27 เม ย 2555   11.00 -12.00 น.  รายการประเด็นข่าว ประเด็นธรรม  เอ เอส ทีวี โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ อาจารย์สามารถฯ และคุณก้องเกียรติ์ฯ
-  ขนมธรรมเนียมประเพณีไทย และการธุดงค์ที่แท้จริง

เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชนพุทธบริษัทผู้รับชมรายการประเด็นข่าวประเด็นธรรม คุณก้องเกียรติ พุทธรักษ์กิจ ผู้ดำเนินรายการ ท่านอาจารย์สามารถ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสตร์
คุณก้อง   สวัสดีครับ อาจารย์สามารถ
หลวงปู่     ที่จริง เราต้องเอาน้ำมาสาดกันนะเนี่ย
อาจารย์  โอ๋ เค้าสาดกันไปเยอะแล้ว
หลวงปู่   เพราะสงกรานต์เรายังไม่ได้สาดน้ำกันเลย
อาจารย์    เมื่อ 2 วันนี่ เค้ามีสาดในสภายิ่งกว่าน้ำอีก
หลวงปู่    อ้าว เมื่อวานนี้ ไม่เห็นเหรอ นายกฯยังไปรดน้ำ เดี๋ยวนี้เค้าไม่ให้คน คนรุ่นใหม่เค้าบอกว่า อย่าให้ใช้คำว่า รดน้ำ อ้าว รดน้ำนี่ มันอยู่คู่กับรดน้ำศพ มันใกล้กับคำว่า ศพ เค้าใช้คำว่า สาด
คุณก้อง   สาดน้ำดำหัวเนี่ยนะฮะ
หลวงปู่   เออ สาดน้ำดำหัว เค้าบอกว่า ถ้าใครมาพูดว่า เดี๋ยววันนี้ ขอรดน้ำหน่อยนี่ เค้าโกรธ
อาจารย์   รดน้ำดำหัวนี่เป็นคำเก่า ก็คือ ไปหยอดที่มือ
คุณก้อง   นอนหยอดหรือนั่งหยอด อาจารย์
อาจารย์    แต่สาดนี่ มันสาดทั้งตัว แต่นี่บังเอิญ นั่งหยอดนี่ เป็นรดน้ำดำหัว ถ้านอนหยอดนี่ มันคนละเรื่องนะ
หลวงปู่    ถ้ามีคนมาบอกว่า เดี๋ยว ขอรดน้ำหน่อยนึง เค้าโกรธนา ยิ่งคนแก่ๆ นี่บอก อืม กูยังไม่ตาย เค้าจะพันธุ์นี้
อาจารย์   โบราณ คนที่ถูกรดน่ะ นั่ง แล้วอ้ายคนรดน้ำคนตาย
หลวงปู่   มันพ้องกับคำว่า รดน้ำศพไง เค้าถึงบอกว่า เค้าไม่ให้ใช้ สมัยนี้ใช้คำว่า สาด
อาจารย์    งั้น รดน้ำสังฆ์ ก็ห้ามใช้สิ
หลวงปู่    รดน้ำสังฆ์ เดี๋ยวนี้ มีใครเค้ารดกันล่ะ
คุณก้อง   มีฮะ ประเพณีไทยยังมีรดน้ำสังฆ์อยู่นะฮะ
หลวงปู่     เหรอ รดน้ำสังฆ์ยังมีเหลืออยู่เหรอ ไม่รู้ ไม่เคยแต่งงาน ยังมีเหรอ ก็เห็นดึกๆ มันก็กระโดดขึ้นท้ายรถ เป็นแว๊นๆ ไปนี่ ยังได้รดน้ำอีกเหรอ เห็นจะไปรดน้ำศพอยู่ข้างถนน
อาจารย์   คือ เมื่อก่อน รดน้ำสังฆ์ก็ใช้ รดน้ำดำหัวก็ใช้ รดน้ำศพก็ใช้
หลวงปู่    อ้ายรดน้ำสังฆ์นี่ คำพ้อง มันเป็นคำสั้น พูดได้ชัดเจนว่า รดน้ำสังฆ์ แต่อ้ายรดน้ำดำหัว นี่มันเป็นคำสมาส
อาจารย์   ก็พูดได้ว่า ไปรดเพื่อขอพร
หลวงปู่   เค้าไม่ชอบล่ะ คนวัยนี้ ถ้าไปเปิด Internet บอก เดี๋ยวขอรดน้ำหน่อย เค้าโกรธ เค้าบอก ยังไม่ตาย ยังไม่แก่
คุณก้อง   เข้าใจความหมายว่าเหมือนกับ
หลวงปู่   เออ รดน้ำศพ
อาจารย์   ไม่ใช่ บังเอิญเจตนาไม่บริสุทธิ์ เจตนาของคนเข้าใจไม่บริสุทธิ์
หลวงปู่   งั้น ก็เลยบอก เดี๋ยวขอสาดน้ำผู้เฒ่าหน่อย คนเค้าก็จะมองอีกแหละ คนแก่เค้าก็จะบอกว่า เอ๊ กู้ป็นเพื่อนเล่นกับมึงเหรอ มึงมาสาดน้ำกู เออ ประมาณนั้น
อาจารย์   สาดน้ำนี่ เป็นการเล่นกันระหว่างวัยเดียวกัน วัยรุ่นกับวัยรุ่น
หลวงปู่   เออ ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน
อาจารย์   รดนี่ใช้กับผู้ใหญ่กับเด็ก
หลวงปู่   นั่นน่ะสิ ทีนี้ คนเค้าก็
อาจารย์    รดน้ำขอพร รดน้ำดำหัว ไม่ใช่ให้พรนะ ไปขอพรผู้ใหญ่
หลวงปู่   ไปขอผู้ใหญ่
 อาจารย์   ไม่ใช่รดน้ำให้พรนะ
หลวงปู่   ไม่ใช่สิ เดี๋ยวนี้ มันรดเสร็จแล้ว ขอให้อายุยืน สุขภาพแข็งแรง
อาจารย์   นั่น ผิดๆ  ต้องไปรดเสร็จแล้ว คนที่ถูกรดให้
คุณก้อง   ต้องให้ผู้ใหญ่ให้พร ไม่ใช่ให้เด็กไปอวยพร ขอให้แข็งแรงๆ
หลวงปู่   ให้พ่อแม่อายุยืน สุขภาพแข็งแรง
อาจารย์   ไม่ใช่
คุณก้อง   โดยธรรมเนียม คือ
หลวงปู่    ผู้ใหญ่ต้องเป็นคนให้พร เราควรจะคุยกันเรื่องนี้ ก่อนที่จะมีวันสงกรานต์ แต่นี่ถือว่า เป็นควันหลง เห็นท่านนายกฯ ไปรดน้ำท่านประธานองคมนตรี เลยมาคุยกันหน่อย
อาจารย์    รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ แต่รดน้ำให้พรนี่ ไม่เคยเห็นนะ
หลวงปู่    แล้วมันก็เลยมีข่าวออกมาทาง Net ทางสื่อสาร บอกว่า วันนี้ ท่านนายกฯ ไปรดน้ำท่านประธานองคมนตรี แล้วเค้าก็ อ้าว ตกใจ เค้าก็มีคำว่า อุ๊ย ไปแล้วเหรอ
อาจารย์   มันต้อง รดน้ำดำหัว
คุฯก้อง   คนที่ตกใจ คือ กลุ่มพวก น ป ช เสื้อแดง
หลวงปู่   ไม่รู้ เค้าใช้คำนี้ไง เค้าบอก อุ๊ย ไปแล้วเหรอ
อาจารย์    ผมบอกแล้วว่า เป็นพวกเจตนาไม่บริสุทธิ์
หลวงปู่    ก็เลยเอามาคุยให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้ เค้าแปลคำว่า รดน้ำดำหัว กลายเป็นรดน้ำศพ อย่างนั้นชั้นก็ต้องใช้คำว่า เดี๋ยวขอสาดน้ำหน่อย
