12 ส ค 2554   9.20 น. ถอดเทป แปลพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ กัณฑ์ที่ 1 วันแม่ เทศน์โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

เอ้า ไม่ให้เสียเวลา เริ่มพิธีกรรม เมื่อเช้า เขียนส่งมาให้ รายละเอียด พิธีกรได้หรือยัง
เอ้า อ่านลำดับพิธีให้ฟังหน่อยซิ หรือยังไม่ได้อ่านเลย
ลำดับแรกนั้น เป็นการบูชาพระรัตนตรัย
อารธนาศีล อาราธนาธธรม
แล้วหลังจากนั้น ก็จะเป็นการเข้าสู่พิธีการเจริญพระพุทธมนต์ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์เจ้าค่ะ
ไม่ใช่เขียนมาแค่นั้นนี่ ลำดับพิธีที่เขียนมา เป็นลายมืออยู่ไหนล่ะ
ค่ะ ลำดับแรกนั้น เป็นการบูชาพระรัตนตรัย
  ลำดับขั้นตอน
 = บูชาพระรัตนตรัย
 = อาราธนาศีล
 = อาราธนาธรรม
 = พระผู้สวดเริ่มต้นนะโม
 = หลวงปู่อธิบายที่มาของนะโม และประวัติโดยย่ออภิธรรม
 = พระผู้สวด เริ่มสวดกุศลาบทแรกแล้วหยุด
 = หลวงปู่เทศน์อธิบาย กุศลาบทแรก
 = พระผู้สวดเริ่มสวดบทต่อๆ ไป
ใครไปรับย่ามาหรือยัง ย่าอยู่ไหน
วันนี้เป็นวันแม่ ลูกๆ ทั้งหลายที่พามาแม่เข้ามาสู่อาวาสนี้
เพื่อทำกิจกรรมในการทดแทนบุญคุณแม่
ก็ถือว่า เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ลูกผู้มากไปด้วยความกตัญญูจะพึงกระทำได้
เพราะกิจกรรมทดแทนบุญคุณแม่อย่างที่เคยบอก เคยสอนไปแล้วว่า
การเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ไม่ใช่เลี้ยงแค่ก้อนข้าว หยดน้ำ
เพราะว่า ก้อนข้าว หยดน้ำ เลี้ยงได้เป็นมื้อๆ เดี๋ยวเลี้ยงมื้อนี้ มื้อหน้าก็หิว ก็เลี้ยงใหม่
ก็เลี้ยงย่ำไปตลอดชีวิต
แต่ถามว่า ลูกคนหนึ่งมีโอกาสได้เลี้ยงแม่ เลี้ยงพ่อตลอดชีวิตไม๊ ยาก
แต่พ่อแม่เนี่ยเลี้ยงลูกได้ตลอดชีวิต แต่ลูกคนหนึ่งเลี้ยงพ่อแม่ไม่ได้ตลอดชีวิต คือไม่ได้ทุกมื้อ
คำว่า ตลอดชีวิต คือไม่ได้ทุกมื้อ มันให้กินเป็นบางมื้อ
เดี๋ยวเย็นนี้ มันก็พาไปกิน ปีนี้ก็ได้กินมื้อนี้ เย็นนี้ บางคนเป็นอย่างนั้น
แล้วก็ปีต่อไป ค่อยกินมื้อต่อไปนะแม่  รอไปอีกวัน นะแม่ ประมาณนี้ คือไม่ได้ให้กินทุกมื้อ
ก็จะถือว่า พ่อแม่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจากลูกตลอดชีวิต
แต่พ่อแม่เลี้ยงลูกได้ตลอดชีวิต คือให้กินได้ทุกมื้อ แม้เลือดในอกก็ยังกล้าที่จะสละให้ลูกกินได้
เพราะฉะนั้น บุญคุณที่พ่อแม่มีต่อลูก มันสุดจะบรรยาย ที่เค้ามีคำกล่าวว่า
พระคุณแม่เป็นเหมือนดั่งมหาสมุทร
พระคุณแม่ สูงสุดมหาศาล
พระคุณแม่ สุดหล้าสุธาธาร
ใครจะปานแม่ฉันนั้นไม่มี
แล้วความหมายของคำว่า พระคุณแม่นี่ เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก
แล้วถามว่า มีแต่คุณแม่อย่างเดียว คุณพ่อไม่มีเหรอ ก็มี
แต่วันนี้ เค้าปรารภบุญคุณ พระคุณของแม่ เพื่อให้ลูกได้ตระหนักสำนึกระลึกรู้
แม้แต่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังทรงให้ความสำคัญ ต่อการที่จะทดแทนบุญคุณพระพุทธมารดา
ถึงขนาดทรงเสด็จไปโปรดพุทธมารดาในชั้นดาวดึงสเทวโลก
ครั้นที่พุทธมารดาเป็นท้าวสันดุสิตเทวราช ไปทรงบังเกิดอยู่ในดุสิต
แต่ว่าเมื่อทรงทราบข่าวว่า พระพุทธบุตรเสด็จมาแสดงธรรมโปรด
ก็ทรงเสด็จลงมาในชั้นดาวดึงส์ เพื่อลงมาฟังธรรม
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรม ตั้งแต่เริ่มวันเข้าพรรษา
ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงยกขึ้นมาแสดงนั้น เป็นธรรมที่ชื่อว่า อภิธรรม
อภิธรรม ซึ่งหมายถึงธรรมอันยิ่ง ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันดีเลิศ แล้วก็งามพร้อม
เดี๋ยวจะอธิบายว่า ความหมายมาจาก เป็นยังไงบ้าง
แต่ในขณะที่พระองค์ทรงแสดงอภิธรรม ถามว่า อภิธรรมมีจำนวนเท่าไหร่ ใช้เวลาแสดงขนาดไหน
อภิธรรมมีจำนวน 42,000 พระธรรมขันธ์ แยกออกเป็น 7 คัมภีร์
ทรงใช้เวลาแสดงธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ทั้ง 42,000 พระธรรมขันธ์ เป็นเวลา 3 เดือน
3 เดือนนี่ ทรงแสดงทั้งวันทั้งคืน ไม่หยุดหย่อนเลย
แล้วถามว่าเวลากิน เวลานอน เวลาถ่าย เวลาพักผ่อน หรือเวลาบิณฑบาตร
เหมือนที่พูดเป็นภาษาชาวบ้าน พระองค์ทำอย่างไร
พระองค์ก็ทรงทำพุทธนิมิตร คือ เนรมิตรเหมือนกับธงที่อยู่ในขันกัณฑ์เทศน์ของพวกเรา
ธงนั้นทำจากคาถาอภิธรรม เรียกว่า ธงพุทธนิมิตร หรือยันต์พุทธนิมิตร
มีรูปพระพุทธเจ้าเขียนเป็นยันต์ เป็นรูปพระพุทธเจ้า
มีความหมายว่า พระองค์ทรงเนรมิตรพระวรกาย หลีกลงมาเพื่อจะทำพุทธกิจ
เช่น บิณฑบาตร ฉันภัตตาหาร ลงพระบังคน ก็คือ ขับถ่าย แล้วก็สรงสนาน คือ อาบน้ำอาบท่า
ในขณะที่พระองค์ทรงทำพุทธนิมิตรลงมา พวกพรหม เทวดา ทั้งหลายที่ฟังธรรม หาได้รู้ไม่
เพราะว่าด้วยอานุภาพ มีอำนาจครอบงำจักษุทิพย์ของพรหมเทวดา
ไม่สามารถรับรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าองค์จริง ไม่ได้อยู่บนสวรรค์แล้ว
ท่านนิมิตรกายเพื่อแสดงธรรม แล้วองค์จริงท่านลงมาโปรดสรรพสัตว์
ลงมาบิณฑบาตร ลงมาเสวยพระกระยาหาร
พวกเทวดานี่ 3 เดือนนี่ เค้าไม่จำเป็นต้องกิน ต้องนอน
เพราะว่า เค้าเสพของทิพย์ เค้าเสพสิ่งที่เป็นของทิพย์
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นมนุษย์ มนุษย์ที่ประเสริฐ
ก็ทรงทำพุทธกิริยาเหมือนดั่งมนุษย์ทั่วๆ ไป  ไม่ได้มีอะไรวิเศษมากกว่ามนุษย์อื่นๆ
เว้นแต่คุณธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสมอบรมและเจริญมา
งั้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม อภิธรรม ตลอด 3 เดือน ทั้งวันทั้งคืน
เมื่อถึงฤดูออกพรรษา ก็เป็นเหตุทำให้พระพุทธมารดาได้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรม
ได้เป็นพระอนาคามี เพราะงั้น ด้วยบุญคุณแห่งพุทธมารดาที่มีมากมายล้นพ้น
พระองค์ทรงยกธรรมะชั้นสูง ที่เป็นสุดยอดของธรรมทั้ง 84,000 ข้อ
อะไรจะมาสูงเท่าพระอภิธรรมเป็นไม่มี
แล้วในหลักอภิธรรมมีอะไรบ้าง ก็เดี๋ยวจะบรรยายให้ฟังว่า มีอะไรบ้าง
แต่อยากจะบอกให้ท่านที่รักทั้งหลายได้รับรู้ว่า คนฟังอภิธรรม ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง
แต่ตั้งใจฟัง พระผู้มีพระภาคเจ้าจะสอนสั่งไว้ในอานิสงส์การฟังอภิธรรมว่า
ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ตั้งใจฟัง ห้ามนรก แต่ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามนิพพาน
ดูตัวอย่าง เช่น สัตว์เดรัจฉาน คือ ค้างคาว 500 ตัว ตั้งใจฟัง แต่ฟังไม่รู้เรื่อง
