8 ธ ค 2555    05.00 น.  ณ.ทองผาภูมิ  ขยับกายบริหาร โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

(กราบ)
ชาวบ้าน ลุกขึ้น ขยับขยาย ทำกายบริหาร
ขยายออกไป กางปีกซิ ติดเพื่อนไม๊ ติดก็ขยับ ปรับตัว อย่าให้ติด
..................
แล้วยื่นมาข้างหน้าซิ ติดเพื่อนไม๊
...............
เอ้า ยืนปลายเท้าให้เสมอกัน แยกให้กว้างกว่าตะโพก
................
แยกเท้าให้กว้างกว่าตะโพก จะได้ไม่ล้ม ไม่เซ
................
ลองยืนด้วยปลายเท้า ยกส้นเท้า 2 ข้างขึ้นซิ
..................
เอ้า ลดลง ลองดูซิ ล้มไม๊ เซไม๊
อีกที
...................
ทำความรู้สึกให้อยู่ในกาย
...................
ให้มี สิ่งนั้น อยู่ในกายตน
แล้ว ยืนด้วยปลายเท้า หายใจเข้า
......................
ลดลง ก็หายใจออก
....................
ทำซัก 5 ครั้ง
....................
พระทำด้วย
..................
วิชาฝังเข็ม ปลายเท้า นี่เป็นสิ่งสำคัญ
มันจะช่วยลดอาการป่วยไข้ ลดความร้อนในกาย
ทำให้เกิดสมดุลย์ในความดันเลือด
..................
ปลายเท้า ปลายมือ เวลาไข้ขึ้นสูงๆ เค้าจะกดจุดตามปลายเท้าปลายมือ
เพื่อลดอาการไข้ หรือ ลดความร้อน
..............
เอ้า ทีนี้ ยืนด้วยปลายเท้า หายใจเข้า แขม่วท้อง
.................
แขม่ว จนกระทั่ง หน้าท้องติดกับกระดูกด้านหลัง
แล้วก็หายใจออก ลดลง
..................
ทำซัก 5 ครั้ง
....................
ตามจังหวะ ลมหายใจของตนๆ
.....................
เวลาลง ก็ลงแบบไฮโดรลิกหน่อย อย่าลงวื๊ด
..................
หายใจ จนกระทั่งก้นขมิบน่ะ ดึงไส้ขึ้น
.................
เอ้า ครบเรียบร้อยแล้วก็ ยืนตรง ท่าปกติ ผ่อนคลายนิดหนึ่ง
.......................
ใครที่ยังไม่ดื่มน้ำ จัดการดื่มซะ
ไปหาน้ำมาดื่ม ที่ไม่มี, เช้าขึ้นมา ต้องดื่มน้ำ
...................
เพราะ น้ำมันจะช่วยชับไล่ของเสีย ขับถ่ายอ้ายสิ่งที่ตกค้างอยู่ภายในลำไส้ ภายในกระเพาะ
ยิ่งทำกายบริหาร น้ำเหมือนดั่งน้ำมันเครื่อง
เครื่องยนต์ไม่มีน้ำมันเครื่อง มันก็จะทำให้ข้อต่างๆ ฝืด ติด บิด อึดอัด
................
เอ้า ทีนี้ ยืนอยู่กับที่
....................
ท่าเดิม
หายใจเข้า ยกแขนขวา ชี้ตรงมาข้างหน้า เสมอไหล่
..................
แล้วก็หายใจออก สลับกัน ทีละข้าง ซ้าย ขวา ขวา ซ้าย
................
ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ต้องประกอบลมหายใจ
ลมหายใจ ต้องเสมอกับการเคลื่อนไหว
ให้ครบ 5 ครั้ง
...................
ยืนโบกมือเป็นอีนากเลย เค้าหายใจเข้า ยกแขนขึ้น, ลดลง หายใจออก
หายใจเข้า ยกแขนขึ้น, ลดลง หายใจออก
นี่ ยืนกวักมือ โบกเป็นอีนากเลย ไม่มีจังหวะจะโคนอะไรเลย
ทำ ทีละข้าง
..................
ครบแล้ว ทีนี้ก็ ยกปีกขวา หายใจเข้า, ลดปีกขวา หายใจออก
.................
สลับข้าง ซ้าย ขวา คนละ 5 ครั้ง
................
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ ยก 2 แขน ชี้ตรงมาข้างหน้า แขม่วท้อง หายใจออก
...................
แขม่วท้อง หายใจออก, ลดลง ก็หายใจเข้า
..................
แขม่ว จนกระทั่ง ผนังท้องติดกับซี่โครง ติดกับกระดูกสันหลัง
.....................
ไม่ต้องยกส้นเท้า, ลดลง ก็หายใจออก
ทำให้พร้อมกัน แขม่วท้อง ยกแขน หายใจ
.................
ลดลง ก็หายใจเข้า
...................
ยกแขนขึ้น แขม่วท้อง ก็หายใจออก คนละ 5 ครั้ง
...................
ทีนี้ เปลี่ยนมาเป็นปีก
ยกปีก หายใจเข้า แขม่วท้อง ลดลง ก็หายใจออก
ปีก 2 ข้าง เสมอไหล่ ท้อง อย่าลืมแขม่ว
.................
ให้มี สิ่งนั้น อยู่ในกาย
ตามดูอาการเคลื่อนไหวของลมและการเคลื่อนไหวของกาย
...................
เอาลมหายใจตัวเอง เป็นบรรทัดฐาน
..................
ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องเร่ง เดี๋ยวจะเหนื่อย จะหอบ
..................
ให้ครบ 5 ครั้ง
..................
เสร็จแล้ว เหยียดแขนตรงมาข้างหน้า 2 แขน
หายใจเข้า ลดลง ก็หายใจออก ไม่ต้องแขม่วท้อง
เสร็จแล้ว ยกขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้า แขม่วท้อง
ลดลง ก็หายใจออก
..................
แขม่วท้อง จนหนังท้องติดกับกระดูกสันหลัง
แล้วก็ลดลง หายใจออก
..................
ทำให้ครบ 5 ครั้ง
..................
ตามดูลม ดูการไหวของกาย
................
อย่าลืมแขม่วท้อง อย่าขี้เกียจ
นี่เป็นประโยชน์ของตัวเอง
ไหนๆ มีกายแล้ว ก็ต้องบริหารกาย
ถ้าไม่บริหาร กายมันจะตายลงไปเรื่อยๆ แต่เราไม่อยากตาย
วิธีทำให้เรากับมัน อยู่พร้อมกันได้ ก็ต้องบริหารมัน
บำรุงมัน ครอบงำมัน ใช้มันให้มันเหมาะสม
.................
แล้วแยก 2 ปีก ยกเหนือ ศีรษะ หลังมือชนกัน แขม่วท้อง หายใจออก
สลับกัน ลดลง หายใจเข้า
.................
ช้าๆ คนละ 5 ครั้ง
.................
แขนเหยียดตึง ตรง หลังมือชนกัน เหนือหัว
.................
อย่าลืมแขม่วท้อง
................
ทำ จนกระทั่งรู้สึกว่า ปราณวิ่งอยู่ตามฝ่ามือ และท่อนแขน รับรู้ได้
นั่นคือ ไอร้อน ปรากฏอยู่ที่ฝ่ามือ และต้นแขน
...................
อย่าลืม แขม่วท้อง
...................
ครบ 5 ครั้งแล้ว กาง 2 ปีก เหนือศีรษะ หลังมือชนกัน หายใจเข้า
แล้วก้มตัว ลงมาข้างหน้า มือแตะพื้น หายใจออก
..................
ช้าๆ อย่าเร็ว ไม่งั้น ความดันจะวูบวาบ
แล้วเงยขึ้น หายใจเข้า ช้าๆ ยกมือเหนือศีรษะ
ตามดูลม
เงยหน้าขึ้น มองเพดาน อ้าปาก ร้อง อ้า
แล้ว ก้มลง อย่าลืมลมหายใจ
....................
มือแตะพื้น เงยขึ้น เหมือนเดิม ทำคนละ 5 ครั้ง
.................
ช้า อย่าเร็ว ถ้าเร็ว แล้วเราจะตามดูลมไม่ทัน
เวลาก้มลง ก็ให้หุบปาก เงยขึ้น ก็ให้อ้าปาก
