10 พ ย 56 15.10 น. การปฏิบัติธรรม ธรรมะอาทิตย์ที่ 2 ณ. ศาลาวัดอ้อน้อย โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
..........
การปฏิบัติธรรม คือ การทำให้จิตใจเบาบางลง เรามี
ขยะเยอะ มีอุปาทานเยอะ เรามีความหมักหมม
โสโครกในจิตใจเยอะ ก็ล้างชะด้วยการปฏิบัติธรรม
การเจริญสติ การทำให้เกิดความรู้เนิ้อรู้ตัว มันก็จะ
ทำให้เรามีชิวิตที่สดใสขึ้น รุ่งเรืองเจริญมากขึ้น
สำเร็จประโยชน์เยอะขึ้น เรียกว่า กำไร ชีวิตมีกำไร
มากขึ้น
งั้น วิธีปฏิบัติธรรม ก็แตกต่างหลากหลายแล้วแต่ครู
บาอาจารย์และสำนัก จะทำยังไงก็ได้ ให้ใจมันสะอาด
ถือว่า ใช้ได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน สะอาด สงบ
ฉลาด สว่าง, สะอาด สงบ ฉลาด สว่าง ,สงบ สะอาด
ฉลาด สว่าง ผลมันออกมาอย่างนี้ ก็ใช้ได้ละ
สูงสุดคืออะไร ระหว่าง สงบ สะอาด ฉลาด สว่าง สูง
สุดก็คือ ต้อง ฉลาดและสว่าง
ผลของการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุด ก็คือ ต้องฉลาด ก็คือ
มีสติปัญญา สว่าง ก็คือ หมดจาก โลภะ โทสะ โมหะ
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่โดนครอบงำโดนทำลาย
ไปหมด เปรียบพวกนี้เหมือนดั่งความมืดบอด เมื่อ
ความมืดมันโดนทำลายไป ก็เหลือไว้แต่ความสว่าง
สงบ สะอาด ฉลาด สว่าง เป็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติ
ธรรม
สำนักไหนถ้าทำให้เราสงบ สะอาด ฉลาด สว่าง ได้
ถ้าเอาแค่สงบอย่างเดียวได้มั้ย ก็ได้ อย่างน้อยมันก็ดี
กว่าวุ่นวาย แต่ถามว่า ดีที่สุดคือ อะไร
ดีที่สุด ก็คือ ต้อง ฉลาด สว่าง
ดีต่อมาก็คือ พอสงบแล้วก็ขยับมาเป็นสะอาด จิตใจ
สะอาด คนที่มีจิตใจสะอาด มันจะรู้เหตุรู้ผล รู้จักแยก
แยะ ฟังทุกคนได้ แม้แต่มิตรก็ฟังได้ ศัตรูก็ฟังได้
คนดีก็ฟังได้ คนชั่วก็ฟังได้ แต่ใช้ปัญญา เราจะใช้
ปัญญาในการฟัง
สงบ สะอาด จิตใจเราก็จะไม่ตกอยู่ในอำนาจการ
ครอบงำของอะไร การครอบงำใดๆ ก็จะไม่เข้ามา
แทรกแซง ไม่ว่าจะใครพูด สีไหนพูด ใครครอบงำ
เราจะอยู่ได้ด้วยตัวเราเอง เพราะมีเหตุมีผล รู้จักคิด
ด้วยสติปัญญาของเราว่า อันไหนควรไม่ควร แค่ไหน
อย่างไร
แล้ววิธีคิด ก็เอาหลักความเป็นจริง ไม่ใช่ความเพ้อฝัน
ไม่ใช่ไปเอาคาดเดา เผื่อว่า อาจจะ ใช่มั๊ง คนใน
สังคมยุคปัจจุบันเนี่ย ชอบเอาความคาดเดาเป็น
ประมาณ เผื่อว่า อาจจะ ใช่มั๊ง โดยขาดหลักการและ
เหตุผลที่เป็นจริง เหมือนๆ กับเราทั้งหลายตั้งแต่
บรรพบุรุษรู้กันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และราชวงศ์
จักรี มีคุณูปการกับแผ่นดินสยามมาอย่างยาวนาน
อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ใครก็จะทิ้งหลักการและเหตุผลนี้
ไม่ได้
