13 พ ค 2555 15.30 น. ถอดซีดี ระหว่างฏิบัติธรรม โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 3 , ขั้นที่ 3 , ท่าเดิน ท่านั่ง
เอ้า เข้าที่ เตรียมปฏิบัติธรรม
ใครไม่เคยเลย ยกมือขึ้น ให้รุ่นพี่เค้าไปแนะนำ
ปฏิบัติธรรม
(กราบ)
ใครไม่เคยทำเลย ยกมือ ให้รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ ลูก
ทำขั้นที่ 1
............
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้ รวม 3 อย่างให้เป็นหนึ่ง อย่าว้าวุ่น อย่าสับสน อย่าเดินแต่
ซาก เดินพร้อมกายกับใจ
...............
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 3 ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ
..............
จดจ่อ จับจ้อง อย่าให้เคลื่อน แม้ครึ่งจังหวะ ก็ไม่พลาด
..............
ขยับขึ้นขั้นที่ 3 ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
................
กลับลงไปอยู่ขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
................
เค้นสติและปัญญา คือ สัมปชัญญะ เพราะขั้นนี้ จะเน้นสัมปชัญญะ
..............
ก้าวให้ทัน ทุกจังหวะเก็บให้หมด ไม่ว่าสั้นหรือยาว
...............
ขั้นนี้ เป็นขั้นที่ต้องปรับตัวเองทุกขณะ เฉื่อยชาก็ไม่ได้ เชื่องช้าก็ไม่ถูก
...............
ขยับขึ้นขั้นที่ 3 ใหม่
............
อย่าเลื่อนลอย อยู่กับสิ่งที่กำลังทำ
...........
อย่าฝึกให้เป็นคนหลอกลวง ตลบแตลง แม้โกหกตัวเอง ทำอะไรก็ให้มันจริงจัง
.............
คนไม่จริง ทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จ
.............
จะทำอะไร ต้องทำด้วยใจ อย่าทำแต่ซาก
..............
หยุดอยู่กับที่ หลับตา สูดลมหายใจเข้า ลึกๆ กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก เบา ยาว หมด
...............
หายใจเข้าไปใหม่ กว้าง ลึก เต็ม ช้าๆ อย่ารวดเร็ว อย่าพรวดพราด
หายใจออก ก็ขับไล่ความอัดอั้น ความว้าวุ่น ความร้อนรุ่ม ทุรนทุรายที่อยู่ภายใน ให้ออกมา
ให้หมดพร้อมกับลมหายใจที่พ่นออกแบบเบาๆ ยาวๆ ช้าๆ ให้หมด
แล้วก็สูดลมเข้าไปใหม่ ทำอย่างนี้อีก 2 ครั้ง ตรงไหนที่มันว้าวุ่น ร้อนรุ่ม ทุรนทุราย สับสน
วุ่นวาย เครียด ขมึงทึง ตึง ปวด ให้ออกมากับลมที่พ่นออก
หายใจเข้า ให้ลมผ่านจุดที่ปวด เมื่อย เปลี้ย เพลีย ระเหี่ย เครียด แล้วหายใจออก ก็ให้ขับไล่
ออกมาพร้อมกับลมที่ออก
....................
เอ้า ทีนี้ ทิ้งลมหายใจ ปล่อยให้ลมหายใจ มันจะเข้า ก็ปล่อยมันเข้า มันจะออก ก็ปล่อยมัน
ออก รู้สึกเอาไว้ภายในกายตน สำรวจดูซิ สมองว่างไม๊ โล่งไม๊
................
สมองว่าง โล่งไม๊ ตาหลับสนิทไม๊ ผ่อนคลาย หรือเกร็งหนังตา กล้ามเนื้อใบหน้าเครียด เกร็ง
ไม๊ สำรวจซิ กำลังเกร็งกล้ามเนื้อใบหน้า หรือปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย วางให้
หมด ริมฝีปากเมม เครียด เกร็งไม๊
รู้สึกทั่วกระโหลกศีรษะ ตึง เขม็งทึง ตึงเครียดไม๊ ผ่อนคลายให้หมด
มาถึงต้นคอ กระดูกคอ
...............