คุณก้อง   ก็คืออยู่เจตนา เจตนาดี ก็รดน้ำดำหัว
อาจารย์   โบราณนี่ ตอนเช้าเค้าไปวัดกัน ไปรดน้ำผู้ใหญ่ขอพร พอตกบ่ายก็สาดน้ำกัน มันแบ่งเวลากัน
หลวงปู่    เออ พอไปวัด เค้าก็ใช้คำว่า สรงน้ำพระ พอมาถึงบ้าน ก็รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้ เค้ายอมรับไม่ได้ เค้าบอกว่า รดน้ำนี่เค้าเอามาใช้กับรดน้ำศพ
อาจารย์    มันต้องพูดให้จบ รดน้ำสังฆ์ รดน้ำดำหัว รดน้ำศพ
หลวงปู่   อ้าว มันมีคำสมาส  มันไม่พูดคำสมาสไง เดี๋ยวนี้ เค้าใช้คำสั้นๆ
อาจารย์   ชอบสั้นๆ
คุณก้อง   แต่ตีความหมายผิด คือ ตีเพื่อรดที่จะส่งแล้ว
หลวงปู่    เป็นควันหลงหลังสงกรานต์
อาจารย์    เดี๋ยวนี้ คนชอบบิดเบือนนะ บิดเบือนเพื่อประโยชน์ตัวเอง แล้วก็บิดเบือนไปถึงพระวินัยของพระปัจจุบัน ก็ใช่นะ
หลวงปู่   เออ ใช่ๆ พูดถึงเรื่องธุดงค์ล่ะนะ
คุณก้อง   ทำไมฮะ
หลวงปู่   การธุดงค์นี่ โดยหลัก เค้าหมายถึง การที่หลีกลี้ออกจากหมู่ ไม่เกาะเกี่ยว ไม่ส้องเสพในหมู่คณะ แม้ว่าไปเป็นฝูง เป็นกลุ่ม นี่เค้าก็ไม่ถือว่า ธุดงค์นะ
คุณก้อง   อย่างที่ผ่านมานี่ เรามีกิจกรรมการธุดงค์พระล้านองค์ทั่วประเทศไทย
หลวงปู่    คือ พวกนี้ ธุดงค์แล้วจะขาวน่ะ นี่ชั้นไปธุดงค์มา นี่ชั้นดำไม๊ล่ะ
คุณก้อง   เข้าป่าใช่ไม๊ฮะ
หลวงปู่    ใช่
อาจารย์   ธุดงควัตร แปลว่า วัตรปฏิบัติของพระ 13 ข้อ
หลวงปู่   ใช่ เรียกว่า ธุดงค์ 13
อาจารย์   ใช่ แต่ละข้อ ก็จะมีความหมายเฉพาะ
หลวงปู่   ใช่  หลักการของการธุดงค์ โดยหลักตามพระบาลี ท่านหมายถึง การเผากิเลสให้เร่าร้อน
อาจารย์   ถูกต้อง
คุณก้อง   ความหมายเนี่ยเหรอฮะ
หลวงปู่   ใช่ เผากิเลสให้เร่าร้อน ทำให้กิเลสเบาบาง แล้วก็ทำจิตนี้ให้ผ่องแผ้ว นั่นคือ หลักการในการธุดงค์ แล้วธุดงค์ที่ห้ามเด็ดขาดเลย คือ ห้ามรับเงินและทอง แล้วห้ามแสดงอวดโฆษณา หรือ ประชาสัมพันธ์ หรือบอกกล่าวให้คนรับรู้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ท่านปรับอาบัติทุกกฏ
คุณก้อง    เอ้า เดี๋ยวจะมาขยายความหมายของคำว่า ธุดงค์ 13 เป็นหลักปฏิบัติที่หลวงปู่บอกว่า เป็นการเผากิเลสให้เร่าร้อน แล้วเดี๋ยวจะมีภาพประกอบ มีล่าสุดของล่าสุด คือ กิจกรรมของการบิณฑบาตรเนี่ย คือ การพัฒนาหรือการบิดเบือนหรือเปล่า ไม่รู้ เปลี่ยนรูปแบบจากมนุษย์ตัวเป็นๆ กลายเป็นสร้างเหมือนหุ่นที่วิ่งผ่าน
หลวงปู่    อ๋อ นั่นก็เป็นการบิดเบือนอย่างที่ท่านผู้เฒ่าว่าแหละ
อาจารย์   บิดเบือน กระบวนการบิดเบือน อาศัยเรียกว่า ศรัทธาพาณิชย์
หลวงปู่    เออ ศรัทธาพาณิชย์ ศรัทธาอาศัย
คุณก้อง    เดี๋ยวพักซักครู่ฮะ เดี๋ยวมาดูกันว่า มันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้จริงๆ หรือเปล่า แล้วมาวิเคราะห์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ทำที่ภูกต้อง ควรเป็นอย่างไร พักกันสักครู่ครับ
ช่วงที่ 2
คุณก้อง   ปัจจุบันการธุดงค์ อย่างที่ก่อนหน้านี้ เราเห็นก็คือ เป็นพระบิณฑบาตร แล้วก็เข้าไปสู่ตามป่า หรือตามพื้นที่ต่างๆ แต่ล่าสุดนี่ จะเป็นลักษณะพระธุดงค์เข้าสู่เมืองคอนกรีต และล่าสุด เข้าสู่ภาพนี้ฮะ
หลวงปู่    ภาพนี้ คือ ภาพอะไร
คุณก้อง    ภาพนี้ คือ ภาพจำลองของพระธุดงค์ แล้วก็มีรางสำหรับลาก แล้วก็ให้เด็กๆ โปรยกลีบกุหลาบ เหมือนอนุโมทนากับกิจกรรมครั้งนี้
หลวงปู่   เพื่ออะไร
คุณก้อง   ก็ไม่ทราบเหมือนกันฮะ คือภาพปรากฏสะท้อนว่า อาจจะนำธรรมะไปให้เด็ก ให้รู้สึกว่า พระมาแล้วนะ พวกเราต้องชื่นชม
หลวงปู่   เดี๋ยวนี้ พระเป็นตัวเป็นตนแท้ๆ ไม่มีแล้ว ต้องเป็นรูปภาพแบบนี้ แบบจ่าเฉยน่ะ อย่างนั้นเหรอ
คุณก้อง   อ๋อ นี่ พระเฉย
หลวงปู่   อืม พระเฉย
อาจารย์   จริงๆ ผมว่า พระแบบนี้ ดีกว่าพระที่เป็นนะ
หลวงปู่   เพราะ
อาจารย์   เพราะ 1 ไม่มีกิเลส
หลวงปู่   อืม ใช่
อาจารย์    1. ไม่มีกิเลส ตัวพระนะ ตัวหุ่น
หลวงปู่    2. คือ ไม่ต้องขอที่เยี่ยว
อาจารย์    2. ไม่ต้องวุ่นวายกับชาวบ้านเค้า
หลวงปู่    เพราะเวลาไปที่เค้าปิดๆ ถนนน่ะ ชาวบ้านแถวนั้น เค้ามาบ่นให้ฟังน่ะ เดี๋ยวๆ พระก็มาขอเข้าห้องน้ำหน่อย ๆ ก็ดีไปอย่างหนึ่ง มองในมุมดีนะ อย่าไปมองในมุมไม่ดี แต่ถ้ามองในมุมของพระธรรมวินัย ก็น่าเศร้าด้วยเหตุปัจจัยว่า การแสดงออกซึ่งการเป็นธุดงค์เนี่ย มันหมายถึงการที่แบ่งเบา คือ ทำให้ผ่อนปรนกิเลสที่หมักดองให้น้อยลง โดยความหมายหลัก ก็คือ การเผากิเลสให้เร่าร้อน ผ่อนปรนให้กิเลสน้อยลง กำจัดสิ่งที่เป็นปฏิกูลพึงรังเกียจ เรียกว่า อาสวะภายในสันดานให้หมดสิ้น แล้วก็ทำให้จิตนี้สงบระงับ