...............
ครบ 5 ครั้ง แล้วก็หยุด
...................
เท้าขวา ก้าวมาข้างหน้า ครึ่งก้าว
...................
กาง 2 ปีก เหนือศีรษะ สูดลมหายใจเข้า
................
มือประสานกัน ก้มตัวลง ฝ่ามืออยู่ที่ปลายเท้าขวา หายใจออก ช้าๆ
..................
เข่าตึง เงยขึ้น หายใจเข้า ช้าๆ
ทำอย่างนี้ คนละ 2 ครั้ง
................
ตามลมของตัวเอง มาตรฐาน คือ ลมของตัวเอง
อย่าบังคับ อย่ากักลม อย่ากลั้นลม
ไม่งั้น มันจะทำร้ายอวัยวะภายใน
..................
ครบ 2 ครั้งแล้ว ก็ชักเท้ากลับ
สลับ เป็นเท้าซ้าย แขนยังอยู่เหนือศีรษะอยู่
แขนของตัวเอง มันหนักขนาดนั้นเลยเหรอ
..................
แล้วก็ทำเหมือนเดิม ขาตึง
อนุญาตให้ตด ให้เรอได้
.....................
ครบ 2 ครั้งแล้วก็ชักเท้ากลับ
แขนยังอยู่ข้างบน เหยียดตึง
................
เอียงตัวไปด้านข้าง ทางขวา หายใจออก
................
กลับมาตรง หายใจเข้า
สลับกัน ด้านข้างทางซ้าย หายใจออก
กลับมาตรง ก็หายใจเข้า
ทำคนละ 3 ครั้ง ข้างละ 3 ครั้ง
.................
เอียงข้างๆ ให้มากหน่อย อายุน้อยๆ ทำเอียงนิดๆ
................
ครบ 3 ครั้งแล้วก็ ลดฝ่ามือลง
ยืนในท่าตรง
เอ้า ผ่อนคลายเล็กน้อย ใครจะดื่มน้ำดื่มท่า
..................
เสร็จแล้ว ก็กลับเข้าที่
.................
กางปีก ซ้าย ขวา
..................
สูดลมหายใจเข้า, หายใจออก เอียงปีกไปด้านขวา มือขวาแตะใต้เข่า
มือซ้ายยกขึ้น ตามองบน
....................
แล้วก็กลับมาตรง หายใจออก
ทำอย่างนี้ สลับซ้าย ขวา ข้างละ 3 ครั้ง
...................
มือที่กดลง ต้องแตะใต้เข่าเสมอ, ด้านข้าง ใต้เข่า
......................
ไม่งั้น ไม่มีประโยชน์ แตะข้างๆ ตะโพก ไม่ได้ประโยชน์
....................
ตาก็มองตามมือที่ยกขึ้น
.................
เอียงซ้าย เอียงขวา เวลาลด ก็เหมือนกับลดไม้ท่อน
แขน 2 ข้าง ยังตึงเสมอ
..................
บริหารกล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อใบหน้า กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อบ่า
กล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาด้านข้าง
................
ครบ 3 ครั้งแล้ว หยุดอยู่กับที่ ยังกางปีกอยู่
..................
กอด อก 2 แขน, แขนขวาอยู่ล่าง แขนซ้ายอยู่บน
มือจับหัวไหล่
แขนขวาอยู่ล่าง แขนซ้ายอยู่บน ไม่ใช่ไปกากบาท
..................
ฟังรู้เรื่องที่ไหน ยืนกากบาทเฉยเลย
แขนขวาอยู่ล่าง แขนซ้ายอยู่บน เออ
เวลากูสั่ง กูว่า กูบอกชัดแล้วนะ ไม่มีผิดพลาด
.....................
แสดงว่า ยังไม่ตื่น ยังเมาขี้ตาอยู่
ยกข้อศอกขึ้น เงยคอ ดันให้สูงสุด
....................
ให้ข้อศอกอยู่ปลายคาง
...................
กลับมาตรง หายใจเข้า
...................
ก้มลง หายใจออก
.................
กลับมาตรง หายใจเข้า
ก้าวเท้าขวา มาข้างหน้า 1 ก้าว
..................
ยกข้อศอกขึ้น หายใจออก
..................
กลับมาตรง หายใจเข้า
.......................
ก้มลง หายใจออก
.................
ศอกแตะเข่าขวา
...................
เข่าตึง
กลับมาตรง หายใจเข้า
.....................
ทำอย่างนี้ สลับกัน ซ้าย ขวา ข้างละ 3 ครั้ง
เวลา ยกข้อศอก ยกให้เสมอคาง
....................
แอ่นตัว ไปข้างหลังมากๆ
....................
สลับ ซ้าย ขวา ข้างละ 3 ครั้ง
.....................
ครบแล้ว ก็ยืนอยู่กับที่
....................
ทิ้งแขน ลงข้างลำตัว
..................
อย่ารีบ
อย่าทำร้ายตัวเอง ด้วยการรีบร้อน
เลือดที่อยู่ในกายวิ่งขึ้นวิ่งลงไม่ได้ หรือ เร็วเกินไป ก็จะทำให้เส้นเลือดฝอยอาจจะแตกได้
ความดันในกาย อาจจะมากขึ้น
งั้น บริหารกาย ต้องดูการไหวของน้ำภายในกายด้วย
..................
 สลับขา ให้ครบ ข้างละ 3 ครั้ง
...................
เสร็จแล้ว เอามือไพล่ไปอยู่ข้างหลัง ทิ้งแขนลง
ก้าวเท้าขวา มาข้างหน้า
.......................
มือไพล่กันข้างหลัง ประสานกันข้างหลัง อยู่ที่ก้นกบ
....................
ก้าวเท้าขวา มาข้างหน้า
..................
สูดลมหายใจเข้า แอ่นอก ลู่ไหล่ เงยคอ
หายใจออก ก้มตัวลง ยกแขน 2 ข้าง
กลับมาตรง ก็หายใจเข้า ช้าๆ
หายใจออก แอ่นอก ลู่ไหล่ เงยคอ
....................
แล้วก็ กลับมาตรง หายใจเข้า
แล้วหายใจออก ก้มตัวลง พลิกฝ่าเท้าด้วย เท้าด้านหน้านี่พลิก
ใช้ข้างเท้ายืน เออ แล้วก้มตัวลง
ทิ้งน้ำหนักตัวมาเท้าหน้ามากๆ
แล้วก็กลับมาตรง หายใจเข้า
ทำอย่างนี้ ข้างละ 3 ครั้ง
..................
ทำเป็นจังหวะ
เมื่อกี้ บอกไปแล้วว่า ทำอย่างไร
ให้มีขั้นมีตอน ไม่ใช่ รูดมาหาราก เรื่อยไปเลย
....................
ก้มตัวลง เงยขึ้น กลับมาตรง แอ่นอก ทำเป็นจังหวะ
.....................
แล้วสลับเท้า
...................
อย่าขี้เกียจที่จะทำ เพราะนี่คือ ประโยชน์ของชีวิตตัวเอง
...................
ก้มลง ก็พลิกฝ่าเท้า
..................
เงยขึ้น ก็พลิกฝ่าเท้ากลับ
...................
ฝ่าเท้าจำเป็นต้องพลิกทุกครั้ง ที่ก้มลง
แล้วเวลาก้ม ก็ต้องยกแขนให้สุด
..................
กลับมาตรง เงยขึ้น แอ่นอกให้สุด
.................
ทิ้งแขนไปข้างหลังให้มาก ลู่ไหล่ เงยคอ อ้าปาก ลืมตา
....................
พอ
เสร็จแล้ว กลับมาตรง
...................
ยืนในท่าที่ผ่อนคลาย
....................
ผ่อนคลาย แล้วต้องว่าง
....................
เอ้า นั่งลง เหยียดแขน เหยียดขา
....................
เหยียดปลายเท้า 2 ข้าง ออกไป
...................
จะนั่งในท่าที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุด เมื่อเหยียดขาไปข้างหน้า ก็ต้องเหยียดแขนไปข้าง

