17 พ ค 2554   14.40 น. ถอดเทป (1) ระหว่างปฏิบัติธรรม วันวิสาขบูชา  โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ


ฝึกความว่าง ท่าเดินขั้นที่ 1 – 3 พร้อมจังหวะ
ที่ให้เพ่งความว่าง พิจารณาความว่าง ไปถึงไหนแล้ว
เคลียร์พื้นที่ เตรียมปฏิบัติธรรม
ใครมันตากผ้าตากผ่อนไว้ตรงไหน เก็บหรือเปล่าวะ
อบอ้าว ฝนท่ามันจะตก
เอ้า เคลียร์พื้นที่ เก็บ
ทำที่ให้ว่าง ทำใจให้ว่าง
ทำที่ให้กว้าง ทำใจให้ว่าง
ใครไม่เคยปฏิบัติ ไม่เคยเดินเลย ยกมือขึ้น ลูก
เดี๋ยวรุ่นพี่เค้าไปสอน ไปชี้นำ
วันนี้ วันวิสาขฯ เราทำการบูชาพระพุทธ พระรัตนะด้วยการปฏิบัติบูชา
เป็นการบูชาที่มีบุญมากที่สุด อานิสงส์สูงสุด ได้ผลเยอะสุด
แยกๆ กันออกไปตามเต็นท์ ตามศาลาข้างนอกบ้างก็ได้ ลูก
ไม่ต้องมาอออยู่ข้างในนี้
แค่ได้ยินเสียงก็พอแล้ว
ลมโกรกดีเสียอีก
พร้อม
หูฟังเสียง ใจรับรู้ เท้าก้าวเดิน อยู่บนความว่าง
อยู่กับสภาวะความว่าง
บุญไม่มี บาปไม่มี กุศลไม่มี อกุศลไม่มี
กายไม่มี เวทนาไม่มี
ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีแต่ความว่าง
ถ้ายังมีอยู่ ก็ขีด
แม้รู้สึก สุข ทุกข์ ร้อน หนาว เย็น
ถ้ายังมีความรู้สึกอยู่ ก็แสดงว่า ไม่ว่าง  ขีด
อยู่กับความว่าง อย่าให้อะไรเข้ามาแทรก
อย่าทำอารมณ์ให้เป็นอะไร
จะได้ไม่มีอาลัยในอารมณ์
มันต้องว่างจนถึงขีดสุด 
ชนิดที่กายเบา ใจเบา หัวเบา
ทุกอย่างผ่อนคลาย
บาปไม่มี บุญไม่มี กุศลไม่มี อกุศลไม่มี
เพราะสิ่งเหล่านั้น ไม่จำเป็นในความว่าง
เหมือนดั่งคำกล่าวว่า
ลูกรัก ถ้าเจ้าต้องการสมาธิ
เห็นพระพุทธเจ้าต้องฆ่าทิ้ง
เห็นพระธรรมต้องเผา
เห็นพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกล
มันจะเป็นคำที่น่ารังกียจ ฟังดูแล้วเหมือนหยาบคาย
ไม่เคารพพระผู้มีพระภาคเจ้า
แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น
มันเลยกลายเป็นการแสดงความเคารพสูงสุดต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะสมาธิ หรือ สิ่งที่เราต้องการ มันเป็นเป้าประสงค์ชัดเจน
ซึ่งต้องไม่มีอะไรมาก่อกวน แม้แต่พระพุทธ พระธรรม หรือ พระสงฆ์
เช่นเดียวกัน ในความว่างก็เหมือนกัน
มันจะมีสุขไม่ได้  มีทุกข์ไม่ได้  รู้สึกใดๆ ก็ไม่ได้
เพราะว่าง ไม่ใช่ความรู้สึก แต่เป็นสภาวะธรรม
เราต้องเข้าให้ถึงซึ่งสภาวะธรรมแห่งความว่างนั้น
ในนั้น มันไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ไม่มีความป่วย ไม่มีความตาย
