28 ก ค 56   บ่าย ระหว่างปฏิบัติธรรม เดิน ขั้น

ที่1 ภาคที่ 1,2, ขั้นที่ 2,3,4, ท่ายืน,นั่ง โดย

องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
 (กราบ)
เอาสักชั่วโมงหนึ่ง ลูก ปฏิบัติธรรมสักชั่วโมง
การปฏิบัติธรรม ก็คือ การเสพส่วนที่งดงามให้กับ

วิญญาณ การซักฟอกจิตวิญญาณ เสื้อผ้าสกปรก เรายัง

ใช้น้ำชำระล้าง จิตใจสกปรก นี่มันไม่มีอะไรไปล้างได้

นอกจากธรรมะ แล้วธรรมะจะไปล้างใจได้ ก็ต้องปฏิบัติ

ต้องทำ ถ้าไม่ปฏิบัติ ไม่ทำ มันก็เป็นการท่องจำ มันไม่

มีประโยชน์ ใจเราก็จะสกปรกเรื้อรังไปไม่จบสิ้น ทีนี้

ก็แยกไม่ได้อะไรถูก อะไรผิด เอาแค่ถูกใจ ก็พอละ
งั้น ที่หลวงปู่บอกว่า อ้ายคนที่มันด่าหลวงปู่เนี่ย ถ้ามัน

มีธรรมอยู่ในใจ มันจะรู้ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไร

ควรด่า อะไรควรชม แต่คนไม่มีธรรมในใจ หรือใจ

มันสกปรก มันเที่ยวอวดอ้างว่า มีธรรมๆ ก็แค่จำเฉยๆ

ใจมันสกปรก มันก็แยกไม่ได้อะไรถูก อะไรผิด มันก็

จ้องจะด่าตลอด เพราะมันชอบด่า มันด่าเป็นนิสัย ด่า

เป็นอาจินต์ ด่าเป็นสันดาน เพราะใจมันโสมม สกปรก

รกรุงรัง แยกไม่ได้ว่า ถูกผิดเป็นอย่างไร ก็มีหน้าที่ด่า

เป็นอาชีพ ต้องการด่า ถูกใจด่า พอใจจะด่า แต่ไม่ถูก

ต้อง ก็ชั่งมัน
ทั้งหมดนี่มันมาจากธรรมะมันน้อย ธรรมะมันเข้าไป

ซึมในใจน้อย มีธรรมะในใจน้อย แล้วก็ธรรมะรักษา

ใจได้น้อย ใจก็โสมม สกปรก ก็จ้องด่า จ้องตำหนิ จ้องว่า

จ้องสาปแช่ง จ้องหาเรื่อง จ้องหาเล่ห์เพทุบายไปเรื่อย

ถือว่า มันเป็นคนไม่มีใจสะอาด คนที่ใจสกปรก
งั้น เราไม่อยากเป็นคนใจสกปรก ก็ต้องฝึกธรรมะ

ต้องปฏิบัติธรรมะ ต้องศึกษาธรรม แค่ศึกษาอย่างเดียว

ไม่ปฏิบัติ ก็ยังสกปรกอยู่ เวลาผ้าผ่อนสกปรก เราถอด

กองไว้ ไม่ใช่ว่า มันจะสะอาดขึ้น ต้องเอาไปซัก
ฉันใดก็ฉันนั้น ใจนี้สกปรก ก็ไม่ใช่จะไปฟังธรรมเฉยๆ

เรียนรู้ธรรมเฉยๆ แต่ไม่ปฏิบัติธรรม มันก็ไม่มีสิทธิ์

จะสะอาดได้
งั้น การปฏิบัติ ก็คือ การชำระใจ การฟอกใจ การทำใจ

ให้สะอาด
ใจที่สะอาดแล้ว มันก็จะแยกแยะได้ว่า อะไรถูก อะไรผิด

อะไรดี อะไรชั่ว อะไรใช่ ไม่ใช่ ได้ เสีย ด่าในเรื่องที่

ควรด่า ชมในสิ่งที่ควรชม นิยมในสิ่งที่ควรนิยม พูดใน

สิ่งที่ควรพูด อะไรไม่ควรพูด ก็นิ่งเฉย มันแยกแยะได้

มันรู้ได้ชัด
เอ้า พร้อม เตรียมตัว
เริ่ม ขั้นที่ 1
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น ให้รุ่นพี่เค้าช่วยแนะนำ
.............
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
..............
ขั้นที่1 ภาคที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
............
ต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่เราทำ ไม่ใช่สมาธิ แต่มันเป็นการฝึก