หลังเพื่อรับน้ำหนัก ไม่งั้น กระดูกสันหลังมันจะงอ แล้วพยายามกดปลายเท้าให้แตะพื้น ให้

แนบกับพื้น เกร็งตัว ยกตะโพกขึ้น ยกให้สูงๆ ให้หน้าท้องกับขาเสมอกัน ทิ้งคอไปข้างหลัง

นับ 1-5 แล้วก็ลดลง
...................
ตูดของมึงแท้ๆ ยังหนักขนาดนี้เลยเหรอ
....................
ทำอย่างนี้ซักคนละ 3 ครั้ง
..................
เวลาเงยขึ้น ยกตะโพกขึ้น ทิ้งคอลงมาข้างหลังให้มากๆ เลย ให้คางชี้ฟ้าเลย
...............
ไม่งั้น ไม่ได้ประโยชน์ อย่าไปเกร็งคอไว้
................
แล้วก็กลับมานั่งตรง ต้องไม่นั่งหลังตรง ต้องเอามือเท้าด้านหลัง ไม่งั้น กระดูกสันหลังจะงอ
สูดลมหายใจเข้า แขม่วท้อง ยกก้นขึ้น แล้วหายใจออก ก็ลดลง ทำ 3 ครั้ง
..................
ทีนี้ ต้องแขม่วท้องด้วย
...................
มันผงกแต่หัวน่ะ ตูดไม่ขยับเลย อีห่า ขยับแต่หัว
....................
พิการหมดแล้ว
....................
เอ้า พอ
หายใจออก แขม่วท้อง ก้มตัวไปข้างหน้า มือแตะที่ฝ่าเท้า เยอะๆ
...................
กลับมาตรง มือเท้าด้านหลัง นั่งให้สบาย
..................
แล้วก็ก้มลงใหม่ หายใจออก แขม่วท้อง มือดึงที่ปลายเท้า
สันมืออยู่ปลายเท้า ก้มตัวลง หน้าผากแตะเข่า
ทิ้งไว้นานๆ ให้เส้นเอ็น พังผืด กระดูกสันหลัง มันยืด
จนรู้สึกว่า มันลั่นไปทั่ว ร้อนแล้ว จึงจะเงยขึ้นช้าๆ
ไม่งั้น ไม่ได้ประโยชน์
แล้วก็กลับไปเอามือเท้าข้างหลัง
..................
เอ้า ลงไปอีกที
แขม่วท้อง หายใจออก ก้มตัวลง มือดึงปลายเท้า
ถีบปลายเท้า สันมืออยู่ที่ปลายเท้า นิ้วกลางอยู่กลางฝ่าเท้า
แล้วก็ถีบปลายเท้าออกไป ให้แขนตึง
..................
กลับมาตรง หายใจเข้า ช้าๆ
..................
นั่งเอามือเท้าข้างหลัง ไม่งั้น กระดูกสันหลังไม่ยืด
.................
งอขาขวา มาพาดขาซ้าย ให้ตาตุ่มขวาเลยเข่าซ้ายมา เลยหัวเข่าซ้ายเข้ามา
..................
เสร็จแล้ว ก้มตัวลง, พาด กูใช้คำว่า พาด ไม่ใช่ตั้งอยู่ข้าง
...................
แล้วก้มตัวลง เอามือ 2 ข้าง ดึงปลายเท้าซ้าย
....................
กลับมาตรง ช้าๆ
..................
เลื่อนเท้าขวาเข้ามา ถึงหน้าขา ดึงเข้ามาอีก
เสร็จแล้ว ก็ก้มลงไปใหม่
ก้มลง ให้ท้องแตะกับส้นเท้าขวาเลย
ให้ผนังท้องแตะกับส้นเท้าขวาเลย
.....................
กลับมาตรง ช้าๆ เหยียดแขนไปข้างหลัง ยืดกระดูกสันหลังขึ้น
.................
เอ้า สลับขา ซ้ายพาดขวาบ้าง
ทำเหมือนเดิม
หายใจออก ก้มลง ทุกครั้งเวลาก้ม ต้องหายใจออก ให้ลมหมดก่อน
ไม่งั้น ปอดจะเป็นอันตราย เวลาก้มแล้วมันอัดกัน บี้กัน
เดี๋ยวถุงลมในปอด ฉีกขาด
..................
ดึงปลายเท้า เข้ามาหาตัวเอง
.....................
กลับมาตรง ทำเหมือนเดิม
เลื่อนขาเข้ามา ส้นเท้ามาติดหน้าท้อง
.....................
แล้วก็หายใจออก ก้มตัวลง ดึงปลายเท้า
....................
กลับมาตรง
...................
เหยียดขา กลับไปตรง
..................
ทีนี้ ชักขา 2 ข้าง เอาฝ่าเท้าชนกัน แล้วดึง ดึงมาติดหน้าขา ติดลำตัว
แบะเข่าออก มือจับที่ปลายเท้า 2 ข้าง
ข้อศอกกดเข่า แล้วก้มลง ให้ส้นเท้าติดที่หน้าขา ติดที่ลำตัวให้มากที่สุด
แล้วก้มลง
....................
กลับมาตรง, 2 มือยังรัดปลายเท้าอยู่
ลู่ไหล่ คอทิ้งไปข้างหลัง แอ่นอก เงยคอขึ้น ตาเหลือกดูบน
...................
กลับมาตรง
ดึงส้นเท้าเข้ามา แล้วก้มลงใหม่
ข้อศอกอัดเข่า พยายามให้เข่าแนบกับพื้นให้มากที่สุด
...................
กลับมาตรง
................
เหยียดขาออกไปข้างหน้า ให้เลือดลมมันเดินสะดวก นั่งเหมือนเดิม
..................
ยกเข่าขวา พาดเข่าซ้าย แล้วตั้งเข่าขวาขึ้น
....................
เข่าขวาพาดกับเข่าซ้าย แล้วตั้งเข่าขวาขึ้น ให้ส้นเท้าขวาอยู่ที่เข่าซ้าย
......................
เอียงตัวให้แขนซ้าย อยู่หลังเข่าขวา แล้วเอามือไปรัดเข่าซ้าย
...................
เอื้อมมือไปดึงเข่าซ้าย แล้วบิดตัวไปด้านขวา
..................
ให้ข้อศอกซ้ายดันเข่าขวา ไปขัดกัน แล้วเอี้ยวตัวไปข้างหลัง
มือซ้ายต้องจับเข่าซ้ายเอาไว้
................
สลับข้าง เหมือนเดิม
...................
ถ้าทำถูกวิธี มันจะตึงตะโพก ตึงหลัง เส้นปัตฆาตโดนยืด
บิดตัวไปข้างหลังมากๆ
....................
กลับมาตรง
ก้มตัวลงไปข้างหน้าอีกที มันจะได้ผ่อนคลาย
.....................
กลับมาตรง ช้าๆ
พัก ดื่มน้ำดื่มท่า หาน้ำดื่มทุกคน
...................
เสร็จแล้ว ไปเข้าห้องน้ำห้องท่าซะ

8 ธ ค 2555    6.10 น.  ณ.ทองผาภูมิ ระหว่างเจริญพระพุทธมนต์

โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
(กราบ)
เปิดเบอร์ 5 หน้า 31 (ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา)
..................
บทสวดที่เราเพิ่งสาธยายไป ได้ความว่า
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้ เป็นเรื่องยืนยันได้ว่า สิ่งที่เรามีอยู่

คือ ความว่างเฉยๆ ไม่มีตัวมีตน การสาธยายมนต์ ก็ต้องไม่มีตน ไม่มีตัว มีแต่ความว่าง กับ

หน้าที่
เต มะยัง โอติณณามะหะ พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้วหรือเปล่า ถ้าเป็นผู้ถูก

ครอบงำแล้ว เราก็จะโดนครอบงำด้วยราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ชาติ ภพ

ชรา มรณะ พยาธิ รวมทั้ง ตัวโง่ ตัวกู ตัวง่วง ตัวขี้เกียจ สิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องครอบงำ ทำให้

เรากลายเป็นผู้ไม่ว่าง
การเจริญมนต์ด้วยความว่าง มันต้องไม่มีตัวอะไรเลย มีแต่ หน้าที่ กับ ตัวรู้
รู้ ที่จะทำอะไร และทำหน้าที่ต่อไป ด้วยหัวใจที่ว่าง
(เบอร์) 6  บทพิจารณาปัจจัย 4 (หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง

ภะณามะ เสฯ)
.................
เตรียมทำให้ สิ่งหนึ่ง นั้น ตั้งมั่นอย่างยั่งยืน ยาวนาน และมั่นคง สวดถอยหลัง
................
ยังว่างอยู่ไม๊ สำรวจดูซิ
...............
อยู่กับความว่าง
หลับตา
ลองหาญกล้า สู้กับถีนมิทธะ หลับตา
..............
สู้กับความง่วงหงาว หาวนอน
ดูว่า มันจะชนะ หรือ เราจะชนะ
...............
สู้กับความหิวกระหาย ความเกียจคร้าน สันหลังยาว
หลับตา แล้วอยู่กับความว่าง
...............
นั่งว่างๆ
.................
ในความว่าง ไม่มีความง่วง
...............
ไม่มีความหิว ไม่มีความสันหลังยาว
อย่าเพลี่ยงพล้ำ อย่าโดนครอบงำ
..................
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน
..................
เมื่อไม่มีตัวตน ก็คือ ว่าง
..................
หลายคน เริ่มที่จะไม่ว่าง เพราะพ่ายแพ้กับความมีตัวตน
.................
ทีนี้ ลองลืมตา ลุกขึ้นยืน
................
อยู่กับ ความว่าง
................
หันไปทางขวาซิ ว่างไม๊
...............
หันไปให้ครบทั้ง 4 ทิศ ดูว่า แต่ละทิศ ว่าง หรือไม่
เหนือว่าง ใต้ว่าง ออกว่าง ตกว่าง หรือเปล่า
...................
เงยมองดูข้างบน ยังว่างอยู่ไม๊
................
กรวดน้ำ แผ่เมตตา ด้วยความว่าง
.................
แล้วก็กราบพระ ด้วยความว่าง
กรวดน้ำ แผ่เมตตาเสร็จแล้ว
กราบพระด้วยความว่าง
แล้วออกไปพัก ผ่อนคลาย เข้าห้องน้ำห้องท่า
(กราบ)
จัดการเรื่องอาหารเสร็จเรียบร้อย แล้วเดี๋ยว 9 โมงตรง มาพร้อมกันที่ศาลาปฏิบัติธรรมต่อ
(กราบ)

