16 พ ค 2554  13.50 น.  ถอดเทป ปุจฉา วิสัชนา (1วันก่อนวันวิสาขบูชา) โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ

• เพราะว่าง จึงรับรู้ได้
• ว่าง  ไม่มีอะไร   ถ้ามีอะไร  ไม่ว่าง 
มีใครจะถามอะไรไม๊ ใช้เวลาให้คุ้มค่า
ปุจฉา  สุญญตะ เหมือน หรือ แตกต่างจากสภาวะ เอกทัตตาของอุเบกขา อย่างไร
วิสัชนา  เป็นเรื่องที่ตอบบ่อยมาก
สุญญตสมาธิ เป็นสภาวะ มีอยู่เดิม ซึ่งเราจะต้องพัฒนาตัวเองให้เข้าถึงมัน
อุเบกขา เอกทัตตา  เป็นอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
สุญญตะ มันไม่มีเกิด เรียกว่า สภาวะที่มีอยู่เดิม จบ
ปุจฉา  อารมณ์ว่าง แล้วสามารถรับรู้ได้หรือไม่ หรือว่างแล้วไม่ต้องรับรู้
วิสัชนา  เพราะว่าง จึงรับรู้ได้ แต่เพราะว่า ไม่ว่าง จึงรับรู้ไม่ได้
เหมือนๆ กับแก้วน้ำ ถังขยะ ที่มันไม่ว่าง ก็ใส่อะไรไม่ได้
แต่เพราะเรายิ่งว่างมาก ยิ่งรับรู้ได้มาก
แต่เรารับรู้มาก ก็ยิ่งเป็นใหญ่ คือไม่เล็ก
รับรู้มาก็ไม่เก็บ
รับรู้ทางตา รับรู้ทางหู รับรู้ทางจมูก รับรู้ทางลิ้น รับรู้ทางกาย
เราก็ไม่เก็บเข้ามา
แต่ถ้าเราไม่ว่าง มันไม่ใช่จะรับรู้อะไร
เหมือนๆ กับสากเบือตำน้ำพริกที่ไม่รู้เผ็ด
ไม่รู้ความเค็ม ความเปรี้ยว ความเผ็ดของพริกที่ตำ
มันไม่ว่าง มันมีสภาวะเหมือนดั่งภูเขา
พอขันธ์ทั้ง 5 รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์ 
ห่มหุ้มเกาะกุมจิตนี้เอาไว้
ห่มหุ้มเกาะกุมจิตนี้อย่างเดียวยังไม่พอ
ยังสร้างบริษัทบริวารมัน เพื่อจะแสวง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาอีก
พอมากๆ เข้า มันก็พอกจิตมากๆ เข้า ดั่งภูเขา
เพราะฉะนั้น หน้าที่เรา ก็คือ ต้องทำลายออก
แล้วเข้าไปหาแก้วอันวิเศษที่อยู่ข้างในให้ได้
จิตเดิมมันประภัสสะระ หรือ ประภัสสร
มีความงดงามบริสุทธิ์
แต่มันถูกห่มหุ้มไว้
มันก็เลยไม่สามารถแสดงธาตุแท้ของจิตเดิม
เพราะงั้น นิกายเซน เค้าจึงนิยมสอนให้รู้จักจิตเดิม
แล้วก็สอนให้รู้จักวิธีทำลายขันธ์แบบรุนแรง
เช่น นั่งสัปหงก หัวตก อาจารย์เค้าจะย่องมาข้างหลัง
ฟาดด้วยไม้แรงๆ ที่ข้างหลัง
ลูกศิษย์ก็ต้องรู้ว่า นี่คือ การเคาะขันธ์ให้กระเทาะและแตก
เพื่อให้จิตเดิมแสดง ปรากฏ
เมื่อปลุกแล้ว จิตเดิมซึ่งเป็นตัวรู้ ตื่น และเบิกบาน แช่มชื่น ปรากฏขึ้นให้ได้
งั้น การที่คนเราสร้างกระบวนการที่จะให้จิตเดิมก็ได้
ประภัสสะระจิตก็ได้ สุญญตะจิตก็ได้
ความว่างที่ปรากฏขึ้นจากจิตก็ได้ ให้เห็น ให้ปรากฏ ให้เด่นชัดได้
จนกระทั่งอยู่เหนือขันธ์ทั้งปวงให้ได้
พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่า เราจะต้องไปทำร้ายขันธ์นี้ ฆ่าตัวตาย
เพราะว่า ขันธ์นี้มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่กายขันธ์ ลูก
มันมีวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่แค่ธาตุขันธ์
มันมีวิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ก็คือ สภาวะที่เราทรงจำ กำหนดรู้ และปรุงแต่งมันขึ้นมา
มันก็จัดว่า เป็นขันธ์อย่างหนึ่ง
สังขารขันธ์ ก็คือ การรวมกัน จากหลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง
เรียกหนึ่งสิ่งนี้ว่า หนึ่งขันธ์ หรือ หนึ่งกาย หนึ่งซาก หนึ่งชีวิต อย่างนี้เป็นต้น
เพราะงั้น จะบอกว่า ถ้าเราฆ่าตัวตายแล้ว ก็คือ ดับขันธ์ 5 ได้
ไม่ใช่ เพราะมันยังมีวิญญาณขันธ์ ที่ทำหน้าที่คอยปรุง
วิญญาณขันธ์ ที่ทำหน้าที่คอยสั่งสมอ้ายสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจให้ห่อหุ้มประภัสสะระจิตนี้อยู่
งั้น ไม่ใช่เพียงแค่ไม่มีร่างกายนี้เท่านั้น จึงจะเรียกว่า เราเป็นผู้ที่เข้าถึงความว่างอย่างชัดเจน
ไม่ใช่
ไม่ใช่เพียงแค่เราตายแล้ว ก็ถึงความหลุดพ้น หรือว่า สุญญตสมาธิ ก็ไม่ใช่
แต่เราต้องทำลายอะไร
เมื่อเช้าบอกไปแล้วตอนยืน หลังจากเลิกเดินว่า ทำลายอะไร
ทำลายอุปาทาน เครื่องยึดเหนี่ยว เครื่องเกาะติด
แม้เราจะตายแล้ว ยังมีอุปาทานไม๊
เออ ยังมีอุปาทาน
งั้น อุปาทานนี้ มันต้องโดนทำลายด้วยอะไร
เมื่อเช้าบอกแล้ว
ด้วยปัญญา
ปัญญารู้ชัดตามสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามความเป็นจริงว่า
ตั้งแต่หัวจรดปลายตีน เป็นของเราไม๊
มันไม่ได้เป็นของเรา
เพราะงั้น ก็ต้องหากรรมวิธีที่จะทำลายอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 เสีย
ขันธ์ 5 นี่ มันอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีตัวเชื่อมร้อยรัด
แล้วตัวเชื่อมร้อยรัดตัวนี้ ก็คือ อุปาทาน
อุปาทานที่อยู่ในวิญญาณขันธ์ อยู่ในสังขารขันธ์ อยู่ในเวทนาขันธ์
อยู่ในสภาวะรูปขันธ์ อยู่ในสภาวะจิตที่เราไม่ค่อยที่จะมีสติปัญญา
เราก็จะปรุงแต่งรูป เวทนาขันธ์ วิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์
เหล่านี้ มันผูกร้อยเรียงกันได้ ก็เพราะมีตัวอุปาทาน
เหมือนกับเชือก หรือ เส้นด้ายที่ร้อยถักทอจนกลายเป็น
ทำให้วัตถุธาตุต่างๆ มันกลายมาเป็นเครื่องนุ่งห่มเราได้
ถ้าตัดเชือกนั้น แล้วดึงเชือกนั้นออกเสีย
วัตถุธาตุมันก็มาเกาะเกี่ยวรวมกันเป็นเครื่องห่มหุ้มเราไม่ได้