คุณก้อง    ทำไมถึงต้องไปธุดงค์ฮะ
หลวงปู่   เค้ามีคำว่า ตบะ
อาจารย์   คำหนึ่งนะที่เกี่ยวข้องกับธุดงค์ โดยตรงเลยนะ คือ มักน้อย
หลวงปู่   อืม
อาจารย์   พระธุดงค์นี่ ต้องมักน้อยนะ แล้วตามมาอีกข้อคือ สันโดษ
หลวงปู่   อืม
อาจารย์   ถ้าพระธุดงค์ไม่มักน้อยนะ ไม่สันโดษ ไม่เป็นธุดงค์นะ
หลวงปู่    ใช่
อาจารย์   เพราะฉะนั้น ธุดงค์ต้องไม่มักมากด้วยกิเลสที่หลวงปู่บอกว่า คนจะไปย่างกิเลสได้ ต้องเริ่มจากไม่แสวงหาก่อน
หลวงปู่   เออ ไม่แสวงหา แล้วก็ทำกระบวนการที่สำรอกกิเลสเก่าให้หมดไป
อาจารย์   กิเลสที่มีอยู่เก่าก็ลดลง กิเลสที่มีอยู่ใหม่ ไม่สร้างเพิ่ม ว่างั้นเถอะ
หลวงปู่   เออ
อาจารย์   แต่นี่ไม่ใช่น๊ะ
หลวงปู่    เออ แล้วมันก็มีอีกวลีหนึ่ง เค้าเรียกว่า บำเพ็ญตบะ เพราะมันอาจจะก้ำกึ่งไปทางพราหมณ์ ทางฮินดูมากไปหน่อย
อาจารย์   คือ ตบะเนี่ย ในโบราณเดิมจริงๆ แปลว่า ย่าง แปลว่า เผา ทำให้กิเลสหมดไปด้วยการย่าง ด้วยการเผา ด้วยการทรมาน
คุณก้อง    เรียกว่า ตบะย่าง หมูตบะ
อาจารย์   งั้น ย่าง คือ การทรมานตน
หลวงปู่    เสียดายว่า ก้องอยู่ฝั่งนู้นนะ ถ้าอยู่ใกล้ๆ อาจจะมีรายการมวย ไปเอามาใช้ได้ยังไง หมูตบะ
อาจารย์   เป็นการทรมานตนไง
หลวงปู่   เออ ใช่ แต่ว่า อ้ายกระบวนการทรมานตนที่พระพุทธศาสนานิยมและยอมรับ ก็คือ มีอยู่ 13 วิธี อ้าย 13 วิธีนี้ นี่ ชั้นต้องขออนุญาตเปิดตำราหน่อย เค้าบอก ปฏิกูลติกังคะ คือใช้เสนาสนะ หรือที่อยู่อาศัย บริขารที่เป็นของเศร้าหมอง คือ ของกาวาว ของใหม่ๆ จีวรสีสดๆ นี่ เค้าจะไม่ใช้ เรียกว่าปฏิกูลติตังคะ
อาจารย์    งั้น ก็สวนทางกับที่แบกกลด กลดก็ใหม่ จีวรก็ใหม่ บาตรก็ใหม่สิงั้น
หลวงปู่    นั่น ดงไหนก็ไม่รู้
คุณก้อง   โยมถวายแล้ว เอามาใส่ หรือว่า ต้องทำให้เก่าก่อน
หลวงปู่    ไม่ใช่ พระธุดงค์เนี่ย เค้าจะต้องมีกำหนดพระวินัยว่า ต้องไม่ต่ำกว่า 5 พรรษาขึ้นไป
อาจารย์    1.  5 พรรษา  2. จำปาติโมกข์ศีลได้
หลวงปู่   เออ แล้วก็มีครุธรรม 8 ประการ ให้ครบสมบูรณ์ในขณะเดียวกัน รู้จัก เค้าเรียกว่า อินทรีย์สังวรณ์ สำรวมสังวรณ์ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  เพราะฉะนั้น กระบวนการธุดงค์ ไม่ใช่อยู่ดีๆ บวชวันนี้ พรุ่งนี้ออกธุดงค์ ไม่ใช่ ไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วไปแบกกลด
2  ก็คือ เตจีวริกังคะ ก็คือ การถือผ้าครบแค่ 3 ผืน เกินกว่านี้ไม่ได้
อาจารย์   คือ ไม่มีอดิเรกจีวร
หลวงปู่     เออ ไม่มีอดิเรกจีวร
3 ก็คือ ปิณฑปาติกังคะ ก็คือ บิณฑบาตรในทางที่ไม่ซ้ำซ้อน ในทางที่ไปทางเดียว ไม่รวนเร แล้วก็ไม่บิณฑบาตรในหมู่ที่เป็นตลาดจอแจ คือ ไม่เข้าไปในที่ๆ เค้าเรียกว่า อะไร อโคจร
อาจารย์    อรรถคถาอธิบายชัด บอก บิณฑบาตรเป็นไปตามลำดับศอก คือ ไปทางเดียว
หลวงปู่   เออ ไปทางเดียว แล้วก็เดินเป็นแถว แล้วก็ตามหลักอาวุโส แล้วไม่ไปในที่อโคจร อโคจร ก็คือ ที่ๆ มันเจ๊าะแจ๊ะ จอแจ เป็นตลาด เป็นร้านค้าที่เป็นชุมชนเยอะแยะ
อาจารย์    แล้วเยาวราชนี่ เป็นอโคจรหรือเปล่า
หลวงปู่    เยาวราชนี่ มันที่พระจร
คุณก้อง   เค้าบอกว่า เผยแผ่ธรรมสู่ป่าคอนกรีต
อาจารย์   นี่นะ ผมเห็นนะ
หลวงปู่   ทำไม
อาจารย์    เล่นสะพานควายอย่างนี้ วงเวียนใหญ่อน่างนี้
หลวงปู่    เหรอ เอ้า ข้อที่ 4 สปทานจาริกังคะ ก็คือ เที่ยวจาริกไปในลำดับบ้าน ก็อย่างที่บอกว่า ไม่ได้เป็นเมือง ในลำดับบ้านที่เป็นชนบท เป็นคามนิคม ละเว้นบิณฑบาตรซ้ำที่เดิม หมายถึงว่า
คุณก้อง    เส้นนี้ไปแล้ว ไม่ไปอีก
หลวงปู่   ไม่ไปอีก เออ เส้นนี้ไปแล้วเมื่อวาน วันนี้ต้องไม่เข้าที่นี้ แล้วก็ต้องไปเปลี่ยนเส้นใหม่
อาจารย์   เจตนารมณ์เพื่ออะไร หลวงปู่
หลวงปู่    เพื่อไม่ติดในรสและลาภ ไม่ติดในตระกูล ไม่หลงอยู่ในคำสรรเสริญ เยินยอ เพราะว่าไปซ้ำ อุ๊ย พระคุณเจ้า ข้าพเจ้ามาแล้ว ก็หลงอยู่ในคำสรรเสริญเยินยอ
อาจารย์   แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่นี่  วันแรกไปโปรยศรัทธา วันที่สอง ไปเก็บเกี่ยว วันที่สาม อยู่ทวงคืนเลย
หลวงปู่    พูดอย่างกับไปปล่อยดอก
อาจารย์   อ้าว จริงๆ หลวงปู่ วันแรกไปโปรยศรัทธาก่อน ทำให้คนศรัทธาก่อน วันที่สอง แน่นอน คนมารอแล้ว ใช่ไม๊
หลวงปู่   อ้ายอย่างนี้ เป็นอาบัตินะ
อาจารย์   ก็เป็นสิ
หลวงปู่   เป็นอาบัติทุกคำกลืนเมื่อได้ลาภมา แล้วผู้ที่ไปยังไม่ได้ลาภมา หรือกำลังจะได้ลาภมา ยังไม่ได้เสพ ยังไม่ได้ฉัน ก็เป็นอาบัติทุกกฏ