8 ธ ค 2555    18.45 น.  ณ.ทองผาภูมิ  ระหว่าง เจริญมนต์ โดยองค์

หลวงปู่พุทธะอิสระ
(กราบ)
เปิด อาฏานา(ฏิยปริตร)
.................
ไม่ได้สวดคนเดียวหร๊อกเหร๊อ
พาใครมาสวดด้วย เยอะแยะ
อย่า สาธยายมนต์ด้วยแรงขับเคลื่อนของตัณหา
อย่า สาธยายมนต์ด้วยแรงขับเคลื่อนของอุปาทาน ความยึดถือ
อย่า สาธยายมนต์ด้วยแรงขับเคลื่อน หรือ แรงผลัก แรงดัน แรงถีบ ของ ราคะ โทสะ โมหะ

หรือ อวิชชา
มาคนเดียว สาธยาย ชัดเจน
ใช้ ความว่าง เป็นเครื่องขับเคลื่อน
................
เปิดบท ยันทุน
.................
บท กรวดน้ำ
................
สังเกตุไม๊ ว่า ถ้าเราสาธยายมนต์คนเดียว มีใจเดียว เราจะเข้าใจถึงน้ำหนักของภาษา เข้าใจ

ลงวรรค อรรถ พยัญชนะ ตอนวรรค เหมาะสม น้ำหนักแต่ละภาษา แต่ละอักษร ชัดเจน

สวดร้อยคน ล้านคน ก็เหมือนกับสวดคนเดียว เสียงและน้ำหนักจะลงพร้อมเพรียงกัน

เพราะทุกคนมีที่ยืนอันเดียวกัน
นั่นคือ ความว่าง
งั้น พวกมึงสวดมนต์เพราะที่สุด (สาธุ) เพราะ มึงรู้จักยืนอยู่บนพื้นฐาน ด้วยกำลังขับ

เคลื่อนของความว่าง ไม่ใช่ใช้ตัณหา เป็นตัวขับเคลื่อน ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ

น้ำหนักเสียงลงชัดเจนทุกอักขระ พยัญชนะ ทั้งหมดนี่แหละ เค้าเรียกว่า ความบรรลุทาง

ภาษา ความเข้าใจถึงน้ำหนัก ธรรมชาติ ธาตุแห่งภาษา ทั้งหมดมันมาจากคำว่า เข้าใจตนเอง
สัพเพ สัตตา     สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด  อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
สัพเพ สัตตา     สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่ง

กันและกันเลย
ไม่ใช่อย่างนี้ ถ้าอย่างนี้ เค้าเรียกว่า ระวัง, ใส่ ตัวกู ระวัง เข้าไปล่ะ, ไม่เป็นธรรมชาติ,

ระวัง เกร็ง แสดงว่า มีคนอื่นเข้ามาแทรกล่ะ ไม่ใช่ความว่างที่แท้จริงล่ะ อย่างนี้ เค้าเรียก เส

แสร้ง
สัพเพ สัตตา     สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่ง

กันและกันเลย
สัพเพ สัตตา    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด  อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ

เลย  จงมีแต่ความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ
.................
เมื่ออยู่กับความว่าง เราจะเข้าใจธรรมชาติของธาตุแห่งภาษา จะออกเสียง ให้น้ำหนัก อย่าง

ชัดเจน ตรงต่อธรรมชาติแห่งธาตุแท้ในภาษานั้นๆ ในอักขระ ในพยัญชนะนั้นๆ แล้วมัน

จะทำให้เกิดความพร้อมเพรียง ไพเราะ เสนาะ
เตรียมตัว เข้าถึง สิ่งนั้น อันประเสริฐ สวดมนต์ ย้อนหลัง
..................
แทบไม่รอดนะ มึง

8 ธ ค 55    19.45 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

(นั่ง/ยืน/เดิน ด้วยความว่าง, เดินในขั้นที่ 6, ขั้นที่ 7,ใช้ความว่าง แผ่เมตตา)
ลุกขึ้น ยืน แล้วว่าง
...................
กลับลงไปนั่งใหม่ ยืนอย่างนี้ ไม่ว่าง, ต้องมาทำให้ว่างอีก
ยืนแล้ว ขึ้น ต้อง ว่าง เลย, บอกแล้วว่า อย่า ประมาท
มัจจุราช ไม่รอให้เรา ตั้งท่า
พญามาร ไม่รอให้เรา คอยต่อกร
ลุกขึ้น ยืน แล้วว่าง
...............
ยืน ขึ้นมาแล้ว มันต้อง ว่าง, ผ่อนคลายเลย
ไม่ให้เสียเวลา ตั้งท่า เยิ่นเย้อ เนิ่นนาน
....................
เราใช้เวลาหมดเปลื้อง กับสิ่งไร้สาระ มาชั่วชีวิต
มีเวลาอยู่น้อยนิด ก็รีบฉกฉวยให้มันคุ้มค่า
สำรวจดูภายในกายซิ มัน ว่าง ได้แค่ไหน
..................
2 ขา รับน้ำหนัก ได้เต็มที่ไม๊
..................
ตัว ตั้งตรง หรือไม่
แขน ขา เหยียด ตึง เกร็ง ขมึงทึง เครียด หรือเปล่า
...............
คอ ไหล่ อก ลู่ไปด้านใดด้านหนึ่ง เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งไม๊
................
แล้ว อยู่กับ ความว่าง
.................
สูด ลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
.................
แล้ว ระบายลมออกมา เบาๆ ยาวๆ ช้าๆ, ขับไล่ลมร้อน ทุรนทุราย ที่อัดแน่นอยู่ภายใน

ให้ออกมากับลมหายใจที่พ่นออก ช้าๆ เบาๆ
..................
แล้ว สูดลมหายใจ เข้าไปใหม่ ช้าๆ อีกซักรอบหนึ่ง, ตามดู ลม
.................
แล้ว หายใจออก เบาๆ ยาวๆ อย่างผ่อนคลาย
.................
ทิ้งลมหายใจ อยู่กับ ความว่าง
................
กายว่าง, ใจว่าง, สมองว่าง, จิตว่าง, ความรับรู้ ว่างเปล่า
...................
ถ้าบอกว่า ว่าง จนสามารถสำเนียก ลมหายใจ และสรรพสิ่งรอบกาย ก็ยัง ไม่ว่าง
แสดงว่า ยังอยู่ชั้นอนุบาล ต้วมเตี้ยม
...................
ต้องดำดิ่ง อยู่ในความว่าง จนถึงที่สุด
....................
หันไปข้างหลัง ดูซิ ว่างไม๊
...................
ทางขวา ว่างไม๊
..................
ทางซ้าย ว่างไม๊
...................
ข้างบน ว่างอยู่ หรือเปล่า
.................
ก้มดู ข้างล่าง ยังว่างอยู่ หรือไม่
.....................
ซ้ายมือ ยังว่างอยู่ หรือเปล่า
....................
ว่าง ไม่ได้หมายถึง การไปบังคับลมหายใจ หรือ กลั้นลม กักลม
ว่าง กับ ลม ไม่ได้เกี่ยวกันเลย ไปยุ่งอะไรกับมัน
..................
ความว่าง ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ ไม่มีองค์ประกอบ
....................
อย่า แม้ที่จะคิด จะใช้อะไรๆ มาเป็นเครื่องประกอบของความว่าง
ก็แสดงว่า นั่น ไม่ว่าง
..................
ลมหายใจ ประกอบความว่างไม่ได้
....................
นิมิต ก็ประกอบความว่างไม่ได้
..................
สิ่งที่ตามองเห็น ก็ประกอบความว่างไม่ได้
.....................
สิ่งที่หูฟังเสียง ก็ประกอบความว่างไม่ได้
สิ่งที่จมูกได้กลิ่น ก็ไม่ว่าง
เพราะ มันไม่สามารถช่วยให้ ว่าง
...................
สิ่งที่กายสัมผัส ก็ประกอบความว่างไม่ได้
.....................
ความว่าง ไม่มีเครื่องประกอบ
เพราะอย่างนี้แหละ พระพุทธเจ้า จึงกล่าวกับพญามารว่า
“เมื่อเรายังไม่พบญาณปัญญา ที่ได้แล่นท่องเที่ยวไปทั่วสังสารวัฏ ไม่รู้กี่ร้อย กี่ล้าน กี่พัน