งั้น เค้าจึงให้ใช้ปัญญา
อุปาทานมีสาเหตุอื่นกำจัดมันไม่ได้ นอกจากปัญญา
ทีนี้ มันก็มีทางลัดว่า
เอาล่ะ เราไม่สามารถจะไปตัดอุปาทานจากรูปขันธ์ วิญญาณขันธ์
เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ ได้หมด
เพราะว่า สิ่งเหล่านี้ เราสั่งสมอบรมมาไม่รู้กี่ชาติภพแล้ว
นับไม่ถ้วน
นับไม่ถ้วนว่า เราสั่งสม อบรมอุปาทานในรูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ เหล่านี้ มากี่ชาติภพ
เมื่อมันนับไม่ถ้วน แล้วเราก็จะทำยังไง
อย่างนั้นก็ต้องเรียนทางลัด
ต้องใช้วิธีรวบรัด เรียนทางลัด ฝึกทางลัด
ก็คือ อย่างนั้นก็จะมองให้มันเป็นของว่างซะ
อย่าให้เห็นว่า มันมีตัวมีตน
เมื่อทุกอย่างมันเป็นของว่าง อุปาทานไม๊
มันไม่ตายเด็ดขาดเบ็ดเสร็จในฉับพลันทันที
แต่มันก็ไม่มีอำนาจมาต่อรอง
เหมือนงูที่โดนตัดหัวแล้ว มันก็ไม่มีอำนาจมาฉกกัดอะไรเราได้
แล้วเราก็พยายามจะรักษาสภาวะที่ตัดหัวงูอยู่ตลอดเวลา
อย่าให้มันเสื่อมสูญไป
แม้ที่สุด เราก็ตัดหัวงูออกเสียให้หมด
อย่างนี้ เราก็ถือว่า เราเข้าถึงสุญญตะ
ทำได้ เหมือนดั่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนโมคลาชะว่า
ถ้าเธอปรารถนาจะไม่ให้มัจจุราชเห็นเธอ
เธอจงพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงสุญญตะ หรือ ความว่าง
ถามว่า ทำไมถึงมัจจุราช ไม่สามารถเห็นผู้พิจารณาความว่าง
ก็เพราะ ไม่มีอะไรให้ตายไง
มันไม่มีรูปให้ตาย ไม่มีเวทนาให้ตาย ไม่มีวิญญาณให้ตาย ไม่มีสังขารให้ตาย
ไม่มีอะไรให้ตายทั้งนั้น
แม้ที่สุด จิตนี้ก็ไม่มีให้ตาย
เมื่อมันไม่มีอะไรให้ตาย มัจจุราชจะเอาอะไรไปตาย
จะมาเกาะกุมอะไรเพื่อให้มันตาย
นี่คือ วิธีสอนทางลัดของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กับโมคราช
จบ ลูก
ปุจฉา   เวลาแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล ควรทำจิตน้อมนำในคำที่กล่าว
หรือทำจิตว่างแบบ สุญญตสมาธิ
วิสัชนา   ได้ทั้ง 2 อย่าง
ถ้าไปเข้าสู่กระบวนการจิตว่าง มันก็ทำให้เราเหมือนกับ
เปรียบประดุจดั่งท้าวมหาพรหม ที่ไม่นิยม ไม่ชมชอบต่อสรรพสิ่งใดๆ
แต่มองทุกสิ่งด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ด้วยคุณธรรมของท้าวมหาพรหม
แต่ถ้าเราไม่ถึงขั้นความว่างแห่งจิต
เราก็ใช้เมตตาธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอนให้อยู่ร่วมกันด้วยความพึ่งพิงอิงแอบอาศัย
สรุป รวมแล้ว ก็ได้ทั้ง 2 อย่าง
ถามว่า อะไรมันได้มากกว่า
มันก็อยู่ในชนิดของการเจริญเมตตา
ถ้าเมตตาที่มีสัตว์เป็นประมาณ ก็คือ กำหนดชนิด ชีวิตของสัตว์
ในการที่จะแบ่งบุญ แผ่กุศลให้ มันก็เร็ว รวดเร็ว ได้ง่าย
แต่ถ้าไม่กำหนดชนิด ชีวิตของสัตว์ ที่จะแบ่งบุญ แผ่ส่วนกุศลให้
มันก็ไปแบบกว้างๆ แต่ก็เชื่องช้า แต่ได้มากมาย
มากมาย คือ จำนวนสัตว์ที่จะรับผลแห่งเมตตาตนก็จะมีมากมาย
งั้น มันขึ้นอยู่กับสภาวะของจิต และขนิดของการแผ่ ลูก
ปุจฉา   หมอวินิจฉัยว่า แม่ อายุ 97 ไตวาย ต้องฟอกไต
 หมอให้อาหารทางสายยาง ใช้ออกซิเยน ร้อย % ปัสสาวะทางท่อ
วิสัชนา  ที่จริงมันไม่น่าเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
แต่เห็นแก่ความกตัญญู ก็จะแนะนำว่า
ควรให้ทำตามหน้าที่ของหมอ หมอเค้าแนะนำยังไง ก็ควรทำตาม
ถ้าเห็นคนไข้ไม่ทรมานเกินไป จบ
ปุจฉา   ในขณะปฏิบัติ รู้สึกเกิดอาการซ่าที่ลำตัว อย่างนี้ เรียกว่า ว่างหรือไม่
วิสัชนา   ว่าง  ไม่มีอะไร   ถ้ามีอะไร  ไม่ว่าง  จบ
เมื่อเช้าทำกันได้ไม๊ล่ะ
กูก็ว่า พวกมึงก็พอทำได้
แต่ว่า ไม่ค่อยทำให้จิตเชื่อง และเชื่อเท่าไหร่
เคลียร์พื้นที่
เอากระดาษมาด้วย หยิบปากกาด้วย

16 พ ค 2554  14.30 น.  ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง” 

เดินขั้นที่ 2 
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ  (26.48 นาที)
• จิตนี่มันทำได้สารพัด ให้มันตั้งอยู่ มันก็ตั้งอยู่
• ให้มันว่าง มันก็ว่าง
• เว้นแต่เราไม่มีปัญญาจะฝึกมันเท่านั้นแหละ
• เดินแบบไร้อารมณ์ แต่ไม่ใช่ไร้สติ
• ว่างไม่ใช่ ไม่รู้
• ความว่างต้องไม่มีอะไรคิดเลย
• สภาวะอย่างนี้ เค้าเรียกว่า สภาวะเข้าถ้ำ
• ถ้าว่างแล้วเพลิน นั่นแสดงว่า ตัวรู้มันไม่มีแล้ว
• รู้แล้วว่าง ว่างแล้วรู้ จึงจะถูกต้อง
• อย่าลืมว่า หลวงปู่กำลังจะฝึกให้ความว่างมีชีวิต
• ความว่าง ไม่ใช่ปฏิเสธ ตัวรู้
• ถ้าบอกว่าว่าง แล้ว ไม่รู้ นั่นคือ คนหลับ กับคนตาย

กระดาษ ดินสอ เตรียมด้วย
เดี๋ยวจะให้เดินในขั้นที่ 2 พร้อมเพ่งจิตว่า ถ้าไม่ว่าง จึงขีด
เข้าใจไม๊
มันจะยากสำหรับคนที่ไม่เคยทำ
เพราะฉะนั้น ใครไม่เคย ยกมือขึ้น
ให้รุ่นพี่เข้าไปชี้นำ
สำหรับคนที่เคยทำมาแล้ว ก็น่าจะไม่ยาก
ถ้าพยายามและพัฒนาตัวเอง
อยู่กับความว่าง แล้วเดินตามจังหวะ
เริ่ม
จิตนี่มันทำได้สารพัดล่ะ 
ไม่ต้องสงสัย ให้มันตั้งอยู่ มันก็ตั้งอยู่
ให้มันว่าง มันก็ว่าง
เว้นแต่เราไม่มีปัญญาจะฝึกมันเท่านั้นแหละ
เดินแบบไร้อารมณ์ แต่ไม่ใช่ไร้สติ