เพราะงั้น ไม่ว่าใครจะมาพูดอะไรให้เราฟังซึ่งมัน
จะทำลายหลักการนี้ ก็แสดงว่า ไม่ใช่ล่ะ มันไม่ถูกต้อง
เพราะความเป็นจริงก็คือ ความเป็นจริง
งั้น คนที่สงบแล้วสะอาด มันจะต้องยอมรับแต่ความ
จริง เพราะรับเข้ามาแล้วมันทำให้จิตใจเราสะอาด
รับเข้ามาแล้วทำให้จิตใจเราสกปรก หวาดระแวง
สงสัย เผลอไผล เพลี้ยงพล้ำ ขาดสติ นั่นแสดงว่า ไม่
สะอาดละ
งั้น คนสมัยนี้ มันก็จ้องทำลายรากเหง้าของสังคมไทย
จ้องทำลายรากเหง้าของแผ่นดินไทย โดยการทำลาย
ความเชื่อ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจิตใจคนไทย โดยไม่
ใส่ใจว่า ควรไม่ควรอย่างไร ถูกผิดชอบธรรมแค่ไหน
ถ้าเราไม่มีใจอันสงบ ไม่มีใจอันสะอาด เราก็จะหลง
เชื่อมันไป แต่คนที่เค้ามีจิตใจสงบ สะอาด ฉลาดแล้ว
ก็สว่าง เค้าจะแยกแยะได้ว่า อันนั้นเป็นคำผายลม
อันนั้นเป็นคำพูดตรง พูดจริง
สิ่งที่บ้านเมืองเราวุ่นวาย ก็เพราะเราไม่มีใจอันสงบ
สะอาด ไม่มีใจอันฉลาด สว่าง เหตุผลเพราะว่า เรา
ปฏิเสธการปฏิบัติธรรม
หลักจากไปขึ้นเวทีแล้วทำให้รู้ว่า เวทีที่น่าชื่นชม คือ
เวทีพวกกองทัพธรรม ทุกเย็นเค้าจะมีการสวดมนต์
การฟังธรรม การแผ่เมตตา ซึ่งใครก็ตามถ้าทำให้
เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ เราถือว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม
เพราะจะยืนหรือสู้ ต่อสู้บนพื้นฐานของความสงบ
สะอาด ฉลาด แล้วก็สว่าง มันจะแยกแยะได้ รู้จักดีชั่ว
ชอบธรรม ใช่ไม่ใช่ ได้เสีย
คนส่วนใหญ่ก็จะไปมององค์ประกอบโดยรวม แล้ว
ก็ตำหนิเค้าว่า ไม่พร้อม ไม่เหมาะ เหมือนกับที่
หลวงปู่ขึ้นเวที เค้าก็จะว่า ชาวบ้านก็จะด่า คนที่ไม่
ชอบใจก็จะว่า พระมายุ่งอะไรกับการเมือง มาวุ่นวาย
อะไรกับบ้านเมืองอะไรอย่างนี้ คือคนพวกนี้ที่พูด
เพราะไม่รู้รากเหง้าของสังคมไทยที่มีมาแต่เก่าก่อน
เนิ่นนานสมัยเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ศรี
สัชนาลัย ก็อาศัยพระทั้งนั้น อาศัยพระเป็นที่ปรึกษา
แม้แต่ยุครัตนโกสินทร์ เอายุคใกล้ๆ ก็ตั้งแต่รัชกาลที่
5 ลงไปนะ ไม่ใช่ขึ้นมา เพราะหลังจากรัชกาลที่ 5
ขึ้นมาแล้ว ไม่มีพระองค์ไหนที่มีบทบาทที่จะไป
เตือนราชาผู้ครองแผ่นดิน หรือ ว่ารัฐบาลได้เลย
เพราะโดนกดขี่ด้วยอำนาจของรัฐบาล อ้างว่า ไม่ควร
อย่ายุ่ง แต่ถ้ายุคสมัยรัชกาลที่ 5 ลงไป 4,3,2
เนี่ย เค้าใช้พระเป็นที่ปรึกษาข้อราชการงานเมือง
ใช้พระเป็นที่ปรึกษา
พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ที่เรารู้จักเข้าใจ ก็คือ
บัลลังก์สำหรับพระ ให้พระสังฆราชฝ่ายเหนือกับ
พระสังฆราชฝ่ายใต้ นั่งสำหรับปรึกษาข้อราชการ
งานเมือง เรื่องบางเรื่อง ถ้ามันเป็นเรื่องเดียวกัน
แล้วพ่อขุนรามฯ หรือ พระราชา อยากจะฟังคำ
