พิจารณาโครงกระดูก
ปฏิบัติในท่านั่ง
(๑๕ – ๒๐ ธ.ค. ๔๒)


.....ปฏิบัติธรรมกันสักนิดหนึ่ง แนะนำการวิเคราะห์โครงกระดูก ตอนนี้ก็มองเฉยๆก่อน จับตามองไปที่โครงกระดูก มองด้วยความพินิจพิเคราะห์ไม่จำเป็นต้องไปเกร็งถมึงทึงตึงเครียด มองไปเล่นๆ ชัก ๓ นาทีก็แล้วกันรับรู้เปิดขยายจอภาพ ลูกตาเรานี่มองภาพได้ตั้ง ๑๘๐ องศา และถ้าเราใช้มันสมบูรณ์นี่ มันก็จะรับรู้ภาพทั้งหลายได้ อยากให้หรี่เลนส์รับภาพลงเหลือเพียงแค่ประมาณ ๑๐ องศา โครงสร้างของกระดูกมันไม่กว้างมากมาย ให้เราเก็บข้อมูลไว้ให้มากที่สุด เบาๆสบาย ผ่อนคลาย บางครั้งความถมึงทึงตึงเครียดและเบิกกว้างมันก็ทำให้เรารับรู้อะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าทำอะไร เบาๆสบายๆมันจะรับรู้ได้

.....เมื่อเรารับเปิดจอภาพรับเอาภาพเข้ามาเก็บไว้ในใจได้แล้ว นั่งขัดสมาสนะ ขัดสมาธิอย่างไรก็ได้ให้ลำตัวตั้งตรงก็แล้วกัน แล้วก็สูดลมหายใจเข้าลึกๆนิ่มนวล ยาวๆจนยกปอดขึ้นยกหน้าอกขึ้นแล้วก็ผ่อนลมออกมายาวๆสุภาพหมดจด แล้วก็สูดเข้าไปใหม่แล้วก็ผ่อนลมออกมายาวๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วเอาความรู้สึกทั้งหมดจับภาพในรูปนั่งของตนหลับตาพร้อมกับหลับตา สัมผัสมีความรู้สึกว่าเรากำลังนั่ง และนั่งอยู่ตรงนี้เห็นหรือไม่ ว่ารับรู้ได้ว่ารูปนั่งเป็นอย่างไร จะเห็นได้คล้ายๆกับเรายืนอยู่บนระเบียงที่สูง แล้วมองต่ำลงไปเห็นคนเดินมาหรือกำลังนั่งอยู่ ลักษณะการสัมผัสหรือเห็นเป็นอย่างนั้น เมื่อรู้จักรูปนั่งของตนแล้ว เอาความรู้สึกหรือสติจับไปที่กะโหลกศีรษะ จอมประสาท ไม่ต้องสนใจลม หายใจ ปล่อยไปตามสบาย มันจะหายใจอย่างไรก็เรื่องของมัน ตอนนี้เราจะรู้ว่ากระดูกกะโหลกศีรษะเราเป็นอย่างไร

• จับกะโหลกศีรษะตรงจอมประสาทให้ชัด
• แล้วก็เลื่อนลงมาที่หน้าผาก
• จากหน้าผากก็เลื่อนมาที่โกนกคิ้วทั้งสองข้าง กระดูกโหนกคิ้ว
• กระดูกโหนกคิ้วแล้วก็มาที่เบ้าตาทังสองข้าง มันจะเป็นรูกลวงโบ๋ลงไป
• เบ้าตาด้านบน แล้วก็เบ้าตาด้านล่าง
• จากเบ้าตาด้านล่างก็มารวมชนกันที่หัวลูกตาทั้งสองข้าง
• จับไปที่สันจมูก ตั้งแต่ หว่างคิ้วลงมาจนถึงสันจมูก กระดูกจมูก จะเห็นว่าเป็นรูสองรู
• จากจมูกก็จับไปที่โหนกแก้มเลาะลงจากริมจมูกทั้งสองข้างเลื่อนลงไปที่โหนกแก้ม
• โหนกแก้มทั้ง สองข้าง
• จากโหนกแก้มก็เลาะลงมาที่ริมฝีปากด้านบน ริมฝีปากมีฟันมีกระดูกฟันติดอยู่ด้วยนะ
• จากริมฝีปากด้านบนก็เลาะลงมาที่ริมฝีปากด้านล่าง ปรากฏฟันติดอยู่
• จากริมฝีปากด้านล่างก็มาปลายคาง กระดูกค่าง
• จากกระดูกคางก็จับภาพไปที่กรามข้างขวา
• กรามข้างขวาก็ไปที่กกหูขวา ซึ่งไม่มี หูนะ เป็นกระดูกศีรษะโล้นๆ อยู่ด้านขวามีรูเข้าไป
