visakha 59

ปฏิบัติธรรม ลุกขึ้นยืน การบูชายิ่งกว่าปฏิบัติบูชาเป็นไม่มี เรานั่งมานาน ก็มาผ่อนคลาย ให้เลือดลมเดินได้สะดวก กายเป็นที่ตั้งของจิต ถ้ากายเป็นทุกข์ อุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ ที่จิตนี้มีอยู่มันก็จะห่วงหาอาวรณ์ในกายนี้ กายเจ็บ กายทุกข์ กายหนาว

แม้พระผู้มีพระภาคทรงเน้นไปที่จิต แต่จิตก็มีอุปาทานความยึดถือ ในขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อกายกับจิต ต่างพึ่งพิงอาศัยเป็นอสงไขย เมื่อกายเป็นทุกขื จิตก็ทุกข์ไปด้วย หน้าที่เราก็ต้องบริหารกาย เพื่อให้ได้ประโยชน์กับจิต กายที่บริหาร ตอนนี้ก็คือ ยืนขึ้น การเปลี่ยนจากนั่ง ก็มายินบริหาร เพราะลดความทุกข์ แบ่งเบาความทุกข์ให้จิตได้ในระดับหนึ่ง จิตไม่ทุรนทุราย เมื่อกายไม่ทุกข์ ก็เอาจิตมาดูกาย...

ส่งความรู้สึกลงไปภายใน รู้ว่าเรากำลังยืนอยู่ ในท่าตรงหรือบิดเบี้ยว หรือยืนอยู่ในท่าประสานมือเอาไว้ด้านหลังหรือด้านหน้า น้ำหนักตัวอยู่ด้านใดมากกว่า หรือเท่ากันทั้งซ้ายขวา ท่ายืนของเรายืนตรง ตั้งฉากกับพื้น กล้ามเนื้อไม่ตึง ผ่อนคลาย ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทิ้งน้ำหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ทิ้งน้ำหนักไปด้านเดียว เพราะจะทำให้กระดูกด้านใดด้านหนึ่งเสื่อมเร็ว เพราะ มีสติในกาย ๆ ไม่ลำบาก ถ้า ยืน นั่ง นอนไม่มีสติ ก็เป็นการทำร้ายตัวเอง

เข้าใจ รู้จักอุปาทาน กายเป็นบ้าน เป็นที่ตั้งของจิต หากจิตมีตัวยึดถือ ตัวกู ของกู พอถึงเวลา จะต้องจากกาย แต่มีตัวกู จิตก็ไม่มีความสุข ก่อนตายถ้าจิตยอมรับความจริง ว่า ไม่ช้าก็เร็วทุกคนต้องตาย หนีความตายไม่ได้ ไม่พรุ่งนี้ ก็ปีนี้ ไม่ปีนี้ก็ปีหน้า อุปาทานความยึดถือก็จะเบาบางลง ไม่ยึดถือ ..

ตั้งแต่เกิดมา เล็บโดนตัด ตายไป เล็บใหม่เกิดขึ้น ... กว่าจะโต เซลตายๆ เกิดๆ มาหลายพันรอบ เพราะทุกอย่างในกายเรา ตายหมด ...

นี่คือวิธีที่คิดอย่างชาญฉลาดและมีปัญญา ที่จะทำให้ชีวิตหลังความตายไปสู่สุคติ ไม่วิปลาส วิปลาส คือ ความยึดถือตัวตน ถือว่างาม ว่าเที่ยง มีอยู่จริง คือความวิปลาส เราไม่ต้องการเป็นคนวิปลาสก็ต้องให้เห็นชัดตามความเป็นจริง ความเกิดมี ความเสื่อมก็ต้องตามมา เริ่มตั้งแต่อวัยวะน้อยใหญ่ เซลต่างๆ ก็ตายแล้วก็เกิด เราจึงโต ทั้งหมดก็มาจากการตายแล้วทั้งนั้น...

ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย เด็กละอ่อนเกิดมา เด็กละอ่อนตายไป เกิดเด็กอนุบาบ เด็กอนุบาลตายไป เกิดเป็นเด็กประถม เป็นมัธยม เป็นอุดมศึกษา เป็นนาย เป็นนาง เป็นพ่อ แม่ ปู่ย่า ...

ให้รู้จักความจริง เห็นความจริง ไม่ไปหลงงมงายกับมายาคติ ยังมีมายากาลที่ยังครอบงำอยู่ไหม เพราะนั่นเป็นความวิปลาส มันตั้งอยู่ประเดี๋ยวประด๋าว อายุขัยมันสั้นมาก แล้วมันก็สลายไป แต่เพราะอุปาทาน ความสืบเนื่อง ตัญหาความทะยานอยาก และอวิชชาความรู้ ทำให้เห็นสิ่งไม่ดี เป็นดี อัปรีย์เป็นสวย วิปลาสกลายเป็นความงดงาม พอเสียที เลิกกได้แล้ว...