ชาติ แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่าง ผู้ผูกเรือน สร้างชาติภพไม่จบสิ้น แต่บัดนี้ เราได้เห็นแล้ว”

แล้วพระองค์ก็ทรงตำหนินายช่างผูกเรือน ว่า “เราไม่สนใจต่อเรือนที่กักขังของพวกเจ้าแล้ว

อย่าเลย พญามาร อย่ามาสร้างเรือนยอดอันวิจิตรพิสดาร สวยงาม เพื่อจะกักขังเราอยู่อีกเลย

เราหักโครงเรือนเสียหมดแล้ว ยอดเรือน เราก็รื้อทิ้งเสียแล้วด้วย พญามารเอ๋ย ไม่มีเรือน

ใดๆ ที่จะกักขังเราอยู่ได้ อีกต่อไปแล้ว”
นั่นต่างหากเล่า คือ ความว่าง ที่ไร้ขอบเขต
...................
พา ความว่าง ลงนั่ง
นั่ง อยู่กับ ความว่าง
...................
ความว่าง ไม่ต้อง เต๊ะท่า, ไม่มีมาดให้ว่าง, ทุกท่า ว่างได้หมด
...................
บุคคลผู้เสพความว่าง มีชีวิตเหมือนกับ สามัญชน
..................
เค้าจึงมีคำกล่าวแต่โบราณบางบรรณว่า ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
เพราะใครก็ดูไม่ออกว่า เรามีทองอยู่ข้างใน
ไม่ต้องเติมแต้ม สี เสียง แสง กลิ่นอาย
เพราะ เรายิ่งใหญ่ มีอิสระ เหนืออนันตจักรวาล ซะด้วยซ้ำไป
..................
อย่าปล่อยให้อาภรณ์อันงดงาม และท่าดีๆ มาดนิ่มๆ มาเป็นเครื่องกักขังความว่างให้อับเฉา
....................
อยู่กับมัน ด้วยความส้องเสพ อิ่มเอม ดื่มด่ำ จนคุ้นเคยเป็นนิสัย เป็นสันดาน
...................
คำกล่าวที่ว่า พระอริยเจ้า พระอรหันต์ ตัดขาดจากสันดาน และวาสนา
นั่นหมายถึง สันดานไม่ดี วาสนาไม่ดี
อะไรที่เรียกว่า สันดานไม่ดี กับ วาสนาไม่ดี
ก็ชั่วชีวิตของปุถุชนซึ่งไม่ใช่พระอริยเจ้า ไม่ว่ากี่ภพ กี่ชาติ ก็โดนเครื่องขับ หรือ ขับเคลื่อน

ด้วยกระบวนการ ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน สิ่งเหล่านี้ มันเป็นสันดาน

ไม่ดี วาสนาไม่ดี พระอริยเจ้า จึงตัดขาดจากสันดานเหล่านี้ และวาสนาเหล่านี้
ให้เหลือไว้แต่ความว่าง เพราะในความว่าง ไม่มีขอบเขต
แล้วมันก็ ไม่มีสันดานและวาสนาใดๆ ปรากฏ
...................
มันตัดขาดจากพันธนาการ เครื่องผูกมัดของสันดานและวาสนา อย่างสิ้นเชิง
ตัดขาดความคุ้นเคย ที่เป็นมายากาล
ความคุ้นเคย ที่เราใช้เครื่องผลัก แรงดัน กระบวนการอัด ถีบ ส่ง ของราคะ โทสะ โมหะ

อวิชชา ตัณหา หรือ อุปาทาน มันทำลายจนพินาศไปสิ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ มันเข้ามาในอณู

ของความว่างไม่ได้ ที่พูดซ้ำๆ อยู่อย่างนี้ ก็เพื่อให้ถอน เพื่อให้ทำความเข้าใจว่า ในความ

ว่างอันแท้จริง มันไม่มีสิ่งเหล่านี้หลงเหลืออยู่เลย ไม่มีสันดานดิบ สันดานไม่ดี และวาสนา

ไม่ดี เหล่านี้เหลืออยู่เลย
มันจะเหลือแต่ กำลังขับเคลื่อนที่บริสุทธิ์ สมบูรณ์แบบ
ท่านจึงกล่าวเอาไว้มากมายว่า ผู้มีธรรมอันวิเศษเช่นนี้ ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด ไม่เสียหาย

เพราะด้วยเหตุผลของแรงขับและกำลังเคลื่อน มันไม่ได้เกิดจากสันดานดิบ หรือ สันดานไม่

ดี, วาสนาดิบ หรือ วาสนาไม่ดี แต่มันเกิดจากพลังบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า พระบริสุทธิธรรม
หรือ ท่านพุทธทาสชอบพูดบ่อยๆ จนติดปาก จนใครๆ หรือ คนที่ไม่เห็นด้วย ออกมาค้าน ว่า

ใจว่าง ทำงานด้วยใจว่าง แล้วก็มีปราชญ์อีกคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย มาเถียงว่า ใจว่างแล้วทำ

งานได้อย่างไร ซึ่งมันก็เป็นเรื่องของคนไม่รู้กับคนรู้ เถียงกัน คือ รู้กันคนละขั้นตอน คนละ

เรื่อง
ท่านพุทธทาส ท่านรู้ในเรื่องของโลกุตตระธรรม ท่านคึกฤทธิ์ ท่านก็รู้ในเรื่องโลกียธรรม

และเชื่อมั่นว่า นั่น หนทางแห่งทางที่สุด, ที่สุดแห่งการรับรู้ทั้งปวง ถูกต้อง เพราะท่านใช้

จนเคยชินกับราคะ โทสะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้ขับเคลื่อนท่านทำงาน
แต่ท่านพุทธทาส ท่านไม่คบหาสมาคมกับ ตัณหา อุปาทาน ท่านคบค้าสมาคมกับความว่าง

จนกลายเป็นนิสัย แล้วก็ออกมาบอก ประกาศ ให้คนยุคนั้นรับรู้ แต่คนยุคนั้นมองและรับรู้

เป็นเรื่องตลก
ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องตลก มันเป็นเรื่องจริง ที่คนสมัยนั้นยังคิดและทำไม่ได้ หรือ ไม่ค่อย

อยากทำ เพราะไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจวิธีที่จะทำ นั่นคือ ไม่มี สิ่งหนึ่ง เป็นเครื่องมือ หรือ ไม่มี

สิ่งหนึ่ง ในการผลักดัน, ไม่มี สิ่งหนึ่ง ที่จะขยับเขยื่อน ขับเคลื่อน ให้เข้าถึงความว่าง
ที่จริง จะบอกว่า สิ่งหนึ่ง ขับเคลื่อน ก็ไม่น่าจะถูกนัก เพราะเหตุผลว่า ความว่าง ไม่มีสัก

สรรพสิ่ง แต่เราก็คงจะปฏิเสธมันไม่ได้ว่า สิ่งหนึ่ง นั้น คือ สติมา สัมปชาโน มันเป็นเหตุ

ปัจจัยที่ทำให้เกิด ความว่าง อันยิ่งใหญ่ แล้วเมื่อถึงความว่างอันยิ่งใหญ่ มันก็แทบจะไม่ต้อง

ใช้ เพราะมันเป็นพ่วงแพ เป็นกะไดที่ก้าวขึ้นไปชั้นสูงสุด เมื่อถึงชั้นสูงสุด ก็ไม่จำเป็นต้อง

ใช้กะได
...................
แต่ถ้าจะให้เรียกเป็น สมมุติบัญญัติ มันก็คือ องค์ประกอบของสติมา สัมปชาโน
นี่เป็นคุณลักษณะของ สติมา สัมปชาโน เหตุผลก็เพราะว่า มันทำให้เกิดความว่าง
ความว่าง มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับดังกล่าว ระดับอนุบาล ระดับประถม, มัธยม เตรียมอุดม

ก็รวมเป็นระดับที่ 3
ระดับอนุบาล ก็อย่างที่พูดไป ที่บอกไป หลายครั้งในเวลาที่ผ่านมาว่า เราจะใช้มันวิเคราะห์

ทำการงาน แม้กระทั่ง การเจริญมนต์ เราต้องไม่มีคนอื่นมาร่วมกับเรา มันเป็นทางสายเดียว