ตัวรู้
รู้สึกตัว ในขณะที่กำลังทำอยู่
เรียกว่า ฝึกตัวรู้ ในขณะกำลังทำ
ประโยชน์ ก็คือ จะทำให้ชีวิตเราไม่ผิดพลาด
ทำให้ ตัวรู้ ตั้งมั่น
............
ขยับขึ้น ขั้นที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
.............
ขั้นที่ 2 ภาคที่ 2
เคาะนิ้วไปด้วย ทุกครั้ง
..............
ขยับ ขั้นที่ 3
...............
ขยับ ขั้นที่ 4
..............
อย่าลืมลมหายใจทุกครั้ง ที่ก้าว ไม่ว่าสั้น หรือ ยาว
...............
ขั้นนี้ ผู้มีสติและปัญญา หรือสัมปชัญญะอ่อนด้อย ก็

จะทำยาก
..............
หยุดอยู่กับที่
หลับตา
ส่งความรู้สึก ลงไปในตัวเอง
อารมณ์กรรมฐานน่ะ มันต้องทำแล้วเพลิน ทำแล้ว

ผ่อนคลาย ทำแล้วชัดเจน
ทำแล้ว รู้สภาพที่ปรากฏในกายและในจิต อย่างชัดเจน
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ผู้เข้าถึงอารมณ์กรรมฐาน
แต่ถ้าใครที่ยังไม่เข้าถึง ก็จะว้าวุ่น สับสน ทุรนทุราย

กระเสือกกระสน คือ ฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย
นั่นถือว่า เป็นผู้ที่ยังไม่เข้าถึงองค์กรรมฐาน
คนที่เข้าถึงองค์กรรมฐาน จะเป็นผู้ที่มีกายอันศักดิ์สิทธิ์

ในระดับหนึ่ง
ก็คือ สำเร็จประโยชน์
มีจิตอันศักดิ์สิทธิ์ มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์
แต่ผู้ที่ยังไม่เข้าถึงอารมณ์กรรมฐาน ก็ต้องฝึก ต้อง

ศึกษา ต้องสั่งสม ต้องอบรม
ก็อย่างที่บอกว่า อารมณ์กรรมฐาน มันจะผ่อนคลาย

มันจะโปร่งเบาสบาย มันจะตั้งมั่น มันจะรู้ชัด
เพราะจิตเราประดับไปด้วยสติ ประดับไปด้วยปัญญา

และ สัมปชัญญะ
ประดับไปด้วยความใคร่ครวญ และประดับไปด้วยสมาธิ

คือ ความตั้งมั่น
ในขณะที่เดินแต่ละก้าวๆ เมื่อจิตประดับไปด้วยสติ ไป

ด้วยปัญญา ไปด้วยสมาธิอย่างเหมาะสม เราก็จะเข้าใจ

กรรมฐานที่กำลังทำอย่างชัดเจน
แต่ถ้าสมาธิมากไป มันก็จะทำให้สิ่งที่กำลังทำ คลุมเคลือ

คือ จะไม่พิจารณา
สติมากไป ก็จะไม่แยกแยะ มีแต่ตัวรู้เฉยๆ
ปัญญามากไป ก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน
เพราะงั้น วิถีแห่งกรรมฐานที่เป็นมรรคาปฏิปทา

