ทรัพย์อันประเสริฐ คือ ทรัพย์ที่ไฟไหม้ไม่หาย น้ำท่วมไม่หมด โจนปล้นก็ไม่ต้องกลัว อันนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า อริยะทรัพย์
บุคคลที่พระองค์ทรงมอบให้ หรือทรงฟังเรื่องอริยะทรัพ์เป็นคนแรก คือ สามเณรราหุล ซึ่งเป็นธรรมชาติที่พ่อต้องการให้สมบัติกับลูกหลาน พระองค์จึงทรงให้บุตรของท่านเป็นคนแรก อันได้แก่1) มีศรัทธา คือเชื่อในสิ่งที่ใช้ปัญญาวิจารณ์และพิจารณา ความหมายของศรัทธา คือ ต้องเชื่อ เชื่อว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่ว เลวหยาบ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นที่มาและที่ไป เราเป็นอยู่ได้เพราะอาศัยกรรม การเชื่อเรื่องกฎของกรรม ทำให้เชื่อต่อไปว่า ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว คนที่มศรัทธาและเชื่อก็จะขยันทำดี ขยันที่จะปฏิเสธความชั่ว เพราะเมื่อเชื่อก็ย่อมเกรงกลัวต่อบาป พระองค์ทรงย้ำว่า ให้เชื่อในกฎของกรรมที่จะติดตัวไปในภพหน้าหลังความตาย
2) ศีล การรักษาศีลจะทำได้ดีต่อเมื่อมีความระอายชั่วกลัวบาป หัวใจของการรักษาศีล มี 2 อย่าง คือ
2.1 การละอายชั่ว-กลัวบาป
2.1 อินทรีย์สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ได้ คือ ตาเห็นรูปสวย หูฟังเสียงเพราะ จมูกดมกลิ่นหอม สิ้นรับรู้รสอร่อย กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้อารมณ์ ถ้าระวังอินทรีย์ทั้ง 6 ได้ สรุปสุดท้ายอินทรีย์ สำคัญที่สุดคือระวังใจ ถ้าระวังใจได้ ก็รักษาศีลได้ทุกข้อ แต่ถ้าระวังใจไม่ได้ ศีลข้อไหนก็รักษาไม่ได้ แล้วระวังใจ ระวังอย่างไร แค่ระวังให้มีความระอายชั่ว ระวังให้เกรงกลัวต่อผลที่จะทำผิดบาป อย่างนี้รียกว่าผู้รักษาศีล หรือผู้เจริญศีล
พระพุทธศาสนา เข้ามาเมืองไทยหลายร้อยปีแล้ว ไม่ว่างานอะไรก็ต้องขอศีลก่อน แต่มีใครบ้างที่ได้ศีลและอนิสงค์ของศีลกลับมาบ้าง เพราะที่ผ่านมาเรารับศีลแต่เพียงลมปาก ศีลไม่จำเป็นต้องท่องศีลให้คนอื่นฟัง แต่เราควรปฏิบัติศีลให้คนอื่นดูว่าเรามีศีล ให้เราเลือกเอาสัก 1 ข้อ แต่ให้เป็นหัวใจของเราในการปฏิบัติ
“ศีเลนสุขติงยันติ ศีลย่อมยังให้สู่สุคติ
ศีเลนโภคมัปทา ศีลย่อมยังให้เกิดโภคทรัพย์
ศีเลนพุทติงยันติ ศีลย่อมยังให้สู่พระนิพพาน”
3) หิริ คือ ความละอายชั่ว
4) โอตะปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป อันเป็นเหตุให้เราระวังตัวเอง เป็นการสร้างสติทางอ้อม เพราะคอยระวังไม่ให้กล่าวชั่ว กล่าวคำหยาบ ซึ่งเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน เมื่อมีความระวัง ก็จะรักษาศีลไปโดยปริยาย
5) พาหุสัจจะ การได้ยิน ได้ฟัง ทำให้เราเจริญ ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น สิ่งที่เคยรู้แล้วก็จะได้กระจ่างมากขึ้น ก็ทำให้ทำลาย ความลังเลสงสัยได้ แล้วทำให้จิตนี้มีความเห็นถูกต้อง ทำให้จิตผ่องใส
6) จาคะ คือการบริจาค หัวใจของการให้ คือ การให้อภัย แต่หากไม่ใช้อภัยเขา เขาจะด่าว่าเรามือถือสากปากถือศีล สูงสุด คือการให้ออภัย มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว
7) ปัญญา คือ ความเจริญ รุ่งเรือง เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
พระอาทิตย์สว่างเป็นบางเวลา แต่ปัญญาสว่างตลอดเวลา และทำตัวเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้ คนที่อยู่ใกล้คนที่มีปัญญา จะเป็นคนเจริญรุ่งเรืองไปด้วย
ศีล 8 ไม่ได้ห้ามให้เข้าสังคม แต่ศีล 8 เป็นศีลของนักบวช พรหมจรรย์ น้ำที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ดื่มได้ คือ น้ำผลไม้ และเป็นน้ำที่ไม่มีสารอาหารที่เกี่ยวกับโปรตีน แต่หากเรากินเป็นยาก็ไม่ผิด แต่หากว่ากินเพื่อบำรุงบำเรอจะถือว่าผิด