• จากกกหูก็ไปที่กะโหลกศีรษะด้านหลัง ที่ต้นคอหรือที่ท้ายทอย คือคลานไปอ้อมไปทางกะโหลกศีรษะด้านหลังทางซ้าย
• จากทางซ้ายก็มากกหูซ้าย
• จากกกหูซ้ายก็มาที่กรามด้านซ้าย
• จากกรามด้านซ้ายก็มาที่ปลายคาง
• แล้วก็มาที่ริมฝีปากด้านล่าง
• ริมฝีปากด้านบน
• จมูก
• โหนกแก้มสองข้างเลย
• เบ้าตาด้านล่าง
• เบ้าตาด้านบน
• รวมมาที่หัวตาทั้งสองข้าง
• แล้วจับที่สันจมูก
• ขึ้นไปที่ตรงหว่างคิ้ว
• จับกะโหลกคิ้วทั้งสองข้าง โหนกคิ้วทั้งสองข้าง
• ที่หน้าผาก
• ที่จอมประสาท
• จากจอมประสาทก็ไหลลงไปด้านหลัง กะโหลกศีรษะด้านหลังไปจนถึงต้นคอ
• กระดูกต้นคอ ข้อที่หนึ่ง
• กระดูกต้นคอ ข้อที่สอง
• กระดูกต้นคอ ข้อที่สาม
• กระดูกต้นคอ ข้อที่สี่
• กระดูกต้นคอ ข้อที่ห้า
• กระดูกคอ ข้อที่หก
• กระดูกคอ ข้อทีเจ็ด
• ก็มาถึงกระดูกหัวไหล่
• ถึงกระดูกหัวไหล่ก็ไปทางขวาก่อน จะเห็นกระดูกหัวไหล่และมีแผ่นกระดูกที่เรียกว่าสะบัก
• แล้วก็ขึ้นมาที่กระดูกหัวไหล่ด้านขวา
• ย้ายกลับมาที่กระดูกหัวไหล่ด้านซ้าย จับภาพไปที่แผ่นกระดูกที่เรียกว่าสะบักด้านซ้าย
• หัวไหล่ซ้ายเลาะไปที่กระดูกไหปลาร้าด้านหน้าข้างซ้ายมาถึงตรงลำคอด้านหน้า
• เลาะจับไปที่กระดูกไหปลาร้าข้าหน้าด้านขวา มาถึงหัวไหล่ด้านขวา
• จับภาพไปที่กระดูกต้นแขนด้านขวา ไหลเลื่อยลงไปถึงข้อศอกขวา
• แขนช่วงล่าง ด้านขวา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระดูกสองท่อน อยู่ติดกันไปถึงกระดูกข้อมือ
• กระดูกฝามือ
• จับภาพไปที่กระดูกของนิ้วโป้ง ท่อนของนิ้วโป้ง
• กระดูกนิ้วโป้งข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วโป้งข้อที่สอง
• ข้อที่สองแล้วก็ย้อนกลับมาข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วชี้ข้างขวาข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วชี้ข้างขวาข้อที่สอง
• กระดูกนิ้วชี้ข้างขวาข้อที่สาม
• แล้วย้อนกลับมา ข้อมาข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วกลางข้างขวาข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วกลางข้างขวาข้อที่สอง
• กระดูกนิ้วกลางข้างขวาข้อที่สาม
• ย้อนกลับมา ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วนางข้างขวาข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วนางข้างขวาข้อที่สอง
• กระดูกนิ้วนางข้างขวาข้อที่สาม
• ย้อนกลับมา ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วก้อยข้อที่หนึ่ง
• กระดูกนิ้วก้อยข้างขวาข้อที่สอง
• กระดูกนิ้วก้อยข้างขวาข้อที่สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง

• ย้อนกลับมา ย้อนขึ้นมาที่กระดูกมือด้านขวา ฝ่ามือถึงข้อมือ
• ถึงต้นแขนด้านล่างข้างขวา
• ถึงข้อศอกขวา
