บทสวดมนต์
- Details
- Hits: 1596
ดาวน์โหลด บทเจริญพระพุทธมนต์ประกอบการฝึกอบรมวิถีจิต (ไฟล์ pdf)
- บทเจริญพระพุทธมนต์ ชุดที่ 1
บทธรรมนิยามสูตรและ ปฏิจจสมุปบาท
- บทเจริญพระพุทธมนต์ ชุดที่ 2
บทอนัตตลักขณะสูตร
- Details
- Hits: 31115
ธชัคคสูตร
ตำนานธชัคคสูตร
ธ ชัคคสูตร เป็นมนต์บทที่ ๕ ใน ๗ ตำนาน ธชัคคสูตรนี้ แปลว่าเรื่องยอดธงหรือชายธง เป็นสูตรใหญ่ โดยมากนิยมสวดทั้งสูตรเฉพาะภายในวัด เช่น สวดประจำพรรษา ในพระอุโบสถเพราะใช้เวลามาก ถ้าจะสวดทำบุญตามบ้าน หรือแม้ในพระบรมมหาราชวัง ก็ไม่สวดเต็ม ตัดสวดเฉพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ นี้นิยมเป็นเนติปฏิบัติสืบมา อนึ่ง ในสมัยเมื่อแรกมีงานสาบานธง หรือ ฉลองธงประจำกอง ที่ได้รับพระราชทานใหม่ พระเคยสวดธชัคคสูตรเต็มสูตรบ้าง เห็นจะมุ่งอนุวัตรให้เข้ากับเรื่องธง ดูก็เหมาะสมดี บัดนี้ไม่เห็นสวดแล้ว
ธ ชัคคสูตรนี้ มีตำนานเล่าว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ณ เมืองสาวัตถี ทรงมีพระประสงค์จะเตือนพุทธบริษัทให้ใส่ใจหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพื่อเพิ่มพูนกำลังใจในการปฏิบัติ ระงับความฟุ้งซ่านจิต ระงับความสะดุ้งหวาดเสียวขณะที่ประสบภัย ทั้งประสงค์จะประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัย ว่าทรงคุณ ควรแก่การระลึกถึงจริงๆ จึงได้แสดงธชัคสูตร
เ ป็นความจริงเหลือเกิน ที่การใส่ใจ เป็นคุณสมบัติผลักดันสรรพธุระของทุกคนที่ประกอบให้พลันลุล่วง ไม่ว่าธุระนั้น จะเป็นทางโลก หรือ ทางธรรม ไม่ว่าจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ไม่ว่าจะเป็นธุระในป่าหรือในบ้าน จะเป็นส่วนตัวหรือส่วนรวม ถ้าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว หากขาดความใส่ใจ ไม่ระลึกถึง ธุระนั้นก็ยากที่จะสำเร็จ ตรงข้ามกับมีคุณธรรม คือ การใส่ใจ หมั่นระลึกถึงธุระนั้นไว้เนื่องๆ แม้ที่สุด การหลีกจากความวุ่นวายของสังคม เร้นหาความสงบสุขก็ดี ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงอนุสสติไว้ ๑๐ ประการ ว่าเป็นอารมณ์ทำใจให้สงบสุข ในอนุสสติทั้ง ๑๐ นั้น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ ๓ ประการ ที่จะกล่าวในที่นี้เป็นอนุสสติที่ไม่จำกัดบุคคล ไม่เลือกนิสัย ไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมารมณ์ เหมาะแก่ชนทุกชั้น ทุกวัย ทุกเพศ และทุกกาล ดังนั้น ผู้รู้จึงสรรเสริญ
อ นุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า นั้น ความจริงไม่เพียงเป็นทางให้จิตผ่องใส สดชื่น มีปิติ อิ่มใจ ให้สงบอารมณ์ฟุ้งซ่าน เท่านั้น พระบรมศาสดายังตรัสบอกว่า ยังเป็นคุณช่วยกำจัดความสดุ้ง หวาดเสียว ถึงตัวสั่นได้ด้วย
ค วามกลัว ซึ่งเรียกว่า ภัย นั้น ย่อมบังเกิดแก่ผู้แม้จะนั่งอยู่ในที่วิเวก ชนิดที่เรียกว่า ปลอดสรรพภัยพิบัติทั้งหลายแล้วได้ เพราะเขาผู้นั้นอาจกลัวต่อความเงียบ แปลว่า ความเงียบที่เขาต้องการกลับเป็นภัยขึ้นก็ได้ บางคราว ก็กลัวแม้แต่เสียงลมพัด นกร้อง จิ้งหรีดร้อง ตุ๊กแกร้อง เสียงใบไม้แกรกกราก เสียงกิ่งไม้แห้งตกลงมา ก็เกิดขนลุกขนพอง นั่งอยู่ไม่ได้ กลัวแม้แต่เงาของตัวเอง หวาดแม้แต่เสียงฝีเท้าของตัวเองและบางครั้งก็ขลาดต่ออารมณ์ที่นึกสร้างขึ้นม าเป็นรูปหลอนใจ ให้สะดุ้งคิดเห็นเป็นลางร้ายจักให้โทษ เบียดเบียน ภัยเหล่านี้ใครช่วยไม่ได้ แม้จะมีแสนยานุภาพก็ไม่สามารถจะช่วยบำบัดได้ ด้วยเป็นอารมณ์เกิดกับจิต ผู้นั้นอาจคิดเห็นไปว่า ผู้ที่ติดตามให้อารักขาเหล่านั้นแล กำลังจะเป็นศัตรูร้ายต่อตัวในขณะนี้ ดังนั้น ภัยเหล่านี้จึงมีอำนาจเหมือนภัยทั้งหลาย