ฟังไม่รู้เรื่องแต่ตั้งใจฟัง จนกระทั่งเผลอปล่อยนิ้ว ปล่อยมือที่เกาะผนังถ้ำ
แล้วก็ตกลงมาหัวโหม่งพื้นตาย อานิสงส์ที่ฟังอภิธรรม ตั้งใจฟัง แม้ฟังไม่รู้เรื่อง
ก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร ครั้งที่พระโมคคลานะโดนไหว้วานจากชาวบ้าน
ให้ช่วยไปสำรวจตรวจดูซิว่า ญาติของตนที่ตาย ไปอยู่ในนรกขุมไหน สวรรค์ชั้นใด
พระโมคคลานะก็ได้ไปเจอ เทวดา หรือว่า เทพบุตรทั้ง 500 ว่า มีแสงรุ่งเรืองเจริญ
มีผิวกายอันหอมขจรขจาย มีบุญมาก มีบารมีมาก
ก็เลยสอบถามว่า ท่านทั้ง 500 ทำบุญอะไรมา ทำไมจึงมีแสงรุ่งเรือง ดั่งแสงสุริยายามเที่ยงวัน
ก็คือ เหมือนดั่งมีสติปัญญารุ่งเรือง มีบุญมาก มีอานิสงส์มากเห็นปานนี้
เทวดาทั้ง 500 ก็บอกว่า พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำบุญอะไร
 เพียงแค่ตั้งใจฟังบทสาธยายอภิธรรมของพระสงฆ์ที่อยู่ในถ้ำ เมื่อคราวที่ข้าพเจ้าได้เป็นเดรัจฉาน
ผลบุญอันนั้นจึงส่งบุญมาให้ข้าพเจ้าได้มาเกิดอยู่ในสวรรค์
ได้วิมานดั่งที่เห็น ได้ทิพยสมบัติ ดั่งที่เห็น
เพราะฉะนั้น การตั้งใจฟังเทศน์ ฟังสวด
อันนี้น่ะเค้าสวด พระสวด แล้วก็ค้างคาวฟัง ก็ยังได้ขึ้นสวรรค์
อ้ายนี่ทั้งเทศน์ ทั้งสวด ถ้าตกนรก ก็เกินไปล่ะ
ก็แสดงว่า พวกสูเจ้านี่ อย่างหนาล่ะ มันเคาะอะไรไม่ออก ไม่เข้าแล้วล่ะ สนิมมันจับเกรอะแล้วล่ะ
นั่นเดรัจฉาน แค่ตั้งใจฟัง ไม่ได้เทศน์ ฟังไม่รู้เรื่องด้วย ฟังภาษามนุษย์ไม่รู้เรื่อง
ค้างคาวฟังภาษามนุษย์รู้เรื่องไม๊
นั่นสิ เค้าสวดอย่างเดียว เค้ายังได้ขึ้นสวรรค์ ฟังเฉยๆ
อ้ายนี่ ทั้งเทศน์ ทั้งสวด ทั้งยัด ทั้งอัด ถ้ายังไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ก็ เออ กูยอมล่ะ ยอมแพ้ เออ
เพราะฉะนั้น ก็เลยอยากบอกว่า แค่ตั้งใจฟัง แม้ไม่รู้เรื่อง ก็ได้อานิสงส์มหาศาล
ลูกหลานคนใด ถ้าพาพ่อแม่มาได้ฟังธรรม อภิธรรม เทศน์อภิธรรม
ก็ถือว่า เหมือนดั่งตนได้เทศน์เอง ด้วยเหตุผลว่า เราเลี้ยงพ่อแม่ข้ามชาติข้ามภพ
เหมือนดั่งเมื่อครู่นี้ ที่กล่าวว่า เราเลี้ยงก้อนข้าว หยดน้ำ
ก็เลี้ยงได้แค่เป็นมื้อๆ ไม่ได้เลี้ยงทุกมื้อด้วยซ้ำ มีหลายมื้อที่เราลืมเลี้ยง หรือไม่ได้เลี้ยง
และก็เลี้ยงได้แค่ภพชาติเดียว
แต่เลี้ยงบุญ เลี้ยงคุณงามความดี เลี้ยงจิตวิญญาณพ่อแม่
ทำให้พ่อแม่มีศีลธรรม คุณธรรม สัจธรรม พระบริสุทธิธรรม เค้าเรียกว่า เลี้ยงข้ามภพข้ามชาติ
เลี้ยงไปเป็นหมื่นๆ แสนๆ ชาติ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ลูกยอดกตัญญู ลูกเลี้ยงพ่อแม่ได้ข้ามภพข้ามชาติ แล้ววิธีก็คือ อย่างที่พวกคุณกำลังทำอยู่เนี่ย นอกจากปฏิบัติธรรม ใส่บาตร รักษาศีล
แผ่เมตตา เจริญภาวนา ทำหน้าที่ถูกต้อง ทำเรื่องดีๆ ไม่บกพร่อง
ให้พ่อแม่ชุ่มฉ่ำ สุขกายสบายใจ ผ่อนคลายในหัวใจ จิตใจก็เบิกบาน แจ่มใส
แล้วก็หาที่พึ่งทางจิตวิญญาณให้พ่อให้แม่ได้ข้ามภพข้ามชาติ เรียกว่า บุญ กุศล คุณงามความดี
ซึ่งวันนี้ ก็จะบรรยายสาธยายให้ฟังว่า กุศลมีอะไรบ้าง พระเค้าจะสวด กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา
ก็จะแปลให้ฟังว่า กุศลมาจากเหตุ แล้วเหตุแห่งกุศลมีอะไรบ้าง
อกุศลก็มาจากเหตุ แล้วเหตุแห่งอกุศลมีอะไรบ้าง
เขียนเอาไว้อย่างย่นย่อ พอจับใจความได้ ใช้เวลาเขียนก็ประมาณร่วมๆ  2 สัปดาห์
ควันขึ้นหัว ผมหงอกเต็มกะบาลแล้ว ก็รู้สึกจะแก่มากกว่าเก่า
เพราะว่า ต้องอ่านเยอะ ทำความเข้าใจมาก แล้วจึงจะเขียน
เขียนแล้วก็มาอ่าน อ่าน ถ้าไม่เข้าใจ ก็เขียนใหม่ แล้วก็มาอ่าน
อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ คือ ตัวเองยังไม่เข้าใจ ก็ยังใช้ไม่ได้
เพราะงั้น มันก็เลยต้องทำความเข้าใจกันว่า
อภิธรรมที่จะเทศน์นี้ เป็นอภิธรรมฉบับย่อ ซึ่งแม้จะไม่ครบ 7 คัมภีร์
เพราะทั้ง 7 คัมภีร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ใช้เวลาเทศน์ตั้ง 3 เดือน
แล้วคนฟังมีสติปัญญาระดับอยู่บนสวรรค์แล้ว เป็นถึงท้าวสันดุสิตเทวราช
พวกสูเจ้าทั้งหลายอยู่สวรรค์ชั้นไหน
เออ ก็ยังไม่ได้ขึ้นสวรรค์
เพราะฉะนั้น สติปัญญาก็คงจะรุ่งเรือง เจริญเหมือนท้าวสันดุสิตเทวราช คงเป็นไม่มี
ก็ค่อยๆ กลืนไปก็แล้วกัน ก็จะพยายามสอนเทศน์ให้ฟังทีละน้อยๆ
กว่าจะครบ 7 คัมภีร์ ก็คนเทศน์อาจจะตายก่อนคนฟังก็ได้
ไว้ปีหน้ามาฟังใหม่ ติดเอาไว้ ต๊ะเอาไว้ก่อน
แต่วันนี้ ฟังทีละคัมภีร์ อาจจะไม่จบคัมภีร์ด้วยซ้ำ เพราะเวลามันก็จำกัด
อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อตั้งใจฟังด้วย แล้วฟังรู้เรื่องด้วย
สวรรค์ไม่ไป ต่ำไป อานิสงส์ในการฟังอภิธรรม เมื่อฟังแล้วรู้เรื่อง ตั้งใจฟัง รู้เรื่อง
ที่ไปก็คือ พรหม สูงสุดก็คือ พระนิพพาน
ซึ่งพระอภิธรรมมีหลักอยู่ 4 อย่าง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
ในอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้ชัดว่า
สัตว์ทุกตน มนุษย์ทุกประเภท เทวดาทุกท่าน ทุกองค์ มีสิทธิ์ไปนิพพานหมด
ส่วนจะไปช้า ไปเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของสัตว์ตนนั้นๆ
บางคนก็ไปหัวตะพานก่อน ไม่ขึ้นนิพพานก็มี
เพราะว่า ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการทางจิต
เพราะงั้น จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นใจความย่นย่อสำคัญ ของหัวใจแห่งพระอภิธรรม
งั้น เมื่อทุกอย่างพร้อมมูลแล้วก็ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
บูชาพระรัตนตรัยเสร็จเรียบร้อย แล้วก็อาราธนาศีล
หลวงปู่ให้ศีลแล้ว พวกเราก็อาราธนาธรรม
พระท่านอาราธนาธรรมแล้ว พระเค้าจะขึ้นนะโม
จบแล้ว หลวงปู่ก็จะกล่าว อธิบายความหมายของ นะโม
พอจบ นะโม ก็จะอธิบายที่มาของอภิธรรม
แล้วพระท่านก็จะสวด กุสลา
หลวงปู่ก็จะบรรยาย
เมื่อจบแล้ว ก็จะบรรยายว่า ความหมายของกุสลา คือ เหตุแห่งกุศล เหตุแห่งอกุศลเป็นอย่างไร
นี่คือ ลำดับขั้นตอน
เพราะจะได้เข้าใจเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ ไม่งั้น เราก็จะสับสนปนเป
แล้วยิ่งเป็นอะไรที่มันเป็นวิชาการล้วนๆ ยิ่งยากต่อการทำความเข้าใจ
ก็ขอให้ตั้งสติมั่น พร้อมที่สดับตรับฟังสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดในชีวิต
เพื่อทดแทนบุญคุณบิดาและมารดา อดีตที่เป็นพ่อแม่
ปัจจุบันที่เป็นพ่อแม่ และจะมีต่อไปในอนาคตที่เป็นพ่อแม่