วินิจฉัยของพระว่า แต่ละองค์ ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้
เห็นถูกกันมั้ยเนี่ย ท่นก็จะไม่นิมนต์ทั้ง 2 องค์มา
พร้อมๆ กัน แต่จะนิมนต์มาวันละองค์ เพื่อจะรู้ข้อ
วินิจฉัยของเหนือว่า พูดอย่างไรเรื่องนี้ รุ่งขึ้นก็จะ
นิมนต์ฝ่ายใต้มาวินิจฉัย จะได้รู้ว่า พูดเหมือนกันมั้ย
เห็นตรงกันมั้ย ถ้าเห็นตรงกัน ก็ถือว่า ลงมติว่า ข้อนี้
ถูกต้อง ใช้ได้ เอามาเป็นนโยบายในการบริหารบ้าน
เมือง นั่นคือ ความเชื่อ
เพราะงั้น ในยุคสมัยนั้น จึงกลายเป็นยุคทองของการ
เผยแพร่ กระจายบ้าน ขยายเมือง ถึงขนาดไปสร้าง
สัมพันธไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน ทำให้พระเจ้ากรุง
จีนต้องยกลูกสาวมาเป็นพระสนม เป็นพระมเหสี
ของพระราชาไป อยู่ในช่วงหนึ่งยุคหนึ่ง เป็นที่ยอมรับ
ได้เมืองขึ้นไปทั่วอาณาบริเวณแหลมมลายู เพราะว่า
ใช้ความสงบ สะอาด ฉลาด สว่าง เป็นตัวนำในการ
ปกครองบ้านเมืองและปกครองแผ่นดิน
สังคมยุคปัจจุบันปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ไป เอาอัตตา
เอาตัวกู เอาหัวนอก เอานักเรียนนอก เอาบุคคลที่
อ้างว่า มีความรู้จากเมืองนอกมาบริหารบ้านเมือง
โดยละทิ้งหลักศีลธรรม จริยธรรม และกำเพิดราก
เหง้าของเผ่าพันธุ์ไทย จนได้ประชาธิปไตยแบบ
พิการๆ กลับมา แล้วเป็นประชาธิปไตยที่เราตามใคร
เค้าก็ไม่ได้ เพราะใครก็ไม่เหมือนเรา เราก็ไม่
เหมือนใคร จนกลายเป็นความวุ่นวายอย่างที่เห็น
เป็นอัตตาธิปไตยไปโดยปริยาย
ทั้งหมดนี่มันมาจากไม่ปฏิบัติธรรม ไม่สงบ ไม่สะอาด
ไม่ฉลาด ไม่สว่าง ทั้งนั้นเลย
งั้น เดี่ยวเราก็มาทำให้จิตใจเราสงบลงบ้าง สะอาดขึ้น
บ้าง จะได้มีความฉลาด แล้วก็สว่างได้
เตรียมตัวปฏิบัติธรรม
(กราบ)
ใครที่ไม่เคยเลย ก็ลุกขึ้นยืน ลูก เดินตามจังหวะ หูฟัง
เสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้ นั่งนานเกินไป เดี๋ยว
รากงอก ทำง่ายๆ ฝึกสติ ทำให้จิตรับรู้ มี ตัวรู้ อยู่ ฝึก
ตัวรู้เยอะๆ เวลาเราจะรับรู้อะไร จะได้เลือกได้
กรองได้ กลั่นได้ แยกแยะได้ว่า สิ่งที่รับและรู้ มันถูก
หรือผิด ดีหรือชั่ว ใช่ไม่ใช่ ได้หรือเสีย
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 1
...............
รู้มั้ยว่า ที่กำลังทำอยู่เนี่ย นอกจาก เจริญสติ แล้ว ยัง
เป็นการรักษาศีลด้วย ยังเป็นการประพฤติศีลด้วย
เพราะเมื่อใดที่เรามีความรู้เนื้อรู้ตัว เมื่อนั้นขื่อว่า
เป็นผู้ทำศีล ปฏิบัติศีล เจริญศีล
ขณะที่เรารู้เนื้อรู้ตัวทั่วพร้อม จิตไม่ล่องลอยออกไป
นอกกาย ศีลเราบริสุทธิ์ ตั้งมั่น มันไม่ใช่ได้แค่มีแต่
ตัวรู้ เฉยๆ มันมีศีล มีสมาธิ มีสติ เพราะงั้น อย่าให้ จิต
หลุดออกจากกาย
.............