ที่คนอื่นมาเดินร่วมไม่ได้ ถ้ามีคนอื่นมาร่วม แสดงว่า มันไม่ว่าง
สังเกตุง่ายๆ ว่า ถ้าเราสวดมนต์ แล้วเราแวบออกไปข้างนอก ก็แสดงว่า เราเปิดช่องให้คนอื่น

เข้ามาร่วมล่ะ แต่ถ้าสวดมนต์ เจริญมนต์ เราอยู่กับมนต์ มนต์กับเรา รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

เราไม่มีช่องทางใดๆ ให้คนอื่นเข้ามาร่วม คนอื่นไม่มีสิทธิ์ที่ยื่นมือเข้ามา
คนอื่นในที่นี้ มันจะเป็นอะไรก็ช่างเถอะ แต่มันจะพาเราออกไปนอกมนต์
ถ้าอยู่ในขั้นนี้ได้ ก็แสดงว่า เราสามารถรักษาความว่าง ในระดับชั้นที่เป็นอนุบาล ที่พร้อมที่

จะขึ้นชั้นประถมได้ แม้การงานอื่นๆ ก็เหมือนกัน
.................
จะกวาดบ้าน ซักผ้า หุงข้าว ทำกับข้าว ต้มแกง ผัด ต้องไม่มีคนอื่นเข้ามาร่วม
เพราะอย่างนี้ไง พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ซึ่งมันแบ่ง

เป็น 2 ภาค คือ โลกียะ กับ โลกุตตระ ในอัตตาหิ
มองในโลกียะ ก็มองเหมือนกับว่า เราต้องพึ่งลำแข้งของตัวเราเอง จะทำนาทำไร่ ก็ทำด้วย

ลำแข้งตัวเอง แต่ถ้ามองในโลกุตตระ ก็ต้องมองลึกลงไปว่า ศักยภาพของเรา มีทั้งภายใน

แล้วก็ภายนอก แต่เรามองแต่ภายนอก ก็เพียงแค่โลกียะ คือ ใช้กำลังกายเฉยๆ แต่ถ้ามอง

ภายใน ก็ส่วนโลกกุตตระ นั่นใช้กำลังจิตขั้นสูง ที่เรียกว่า อยู่คนเดียว ทำคนเดียว มาคนเดียว

สวดคนเดียว เจริญคนเดียว ตายคนเดียว โตคนเดียว
...................
บรรลุคนเดียว สำเร็จคนเดียว แล้วทุกข์อยู่คนเดียว โศกอยู่คนเดียว ทรมานอยู่คนเดียว
แล้วก็ ว่าง ได้คนเดียว จึงเป็น อัตตา หิ อัตตโน นาโถ
ธรรมะของพระผู้มีพระภาค มีทั้งโลกียะ และโลกุตตระอยู่ในที ถ้ารู้จักวิเคราะห์
ยังไงๆ ก็ยังเป็น อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน ทั้งในส่วนภายนอก แล้วก็ส่วน

ภายใน
เหมือนที่เรากำลังทำอยู่ นี่แหละ จะมาบอกว่า หลวงปู่เป็นคนชี้นำ บอกกล่าว ก็ไม่ใช่ที่พึ่งที่

แท้จริง เพราะที่พึ่งที่แท้จริง คือ สิ่งที่เป็นตัวของตนเอง เราใช้คำว่า สิ่งที่ประกอบเป็นตัว

เป็นตนของตนเอง
...................
แต่สิ่งนั้น ก็คือ เราแสวงหามันเข้ามา คือ สติ กับ ปัญญา  
.................
เพราะเรามี สิ่งนี้ มันจึงทำให้เราเข้าถึง ความว่าง ได้อย่างยั่งยืน
.................
ยังอยู่คนเดียวหรือเปล่า
.............
หรือ มันมีแขก ที่ไม่ค่อยจะแปลกหน้า แต่มันกลายเป็นศัตรูตัวร้าย ก็คือ ความง่วง ความ

เปลี้ย ความเพลีย ความเหนื่อย เข้ามาครอบงำเสียแล้ว
ลืมไป ในบทสวดแล้วหรือไง เมื่อเช้าว่า สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ธรรมทั้งหลาย ไม่มีตัวตน
อย่าปล่อยตัวเองให้เป็น เต มะยัง โอติณณามะหะ พวกเราเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว โดยความ

เกิด โดยความแก่ ความเจ็บ และความตาย ความร่ำไรรำพัน ความโศกาอาดูร แสดงว่า เรา

เป็นผู้ถูกครอบงำ ก็ไม่ใช่คนเดียวล่ะสิ
.................
คำว่า สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ แม้ตัวเรา มันก็เป็น สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ นะ อย่าลืมเสียล่ะ
ธรรมทั้งหลาย ไม่มีตัวตน, ตัวเรา ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
..............
ที่มันเป็นตัวเป็นตน, เห็น เป็นรูปเป็นร่าง เป็นหญิงเป็นชาย เป็นแก่เป็นหนุ่มเป็นสาว ทั้ง

หมดมาจากเหตุปัจจัย หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง เรียก สิ่งหนึ่ง นั้นว่า ตัวเรา
................
แล้ว เมื่อหลายสิ่งแตกสลาย, สิ่งหนึ่งก็ทนอยู่ไม่ได้, ตัวเรา มันก็ไม่รู้อยู่ไหนอีกเหมือน

กัน
...................
ดื่มด่ำ อยู่กับมัน อย่าเกียจคร้าน สันหลังยาว อย่ารำคาญ
เพราะเมื่อใดที่เรารำคาญ ก็แสดงว่า ไม่ว่าง
เราปล่อยให้แรงขับ พลังผลัก และถีบ เคลื่อน ตัวเราด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วย

อวิชชา ด้วยตัณหา และด้วยอุปาทาน มากี่ภพกี่ชาติ กี่ล้านปีแสงแล้วก็ไม่รู้ จนคุ้นเคย สนิท

สนม กลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แล้วเราก็คิดว่า เราขาดมันไม่ได้ พอถึงคราวที่เรา

จะว่าง เราก็รู้สึกว่า มันไม่มัน ไม่สะใจ ไม่ได้อะไร ไม่พัฒนา
มนุษย์จะอยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้อะไรมา แต่เราลืมไปว่า ที่ผ่านมาน่ะ กี่ล้านปีแสงแล้ว ที่เราขวน

ขวาย แล้วมันได้อะไรมา
...................
กี่ร้อยล้านชาติแล้ว ที่เราพยายามขวนขวาย มันได้อะไรมา
....................
เราพยายามสร้างบ้าน สร้างเรือน ปลูกเรือนสวยงาม มีทรัพย์สินสฤงคาร มโหฬารมากมาย

แต่ละภพแต่ละชาติ สร้างไว้เยอะแยะ ได้อะไรมา
ปัจจุบัน เอามาได้ใช้ซักกี่ตังค์ กี่ส่วน ไม้กระดานได้ซักกี่แผ่น อิฐได้ซักกี่ก้อน ทรายได้กี่เม็ด

เหล็กได้กี่เส้น ปูนได้กี่ถุง อ้ายที่สร้างเยอะๆๆ น่ะ กี่ภพกี่ชาติ เราได้อะไรมา
................
แม้ที่สุด สร้างลูก สร้างผัว สร้างครอบครัว สร้างเมีย สร้างบริษัทบริวาร สร้างญาติ สร้างมิตร

สร้างคนสนิท คนใกล้ชิด สร้างศัตรู แล้วได้อะไรมา
..................
ได้มาแค่ 2 อย่าง เท่านั้นแหละ คือ ดีกับชั่ว, บุญกับบาป, กุศลกับอกุศล
.................
มันยังเลี้ยงเราอยู่หรือเปล่าก็ไม่รู้ อ้ายดีชั่ว, บุญบาป, กุศลอกุศล หรือ ถ้ามันเลี้ยงเรา

ทำไมมันเลี้ยงเราแย่เหลือเกิน มันเลี้ยงให้เรารู้สึกเสื่อมทราม ตกต่ำ ไม่รุ่งเรือง ไม่รุ่งโรจน์

ไม่โชติช่วงชัชวาลเลย
มันไม่คุ้มกับเหนื่อย ที่ลงทุนไปหรือเปล่า
................
นักปกครองในยุคเก่าๆ พอพูดถึงความว่างนี่ เค้าจะเบือนหน้าหนี แล้วบอกว่า สังคมไม่

พัฒนา โลกไม่ก้าวหน้า สิ่งแวดล้อมไม่เจริญ ความว่าง ก็เลยโดนกลืนหายไปสิ้น
2,600 กว่าปีก่อน พระศาสดา ทรงนำ ความว่าง เข้ามาสอน แล้วพระองค์ก็ทรงเรียก

ความว่างว่า นิพพาน คือ ความดับแล้วเย็น พระองค์ไม่เรียกว่า ว่าง แต่ทรงเรียกว่า นิพพาน