พ ระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาประทาน ธชัคคสูตร โดยตรัสสอนให้ใส่ใจ หมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพราะอานุภาพของคุณพระรัตนตรัยที่บุคคลหมั่นระลึกไว้ดีแล้ว จักสามารถบำบัดสรรพภัยทั้งผองนี้ได้ ทั้งตรัสว่า ทรงอานุภาพเหนืออำนาจเทพเจ้าชั้นสูงสุดด้วย โดยตรัสเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
แ ต่ปางก่อน เมื่อสงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันขึ้นในเทวโลก ครั้งนั้น เหล่าเทวดาก็มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่อพวกอสูรไม่น้อยถึงกับท้าวสักกะผู้เป็นจ อมเทพเจ้า ๓ ชั้นฟ้า ให้ประชุมเทพยดาทั้งสิ้น แล้วจัดทำธงชัยประจำทัพทั้ง ๔ ทิศ เป็นสัญญาณต่อต้านพวกอสูร โดยเทวบัญชาว่า “ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ในขณะทำสงครามกับเห
ล่าอสูร ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า อันจะทำให้เสียกำลังรบ อาจเกิดมีแก่บางท่านได้ ดังนั้น ถ้าคราวใดเกิดมีความกลัวขึ้น ขอให้ทุกท่านจงมองดูชายธงของเรา แล้วความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไปได้ หรือถ้าไม่มองชายธงของเรา ก็จงมองดูชายธงของท้าวปชาบดี ของท้าววรุณ หรือของท้าวอีสานะ องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อท่านทั้งหลายได้มองดูชายธงแล้ว ความกลัว ความสดุ้ง ขนพองสยามเกล้าจักหายไป
ภ ิกษุทั้งหลาย ถึงเทวดาที่มองดูชายธงของท้าวเทวราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย คือ หายบ้าง ไม่หายบ้าง หรือ หายแล้วก็กลับกลัวอีก ข้อนั้น เพราะอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะท้าวสักกะเทวราช ท้าวปชาบดี ท้าววรุณ และท้าวอีสานะ ผู้เป็นเจ้าของธงชัยนั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีกิเลส จึงยังกลัว ยังหวาดเสียว ยังสดุ้ง ยังหนีอยู่ ก็เมื่อจอมเทพ จอมทัพ ยังกลัว ยังสะดุ้ง ยังหนีอยู่แล้วอย่างไร ชายธงของท้าวเธอจึงจะบำบัด ความกลัว ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ที่ทำให้เสียขวัญถึงแก่หนี ไม่คิดสู้เขาเสมอไปได้เล่า
ภ ิกษุทั้งหลาย ส่วนพระรัตนตรัย ที่ท่านทั้งหลายคารวะนับถือปฏิบัติอยู่นั้น ทรงคุณ ทรงอานุภาพ เหนือท้าวเทวราชเหล่านั้น เหนือธงชัยของท้าวเทวราชเหล่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลาย จะอยู่ในป่าก็ตาม อยู่ที่โคนไม้ก็ตาม หรือจะอยู่ในเรือนว่างก็ตาม หากความกลัวหรือความหวาด ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ก็ดี บังเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า “ อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ” เป็นต้น เมื่อท่านทั้งหลายระลึกด้วยดีแล้ว ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าเหล่านั้นจักหายไป
ภ ิกษุทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายจะไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็พึงระลึกถึงพระธรรมเจ้าว่า “ สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” เป็นต้น หรือไม่ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์เจ้าว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” เป็นต้น ก็ได้ ด้วยอานุภาพคุณพระธรรมและพระสงฆ์นั้น จัดบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าให้หายไปแท้เทียว ข้อนั้นเพราะอะไร
ภ ิกษุทั้งหลาย เพราะพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีกิเลส ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าใดๆ ไม่หนี ดังนั้น อานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จึงสามารถบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของบุคคลที่มาระลึกถึงให้หายไปได้เสมอแท้ทีเดียว ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ แสดงว่า พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นคุณอันทรงอานุภาพ ควรแก่การเจริญ ควรแก่การระลึกอย่างยิ่ง ฯ.
ธชัคคสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถาวรรค
ธชัคคสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึง พระรัตนตรัย ที่พระพุทธองค์ทรงนำเอาเรื่องการทำสงครามระหว่างเทพกับเทพอสูรมาเป็นข้อเปรียบเทียบ เพื่อเตือนใจภิกษุผู้ไปทำความเพียร อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอันเงียบสงัด ห่างไกลจากผู้คนสัญจรไปมา
การ อยู่ท่ามกลางป่ากว้างดงลึกของภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนเช่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวขนผองสยองเกล้า เมื่อเกิดความรู้สึก หวาดกลัว พระพุทธองค์แนะนำให้ภิกษุระลึกถึงธง คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ หรือพระสังฆคุณ แล้วจะสามารถข่มใจระงับความหวาดกลัวบำเพ็ญเพียร ต่อไปได้
การสวดธชัคคสูตรก็เพื่อเป็นการทำลายความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น หรือในสถานที่ที่ไม่ คุ้นเคย โดยน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยมาสร้างเสริมกำลังใจให้เกิด ความอาจหาญแกล้วกล้าในการต่อสู่อันตรายและอุปสรรคนานาประการ
นอกจากนั้น ธชัคคสูตรยังช่วยคุมครองป้องกันอันตรายจากที่สูง หรืออันตรายทางอากาศ เช่น อันตรายจากการขึ้นต้นไม้สูง อันตรายจากการเดินทางที่ต้องผ่านหุบเขาเหวผาสูงชัน อันตรายจากสิ่งที่ตกหล่นมาจากอากาศ และในปัจจุบันยังนิยมใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
โดยทั่วไปการสวดบทธชัคคสูตรไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งเป็นหัวใจของพระสูตรนี้ เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า "สวดอิติปิโส" เว้นไว้แต่มีเวลามากและต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร
ธชัคคสูตร(
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพะยุฬโห อะโหสิฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ ปะชาปะติสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ ฯ
ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุฉัมภี อุตะราสี ปะลายีติ ฯ
อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ - สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตะวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วาโลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ
คำแปล
ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ใน เวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์ต่อไปว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้นเคยมีมา แล้ว ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ ตรัสเรียกเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้วเกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้ท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเรา เพราะเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราแล้วความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าพวกท่านทั้งหลายแลดูยอดธงเราไม่ได้ ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี เพราะเมื่อท่านทั้งหลายมองดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้ ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราช ชื่อวรุณแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณไม่ได้ ก็ให้ แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดูยอดธงของท้าวสักกเทวราช แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่ บางทีก็หายได้ บางทีก็ไม่หาย เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ้นราคะ ยังไม่สิ้นโทสะ ยังไม่สิ้นโมหะ ยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังต้องหนี