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
...............
เดินล่องลอย แล้วศีลมันจะอยู่ตรงไหนวะ
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
.............
หยุดอยู่กับที่ หลับตา
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
............
หายใจออก เบาๆ ยาว หมด แล้วผ่อนคลาย
............
อีกที
หายใจเข้า จนหน้าอกพองขึ้น
แล้วค่อยๆ หายใจออก เบาๆ ยาวๆ ผ่อนคลาย
.............
สำรวจดู ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า
ไม่ใช่ใช้ตา แต่ใช้ความรู้สึก
..............
ดูซิว่า 2 ขาเรา รับน้ำหนักเต็มที่มั้ย
มีข้างใดที่เอียง น้ำหนักเทไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ปรับ
............
2 มือเรากำ หรือเกร็ง หรือผ่อนคลาย
..........
2 แขนเรา ตึง งอ หรือ ทิ้งดิ่งข้างลำตัว
..........
2 ไหล่เรา เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ลู่ไปข้างหน้า
หรือ แอ่นไปข้างหลัง ปรับให้เหมาะสม
..........
ลำตัวเรา ตั้งมั่น หรือ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือไม่
.....
คอเรา หน้าเรา หัวเรา คางเรา สำรวจ เอียงขวาไป
หรือ เอียงซ้ายมากไป หรือ ก้มหน้า หรือเงยหน้า
สำรวจ เรียกว่า มีสติ พิจารณาเป็นไปภายในกาย
เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน
.......
เมื่อสำรวจกายแล้ว ทีนี้ดูซิว่า รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ในกาย
หรือว่า หลับ หรือว่า โงกง่วง
.......
ถ้าความรู้เนื้อรู้ตัว อยู่ในกายอย่างตั้งมั่น รุ่งเรือง
บรรเจิด ตื่น แสดงว่า เรากำลังรักษาศีลอยู่ เรา
กำลังทำศีลของเราให้บริสุทธิ์ เราเป็นผู้เจริญศีลอยู่
เป็นผู้กระทำศีล เป็นผู้ปฏิบัติในศีล เป็นผู้มีศีลไม่
ด่างพร้อย
แต่เมื่อใดที่ความรู้เนื้อรู้ตัวเราหาย เราวูบ เราหลับ
เราเคลิ้ม เราเผลอ เราขาด แสดงว่า ศีลเราด่างพร้อย
ศีลเราเสีย ศีลเราหาย ศีลเราขาด ศีลไม่ครบ
ศีล เป็นความตั้งมั่นของสรรพสิ่ง เรียกว่า เป็นความ
ตั้งมั่นของสมาธิและปัญญา ถ้าศีลมันไม่มี หมายถึง
ความรู้เนื้อรู้ตัวมันไม่ปรากฏ ก็แสดงว่า สมาธิ ปัญญา
ก็ไม่ปรากฏด้วย
เมื่อความรู้เนื้อรู้ตัว มันเกิดขึ้น อยู่ และตั้งปรากฏ ก็
แสดงว่า เรากำลังเจริญศีล รักษาศีล ปฏิบัติในศีล
เมื่อมีศีลแล้ว ทีนี้ก็ดูว่า จิตเราล่ะ
จิตเรา เวลานี้มีราคะอยู่ มีโทสะอยู่ มีโลภะอยู่ หรือ มี
โมหะอยู่
ดูซิ ลืมตา
มองตรงไปข้างหน้า อย่างผ่อนคลาย
แล้วเพ่งความรู้สึกไปอยู่ที่จิต
จิต ก็คือ ความรับรู้, จิตก็คือ ความคิด, จิตก็คือ
ความทรงจำ
จิต ก็คือ สภาวะที่เป็นธรรมชาติในการรับรู้ คิด จำ
รับ จำ คิด เป็นสภาพจิต
ตอนนี้เรารับอะไรอยู่ เราคิดอะไรอยู่ เราจำอะไรอยู่
ถ้าเป็นเรื่องของราคะ ถ้าเป็นเรื่องของโทสะ ถ้าเป็น
เรื่องของโมหะ ก็แสดงว่า เรากำลังจะคลาดออกจากศีล
กำลังจะเคลื่อนจากศีล ศีลกำลังจะจากเราไป
เพราะงั้น ต้องตั้งมั่น ให้ศีลตั้งมั่น คือ ต้องมีจิตอัน สงบ
สะอาด ฉลาด แล้วก็ สว่าง
นั่นคือ ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ
จิตที่ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ นั้น
ชื่อว่า เป็นจิตบริสุทธิ์ จิตสะอาด จิตที่มีศีล จิตที่มีสมาธิ
และจิตที่มีปัญญา
ดูซิ จิตเราเป็นยังไง
...........