ทรงให้สรรพนาม ให้นิมิต ให้เครื่องหมาย ให้คำอธิบายคำว่า นิพพาน ไว้ว่า เป็นสภาวะ

ธรรม ที่ต้องมีเครื่องประกอบ หรือ ประกอบจาก หรือ เกิดจากเหตุปัจจัย แล้วพระองค์ก็

ทรงชี้ มรรควิถี มรรคาปฏิปทา มรรคมีองค์ 8 ประการ แล้วทรงสรุปไว้วาระสุดท้ายของ

พระองค์ว่า
อย่ามัวเมาประมาท ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม
ทรงเรียบเรียงวิถีแห่งนิพพานเอาไว้ ว่า ต้องผ่านหลักการอย่างนี้ๆ ด้วยเหตุปัจจัยเช่นนี้ๆ

ซึ่งมีอยู่ในมรรคาปฏิปทา ข้อปฏิบัติทั้ง 8 อย่าง แต่สรุปรวมๆ แล้วก็คือ ถ้าทั้งหมดมันไม่

เกิดจากความเห็นอันถูกต้อง มันก็ไม่มีสิทธิ์ย่างก้าว เข้าไปสู่มรรคา
ในที่นี้ หลวงปู่พยายามชี้ ให้เห็นความเห็นอันผิดพลาดที่ผ่านมา และความเห็นที่ถูกต้องที่

เกิดในปัจจุบัน นั่นคือ ที่ผ่านมา เราใช้ความเห็นที่ผิดพลาดด้วยการที่จะ ทำ พูด คิด ก็ใช้

แรงผลัก กำลังดัน แรงถีบ กระบวนการขับเคลื่อนด้วย ราคะถีบ โทสะดัน โมหะรุน โลภะ

หนุน
..................
นี่ต่างหากเล่าที่เรียกว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นให้ชัดว่า ชีวิตเรา ยืนหยัด พูดคุย ดำรงค์ชีวิตอยู่

ได้ด้วยเครื่องมืออะไร เรียกว่า ใช้น้ำมันยี่ห้ออะไร ถ้าใช้น้ำมันเตา ควันโขมง เผาไหม้ไม่

ได้ดี สร้างมลภาวะ ชีวิตก็ไปไม่ได้ไกล ลุ่มๆ ดอนๆ เครื่องยนต์ก็ติดๆ ขัดๆ
แล้วทุกคน ก็ชอบใช้น้ำมันเตา เพราะราคามัน ถูก
เดี๋ยวนี้ ก็มาเปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันโซล่า มันก็มีคุณค่าไม่ได้ต่างอะไรกันมากนัก
...............
มาใช้โซล่า มาใช้ดีเซล เบนซิน
สรุปแล้วก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
เดี๋ยวนี้ ขยับมาใช้แก๊ส
เรามีพลังงานทางเลือก ซึ่งบริสุทธิ์ ไม่สร้างมลภาวะ มีอยู่ แต่เราก็อ้างว่า มันลงทุนมาก ลง

ทุนเยอะ
มันเป็นพลังงานในอนาคต ซึ่งมันยากที่จะดึงมาใช้ บางคนก็พูดซะยาวไปถึงขั้นนั้น
แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ได้ยาก 
...............
ยังอยู่คนเดียวหรือไม่
ที่พูดซะเยอะแยะ บ่น พร่ำเนี่ย อยากจะทดสอบว่า คนที่มีชีวิตอยู่ในโลกแห่งความว่าง
เค้าฟังทุกอย่างได้ โดยไม่ต้องปรุง
เค้าดูทุกเรื่องได้ โดยไม่ต้องนำเอามา เป็นของเรา
...................
เพราะในความว่าง ไม่มีอวิชชา, มันมีแต่ปัญญา และวิชา
ใน หลักปฏิจจสมุปบาท บอกไว้ชัด เพราะอวิชชา จึงทำให้เกิดสังขาร
คนที่มีชีวิตอยู่กับความว่าง มันเป็นวิชาล้วนๆ เพราะ มันเกิดจากผลแห่งสติและสัมปชัญญะ

นั่นคือ สติมา สัมปชาโน
งั้น ไม่ว่าจะฟังอะไร สำหรับผู้ที่อยู่ในโลกแห่งความว่าง มันจะไม่ปรุงแต่งเป็นสังขารเด็ดขาด

แต่ถ้าเผลอไปปรุง ก็แสดงออก บอกให้เห็นเลยว่า อ้ายนั่น ไม่ว่างแล้ว
.............
จึงได้พร่ำ สอน บ่น บอก พูด ให้ฟัง เพื่อจะได้ให้รู้สึก
...........
ว่า เรามีวิชา แน่ หรือว่า มีอวิชชา
..............
เมื่อกลางวัน บ่าย ก็บอกไปแล้ว
.............
ดูทุกอย่าง ฟังทุกเรื่อง ดมทุกกลิ่น สัมผัสทุกสิ่ง แต่ไม่ปรุง
................
เพราะ เรามีปัญญา รู้ชัดในสภาพธรรมที่ปรากฏ ทั้งสิ่งที่ ดู ดม สัมผัส
.............
เมื่อมันไม่มีสาระแก่นสาร แต่ปัญญาอย่างนี้ มันจำเป็นจะต้องฝึก
...............
เพราะไม่งั้น มันจะไม่ทัน, มันจะเจอกับคำว่า ดูแล้วสวย, ดมแล้วหอม, สัมผัสแล้ว

นุ่ม, ฟังแล้วเพราะ อ้าย สวย หอม นุ่ม เนี่ย เราคบกับมันมาเป็นแสนปี แสนชาติแล้ว
.................
แต่อ้ายคำว่า ความสวยไม่มีในโลก เพราะหลายสิ่งรวมกันเป็นหนึ่งสี ที่สวยเพราะเป็นสี

แล้วหลายสิ่งนั้น เมื่อแตกออก หนึ่งสีก็ปราศจากทันที
เราไม่ค่อยคบมัน เราไม่ค่อยได้ฟังมัน แล้วเราก็ไม่เคยเชื่อมัน เราไม่ชินและไม่คุ้นกับมัน
..............
รูปที่สวย มันไม่ยั่งยืน มันต้องอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งตลอดเวลา จึงจะดูว่าสวย เมื่อไม่ปรุง

แต่ง ไม่มีเหตุปัจจัย หรือขาดเหตุปัจจัย ความสวยก็ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ เราไม่ค่อยได้ฟัง

หรือ ฟังก็ไม่คุ้นเคย แล้วก็ไม่ชินต่อมัน แล้วเราก็ยังเชื่อต่อไปว่า ถ้ามันไม่สวยด้วยสีนี้ หรือ

รูปเช่นนี้ ก็ไปหาสีใหม่ รูปใหม่มาใส่ มาตกแต่ง ประดับประดาต่อไปเรื่อยๆ คือ หลอกตัว

เองไปเรื่อยๆ ทั้งที่อ้ายคนเก่า อ้ายชิ้นนี้ มันเคยสวยมาเมื่อวานซืน แต่มาวันนี้ทำไมมันโทรม

เราก็หาวิธีหลอกมัน หลอกตัวเอง ดึงให้มันตึง ให้มันแน่น ให้มันงดงาม ประดับประดาใส่

เพิ่มเข้าไป พอกเข้าไป อัดเข้าไป
ทั้งหมดนี่ มันเป็นวิชา หรือ อวิชชา
.................
ในความว่าง มีแต่วิชา มันจะไปปรุงอะไรล่ะ
...............
มันมีแต่ปัญญา มันรู้ทันสภาพธรรมที่ปรากฏ ว่า ความสวยที่แท้จริงไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ แม้

แต่ดอกไม้ที่เกิดมาโดยสันดาน โดยกำพืดมันว่า ดอกสวย สีสวย กลิ่นหอม มันอยู่ได้กี่วัน

แล้วมันต้องใช้อะไรบำรุงบำเรอที่จะทำให้มันดำรงค์คงอยู่ได้ แต่ก็ได้กี่วัน
มันสวยเพราะสี มันหอมเพราะกลิ่น แล้วสีกับกลิ่นแท้จริง มันเป็นอย่างไร
สีจริงๆ แต่ละสี ไม่มีตัวตน มันหลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งสิ่ง จึงเรียกว่า 1 สี
ในความว่าง มีแต่วิชา เข้าใจเรื่องพวกนี้ชัด
แต่โลกนอกความว่าง มันไม่มีปัญญา ไม่มีวิชา
มันมีแต่อวิชชา ความไม่รู้ จึงปรุงแต่ง จึงทำให้เกิดสังขาร การปรุงแต่ง
.................
แล้วมันก็จะทำให้นาม รูป คือ กายกับใจเรา ไปหลงติด พอรับรู้ด้วย วิญญาณ ก็ทำให้เกิดผูก