หัวไหล่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า ขยับซิ แขนเกร็งไม๊ มือกำหรือเปล่า
ตัวตั้งตรงไม๊ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ซ้ายหรือขวาหรือไม่ สำรวจซิ น้ำหนักตัวทิ้งที่ขา 2
ข้างเสมอกันหรือไม่ หรือยืนเหยียบไปข้างใดข้างหนึ่ง สะโพกบิดเบี้ยว เอียงไม๊
.............
ร่างกายตั้งตรง เป็นฉากกับพื้นหรือเปล่า ดูซิ คอก้มมากไปไม๊ หรือเงยมากไปไม๊ เอียงซ้าย
หรือเอียงขวาหรือไม่
.................
เอ้า ทีนี้ วาง แล้วว่างให้หมด
สมองว่าง กายว่าง กล้ามเนื้อว่าง ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ไม่กำ ไม่บิด ไม่เบี้ยว ไม่เครียด ไม่ตึง
ทุกอย่างในร่างกายผ่อนคลายหมด แม้ที่สุด ลมหายใจก็ปล่อยมันให้เป็นธรรมชาติ อย่าสนใจ
จะเข้า ก็ปล่อยมันเข้า จะออก ก็ปล่อยมันออก
เมื่อร่างกายว่าง อารมณ์ว่างไม๊ ยังสับสน ว้าวุ่น ร้อนรุ่ม ทุรนทุราย คิดถึงเรื่องใดๆ อยู่หรือ
เปล่า วางให้หมด
................
จิตล่ะ เมื่อวางอารมณ์ได้แล้ว มาดูจิต อารมณ์ตัวนี้ในมหาสติปัฏฐาน ท่านเรียกเอาไว้ว่า
เป็นธรรมารมณ์ ต่อไป ก็มาดูจิตตารมณ์ หรือ จิตตานุสติปัฏฐาน
จิตรู้ เต็มเปี่ยมไม๊ มีตัวรู้ชัดเจน หรือ ขมุกขมัว หรือ กำลังง่วงซึม หรือ ระแวงสงสัย
อะไรเกิดขึ้นกับจิต รู้แล้ว เฉยๆไม๊ รู้เฉย รู้ไม่ปรุง รู้แล้ววาง รู้แล้วไม่หยิบฉวย รู้ปล่อย รู้
ปล่อย รู้ปล่อย หรือเปล่า
รู้แล้วไม่ต้องคิด หูฟัง ก็ไม่เก็บมาคิด รู้ แต่ไม่คิด
..............
จิต มีตัวรู้ชัดเจนไม๊ ไม่มีอารมณ์อื่น นอกจากตัวรู้
...............
ใครที่คิดว่า ตัวเองไม่มีอารมณ์อื่นนอกจากตัวรู้ ก็ค่อยๆ ลดตัวลงนั่งอย่างเป็นผู้รู้ ไม่ให้ตัวรู้
เคลื่อนหลุดไปไหน นั่งแล้วยังต้องรู้ชัดต่อ ไม่มีอารมณ์ใดเสพ หรือเสวยอารมณ์ใดๆ เลย
ประคองตัวรู้เอาไว้ไม่ให้กระเพื่อม ไม่ให้ปรุงแต่ง
..................