เห็นให้ชัด ค่อยศึกษาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ว่าเราตายจริงๆ เด็กละอ่อน ก็ตายไปแล้ว เด็กอนุบาลก็ตายไปแล้ว เป็นเด็กประถาม ชื่อก็ชื่อเดียวกันทำไมมันตายบ่อยเหลือเกิน เด็กมัธยมม.ต้น ตาย ม. ปลาย โผล่ จากเด็กหญิง เป็นนางสาว นางสาวตายแล้ว นางยังอยู่ จากนางมาเป็นแม่ นางตายแล้ว แม่ ย่า ยาย ป้า ทวด แล้วจะเหลือดอะไร ชีวิตเราจะเกิดมาเพียงเท่านี้หรือ

คิดสิคิดวิเคราะห์ ไม่ได้ให้นิ่งสงบ แต่ให้สร้างตัวรู้ ถ้าแค่สงบสอนไม่ยาก แต่นี่กำลังให้สร้างตัวรู้ให้เกิดท่านผู้รู้ ให้มีปัญญา รู้ชัดตามความเป็นจริง จะได้ไม่หลงกับอวิชชา หลังตายแล้วก็ไม่ใช่แบกทุคติไป ...ต่อให้สร้างเจดีย์เป็นพันองค์ ก็ไม่เท่ากับการทำให้เกิดปัญญาเกิดเพียงแค่งูแลลิ้น เพราะการทำให้มีปัญญาให้รู้ชัดตามความเป็นจริงเพียงแค่ขณะเดียว มันทำให้เรารอดพ้นจากมายากาล และทำให้เราพ้นทุกข์ได้...

รู้เฉยๆ บางคนไม่ชอบคิด มีแต่ตัวรู้เฉยๆ ไม่เป็นไร ...บางคนรู้แล้วคิด รู้สึกตัวเป็นสติ ตรึกวิเคราะห์เป็นสัมปชัญญะ ระลึกได้เป็นสติ ตรึกวิเคราะห์เป็นสัมปชัญญะ...

ไม่ต้องกั้นลมหายใจ แค่มีตัวรู้อยู่ภายใน ไม่ต้องตามดูลมใด ๆ ยืนก็รู้อยู่ ขอเพียงเราปลุกท่านผู้รู้ให้ตื่นขึ้นมา ธรรมมีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้า ทำให้ท่านผู้รู้ตื่นขึ้นภายใน ...

ธรรมมีอยู่ ทุกข์มีอยู่ เหตุแห่งทุกข์มีอยู่ แต่ที่ไม่มีใครรู้เพราะทุกคนทำให้ท่านผู้รู้หลับใหล สร้างตัวรู้ ทำให้ท่านผู้รู้ตื่นขึ้น นั่นคือ ระลึกได้รู้ตัว หรือที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกว่า สติสัมปชัญญะ ...

ค่อยๆ พาตัวรู้ลงนั่ง นั่งอย่างผู้รู้ แล้วเคลียร์พื้นที่เพื่อลดอาการกดทับข้อกระดูก ทำตามความคุ้นเคยที่ถนัด หาที่นอน ..เป็นท่าที่ชอบมากค่ะ ขอบๆๆ... มีอยู่สำนักนี้สำนักเดียวสอนนอนกรรมฐาน สร้างตัวรู้ให้เกิดขึ้น ...

สำรวจดูตั้งแต่แผ่นหลังที่แนบพื้น ศีรษะที่กระทบพื้น อวัยวะส่วนไหนบ้างที่เราแตะพื้น รู้ให้ชัด ส้นเท้า น่อง ก้นกบ แผ่นหลัง สะบัก ท่อนแขนด้านใน ข้อศอก ฝ่ามือ สันมือ หรือข้างมือ สัมพันธ์สัมผัสของการกระทบกายกับพื้น ให้ชัด มาถึงศีรษะ ...

กระดูกกลุ่มใหญ่กำลังนอนอยู่บนพื้น เราก็แค่กระดูกกองหนึ่งเท่านั้น ร่างกายนี้ถอดกระดูกออกเสียก็แค่กองหนังกับกองเนื้อแล้วก็กองเส้นขน มีอยู่แค่เนื้อ น้ำ หนัง ขนและก็กระดูก

มาดูการไหวของกายตามลมหายใจที่ปรากฎ หายใจร่างกายส่วนไหนสั่นไหวเวลาหายใจเข้า แล้วหายใจออกร่างกายส่วนไหนบ้างที่สั่นไหว หายใจเข้าไปใหม่ สังเกตดูให้ละเอียดชัดเจน ที่ให้ทำอย่างนี้ก็เพื่อให้ตัวรู้เกิดขึ้นอย่างตั้งมั่น ไม่ใช่นิ่งๆ เฉยๆ ถ้านิ่งๆ เฉยๆ จะเป็นสมถะไม่ใช่ปัญญา จะเป็นการเพ่งอารมณ์