อาจารย์   แล้วยิ่งกว่านั้น บางรายนะ มีรถนำหน้าเลย โฆษณา
หลวงปู่    อ้าว ถ้าอย่างนั้น เค้าไม่เรียก ธุดงค์ เค้าเรียก ท่องเที่ยว ตามพระวินัย ธุดงค์ต้องประกอบไปด้วย ปัตติวัตร สหธรรมิกวัตร รัตนวัตร โกสินวัตร โภชนะปัตติสังยุต และ เสนาสนะวัตร (?) มีวินัยหลายหมวดมาก กำกับดูแล
อาจารย์    ก่อนพระมา 1 วัน หรือ 2 วัน โฆษณาซ้ำซาก พระจะมาทางนี้ ผิดไม๊
หลวงปู่    อ้ายอย่างนั้น เค้าไม่เรียก ธุดงค์
อาจารย์   เค้าเรียกอะไร
หลวงปู่    เค้าเรียก ออกหาเหยื่อ
อาจารย์   อ๋อ
คุณก้อง   โอ้โห
หลวงปู่   ชัดๆ   ข้อ 5 เอกาสนิกังคะ ก็คือ ละเว้นเสนาสนะที่ 2 ผู้ที่ถือธุดงค์ จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี จะอยู่เสนาสนะที่ 2 ไม่ได้ คือ ที่นั่งก็มี 2 ที่ไม่ได้ มีที่พักก็มี 2 ที่ไม่ได้  นอนก็นอน 2 ที่ไม่ได้ คำว่า เสนาสนะเดียว ก็คือ เราถืออยู่กลด ก็อยู่กลดตลอดเวลา จะว่า เออ ฝนตก เข้าที่มุงที่บัง เออ แดดร้อน วิ่งเข้าห้องแอร์ ไม่ได้ ต้องอยู่แต่ในกลดอย่างเดียว หรือไม่ก็อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะอยู่ในคูหา ในถ้ำ ก็ต้องอยู่ในคูหา ในถ้ำอย่างเดียว หรือจะอยู่ใต้ร่มโพธิ์ ร่มไม้ ก็อยู่แต่ร่มโพธิ์ ร่มไม้ อย่างเดียว จะไปอยู่ร่มอื่นๆ ไม่ได้
อาจารย์   อันนี้ เค้าป้องกันอะไร หลวงปู่
หลวงปู่   ก็ไม่ให้มักมากไง ไม่ให้ไปติดสบาย
อาจารย์   เรื่องมักน้อย สันโดษ
หลวงปู่   เออ ไม่ให้ติดในที่ ไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
6. ปัตตปิณฑิกังคะ คือ อาหาร สมาทานเฉพาะในบาตร คือ ฉันเฉพาะในบาตร มันจึงมีคำว่า              ปัตตวัตร เข้ามาร่วมไง แล้วก็มีการรักษา มีวัตรสำหรับรักษาบาตร วิธีรักษาบาตร ถนอมบาตร ย่างบาตร ตากบาตร เช็ดบาตร ล้างบาตร
อาจารย์    อันนี้เป็นที่มาของคำว่า เถรส่องบาตร พระธุดงค์ เช้าขึ้นมาส่องดูว่า มีรอย เข้าออกได้ไม๊ เข้าออกได้ก็ผิดพระวินัย
หลวงปู่   บิณฑบาตรไม่ได้
อาจารย์   ทีนี้ อ้ายลูกแถวเห็นพระส่อง ก็ส่องบ้าง แต่ไม่รู้ส่องทำไม
หลวงปู่    ก็ยังเรียนไม่ถึงไง ยังเรียนไม่สูง แต่ที่จริงแล้วเค้าฉันบิณฯในบาตร มันมีทั้งอาหารสด อาหารแห้ง อาหารน้ำ อาหารเปียก เพราะฉะนั้น ถ้าบาตรมันรั่ว มันก็จะเปื้อนผ้า แล้วก็ไปนั่ง มันก็จะหกไหลเยิ้ม มันเลอะเทอะ
อาจารย์    แล้วเจตนาฉันในบาตร คลุกกันหมด มันคืออะไร
หลวงปู่     ก็เพื่อไม่ติดในรสอาหาร แล้วก็ไม่ติดอยู่ในความปรุงแต่ง
อาจารย์    แล้วมันรวมไปถึงปฏิกูลสัญญาด้วยหรือเปล่า
หลวงปู่   ใช่ มันอยู่ในขั้นเจริญกรรมฐานข้อว่าปฏิกูลบรรพ ก็คือ พิจารณาความปฏิกูลพีงรังเกียจทั้งภายในกายและนอกกายของตน เพราะฉะนั้น กระบวนการธุดงค์ มันจึงเป็นที่มาของการเผาและย่างกิเลสให้เร่าร้อน
อาจารย์    นี่กำลังเผานะ
หลวงปู่   เอ เผาตัณหา เผาความอยาก
คุณก้อง    อันนี้ ท่านบอกว่า เอาของบิณฑบาตรไปให้ผู้ประสบภัยทางภาคใต้
หลวงปู่     เอ้า ไม่เกี่ยว อันนั้นไม่ใช่ธุดงค์ อย่ามาเรียกคำว่า ธุดงค์ เพราะฉะนั้น คนที่ทำเรื่องพวกนี้ แล้วผิดหลักการเหล่านี้ กำลังทำให้วิถีแห่งการย่างกิเลส กลายเป็นเหมือนกับพอกพูนกิเลส ซึ่งมันผิดหลักการของพระธรรมวินัย พูดให้ชัด แล้วมันจะทำให้คนชั้นหลังๆ เค้าจะเข้าใจได้ว่า เออ ธุดงค์ ก็ออกไปตามตลาด ตามข้างถนนนซึ่งมันไม่ใช่ เพราะแม้ที่สุด ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เว้นรับประทานอาหารที่เหลือ ละเว้นการรับประทานอาหารให้เหลือ ก็คือ ได้มาเท่าไหร่ ฉันให้หมด เค้าก็จะบิณฑบาตรเฉพาะพออาหาร ไม่ไช่เผื่ออย่างที่คุณบอกว่า ไปเผื่อคนนั้น ไปเผื่อคนนี้ ไม่ได้
อาจารย์    คือ บิณฑบาตรพอฉันหมด ว่างั้นเถอะ
คุณก้อง   แล้วถ้าเกิดโยมมายืนแถวรอ
หลวงปู่    ปิดบาตรทันที
คุณก้อง   ถือว่าปิดบาตร ไม่รับล่ะ
หลวงปู่   สมัยที่ชั้นถือธุดงค์เนี่ยนะ ชั้นไป 2 บ้าน ชั้นก็กลับแล้ว วันนี้ไปแถวนี้ พรุ่งนี้ไปแถวนั้น  สองบ้าน เราก็คำนวณว่า เออ กระเพาะเราแค่นี้ กินมื้อนี้ พอ
คุณก้อง    แต่โยมบอก โปรดด้วยเถอะ หนูเตรียมไว้
หลวงปู่    อ้าว ไม่ได้ เราย่างกิเลสเรา เราไม่ได้ตามใจโยม แล้วอ้ายประมาณบอกว่า บิณฑบาตรแล้ว ไปเลี้ยงภาคใต้ เลี้ยงภาคเหนือ ภาคอีสาน อันนั้น ไม่ใช่ธุดงค์ เค้าเรียกว่า แสวงหาเหยื่อ แสวงหาลาภ
ทีนี้ข้อที่ 8 อรารัญญิกังคะ มีที่จะถือธุดงค์ จะต้องละเว้นจากบ้านอย่างน้อย 500 ช่วงธนู
อาจารย์    มันเท่าไหร่ หลวงปู่
หลวงปู่    1 กิโล