เหมือนดั่งคำกล่าวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนลูกศิษย์พราหมจารี
โมคราชว่า โมคราชะ ถ้าเธอปรารถนาจะไม่ไห้มัจจุราชเห็นเธอ
เธอจงเพ่งความว่าง อยู่กับความว่าง
ก็แสดงว่า ในความว่าง ไม่มีมัจจุราช ไม่มีความตาย
ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อน
ไม่ว่าง ขีด
อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดซ้ำซาก แล้วมันจะกลายเป็นนิสัย
รู้ว่างผิดแล้ว รีบกำจัดเลย
กำจัดมัน ใส่มันลงไปในกระดาษ
ผิด กำจัด   ผิด กำจัด
ไม่ว่างแล้ว จับมันใส่ในกระดาษ ขีดทันที
อย่าฝืนขืนเดินต่อไป
ฝึกให้สติรุกรับให้เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และสถานการณ์รอบข้าง
ทรงความว่าง รักษาความว่าง
(เสียงฉาบลงพื้น)
เฮ้ย ศิษย์อรหันต์ เรียกแม่เลยเว้ย
ไหนบอก มีวิชาดีไง
เออ ฉาบเข้าไปหน่อยเดียว
อุ้ย แม่
อะไร มึง ทำไมไม่ขีด
เอาอีกแล้ว อีมะละกอ เอาอีกแล้ว
ไม่มีอะไรทั้งนั้น
ถ้าพูดเป็นภาษาเกจิ เค้าเรียกว่า ฝึกไปนิพพาน ก่อนตาย
อย่าลืม  ไม่ว่างต้องขีด
อย่าเผลอ อย่าปล่อยให้ความฟุ้ง ยุ่ง วุ่นวาย เข้ามาแทรกแล้ว ก็ปล่อยละเลย
จะกลายเป็นนิสัย
ผิดแล้ว ไม่รีบแก้ไข เดี๋ยวก็เป็นดินพอกหางหมู
แล้วก็เป็นริ้วรอยแห่งอกุศลกรรมชนิดหนึ่งของจิตด้วย
ความมักง่าย ความหยาบกระด้างเนี่ย มันเป็นกรรมอย่างหนึ่งนะ
ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้นนะ
มนุษย์ฝึกละเอียด ก็ได้ความละเอียด
ฝึกหยาบ ก็ได้ความหยาบ
ฝึกฉลาด ก็ได้ความฉลาด
ฝึกโง่ ก็ได้ความโง่
ฝึกดี ก็ได้ความดี
ฝึกชั่ว ก็ได้ความชั่ว
(เสียงฉาบลงพื้น)
ขยับขึ้นขั้นที่ 2
ใครที่ไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ
ความจริง ผู้ที่เข้าถึงความว่าง มันมีอยู่ 2 สถานะ
ผู้ที่เข้าถึงความว่าง
สถานะที่ 1 ประเภทที่ 1 คือ ใช้ความเพียร
2 ก็คือ ใช้ปัญญา
อย่างพวกเราเนี่ย เค้าเรียกว่า ผู้เข้าถึงความว่างด้วยความเพียร
เพราะเหตุว่า เราไม่มีปัญญาที่จะติดบ่วงแห่งอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5  อย่างแข็งแรงเพียง

พอ
เรายังไม่สามารถจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ทุกขณะจิต
เรายังไม่เห็นความเป็นจริงของสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา สัญญา อย่างชัดแจ้ง
เราเห็นแบบผลุบๆ โผล่ๆ
เราจึงไม่สามารถใช้ปัญญาให้ลุถึงความว่าง
เราก็มาใช้ความเพียร
เอาความเพียรกำหราบ บริวารของมาร ซาตาน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