ต้องทำให้ 3 อย่าง กลมกลืน สอดคล้อง เหมาะสม ก็คือ

สติ  สมาธิ และปัญญา เหมาะสมพอดี กรรมฐานจึงจะ

ปรากฏ กรรมฐานจึงจะชัดเจน แล้วเราจะเพลินต่อการ

เสพอารมณ์กรรมฐานนั้น
งั้น เวลาที่เดิน จะต้องพิจารณาดูด้วยว่า ตอนนี้ สติเรา

มากไปหรือเปล่า สมาธิเรามากไปไม๊ หรือ ปัญญาเรา

มากไม๊
ถ้าปัญญาเรามาก ก็ฟุ้ง
ถ้าสมาธิมาก ก็เฉื่อยชา บางทีก็ทำให้ง่วงหงาว เคลิบ

เคลื้ม
ถ้ามีสติมากไป ก็มีแต่ ตัวรู้เฉยๆ แต่ไม่พิจารณา
งั้น ต้องทำให้ 3 อย่าง กลมกลืน เหมาะสม เรียกว่า

กลมกล่อม ถ้าปรุงอาหาร ก็ต้องให้มีรสกลมกล่อม
แล้วมันจะเกิดได้อย่างไร
อย่างนั้น ก็ต้องพิจารณาให้เยอะ ต้องวิเคราะห์ให้เยอะ

ต้องใคร่ครวญให้เยอะ ต้องตรึก ต้องสำเหนียกให้มาก

ในสิ่งที่มีอยู่ภายใน ไม่ใช่ข้างนอก
ตอนนี้ ลองสำเหนียกสิ่งที่มีอยู่ภายในซิว่า ตอนนี้ จิต

เราเป็นอย่างไร
.............
เราว้าวุ่นไม๊ เราสับสนไม๊
เอ้า ถ้าสับสน ก็แสดงว่า เราฟุ้งซ่านละ ปัญญามากไป

หรือเปล่า
หรือ สัญญา ความทรงจำเก่าเข้ามาสอดแทรก
...........
หรือ เราอึมครึม มืดบอด ง่วงหงาว หาวนอน
ก็อาจเป็นไปได้ว่า สมาธิเราเยอะไป ก็ทำให้ง่วงหงา

วหาวนอนได้เหมือนกัน
...........
เพราะการเจริญสติ ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เยอะไป ไม่

ดีทั้งนั้น ต้องให้เหมาะสม
.............
ทำจิตให้ว่าง ทำใจให้ว่าง สมองว่าง
นึก ตรึก ถึง สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ทั้งกุศล อกุศล อัพยากฤต เป็น

ของว่าง ไม่มีตัวตน
มองไปข้างหน้า
ลืมตา
...............
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นของว่าง ไม่มีตัวตน
.................
สมองว่าง กายว่าง จิตว่าง ความรับรู้ทั้งหลาย รู้แต่

เพียงคำว่า ว่าง
..............
อย่าหลับตา
ลืมตา มองไปข้างหน้า
...............
มอง ก็สักแต่ว่ามอง ไม่ยึดถือเป็นอารมณ์ ไม่ปรุงแต่ง
..............
สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่มีตัว

ตน
...............
สัพเพ ธัมมา อนิจจา ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
................
ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยงไม่คงอยู่ได้นาน ตั้งมั่นไม่ได้
เดี๋ยวก็แตกสลาย แล้วเปลี่ยนแปลงไปเสมอ
..............
เข้าใจสภาพธรรมแบบนี้แล้ว จิตจะปล่อยวาง ผ่อนคลาย
ความขมึงทึง ตึงเครียด ความโกรธขึ้ง ความอาฆาต

พยาบาท
ความไม่พึงพอใจ ความพึงพอใจ ทั้งส่วนกุศลและอกุศล

ก็จะไม่เกิดขึ้น
เราก็ไม่มีภาระต้องแบก
จิตนี้ก็ไม่กระเพื่อม ไม่เป็นทุกข์ ไม่ตกเป็นทาส
ไม่อยู่ในอำนาจการครอบงำของสิ่งใดๆ
.............
ไม่มีอะไรต้องยึดถือ เพราะมันเป็นอนัตตา ความไม่มี

ตัวตน เป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยง
มันเป็นทุกข์ ทุกขัง มันเป็นสภาวะที่ทนได้ยาก
.............
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าชี้ว่า มัน