ด้วยการฟังธรรมครั้งนี้ ก็จะมีอานิสงส์ส่งผลให้อย่างมโหฬารมหาศาล
ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ก็จะได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา เพราะผลแห่งการตั้งใจฟังอภิธรรม
เอ้า เชิญ
พิธีกร  กราบเรียนเชิญ คุณย่าอัมพร ทองประเสริฐ จุดธุปเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัยค่ะ
หลวงปู่  ใครตั้งธูป ตั้งเทียนไว้หน้าอดีตบูรพกษัตราธิราชเจ้า และดวงวิญญาณ
ไหนเค้ามีหรือเปล่า มีกระถางธูปเทียนไม๊
ไม่มี ก็หามา ทิ่มไว้ตรงไหนก็ได้
เอาจุดตรงนี้ก่อน แล้วจึงไปจุดบูชาธรรมทีหลัง
ทุกปี หลวงปู่จะมาดูเค้าจัด ปีนี้ พอดีงานมันเยอะ ลูก เลยไม่ได้ดูเค้าจัด
จุดหน้านี่ก่อน ไปหาธูปเทียนมาจุด
ขออภัยในความไม่สะดวก ลูก
ธูปอยู่ข้างหน้าก็มี
เอ้ย ใครไปจุดธูปที่ศาล อ้ายเถียรไปจุดธูปที่ศาลอีนวลหน่อย
อ้ายนั่น มึงไปจุดธูปบอกพ่อมึง
ทำบุญอย่าใจคับแคบ ไม่งั้น เดี๋ยวจะอยู่โดดเดี่ยว โด่เด่ เดียวดาย
ยืนตายซาก ไม่มีใครเป็นบริษัท บริวาร
บอกไปให้ทั่วๆ เค้ามีโอกาสร่วมยินดี อนุโมทนา
เค้าจะยินดีหรือไม่ยินดี เราก็บอกแล้ว ก็ถือว่า ทำตามคำสอนพระผู้มีพระภาคเ
นี่เป็นคำสอนพระพุทธเจ้า ไม่ได้งมงาย เดี๋ยวจะอยู่ในวิธีแห่งเหตุปัจจัยของกุศล
พิธีกร  เรียนเชิญทุกท่านกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ด้วยบทอะระหัง สัมมา
หลวงปู่   อาราธนาศีล  5 พร้อมกัน
หลวงปู่ให้ศีล
อาราธรชนาธรรม ลูก
พระขึ้น นะโม
หลวงปู่    มีเรื่องเล่าว่า ณ.ดินแดนหิมวันตปะเทศ มีเทือกเขาชื่อ สาตาคีรี
เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมมะเทวดา
อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคีรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางหิมวันต์ ทางทิศเหนือ
เป็นบริวารของท้าวเวสสุวรรณ
สาตาคีรียักษ์ ได้มีโอกาสสดับพระสัจธรรม จากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใส ศรัทธา
เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า นะโม หมายถึง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทวดา
พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
กล่าวฝ่ายอสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศักดิ์ของพระบรมศาสดา
ก็มีจิตปรารถนาที่จะได้ฟังพระธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง
แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลนพระบรมศาสดาว่า
มีพระวรกายเล็กดั่งมด จึงอดใจรั้งรออยู่
พอนานวันเข้า พระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไกลไปทั้ง 3 โลก
จนทำให้อสุรินทราหู อดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย์ ย่อกาย
เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอฟังธรรม
แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้า คอตั้งบ่า
เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์ของพระบรมศาสดา
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงพระสัจธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้างของอสุรินทราหู
ให้มีความเลื่อใส ศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า ตัสสะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
ข้าพเจ้าขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ
เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมมหาราชิกาทั้ง 4 ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก
มีชื่อเรียกว่า ชั้น กามาวจรภูมิ มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง 4 ทิศ พร้อมบริวาร
ได้พากันมาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา แล้วทูลถามปัญหา
พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรม ตอบปัญหานั้น แก่มหาราชทั้ง 4 พร้อมบริวาร
จนทำให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้ง 4 และบริวาร
ท้าวจาตุมหาราชิกาทั้ง  4 นั้น จึงเปล่งคำบูชาขึ้นว่า ภควโต แปลเป็นใจความว่า
พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าอีกแล้ว
อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญของท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
ซึ่งสถิตย์อยู่ ณ.สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ท้าวสักกะเทวราชได้ทูลถามปัญหาแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยธรรม และทรงตอบปัญหา
จนทำให้ท้าวสักกะเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาปฏิผล
จึงเปล่งอุทานบูชาขึ้นว่า อะระหะโต แปลเป็นใจความว่า อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
สัมมา สัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่อง สรรเสริญของท้าวมหาพรหม
หลังจากได้ฟังธรรมจนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ พร้อมกับกล่าวว่า
สัมมา สัมพุทธัสสะ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง
ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใดใน 3 โลก
รวมเป็นบทเดียวกันว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
แปลโดยรวม ความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อะระหัง สัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หลวงปู่  โยมมาจุดเทียนส่องธรรม ย่า
เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชนคนดีที่รักทุกท่าน
ก่อนที่เราท่านทั้งหลาย จะมาเรียน รู้จักธรรมชาติแท้ของชีวิตที่มีอยู่ในพระอภิธรรม
เราท่านทั้งหลาย ควรจักมาทำความรู้จัก หน้าตาตัวตนของอภิธรรมกันก่อน
อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่แท้จริง ปราศจากสมมุติ
ธรรมที่เป็นสภาวะปรมัตธรรมล้วนๆ
อภิธรรม   จัดเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ ไม่มีสมมุติบัญญัติ ปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน
 เราเขา ชื่อ สิ่งของให้เรียกขาน ตัวอย่างเช่น เมื่อจะพูดถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งในพระอภิธรรม
ถือว่า บุคคลนั้นไม่มี มีแต่หลายสิ่งมาประชุมรวมกัน อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป รวมกัน
แล้วเรียกว่า บุคคล หรือสัตว์