ที่ผ่านมา เราเดินเพื่อจิตตั้งอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งของกาย
เป็นวิชาปราณโอสถ
แต่เที่ยวนี้ จิตอยู่กับความว่าง
ไม่ว่าง ต้องขีด
เมื่อกี้บอกไปแล้วว่า ว่างไม่ใช่ ไม่รู้
รู้ แต่ไม่ปรุง
รู้ แต่ไม่ปรุงเป็นอารมณ์ใดๆ
ความว่าง ไม่ใช่มีเฉพาะแค่นั่งเฉยๆ ยืนเฉยๆ
แต่เดินก็ว่างได้
กูกำลังจะให้ความว่างมีชีวิต
ไม่ใช่ตายในบางเรื่อง
คิดปั๊บ ขีดปุ๊บ มีอารมณ์ปั๊บ ขีดปุ๊บ
อย่าละเลย เฉยแฉะ
เดินแบบคนจิตว่างๆ
อย่าเผลอ ไม่ว่าง แล้วไม่ขีด
ไม่ว่างปุ๊บ ต้องขีดปั๊บ
เพราะการที่ละเลย แล้วไม่ขีด แม้รู้สึกตัว ยังไม่ยอมขีด
นั่นแหละ เป็นการสร้างทัศนคติ ทัศนวิสัยที่เลวร้ายให้แก่ตัวเอง
กลายเป็นคนดูดาย ไม่มีความรับผิดชอบ
ต่อไปทำอะไรก็จะกลายเป็นคนหมักหมม ทิ้งๆ ขว้างๆ นิสัยเสีย
เห็นอะไรปุ๊บ ต้องไว ต่อการเห็น
รู้อะไรปุ๊บ ต้องไวต่อความรู้
เห็นว่าผิดพลาด ต้องแก้ทันที
เห็นสกปรก ต้องชะล้าง ทำความสะอาดทันที
อย่าหมักหมมเป็นดินพอกหางหมู
สุดท้ายก็กลายเป็นว่า ทำไม่ได้แล้ว หมดแรง
เดินแบบเป็นผู้รู้ จิตว่าง ไม่ใช่เดินแบบล่องลอย
หมดอาลัยตายอยาก อ่อนละโหยโรยแรง ห่อเหี่ยว สิ้นหวัง
รู้ จิตว่าง ไม่ใช่ ไร้รู้
สติช้าเหลือเกิน ไม่ว่างมาตั้งหลายก้าว เพิ่งจะมาขีด
ไม่ว่างปุ๊บ ขีดปั๊บ
นี่เดินไปตั้งหลายก้าว เพิ่งมาขีด
ทำเป็นพวกเฉื่อยชาไปได้
ใจว่าง สมองโล่ง ทุกส่วนในกายไม่มี
เดินไป ๆ แล้วมันจะเบาขึ้นๆ
เด็กๆน่ะ ไม่เข้าใจความว่าง
คิดว่า ตัวเองคิดอะไรอยู่ ก็ถือว่า เป็นความว่างน่ะ
ไม่ใช่นะ ลูก
ความว่างต้องไม่มีอะไรคิดเลย ลูก
สมองมันจะโล่ง แต่มีสติรู้
คือ มีตัวรู้อยู่ภายใน
รู้ว่ายืนอยู่  รู้ว่าเดินอยู่  รู้ว่าก้าวตามจังหวะ
แต่ไม่มีเรื่องอื่นที่จะรู้
แล้วก็อยู่กับความว่าง
ไม่ใช่อยู่กับความง่วงนะ ไม่ใช่อยู่กับความซึมเศร้า
ไม่ใช่อยู่กับความเกียจคร้าน สันหลังยาว
ไม่ใช่อยู่กับความฟุ้งซ่าน ออกไปข้างนอก
อย่างนั้นก็แสดงว่า ไม่ว่างล่ะ
สภาวะอย่างนี้ เค้าเรียกว่า สภาวะเข้าถ้ำ
เข้าถ้ำนอน แต่ไม่หลับ
เสือจำศีล ฤษีเข้าถ้ำ
คิดอยู่ แล้วทำไมไม่ขีด
สติต้องให้ไว และเท่าทันกับความผิดพลาดที่เกิด
ถ้าไม่ฝึกอย่างนี้ วันข้างหน้า มีอะไรผิดพลาด ก็จะแก้ไขยาก
เฉื่อยชา รอให้การผิดพลาดมันเกิดซ้ำซาก หรือผ่านไปแล้วตั้งเนิ่นนาน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เงื่อนปมมันอยู่ตรงไหน
จะไปหาทางแก้ ก็แก้ไม่ได้แล้ว
เพราะค้นหาเงื่อนปมไม่ได้
ต้นสายปลายเหตุ สืบสวนไม่ถูก
เห็นผิดปุ๊บ แก้ปั๊บ  ผิดปุ๊บ แก้ปั๊บ
อย่าเผลอ
ซิ้มมันล่องลอยไป มันยังไม่ขีดเลย
อีแก่มะละกอ
อ้าว คิดตามกูพูด ทำไมไม่ขีด
แก่รอเน่า
ด่าแซบนะ
หัวเราะๆ ไม่ขีดอีก
ยิ้ม ทำไมไม่ขีด
เดินให้อยู่กับความว่างนะ
เห็นไม๊ว่า จิตนี้มันไวยิ่งกว่าลิงอีก
แว๊บนึงๆ มันไปแล้ว
ถ้าไม่ขยันที่จะฝึกมัน มันก็ยากที่จะเชื่องต่อเรา
มันชอบซุกซน ทุรนทุรายดิ้น แส่ไปเรื่อย
แส่ไปหารส ลาภ เกียรติ กาม โกรธ
อ้ายที่เดินมันในอารมณ์ ตามจังหวะน่ะ
ว่างเหรอ
แค่รู้ตามจังหวะ แล้วเดินตามเฉยๆ
แต่ถ้าเกิดอาการเมามัน สนุก เพลิน นี่
มันว่างที่ไหน
มันเป็นกามคุณแล้ว
ว่างอย่างมีตัวรู้นะ ลูก
ถ้าว่างแล้วเพลิน นี่ไม่ใช่แล้ว ลูก
นั่นแสดงว่า ตัวรู้มันไม่มีแล้ว
มันตายแล้ว
ว่างแล้วเคลิบเคลิ้ม เพลิน แล้วก็สุดท้ายมันก็จะพัฒนาไปสู่การเซื่องซึม
เกียจคร้าน ง่วงหงาว หาวนอน
รู้แล้วว่าง ว่างแล้วรู้ จึงจะถูกต้อง
หลังจากว่างแล้วรู้ รู้แล้วว่าง จนกระทั่ง มันปลุกครู้ผู้วิเศษภายในให้ตื่น
อารมณ์ต่อมา มันก็จะเป็นคำว่า ตื่น
ว่าง แล้วตื่น รู้แล้วตื่น
มันจะตื่นตัว ตื่นตา ตื่นใจ
กายใจจะเบาขึ้น เหมือนกับเราฉีดยาโด๊บเข้าไปแล้ว เรารู้สึกตื่น
ประสาททุกส่วนจะตื่น ประสาทสัมผัสจะตื่น
แต่ยิ่งตื่น ก็ยิ่งรู้ แต่ต้องว่าง
แต่ข้อเสียอยู่ที่ตรงจบคำว่า ตื่น
แล้วพัฒนาถึงคำว่า ตื่นแล้ว
จะไปรู้  รู้แล้ว ติด ไง
ทีนี้ความว่างก็เลยตาย เลยเสียล่ะทีนี้
ว่าง รู้ ตื่น แล้วก็โต ไม่ใช่ตาย
ว่าง แล้วเพลิน เคลิบเคลิ้ม
เดี๋ยวมันก็จะพัฒนาไปสู่ความซึม ความง่วงล่ะ
อ้ายตัวเล็ก บอกให้ว่าง มึงไม่ว่างเลย  เดิน
พวกที่ชอบใช้ความคิด เลิกคิดได้แล้ว
เรากำลังจะพัก
ไม่มีอะไรให้คิด ไม่มีเรื่องให้วิตกกังวล
เรากำลังพักผ่อน พักจิต พักสมอง
พักกระบวนการส่งกำลังบำรุงทางตา
พักกระบวนการส่งกำลังบำรุงทางหู
พักกระบวนการส่งกำลังบำรุงทางลิ้น
พักกระบวนการส่งกำลังบำรุงทางกลิ่น
พักกระบวนการส่งกำลังบำรุงทางสัมผัส ทางกาย
แม้ที่สุดทางอารมณ์  พักหมด
พอ หยุดอยู่กับที่
16 พ ค 2554  14.30 น.  ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”  ท่า

ยืน 
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 7.36 นาที)
• อย่าลืมว่า หลวงปู่กำลังจะฝึกให้ความว่างมีชีวิต
• ความว่าง ไม่ใช่ปฏิเสธ ตัวรู้
• ถ้าบอกว่าว่าง แล้ว ไม่รู้ นั่นคือ คนหลับ กับคนตาย
พอ หยุดอยู่กับที่
สำรวจความว่างภายใน
ไม่ว่าง ขีด
เมื่อกี้ เราเคลื่อนไหวแล้ว
ทีนี้ก็หยุดการเคลื่อนไหว
ดูซิว่า ว่างอยู่ไม๊