เป็นอยู่ของมันเอง
แม้เราไม่ทำ มันก็เป็น
พยายามทำให้มันคงอยู่ มันก็คงไม่ได้
...........
พา ความว่าง เดินกลับที่นั่งของตน
..............
นั่งลงไปอย่าง ว่างๆ
............
เป็นผู้รู้ชัด เข้าใจชัด
รู้จริง เข้าใจจริง
ในสัพเพ ธัมมา อนัตตา, สัพเพ ธัมมา อนิจจา, สัพ

เพ ธัมมา ทุกขา
............
ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่คงที่ และ เป็นทุกข์
..............
เข้าใจสภาพธรรมแบบนี้ แล้วจิตเราจะปลดเปลื้อง หรือ

ปล่อยวาง จากเครื่องผูกพันทั้งปวง
มีอิสระเสรีภาพเหนือความปรุงแต่ง และความครอบ

งำทั้งหลาย
ไม่ว่าทางกายหรือทางใจ
.................
ถ้าเราจะไปท่องเพียงแค่ว่า ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา,

อนิจจา ทุกขา อนัตตา
เราก็คงจะไม่รู้ความหมาย ถ้าเราไม่มีสติ ไม่มีปัญญา

ไม่มีสมาธิ
................
งั้น มันจึงจำเป็นต้องฝึก
ฝึกให้ความหมายนี้ มีที่ตั้ง แล้วก็ตั้งอย่างมั่นคง
............
เราจะได้เรียนรู้ และศึกษา ทั้งคำด่า คำชม คำนิยม คำ

ยอมรับ มันไม่ตั้งอยู่ได้
แม้ มิตร และศัตรู ตัวเราเอง ก็ไม่ตั้งอยู่ได้
.............
แล้วเราก็จะได้ไม่อยู่ในอำนาจของสิ่งเหล่านั้น
สิ่งเหล่านั้น ไม่มีอำนาจเหนือเรา
...............
เหล่านี้ คือ ความจริงอันประเสริฐ ที่เป็นเครื่องปลด

เปลื้องทุกข์ ปลดเปลื้องภาระ ปลดเปลื้องความเป็นทาส

แล้วไม่ปล่อยตัวเองให้อยู่ในอำนาจการครอบงำของสิ่ง

ใดๆ เพราะในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เป็นความว่าง

ไม่มีตัวตน ตั้งอยู่ไม่ได้ แล้วมันเป็นทุกข์
.............
ใจเราก็ฟู เราก็ผ่อนคลาย โปร่งเบาสบายขึ้น
จิตก็ไม่กระเพื่อมตามสิ่งใดๆ
...............
สัพเพ ธัมมา อนิจจา, สัพเพ ธัมมา อนัตตา, สัพเพ

ธัมมา ทุกขา
ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ทั้งส่วนกุศล และ

อกุศล
.................
แม้นตัวเรา ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตน แล้วก็เป็นทุกข์อยู่
เพราะเราประกอบด้วยหลายสิ่ง รวมเป็นหนึ่งสิ่ง

เรียกว่า ตัวเรา
ถ้าแยกแต่ละสิ่งออก ก็ไม่รู้ว่า ตัวเราอยู่ตรงไหนแท้ๆ
เช่น แยกผมออก แยกหนังออก แยกน้ำออก แยก

เลือดออก แยกไส้ ไต ปอด ตับออก แยกกระดูกออก

แยกก้อนเนิ้อออก ไม่รู้ว่า ตัวเราแท้ๆ อยู่ตรงไหน
แต่ที่เราเรียกตัวเราได้ ก็เพราะ หลายสิ่งรวมเป็น

หนึ่งสิ่ง เรียกสิ่งนี้ว่า เป็นเรา
...............
เรื่องเหล่านี้ เราจะไม่เข้าใจเลย จะไม่รู้ชัด ไม่รู้แจ้ง

ไม่เห็นจริงเลย ถ้าเราไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา
..........
เราไม่เป็นผู้คงแก่เรียน ไม่ฝึก ไม่ศึกษา ไม่สั่งสม ไม่

อบรม
มันรู้ขึ้นเองไม่ได้ ยกเว้น ท่านผู้นั้นเป็นผู้สั่งสม อบรม

บารมี มาแต่อดีตชาติปางก่อน
แค่เห็นพยับแดด เห็นไฟดับ ไฟกระพริบ เห็นฟ้าแลบ

ฟ้าผ่า เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์และ

สรรพสิ่ง ก็รู้ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็แสดงว่า เป็นผู้มีบารมี