จิต เจตสิก รูป นี้ ประชุมพร้อมพรรค ตั้งมั่นอยู่ได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัย
เมื่อขาดเหตุปัจจัย จิต เจตสิก รูป ของบุคคลและสัตว์นั้นๆ ก็จะแยกแตกสลาย
เช่นนี้ เรียกว่า หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง แล้วเรียกหนึ่งสิ่งนั้นว่า ชื่อนั้น ชื่อนี้
เหล่านี้ ล้วนเป็นสมมุติบัญญัติ มิใช่อภิธรรม
อภิธรรม คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติแท้ที่มีอยู่ในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย
ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งเป็นพุทธประสงค์ขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ที่ทรงปรารถนาให้บุคคลและสัตว์ได้รับรู้ ศึกษา เพื่อชำระฟอกจิตให้เข้าสู่วิถีแห่งพระนิพพาน
เมื่อมีพระนิพพานเป็นจุดหมาย
ฉะนั้น อภิธรรมปิฎก จึงมีความสำคัญประดุจดั่งรากแก้วของต้นไม้
พระวินัยปิฎก เปรียบประดุจดั่งลำต้นไม้
พระสุตันตปิฎก เปรียบดั่งกิ่งก้าน สาขา และใบของต้นไม้
อภิธรรม มีอยู่ทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขัณฑ์ แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ ได้แก่
 1 คัมภีร์ธรรมสังคิณี ที่ว่าด้วยหัวข้อธรรมที่รวมไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด 4 กัณฑ์
ได้แก่  1  จิตวิภัติ  คือ การจำแนกจิต และชนิดของจิต รวมทั้งเครื่องปรุงจิตทั้งหมด
           2   รูปะวิภัติ  คือ การจำแนกรูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย
                และสลายไปได้ ก็ด้วยเหตุปัจจัยที่ขัดแย้งกัน ซึ่งก็มีทั้งรูปขันธ์ และรูปารมณ์
                คือ อารมณ์ ที่เข้ามาปรุงจิต
            3   นิเขปราจิตตัง คือ การแสดงหัวข้อธรรมที่เป็นปรมัติทั้งหมด
            4   อรรถคถากัณฑ์ คือ การอธิบายขยายความในปรมัติธรรมทั้งหมด
ต่อมาก็เป็นคัมภีร์ที่ 2 คือ คัมภีร์วิภังค์ ได้แก่ การอธิบายจำแนกแจกแจงปรมัติธรรมทั้งหมด                                    เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นาม รูป
ต่อมา คัมภีร์ที่ 3  คือ ธาตุคาถา ได้แก่ การจัดหมู่ของปรมัติธรรมทั้งปวงและสงเคราะห์
                           เข้าในธรรมชาติเดิมที่มีอยู่ในสภาวะธรรม และสรรพสิ่งรวมทั้งสรรพสัตว์
คัมภีร์ที่ 4 คือ บุคคละบัญญัติ ว่าด้วยบุคคล  6 ประการ และบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลอย่างละเอียด
คัมภีร์ที่ 5  ว่าด้วยคาถาวัตถุ กล่าวถึง ปัญหาและการแก้ปัญหาในปรมัติธรรมทั้งปวง
                  อีกทั้งยังเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัยอีกด้วย
คัมภีร์ที่ 6 คือ ยะมะกะ ว่าด้วยการตั้งคำถามและตอบปัญหา
                 ขยายใจความในเรื่อง มูลแห่งกุศลและมูลแห่งอกุศล
และคัมภีร์ที่ 7  เป็นคัมภีร์สุดท้าย อันได้แก่ คัมภีร์มหาปัฏฐาน ว่าด้วย ธรรมที่เป็นปัจจัยหรือ      
                        อุปการะแก่ธรรมอื่นๆ  เช่น รูปารมณ์ คือ อารมณ์ที่เห็นรูป เป็นปัจจัยหรือ อุปาการะ
                        ให้เกิดการมอง เห็นด้วยตา เรียกว่า จักษุวิญญาณ พร้อมทั้งยังแสดงความสัมพันธ์
  อันเป็นเหตุและผลที่อิงอาศัยของกันและกัน
สรุป พระอภิธรรม เป็นธรรมชั้นเลิศ เป็นธรรมที่องค์พระบรมศาสดาทรงยกขึ้นแสดง
โปรดพระพุทธมารดา ณ. ดาวดึงสเทวโลกในช่วงฤดูเทศกาลเข้าพรรษา
โดยใช้เวลาแสดงพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ตลอด 3 เดือน ทั้งวันทั้งคืน มิได้ทรงหยุดแสดง
ไม่ว่าจะเป็นเวลาบรรทม บิณฑบาตร เสวยพระกระยาหาร ประกอบภาระกิจส่วนพระองค์
ก็จะทรงเนรมิตเป็นพุทธนิมิตร ให้ทรงแสดงธรรมอยู่
ส่วนรูปพระวรกายจริงก็จะเสด็จหลีกออกมาทรงทำภาระกิจ
พวกมวลหมู่เทวดา ที่มาประชุมฟังธรรมเหล่านั้น ก็หาได้รู้ไม่
พระอภิธรรมมีทั้งหมดอยู่ด้วยกัน 42,000 พระธรรมขันธ์ รวมเป็น 7 คัมภีร์
ย่อเป็นคาถาสั้นๆ ได้ 7 ตัว คือ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
ว่าตาม  สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
คาถานี้ เดี๋ยวใช้ภาวนาเวลาเราหล่อพระให้แม่เรา
เอาอีกรอบหนึ่ง สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
สัง หมายถึง คัมภีร์สังคิณี
วิ หมายถึง คัมภีร์วิภังค์
ธา หมายถึง คัมภีร์ธาตุคาถา
ปุ หมายถึง ปุคคลาปัญญัติ
กะ หมายถึง คัมภีร์กถาวัตถุ
ยะ หมายถึง คัมภีร์ ยะมะกะ
ปะ หมายถึง คัมภีร์มหาปัฏฐาน
รวมเรียกว่า หัวใจอภิธรรม
ลำดับต่อไป ขออาราธนาพระคุณเจ้าโปรดเมตตาอัญเชิญพระบาลีอภิธรรม
อันแสนวิเศษนั้น เพื่อโปรดและปลดเปลื้องอาสวะกุศล อกุศล ทั้งปวง
ที่มีอยู่ในขันธสันดานของหมู่สัตว์และชุมชนนิกร อย่างพวกข้าทั้งหลาย
ให้เบาบาง มีจิตโปร่งเบา สว่างไสว ดุจอาทิตย์ยามเที่ยงวันด้วยเทอญ
ขออาราธนา
กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา
กะตะเม ธัมมา กุสะลา
ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลา จิตตัง
อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา
สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณัง วา
ธัมมา รัมมะณัง วา
ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ
เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา
อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา
ต่อมาจะแสดงความหมายของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ อย่างย่อ พอท่านผู้สดับจับใจความ
ให้เข้าใจรู้จักธรรมชาติแท้ที่มีอยู่
จิต การรับรู้ เจตสิก เครื่องปรุงจิต และรูป คือสิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของมัน
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย และเสื่อมลงเพราะขาดเหตุขาดปัจจัย
สุดท้ายที่เป็นคำสอนสูงสุดในพระอภิธรรม คือ พระนิพพาน
ซึ่งก็สามารถจะลุถึงได้ แม้นมนุษย์ และสัตว์ทุกตน
มีแต่เพียงว่า มนุษย์และสัตว์ตนใดจะเข้าใจ รู้จัก วางและว่าง ดับและเย็น ได้ก่อนหรือหลังเท่านั้น
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ เรื่องราวที่เราท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น
เพื่อเป็นพื้นฐานของศรัทธาและความเพียรในการศึกษา ค้นคว้า เรื่องของจิต เจตสิก รูป นิพพาน