เพื่อปลดเปลื้องพันธนาการ
อ้ายสิ่งที่เป็นความบริสุทธิ์ที่อยู่ข้างในโดนเหล่านี้ห่อหุ้มอยู่นั้น
จะได้แสดงตนออกมาให้ชัดเจน
งั้น การเข้าสู่ความว่างด้วยความเพียร
มันต้องทำต่อเนื่อง ติดต่อยาวนาน
ซึ่งจะต่างจากการเข้าสู่ความว่างด้วยปัญญา
เพราะผู้ที่สามารถเข้าสู่ความว่างด้วยปัญญา
เค้าเรียกว่า เป็นผู้บรรลุ หรือตรัสรู้  หรือผู้หลุดพ้น
หรือผู้ถึงวิโมกข์สัก หรือ ผู้พ้นแล้ว
นั่นจะเป็นการเข้าถึงอย่างถาวร
อย่างพวกเราเป็นการเข้าถึงแบบไม่ถาวร
เพราะเมื่อไรที่สิ้นความเพียร เราก็จะไม่ถึงความว่าง
จะหลุดออกจากความว่าง
แต่ก็ไม่ได้เลวร้าย เพราะมันจะเป็นสันดาน เป็นนิสัย
สืบส่งถึงคราวที่เราลำบากทุกข์ยาก ทุรนทุราย มีปัญหา
มีอุปสรรค มีทุกข์บีบคั้น
เราจะได้อาศัยสภาวะแห่งความว่างนี้มาหลบ
เรียกว่า เข้าถ้ำพัก
จะได้ไม่ทุกข์เกินไป ไม่โดนบีบคั้นเกินไป
แม้ที่สุด ชีวิตใกล้ตาย เราจะได้เลือกไปในที่ๆ ดีกว่า
เพราะเราเคยไปมาแล้ว ด้วยความเพียรที่เราเคยทำ
มันจะเป็นสัญญาจิต เพราะจิตมีหน้าที่ 4 อย่าง
รับอารมณ์ คิดอารมณ์ รู้อารมณ์ และจำอารมณ์
เมื่อเราเคยไปเจอความว่างสูงสุดมาแล้ว
เราก็จะได้จำได้ว่า 
เราจะไปหาความว่างสูงสุดนั้นได้อย่างไร เมื่อชีวิตหลังความตาย
แม้ที่สุด ทุกข์ ทุรนทุรายด้วยเวทนาจากอาการเจ็บป่วย
เราก็สามารถจะเข้าสู่ความว่าง
ความเจ็บป่วยเหล่านั้นก็ไม่ปรากฏ
เหมือนที่หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า
เมื่อวานซืน ตอนตี 1 ปวดตับอย่างรุนแรง
ต้องลุกขึ้นมา เพื่อจะเข้าสู่ความว่าง
บัดเดี๋ยวใจ อาการปวดเจ็บนั้น ก็หายไปในปลิดทิ้ง
เพราะ ความว่างกับตับ ไม่มี
ไม่มีตับอยู่ในความว่าง
ไม่มีกายสังขารอยู่ในความว่าง
ไม่มีเวทนา สุข ทุกข์ อยู่ในความว่าง
มันช่วยได้ในระดับหนึ่ง
อีกทั้งก็เป็นตัวตนแท้จริงของพระพุทธเจ้า
เพราะพระพุทธเจ้า คือ ตัวแทนของความไม่มีอะไร
ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร และว่างสูงสุด
วันนี้เป็นวันวิสาขบูชาใหญ่
เราจะทำความเพียรเพื่อให้เข้าถึงองค์พระพุทธะ
ด้วยการสัมพันสัมผัสถึงความว่างสูงสุดให้ได้
ในความว่าง ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล
แม้ที่สุด ไม่มีตัวเรา มีแต่ตัวรู้
รู้ว่า ว่าง   รู้ว่า ว่าง
สมองว่าง ใจว่าง กายว่าง ตัวว่าง อารมณ์ว่าง
ไม่ว่าง ต้องขีด
ถ้าขี้คร้านที่จะขีด มันจะทำให้เรากลายเป็นคนนิสัยเสีย
