคม 2541
นอกจากการฝึกฝนทักษะเบื้องต้นต่างๆ เหล่านี้ให้ชำนาญแล้ว ศิลปะยังคงเป็นการใช้จินตนาการ ความใฝ่ฝัน ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงจากประสบการณ์ต่างๆ ของผู้ที่ทำงานศิลปะ ถ่ายทอดและนำเสนอออกมาเป็นรูปธรรม เช่น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม หรือนามธรรม เช่น งานนาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ และวรรณกรรม เป็นต้น
พอจะสรุปได้ว่า การทำงานศิลปะนั้นคงต้องอาศัยทักษะที่เกิดจากการฝีกฝนจนชำนาญ ประสบการณ์ในการมองเห็นโลกทัศน์ที่กว้างไกล และนึกคิดฝัน สร้างจินตนาการ เป็นความคิดรวบยอดนำเสนอเป็นชิ้นงานศิลปะต่างๆ ตามความถนัดหรือความชอบของผู้ที่ทำงานศิลปะ โดยทั้งหมดนี้ประสานสอดคล้องกลมกลืนกันด้วยมือ ด้วยตา และด้วยใจ จึงจะเป็นความงามที่ลงตัว
ข้าพเจ้ามีโอกาสได้คลุกคลีอยู่ในวงการศิลปะ ตั้งแต่เกิดและได้เริ่มทำงานเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังและทำงานศิลปะอย่างจริง จังและต่อเนื่องมาเป็นเวลา 9 ปี พอจะกล่าวได้ว่า เป็นเรื่องดีและเป็นครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิตของข้าพเจ้าและทีมงาน ที่ได้มีโอกาสเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังที่วัดอ้อน้อยแห่งนี้ ซึ่งมีหลวงปู่ที่เป็นที่รักเคารพและศรัทธาของบุคคลต่างกลุ่มต่างระดับ ต่างสถานที่เป็นจำนวนมาก และเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาในส่วนที่เป็นเนื้อหา เรื่องราวของศาสนาอย่างเป็นกันเอง ในขณะเดียวกันก็ให้แง่คิด มุมมองวิพากษ์วิจารณ์งานในเชิงศิลปะด้วยเช่นกัน
หลายครั้งที่ข้าพเจ้ายอมรับว่า หลวงปู่มีมุมมองและมีคุณสมบัติโดยพื้นฐานที่เหมาะสมที่จะเป็นศิลปินได้โดย ไม่แพ้คนที่จบจากสถาบันการศึกษาศิลปะ ทั้งๆ ที่หลวงปู่ไม่ได้ผ่านการศึกษาศิลปะจากสถาบันใด หรือครูสอนศิลปะที่ไหนมาก่อน แต่หลวงปู่มีศักยภาพจากการศึกษาธรรมชาติและประสบการณ์ พร้อมทั้งมีความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยผ่านขั้นตอนการคิดจากผลของการปฏิบัติชีวิตประจำวันด้วยความละเอียดอ่อน มีระเบียบวินัย พร้อมทั้งปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เกิดผลงานที่ดียิ่งขึ้น ไปตามกาละเทศะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งที่หลวงปู่เป็น คือลักษณะของคุณสมบัติที่คนทำงานศิลปะที่ดีที่พึงจะมี
ผลงานทางศิลปะที่หลวงปู่ได้สร้างสรรค์นั้น เราสามารถเห็นได้ทั่วไปในวัดอ้อน้อยแห่งนี้ เช่นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งหลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้ว่า"ท่านได้แรง บันดาลใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมภายในวัดอ้อน้อย มาจากความเชื่อในเรื่องจักรวาล และตำนานโบราณ เช่น ตำราพลศาสตร์ ฮวงจุ๊ยศาสตร์ นรลักษณ์ศาสตร์ และตำราพิชัยสงคราม ในคัมภีร์หรือตำราโบราณเหล่านี้ ได้เน้นย้ำถึงทิศทาง ตำแหน่งแห่งความเหมาะสมของการก่อตั้ง หรือสร้างอาคารโรงเรือนต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้ประโยชน์ต่อการใช้สอนอย่างสูงสุด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลตอบรับของผู้ที่อยู่อาศัยนั้นก็คือ รู้สึกอบอุ่น ร่มเย็น ปลอดภัย ปลอดโปร่ง และรู้สึกสบาย"
จากแนวความคิดและความเชื่อนี้ได้ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม ดังเช่นโบสถ์ที่มีการวางรูปแบบให้มีน้ำล้อมรอบ มีขอบเขตชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน ตัวโบสถ์เป็นรูปจตุรมุข ตัวอาคารฝาผนังเปิดโล่ง ประดับด้วยลวดลายต่างๆ ที่มีลักษณะผสมผสานศิลปะแต่ละยุคสมัย ออกมาเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ให้ความโดดเด่น และมีจังหวะ โดยมีความสอดคล้องกับแนวความคิดที่หลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
ส่วนงานด้านประติมากรรมนั้น ท่านได้กล่าวต่อว่า เป็นแนวความคิดที่มีต่อเนื่องจากงานโบสถ์ที่มีลักษณะอ่อนหวาน ทำให้มีความคิดที่จะสร้างประติมากรรมเป็นรูป 18 อรหันต์ ให้มีกิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา และรูปลักษณ์ ให้ดูดุดัน เข้มแข็งเป็นดุลย์ถ่วงเพื่อให้เกิดความสมดุล และเมื่อคนที่อยู่ในพิธีกรรมภายในโบสถ์จะได้รับความรู้สึกอบอุ่น เคร่งขรึม ระมัดระวัง ต่ออากัปกิริยาที่จะผิดพลาดล่วงเกินต่อตนและคนอื่น และรู้สึกเหมือนได้เข้ามานั่งอยู่ในวงล้อมของผู้ใหญ่ที่มีทั้งความเมตตา อ่อนโยน เข้มแข็ง ถมึนทึง ดุดัน มีความรักและความเอื้ออาทร
สำหรับงานตกแต่งสถานที่ ที่ประดับไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และการวางผังอาคารต่างๆ ที่มีแนวความคิดให้เป็นไปตามทิศทางของแสงสว่างและแนวทางแห่งกระแสลม โดยมีบรรทัดฐานจากหลวงปู่ ออกมาเป็นงานสร้างสรรค์รวมไปถึงบทโศลกที่ท่านได้เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ ทางวิญญาณที่ได้ใช้ศิลปะทางภาษาเข้ามาสื่อสารตามแนวความคิดออกมาได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นผลงานที่สามารถสำเร็จขึ้นมาได้เพราะศักยภาพที่หลวงปู่มี และสิ่งที่หลวงปู่เป็น
จากผลงานของแต่ละบุคคลบ่งบอกถึงความเป็นไปของชีวิตแต่ละบุคคลไม่ว่า จะเป็นงานในสาขาใดๆ ฉะนั้นถ้าใครก็ตามที่ได้มีธรรมะอยู่ในใจ การทำงานก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผลของงานก็จะปรากฏออกมาดี ดังเช่นบทโศลกของหลวงปู่ตอนหนึ่งว่า
"สมาธิเป็นพลังของพฤติกรรม ความตั้งมั่น ความระลึกรู้...เป็นผู้ช่วย ช่วยสนับสนุนพฤติกรรม ความใคร่ครวญไตร่ตรองเป็นเครื่องรองรับพฤติกรรม ความมีคุณ มีประโยชน์เป็นสาระปราศจากโทษของพฤติกรรมและชีวิต"
กาพย์แก้ว สุวรรณกูฎ
29 สิงหาคม 2541