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเธอ ทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ ตามบ้านร้าง หรือที่อื่นใดแล้วเกิด ความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึงเราตถาคตว่า
"เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงมีความสามารถในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงตถาคตไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า "พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล สามารถ แนะนำผู้อื่นให้มาพิสูจน์ได้ว่า "ท่านจงมาดูเถิด" ควรน้อมนำมาไว้ในตัว ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป
ถ้าระลึกถึงพระธรรมไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า "พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้วปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ปฏิบัติเหมาะสม ได้แก่บุคคล เหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน้อมนำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ ควรรับทักษิณาทาน เป็น ผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้ความเคารพ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ ไม่มีความกลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หนี พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ หรือตามบ้านร้าง ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วพวกเธอก็จะไม่มี ความหวาดกลัว ถ้าพวกเธอทั้งหลายไม่สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึงพระธรรมที่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์อันเราแสดงไว้ดีแล้ว ต่อจากนั้น ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าก็จักไม่มีแล ฯ
________________________________________
มหาสมัยสูตร
ตำนานมหาสมัยสูตร
พ ระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรนี้ เป็นพระบาลีคาถาปัฐยาวัตร พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะก็บริบูรณ์สุนทรภาษิตเป็นที่เจริญจิตเจริญใจของเทวด าและมนุษย์ทั้งหลายผู้ตั้งใจสดับสุดแต่ว่า เมื่อยกขึ้นกล่าวคราวใด ในสถานที่ใด ก็เป็นมงคลในคราวนั้น ในสถานที่นั้น ดังนั้น แต่โบราณกาล ทุกครั้งที่มีการประชุมใหญ่เพื่อมงคลสมัย ก็นิยมอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรนี้ ท่านผู้รู้กล่าวว่า มหาสมัยสูตรนี้ เป็นพระคาถาที่เทพเจ้าพอใจมาประชุมสดับ ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะมีการสวดมหาสมัยสูตรนี้มีนิยมให้เจ้าของงานจัดตั้งเสนาสนะให้เรียบร้อย ทำให้สะอาด ตกแต่งให้งาม อาสนะของพระสงฆ์ต้องลาดผ้าขาว เพดานก็ใช้ขึงผ้าแดง หรือ ผ้าขาวแต่ระบายรอบเป็นผ้าแดง ห้อยย้อยด้วยบุบผามาลัย เพราะนิยมว่าจะมีเทพเจ้าทั้งหลาย มีภุมมเทวดา เป็นต้น มาประชุมฟังด้วย หากแต่ส่วนมากนิยมจัดทำเฉพาะในคราวมีงานพิธีสมรสอันนิยมเรียกว่า วิวาหมงคล ซึ่งผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพอใจต้องการให้เทพบุตรเทพธิดามาร่วมประชุ มเพื่อสวัสดิมงคลในงาน ถือกันเป็นธรรมเนียมทีเดียว