• ถึงกระดูกต้นแขนด้านบนข้างขวา
• กระดูกหัวไหล่ขวา
• มาถึงกระดูกสะบักขวา
• มาถึงต้นคอด้านหลังข้างขวา
• ไหลเรื่อยไปจับเอาต้นคอด้านหลังข้างซ้าย
• สะบักซ้าย
• หัวไหลซ้าย
• ท่อนแขนซ้าย
• ข้อศอกซ้าย
• กระดูกแขนช่วงล่างข้างซ้าย
• กระดูกข้อมือซ้าย
• กระดูกฝ่ามือซ้าย
• ต่อไปก็เป็นกระดูกนิ้วโป้งข้อที่หนึ่งข้างซ้าย
• กระดูกนิ้วโป้งข้อที่สองข้างซ้าย
• ข้อที่สอง หนึ่ง
• และก็กระดูกนิ้วชี้ข้อที่หนึ่งข้างซ้าย
• กระดูกนิ้วชี้ข้อที่สองด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วชี้ข้อที่สามด้านซ้าย
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วกลางข้อที่หนึ่งข้างซ้าย
• กระดูกนิ้วกลางข้อที่สองด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วกลางข้อที่สามด้านซ้าย
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วนางข้อที่หนึ่งด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วนางข้อที่สองด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วนางข้อที่สามด้านซ้าย
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วก้อยข้อที่หนึ่งด้านซ้าย
• นิ้วก้อยข้อที่สอง
• นิ้วก้อยข้อที่สามด้านซ้าย
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• จับภาพไปที่กระดูกฝ่ามือด้านซ้ายทั้งหมด
• ไหลเรื่อยขึ้นมาจนถึงกระดูกข้อมือ
• กระดูกแขนด้านล่างซ้าย
• ขึ้นมาจนถึงข้อศอกซ้าย
• ต้นแขนซ้าย
• หัวไหล่ซ้าย
• สะบักซ้าย
• บ่าด้านซ้าย
• จับเรื่อยมาจนถึงกระดูกข้อต่อสันหลังข้อที่หนึ่งลงไปด้านล่าง
• กระดูกสันหลังข้อที่สอง จะมีซี่โครงติดด้วยก็ได้ จับรวมไปถึงข้างหน้าก็ได้
• สันหลังข้อที่สาม
• กระดูกข้อหลังข้อที่สี่
• ข้อที่ห้า
• กระดูกข้อหลังข้อที่หก
• กระดูกหลังข้อที่เจ็ด
• กระดูกหลังข้อที่แปด
• กระดูกสันหลังข้อที่เก้า
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบ
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบเอ็ด
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบสอง
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบสาม
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบสี่
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบห้า
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบหก
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบเจ็ด
• ต่อไปก็เป็นกระดูกกันกบ มีรูปลักษณะสัณฐานเป็นสามเหลี่ยม ลักษณะคล้ายๆหางเต่าจับภาพลงไปเรื่อยๆ จนสุดปลายหางกระดูก
• แล้วก็จับย้อนขึ้นมาในกระดูกสันหลังข้อที่สิบเจ็ด
• ขยายเลนส์ในการมองหรือจับภาพให้กว้าง