แก่กล้า
แต่สำหรับเราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ยังไม่รู้มากขนาดนั้น

ก็ต้องฝึก ศึกษา สั่งสม อบรมอยู่เนืองๆ เพื่อให้เกิดสติ

สมาธิ และปัญญา
ก็บอกแล้วว่า อะไรมากไป ก็ไม่ดี
ถ้าสมาธิมาก ก็ทำให้เกียจคร้าน
สติมาก ก็เอาแต่รู้ แต่ไม่พิจารณา ทำอย่างเดียว
ปัญญามาก ก็ทำให้ฟุ้ง
งั้น วิถีแห่งวิปัสสนา คือ การเจริญปัญญา ต้องทำให้ 3

สิ่งสอดคล้องกัน เหมาะสม
แล้วพิจารณาว่า เวลนี้ จิตเราประดับประดาด้วยสติ

ด้วยสมาธิกี่ส่วน ด้วยปัญญากี่ส่วน
ทุกครั้ง เวลาที่หลวงปู่เดิน ก็จะพิจารณาอย่างนี้ว่า

เวลานี้ สติเราประกอบในจิตกี่ส่วน สมาธิเราประกอบ

อยู่กี่ส่วน เรามึนไม๊ เราง่วงไม๊
ถ้ามึน ถ้าง่วง แสดงว่า สมาธิมากไป งั้น ต้องถอนออก
เรารู้ แต่ไม่พัฒนาไม๊ มีแต่ตัวรู้อย่างเดียว เฉยๆ ไม่

พัฒนา ไม่วิเคราะห์ อย่างนั้น ก็ สติมากไป ก็ต้องถอน
ถ้าฟุ้งมากไป ก็แสดงว่า ปัญญาเยอะไป อย่างนั้นก็ต้อง

ปรับ
จิตนี้ มันเหมือนกับคลื่นวิทยุ ต้องปรับ ต้องจูน อยู่

เนืองๆ
พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ในหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ว่า

พิจารณาจิต
มีสติ พิจารณาความเป็นไปในจิต ว่า จิตนี้ ประกอบไป

ด้วยกุศล หรือ อกุศล สุขหรือทุกข์ หรือมีเวทนาอยู่
.........
งั้น กระบวนการเหล่านี้ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ ต้องระลึก

รู้ให้ได้
เพื่อ อะไร
เพื่อเปลื้องจิต
เวลาเราเปลื้องจิตได้แล้ว จิตเราสะอาดระดับหนึ่งแล้ว

เวลาเราจะมองโลก ก็มองอย่างเที่ยงธรรม มองอย่าง

เป็นธรรมชาติและตรงไปตรงมา
ถ้าเราจะเป็นนักวิเคราะห์ นักตรึก ก็วิเคราะห์ ตรึก

ตามหลักการแห่งโลกและวิถีทางแห่งธรรมชาติ และ

ความตรงไปตรงมา
เราจะด่าใคร ก็ต้องชมใครได้ด้วย
ถ้าเราจะชมใคร ก็ต้องตำหนิติด่าเค้าได้ด้วย
เพราะมันมีวิธีคิด ที่รู้จักหลักการ และเหตุผลอย่าง

ชัดเจน
ก็อย่างที่บอกเมื่อครู่นี้ว่า อ้ายคนที่มันจ้องจะด่า ก็แสดง

ว่า สติ จิต สมาธิ ปัญญา มันไม่ดี หรือว่า จิตมันสกปรก

โสมม
คือ จิตสกปรก ก็เพราะไม่ชำระล้างจิต ไม่มีสติปัญญา

อยู่ในจิต จึงแยกแยะไม่ได้ว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรดี

อะไรชั่ว นี่คือ ประเภทที่ 1
ประเภทที่ 2 ก็คือ สั่งสมอบรมคำด่ามาแต่เก่าก่อน

ตั้งแต่อดีตชาติ หลายภพหลายชาติ ทั้งเฝ้าด่า จ้องด่า

ตามด่า เรียกว่า จองล้างจองผลาญ จองเวรกันมา

หลายภพหลายชาติ อย่างนั้น มันก็มีนิสัยเป็นผู้มักชอบ

ด่า แม้ห้ามปราม ให้เอาเข็มมาเย็บปาก มันก็จะด่า ถ้า

เราคิดอย่างนี้ เราก็จะตามแก้ไม่จบ
งั้น ก็ใช้หลัก สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ ธรรมทั้งหลายทั้ง

ปวง ไม่มีตัวตน เท่านี้ก็จบ
สัพเพ ธัมมา อนิจจา ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ตั้งอยู่ไม่

ได้นาน
สัพเพ ธัมมา ทุกขา ธรรมทั้งหลายเป็นทุกข์
ธรรมทั้งหลายมีกุศล มีอกุศล เท่านี้ จบ เพราะแก้

อะไรไม่ได้ล่ะ มันเป็นกรรมของมันละ จบ
เราก็ไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องทุรนทุราย
ต้องตรึกให้ได้อย่างนี้ วิเคราะห์ให้ได้อย่างนี้
ได้ชื่อว่า ลูกศิษย์พระพุทธะ อย่าโง่เขลา ฝากชีวิตไว้

บนฟองน้ำลายบนปลายลิ้นชาวบ้าน แล้วเป็นทุกข์

เดือดร้อนกับปลายลิ้นและฟองน้ำลายที่กระดกไป

กระดกมา มันน่ารังเกียจ ไม่มีสติปัญญา
เอาล่ะ หายใจเข้า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
หายใจออก สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
ภาวนา
.................
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
.............
พอ เตรียมถวายทาน
(กราบ)
.............
(กราบ)
................
ตั้งใจกรวดน้ำ ว่าตาม แล้วรับพร
............
ตั้งใจรับพร ลูก
.............
(สาธุ)
โชคดี ลูก ธรรมะรักษา ให้รุ่งเรือง ร่ำรวย เดินทาง

โดยสวัสดิภาพ ปลอดภัยทุกคน
(สาธุ)
กราบลาพระ อะระหัง สัมมา
............
อืม กลับบ้านเถอะ กูกำลัง สัพเพ สังขารา ทุกขัง

สังขารนี้ เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
อ้อ วันแม่ พาแม่มาบวชเนกขัมมะ ถ้าไม่มีโอกาส ก็มา

ถือศีลครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่ง ชั่วนาทีหนึ่งก็ยังดี ถือว่า

เป็นวิธีส่งเสริม สนับสนุน เลี้ยงแม่ข้ามภพข้ามชาติได้
เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เค้าเลี้ยงกัน 2 วิธี คือ เลี้ยงด้วย

ก้อนข้าว หยดน้ำ กับเลี้ยงด้วยคุณงามความดี
เลี้ยงด้วยก้อนข้าว หยดน้ำ มันได้แค่อิ่ม แล้วก็ขี้ออก

ชาติเดียวจบ เลี้ยงด้วยคุณงามความดี มันเลี้ยงได้ข้าม

ภพข้ามชาติ วัดไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาวัดนี้ แต่ยก

เว้นสักวัด ไม่ควรเข้า วัดป่าขันติธรรม อย่าไปเข้ามัน
อ้ายวัดไหนที่มีคนใช้เล่ห์เพทุบาย หลอกลวงหากิน ไม่

ควรเข้า สมภารรวย ก็ไม่ควรเข้า เพราะมันหลอกเค้า

กิน ไปวัดที่เราไหว้ได้ บูชาถูก เคารพสนิทใจ เป็นต้น

แบบของเรา ก็ไป
เดี๋ยววันแม่ หลวงปู่จะให้เค้าเตรียมข้าวสาร เอาไว้

แจกคนที่พาแม่มา ไปต้มข้าวต้มให้แม่กิน ไม่ใช่ไป

หยอดน้ำข้าวต้มนะ เตรียมหอมจังไว้ด้วย ก็ถือว่า เป็น

ของขวัญวันแม่
ให้ทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพ
(สาธุ)
(กราบ)