แล้วความนิสัยเสียไม่ใช่มีแค่วันนี้ เดี๋ยวนี้
มันจะพอกพูนจนเป็นภพเป็นชาติ
กลายเป็นคนนิสัยเสียข้ามภพข้ามชาติ
นี่คือ ริ้วรอยแห่งอกุศลกรรมชนิดหนึ่งที่เราพอกพูนสะสมไว้โดยไม่รู้ตัว
หยุดอยู่กับที่
อยู่กับความว่าง
รอจังหวะ
แล้วเดินในขั้นที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น
ให้รุ่นพี่ไปแนะนำ
ดูซิยังว่างอยู่ไม๊
ถ้าไม่ว่าง ขีด
หลายคนที่เป็นพวกใหม่ๆ โดยเฉพาะ
เกิดข้อสงสัยว่า เมื่อจะก้าวเท้าแล้ว จะว่างได้ยังไง
เพราะต้องระลึกรู้ว่า จังหวะไหนจะก้าว
ก็บอกแล้วว่า ในความว่างระดับนี้ ยังมีตัวรู้อยู่ไง
รู้ว่าหยุด รู้ว่าควรก้าว แล้วจึงว่าง
รู้ว่าเว้นจังหวะ  รู้ว่าควรก้าว แล้วจึงว่าง
เพราะงั้น ไม่ใช่ไม่มีตัวรู้  ยังมีตัวรู้อยู่
แต่เป็นตัวรู้ที่ผ่องแผ้ว เป็นตัวรู้ที่ชัดแจ้ง
เพราะมันไม่มีขยะปนกับตัวรู้
มีแค่ความว่างกะรู้ รู้กะว่าง
รู้ว่าจังหวะไหนควรก้าว แล้วก็ว่าง
ถ้ามันไม่ว่าง ก็ขีด
ไม่ว่าง ก็คือ ไปรู้สิ่งที่นอกเหนือจากสิ่งที่กำลังทำ
ก้าวแล้วว่าง  ก้าวแล้วว่าง
อีหนู สัดส่าย มองไปมองมา ไม่ว่าง
ทำไมไม่ขีด
เรากำลังฝึกตัวเรา ใครก็ฝึกเราไม่ได้
ถ้าเราไม่ฝึกตัวเอง
คนอื่นฝึกเราเพียงแค่บางชั่วโมง
แต่เราฝึกตัวเรา 24 ชั่วโมง
เมื่อว่างแล้วก้าว เราจะเห็นศักยภาพของการก้าวว่า
มันชัดแจ้ง ชัดเจน แล้วพร้อมเสมอที่จะเผชิญต่อเหตุ
แต่ถ้าไม่ว่าง แล้วก้าวเนี่ย
เราจะก้าวพลาด ก้าวผิด
ว่าง รู้ ก้าว
ว่าง รู้ ก้าว
ระวังจะเผลอ
ต้องทรงตัวรู้ว้ในความว่างไว้เสมอ
ไม่ใช่ว่างจนเคลิบเคลิ้ม
อย่างนั้นเค้าเรียกว่า เหม่อลอย
ไม่มีตัวรู้
ต้องว่างแบบตื่น ไม่ใช่เคลิบเคลิ้ม เหม่อลอย
ยิ่งว่าง ยิ่งเบา
ยิ่งว่าง ยิ่งโล่ง
ยิ่งว่าง สมองยิ่งโปร่ง
ยิ่งว่าง ตัวรู้ยิ่งแนบแน่น มั่นคง
เพราะขยะและเครื่องร้อยรัดและห่อหุ้มมันโดนกำจัดไปหมด
เหลือไว้แต่ตัวรู้ และแสงแห่งปัญญา
ไม่ว่างแล้ว ทำไมไม่ขีด
ปิดเครื่องเสียง หยุดอยู่กับที่

17 พ ค 2554   14.40 น. ถอดเทป (2) ระหว่างปฏิบัติธรรม วันวิสาขบูชา  โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ


ฝึกความว่าง ท่ายืน – เดิน ไม่มีดนตรี ( 18 นาที)
ปิดเครื่องเสียง หยุดอยู่กับที่
หลับตา ทรงความว่าง
อยู่กับความว่าง รู้อยู่ว่า ว่าง
กำลังว่าง
ความว่างตั้งมั่นอยู่ เป็นสภาวะธรรม
ทั้งภายในแล้วก็ภายนอก
ลองทดสอบสภาวะธรรมความว่าง
ดูซิว่า เราจะได้เห็นพระพุทธเจ้าไม๊
ในความว่าง นึกถึงพระพุทธรูป