คุณก้อง    หมายถึงว่า พื้นที่ที่พักอาศัย
หลวงปู่    ไม่ การจาริก การดำรงชีวิต การเป็นอยู่ พูดง่ายๆ คือ จะต้องไม่ระคนกับหมู่คณะ ไม่แสวงหาสังคมที่จะอยู่ จะต้องเป็นเหมือนกับที่ท่านผู้เฒ่าบอกว่า ต้องสันโดษ ยินดีในเสนาสนะอันสงัดเงียบ
อาจารย์    เค้าเรียก กายวิเวก
หลวงปู่   เออ เรียกว่า มีกายวิเวก แล้วจึงจะมีจิตวิเวก และถึงอุปธิวิเวก เพราะฉะนั้น คนถือธุดงค์ ต้องมีวิเวก 3 นี้
อาจารย์   ถ้าไปคลุกคลีหมู่คณะ ก็กายวิเวกไม่ได้แล้ว
หลวงปู่    เมื่อกายไม่วิเวก จิตมันจะเอาวิเวกมาจากไหน
อาจารย์   อุปธิวิเวก ไม่ต้องพูดถึง
คุณก้อง    ถ้ามากันเป็นขบวน ธุดงค์แล้ว มีรถสปอตนำหน้า
หลวงปู่    อ้าวอย่างนั้น ไม่วิเวกแล้ว อ้ายอย่างนั้น เค้าเรียก โฆษณาชวนเชื่อ เค้าเรียกว่า ประกาศประชาสัมพันธ์ขายศรัทธา โฆษณาชวนเชื่อ
อาจารย์     เรียกแบบสมัยใหม่ ได้ไม๊ หลวงปู่
หลวงปู่    เอาอะไรมาเทียบ
อาจารย์    ก็ตั้งลัทธิใหม่ได้ ก็ตั้งธุดงค์ใหม่สิ ไม่เห็นเป็นไรนี่
หลวงปู่    เหม ก็ธุดงค์นี่ มันเป็นวินัย ผู้เฒ่า
อาจารย์   ก็เค้าตั้งลัทธิใหม่ได้ เค้าก็ตั้งธุดงค์ใหม่ได้
หลวงปู่    อ้าว ตั้งลัทธิใหม่ ไม่ว่ากัน คุณก็เป็นศาสดาเอง อย่ามาอ้างว่า นี่คือ พระพุทธเจ้า
อาจารย์   อุ๊ย ไม่ได้อีก
หลวงปู่    ไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ คนอื่นจะมาสอนมากกว่าพระพุทธเจ้า ก็ต้องเป็น
พระพุทธเจ้าเสียเอง
อาจารย์    อย่างนี้ ผิดนะ การกล่าวตู่พระพุทธเจ้า อ้างคำสอนพระพุทธเจ้าสอนว่า เป็นของตัว อ้างคำสอนแล้วอ้างตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้นะ
หลวงปู่   ก็อยากจะบอกว่า ใครก็ตามที่พยายามทำให้การธุดงค์โฆษณาชวนเชื่อ หรือ ธุดงค์หาเหยื่อ หรือธุดงค์แสวงหาลาภ หรือ ธุดงค์เพื่อให้เกิดรูปแบบงดงามเนี่ย มันผิดหลักการศาสนาโดยตรง แล้วจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คนชั้นหลังๆ เข้าใจว่า พระธุดงค์ต้องมีวิถีชีวิตอย่างนี้
อาจารย์    อันนี้เค้าจะสร้างลัทธิใหม่หรือเปล่า
หลวงปู่     ก็ทำลาย ไม่ใช่สร้าง ทำลายของเก่า
อาจารย์   สร้างของใหม่มาแทนไง
หลวงปู่    ของใหม่ยังไม่รู้จะอยู่รอดไม๊
อาจารย์    รอดไม่รอด เค้าก็สร้างไปแล้ง
หลวงปู่   เอ้า มาถึง รุกขมูลิกังคะ อย่างที่ว่า อยู่ในที่มุง ที่บัง เช่น ถ้ำ กุฏิ เสนาสนะ คือ อธิษฐานอย่างไร ให้อยู่ที่นั่น ตรงนั้น อยู่ที่เดียว ห้ามเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะอธิษฐานว่า จะอยู่ที่นี่ 3 วัน 7 วัน 15 วัน เมื่อครบแล้วจึงจะไปใหม่ อย่างนี้เป็นต้น
ข้อ 10 อัพโภกาลิกังคะ ละเว้นในการเข้าที่มุงที่บัง และใต้ต้นไม้ที่ไม่ได้สมาทาน
อาจารย์    แสดงว่า ถ้าไม่ได้ตั้งใจไว้ ก็ห้ามไป
หลวงปู่     ใช่ คุณไม่ได้สมาทาน เอ้า ฝนตก ขอหลบหน่อยนะโยม อุ๊ย ร้อนจัด ขอเข้าห้างหน่อยนะโยม อย่างนี้ ไม่ได้
อาจารย์    คำว่า สมาทานต้องเข้าใจนะ สมาทานคืออะไร
หลวงปู่    คือ สัจจะ
อาจารย์   คือตั้งใจไว้ว่า จะทำอย่างไร ต้องทำอย่างนั้น เรียกว่า สมาทาน
หลวงปู่    คุณต้องทำอย่างนั้น
คุณก้อง   โอ้โห อย่างนี้ ไม่ใช่ธุดงค์ ร้อนๆ ไปนั่งริมน้ำ
หลวงปู่   ไม่ได้ คุณจะอยู่ คุณบอกว่า สมาทานที่จะอยู่ในที่มุงที่บัง อันเป็นกลดของคุณ แม้ร้อนให้ตาย ฝนให้ตก คุณก็ต้องอาศัยกลดคุณอยู่
อาจารย์    คำว่า สัจจะเนี่ยนะ
หลวงปู่    จะไปแวะเข้าชายคา ชายหมู่บ้าน จะใต้ถุนบ้าน ใต้ตึก ไม่ได้
คุณก้อง    การจัดขบวนการเดิน
หลวงปู่     ไม่ได้เลย ไม่ได้เด็ดขาด
อาจารย์   ถ้าถือธุดงค์ข้อนี้นะ
หลวงปู่    เออ ถ้าถือธุดงค์ข้อนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ คือ คนที่ถือธุดงค์
1. ต้องมีสัจจะต่อตัวเอง และมีสัจจะต่อพระธรรมวินัย
2. ซื่อตรง
มีสัจจะและความซื่อตรง
แล้วข้อ 11 โสสานิกังคะ ละเว้นจากสถานที่ที่ไม่เปลี่ยว ให้อยู่ในที่เปลี่ยวเท่านั้น แล้วอ้ายที่ไปแถวที่อะไรนะ ท่านผู้เฒ่าว่า
อาจารย์    เยาวราชไง สะพานควาย วงเวียนใหญ่
หลวงปู่   อันนั้น เปลี่ยวใจ
อาจารย์   ไม่เปลี่ยวได้ไง ไปได้ไง
หลวงปู่    เปลี่ยวใจ เค้าเปลี่ยวใจ เค้าจึงไป
อาจารย์    เค้ากลัวเหงา
หลวงปู่   อันนั้น เค้าเปลี่ยวใจ ไม่ใช่สถานที่แล้ว เป็นการเปลี่ยวใจ เปลี่ยวอารมณ์ กลัวเหงา
ข้อ 12 ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล ยึดติดในเสนาสนะ สมาทานอยู่ตามมีตามได้ ไม่ทะยานอยาก ไม่แสวงหา
