เราควรอธิบายเรื่องสิทธิ์ กับ เสรีภาพความเท่าเทียม ให้ทุกคนเข้าใจได้อย่างไร ?
ตอบ:
หากจะพูดถึงสิทธิ์ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ล้วนมีเสรีภาพความเท่าเทียมกันทุกคน แต่มันก็ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมเป็นตัวกำกับ เช่นกันอันได้แก่
วัยวุฒิ ได้แก่ ผู้ที่ได้เกิดมาก่อน
ชาติวุฒิ ผู้ที่เกิดในตระกูลที่สูงกว่า และบทบาทหน้าที่ที่กระทำ
คุณวุฒิ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมที่เหนือกว่า
เหล่านี้คือ ข้อกำหนด หลักปฏิบัติทางสังคมอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไป บริบทของสังคมก็ปรับเปลี่ยนจากที่สิทธิ์ความเท่าเทียมจะบังเกิดมีแก่ผู้มีวัยวุฒิ ชาติวุฒิ คุณวุฒิ
พอมาถึงยุคปัจจุบัน สิทธิ์แห่งความเป็นมนุษย์จะเกิด จะมี ก็ต่อเมื่อต้อง
มีอาวุธมาก
มีพวกมาก ทำให้ดูว่ากูยิ่งใหญ่
มีทรัพย์มาก
มีบทบาทที่แสดงออกมาก เช่น บรรดาไอดอลทั้งหลาย
เหล่านี้คือตัวการกำหนดสิทธิ์
ในทางพุทธศาสนา พระบรมศาสดาทรงชี้ว่า สิทธิ์และความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์จะมีได้ก็ต่อเมื่อต้องมี
ศีล ซึ่งแม้ศีลก็ยังมีไม่เท่ากัน เช่น ฆราวาสทั่วไปก็มีศีล ๕ ผู้ถือบวชเนกขัมมะก็มีศีล ๘ สามเณรก็มีศีล ๑๐ พระภิกษุมีศีล ๒๒๗ แม้พระอริยเจ้ายังมีถึง ๘ ขั้น ๔ พวก
ซึ่งจำนวนของศีลดังกล่าวเป็นตัวกำหนดสิทธิ์และความเท่าเทียม
นอกจากนี้ยังมีอายุพรรษาหรือวัยวุฒิ ก็เป็นตัวกำหนดสิทธิ์ เช่น แม้เป็นผู้เฒ่าอายุมาก แต่ถ้าเพิ่งบวช ก็มีสิทธิ์น้อยกว่าภิกษุที่อายุน้อยแต่มีพรรษามาก
อีกเรื่องที่เป็นตัวกำหนดสิทธิ์ความเท่าเทียมของผู้ที่อยู่ในพระพุทธศาสนาก็คือ คุณธรรม เช่น
พระอริยบุคคลขั้นโสดาปฏิมรรค ย่อมมีสิทธิ์น้อยกว่าพระโสดาปฏิผล
พระสกทาคามีมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่า พระสกทาคามีผล
พระอนาคามีมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่า พระอนาคามีผล
พระอรหัตนมรรค ก็มีสิทธิ์น้อยกว่า พระอรหันตผล
แม้เป็นถึงอรหันตผลแล้วก็ยังต้องจำแนกสิทธิ์ให้แตกต่างกันด้วยคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ ซึ่งพระอรหันต์แต่ละองค์ล้วนมีไม่เท่ากัน
ฉะนั้นพวกที่ละเมอ เพ้อฝัน พร่ำบ่นถึงสิทธิ์ความเท่าเทียมนั้น มันไม่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้ดอก
แม้ในประเทศที่อวดอ้างว่าเป็นต้นตอแห่งประชาธิปไตย ประชาชนในประเทศก็ยังมีสิทธิ์ไม่เท่าเทียมกันเลย
พุทธะอิสระ
November 12, 2021
How should we explain rights, freedom, and equality so that everybody understands?
Answer:
When talking about rights for every human being to have freedom and equality, it depends on controlling social contexts such as
Seniority – those who are older.
Birth – those born in higher classes as well as their roles and duties
Qualifications-those with superior knowledge, capability, and nobility
These are well-recognized principles and social practices all over the world.
When the situation in the world changed, social contexts have changed, rights previously occurred to those with seniority, birth, and qualifications, have also changed.
Nowadays, the rights of human beings occur under the following conditions.
Possession of weapons
Showing one’s power by having a lot of allies
Wealth
Lots of expression and roles such those social media “idols”
These characteristics will define rights.
In Buddhism, the Buddha said that the rights and equality of human beings occur according to precepts. Still, precepts vary. For example, seculars, in general, should adhere to the five precepts. Those in Buddhist retreats must observe the eight precepts. Novices must observe the ten precepts. Monks must observe the 227 precepts. Buddhist noble beings are categorized into eight levels of awakening and four major groups.
The number of mentioned precepts define rights and equality.
In addition, years of monkhood or seniority also define rights. For example, even though a monk is older, but if he has just entered into monkhood, he shall have fewer rights than younger monks with more years of monkhood.
In Buddhism, another factor that defines rights and equality is one’s nobility.
For example, a Stream-Enterer who has attained the Path of Stream-Entry has fewer rights than a Stream-Enterer who has realized the Fruition of Stream-Entry.
A Once-Returner who has attained the Path of Once-Returning has fewer rights than a Once-Returner who has realized the Fruition of Once-Returning.
A Never-Returner who has attained the Path of Never-Returning has fewer rights than A Never-Returner who has realized the Fruition of Never-Returning.
An Arahant who has attained the Path of Arahatship has fewer rights than an Arahant who has reached the final stage of holiness.
As Arahants, their rights are still classified based on different nobility, knowledge, and capability, which each arahant possesses differently.
As such, those dreaming of and talking about equality should realize that equality does not exist in this world.
Even in countries that proudly present themselves as the origins of democracy, their people do not have equal rights.
Buddha Isara