สิ่งกำลังทำอยู่นี่คือวิถีแห่งวิปัสสนา หายใจเข้า ร่างกายกระเพื่อมไหวส่วนไหน หายใจออกส่วนไหนบ้างของร่างกายที่กระเพื่อม ร่างกายกระเพื่อมแบบใด รุนแรง สั้น-ยาว หนัก-เบา

หายใจเข้าครั้งแรก หายใจครั้งท่าสอง เบาบางหรือกระเพื่อมมากกว่าเดิม เรียกว่ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงที่ปรากฎ อย่าหายใจทิ้งเสียเปล่า สังเกตหายใจครั้งแรก ครั้งที่สอง สามและสี่ มันเบา หรือหนักกว่าเดิม มันสั้นหรือยาวกว่าเดิม มันอึดอัดหรือผ่อนคลายกว่าเดิม...

หายใจแล้วไม่ทำร้ายตัวเอง ปรุงเป็นชีวะ เรียกว่าสร้างชีวิต อันทรีย์ หายใจออกก็ทำลายสิ่งที่หมักหมม หายใจเข้าไปใหม่ก็นำสิ่งงดงาม ออกซิเจนไปปรุงชีวิตอันทรีย์ของเรา สังเกตดูความเปลี่ยนแปลง จากลมหายใตครั้งแรกจนถึงลมหายใจปัจจุบัน

เราไม่ได้ฝึกสมาธิ ไม่ได้ฝึกสมถะ กำลังเจริญปัญญา สิ่งที่กำลังฝึกคือระลึกได้รู้ตัวเรียกว่า สติสัมปชัญญะ รู้เห็นให้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลง ที่ปรากฎหรือไม่ปรากฎ คุณสมบัติของวิปัสสนา คือรู้ชัดตามความเป็นจริงมี่ปรากฎ การกระเพื่อมของลมหายใจ หนัก-เบา ยาว-สั้น ตามความเป็นจริงที่ปรากฎ ..ถามว่าเรารู้ชัดหรือยัง ถ้ายังก็แสดงว่าเรายังไม่ได้เจริญปัญญา

ดูความกระเพื่อมไหวของกายเมื่อลมหายใจเข้า ดูการกระเพื่อมลมหายใจเมื่อเราหายใจออก แสดงว่า เราดูลมหายใจ และการเคลื่อนไหว ไม่ใช่อารมณ์เดียว ถ้าเป็นสมาธิต้องมีอารมณ์เดียว ย้ำว่านี่ไม่ใช่ อารมณ์สมาธิ เพราะไม่ได้มีอารมณ์เดียว ...

หายใจเข้า อกฟู ท้องป่อง ซี่โครงบาน หายใจออก ท้องแฟบ ซึ่โครงยุบ อกแฟบ ลมออก อาการอย่างนี้เป็นการดูเพื่อฝึกท่านผู้ให้ตั้งมั่น จะรู้ไม่ได้ถ้าท่านผู้รู้ไม่ตั้งมั่น อ่อนแอ ..
.
หายใจเข้าภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข หายใจออกภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์ ยกมือไหว้พระกรรมฐาน ... ชอบมั้ย (เสียงตอบชอบ) ชอบเป็นกรรมฐานที่ชอบมาก(น้ำเสียงขำ) ผ่อนคลายมั้ย ลดอาการเสื่อมของข้อกระดูก ไม่กดทับข้อกระดูกนะ

ทำความเข้าใจใหม่ว่าสิ่งนี้เป็นสติสัมปชัญญะ เป็นความระลึกได้รู้ตัว ถ้าจะฝึกสมาธิต้องอยู่ในอารมณ์เดียว ผลของมันคือความสงบ ความสงบ สยบกิเลสได้ระดับหนึ่ง ไม่สามารถถอดถอนอนุสัยได้ ความสงบทำอะไรไม่ได้ แต่วิปัสสนาปัญญาคือการตัดรากถอนโคนที่เป็นอนุสัย

เลือกเอาว่าจะใช้ความสงบสยบความวุ่นวาย หรือว่าจะใช้ปัญญา ถอนรากถอนโคน ถ้าต้องการใช้ความสงบก็ไปที่แถวปทุม ... ถ้าอยากได้ปัญญา ก็นั่งรถไฟมาลงนครปฐม ...
smile emoticon

(ถวายทาน แผ่เมตตา หลวงปู่อวยพร..)

เวลา ๑๘.๐๐ เจริญพระพุทธมนต์ และเวียนเทียน

 

ผู้บันทึกย่อ: Apiradee Kongchira