ข้อ 13 ข้อสุดท้าย  เนสัชชิกังคะ  ก็คือ สมาทานว่าจะยืน ก็ไม่นั่ง ไม่นอน สมาทานว่าจะนอน ก็ไม่ยืน ไม่นั่ง สมาทานว่าจะนั่ง ก็ไม่ยืน ไม่เดิน ไม่นอน
อาจารย์    พูดง่ายๆ อยู่ในอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง
หลวงปู่     อันใดอันหนึ่งตลอดการสมาทานนั้นๆ เช่น สมาทานว่า จะยืน 5 วัน ก็ต้องยืนอยู่อย่างนั้น 5 วัน ไม่เดิน
คุณก้อง    ต้องมีหลักปฏิบัติตรงนี้ด้วยเหรอฮะ
อาจารย์    อ้าว แล้วแต่
หลวงปู่    แล้วแต่ เค้าไม่ได้บังคับ แต่ถ้าถึงขั้นนี้ ก็แสดงว่า คุณ
คุณก้อง   การสมาทานแล้วต้องยึดติดอยู่ตรง
หลวงปู่     การธุดงค์เนี่ย มันมีอยู่ 3 ลักษณะ ก็คือ ธุดงค์แบบอุกฤต เรียกว่า สูงสุดเลย เข้มข้น ธุดงค์แบบปานกลาง แล้วก็ธุดงค์แบบขั้นประถม อ้ายที่เดินๆ กันอยู่นี่ ไม่เข้าขั้นไหนเลย
คุณก้อง    ไม่เข้าอนุบาลด้วย
หลวงปู่    ไม่เข้า
คุณก้อง   เปรียบอนุบาล ก็ยังไม่ได้
อาจารย์    ต้องทำความเข้าใจนิด คำว่า ธุดงค์ เป็นข้ออนุญาตนะ ไม่ใช่ข้อบังคับ
หลวงปู่    ไม่ใช่ข่อบังคับ เป็นข้ออนุญาตที่ให้ทำเป็นกรณีพิเศษ
อาจารย์    ใครอยากทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
หลวงปู่    เออ ภิกษุปรารถนาจะย่างกิเลสให้มันหมดเร็ว
อาจารย์    ก็ทำ
หลวงปู่    ก็จงทำ แต่อย่ามาอ้างการย่างกิเลสให้หมดเร็ว เป็นเครื่องมือในการแสดงประกอบผลการตลาด หรือแสดงแสวงหากำไร แสวงหาศรัทธา อันนั้นผิด
คุณก้อง    เค้าบอกว่า เป็นการเผยแพร่ธรรมในป่าคอนกรีต
หลวงปู่    เหม พระพุทธเจ้าสอนธรรมมา 2,500 - 2,600 กว่าปี ท่านก็ไม่ได้เอาป่าคอนกรีตเป็นตัวกำหนด แล้วไม่ปรารถนาที่จะไปแสวงหาอะไรอยู่ในบ้านในเมือง ท่านก็บอกว่า นั่น เรือนว่าง นั่น ป่าช้า นั่น ป่าชัฎ นั่น ที่รก  นั่น ที่มุงที่บัง ที่ไม่มีผู้คน นั่นคือ ที่วิเวกที่ภิกษุพึงอยู่
อาจารย์    โคนไม้ เรือนว่าง
หลวงปู่    เออ ใช่ เพราะฉะนั้น จะมาอ้างว่า นี่คือ วิธีการทำให้เกิดกระบวนการสร้างศรัทธา
ศรัทธาในอะไร ศรัทธาในสิ่งที่ผิดๆ เหรอ เพราะหลักการเค้ามีอยู่อย่างนี้ แล้วไง เมื่อมันมีหลักการอย่างนี้ แล้วถ้าคุณทำตามกระบวนการหลักการนี้ แล้วจะบอกว่า ไม่ศรัทธา ก็ต้องถามกลับไปว่า ศาสนาอยู่มาได้ยังไง 2,000 กว่าปี
เพราะคนเค้าก็ทำกันมาอย่างนี้กันมาตลอดนี่ อาจารย์มั่น อาจารย์ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน ท่านก็ทำของท่านอย่างนี้ ก็มีคนไปไหว้ไปศรัทธาท่านเยอะแยะมากมาย แล้วก็ท่านก็อยู่ในป่า ก็ทำให้ป่ากลายเป็นเมือง แต่วันนี้เนี่ย เราพยายามจะทำให้อ้ายกระบวนการธุดงค์ซึ่งมันศักดิ์สิทธิ์โดยความหมาย โดยคุณธรรม โดยการประพฤติปฏิบัติ มันกลายเป็นเหมือนกับการตลาด
อาจารย์    ก็จริงๆ ถ้าเป็นอย่างนั้นนะ
หลวงปู่    นักธุดงค์ทั้งหลายน่ะ เค้าฝากชั้นมาบอกนะ พวกพระป่าทั้งหลาย
เค้าบอกว่า หลวงปู่กล้าพูดน่ะ ช่วยพูดให้หน่อย ถามว่า พวกนั้นกล้าไม๊ เค้าบอก กล้า แต่ไม่พูด เค้าก็เลยให้ชั้นช่วยพูดให้หน่อยว่า ธุดงค์แท้ๆ น่ะมันเป็นอย่างนี้
คุณก้อง    เดี๋ยวจะให้อาจารย์สามารถกับหลวงปู่วิเคราะห์หน่อย แนวทางอย่างนี้มันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
หลวงปู่     แนวทางอย่างนี้ เค้าบอกว่า มันเป็นการทำลายธุดงค์ชัดๆ ทำลายศรัทธาปะสาทะอันแท้จริงของธุดงค์ ทำลายพุทธศาสนาทางอ้อม และทางตรง
คุณก้อง    เดี๋ยวพักสักครู่นะฮะ มีคำถามว่า สภาพการอย่างนี้เกิดขึ้น เราควรทำตัวอย่างไร
ช่วงที่ 3    ศรัทธาทางพุทธศาสนากับการตลาด
คุณก้อง    ถ้ามองในฐานะพุทธศาสนิกชนหรือว่าคนที่ทำการตลาด เค้าอาจจะว่า ศรัทธาของศาสนาของเราค่อนข้างจะถดถอย ก็เลยพยายามจะทำ ดึงจุดเด่นของกิจกรรมทางศาสนามาโปรโมท เพื่อยังความศรัทธา ถ้ามองอย่างนี้ คงได้ไม๊ครับ
หลวงปู่     ปัญหาของพวกเราเวลานี้ คือ เรามองการตลาดเป็นตัวนำการศรัทธา เราไม่ได้มองศรัทธานำการตลาด เพราะงั้น เมื่อมองการตลาดนำศรัทธา ทุกอย่างมันก็จะทำให้เกิด คือ มีผลลบผลบวก แล้วก็มีกำไรขาดทุนตลอดเวลา แต่ถ้ามองศรัทธานำการตลาด มันจะเห็นว่า เออ ศรัทธาบริสุทธิ์ ศรัทธาไม่บริสุทธิ์ แล้วมันก็จะมีปัญญา
ศรัทธาที่สัมประยุทธไปด้วยปัญญา เป็นศรัทธาบริสุทธิ์ซึ่งมันไม่จำเป็นต้องอาศัยการตลาด เพราะมันเกิดจากแรงบันดาลใจ เกิดจากผลปฏิบัติ เกิดจากกระบวนการสัมพันธ์ สัมผัส และเกิดจากการพิสูจน์ทราบจากตัวเองแล้วก็คนอื่นๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าเราเอาพุทธศาสนามาประกอบด้วยโลกของธุรกิจเนี่ย มันผิดวัตถุประสงค์ล่ะ เพราะพระพุทธศาสนานี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสร้างหรือดำรงค์ขึ้นไว้ เกิดขึ้นได้จากการที่จะพ้นจากโลก ไม่ใช่อยากจะอยู่ในโลก เราอย่าไปมองว่าพุทธศาสนาจะต้องมาคร่ำหวอดอยู่ในโลก