รู้เฉยๆ ถ้ายังไม่รู้ ยังนั่งไม่ได้ ไม่รู้ นั่นหมายถึงว่า มีอารมณ์เข้ามาแทรก ง่วง สับสน ว้าวุ่น
ทุรนทุราย แสดงว่า ไม่รู้แล้วล่ะ ตัวรู้ พระพุทธะ ท่านดับไปแล้ว เราต้องการให้พระพุทธะ
เจริญเติบโตอยู่ในจิต แผ่พุทธานุภาพให้กว้างไกลขยายเกินกว่าจะประมาณได้อยู่ในจิต ยิ่ง
ใหญ่เหนืออานุภาพใดๆ ในจิต
รู้วาง รู้ว่าง รู้เฉย รู้ชัด รู้ไม่ปรุง รู้ไม่มีอารมณ์อื่นแทรก รู้เฉยๆ
รู้ต้องไม่ง่วง รู้ต้องไม่เปลี้ย รู้ต้องไม่เพลีย รู้ต้องไม่เจ็บ รู้ไม่ต้องปวด
ถ้ารู้แล้ว มีเจ็บ มีปวด มีเมื่อย มีเปลี้ย มีเพลีย แสดงว่า ไม่รู้ ต้องลุกขึ้นยืน หรือ ยังนั่งไม่ได้
ต้องรู้โดยปราศจากอารมณ์ใดๆ อย่างนี้ เรียกว่า จิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน หรือ จิตตานุภาพ
................
มีตัวรู้อยู่ชัดเจน รู้อย่างผ่อนคลาย รู้อย่างเสือยืนดูบนภู ที่สัตว์เดินผ่านไปมา หรือ รู้อย่าง
พระอาทิตย์ที่ส่องเหนือหัวเรา ซึ่งมีปกติเสมอต้น เสมอปลาย โดยไม่ทุรนทุรายต่อสัตว์ที่อยู่
ในโลก ไม่ว่าอ้อนวอน ทุรนทุราย เร้าร้อน ร้องขอ พระอาทิตย์ก็เฉยๆ มีหน้าที่แค่รู้ คือ
แสงสว่าง ในที่นี้ แสงสว่าง คือ ตัวรู้ ตัวรู้เปรียบดั่งแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์
รู้เฉยๆ ไม่มีอื่นใด
..............
รู้ให้ชัดแจ้ง คงตัวรู้เอาไว้ นั่นคือ รักษาพระพุทธะเอาไว้ให้อยู่กับเราได้ตราบยาว นานเท่า
นาน
...............
ความรู้ต้องยิ่งใหญ่ แผ่ไพศาลไปทั่ว ทุก 4 ห้องของจิต ทุก 4 ห้องของหัวใจ
...............
รู้ ไม่คิด รู้ ไม่ปรุง รู้ ไม่วิเคราะห์ รู้ ไม่ตรึก รู้ วาง รู้ วาง รู้วาง รู้ วาง
............
ใครที่โงกง่วง ทำไมไม่ลุกขึ้นยืน
นั่น เสียรู้แล้ว
..............
อย่าหลอกตัวเอง
หลอกตัวเอง ชั่ว หลอกคนอื่น เลว
.............
ทีนี้ เอาจิตตั้งไว้ที่กลางกระหม่อม
...............
รู้ อยู่ที่กลางกระหม่อม สำรวจที่กลางกระหม่อม ตรวจสอบที่กลางกระหม่อม ว่าปรากฏ
อะไรขึ้นที่กลางกระหม่อม
...............
ตามดู ที่กลางกระหม่อม ตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม รับรู้เฉพาะที่กลางกระหม่อม ไม่รู้เรื่องอื่น
นอกจากกลางกระหม่อม
..............
สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม
.............
อย่ารู้มากกว่ากลางกระหม่อม
...............
ค่อยๆ ยืนขึ้น อย่าให้เคลื่อนจากกลางกระหม่อม
................
ไม่มีสิ่งอื่น นอกจากกลางกระหม่อม
...............
ไม่ว่าจะนั่ง หรือ ยืน ก็อยู่ที่กลางกระหม่อม
...............
ไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรก ต้องเป็นเอกัคคตารมณ์ คือ อารมณ์เดียว อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ที่
เป็นเอก คือ กลางกระหม่อม
.............
ถ้ารู้อยู่กลางกระหม่อมเฉยๆ เป็นจิตตานุปัสนา
แต่ถ้ารู้สภาวะที่เกิดขึ้นกลางกระหม่อม เป็นธัมมานุปัสนา
สภาวะอะไรที่เวลานี้เกิดขึ้นกลางกระหม่อม คือ ปราณที่ปรากฏจากไอร้อนพวยพุ่ง ประดุจ
ดั่งพระเกศแห่งพระพุทธะ
...............