หรือ มีความง่วงหงาวหาวนอน ความเปลี้ย ความ
ระแวงสงสัย ความเพลีย ความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด
รำคาญ นั่นแสดงว่า ศีลเราขาดละ สมาธิเราก็ไม่มีตั้ง
มั่น จิตเราก็ไม่สงบ ไม่สะอาด ไม่ฉลาด แล้วก็ไม่สว่าง
มัน ไม่ ไปหมดทุกอย่าง จนกระทั่งตัวเราก็ทุรนทุราย
ร้อนรุ่มไปด้วย
............
ชีวิตเรา เมื่อมีกระบวนการที่จะทำลายตัวเองอยู่
เนืองๆ ก็ยากที่จะป้องกันคนอื่นจะทำลายได้ คือ เปิด
โอกาสให้คนอื่นทำลายได้ สิ่งอื่นมาทำลายได้ แล้ว
เราก็ทำร้ายตัวเองอยู่ทุกเวลา
คนอื่นเค้าทำลายทำร้ายเราเนี่ย เป็นบางเวลา บางช่วง
แต่เราทำลายทำร้ายตัวเราเองน่ะ ทำได้ทุกเวลา ทุก
ช่วง แล้ววิธีการทำร้ายทำลาย ก็คือ ทำให้จิตมัน
หมกมุ่น หมักหมม โสมม ว้าวุ่น ร้อนรุ่ม ทุรนทุราย
ไปกับราคะ โทสะ โมหะ โลภะ
ถ้าจิตมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ไม่ชื่อว่า
เป็นผู้มีสมาธิ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาเลย อย่าไป
กล่าวอ้างว่า เราเป็นผู้สะอาดเลย อย่าไปกล่าวอ้างว่า
เราเป็นผู้สงบเลย อย่าได้ไปกล่าวอ้างว่า เราเป็นผู้
ฉลาดเลย อย่าได้ไปกล่าวอ้างว่า เราเป็นผู้ที่รุ่งเรือง
สว่างเลย
..............
พาเอาศีล พาเอาสมาธิ พาเอาความสงบ พาเอาความ
สะอาด ออกเดิน
............
เดิน ก็อย่างคนมีศีล ก็คือ มีความรู้เนื้อรู้ตัว ชื่อว่า
เดินด้วยศีล
เดิน อย่างคนมีสมาธิ ชื่อว่า ต้องมีความรู้เนื้อรู้ตัว ตั้ง
มั่น ชื่อว่า เป็นผู้เดินอย่างมีสมาธิ
เดิน อย่างเป็นผู้มีปัญญา ก็คือ พินิจพิจารณาสิ่งที่
ปรากฏภายในกาย อย่าให้ความรู้เนื้อรู้ตัวหลุดออก
จากกาย ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา
รู้ตัวทั่วพร้อมเฉพาะภายในกายตน
.............
เดิน อย่างเป็นผู้รู้ตัวทั่วพร้อมเฉพาะภายในกายตนน่ะ
มันรู้แม้กระทั่งว่า ขาขวาก้าวหนักมากกว่าขาซ้าย
หรือ ขาซ้ายเบากว่าขาขวา
มันรู้แม้กระทั่งว่า ก้าวแต่ละครั้ง น้ำหนักที่ถ่ายไป
ขวาและซ้าย เราถ่ายหมดหรือไม่ หรือก้าวกลางครัน
ทั้งที่ยังถ่ายไม่หมด
มันรู้แม้กระทั่งเฉพาะว่า กระดูกทุกข้อที่เคลื่อนไหว
งอและเหยียดตรงนั้น มันเป็นไปด้วยเหตุปัจจัยอะไร
แล้วมีอะไรเป็นตัวร้อยรัดกระดูกไว้
นั่นเรียกว่า เดินแบบคนใช้ปัญญาพิจารณา ศีลก็ไม่
ขาด สมาธิก็ไม่เคลื่อน ปัญญาก็ตั้งมั่น
..............