ให้แจ่มชัดตามความเป็นจริง ซึ่งของเหล่านี้มีอยู่ในตัวเราที่เป็นสมมุติบัญญัติ
ให้รู้จักเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งสืบไป
ลำดับต่อไป ก็จะขออนุญาตอธิบายความหมายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ สังคิณี กัณฑ์ที่ 1
ว่าด้วยเรื่องจิตวิภัท ที่พระคุณเจ้าทั้งหลายเมตตาสาธยายให้เราท่านทั้งหลายได้ฟังมาแล้วว่า
กุสะลา ธัมมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล คือ การกระทำที่ส่งผลให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ
พรหมสมบัติ และนิพพานสมบัติ
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล แบ่งออกได้เป็น 2 จำพวก ได้แก่
กามาวจรกุศล และ โลกุตระกุศล
กามาวจรกุศลนี้ ยังจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
มหากุศลจิต ได้แก่ การกระทำอันประกอบไปด้วยจิตที่ส่งผลให้ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์
เรียกว่า ได้มนุษย์สมบัติ และการกระทำอันประกอบไปด้วยจิตที่ส่งให้ไปเกิดเป็นเทวดาในสรวงสวรรค์ เรียกว่า สวรรค์สมบัติ เรียกได้ว่า สวรรค์สมบัติทั้ง 6 ชั้น
ปฏิบัติตนให้อยู่ในกุศลกรรมบท 4 ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา
ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามทำนองครองธรรม อันได้แก่
เห็นว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม
เห็นว่า สิ่งทั้งปวงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สุดท้ายก็ดับไป
และเห็นว่า ทุกข์มีอยู่ เกิดขึ้น ทุกข์นั้นต้องละ ทางดับทุกข์ต้องดำเนินตาม
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ต้องทำให้ได้ผลจริง
เหล่านี้ คือ หลักปฏิบัติเบื้องต้น ที่จะทำให้เราเข้าถึงมนุษย์สมบัติ และสวรรค์สมบัติ
ต่อมา ก็ต้องพยายามสร้างเสริมกุศล บุญ ทุนทรัพย์ให้กลายเป็นมนุษย์และเทวดาที่ร่ำรวยมั่งมี
บารมีมากมาย นั่นก็คือ ต้องปฏิบัติในบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง อันได้แก่
การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน
การทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง การรู้จักอุทิศแบ่งผลบุญ กุศล ให้แก่ผู้อื่น
การมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความดีของผู้อื่น แล้วพร้อมยินดีกับการทำดีของผู้อื่นด้วย
รู้จักแบ่งเวลาในการฟังธรรมเสียบ้าง เจริญธรรมให้มากหน่อย
และสุดท้าย ทำความเห็นของตนให้ตรงและถูกต้องตามทำนองครองธรรม
เช่นนี้ ท่านทั้งหลายก็จะเข้าถึงซึ่งมนุษย์ที่สวย รวย หล่อ ปัญญาดี มีบารมีมาก
แม้ถ้าได้เป็นเทวดา ก็จะได้เป็นเทวดาที่มีบารมีมาก สมบัติมาก บริวารมาก
กลิ่นตัวหอมมากๆ มีเกียรติยศยิ่งใหญ่มาก
ในมหากุศลที่มีอยู่นี้ ที่กล่าวมาทั้งหมด มีอยู่ด้วยกัน 8 ดวง
จิตที่เป็นมหากุศลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทั้ง 8 ดวงต้องประกอบไปด้วยความยินดี มีปัญญาและอุเบกขารมณ์ คือการวางเฉย
ลำดับต่อไป จะแสดงคุณลักษณะของผู้ที่จะได้พรหมสมบัติในชั้นรูปาวจรกุศล ก็คือ รูปพรหม
คือ การกระทำใดๆ ที่ประกอบไปด้วยจิตที่ส่งผลให้ได้ไปบังเกิดเป็นรูปพรหม ได้แก่ การรักษาศีล 8
อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเจริญสมถะภาวนา จนได้บรรลุถึงรูปฌาน
เริ่มตั้งแต่ฌานที่ 1 จนถึงฌานที่ 5  รูปภพก็จะบังเกิดแก่ผู้เข้าถึงองค์ฌานในแต่ละขั้น
รูปาวจรจิต มีอยู่ด้วยกัน 5 ดวง แต่ละดวง จิตต้องประกอบได้ด้วย สภาวะธรรมารมณ์
เช่น วิตก และตรึกในกรรมฐานที่กำลังทำ
วิจารณ์และแยกแยะหาเหตุผลที่ปรากฏในกุศลที่กำลังเจริญ
เมื่อรับรู้ได้แจ่มชัด ก็บังเกิดปิติ สุข อิ่มใจ พอใจ แน่วแน่อยู่ในกุศลที่กำลังเจริญแล้ว
และ(เอกัคคตา) วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง
อารมณ์ทั้ง 5 อย่างนี้ เป็นคุณลักษณะของผู้ที่เข้าถึงองค์ฌานเบื้องต้น
ต่อมา จะขอยกอรูปาวจรกุศล ได้แก่ การกระทำที่ส่งผลให้บังเกิดเป็นอรูปพรหม
ด้วยการรักษาศีล 8 อย่างพร้อม เคร่งครัด พร้อมกับเจริญ อรูปฌาน 4  ด้แก่
จิตพิจารณาความว่างเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตน
และขยับจิตขึ้นพิจารณาความรู้นี้ ว่าหาที่สุดมิได้ เป็นประมาณ เป็นอารมณ์
เรียกว่า วิญญานัญจายตน
พร้อมทั้งพัฒนาขึ้นมาอีก จนพิจารณาสภาวะไม่มี ไม่ได้ ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร
จนเป็นอารมณ์ของจิตปกติ เรียกว่า อาจินจัญยายตน
เมื่อพิจาณาจนช่ำชอง เชี่ยวชาญ ชำนาญแล้ว จึงจะขยับจิตขึ้นมาพิจารณาสัญญา
คือ ความจำได้หมายรู้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ หาได้มีตัวตนไม่ แม้นความไม่ต้องจำ ก็ไม่มีตัวตน
เช่นนี้จึงถือว่า ลุถึง เนวะสัญญา นาวะสัญญายตน สู่อรูปฌาน เป็นอรูปพรหมได้สูงสุด
ต่อมาจะยกเรื่องกุศลจิตในขั้นโลกุตระกุศล ได้แก่ การกระทำที่ประกอบด้วยจิตส่งผลให้ต้องขาดจากภพ คือ แดนเกิด ด้วยวิถีแห่งมรรค  8 ประการ คือ
ปัญญาเห็นชอบ เห็นว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม
เห็นว่า ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ และแปรปรวนในท่ามกลาง
สุดท้ายแตกสลายในที่สุด
และเห็นว่า ทุกข์มีอยู่จริง เหตุเกิดทุกข์ควรต้องรู้ ทางดับทุกข์ควรต้องดำเนิน
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ต้องเจริญให้มาก
ดำริชอบ ได้แก่ ดำริออกจากกาม ดำริที่จะไม่พยาบาท ดำริที่จะไม่เบียดเบียน
เจรจาชอบ ได้แก่ เว้นจากวจีทุจริต 4 อย่าง คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ
ธรรมในมุมกลับกัน คือ พูดสุจริต 4 อย่าง ซึ่งตรงกันข้าม กับทุจริตสิ่งที่กล่าวมา
ข้อต่อมา ในมรรค 8 ก็คือ การงานชอบ ต้องไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม
เช่นนี้ จึงจะเรียกได้ว่า เป็นผู้มีการงานชอบ
ข้อต่อมา การเลี้ยงชีพชอบ คือ เลี้ยงชีพด้วยความสุจริต ไม่เบียดเบียนตน และไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน
เช่นนี้ จึงจะถือว่า เรายืนและเดินอยู่ในมรรคาปฏิปทา ข้อการเลี้ยงชีพชอบ
ข้อต่อมา ความเพียรชอบ ได้แก่ การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิด เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
เพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้น เพียรระวังไม่ให้กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ได้เสื่อมสูญไป
เช่นนี้ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีความเพียรชอบ
ข้อต่อมา ระลึกชอบ ระลึกใน กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คือ ตั้งสติไว้ในมหาสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
ตั้งจิตเอาไว้ในเรื่องที่ชอบ เช่น กรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน
ด้วยการปฏิบัติตามมรรควิถี ดังกล่าวมาแล้วให้ถูกต้อง และเคร่งครัด
จะทำให้จิตนี้ได้พัฒนาไปสู่อริยบุคคล หลุดพ้นจากภพแดนเกิด ชาติ การเกิด ตามลำดับ
ได้แก่ พระโสดาปฏิมรรค พระโสดาปฏิผล สกะทาคามีมรรค สกะทาคามีผล
อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหันตมรรค และอรหันตผล
รวมเป็น โลกุตระจิต 4 ดวง ดังกล่าวมา
เมื่อแสดงสภาวะธรรมในส่วนที่เป็นกุศลอย่างย่นย่อมาพอสังเขปแล้ว
ต่อไปจะแสดงสภาวะธรรมส่วนที่เป็นอกุศล คือการทำชั่ว การทำไม่ดี
การกระทำที่ไม่ฉลาด ขาดปัญญา ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ทาง คือ ชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต
ชั่วทางใจ เรียกว่า ใจทุจริต ชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต
การทำทุจริต คือ การทำชั่ว ได้แก่ การทำไม่ซื่อตรง
การกระทำที่ไม่ฉลาด การทำที่ไม่ดี ขาดสติปัญญา
รวมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า เป็นผู้ประพฤติทุจริต
ทุจริตทางใจ ได้แก่ โลภ อยากได้ของเขา แม้นของที่ควรเป็นของของเรา
หากว่าโลภมากเกินไป ก็จะทำให้จิตนี้ทุรนทุราย ไม่สงบสุข
พยาบาทปองร้ายเขา เป็นเหตุให้ก่อเวร สร้างกรรม ทำให้เกิดความเดือดร้อน
และสุดท้าย เห็นผิดจากครองธรรม เช่นเห็นว่า ทำดีไม่มีผล ทำชั่วไม่มีผล
เห็นว่า โลกเที่ยง สัตว์เคยเกิดเป็นอะไร ชาติต่อๆ ไป ก็จะเกิดเป็นเช่นนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างนี้เป็นต้น
แม้ที่สุด เห็นว่า ตัวของเราไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนา ไม่ต้องนับถืออะไรๆ และบุคคลใดๆก็ได้
ไม่ต้องมีเครื่องอาศัยของจิตที่ถูกต้อง เราก็อยู่ได้ เช่นนี้จัดว่า เป็นความเห็นที่ผิดจากครองธรรม
เพราะแม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ยังต้องอาศัยพระธรรมเป็นเครื่องอยู่
ทรงได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะอาศัยพระธรรม
ส่วนการกระทำทุจริตทางกาย คือ การกระทำที่ไม่ซื่อตรง การกระทำที่ไม่ดี
การกระทำที่ไม่ฉลาด ขาดปัญญาทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะฆ่าด้วยความจำเป็นหรือฆ่าเพราะคิดว่า ตนเป็นเจ้าของโลกนี้ สัตว์อื่นเป็นผู้บุกรุก เช่นนั้น ต้องฆ่า ต้องกำจัด
เพื่อเราจะได้อยู่อย่างเป็นสุข เหล่านี้หากมีเจตนาที่จะฆ่า ถือว่าเป็นความชั่วผิดบาป ไม่ดี ไม่ฉลาด
ผู้ที่กระทำจะได้รับผล ตนจะเป็นคนขี้โรค อายุสั้น ขาดผู้อุปถัมภ์
เป็นที่รังเกียจของสามัญชนและสรรพสัตว์ทั้งปวง
การกระทำชั่วผิดบาปทางกายในข้อต่อมา ได้แก่ ลักทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาไม่ยินยอมให้
หรือที่เจ้าของเค้าไม่รู้ ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง
ถือว่า เป็นความชั่วผิดบาป ไม่ดีทั้งนั้น
ผู้ที่ชอบหยิบฉวยเอาทรัพย์ผู้อื่น ของคนอื่น คนอื่นก็จะมาตามหยิบฉวยและขโมยทรัพย์ของตน
คนที่ชอบลักเล็กขโมยน้อยของคนอื่น
เวรกรรมก็จะส่งผลให้ทรัพย์ของตนสถิตย์สถาพรอยู่ได้นานไม่ได้
แม้ที่สุด โจรก็จะปล้น ไฟจะไหม้ ทรัพย์สมบัติที่ตนหามาได้ ก็จะมีอันเป็นไป
อีกเรื่องหนึ่ง คือ การทำตัวสำส่อน ใจเร็วด่วนได้ ใจง่าย ไร้ศักดิ์ศรี ทำตัวดั่งเป็นคนไม่มีคุณค่า
ล่วงละเมิดต่อลูกเมีย ผัวคนอื่น เหล่านี้ ถือว่า ประพฤติผิดในกาม เป็นความชั่วผิดบาป
ไม่ฉลาด ขาดปัญญา หาผู้นับถือไม่ได้ ไม่มีเกียรติ ไร้ชื่อเสียง เสี่ยงต่อโรคภัย
สำหรับการพูดชั่ว พูดทุจริต พูดไม่ฉลาด ขาดปัญญาในการพูด ก็ได้แก่
พูดไม่จริง เป็นเหตุให้ไม่มีคนเชื่อถือ
พูดส่อเสียด ทำให้คนรังเกียจ เหม็นขี้หน้า
พูดเพ้อเจ้อ ผู้ฟังที่ฟังแล้ว จะมองว่า เป็นคนโง่เขลา เพราะพูดเพ้อเจ้อ
พูดคำหยาบ มักจะก่อเวร และศัตรู
อกุศล นอกจากจะจำแนกไว้ทางใจ กาย วาจาแล้ว
ยังจำแนกออกเป็นโลภะมูลจิต 8 ดวง โทสะมูลจิต 2 ดวง และโมหะมูลจิต 2 ดวง
รวมเป็นอกุศลจิต 12 ดวง ทั้งหมดนี้จัดเป็นรากเหง้าของอกุศล คือ ความชั่วผิดบาปทั้งปวง
ต่อไปจะแสดงอธิบาย ขยายความจิตที่ได้ชื่อว่า อัพยากฤตจิต แบบย่นย่อ
เพื่อให้เข้าใจสภาพของจิตแต่ละชนิด พอเป็นสังเขป
และเป็นแนวทางในการศึกษาอย่างละเอียดสืบไป
อัพยากฤตจิตนั้น หมายถึง จิตที่เป็นกลางๆ เข้าได้กันแม้กระทั่งกุศล อกุศล และเฉยๆ
รวมทั้งโลกุตตระจิต
รวมแล้วอัพยากฤตจิต คือ จิตที่เป็นกลาง สามารถเข้าได้ทั้งบุญ บาปและโลกุตตระจิต
มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 56 ดวง จำแนกเป็นวิบาก คือ ผล ซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศล อกุศล โลกุตตระ
รวมได้ 36 ดวง เป็นกิริยากฤตจิตซะ 20
ถ้าในสมัยใดๆ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต หรืออัพยากฤตจิต ปรากฏขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ประกอบไปด้วยความยินดี มีปัญญา เป็นสภาวะธรรมที่กระตุ้นให้บังเกิดอารมณ์ทั้ง 7
อันได้แก่ รูปารมณ์ อารมณ์ที่ทำให้เห็นรูป เมื่อเห็นแล้ว น้อมเข้ามาตรึกเป็นอารมณ์
เช่นนี้ เรียกว่า มโนวิญญาณ
ฟังรู้เรื่องไม๊เนี่ย ยิ่งฟังยิ่งลึก ต้องตามให้ทัน
เอาใหม่
อารมณ์ที่สามารถแยก บรรยายและแจกแจงได้ มีทั้งหมดอยู่ด้วยกัน คือ อารมณ์ 7 อย่าง
คือ รูปารมณ์ อารมณ์ที่ทำให้เห็นรูป
เมื่อเห็นแล้ว น้อมเข้ามาตรึก คือ ตาเห็นรูป มันจะเห็นได้ต่อเมื่อต้องมีอารมณ์ให้เห็น ลูก
ถ้าไม่มีอารมณ์ตั้งเอาไว้ จะไม่เห็น แม้เห็น ก็สักแต่ว่าเห็น เข้าใจไม๊
เช่นน้องหนู เวลานี้เห็นหลวงปู่ไม๊ แล้วเห็นพระไม๊
ระหว่างเห็นหลวงปู่ กับเห็นพระ เห็นอะไรมากกว่า
เพราะเราไม่มีอารมณ์ล่วงหน้า ที่จะเห็นพระ
แต่มีอารมณล่วงหน้าที่จะเห็นหลวงปู่ การเห็นจึงชัดเจนขึ้น
เพราะฉะนั้น กว่าเราจะได้เห็นอะไร เราต้องมีอารมณ์ตรึกก่อน
เช่น เจตนาก่อน เราจึงจะเห็นอะไรๆ ได้
แต่ถ้าไม่มีเจตนาที่จะเห็น แม้ตาเห็น ก็สักแต่ว่าเห็น