อย่าลืมว่า หลวงปู่กำลังจะฝึกให้ความว่างมีชีวิต
ไม่ใช่ตายซาก แล้วรอเวลาเราสงบ แล้วจึงว่าง ไม่ใช่
แต่ความว่างมันเป็นสิ่งที่มีชีวิตอยู่ กับเราได้
สามารถจะไปคู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน ของเราได้
และเป็นอุปการะคุณแก่เราได้เสมอ
ไม่ว่าง ก็ขีด   คิด ก็ขีด
ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคิดเรื่องอะไร
แต่รู้ ถ้ามันไม่ใช่ความว่าง ก็ขีดหมด
เพราะเราไม่ใช่กำลังฝึกปัญญา
เรากำลังจะต้องการความว่าง แสวงหาความว่าง
แค่มีตัวรู้ ก็เป็นตัวแทนของปัญญา
ถ้าเราว่างอยู่นี่ ก็เป็นปัญญาระดับหนึ่งแล้ว
เราไม่ต้องการปัญญาอันเลิศ เหมือนกับวิชาขีดจิต 10 อย่าง
วิถีจิต 10 อย่าง อย่างนั้นต้องใช้ปัญญาอันเลิศในการแจกแจงว่า
อารมณ์ที่เกิด เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นโลภะ เป็นโมหะ เป็นโทสะ
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
เราไม่ต้องการอย่างนั้น
เราเพียงแค่ต้องการให้จิตนี้มันว่างอย่างไร้ความคิดอ่านใดๆ
มีแค่ตัวรู้ แล้ว เฉย
ถ้ารู้ ไม่เฉย ก็ขีด แสดงว่า ไม่ว่าง
(เสียงฉาบลงพื้น)
มันกระเพื่อมตั้งหลายระลอก
ทำไมไม่ขีดต่อไป จนกว่าจะถึงความว่าง
เหมือนกับน้ำที่ปาหินลงไป มันไม่ใช่มีวงกลมเคลื่อนอยู่ระลอกเดียวจบที่ไหน
คนที่เข้าถึงสุญญตสมาธิที่แท้จริง
ไม่ว่าฟ้าจะผ่า แผ่นดินจะแยก น้ำจะท่วม หรือปรากฏการณ์ใดๆ เกิด
เค้าจะไม่สะดุ้ง สะเทือนได้ เพราะมันไม่มีอะไรให้สะดุ้ง
ที่ยังสะดุ้ง ก็แสดงว่า มันมีอะไร
(เสียงฉาบลงพื้น)
มันเป็นการแสดงออกของพลังงานชนิดหนึ่งว่า ตัวกูมี จึงสะดุ้ง
ถ้าไม่มีตัวกู จะเอาอะไรมาสะดุ้ง
จะเรียกมันว่า สัญชาตญาณ ก็ไม่ผิด
แต่จริงๆ แล้ว มันไม่น่าใช่
แต่ที่เรียกว่า สัญชาตญาณ เพราะมันสั่งสมมานาน
จนกลายเป็นความคุ้นเคย
จริงๆ แล้ว มันคือ แขกแปลกหน้า
มันไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย อ้ายตัวสะดุ้ง
มันสะดุ้ง เพราะว่า เรามีตัวกู มีอุปาทาน
ถ้กำจัดตัวกู และอุปาทานได้  อะไรก็ไม่ทำให้สะดุ้ง
แต่กว่าจะกำจัดอย่างนั้นได้ เราต้องฝึกปัญญาอย่างมาก
งั้น ขั้นตอนนี้ ก็แค่เพียงทำจิตให้ว่าง
ว่างจนกระทั่งสามารถไปกำจัดมันได้
ไม่ว่าง  ก็ขีด  อย่ายืนเฉย
(เสียงฉาบลงพื้น)
รู้แล้วไม่สะเทือน รู้แล้วไม่สะดุ้ง รู้แล้วไม่สัดส่าย
รู้แล้วเฉย รู้แล้ววางเฉย  อย่างนั้น ไม่เรียกว่า สะดุ้ง
ไม่เรียกว่า เสียสมดุลแห่งความว่าง
แต่ถ้ารู้แล้วสะเทือน รู้แล้วสะดุ้ง รู้แล้วสัดส่าย
รู้แล้วจิตใจสั่นเทา รู้แล้วเกิดอารมณ์
นั่นแหละ เค้าเรียกว่า สะดุ้งล่ะ
ความว่าง ไม่ใช่ปฏิเสธ ตัวรู้
ถ้ารู้ แล้วต้อง ว่าง   ว่าง แล้วต้อง รู้
มันต้องอยู่คู่กัน
ถ้าบอกว่าว่าง แล้ว ไม่รู้ นั่นคือ คนหลับกับคนตาย
รู้ แต่ไม่ต้องปรุง
อาการที่เกิดขึ้น เมื่อย ปวด
นั่นน่ะ ว่างไม๊
ไม่ว่าง แล้วทำไมไม่ขีด
อืม ยังยืนหน้าด้าน ทนอยู่ได้
ทำไมรู้สึกช้าจัง
ไม่รับรู้ แล้วปรุงไม๊
ปรุงต่อไปไม๊ว่า มันทรมาน มันปวด มันเมื่อย
ถามว่า รู้ว่า ปวดเมื่อย อย่างชนิดไม่เสียสมดุลความว่าง
รู้อย่างไร คือ รู้แล้วไม่ปรุงนั่นน่ะ จึงถือว่า ว่าง
รู้ว่า มันปวดอยู่  รู้ว่า มันเมื่อยอยู่ แล้วไม่ปรุงน่ะ
ไม่ปรุงมันมาเป็นอารมณ์ จึงถือว่า ว่าง
แต่ถ้ารู้ว่าปวดอยู่ แล้วก็ปวดต่อไปเรื่อยๆ อย่างนั้นน่ะ
แสดงว่า ปรุงแล้ว จิตไปจับความปวด
แล้วมันจะว่างได้อย่างไร
ถ้ารู้ว่า ปวดอยู่  เฉย รู้ว่า เมื่อยอยู่  เฉย
อย่างนี้น่ะ ไม่เสียความว่าง ไม่เสียสมดุลแห่งความว่าง
เดินกลับไปนั่งที่ พร้อมรักษาความว่าง
16 พ ค 2554  14.30 น.  ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”  ท่า

นั่ง
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 7.36 นาที)
เดินกลับไปนั่งที่ พร้อมรักษาความว่าง
ในขณะที่เดินกลับไปนั่งที่ ถ้าไม่ว่าง ต้องขีด
มีอะไรมากระทบ ให้ผลุด หลุดออกไป แล้วไม่ว่าง ต้องขีด
อยู่กับความว่าง
เห็นความว่าง
สัมผัสความว่าง
รู้ว่ากำลังว่าง
อย่าทำให้ความว่าง เกิดไม่ว่างขึ้นมา
แม้ธุลีดินเล็กน้อย ก็ไม่ให้เข้า แปดเปื้อนเข้าไปในบริเวณเขตแห่งความว่างได้
มันว่างไปหมด รู้ว่า ว่าง ว่างแล้วรู้
เกาหัว แหย่หู คันเนี่ย มันว่างไม๊
ทำไมไม่ขีด
นั่งเงิกงากๆ สัปหงก ไม่มีพัฒนาทางจิต
รู้ว่านั่งหลับตา แล้วมันจะทำให้เราเสียความว่างไป
ทำไมไม่ลืมตา
เพ่งความว่างเป็นอารมณ์
จนความว่างกลายเป็นสมาบัติ เป็นฌาณ เป็นพลังแห่งจิต
ผู้ที่มีจิตเข้าถึงสุญญตสมาธิ จะลุถึงสุญญตฌาณ
ไม่ว่าจะมองอะไร ฟังอะไร สัมผัสอะไร
สิ่งเหล่านี้จะอันตรธาน เหมือนดั่งปอกเปลือกกล้วย
มันจะทะลุทะลวง เหมือนแสงเอ็กซเรย์ ที่มองทะลุปรุโปร่ง
จนไม่มีอะไรให้เหลือมอง
จนไม่มีอะไรให้เหลือสัมผัส
ทุกอย่างมันว่างไปหมด สุข ทุกข์ที่เข้ามาเหมือนดั่งเรากำหนดได้
เรารู้ทันมันตลอด
สภาวะธรรมรอบกาย ไม่ว่าจะเร็วแค่ไหน หรือช้าแค่ไหน
เราสามารถจะรู้เท่าทันมันหมด
ไม่ว่าคลื่นเสียงและแสง เราก็จะตามทันมันหมด
เพราะจิตนี้มันเร็วกว่าแสงและเสียงอยู่แล้ว
คิดแล้ว ทำไมไม่ขีด