พระรูป พระโฉมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วตรงเข้าไปกราบท่าน
เมื่อได้เห็นแล้ว จึงจะเข้าไปกราบ
ลองดูซิ ทำได้ไม๊
เมื่อได้กราบพระองค์แล้ว กลับมาอยู่กับความว่างเหมือนเดิม
ทีนี้พาสภาวะความว่าง แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ซิ
ในความว่าง ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข สัตว์ทั้งปวงจงพ้นสุข
ภาวนาในความว่าง ไม่ใช่กับลมหายใจ
เพราะลมหายใจยังเป็นของหยาบ
ทีนี้พาความว่าง เดินไปข้างหน้าเป็นปกติของชีวิตประจำวัน
แต่ทรงสภาวะความว่างเอาไว้ ให้ความว่างเป็นสิ่งมีชีวิต
ชีวิตกับความว่างเป็นหนึ่งเดียวกัน
เริ่มเดิน
หลายคนได้เห็นพระพุทธเจ้าในมโนแห่งความว่าง
หลายคนก็ปะติดปะต่อ
จงทิ้งพระพุทธเจ้าองค์นั้นเสีย
กลับมาอยู่กับความว่างเหมือนเดิม
อย่าทรงอารมณ์แบบนั้นเอาไว้
มันจะทำให้เราทิ้งจากความว่าง
แล้สุดท้ายเราก็เคลื่อน
พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน
แล้วแต่ว่า เราจะสร้างพระพุทธเจ้าของเราเป็นแบบไหน
แต่ที่แน่ๆ คือ นั่นคือพระพุทธเจ้าองค์จริง
ให้ชีวิตกับความว่างเป็นปกติ เป็นหนึ่งเดียวกัน
อย่าทำให้ความว่างตายเป็นบางอิริยาบถ
ความว่างต้องอยู่ในทุกอิริยาบถ
ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตด ต้องว่างให้ได้หมด
อย่างนั้น จึงจะเรียกว่า เราปลอดภัย
พ้นจากปากแห่งแหวนรก
เราจะสังเกตุว่า เมื่อเราว่างแล้วโลกจะเล็กลง
เราจะดูเหมือนยิ่งใหญ่
อย่าลำพองเช่นนั้น
เพราะถ้าขืนลำพองเช่นนั้น
มันจะกลายเป็นอหังการ มมังการ
เป็นความยกตนข่มท่าน
เป็นอุปกิเลสอย่างละเอียด
เอ้า ทีนี้ เดินไปหาที่นั่งของตัวเอง
แล้วนั่งอย่างทรงความว่าง
ยังว่างอยู่ไม๊
เมื่อหลายปีก่อน มีบัณฑิตในพุทธศาสนา ถือว่าท่านเป็นปราชญ์
มีนามว่าพุทธทาสภิกขุ
เคยเทศน์เรื่องความว่างต่อการทำการงาน
บัณฑิตทางโลกที่ใช้ชื่อขานว่า ท่านดอกเตอร์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ออกมาโวยวาย ปฏิเสธว่า
ว่าง จะทำงานได้ยังไง
สอนอะไรบ้าบอคอแตก
แต่เผอิญท่านพุทธทาสไม่ได้ชี้นำ บอกต่อไปว่า
การทำให้เกิดความว่าง แล้วทำการงานได้แบบไหน อย่างไร
ท่านเพียงแค่พูดให้คนทั้งหลายได้ฟังว่า
คนที่มีใจว่าง จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดอย่างไร
แต่อาการที่จะเข้าถึงความว่าง ท่านไม่ได้แนะนำอบรม ไม่ได้สั่งสอน
แต่วันนี้ พวกเราได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้ที่มีใจว่าง ยิ่งใหญ่เสมอ