• ให้เห็นกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง
• ต่อไปก็จับกระดูกเชิงกรานข้างขวา
• กระดูกต้นขาขวาซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกหมากที่อยู่ในเบ้า
• ไล่เรื่อยลงไป เป็นท่อนกระดูกจนถึงต้นขา
• หัวเข่า
• แล้วก็สะบ้ามีลูกสะบ้ากระดูกเล็กๆติดอยู่ด้านหน้า
• ข้อหัวเข่าด้านล่าง
• กระดูกขาด้านล่างซึ่งมีลักษณะเหมือนกับท่อนแขนด้านล่าง ก็คือมีกระดูกสองท่อนติดกันมีช่องตรงกลาง
• จับไปถึงไล่ลงไปจนถึงตาตุ่ม
• กระดูกข้อเท้า
• แล้วก็กระดูกนิ้วเท้าหัวแม่โป้งจะใหญ่กว่า
• นิ้วหัวแม่โป้งเท้าข้อที่หนึ่ง
• นิ้วหัวแม่โป้งเท้าข้อที่สอง
• ข้อที่สอง แล้วก็หนึ่ง
• ต่อไป ก็นิ้วชี้ กระดูกเท้านิ้วชี้ข้อที่หนึ่ง สอง สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• นิ้วกลางข้อที่หนึ่ง
• นิ้วกลางข้อที่สอง
• นิ้วกลางข้อที่สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• นิ้วนาง กระดูกนิ้วเท้านิ้วนางข้อที่หนึ่ง
• นิ้วเท้านิ้วนางข้อที่สอง
• นิ้วเท้านิ้วนางข้อที่สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• ต่อไปกระดูกนิ้วก้อย
• ข้อที่หนึ่ง
• ข้อที่สอง
• ข้อที่สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• จับภาพให้เห็นเป็นกระดูกฝาเท้าด้านขวา
• จนกระทั่งมาถึงส้นเท้า
• กระดูกข้อเท้า
• แล้วก็ไล่ขึ้นมาจนถึงท่อนขาด้านล่าง ซึ่งมีกระดูกสองท่อน
• ถึงหัวเข่า
• ถึงสะบ้า มีลูกสะบ้า หัวเข่าด้านบน ข้อเข่าด้านบน
• จนถึงต้นขา
• ต้นขาด้านบน
• ลูกหมากด้านบน
• มาถึงสะบักหรือกระดูกเชิงกราน
• ผ่านด้านหลังผ่านกระดูกข้อที่สิบเจ็ดหรือว่าหางเต่าผ่านมา มาอยู่ด้านซ้าย
• เชิงกรานด้านซ้าย
• ลูกหมาก กระดูกลูกหมากด้านซ้ายที่ติดกับขาท่อนบนด้านซ้าย
• กระดูกขาด้านซ้าย ท่อนบน
• จับเรื่อยลงไปจนถึงหัวเข่าซ้าย
• สะบ้าซ้าย
• แล้วก็หัวเข่าด้านล่างข้างซ้าย
• ท่อนขาซ้าย
• ข้อเท้าซ้าย
• ส้นเท้าซ้าย
• ฝาเท้าซ้าย
• นิ้วหัวแม่โป้ง กระดูกหัวแม่โป้งด้านซ้าย
• กระดูกนิ้วโป้งด้านซ้ายข้อที่หนึ่ง
• ข้อที่สอง
• ข้อที่สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วชี้ด้านซ้ายข้อที่หนึ่ง สอง สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• นิ้วกลาง ข้อที่หนึ่ง สอง สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วนาง ข้อที่หนึ่ง สอง สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• กระดูกนิ้วก้อย ข้อที่หนึ่ง สอง สาม
• ข้อที่สาม สอง หนึ่ง
• ต่อก็เป็นกระดูกฝาเท้าทั้งหมดด้านซ้าย จับให้เห็น ให้ชัดนะ
• ไหลเรื่อยขึ้นมาจนถึงส้นเท้า
• ข้อเท้า
• แล้วก็กระดูกเท้าด้านซ้ายด้านล่าง มีสองท่อนเหมือนกัน