ไม่ได้พูดให้คิด แต่พูดให้ว่าง
บอกแล้วไง
ลูกรัก  เมื่อใดที่เจ้าต้องการสมาธิ
เห็นพระพุทธเจ้าต้องฆ่าทิ้ง เห็นพระธรรมต้องเผา
เห็นพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกล
เพราะสิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แต่คือ ความว่าง และความตั้งมั่น
แม้จะเป็นคำกล่าวที่ดูเหมือนจะไม่เคารพ
นั่นแหละ สุดยอดแห่งความเคารพ
เพราะพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
การปฏิบัติ เป็นความเคารพสูงสุด
ไม่ใช่การยกย่อง เป็นความเคารพสูงสุด
เกาหัว เกาจมูก คันโน้น คันนี่ ยุกยิก ไม่ว่าง ทำไมไม่ขีด
จิตว่าง มันมีอะไรให้เกาที่ไหน
มันมีอะไรให้คันที่ไหน
ก้มหน้า ก้มหลัง ซ้ายขวา ทำไมไม่ขีด
(เสียงฉาบลงพื้น)
รู้ ไม่กระเพื่อม ก็ไม่จำเป็นต้องขีด เพราะไม่เสียสมดุลแห่งความว่าง
แต่ถ้ารู้แล้ว กระเพื่อม แสดงว่า เราเสียความว่างไปแล้ว
กระเพื่อมในที่นี้ หมายถึง ตกใจ
แต่รู้แล้ว เฉยๆ ไม่มีอะไรทำให้เราสะดุ้ง ผวา ตกใจ
แสดงว่า เราไม่ได้เสียสมดุลความว่าง
ต่อไป ทั้งหมด นอน
16 พ ค 2554  14.30 น.  (4) ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”

 ท่านอน
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 8.75 นาที)
ต่อไป ทั้งหมด นอน
เอ้า หัวเราะ ทำไมไม่ขีด
อีห่านี่ กูบอกแล้วว่า ความว่างต้องอยู่ในทุกอิริยาบทให้ได้
แหม ชอบเลย เป็นท่าที่ชอบมาก
เดี๋ยวใครนอนหลับ กูจะเอาน้ำราด
นอน
นอนให้ว่าง
นอน แล้วไม่ว่าง ขีด
อือ รู้สึกสบายจังเลย ว่างไม๊
ไม่ว่าง ทำไมไม่ขีด
รู้สึกสบายเนี่ย
ว่าง มีคำว่ารู้สึกสบายเหรอ
ว่าง มีสุข มีทุกข์ที่ไหน
อ้ายสุข ทุกข์ มันไม่ว่างแล้ว
รู้สึกผ่อนคลายจังเลย
อย่างนี้ว่างไม๊
เออ
เก้าอี้เฒ่า มันนอนได้หรือเปล่า
รถเข็นน่ะ
ลงมานอนข้างล่างก็ได้ เฒ่า
พยุงลงมา
คุยกันอีก
ว่างหรือเปล่าน่ะ
ถ้าไม่ว่าง ทำไมไม่ขีด
ว่างสมอง ว่างใจ ว่างกาย
แต่ไม่ใช่เคลิ้มหลับนะ
ความว่างนี่มันจับยาก ลูก
มันไม่เหมือนกับวิชาปราณ
ไม่เหมือนกับวิชาสมาธิธรรมดา ที่มันมีเครื่องหมาย คือ นิมิต
แต่พอเราว่างแล้วเนี่ย เราจะรู้สึกเหมือนเคว้งคว้าง
เหมือนกับจับอากาศ
พอทำไปสักพัก เราจะรู้สึกว่า ไม่ได้อะไร ไม่มีอะไร ไม่เหลืออะไร
จริงๆ แล้ว มันเป็นอารมณ์ที่ถูกแล้ว
เป็นสภาพธรรมที่ถูก
เราก็จะเลิก เพราะมันไม่เป็นอะไร ไม่ได้อะไร
เอ้ยๆ อย่ากรนนะเว้ย
อีห่านี่ หัวเราะกิ๊กๆ เดี๋ยวเถอะมึง
เผลอไปหน่อยนึงแล้ว
(เสียงฉาบลงพื้น)
ว่างจนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีเวทนาใดๆ
มีแต่ตัวรู้กับความว่าง
ไม่ได้ให้ดูลมหายใจ อยู่กับความว่าง
ลมหายใจก็ยังเป็นเรื่องหยาบ สำหรับความว่าง
ท้องยุบ ท้องพอง ก็ยังเป็นเรื่องหยาบ สำหรับความว่าง
(เสียงฉาบลงพื้น)
เอ้ย กูให้มึงนอนเพ่งความว่างนะ
ไม่ใช่ให้นอนพักผ่อน มาพัด
เอากระดาษโบกให้ลมเย็น อีห่านี่
เอาพัดลมซักตัวไม๊
พอ ลุกขึ้นนั่ง ตื่น
รักษาความว่าง
อยู่กับความว่างต่อไป
ไม่ว่าง ก็ขีด
มองโน้รมองนี่ เกาโน้น เกานี่ ทำไมไม่ขีด
ไม่รู้หรือไงว่า ตัวเองกำลังไม่ว่าง
16 พ ค 2554  14.30 น.  (5) ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”

 ท่ายืน กับ เดินไม่มีเพลงประกอบ
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 13.48 นาที)
ทรงสภาพความว่างไว้ อย่างเป็นผู้ระมัดระวังที่สุด
อย่าให้ความว่างกระเพื่อม
ยืนขึ้นมาแล้ว ต้องว่างในทันที
ในขณะที่ยืน ก็ว่างมาตลอด
ไม่มีอะไรเริ่มต้นใหม่ ทุกอย่างต่อเนื่อง
ยืน เดิน นั่ง นอน ว่างหมด
ต้องว่างให้ได้ทั้ง 4 อิริยาบท
บอกแล้วว่า กำลังทำให้ความว่างมีชีวิต
ไม่ใช่ตายเป็นบางท่า
หลุดไปตั้งไกล แล้วไม่ขีด
ผู้ที่เข้าถึงความว่างเนี่ย สัญญลักษณ์มันจะปรากฏขึ้นที่หน้าอก
ก็คือ เราจะรู้สึกหน้าอกหน้าใจมันจะว่างๆ โล่งๆ ไม่หนักแน่น
สมองจะโล่ง โปร่ง ตัวจะเริ่มเบาขึ้น
อย่าสนใจกับอาการหรือสัญญลักษณ์แบบนี้
เพราะถ้าไปสนใจมัน ก็แสดงว่า มันไม่ว่างแล้ว
มันไปเสพสัญญลักษณ์ล่ะ
จิตไปยึดติดอยู่กับความโล่ง โปร่ง เบาสบาย
เรากลายเป็นสุข เป็นทุกข์ปรากฏล่ะ ตามมาด้วยความพึงพอใจ ตัณหาล่ะ
อยู่กับความว่างเฉยๆ
เอ้า ทีนี้ เดิน
เตรียมเดิน
ต่างคนต่างเดิน ไม่ต้องมีจังหวะ
รักษาความว่าง เดินแบบให้ว่าง
เริ่มใหม่ไม่ได้ ต่อเนื่องเลย ไม่ต้องเริ่ม
เดินประคอง รักษาความว่างให้คงที่
ไม่ต้องกำหนดอะไร ไม่ต้องภาวนาอะไร
ประคองความว่างเอาไว้
มึงมาห่วงอะไรกับฉาบกู อีห่า ไม่ขีดอีก
เดินแบบธรรมดา ธรรมชาติ ดำรงชีวิตปกติ
แต่มีความว่าง อย่างมีตัวรู้
นักรบที่เก่งกาจ เชี่ยวชาญ ชำนาญ ที่แท้จริง ต้องรับได้ทุกสนาม
ไม่ใช่รบเฉพาะได้บางท่า บางสนามเท่านั้น
(เสียงฉาบลงพื้น)
รู้เฉยๆ แต่ไม่กระเพื่อม ไม่ปรุง ก็ไม่ถือว่า เสียความว่าง
ถ้ารู้แล้ว กระเพื่อม ปรุง ตกใจ นั่นสูญเสียความว่าง ต้องขีด
ให้จำลองเอาไว้ว่า ในใจ หรือ รู้สึกเอาไว้ว่า หรือสมมุติกันว่า
ถ้าขณะที่เดินอยู่ เกิดฟ้าผ่าขึ้นมา แล้วเราสะดุ้งเนี่ย มันจะไปไหนล่ะ
ทุกขคติก็ไปน่ะสิ
เพราะจิตเศร้าหมองไง ขาดสติ