ถ้าเจ้าภาพต้องการให้พระสงฆ์สวดมหาสมัยสูตร ก็ต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องดังกล่าวแล้ว พระสงฆ์ก็จะสวดให้ แม้จะไม่ออกปากร้องเรียน ขอให้ท่านสวดก็ตาม ด้วยสถานที่แสดงชัดให้ท่านทราบ แต่ถ้าไม่จัดสถานที่ให้ถูกต้องดังกล่าว แม้เจ้าของงานมีความประสงค์จะให้สวดมหาสมัยสูตร พระสงฆ์ก็จะอิดเอื้อนไม่ยอมสวดให้ ด้วยจัดที่ไม่สมเกียรติมหาสมัยสูตร
ม ีเรื่องเล่าว่า สมัยเมื่อพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานรุ่งเรืองอยู่ที่ลังกาทวีป ครั้งนั้น พระสุตธระรูปหนึ่ง ได้ตั้งกัลยาณจิตสาธยายมหาสมัยสูตรด้วยสมาธิจิต ตั้งแต่ต้นจนจบลงด้วยดี ขณะนั้น เทพธิดาซึ่งสิงอยู่ที่ไม้กากะทิงใหญ่ ใกล้ประตูถ้ำโกฏิบรรพต มีศรัทธาเลื่อมใสมาฟังมหาสมัยสูตร ซึ่งพระสุตธระรูปนั้นสาธยายด้วยจิตสงบจนจบลง เกิดความปิติปราโมทย์เปล่งวาจาสาธุการว่า “ สาธุ สาธุ”
ค รั้นพระสุตธระ ได้สดับเสียงสาธุการ ของนางเทพธิดา ก็แปลกใจว่ามีเสียงสาธุของใครปรากฏขึ้นในเวลาราตรีเช่นนี้ จึงร้องถามออกไปว่า “ ใครนั้น เปล่งเสียงสาธุการ”
“ดิฉัน เทพธิดา ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ไม้กากะทิง แทบประตูถ้ำ”
“ขอโทษเถอะ แม่เทพธิดา สาธุการให้ใครไม่ทราบ”
“ถ้าสาธุการถวายพระคุณท่านซิเจ้าค๊ะ”
“ถวายอาตมาเรื่องอะไร”
“เรื่องสาธยายพระมหาสมัยสูตร ของพระคุณท่านนั่นแหละค่ะ”
“แม่เทพธิดาฟังแต่เมื่อไร”
“ตั้งแต่พระคุณท่านเริ่มทีเดียวค่ะ พระสูตรนี้มีอรรถพยัญชนะไพเราะจริงน๊ะค๊ะ ดิฉันได้ฟังเป็นครั้งที่สองปลาบปลื้มใจมากค่ะ”
“ครั้งที่หนึ่ง แม่เทพธิดาฟังที่ไหนไม่ทราบ”
“ได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงด้วยพระองค์เองทีเดียวค่ะ ที่ป่ามหาวัน ตั้งแต่บัดนั้นมาจนบัดนี้ จึงได้ฟังพระคุณท่านเป็นครั้งที่สอง”
“ครั้งนั้น มีผู้คนฟังมากไหม แม่เทพธิดา”
“นอกจากพระสงฆ์พุทธสาวกแล้ว ไม่มีมนุษย์ที่ไหนได้ฟังหรอกค่ะ มีแต่เทพยดามาประชุมกันถึงหมื่นโลกธาตุ สุดที่จะนับประมาณทีเดียวค่ะ”
“แม่เทพธิดาได้เข้าไปอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ณ ป่ามหาวันเทียวหรือ”
“แ หม พูดถึงเรื่องนี้ ดิฉันยังอดน้อยใจในวาสนาต่ำต้อยน้อยศักดิ์ สำหรับตัวดิฉันอยู่ไม่หายเลยค่ะ คือ ครั้งนั้น เทพเจ้าผู้มเหศักดิ์มาประชุมกันแน่น อย่าพูดถึงป่ามหาวันเลยค่ะ ที่ดิฉันอยู่ และดิฉันก็มิได้ตั้งใจว่าจะอยู่ด้วย รู้ตัวว่าบุญวาสนาน้อย อุตส่าห์ถอยไปอยู่ป่าชมภูโกละ คิดว่าจะยืนฟังอยู่ที่นั่น ครั้นเทพดาผู้มเหศักดิ์มามากเข้า ก็ต้องถอยไปโรหนะชนบท ถอยไปหลังมหาคาม ในที่สุดตกทะเลเลยลงไปยืนแช่น้ำฟังอยู่เพียงคอ แต่ก็ต้องอดชมบุญตัวอยู่มากเหมือนกันที่ได้ฟังจนได้”
“ก็อยู่ไม่ไกลออกไปเช่นนั้น แม่เทพธิดาจะมองเห็นพระบรมศาสดาละหรือ? จะได้ยินพระสุรเสียงที่ตรงตรัสประทานอยู่หรือ ?”
“ไ ด้ยินเจ้าค่ะ ได้ยินชัดทุกบททุกพยัญชนะเทียวค่ะ แม้พระพักตร์พระบรมศาสดาดิฉันก็เห็นถนัดมากค่ะ เสมือนหนึ่งว่าทรงประทับนั่งแสดงอยู่เฉพาะหน้าดิฉันเทียวค่ะ ดิฉันยังรู้สึกละอายพระองค์ที่ทรงทอดพระเนตรเห็นดิฉันยืนแช่น้ำฟังธรรมอยู่ต ลอดเวลา”
“แม่เทพธิดาทราบไหมว่า ครั้งนั้นที่เทพเจ้าบรรลุมรรคผลประมาณสักเท่าใด”
“ประมาณไม่ได้ดอกพระคุณท่าน มากเหลือเกิน”
“แล้วก็แม่เทพธิดาได้บรรลุอรหันหรือเปล่า”
“ไม่ได้หรอกค่ะ ดิฉันบุญน้อย”
“ถ้าไม่เช่นนั้น แม่เทพธิดาก็คงจะได้บรรลุอนาคามีผล”
“แม้อนาคามีผลก็สุดเอื้อมค่ะ ได้บอกแล้วว่า ดิฉันบุญน้อยมาก”
“มิฉะนั้น ก็ต้องไปพลาดพระสกทาคามี เพราะแม่เทพธิดาตั้งใจฟังดีอย่างนี้”
“ยิ่งกว่าพลาดอีกค่ะ พระคุณท่าน คนโง่นี่ค๊ะ ถึงจะฟังอย่างนี้ก็ยังไม่ได้อยู่นั่นแหละ”
พระสุตธระ ติดใจถามต่อไปอีกว่า “แม้จะพลาดพระสกทาคามี แม่เทพธิดาก็จะต้องได้พระโสดาปัตติผล ไว้เป็นสมบัติใช่ไหม?”