ไอร้อนที่พวยพุ่งขึ้นกลางกระหม่อม ดุจดั่งเกศแห่งพระพุทธะ
.............
อยู่กับไอร้อน ก็เป็นธัมมานุปัสนา ถือว่า เป็นสภาวะธรรม
................
ทีนี้ ออกเดิน รักษาจิตไว้ที่กลางกระหม่อม อย่าให้เคลื่อนเลื่อนหลุดไปไหน
เดิน ก็ต้องจิตตั้งไว้ที่กลางกระหม่อม ไอร้อนยังคงที่
..............
ถ้าจิตเคลื่อนออก ปราณหลุดเลื่อนออกไป ต้องหยุดอยู่กับที่ อย่าหลอกตัวเอง
..............
ยังรักษาจิตอยู่กลางกระหม่อมหรือไม่ หรือ เดินสักแต่ว่าเดิน ส่งเดช
แล้วมั่นคงไม๊ ถ้ามั่นคง ก็เดิน
แต่ถ้าไม่แน่ใจว่า มั่นคง ก็รักษาหยุดอยู่กับที่
.............
ทดสอบดูซิ จากกลางกระหม่อม เคลื่อนจิตมาอยู่ที่กลางฝ่ามือในขณะที่เดิน จะทำได้ไม๊
ทดลอง อย่าหยุด
หลวงปู่กำลังจะสอนให้เรามีธรรมะในขณะที่มีชีวิต ไม่ใช่รอให้ตาย หรือหยุดอยู่กับที่แล้วจึง
เกิดธรรมะ พระพุทธะต้องอยู่ได้ทุกขณะจิต
..............
เลื่อนจิตมาตั้งอยู่ที่กลางฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ซ้ายและขวา
ละจากกลางกระหม่อม มาอยู่ที่กลางฝ่ามือ ดูซิ จะทำได้ไม๊
...............
เหมือนดั่งคนที่แข็งแรง มีดาบอยู่ในมือ ไม่ว่าจะถืออย่างใด ก็สามารถทำลายศัตรูได้
..............
อย่าทำให้พระพุทธเจ้า เกิดเป็นเวลา พระพุทธเจ้าต้องเกิดทุกเวลา
อย่าทำให้พระพุทธะ มีขีดจำกัดเฉพาะอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง
พระพุทธะ ต้องไม่มีขีดจำกัดเลย ต้องอยู่กับเราได้ทุกอิริยาบถ ทุกที่ ทุกตำแหน่ง
...............
ทีนี้ หยุดอยู่กับที่
ดูซิว่า กลางฝ่ามือ พระพุทธะยังอยู่ไม๊
..............
ปราณพุ่งออกมาจากกลางฝ่ามือสมบูรณ์ไม๊ หรือ ขาดๆ เกินๆ เรารู้ชัด
ถ้ารู้ เป็นจิต
ถ้าสัมผัส เป็นได้ถึงไอร้อน เป็นธัมมานุปัสนา เพราะเป็นสภาวะธรรม
................
จะอยู่กับจิตดี คือ ตัวรู้ หรือ จะอยู่กับไอร้อนดี
ถ้าถามหลวงปู่ อยากให้มั่นคง ก็ต้องอยู่กับตัวรู้
ถ้าอยู่กับไอร้อน เดี๋ยวไอร้อนเคลื่อน จิตก็จะเคลื่อนตาม
คนฉลาดต้องหาที่ยืนอันมั่นคงสำหรับตน ฐานที่ตั้งอันมั่นคง และปลอดภัย ฉันใดก็ฉันนั้น
ผู้มีปัญญา จะรักษาจิตเป็นเอก สภาวะธรรมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
แต่จิตนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพราะจิต คือ ผู้รู้
ยกเว้น จะมี เจตสิก หรือ เครื่องปรุง มาเติมแต้มให้สี แสง เสียง ปรากฏขึ้นกับจิต แต่โดย
ธรรมชาติ คุณศัพท์ของจิต ไม่เปลี่ยนแปลง รู้ชัดเสมอ
ที่ไม่รู้ ก็เพราะว่า มันมีเครื่องมาแปดเปื้อน มีมลทินมาเกาะกุม เราใช้เวลาในการกำจัด
มลทินมานานพอสมควรล่ะ ตอนนี้ เราสำรอกจิต ปอกเปลือกออกล่ะ เหลือแต่ตัวรู้ และท่าน
ผู้รู้
..............