นี่กูไม่ได้ฝึกเพื่อให้มึงไปล่อฟ้านะ
เอ้า หัวเราะอีก ทำไมไม่ขีด
แต่ให้เห็นว่า อันตรายของผู้ที่มีจิตไม่สงบทุกขณะน่ะ
เป็นอันตรายทั้งนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน
ความตายมันไม่เคยบอกเราหรอกว่า มันจะมาหาเราเวลาไหน
มัจจุราชรอโอกาสเวลาตลอด ทุกเวลามัจจุราชเฝ้ามองเราตลอด
ถ้าไม่อยากให้มัจจุราชเห็นเรา แล้วก็มองเราไม่เห็น
ก็ต้องอยู่กับความว่าง
เดินอยู่กับความว่าง
รู้อยู่กับความว่าง
ว่างแล้วรู้สึกอยู่ภายในตัวเรา ไม่ใช่ข้างนอกตัว
หันไปมองคนอื่นน่ะ มันว่างที่ไหน ทำไมไม่ขีด
ประคองสภาวะธรรมแห่งความว่างเอาไว้
ไม่ว่าง ก็ขีด อย่าเดินจนหลายก้าว แล้วจึงจะมานึกได้
แสดงว่า เราขาดสติ ละเลย เพิกเฉยต่อความผิดพลาดของตัวเอง
สุดท้าย ความผิดพลาดนั้น ก็หันมาทำร้ายเรา
อย่าสั่งสมความผิดพลาด
ผิดปุ๊บ ต้องแก้ปั๊บ
มองคนนั้นคนนี้น่ะ ว่างที่ไหน ทำไมไม่ขีด อ้ายหนู
เอ้า ทีนี้ เดินให้ไวกว่านี้อีก
แต่ต้องว่าง
เดินเหมือนกะเรามีชีวิตอยู่ในปกติ อยู่ตามข้างถนน
อยู่ตามท้องถนน ในบ้าน ในที่ทำงาน แต่ต้องมีความว่าง
ใจว่าง สมองโล่ง
รู้อยู่ว่า ว่าง
สัมผัสถึงความว่าง
สภาวะว่าง อยู่ในใจในตัว ในอก ในสมอง
ทีนี้ เราก็จะรู้ว่า ถึงเวลาที่เราเหน็ดเหนื่อยสาหัส ปัญหารุมเร้า
ไม่จำเป็นต้องขอเวลาพัก
เราจะพักได้ทุกเวลา
เมื่อเราเข้าถึงสภาวะแห่งความว่างได้อย่างชัดเจน
ในทุกท่า ทุกที่ ทุกถิ่น ทุกทาง
เราจะกลายเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดในโลก
เพราะเราพักได้ทุกวัน ทั้งวัน
มึงอยู่บ้านมึง มึงเดินหลับตาอย่างนี้เหรอ
อีห่านี่ เดี๋ยวก็ไปเดินชนตอเค้าหรอก
บอกให้เดินเป็นปกติ เหมือนกะมีชีวิตอยู่ธรรมดา
หัวเราะๆ ว่างเหรอ  มึงยิ้ม ว่างเหรอนั่นน่ะ
แว๊บก็ไม่ได้ แว๊บ ก็ขีด
จิตสว่าง สมองโล่ง ตัวเบา ร่างกายปลอดโปร่ง
หน้าอกโล่ง เบาสบาย โล่ง
เหล่านี้เป็นสภาวะแห่งความว่างที่ไปครอบงำ
แต่ไม่ต้องไปรับมาเป็นอารมณ์
ถ้ารับมาเป็นอารมณ์ เราจะทิ้งแล้วซึ่งความว่าง
แล้วก็ไปอยู่กับอ้ายกาย อ้ายจิต อ้ายสมอง อ้ายหัว อ้ายตัว อ้ายหน้าอก
ซึ่งเราก็จะไม่ว่างแล้ว
มึงไหว้กู แล้วมึงว่างเหรอเนี่ย อีห่านี่ ไม่ขีดอีก
ชำเลืองมองแว๊บนึงนี่ มันว่างไม๊
เตรียมตัวเดินเข้าจังหวะ
16 พ ค 2554  14.30 น.  (6) ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”

 เดินเข้าจังหวะในขั้นที่ 2 และ 1
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 20 นาที)
เตรียมตัวเดินเข้าจังหวะในขั้นที่ 2
ทรงความว่างตามอาการจังหวะ
เดินต่อไป ไม่จำเป็นต้องหยุด มีจังหวะก็ก้าวเลย
ไม่มีการเตรียมการใหม่ ไม่มีการเริ่มต้น
ความว่างเกิดขึ้นทุกอารมณ์ ทุกลมหายใจ ทุกนิจสิน เป็นนิจสิน
ไม่ใช่เกิดแค่อิริยาบท
ก็บอกแล้วว่า ครูคนนี้กำลังจะฝึกให้ลูกศิษย์
เป็นผู้ที่มีความว่างอย่างเจริญเติบโต ไม่ใช่รอวันตาย
ว่างแล้ว ต้องโต
ดนตรีเริ่ม
ก้าวจนกว่าจะได้จังหวะก้าว แล้วก้าวต่อเลยในขั้นที่ 2
ไม่ต้องหยุด เพื่อจะก้าว
จะรู้สึกว่า เป็นกังวล เป็นภาระ
อ้ายความกังวลและภาระและหนักขึ้นเนี่ย มันว่างที่ไหน ทำไมไม่ขีด
กังวล ภาระ ในการที่จะต้องระวัง ที่จะต้องเดินตามจังหวะ
มันไม่เดินสบายเหมือนเมื่อครู่นี้
แล้วทำไมไม่ขีด
ว่างแล้ว มันจะต้องไม่กังวล ไม่เป็นภาระ
ไม่ว่าจะเพิ่มแบกอะไรมากขนาดไหน ก็ไม่รู้สึกหนัก
เพราะมันว่าง
ปิดเครื่องขยาย
กลับไปเดินปกติใหม่
พอทิ้งกังวล ทิ้งภาระ ก็จะเดินแบบสบายๆ
เปิดเสียง
เห็นไม๊ว่า ความกังวลและภาระ มันเกิด ทำไมไม่ขีด
จิตกระเพื่อมไม๊ ถ้าไม่กระเพื่อม ก็ไม่ต้องขีด
กระเพื่อมก็ขีด แสดงว่า มันไม่ว่าง
น้ำไม่นิ่ง ต้องทำให้เห็นให้ชัด
ความว่างที่เกิดจากจิตเดินตามจังหวะ
กับความว่างที่เกิดจากการเดินโดยไม่มีจังหวะ
มันจะแตกต่างกัน
ด้วยเหตุผลที่ว่า มันมีภาระ มีความกังวล เพิ่มงานมากขึ้นแก่จิต
แต่เราต้องเอาชนะมันให้ได้ ต้องทิ้งภาระเหล่านี้ให้ได้
เพราะชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เดินตัวเปล่า
2 บ่า มันจะแบก ตึงไปด้วยภาระกรรมต่างๆ ทางสังคม
และชีวิตรอบตัว และตัวของตัวเอง
เราจะทำยังไงที่จะอยู่กับมันได้อย่างเป็นผู้ที่มีชัยชนะ
และแข็งแรงที่สุด ต้องเอาชนะมันให้ได้
อยู่กับความว่าง ไม่ใช่อยู่กับความเพลิดเพลิน
ว่าง แล้วต้องรู้
ถ้าว่าง  ไม่รู้ แล้วเพลิน แสดงว่า ไม่ว่างแล้ว
ทำไมไม่ขีด
มันจะไม่ว่างตลอดทางเลยเหรอนั่นน่ะ
ถอยลงไปอยู่ในขั้นที่ 1
จะหนักกว่าเก่าอีก
ทรงความว่างเอาไว้
ความกังวลที่เกิดจากการจะก้าวคร่อมจังหวะ ไม่คร่อมจังหวะ ทำไมไม่ขีด
แยกไม่ออกหรือไงว่า อะไรว่าง กับอะไรไม่ว่าง
แตกต่างกันอย่างไร
ไม่ว่าง ก็ขีด
ความว่างไม่ใช่เป็นอารมณ์นะ ลูก
แต่เป็นสภาวะธรรม
เพราะฉะนั้น มันจะอยู่ไปในทุกที่ ที่เราเข้าไปหามัน แล้วเจอ
ไม่ใช่ความว่างอยู่บนหัว ความว่างอยู่ที่หน้าอก
หรือความว่างอยู่ที่ฝ่ามือ
ไม่ใช่นะ
หลายคนไปเพ่งความว่างอยู่บนหัว หน้าอก มือ หรือลำตัว
ถ้าไปเป็นอารมณ์ มันก็จะเป็นอุเบกขา กับ เอกทัตตา