มีความรู้เนื้อรู้ตัวเฉพาะภายในกายตน เรียกว่า กา
ยานุปัสนาสติปัฏฐาน
แขนแกว่ง ขาก้าว กายตั้ง คู้ เหยียด รู้ชัด
เรียกว่า เป็นผู้เจริญวิปัสสนา
...........
อย่าเดินให้ศีลขาด อย่าเดินให้สมาธิเคลื่อน อย่าเดิน
ด้วยปัญญาวิปลาส เลอะเลือน
.............
เดิน กลับที่ของตน
...........
ถึงที่ แล้วนั่งลง
ยังรักษาศีล อยู่หรือเปล่า
.........
พูดง่ายๆ รวมสรุป ก็คือ ยังมีความรู้เนื้อรู้ตัว อยู่หรือ
เล่า
นั่งอย่างรู้ตัว หรือ นั่งแบบลืมตัว
............
วิถีแห่งการเจริญปัญญา มันไม่จำเป็นว่า ต้องทำได้
ตลอดเวลาสำหรับคนที่ยังไม่ลุถึง แต่ในขณะเดียวกัน
การมีชีวิต ยืน เดิน นั่ง นอน ถ้ามันมีปัญญาเป็นผู้
ครอบครอง ควบคุมดูแล มันก็จะทำให้ยืนเป็นสุข นั่ง
ฉลาด นอนสบาย ดำรงค์ชีวิตอยู่อย่างอิสระ ผ่อนคลาย
และปลดเปลื้องพันธนาการทั้งหลายไ/ด้
ในมุมกลับกัน ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างไม่มีปัญญา มัน
จะนั่งไม่เป็นสุข เดินไม่สบาย นอนไม่ผ่อนคลาย
แม้ดำรงค์ชีวิตอยู่ ก็ตกเป็นทาสตลอดเวลา
เป็นทาสของอะไร ก็เป็นทาสของผู้ทุศีล เรียกว่า ผู้
ขาดศีล
ผู้ขาดศีล มีลักษณะแบบไหน ก็มีลักษณะที่ไม่รู้เนื้อรู้
ตัว
ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อมันเกิดขึ้น มันก็จะต้องมี
ราคะแทรก มีโทสะแทรก มีโมหะแทรก มีโลภะแทรก
เมื่อใดที่เรามีราคะ มีโทสะ มีโมหะ หรือมีโลภะ เมื่อ
นั้นก็ถือว่า เป็นผู้ไม่มีศีลแล้ว เพราะเมื่อใดที่ศีลอยู่
โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะอยู่ไม่ได้
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
เตรียมตัวถวายทาน
(กราบ)
..............
สังฆทานและสิ่งของทั้งหลายที่ลูกหลานถวาย รวมทั้ง
ปัจจัย หลวงปู่รับแล้ว ยกให้เป็นสมบัติของวัดและ
มูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะสงเคราะห์
สาธารณะประโยชน์ ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนา ลูก
(สาธุ)
ตั้งใจกรวดน้ำ ว่าตาม แล้วรับพร ลูก
..............
ตั้งใจรับพร ลูก
.............
(สาธุ)
ธรรมะรักษา ลูก ให้รุ่งเรือง เจริญ อายุยืน สุขภาพ
แข็งแรง เดินทางโดยสวัสดิภาพ ปลอดภัยทุกคน ลูก
(สาธุ)
กราบลาพระ อะระหัง สัมมา
............
อืม ใครว่างก่อนจะกลับบ้าน เดี๋ยวไปช่วยชาติ ปอก
ไข่ช่วยชาติกันหน่อย ลูก เดี๋ยวจะทำพะโล้ พวกนั้น
เค้าต้มไข่ไว้ 2 - 3,000 ลูก ช่วยกันปอกไข่
หน่อย เดี๋ยวกูจะได้ไปต้มเอาไว้พรุ่งนี้เช้า
(กราบ)
ห้องสมุดธรรมอิสระ
แสดงธรรมวันอาทิตย์ที่ ๒ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ วัดอ้อน้อย
- Details
- Written by พระธนุส กิตฺติญาโณ (พระจูเนียร์)
- Hits: 2865