นางเทพธิดาไม่ตอบ ตามวิสัยของพระอริยเจ้า กล่าวเลี่ยงไปว่า “ มีเทพบุตร เทพธิดาบรรลุกันมากค่ะ พระคุณท่าน”
“ทำอย่างไร อาตมาจะได้เห็นแม่เทพธิดา กรุณาแสดงกายให้อาตมาเห็นได้บ้างไหม?”
“อ ย่าดีกว่าพระคุณท่าน แต่ถ้าพระคุณท่านประสงค์จริงๆ ดิฉันจะแสดงแต่เพียงนิ้วมือ” ว่าแล้วนางเทพธิดาก็ยกนิ้วมือประทับที่ตรงช่องลูกดานประตูวิหาร ด้วยอานุภาพรัศมีนิ้วมือได้แผ่สร้านส่องสว่างไปทั่วบริเวณ ต่อนั้น นางเทพธิดาก็กล่าวเตือนพระสุตธระ ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มั่นอยู่ในไตรสิกขา ที่สุดก็อำลาจากไปในทันใดนั้น
เรื่องนี้ แสดงว่ามหาสมัยสูตรเป็นมนต์ที่บริบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะพร้อมด้วยอานุภาพ เป็นสิริมงคล ควรแก่การสดับฟังยิ่งนัก
ป ระการหนึ่ง อานุภาพของมหาสมัยสูตรนั้น ไม่เพียงแต่จะสร้างความสวัสดีมงคลให้แก่สถานที่และผู้สดับเท่านั้น อานุภาพของมหาสมัยสูตรยังช่วยกำจัด ช่วยบรรเทาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติอุปัทวันตราย ตลอดความอัปรีจัญไรโพทัยทิบาตนานาประการอีกด้วย เช่น ลูกอุกาบาต อันมีลักษณะแดงเหมือนดวงไฟ ขนาดโตเท่าผลมะพร้าว หรือผลส้มโอ ลอยจากอากาศตกลงในเวลากลางคืน ถือกันว่า เป็นลางบอกเหตุร้ายจะเกิดขึ้นโบราณก็นิยมอาราธนาพระสงฆ์มาสวดมหาสมัยสูตร เพื่อบรรเทาเหตุร้ายอันจะพึงมีนั้น
เ รื่องเช่นนี้เคยลามปามไปถึงชาวบ้านที่นิยมมหาสมัยสูตร ใช้เป็นวิธีลงโทษภิกษุสามเณรที่เข้าไปบิณฑบาตรในบ้าน หากไปสะเพร่าทำบาตรหรือฝาบาตรตกในลานบ้าน ถือว่ากำลังทำเหตุร้ายไม่เป็นมงคลให้แก่บ้านเขา ต้องให้พระเณรรูปนั้นยืนสวดมหาสมัยป้องกันเหตุร้ายให้ ที่บางแห่งกรุณาให้นั่งบนครกตำข้าว ห้อยเท้าเหยียบพื้นดินตรงนั้นสวดดูๆเหมือนจะลงโทษมากไป แต่ก็เป็นผลดีทำให้พระเณรมีการสังวรถือบาตรดีมาก ทั้งเป็นอุบายให้พระเณรขยันท่องมหาสมัยสูตรไว้ ฉวยพลาดพลั้งจะได้สวดให้เขาได้ เป็นการรับเคราะห์จากเขาเอาไปวัด ให้ความสวัสดีแก่เจ้าของบ้าน
แ ม้ในพระราชพิธีใหญ่ๆ ในพระบรมมหาราชวัง เช่น พิธีตรุษสงกรานต์ แต่ก่อนก็นิยมสวด ทางราชการได้จัดอาราธนาให้พระสวดหนึ่งสำหรับโดยเฉพาะทีเดียว รวมความว่า ในพิธีมงคลใหญ่ นิยมให้สวดมหาสมัยสูตร บัดนี้ ดูห่างๆไป จักเป็นเพราะต้องใช้เวลามาก ด้วยเป็นสูตรใหญ่ โบราณเรียกว่าเป็นมนต์ผูกหนึ่ง แม้ในสมัยนั้น เจ้าภาพก็รู้สึกลำบากใจในเรื่องใช้เวลามาก จะไม่สวดก็เสียดาย จะให้สวดเวลาก็ไม่พอ จึงมีนิยมให้ตัดสวดแต่น้อย สวดเพียง สัฏเฐเต ในท้ายพระสูตร มีจำนวน ๑๒ คาถา