รู้ อยู่ที่กลางฝ่ามือ
..............
ให้ชัดเจน ชัดเจนจนมีความรู้สึกได้ว่า ไอร้อนที่มันปรากฏขึ้น หรือพุ่งออกมาจากกลางฝ่ามือ
มันสามารถดันกลางฝ่ามือ ให้มันขยับเขยื่อนได้ด้วยตัวมันเองโดยเราไม่ต้องขยับ มันจึงจะ
พัฒนามากลายเป็นปราณโอสถได้
....................
ออกเดิน แล้วเคลื่อนปราณ หรือไอร้อนมาอยู่ที่ปลายนิ้วชี้ 2 ข้าง
ห้ามยืนแล้วเคลื่อน ต้องเดินแล้วเคลื่อน ต้องทำให้ได้ ต้องฝึก
.............
เคลื่อนปราณมาอยู่ที่ปลายนิ้วชี้ 2 ข้าง ทำให้ได้ อย่าฝึกแค่นิ่งๆ ต้องฝึกให้มีชีวิต
............
จากกลางฝ่ามือ มาอยู่ที่ปลายนิ้วชี้
.............
ไม่มีเหตุผลใดที่คนมีธรรมะ แล้วจะมีพฤติกรรมที่ผิดปกติกับคนอื่นๆ
คนมีธรรมะต้องมีพฤติกรรมที่สมบูรณ์ สมบูรณ์แบบมากกว่าคนอื่น
เพราะฉะนั้น เดินเกร็งเป็นท่อนไม้ นั่นแสดงว่า เราผิดปกติ
................
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ คนเข้าถึงธรรมะ ก็คือ เข้าถึงธรรมชาติ
...............
ไม่มีเหตุผลที่จะดูแปลก กว่าธรรมชาติ ยกเว้น แสดงว่าเราไม่ถึงธรรมะ เราจึงเสแสร้ง หรือ
แกล้ง หรือ ระมัดระวัง จนกลายเป็นความเกร็ง นั่นแสดงว่า เรายังไม่ได้จับต้องธรรมะเลย
.............
ปลายนิ้วชี้ 2 ข้าง ห้ามเคลื่อนไปไหน
.............
ให้พุ่งออกมาอย่างน้ำก๊อก
................
หยุดอยู่กับที่
อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะยืน ไม่ว่าจะเดิน ไม่ว่าจะนั่ง นอน หรือวิ่ง ทุกอย่างต้อง
เสมอต้นเสมอปลายเป็นปกติ เรียกว่า วสี คือความช่ำชอง ความเชี่ยวชาญ และชำนาญ
ต้องทำให้ได้อย่างนี้ต้องฝึกให้ได้แบบนี้ เพราะมัจจุราชมันไม่เคยบอกเรา มาเตือนเรา
เภทภัยทั้งหลาย เวรกรรมทั้งปวงที่มีอดีตกรรม แม้ปัจจุบันกรรมที่มันจะให้ผล มันไม่เคย
ส่งสัญญาณเตือนเรา ถ้าเรามัวเมาประมาท รอวัน รอเวลา รอท่า รอกิริยา รออิริยาบถ รอ
โอกาส รอจังหวะ ซึ่งจริงๆ ผลแห่งกรรมและวิบากกรรม มันไม่เคยรั้งรอ แต่ถ้าเรามัวรอ ก็
แสดงว่า เราช้ากว่ามัน เราเสีย มันได้เปรียบ
งั้น เราต้องเตรียมการที่จะเผชิญกับมันทุกขณะ ต้องถือว่า ทุกขณะจิต ไม่ใช่ทุกอิริยาบถ
อย่างนี้ จึงจะสมกับคำสอนสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านทรงสอนพวกเราไว้ว่า เธอ
ทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
...............