ซึ่งมันก็จะไม่ใช่ความว่างแล้ว
สภาพมันเหมือนๆ กับเราเขียนบนกระดานแล้วลบทิ้งทั้งหมดน่ะ
เขียนหนังสือด้วยชอล์กบนกระดาน แล้วลบทิ้งทั้งหมด
มันก็ไม่เหลืออะไรปรากฏอยู่บนกระดานดำแล้ว
ปิดเครื่องเสียง
16 พ ค 2554  14.30 น.  (7) ถอดเทป ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง”

 เดิน ยืน นั่ง ไม่มีดนตรี
โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ ( 16.30 นาที)
ปิดเครื่องเสียง
หาว เดินธรรมดา
พอเดินธรรมดา ก็จะว่างแน่นมากขึ้นกว่าเก่า
เพราะไม่มีงานจะเพิ่ม ไม่ภาระที่จะทำ
ไม่ใช่เดินให้เพลินไปวันๆ นะ
เดินอย่างมีตัวรู้ว่า ว่าง
ถ้าไม่ว่าง ก็ขีด
หยุดอยู่กับที่
ทรงความว่าง เพ่งความว่าง อยู่กับความว่าง
หลับตา
แว๊บออกไปข้างนอก ทำไมไม่ขีด
เคลิมเคลิ้ม โยกเยกนั่นน่ะ มันว่างหรือเปล่า
ทิ้งความว่าง
หายใจเข้า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
ดูซิ จะชัดแจ้งไม๊
หายใจออก สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ทิ้งความว่าง แล้วสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข ด้วยจิตเมตตา
สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์ ด้วยความเมตตา
ลองดูซิ
กลับมาอยู่กับความว่าง ทิ้งคำภาวนา
พวกที่ยังติดคำภาวนาเข้ามาในความว่าง ทำไมไม่ขีด
นั่งลง
ตรงไหน ตรงนั้น
ทรงความว่างเอาไว้
วางกระดาษ ปากกา
หลับตา อยู่กับความว่าง
ลองดูซิว่า จะอยู่ได้นานแค่ไหน
เห็นว่า จะไม่รอด ก็ขีดซะ
พวกที่เคลิบเคลิ้ม ลื่นไหล ถลาน่ะ
อยู่ได้ยังไง เฉยๆ
ให้เวลา 1 ชั่วโมงกับการกลับไปทำภาระกิจด้วยใจว่าง
ออกไปได้ ต่างคนต่างไป
รักษาความว่างไว้ จนกว่าจะไปถึงภาระกิจที่ตัวเองต้องการจะทำ
ไปได้
ถือว่า เป็นกรณีฝึกหัด
มีชีวิตอยู่ในปกติ อย่างเป็นผู้มีใจว่าง
จะทำความสะอาด ซักผ้า อาบน้ำ ให้อยู่กับความว่าง
ไปได้เลย
มีสมบัติ ก็หอบสมบัติไป
ใจว่าง แต่กายมันไม่ว่าง ต้องหอบ
ทำชีวิตปกติ ให้เป็นชีวิตแห่งความว่าง
จิตใจว่าง สมองว่าง
บอกแล้วว่า จะไม่ทำให้ความว่างตายอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง
ความว่างต้องฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาในชีวิตประจำวันให้ได้
คงและรักษาความว่างเอาไว้แล้ว กลับไปทำภาระกรรมของตน
จะอาบน้ำอาบท่า ทำกิจกรรม
ยังไม่คลายจากกรรมฐาน สุญญตสมาธิ
สุญญตสมาธิ ต้องมีต่อเนื่องยาวนาน จนถึงเวลาสวดมนต์
มาล่ะ อีตัวไม่ว่าง
ก็มึงเห็นเค้าพูดกันไม๊ล่ะ
เค้าทำไมยังพูดได้
กำลังฝึกสมาธิ ไม่ได้มาเป็นหมอ
อ้าว แล้วปวดหัวไม๊
ไม่เป็นไร
มาจากไหน
เค้ากำลังปฏิบัติธรรม
16 พ ค 2554  19.30 น.  หลังทำวัตรเย็น (1) ถอดเทป ระหว่าง

ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง” 
เดินจังหวะที่ 1 – 3 โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ (38 นาที)
• คืนนี้จะได้นอนหลับสบาย เมื่อจิตมันว่าง
• ความว่างไม่ใช่อารมณ์ แต่เป็นสภาวะ
• สภาวะที่เราต้องก้าวเข้าไปถึง ไปให้ถึง
• การขีด ก็คือ การสร้างสติ ระลึกรู้ ที่จะกำจัดความผิดพลาดของตัวเอง
• 
เคลียร์พื้นที่  เก็บเสื่อ อาสนะ
เดี๋ยวปฏิบัติธรรมก่อนแล้ว ค่อยฟังพระไตรปิฎก
ห้องน้ำไม่ค่อยพอใช้ สั่งให้เค้ามาสร้างใหม่
เค้ากำลังไปเขียนแบบ เขียนอะไรกันอยู่มั๊ง
เที่ยวหน้ามา คงจะได้มีห้องน้ำใหม่ใช้ล่ะ
ตอนนี้ก็แบ่งๆ กันไปก่อน
เคลียร์พื้นที่
เตรียมตัวปฏิบัติธรรม
ก่อนจะเข้าไปรับพระธรรม ตัวเราต้องมีความว่างก่อน
ต้องชำระล้างจิตให้พร้อมใส่ซึ่งรสพระธรรม
พระทั้งหมดให้ไปอยู่ศาลาทิศตะวันตก
หานไปไหนแล้ว ไปเข้าห้องน้ำ ทำไมไปไกลเหลือเกิน
ไปถึงกุฏิเชียวเหรอ
พร้อมแล้ว ลุกขึ้นยืน
เตรียมกระดาษ ปากกามา
บอกแล้วว่า ต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
เห็นโทษเห็นภัยของเวลาที่สูญเสีย
ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เนืองๆ
อยู่กับความว่าง
เดินในจังหวะที่ 1
ไม่ว่าง ขีด
ถ้าว่า ไม่ต้องขีด
ใครไม่เคยเลย ยกมือ ให้รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ
คืนนี้จะได้นอนหลับสบาย เมื่อจิตมันว่าง
จะรอเดินเท่านั้น จึงจะว่างเหรอ
ยืนเฉยๆ นี่ ไม่ว่างหรือไง
ว่าง ไม่ต้องขีด
ไม่ว่าง ขีด
ยังจะหลงลืมอะไรไปหรือเปล่า
เพราะความว่างต้องไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่ใช่เหรอ
ไม่มีความคิดใดๆ เลย ไม่ใช่เหรอ
ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล
ไม่มีถูก ไม่มีผิด
ความว่างไม่ใช่อารมณ์ แต่เป็นสภาวะ
สภาวะที่เราต้องก้าวเข้าไปถึง ไปให้ถึง
ไม่ว่าง ก็ ขีด
อย่าขี้คร้านที่จะขีด
ความผิดพลาด เมื่อเกิดขึ้น ต้องกำจัด
ถ่าไม่กำจัด มันจะพอกพูน กลายเป็นนิสัย
ทีนี้ก็จะเป็นคนมักง่าย หยาบกระด้าง
ไม่ละเอียดอ่อน ไม่สุขุม
นิสัยไม่ดีๆ น่ะ
เราเป็นคนฝึกเอง ไม่มีใครฝึกให้เรา
กรรมไม่ดี กรรมชั่ว กรรมเลว กรรมอกุศลน่ะ
ไม่มีใครทำให้  เราเป็นคนทำเอง
โง่กับฉลาด ก็ไม่มีใครทำให้
เราเป็นคนหาเอง
ขีดทุกครั้งที่ไม่ว่าง