• ขึ้นมาจนถึงกระดูกเท้ากระดูกหน้าข้างด้านบนติดหัวเข่า
• ผ่านสะบ้า
• ผ่านหัวเข่าด้านบน
• ผ่านต้นขา กระดูกต้นขาด้านบน
• จนถึงลูกหมากด้านบน ที่ติดกับสะบัก
• จับเรื่อยลงมาจนถึงกลางหลัง กลางสะบัก
• จับภาพไปที่กระดูกสันหลังข้อที่สิบเจ็ดที่ติดกับสะบัก
• สิบหก
• กระดูกสันหลังข้อที่สิบห้า
• สิบสี่
• สิบสาม
• สิบสอง
• สิบเอ็ด
• สิบ
• เก้า
• แปด
• เจ็ด
• หก
• ห้า
• สี่
• สาม
• สอง
• หนึ่ง
• ทีนี้ถึงหัวไหล่ ถึงกระดูกไหล่แล้วสองข้าง
• ก็จะจับขึ้นไปจนถึงกระดูกต้นคอนะ ข้อที่เจ ด
• หก
• ห้า
• ข้อที่สี่
• สาม
• สอง
• ข้อที่หนึ่ง
• ท้ายทอย
• กะโหลกศีรษะ
• ทั้งหมดไปหยุดอยู่ตรงจอมประสาท
• สูดลมหายใจเข้าปอดลึกๆ
• แล้วก็พ่นลมออกยาวๆนิ่มนวลและสุภาพ
• ลืมตา ยกมือไหว้พระกรรมฐานหนึ่งครั้ง

.....เป็นไงบ้างโล่งไหมสงบไหม ถ้าท่านทำตาม สงบแน่ ถ้าชัดจับภาพได้หมด ทำแบบนี้วิธีพิจารณาโครงกระดูก แล้วมันจะหยุด ราคะ โทสะ โมหะ ได้อย่างฉับพลัน จิตเราจะสงบนิ่ง ถ้าท่านยังสงสัยเรื่องว่าสติหน้ามันเป็นอย่างไรลองเปิดไฟฉายแล้วสอง ราคะ โทสะ โมหะ ได้อย่างฉับพลับ จิตเราจะสงบนิ่ง ถ้าท่านยังสงสัยเรื่องว่าสติหน้ามันเป็นอย่างไรลองเปิดไฟฉายแล้วส่องเข้าไปในที่มืด แสงสว่างอันนั้นแหละมันเป็นสติของเรา ฉายไปทางไหนมันก็ทำให้เราเห็น เห็นภาพที่เราฉาย

.....เพราะฉะนั้นเวลาเราหลับตา หลับตาเราก็ส่งความรูสึกทั้งตัวให้อยู่ในกายนี้ หลวงปู่บอกว่ากระหม่อมท่านก็นึกหรือว่าส่งสติหรือเอาจิตรับรู้ไปที่กระหม่อม กระดูกกระหม่อม บอกว่าหน้าผากท่านก็จับเฉพาะหน้าผากแล้วท่านจะรู้สึกว่าตรงนั้นมันหนัก หน้าผากหนัก โหนกคิ้ว โหนกคิ้วก็จะหนัก เบ้าตา เบ้าตาก็จะหนักเหมือนกับมีไออุ่นออกมา โหนกแก้ม โหนกแก้มก็จะหนัก ถ้าถึงคำว่าหนักแสดงว่าสติท่านยังไม่หนักยังเฉยๆบางๆก็ไม่เป็นไร แค่ท่านรู้เท่านั้น แต่ถ้าท่านรับรู้ถึงคำว่าหนักสติท่านชัดขึ้น ถ้ายิ่งกว่าชัดก็คือแจ๋วเลยมันก็คือเห็นภาพกระดูกใส เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐานมีอ่านิสงค์มหาสาร ทำให้ธาตุในการรักษาและคุมมันได้ ถ้ารักษามันดี ทำมันอย่างเป็นมหาสติจริงๆ

.....อยากให้จำวิธีการบรรยายอย่างนี้เอาไว้นะ ถึงเวลาแล้วก็จะได้ทำได้ ก็ถามว่ามันเป็นกติกาหรือ ถ้าเริ่มแล้วไปหยุดอยู่ตรงไหนแล้วมันจะตื้ออยู่ตรงนั้นทั้งวัน แล้วท่านจะรู้สึกหงุดหงิด เพราะฉะนั้นจึงไล่จากศีรษะไปจบปลายเท้า แล้วไล่จากปลายเท้ามาจบที่ ศีรษะอีก แต่ถ้าไปหยุดอยู่ตรงไหนที่ใดที่หนึ่ง มันจะหงุดหงิด มั่นตจะทำอะไรไม่เสร็จ เหมือนกับเราท้องผูกไปถ่ายแล้วมันไม่สุดมันมีกากอาหารยังค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ในลักษณะอาการอย่างนั้น