คนที่ต้องการเข้าไปถึงพุทธศาสนา คือ คนที่ต้องการพ้นจากไตรวัฏฏะ พ้นจากชาติ ชรา มรณะ พยาธิ พ้นจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง นั่นแหละ คือ คนที่เข้ามาสู่พุทธศาสนา แต่ ณ. วันนี้ เราไปมองว่า พุทธศาสนามันต้องกลายเป็นการตลาด เป็นการยอมรับ
คุณก้อง    เป็นสิ่งที่คนเข้ามานับถือ ให้การยอมรับ เข้ามาศรัทธา
หลวงปู่   เออ ถ้าอย่างนั้น มันก็จะได้กากพุทธศาสนา
อาจารย์   แล้วมันขัดหลักคุณธรรมอันหนึ่งของพระธรรม คือ เป็นปัจจัตตัง
หลวงปู่    ผู้เฒ่าจำ เอหิภิกขุอุปสัมปทาได้ไม๊ ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติธรรม เพื่อทำให้ถึงที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด
อาจารย์    ไม่ ที่ผมว่า เป็นปัจจัตตัง ก็คือ ถ้าคุณอยากรู้ คุณก็ลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่ไปฟังคนอื่นเค้าโฆษณา
หลวงปู่    อ้าว ใช่
อาจารย์    นั่นเป็นปัจจัตตัง
หลวงปู่    เออ นั่นแหละ ใช่เลย
อาจารย์   ทีนี้ คุณไปทำลายแบบนี้มา คุณไปโฆษณาชวนเชื่อ มันก็ไปขัดแย้งกับข้อปัจจัตตัง
หลวงปู่    ก็ณ. วันนี้ เราไปมองเอาการตลาดนำศรัทธาไง
อาจารย์    การตลาดนี่มันปัจจัตตังไม่ได้อยูแล้ว อยากรู้ต้องลงมือทำ
หลวงปู่    การตลาดใครบอก ปัจจัตจัยไม่ได้ จับปัจจัยไม่ได้
อาจารย์    มีปัจจัตตัง
หลวงปู่    อ๋อ แต่การตลาดนี่ เค้าจับปัจจัย
คุณก้อง    เป็นหลักฮะ
หลวงปู่    แบบปัจจัยเป็นหลัก
อาจารย์    วัดด้วยจำนวนเงินใช้ไม๊
หลวงปู่    อ้าว ใช่ ปัจจัยมามาก ก็ถือว่าการตลาดดี ศรัทธามาก ถ้าปัจจัยน้อย ปัจจัตตังก็สู้ไม่ได้
คุณก้อง    ถ้ามองในฐานะพุทธศาสนิกชน หรือว่า พระสงฆ์ องกรพุทธ เห็นเหตุการณ์ไม่ถูกต้องอย่างนี้ ควรจะแสดง
หลวงปู่     คือ ชั้นมองอย่างนี้นะ มองเอาตรงๆ นะ ไม่ได้มองหลังม่านอะไรอย่างนี้ล่ะนะ มองตรงๆ ว่า คณะสงฆ์รวมทั้งมหาเถรฯ หรือไม่ก็ตามทีนะ แต่ชั้นว่า เค้าเห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วย เค้าคงจะไม่สนับสนุนมากมาย
คุณก้อง    มีเป็นประธานในพิธี
หลวงปู่    เค้ามองอย่างนี้ เค้ามองบอกว่า องค์การศาสนาพุทธในประเทศไทยจะสู้องค์กรศาสนาอื่นๆ เค้าไม่ได้ ในมุมการเผยแผ่ เข้าครอบครองอะไรก็แล้วแต่ ก็เลยหาวิธีหรือการตลาดนำศรัทธาอยู่ตลอดเวลา แต่เค้าลืมไปว่า เค้าอยู่ได้ถึงวันนี้และเจริญเติบโต แล้วมาถึงวันนี้ แล้วศาสนาพุทธมาถึงวันนี้ ถึงมือเราเนี่ย มันเป็นการตลาดหรือว่าเป็นศรัทธา เป็นปัญญา
อาจารย์    ถ้าอย่างนั้น สังคายนาที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ได้เกิดเพราะเสี้ยนหนามของศาสนาเหรอ ถึงต้องสังคายนา
หลวงปู่    อันนั้น สมัยนั้นมันไม่มีการตลาด เค้าก็จะเถียงอย่างนี้
อาจารย์    วันนี้นะ ถ้ามีคนคิดแบบนี้ สังคายนาได้แล้ว หลวงปู่ เพราะว่า มันจาบจ้วงเยอะแล้ว บิดเยือนเยอะแล้ว
หลวงปู่    นี่เค้ากำลังสังคายนาไง ก็นี่เค้ากำลังรวมหัวสังคายนาตั้งลัทธิใหม่ไง อ้ายลัทธิเรา คุยกันไม่ได้แล้วไง
อาจารย์    ลัทธิใหม่เกิดขึ้นสมัยสุภัททปริพาชก
หลวงปู่    ใช่
อาจารย์    ก็สังคายนามาครั้งหนึ่งแล้วไง
หลวงปู่    เออ ก็แล้วพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์ ก็สังคายนาคั้งแต่ต้นกรุง ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยามายันต้นกรุงนี้ เวลานี้
อาจารย์    สมัยรัชกาลที่ 5 ท่านอุตส่าห์พิมพ์ พระไตรปิฎกนะ เป็นตัวอักษรตั้ง 45 เล่ม เพื่อให้วัดต่างๆ อ่านกัน ไม่รู้อ่านกันหรือเปล่า
หลวงปู่    อยู่ในตู้
อาจารย์    อ๋อ ไม่ได้เอาออกมาเหรอ ถ้าอ่านกันจริงๆ นะ ธุดงค์แบบนี้ เกิดไม่ได้หรอก
หลวงปู่    สำนักนี้ เค้าก็มีพระไตรปิฎก แล้วเค้าก็พิมพ์ของเค้าเองเลย
อาจารย์   แปลว่า เปลี่ยนใหม่หมดแล้วใช่ไม๊
หลวงปู่    ไม่รู้ แต่ที่รู้คือ พระไตรปิฎกฉบับธรรมกาย เค้ามีของเค้าอยู่
คุณก้อง    ก็แสดงว่า องค์กรพุทธในประเทศไทยเองก็สนับสนุนแนวทางอย่างนี้
หลวงปู่    ก็เค้าถือว่า มันทำให้ศาสนาอยู่รอด เค้ามองอย่างนี้ไง
คุณก้อง    มองว่า เป็นจุดแข็ง ประเทศเราเข้มแข็ง
หลวงปู่    คือ ชั้นมองว่า เอาล่ะ คุณทำเพื่อความปรารถนาดี อยากให้ศาสนาอยู่รอดน่ะใช่ แต่คุณแน่ใจหรือเปล่าว่า ของเทียมมันจะอยู่รอดได้ยาวนาน เราพูดถึงของเทียม กับ ของแท้นะ