หูฟังเสียง ก็สักแต่ว่าฟัง
จมูกดม ก็สักแต่ว่าดม
ลิ้นรับรส ก็สักแต่ว่ารับ
เพราะไม่มีเจตนาจะรับ จะดม จะดู จะเห็น เข้าใจไม๊
เหล่านี้ จึงเรียกว่า รูปารมณ์
แต่ถ้าน้อมเอาอารมณ์เหล่านั้นเข้ามาตรึก เช่นนี้ เค้าเรียกว่า มโนวิญญาณ
เช่น เราตั้งใจจะเห็นหลวงปู่ แต่ไม่เห็นพระ หรือเห็นพระข้างหลัง แต่เฉยๆ
แต่เห็นหลวงปู่แล้ว ให้ความสำคัญ อย่างนี้ก็เรียกว่า มโนวิญญาณ คือ การรับรู้อารมณ์ทางใจ
มโน คือ ใจ
หากเห็นรูปที่ปรากฏเป็นเพียงสีต่างๆ แล้วดับไป ไม่มีการปรุง เช่นนี้เรียกว่า ธรรมารมณ์
คือ เห็นแล้ว ไม่น้อมเข้ามา เห็นแล้วไม่คิดอะไร ก็เฉยๆ มันก็ดับไป
แต่ถ้าเห็นแล้ว น้อมเข้ามาในใจ เช่น อุ้ย คนโน้นสวย คนนี้รวย คนนี้หล่อ น้อมเข้ามาอย่างนี้
สภาวะธรรมก็จะเรียกว่า ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ
ตาเห็น มันไม่ใช่เกิดกับตา แต่เกิดกับใจ
เพราะตาก็สักแต่ว่าเห็น และตาเห็นได้แค่สีเฉยๆ
แต่ที่มันสวย มันรวย มันหล่อ มันดี มันสะอาด เพราะใจ
พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ใจเป็นนาย ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ
เช่นนี้เรียกว่า ธรรมารมณ์ มิใช่เห็นได้ด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยใจ
ต่อมาศรัทธารมณ์ หมายถึง เสียงที่กำลังได้ยิน ก็เหมือนกัน ลูก เสียงก็เหมือนกัน
ต้องมีจิตคิดจะฟัง จึงได้ยิน ใช่ไม๊
ถ้าเราไม่มีตชจิตคิดจะฟัง เราได้ยิน ตอนนี้เราได้ยินเสียงลมเป่าๆ ไฟไม๊ ได้ยิน แต่ไม่มีจิตคิดจะฟัง
เราคิดจะฟังอะไร ฟังหลวงปู่ แม้เสียงที่ได้ยิน ก็สักแต่ว่าได้ยิน
มึงเหนื่อยไม๊
ศรัทธารมณ์หมายถึง เสียงที่กำลังได้ยิน และก่อนได้ยิน เป็นอารมณ์ของหู
และเมื่อได้ยินแล้ว จิตรับรู้ เช่นนี้เรียกว่า โสตะวิญญาณ
ได้ยินแล้ว จิตรับรู้ จึงจะเรียกว่า โสตะวิญญาณ คือ รู้ทางหู
แต่ถ้าได้ยินแล้ว จิตไม่รับรู้ ก็ไม่เรียกว่า โสตะวิญญาณ เพราะความรู้ไม่อยู่ที่หู
ความรับรู้ไม่ใช่เกิดจากหู แต่เมื่อรับรู้มาแล้วจากหู แล้วมาตรึก ก็เรียกว่า ธรรมารมณ์
แต่เอามาคิด เอาเสียงนั้นมาคิด เช่นชาวบ้านเค้าด่า ฟังแล้วเฉยๆ ก็ได้สักแต่ว่าฟัง
ไม่ปรุงเป็นอะไร ไม่เรียกว่า โสตะวิญญาณ
แต่ถ้าฟังชาวบ้านเค้าด่า แล้วเอามาปรุง เรียกว่า โสตะวิญญาณ
หากเสียงนั้นดับไปแล้ว แต่จิตยังเอามาคิดอยู่ เช่นนี้เรียกว่า ศรัทธะรูป
คือ เอามาปรุงเป็นเรื่องเป็นราว ที่เรียกว่า การปรุงแต่ง
รูป แปลว่า การฟัง คือ รูปมันมีอยู่ทุกสภาวะ รูปทางเสียง รูปทางกลิ่น รูปทางรส รูปทางสัมผัส
เพราะงั้น เมื่อมีการปรุงแต่ง เค้าก็เรียกว่า เป็นรูปอย่างหนึ่ง เรียกว่า ศรัทธะรูป
หรือไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลย ไม่ได้ยินอะไรเลย หูหนวก
แต่จิตดันนำมาคิด มึงทำปากหมุบหมิบๆ นี่มึงด่ากูหรือเปล่า เนี่ย ดูซิ ทำปากหมุบหมิบๆ
ไม่หรอก มันเคี้ยวหมากฝรั่ง แต่ดันคิด เช่นนี้เรียกว่า ธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดกับใจ เสียงที่เกิดกับใจ
เสียงที่เกิดกับใจ ได้ไม๊  ได้
หูมีหน้าที่ฟัง แต่ใจเมื่อรับเข้ามา ก็กลายเป็นเสียงของใจ
เป็นเสียงของใจ ก็อยู่ในใจ เค้าด่าตั้งแต่เมื่อวาน แต่วันนี้ดันมานอนดิ้นทั้งคืน
หนังกลับทั้งคืนไม่หลับ เพราะเสียงมันดังในใจ
แต่หูที่ฟังเสียง มันดับไปแล้วไม๊ ดับไปนานแล้ว ดับไปตั้งแต่เมื่อวานแล้ว
แต่ที่มันไม่ดับ คือใจ ใจเรามันไม่ดับ เพราะเสียงนั้นยังจำอยู่
ถามว่า ทำไมยังจำ เพราะหน้าที่ของใจหรือจิตนี้ มันมีหน้าที่ 4 อย่าง
รับอารมณ์ จำอารมณ์ รู้อารมณ์ และคิดอารมณ์
ถ้าไม่มีสติ เราก็จะกำกับดูแลการรับ การจำ การคิด การรู้ ไม่ได้
เหตุนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรามีสติ เราจะได้เลือกรับในสิ่งที่ควรรับ
เลือกจำในสิ่งที่ควรจำ เลือกรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เลือกคิดในสิ่งที่ควรคิด
อะไรที่ไม่ควรคิด ไม่ควรรับ ไม่ควรจำ ไม่ควรรู้ ก็ทิ้งมันไปเสีย แล้วเราจะได้ไม่เป็นทุกข์
ข้อต่อมา คันธารมณ์ หมายถึงกลิ่นที่ก่อให้เกิดอารมณ์ ด้วยการรับรู้ทางจมูก
อีกทั้งกลิ่น ก็จัดได้ว่าเป็นรูปชนิดหนึ่ง
เมื่อครู่ หลวงปู่บอกแล้วว่า ทุกเรื่องในชีวิตเรา ตาเห็น หูฟัง จมูกได้ ลิ้นรับ กายสัมผัส
แม้กลิ่นก็จัดว่าเป็นรูปชนิดหนึ่ง
ส่วนการรับรู้ใดๆ ที่เรียกว่า กลิ่นนี้หอม กลิ่นนี้เหม็น ไม่ใช่จมูกสั่ง แต่รู้ทางไหน
รู้จากใจ แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ก็เพราะอดีตชาติ เราเคยจำกลิ่นนี้มาว่า
กลิ่นแบบนี้มันขี้ กลิ่นอย่างนี้ดอกไม้
เพราะงั้น คนไม่ใช่เกิดชาติเดียว เกิดมาเป็นหลายร้อยหลายล้านพันชาติ
มาแต่ละชาติ มันก็สั่งสม เพราะจิตมีหน้าที่จำ ถูกไม๊   จำ คิด รู้ รับ
เพราะมันจำนี่แหละ มันก็รับจำเอาแต่สิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แม้แต่กลิ่น มันก็จำ
เพราะฉะนั้น การรู้จัก กลิ่นนี้ว่าหอม กลิ่นนี้ว่าเหม็น ไม่ใช่รู้ทางจมูก ไม่ใช่รู้ทางฆานะทวาร
เป็นการรับรู้ด้วยการน้อมนำเอากลิ่นนั้นเข้ามาตรึก มาคิด เรียกว่า มโนวิญญาณ
เช่นนี้ เค้าเรียกว่า มโนวิญญาณ
ขณะนี้ ที่เรารู้ว่า กลิ่นนี้มันหอมเนี่ย กระบวนการสันดาปของกลิ่นมี 17 ดวง ปรากฏขึ้น
แล้วแต่ละดวงๆ มันเกิดดับๆ  แล้วขณะที่มันเกิดดับๆ เอากลิ่นนี้มาคิดอยู่เนี่ย เกิดดับๆ เนี่ย
สัมผัสสัมพันธ์ได้ในกลิ่นนี้เหม็นหรือหอมเนี่ย จิต 7 ขณะ อ้าย 7 ขณะ นี่แหละ เค้าเรียกว่า
มโนวิญญาณ คือ การตรึก การเอากลิ่นมาตรึกในใจ
อ้ายจมูกมาดมน่ะ มันหายไปแล้ว แต่ที่มันยังคาราคาซัง ยังคั่งค้างอยู่เพราะกลิ่นนั้นมันอยู่ในใจ
นี่จัดว่า เป็นธรรมารมณ์
หากกลิ่นนั้นๆ ปรากฏแก่จมูก แล้วไม่เกิดอารมณ์ใดๆ เลย เวลานี้มีกลิ่นไม๊ รอบตัวเรา  มีแต่ที่ไม่เกิดอารมณ์ใดๆ เพราะเราไม่มีจิตน้อมเข้าไปรับกลิ่น มันจึงทำให้กลิ่นนั้นไม่ปรากฏอารมณ์
ไม่ปรุงเป็นอารมณ์ อย่างนี้ เรียกว่า คันฑรูป
หากกลิ่นนั้นๆ ปรากฏแก่จมูก แล้วไม่เกิดอารมณ์ใดๆ เลย อย่างนี้ เรีบกว่า คันฑรูป
รูปหรือกลิ่นที่ไม่ก่อให้เกิดอารมณ์ คือ จิตไม่น้อมเข้ามานั่นเอง
กลิ่นอะไรๆ ในโลก
นี่คือ บทโศลกที่หลวงปู่เขียนฝากเอาไว้ว่า
กลิ่นใดๆ ในโลกจะยั่งยืนเป็นอมตะ ไม่มีวันเสื่อม สู้กลิ่นแห่งศีล สมาธิ และปัญญา เป็นไม่มี
รสารมณ์ หมายถึง รสที่กระทบลิ้น เกิดจากการรับรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