งานทุกอย่างที่เข้ามา มันจะสำเร็จประโยชน์อย่างรวบรัด
รวดเร็ว เร่งรีบ แล้วก็เรียบร้อย ทันต่อเหตุการณ์
แล้วเราจะมีศักยภาพ สถานภาพ คุณภาพ พร้อมที่จะเผชิญต่อทุกกาล
ทุกสมัย ทุกปัญหา ทุกเหตุ ทุกปัจจัย อย่างแข็งแรง
ได้อย่างมั่นคง แล้วก็ยั่งยืนด้วย
ไม่มีอะไรจะทำให้เราสยบ หรือศิโรราบได้
เพราะเมื่อใดที่เรายังยืนอยู่บนสภาวะแห่งความว่าง
แม้แต่มัจจุราชยังมองไม่เห็น แล้วอะไรจะบังอาจทำให้เราสยบหรือศิโรราบได้
แต่มันก็จะกลายเป็นอหังการ มมังการ ความถือตัวถือตน
จึงเตือนให้เมื่อกี้นี้ว่า
ระวัง อย่าเห็นว่า ตัวใหญ่ที่สุดในจักรวาล
เพราะมันจะเป็นมานะ ความถือตัวถือตน
แล้วเราจะเป็นตัวทำลายความว่าง ด้วยตัวใหญ่ขึ้น
ตัวเราใหญ่ขึ้น มันก็จะมีตัวแล้ว
ว่างก็จะหายไป
เมื่อกี้ที่สอนให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในความว่าง
ที่จริงไม่ถูกนัก เพราะความว่างก็ไม่ควรปรากฏแม้แต่พระพุทธเจ้า
แต่เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าอยู่กับความว่าง
ความว่างกับพระพุทธเจ้า คือองค์เดียวกัน
ในขณะที่จิตเราว่าง ไม่มีกิเลสปรุงแต่ง
จิตสุดท้าย หรือจิตแรกที่เราเห็นพระพุทธรูปองค์ใด
จิตนั้นจะปรากฏ นั่นแหละ คือพระพุทธเจ้าองค์จริงของเรา
เราฝึกทุกวันๆ  เราก็จะอยู่กับพระพุทธเจ้าของเราตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออก
เหมือนอย่างที่หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังว่า
เวลาหลวงปู่กราบพระ ก็จะกราบถูกพระพุทธเจ้าเสมอ
ไม่ใช่กราบแค่พระทองแดง ทองเหลือง หรือโลหะ หรือปูนปั้น
เพราะงั้น ลูกหลานก็ต้องฝึกที่จะกราบให้เห็นพระ
เจอพระองค์จริงของเราเอง
ซึ่งแต่ละคนมีพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกัน
มันขึ้นอยู่กับจิตแรกและจิตสุดท้าย ที่เราเห็นได้บันทึกข้อมูล
รูปโฉมของพระพุทธเจ้าแบบไหน
หลับตา กราบพระพุทธเจ้าอีกรอบนึง
อยู่กับความว่าง
แล้วดูซิว่า พระพุทธเจ้าองค์ใดจะปรากฏ
กราบเสร็จแล้วก็ถอยออกมา
แล้วแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
ลืมตา
พวกมึงนี่เก่งขึ้นทุกวันนะ
อีกหน่อย กูก็ไม่ต้องสอนแล้ว
สบายไม๊
วันนี้เราได้เฝ้าพระพุทธเจ้าของเราแล้ว
เดี๋ยวกล่าวคำถวายทาน อุทิศเป็นพุทธบูชา
แล้วก็จะได้ไปพัก
6 โมงตรงมาพร้อมกัน
ก่อนจะมาสวดมนต์ ก็ทำความสะอาดศาลาให้เรียบร้อย
เพื่อจะรอรับสิ่งที่เป็นมงคล
ทำทุกภาระกิจด้วยใจที่ว่าง
เริ่มกล่าวคำถวายทาน