อาจารย์    อ้าว หลวงปู่ ย้อนกลับไปเรื่องนี้ ตอบได้ด้วย ตามอรรถพระธรรมวินัยไง อ้ายของปลอม นี่มันเหมือนศพอยู่ในทะเล ยังไงมันก็ถูกซัดขึ้นฝั่ง
หลวงปู่   เอ๋ย เค้าบอก วันนั้นกูก็ตายแล้วล่ะ
อาจารย์   ก็แล้วไป พระที่ทำผิดวินัยเหมือนซากศพที่อยู่ในทะเล ยังไงก็ต้องถูดซัดขึ้ยฝั่ง
หลวงปู่    ต้องโดนเน่าขึ้นลอย
อาจารย์   มันอยู่ไม่ได้ฮะ
หลวงปู่    แต่ณ.วันนี้ เค้าบอก วันนั้น เค้าตายแล้ว ก็ถึงได้บอกไง ชั้นจึงบอกกับท่านทั้งหลายว่า ที่เรานำมาพูดเนี่ย  ไม่ได้พูดเพราะว่า จะไปโจมตีใคร แต่พูดเพื่อยืนยันหลักการเดิมว่า พุทธศาสนาอยู่รอดได้เพราะว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้ถึงที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด
อาจารย์    แล้วย้อนไปปัจฉิมโอวาทที่พระอานนท์ ถามใครเป็นศาสดาหลังพระพุทธเจ้าปรินัพพาน พระองค์ทรงตอบชัดนะ วินัยก็ดี ธรรมก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว อันนั้นแหละเป็นศาสดาแทน
หลวงปู่    อืม แล้วพระองค์ยังทรงบอกต่อไปว่า ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมเถิด
อาจารย์    แล้วยังมีมหาปเทสไว้อีกนะ ว่า ถ้าพระสงฆ์จะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ให้ถอนได้แต่ต้องประชุมสงฆ์นะ
หลวงปู่    แหม งัดกันเอามาคนละข้อเลยนะ
คุณก้อง   เป็นธรรมะวาที ไปกันเพลินเลยนะฮะ
อาจารย์   แล้วอย่างนี้
หลวงปู่    มหาปเทสก็ยังต้องมาใช้ในวินัยนิยมอีกว่า วินัยกำหนดไว้ชัดเจนว่า ถ้าคล้องจองกับสิ่งนี้ แต่ถ้าไม่คล้องจองกับสิ่งนี้ แต่มันคล้องจองกับธรรมและวินัย ให้ยึดถือธรรมวินัยเป็นหลัก
อาจารย์    ก็ถือว่า เอาของเก่าเป็นเกณฑ์ใช่ไม๊
หลวงปู่   ใช่
อาจารย์   แล้วนี่ที่เกิด นี่มันใหม่หรือเก่า
หลวงปู่    ไม่รู้
อาจารย์    อ้าว แล้วถ้าเอามหาปเทส 4 มาตัดสิน ตกลงผิดหรือถูก
หลวงปู่    ไม่รู้
อาจารย์    ก็นี่ไง ผมถึงบอก...
คุณก้อง เพราะฉะนั้น ความเจริญรุ่งเรืองของพระธรรมวินัย
หลวงปู่    ไม่ใช่ของแท้ ความรุ่งเรืองเจริญของพระธรรมวินัย ไม่ใช่โฆษณาของหลอกลวง คือที่พูดนี่ เรากำลังพูดว่า ที่คุณทำอยู่เนี่ย มันไม่ใช่ของแท้ แล้วถ้าคุณจะคิดว่า เอาของไม่แท้มาขายเพื่อให้คนยอมรับ สุดท้าย มันก็ต้องฟ้องตัวมันเองในที่สุด เหมือนกับทองคำ ถ้าเก๊ ยังไงมันก็สีตก
คุณก้อง    เหมือนกับที่หลวงปู่บอกว่า อุจจาระแปะทองไว้ ใช้ไม๊ฮะ พอแกะออกมา
หลวงปู่    เค้าพูดถึงทองคำ นี่ไปเรื่องเหม็นเลย ไม่รู้เรื่องเลย เอาเป็นว่า จบลงตรงคำว่า
เพชรแท้ ไม่กลัวการเจียรไน
ทองแท้ ไม่กลัวการเผาไฟ
เหล็กแท้ ไม่กลัวการทุบตี
คนดี และของดีแท้ๆ มัไม่กลัวการพิสูจน์ แต่คุณทำอยู่ทุกวันนี้ มันของเก๊
อาจารย์   มันจะกลัวได้ไง มันเป็นอกาลิโก
หลวงปู่    เออ มันไม่จำกัดกาล มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน แล้วต่อเวลาอีกหน่อยไม๊ ผู้เฒ่า
คุณก้อง    เวลาหมดพอดีเลยครับ ก่อนจากกัน ประชาสัมพันธ์สักนิด ในวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ ที่วัด อ้อน้อย มีงานกิจการงานบุญ มีพิธียกพระอุระขึ้นสู่ฐาน
หลวงปู่    และพระศอ ของมหาพุทธพิมพ์นาคปรก
คุณก้อง    ซึ่งเป็นพระที่ใหญ่
หลวงปู่   ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
คุณก้อง   ใครที่อยากไปร่วมงานบุญ ก็ไปที่วัดอ้อน้อย ธรรมอิสระ จังหวัดนครปฐม
หลวงปู่   ไปแต่เช้า เค้ายกประมาณ 7 หรือ 8 โมง เช้า แล้วทั้งวันก็จะมียกเซียนขึ้นวิหาร
คุณก้อง    เข้าวิหารโรงเจ
หลวงปู่    อ้อ แล้วก็อย่าลืมไปอุดหนุนร้านค้าราคาถูก ซื้อของได้ครึ่งราคา
อาจารย์    ถูกกว่าธงฟ้าหรือเปล่า
หลวงปู่    ถูกกว่า ของชั้นครึ่งราคาเลย ข้าวสารคุณซื้อข้างนอก 200 คุณซื้อชั้น ร้อยนึง หมูคุณซื้อข้างนอก 150 คุณซื้อกับชั้น 70
อาจารย์    ชนิดเดียวกันนะ
หลวงปู่   ชนิดเดียวกัน เส้นหมี่คุณซื้อข้างนอก 4 บาท คุณซื้อชั้น 2 บาท
อาจารย์    แล้วไม่กลัวขาดทุนเหรอ
หลวงปู่   กำไรบุญ ก็อยากช่วยประชาชนที่เค้ากำลังตกทุกข์ได้ยาก โดยเฉพาะนี่มันใกล้เปิดเทอมแล้ว
อาจารย์   สมมุติว่า คนแห่ไปมืดฟ้ามัวดิน นี่มีขายไม๊ฮะ
คุณก้อง    มีอัตราซื้อไม๊ครับว่า ซื้อได้คนละ
หลวงปู่    ก็ซื้อได้คนละชิ้น ข้าวก็ 1 ถุง 5 โล
คุณก้อง   พ่อค้าหัวใสจะได้ไม่ตุน
หลวงปู่    จะได้ไม่ตุน
คุณก้อง   ....วันนี้ก็กราบลาหลวงปู่พุทธะอิสระ...
หลวงปู่    ให้ทุกท่านรุ่งเรือง เจริญ สุขภาพแข็งแรง และมีปัญญาตั้งมั่น เจริญธรรม