เช่นนี้ ต่างหากเล่า จึงจะเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท
................
ยังอยู่ที่ปลายนิ้วชี้
................
เลื่อนจิตมาตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม
...................
ใครที่มั่นคงแล้ว ค่อยทรุดตัวลงนั่งอย่างเป็นผู้รู้อยู่เฉพาะกลางกระหม่อม อย่าให้เคลื่อน
................
พระพุทธะสถิตย์อยู่ที่กลางกระหม่อม รู้เฉพาะกลางกระหม่อม
..............
เพ่งจิตอยู่ที่กลางกระหม่อม ตั้งอยู่กลางกระหม่อม สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม ไอร้อนที่
พวยพุ่งขึ้นเปรียบประดุจดั่งพระเกศของพระพุทธะ
...................
พระพุทธะเปรียบดั่งธรรมโอสถ เป็นยารักษาได้ทุกโรคถ้าเราอยู่กับท่าน แม้แต่โรคภัยแห่ง
วัฏฏะ
..................
ขยับมารู้ที่ปลายจมูก หายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก เบา ยาว หมด
.............
อีกครั้งหนึ่ง
...............
อยู่ที่ปลายจมูกกับลมหายใจก็ต้องให้ชัดเจน ไม่ใช่ทิ้งบนกลางกระหม่อมไม่ได้ แสดงว่า ยัง
มีอาลัยอาวรณ์ นี่เป็นความเสียของจิต จิตที่มีอาลัยอาวรณ์ เค้าเรียกว่า จิตที่มีพันธนาการ
หรือมีโซ่ตรวน ต้องให้เฉียบคม ชัดเจน ไม่ใช่อ่อนแอ กลางกระหม่อม ก็คือ กลางกระหม่อม
เคลื่อนจากกลางกระหม่อมมาอยู่กับลม ก็ต้องชัดเจน
..............
ไม่ใช่รู้กลางกระหม่อมด้วย รู้ลมด้วย ไม่ใช่ นั่นไม่ถูกต้องแล้ว นั่นเป็นความอาลัยอาวรณ์
อ่อนแอและเป็นพันธนาการของจิตล่ะ
ยังตัดไม่ได้ อย่างนี้จะไปตัดราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ชาติ ภพ ชรา มรณะ
พยาธิ ได้อย่างไร แค่ตัดสภาวะธรรมที่เกิดกับจิตซึ่งเป็นกุศลจิต ยังตัดไม่ได้ เราฝึกมันมา
ทำไมเราจะตัดมันไม่ได้ เราสร้างมันให้เกิด ทำไมเราจะทิ้งมันไม่ได้
................
ต้องเด็ดขาด มั่นคง เฉียบคม กล้า แกร่ง ดั่งวัชระ พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง ทรงมีพระ
นามว่า พระวัชระปัญญา ก็เพราะท่านคมกริบ กล้า แกร่ง เฉียบคม มั่นคง ฉับไว ไม่เลื่อน
เลอะยืดยาด
อยู่กับลมหายใจ
หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
..............
สูดลมหายใจเข้า ลึกๆ กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก ผ่อนคลาย ยกมือไหว้พระกรรมฐาน ลืมตา แล้วเข้าที่
อืม จะ 5 โมงแล้ว เดี๋ยววิสาข กูจะเข่นมึงให้หนักกว่านี้อีก เพราะยืดยาดเหลือเกิน
จิตมันต้องฉับไว เฉียบคม ดั่งแสงสายฟ้า
ยังมาอาลัยอาวรณ์ อ่อนแอ เลอะเทอะ
...............
เตรียมตัวถวายทาน
หลวงปู่ให้พร
โชคดี ลูก ให้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ปลอดภัย ธรรมะรักษาทุกคน
กราบลาพระ อะระหัง สัมมา