การทำบุญจะถึงในเวลาที่ควรถึง และไม่ถึงในเวลาที่ไม่ควรถึง เมื่อใดญาติท่านไปเกิดเป็นเปตร บุญนั้นจึงจะสำเร็จแก่ญาติของท่าน แต่หากเมื่อใดญาติของท่านไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย สัตว์นรก มนุษย์ เทวดา บุญของเราจะไม่ถึงญาติ เพราะว่า
- สัตว์เดรัจฉาน มีก้อนข้าวและหยุดน้ำเป็นอาหาร
- มนุษย์ มีก้อนข้าวหยดน้ำ และปัจจัย 4 เป็นอาหาร
- เทวดา มีทิพยสมบัติเป็นอาหาร
- สัตว์นรก มีความทุกข์ เป็นอาหาร
- อสุรกาย มีมูดคูด อุจจาระ ปัสสวะ ของเน่าเหม็นเป็นอาหาร
ยกเว้นพวกเปรตที่จะมีผลบุญของญาติเป็นอาหาร เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า ญาติของเราจะได้รับผลบุญหรือไม่ เป็นเรื่องตอบยากมาก แต่ก็มีคำถามว่าเป็นไปได้ไหม ที่เราจะไม่มีญาติเป็นเปรตเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่ามนุษย์และสัตว์ในโลกนี้ ไม่มีใครเลย ไม่มีญาติเป็นเปรต ญาติข้างพ่อข้างแม่ คนที่รู้จักกันก็เป็นญาติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ทำบุญแล้วอุทิศให้ ญาติเหล่านั้นจะได้พ้นจากอัตภาพ
บารมี 10 ทัศน์ สำคัญทุกข้อ ถ้าปรารถนาพุทธภูมิ ไม่มีข้อใดด้อยกว่าข้อใด ปัญญาก็สำคัญ แต่หากมีปัญญาอย่างเดียวไม่ทำทานแล้วจะไปสอนใครถ้าหากตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะว่าทานเป็นเหตุปัจจัยให้สร้างบริษัท บริวาร มีพระสาวก บารมี 10 ทัศน์ได้แก่
1) ทาน เป็นเครื่องสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างเราและสังคมรอบข้าง
2) ศีล
3) เนกขัมมะ
4) ปัญญา
5) วิริยะ
6) ขันติ
7) สัจจะ
8) อธิฐาน
9) เมตตา
10) อุเบกขา
ธรรมทุกข้อสำคัญหมด อยู่ที่ว่าเราจะทำข้อใด ๆ ให้ลุล่วงในชาติใด ๆ นิพพานไม่ได้มาอย่างสบาย ไม่ได้ได้มากจากการอ้อนวอน หรือขอภาวนา แต่นิพพานมาจากการวางและสลัด ไม่ปล่อยให้อะไรมาฉุดเราอยู่ นิพพานคือความผ่อนคลาย อิสระ โปร่งเบาสบาย แต่ถ้าเรายังติดอยู่ ยังผลัดวันประกันพรุ่งอยู่ ก็คงอีกนานกว่าจะนิพพาน
คาถาของหลวงปู่ คือ
- ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
- มีใจอยู่กับกาย ไม่ได้สอดส่ายไปข้างนอก ควบคุมจิตนี้ได้ก็พอแล้ว
การกลัวความมือ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความกลัวติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว เพราะว่ามีความกลัวจึงต้องอาศัยที่พึ่งพิง และที่พึ่งที่เราต้องการชนะความกลัว คือศาสนา และการที่มนุษย์มีศาสนา เพราะมนุษย์มีความกลัวจึงพึ่งสิ่งที่มีอำนาจสูงสุด แต่ถ้าหากคุณทำวิปัสสนา แล้วยังกลัวอยู่แสดงว่า วิปัสสนาไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับคุณได้ และไม่ทำให้คุณเห็นแจ้ง เพราะคนที่กลัวที่สุดก็ตายไปแล้วเพราะฉะนั้นที่เรามีชีวิตอยู่ ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได เพราะความตายเป็นสาธารณะ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และแท้ที่จริงที่กลัวนั้น คือความตาย ถ้าหากกลัวความตาย พระพุทธเจ้าให้เจริญมรณานุสติ ความตายมีอยู่ 3 อย่างคือ
1) ขณิกมรณะ คือความตายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ผิวหนังที่หลุดลอก ฟันน้ำนมที่หักไป ผมที่ร่วงหลุดไป
2) สมมุติมรณะ เช่น แก้วแตก ไมค์เสีย ไม้ผุกล่อน
3) สมุเฉถมรณะ คือตายขาดจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แต่ไม่ใช่ว่าธรรมะจะแก้กรรมได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็หนีกรรมไม่ได้ แต่การปฏิบัติธรรมเป็นกุศลกรรม หากรู้ตัวว่า อวิชชากำลังเกิดขึ้น ก็ต้องทำชีวิตให้เป็นผู้รู้ เพื่อพูดดี คิดดี ทำดี และทำมาก ๆ ทำถี่ ๆ ทำให้อกุศลกรรม ตามมาไม่ทัน จึงทำให้พ้นจากอกุศลกรรมให้ห่างไกล
จริตมี 6 จริต คือ ราคะ โทสะ โมหะ วิตก, พุทธิจริต ศรัทธาจริต การเจริญกรรมฐานว่าอยู่ในจริตไหนให้ดูหนังสือวิถีพุทธ
การกรวดน้ำเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น แต่สำคัญที่สุดคือมีน้ำใจที่จะให้