ไม่ใช่รอเดินไปตั้งหลายก้าว แล้วเพิ่งมานึกได้
จับขโมย ต้องจับให้ได้ซึ่งหน้า คาหนังคาเขา
จะรอให้ขโมยวิ่งหนีเข้าบ้าน แล้วไปล้อมจับ ไม่มีหลักฐาน
มัวแต่มองคนโน้นคนนี้ มันว่างหรือไง ทำไมไม่ขีด
เดินหน้านิ่วคิ้วขมวด ตัวเกร็ง ที่ไหนจะว่างได้วะ
ความว่างมีอะไรให้ต้องเกร็ง ขมึงทึงที่ไหน
มีคำจำกัดความให้วิเคราะห์ว่า
ว่างผ่อนคลาย รู้ว่า ว่าง
เฒ่าน่ะ มันมองหาทิศทางเดินน่ะ มันว่างที่ไหน
สำรวจว่า จะเดินไปข้างไหนนั่นน่ะ ว่างเหรอ
ทำไมไม่ขีด
อย่าขี้เกียจที่จะกำจัดความผิดพลาดของตัวเอง
การขีด ก็คือ การสร้างสติ ระลึกรู้ ที่จะกำจัดความผิดพลาดของตัวเอง
ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปชีวิตจะได้ไม่ผิดพลาด ไม่คลาดเคลื่อน
ถ้าความผิดพลาดเกิดขึ้น และเราเกียจคร้านที่จะกำจัดมันออก
สุดท้าย มันก็พอกพูน
ทีนี้เราก็แยกไม่ได้ล่ะ อะไรคือถูก อะไรคือผิดในชีวิต
ปรับขึ้น ขยับเป็นขั้นที่ 2
รักษาความว่าง
ขยับขึ้นขั้นที่ 3 ใครไม่เคย ยกมือขึ้น
รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ ยกสูงๆ ยกแค่หู แล้วใครจะเห็นล่ะ
อยู่ในสภาวะความว่าง ไม่ใช่อยู่กับน้ำหนักที่ถ่ายเท
ไม่ว่าง ต้องขีด
อย่าลืมที่จะขีด
หยุดอยู่กับที่
คงรักษาความว่างเอาไว้ แล้วรอจังหวะ
ขั้นที่ 3 เนี่ย สำหรับผู้มีสติตั้งมั่น
ลุถึงสภาวะความว่าง มันจะแจ่มชัดมากขึ้น
เป็นผลดีสำหรับคนที่มีสติตั้งมั่น
แต่มันเป็นผลร้ายสำหรับผู้ไม่มีสติตั้งมั่น
จะเผลอง่ายมาก
ความว่างมันจะวู๊บๆ ว๊าบๆ ตกๆ หล่นๆ ไม่ชัดแจ้ง
16 พ ค 2554  19.30 น.  หลังทำวัตรเย็น (2) ถอดเทป ระหว่าง

ปฏิบัติธรรม ฝึก “ความว่าง” 
ภาวนาในความว่าง โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ (10.30 นาที)
• การได้มีโอกาสอยู่กับความว่าง และสภาวะความว่าง คือ การเข้าถ้ำ
• จะหยุดให้ ผล ในเวลาที่เราอยู่ในสุญญตะ
• สภาวะแห่งความว่าง มันยิ่งกว่าสูญญากาศ
• มันเป็นที่อยู่ของผู้ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร
• และว่างอย่างไร้ขีดจำกัดสูงสุด
ปิดเครื่องเสียง
อยู่กับความว่าง
ไม่ว่าง ขีด
ฝึกให้คุ้นเคยที่จะอยู่กับมัน
ไม่ว่าจะอิริยาบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน
เพราะการได้มีโอกาสอยู่กับความว่าง และสภาวะความว่าง คือการเข้าถ้ำ
หรือการพักผ่อนแห่งจิต
การพักจากการให้ผลแห่งกรรม
ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี หรือ กรรมชั่ว
จะหยุดให้ ผล ในเวลาที่เราอยู่ในสุญญตะ
เพราะแม้แต่มัจจุราชที่มาเอาชีวิตใครก็ตาม
ตามกฏแห่งกรรมของคนผู้นั้น
ถ้าคนผู้นั้นอยู่ในสภาวะแห่งความว่าง
มัจจุราชก็จะเอื้อมไม่ถึง
สภาวะแห่งความว่าง มันยิ่งกว่าสูญญากาศ
ผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน รัก โลภ โกรธ หลง
จะเข้าไปสู่สภาวะนั้นไม่ได้ หนัก
อยู่ในบุญก็เข้าไปอยู่ไม่ได้
หมกมุ่นอยู่ในบาป ก็เข้าไปอยู่ไม่ได้ ในสภาวะความว่าง
มันเป็นที่อยู่ของผู้ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร
และว่างอย่างไร้ขีดจำกัดสูงสุด
เป็นที่ปลอดจากพรหม มาร เทวดา และเทพทั้งปวง ก็เข้าไปไม่ได้
มีพวกเดียวที่เข้าไปได้ ก็คือ ผู้ที่เป็นอรหัตผล
หรือไม่ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
อยู่กับมันให้คุ้นเคย
ต้องว่างให้ถึงที่สุด
ว่างจนตัวเบา กายเบา
เรียกว่า ลหุตา คือ ความเบา
อย่าเข้าใจผิดว่า ความว่าง คือความสุข
ความว่างคือความพึงพอใจ มันไม่ใช่
แสดงว่า นั่นมันเป็นอารมณ์ มาหลอกล่อเรา
ความว่างเป็นสภาวะ
สภาวะของผู้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ
แม้ที่สุด ก็ไม่มีจิต มีแต่ตัวรู้
เมื่อถึงที่สุด ตัวรู้ก็จะดับ
เอ้า ทีนี้ ภาวนาในความว่างว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ไม่ต้องสนลมหายใจ
ภาวนาอยู่ที่ความว่าง
เมื่อเราเข้าไปสู่สภาพ หรือสภาวะแห่งความว่าง
เราก็ใช้พื้นที่ตรงนั้นสำหรับภาวนา
ถ้ากลับมาอยู่กับลมหายใจ ก็แสดงว่า ไม่ว่าง ยังหยาบอยู่
แสดงว่า เราถอนจากความว่างแล้ว มาอยู่กับลมหายใจแล้ว
งั้น ภาวนาในพื้นที่แห่งความว่าง
ไม่ต้องประกอบลมหายใจ
เสร็จแล้วเข้าที่
มึงหาที่นั่ง อีมะละกอ
มึงยังไม่ถึงอะไรเลย
มึงอย่าเพิ่งสงสัย
ไม่ได้
เดี๋ยวมีการบ้านให้ทำ 2 เรื่อง
จำเอาว้าว่า การบ้านคืออะไร
พรุ่งนี้เช้าต้องตอบให้ได้
เรื่องแรก คือ ฟังธรรมด้วยความว่าง
เรื่องที่ 2 คือ ฟังธรรมโดยสนใจและคิดตามทำนองครองธรรมนั้น
ดูซิว่า จะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
อีกครั้ง เรื่องแรก คือ ฟังธรรมด้วยสภาวะความว่าง
เรื่องที่ 2 ก็คือ ฟังธรรมโดยคิด ตรองตามธรรมนั้นๆ ว่า
จะมีข้อแตกต่างกันอย่างไร แล้วพรุ่งนี้เช้ามาตอบ
ฟังเข้าใจไม๊
ที่พูดนี่ เข้าใจไม๊
ต้องหาคำตอบให้ตัวเองให้ได้ว่า เมื่อเรามีความว่างแล้ว 
ใช้ความว่างมาใส่ธรรม อรรถ พยัญชนะ
เราจะแจ่มแจ้ง ซึมซับได้ดีกว่า หรือต้องเอาจิตไปคิดตรองตามธรรมนั้น
2 อย่างนี้ อันไหนซึมซับและย่อยได้ดีกว่ากัน
เข้าใจไม๊
เดี๋ยวเตรียมตัวฟังธรรม