พันธนาการ เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น ก็ว่าเรื่อยไป เลอะเทอะ จนกระทั่งกลายเป็นตัณหา

เป็นอุปาทาน
นั่นคือ โลกแห่งความไม่ว่าง แต่ในโลกของความว่าง เราไม่มีสิ่งเหล่านี้
..............
คนที่อยู่ในโลกแห่งความว่าง ทำทุกอย่างได้ ทำทุกเรื่องได้อย่างแข็งแรงด้วย เพราะมันพัก

ผ่อนมาตลอดไง มีพลังวังชาเต็มที่ ไม่ใช่เต็มที
.................
แต่คนที่ทั้งชีวิต มันไม่เคยว่างเลย มันจะอ่อนแอ เปลี้ย เมื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง ขาดกำลังกาย

เสียกำลังใจ แล้วก็รอวันขาดทุน
ลุกขึ้น ยืน
....................
ยืนคนเดียว หรือเปล่า
..................
สู้อุตส่าห์เปลื้องตัวเองจากพันธนาการ แล้วก็ยังปล่อยให้ตัวเองจมปลัก ไปโดนพันธนาการอีก
.................
เข้าไป เดิน ทำความเข้าใจโลกแห่งความว่าง ที่ไร้ขอบเขต อย่างมีเสรีภาพ
................ 
มีบางคนเข้าใจว่า ความว่าง คือ ความเลื่อนลอย นั่น เป็นความผิดพลาดอย่างร้ายกาจ
ความว่าง ไม่ใช่ความเลื่อนลอย แต่มันคือ ความรอบรู้
................
ความว่าง ไม่ใช่เป็นความเหม่อลอย ไม่ใช่ความเลื่อนลอย
.....................
แต่มันคือ ความรู้สูงสุด ที่ไม่ยึดติดกับสรรพสิ่ง
...................
แม้สรรพชีวิตกับสรรพวัตถุ ก็ไม่อาจจะกร้ำกรายเข้ามาสู่ในโลกแห่งความว่างได้
รวมถึงกาลเวลา
...............
เพราะฉะนั้น ในโลกแห่งความว่าง จึงไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต และไม่มีปัจจุบัน
เพราะ ถ้ามันมี มันก็ไม่ว่าง
................
อย่าทำให้ความว่าง กลายเป็นความเลื่อนลอย ล่องลอย หรือเหม่อลอย
................
ขอย้ำอีกครั้งว่า นั่นคือ ความเสียหาย และผิดพลาดอย่างร้ายกาจ
................
แล้ว มันเป็นอะไรล่ะ
ก็บอกแล้วไงว่า มันเป็นความรู้สูงสุด 
...............
รู้ว่า เราไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร
................
ให้รู้ไว้ว่า คนที่เสพความว่าง ไม่ต้องอาศัยยาคลายเครียด ไม่จำเป็นต้องกินยานอนหลับ น่า

จะเป็นความเข้าใจเบื้องต้นพื้นฐาน
.................
คนที่เสพความว่าง สมองจะโล่ง ใจจะเบา กายจะเบา
ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ลหุตา คือ ความเบากาย เบาใจ
.................
ภาษาชาวบ้าน เค้าเรียกว่า ความปลอดโปร่ง โล่งสบาย อย่างรู้เนื้อรู้ตัว น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า
ปลอดโปร่ง โล่งสบาย อย่างรู้เนื้อรู้ตัว
................
แต่ก็เป็นข้อจำกัดของความว่าง ที่ถือว่า ว่างแบบพื้นๆ เพราะ เรายังมีเนื้อ มีตัว
...............
เปิดเสียงซิ
.................
ใช้ความว่าง เดินในขั้นที่ 6
เว้น 2 จังหวะ แล้วจึงก้าว
................
ใครไม่เคย ให้รุ่นพี่แนะนำ, ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยสงเคราะห์
................
เว้น 2 จังหวะ แล้วจึงก้าว
................
ถ่ายน้ำหนักให้หมด แล้วจึงจะก้าว, ขา ที่ก้าว ต้องเบาเหมือน นุ่น
................
เว้น ให้ครบ 2 จังหวะ แล้วจึงก้าว
..................
ขยับขึ้น ขั้นที่ 7
เพิ่ม ลมหายใจเข้าไป ทุกครั้ง ที่ก้าว
...................
ขวา หายใจเข้า, ซ้าย ก็ต้องหายใจออก
..................
อย่า คร่อมจังหวะในการก้าว, ถ้ามาคนเดียว จะทำได้ถูกหมด
ยกเว้น จะมาหลายคน เลยไม่รู้เรื่อง 
....................  
แต่อยู่กับความว่าง ทำด้วยความว่าง
ใช้ความว่าง เป็นกระบวนการขับเคลื่อน
ไม่มีอะไร ทำไม่ได้
.....................
อย่า ลืมลมหายใจ ทุกครั้งที่ก้าว
..................
หยุด อยู่กับที่
หลับตา, ว่าง ผ่อนคลาย เบาสบาย
.................
ว่าง อย่างรู้สึกตัว ทั่วพร้อม
เป็น ความรู้อย่างยิ่ง ไม่ใช่เลื่อนลอย ไม่ใช่เหม่อลอย
..............
ไม่ใช่ปิดบัง ไม่ให้รับรู้ แต่ รู้อย่างยิ่ง แล้ว จึงว่าง
................
อย่างยิ่ง นั้นคือ ภายในกาย
.................
รู้ว่า ในกาย ไม่มีอะไร แล้ว ว่าง
.................
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนว่า เรา คือ โลก, โลก คือ เรา, กาย คือ โลก, โลก คือ

กาย
รู้กาย ก็คือ รู้โลก, รู้โลก ก็คือ รู้ความว่าง
ถ้าเปรียบ กาย เป็น ความว่าง, มันก็คือ ว่างทั้งจักรวาล, ทั้งโลก
.................
หลับตา
....................
อย่าสนใจ ลมหายใจ
................
ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ มันจะเข้า จะออก ก็ปล่อยมัน
ถ้าไปยุ่งกับลมหายใจ ก็จะไม่ว่าง
..................
ค่อยๆ ย่อกายลงนั่ง อย่างเป็นผู้ว่าง
...................
อย่า ปล่อยให้แขกแปลกหน้า เข้ามาในโลกแห่งความว่างของเราเด็ดขาด
..................
เพราะ มันจะเข้ามาบ่อนทำลาย มันจะเข้ามาทำร้ายความว่าง
ในความว่าง ไม่มีความหิว ไม่มีความง่วง ไม่มีความเกียจคร้าน
ไม่มีความเปลี้ย ไม่มีความเพลีย ไม่มีความท้อแท้ ไม่มีความพ่ายแพ้
.................
ในโลกแห่งความว่าง ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่าง
อย่ายึดติด ในแสงสว่างที่ปรากฏ
ถ้าไปยุ่งกับมัน แล้วมันจะไม่ว่าง
....................
บางคน ยังไม่เข้าใจโลกแห่งความว่าง คิดว่า โลกแห่งความว่าง อยู่นอกกาย
ออกไปแสวงหา โลกแห่งความว่างนอกกาย
โลกแห่งความว่าง อยู่ภายในกาย, ค้นหาให้เจอ
..................
กลับเข้ามาดู ภายในกายตน
บอกแล้วไง รู้กาย รู้โลก รู้ว่าง
..................
ในความว่าง ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีสิ่งที่จับต้อง ไม่มีอุปกรณ์
ไม่มีแม้แต่ แสงสว่าง
.....................
ถ้าไปยุ่งกับมัน เราจะไม่ว่าง
ให้หลับตา ก็เพื่อให้เข้าถึงอย่างแนบแน่น
ไม่ใช่ ให้หลับตา แล้วไปค้นหาแสงสว่าง
....................
พอหลับตา แล้วก็สัดส่าย แสวงหารูป หาสิ่งที่จำเป็นต้องเห็น หรือ ต้องเห็นในสิ่งที่เราต้องการ

ซึ่งมันผิด
..................
ความว่าง ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต้องเห็น แต่เป็นที่จำเป็นต้องเข้าถึง
..................
ลืมตา แล้วใช้ความว่าง แผ่เมตตา ต่างคนต่างแผ่
เอาบทสวด ขึ้นมาสาธยายด้วยตัวเอง โดยไม่ให้แขกแปลกหน้า เข้ามาแทรกซ้อน
.................
เสร็จแล้วก็ กราบพระ ไปพัก
พรุ่งนี้ ตี 5 ตรง มาพร้อมกัน
.................
(กราบ)