รสที่กระทบลิ้น แล้วเกิดการรับรู้ รู้สึกทางรสปรากฏนั้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
ที่จริง วิญญาณเนี่ย เป็นกระบวนการของจิตอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขั้นจิต
เพราะเราแค่รับรู้ใช้มโนนึก ยังเป็นกระบวนการขณะจิตแต่ละขั้นๆ
รับรู้ชิวหา เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
แต่ถ้ายังไม่ได้รับ ยังไม่ได้แยก แยกว่ารสนั้นเปรี้ยว คือรับเข้ามาแล้ว ไม่แยก เป็นลิ้นอ้ายเข้
หรือลิ้นด้วน เปรี้ยวไม่รู้ หวานไม่รู้ มันไม่รู้ เค็มไม่รู้ เผ็ดไม่รู้ เช่นนี้ เรียกว่า รสารมณ์
คือ อารมณ์ที่ไม่ยึดติด ไม่ปรุงแต่ง
ความจริง วัตถุต่างๆ เนี่ย มันมีรสของมันนะ ลูก
มึงไม่เชื่อ มึงลองแลบลิ้นเลียพื้นดูสิ
เออ เลียมือ เลียนิ้ว ดูดผม อะไรเนี่ย มันมีรสประจำวัตถุนั้นๆ
มันมีรสเป็นเอกลักษณ์ของมันอยู่แล้ว เรียกว่า รสรูป คือ รูปเช่นนี้มีรสแบบนี้
รูปอย่างนี้ มีรสอย่างนี้ เช่นมะนาวต้องมีรส ..เออ ใครเคยเห็นมะนาวหวานมั่ง
ไม่มี ลูก มะนาวต้องเปรี้ยว มะขามเปรี้ยวก็มี หวานก็มี เค้าจึงแยกมะขามเปรี้ยว มะขามหวาน
ถ่านมีรสอะไร จืดๆ เฝื่อนๆ
ไม่มีรสได้ไง มึงไม่เคยชิมอะไรเลยเหรอเนี่ย
หัดกินถ่านเสียบ้างสิ
เอ้า เวลาท้องอืดๆ เฟ้อๆ กรดมันดันแน่นเนี่ย
เออ เอาถ่านมาเคี้ยวเข้าไปซักก้อน ลูก
ถ่านไม้นะ อย่าไปเล่นถ่านหินนะ
เดี๋ยวไฟออกตูด
ขออภัย นอกเรื่อง
เออ ความจริงวัตถุต่างๆ มันมีรสเป็นเอกลักษณ์ของมันอยู่แล้ว เรียกว่า รสรูป
แม้นจะไม่เคยมากระทบลิ้นเราก็ตาม แต่หากว่า รสของวัตถุนั้นๆ มากระทบลิ้นเราแล้ว เกิดความรู้สึกว่า นี่เปรี้ยว นี่หวาน นี่เค็ม ความรู้สึกเช่นนี้ มิได้รับรู้ด้วยลิ้น แต่รับรู้ด้วยใจ เรียกว่า
มโนวิญญาณ คือ การน้อมเข้ามาตรึกคิด เช่นนี้ จัดว่าเป็นธรรมารมณ์
หากจะกล่าวโดยวิชาการ ก็คงต้องกล่าวว่า ระสะ กระทบชิวหาปะสาทะ ทำให้เกิดชิวหาวิญญาณ
รับรู้ว่า ระสะ มากระทบลิ้น มโนวิญญาณจึงจะทำหน้าที่ น้อมเอารสนั้นมาตรึก
เรียกการอาศัย อตีตารมณ์ คืออารมณ์ที่มีมาแล้วแต่อดีตที่สั่งสมมา ที่เป็นคู่ปสัญญา
ความจำได้หมายรู้ในรส คือรูปที่เคยกระทบสัมผัสมาแต่เก่าก่อน
แล้วจึงเกิดสังขาร คือ การปรุงแต่ง วิญญาณ การรับรู้ เหล่านี้ รวมเรียกว่า ธรรมารมณ์
จะเห็นไม๊ว่า กว่าจะรู้ว่า รสเปรี้ยว รสหวาน รสมัน รสเค็ม รสเผ็ด เนี่ย
จิตเกิดดับๆ มีสภาวะ มีทั้งสังขาร มีทั้งวิญญาณ มีทั้งรูป มีทั้งสัมผัสปะสาทะ
มีทั้งมโน ความนึก น้อมเข้ามา 7 ดวง 7 ขณะๆ  กว่าจะกินได้
เมื่อเช้าหลวงปู่ทำแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย กว่าจะดูรู้ได้ว่า รสอร่อย ไม่อร่อย  7 ขณะ
แต่กูยืนน่ะ ขาแข็ง
กลับเข้ามาที่เก่า วิญญาณการรับรู้เหล่านี้ รวมเรียกว่า ธรรมารมณ์
ว่าที่จริงแล้ว จิตดวงที่สัมผัสรสนั้นน่ะ มันดับไปแล้ว มันดับไปตั้งนานแล้ว
แต่มีจิตดวงต่อๆ มา ที่ทำหน้าที่จดจำเอาไว้ เพราะเช่นนั้นโดยธรรมชาติของรส ไม่ว่าจะรับรู้ด้วยจิตหรือไม่ก็ตามที มันก็มีปกติที่ต้องเสื่อมไป เปลี่ยนไป ไม่คงที่
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
นี่เป็นบทโศลกที่เขียนฝากไว้
ในบรรดารสทั้งหลาย ที่ว่าเลิศ รสแห่งพระธรรมเลิศที่สุด
ในบรรดารสทั้งหลาย ที่ว่าหอมหวาน รสชาติแห่งบุญกุศล หอมหวานที่สุด
ในบรรดารสทั้งหลาย ที่ว่าขมและทุกข์ระทม รสแห่งอกุศล ความทุกข์เดือดร้อน ขมที่สุด
ในบรรดารสทั้งหลาย ที่จัดว่าแย่ที่สุด ห่วยแตกที่สุดโล่ยโท่ยที่สุด คือ รสที่กระทบลิ้น แล้วติดในรส      จัดว่าเป็นเลวที่สุด
ต่อมาโผฏฐัพพะ หมายถึง รูป คือ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง มากระทบกาย
ธาตุที่กายนี้สามารถถูกต้องและกระทบได้ มีอยู่แค่ 3 ชนิดเท่านั้น
คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข็ง หรืออ่อนนุ่ม
2  ธาตุไฟ  มีลักษณะ ร้อนหรือเย็น
3 ธาตุลม  มีลักษณะหย่อน หรือ ตึง
ส่วนธาตุน้ำ ท่านสอนเอาไว้ว่า เป็นธาตุที่สัมผัสถูกต้องด้วยกายไม่ได้
เริ่มสงสัยแล้วสิ
แต่ต้องรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น จึงจัดว่า เป็นธรรมารมณ์ เหตุเพราะ น้ำจริงๆ นั้น มันไม่มีตัวตน
น้ำมันประกอบไปด้วยสสาร และก๊าซ มันจึงต้องใช้จิตตรึก วิเคราะห์ แยกแยะ ค้นหา
แต่ที่ทุกครั้งเราดื่มน้ำได้ อาบน้ำดี สามารถสัมผัสได้ด้วยลิ้น ด้วยกาย ก็เพราะว่า ความหนาแน่น
ของอณู ที่เรียกว่า น้ำ ความหนาแน่นของสสารและก๊าซที่เรียกว่า น้ำนั่นแหละ ประกอบกันเป็นน้ำ
เราจึงจะสัมผัสได้ด้วยกาย
ธรรมารมณ์นั้น ได้แก่ อารมณ์ที่รับรู้ได้ทางใจ อารมณ์ที่เกิดกับใจ อารมณ์ที่มากระทบใจ
เหตุเพราะอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย  เป็นช่องทางที่อารมณ์มากระทบใจ
ก็อาศัยสัญญาขจิต ความทรงจำที่มีอยู่ในจิต
อารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จึงถูกเก็บเอาไว้ในใจ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ ก็จะมีทั้งดีและไม่ดี
สมหวัง ผิดหวัง สดชื่น หรือแห้งแล้ง สนุกสนาน หรือทุกข์ระทม เสียใจหรือดีใจ
รักหรือเกลียด ตัวอย่างแบบย่อๆ เหล่านี้แหละท่านเรียกว่า ธรรมารมณ์
อารมณ์ที่กระทบใจ อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ
จบจิตตุบาท กัณฑ์ที่ 1 ในคัมภีร์ธรรมสังคิณี
คัมภีร์แรกที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 กัณฑ์
กัณฑ์แรกได้แสดงอย่างย่นย่อพอเป็นแนวทางแห่งศรัทธาไปแล้ว คือ กัณฑ์จิตตุบาท
ยังเหลือรูปกัณฑ์ นิเขปกัม อรรถคาถากัณฑ์ เก็บเอาไว้โอกาสหน้า
หมดแรง และหมดเวลาแล้ว
ช่วงเวลาต่อไป จะพยายามหาเวลา รวบรวม ย่นย่อ นำมาเสนอท่านใหม่
แม้นได้สดับเพียงกัณฑ์เดียว หากทำได้ ก็สามารถนำพาชีวิตให้ดำเนินไปในวิถีแห่งมรรคาปฏิปทาได้แล้ว และผู้ที่ดำเนินตามมรรควิถี จะไม่มีวันตกนรกหมกไหม้ ไม่มีทุกขคติภพเป็นที่ไป
มีแต่สวรรค์เป็นสมบัติ มีแต่มนุษย์ หล่อ รวย สวย เลิศเป็นสมบัติ 
มีแต่พรหมสมบัติและนิพพานสมบัติในที่สุด
หากยังไม่รู้เรื่องอะไร เพียงแค่ฟังเฉยๆ อย่างตั้งใจ ก็มีอานิสงส์มากมาย
เพราะท่านผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใด ก็ตั้งใจอธิษฐาน
ความปรารถนานั้นก็จะสำเร็จสมความปรารถนา ทุกท่านทุกคนเทอญ
เอวัง ก็มีด้วยประการะฉะนี้
ขออารธนาพระคุณเจ้าสาธยายอีก 6 คัมภีร์สืบเนื่องไป