มูลเหตุของพระสูตรนี้มีเรื่องว่า
ส มัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงปรากฏแก่มวลเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นโมลีโลก ซึ่งทรงพระกรุณารื้อขนสัตว์ให้ข้ามจตุรโอฆสงสารนับแต่ทรงมีพระมโนปณิธาน ในอันจะบรรลุถึงซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณก็ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ประการได้บริบูรณ์ตามพระพุทธบัณฑูรซึ่งประทานไว้ เป็นเยี่ยงอย่างทั่วไปแก่พุทธบริษัททั่วเมทนีดล ซึ่งทุกๆคนจะต้องบำรุงตน สร้างตนด้วยการศึกษาและการปฏิบัติให้คุณธรรมอันดีก่อน ต่อนั้น จึงค่อยบำเพ็ญตนให้เป็นอากรแห่งประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นสืบไปนี้เป็นวิสัยของบ ัณฑิตย์ ซึ่งสมเด็จพระธรรมสามิศร์บรมศาสดาได้ทรงบำเพ็ญเป็นเยี่ยงอย่างอันดีมาตั้งแต ่ต้นจนอวสาน นับตั้งแต่ทรงกำจัดพญามารและเสนามารให้ปราชัย และทรงบรรลุธรรมมาภิสมัย ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า จัดว่าได้ทรงบำเพ็ญ อัตตทัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่พระองค์เองโดยเฉพาะ ต่อนั้น ก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จเทศนาสั่งสอนเวไนยนิกร ตั้งแต่ทรงประทานธรรมจักรอันบวรปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ ให้พระโกณทัญญะเถระได้บรรลุโสดา อันนี้จัดว่าทรงบำเพ็ญ โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่โลก คือแก่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะ สมพระหฤทัยที่ได้ทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวชเนาในพนัศพนมไพร เริ่มเสด็จประดิษฐานพระศาสนาไว้ในมคธรัฐ พอสมควรแก่เวลาแล้วก็ปรารภ ญาตัตจริยาปรารถนาจะทรงทำประโยชน์สุขแก่พระประยูรญาติ ด้วยอำนาจพระเมตตาและกตัญญู จึงสมเด็จพระบรมครูก็เสด็จพระพุทธดำเนินจากเบ็ญจคีรีนคร มีพะสงฆ์สาวกบทจรตามพระยุคคลบาท ๕๐๐ องค์ โดยมรรคาป่าระหงพงพนัศแนวไม้ กำหนดทางไว้ ๖๐ โยชน์ ที่ยาตราโดยผาสุกไม่รีบร้อนก็เสด็จถึงกบิลพัสดุ์ นครโดยสวัสดี
ป จฺจุคมนํ กตฺวา ประชาชนชาวบุรีกบิลพัสดุ์ต่างก็มีความโสมนัส ปิติและปราโมทย์ นับแต่พระเจ้าสิริสุทโธทนะ พระพุทธบิดาลงมา พากันปรีดาต้อนรับเป็นการใหญ่ ด้วยศรัทธาเลื่อมใส พากันรมย์รื่นอยู่ในร่มใบบุญ ทั้งตั้งมั่นอยู่ในธรรมคุณของพระบรมศาสดา ที่ทรงพระมหากรุณาประทานให้
พ ระพุทธศาสนาเกิดเป็นธงชัยประจำรัฐแห่งกบิลพัสดุ์มหานครเกียรติคุณได้ฟุ้งขจร ไปทั่วหล้า ว่าพระพุทธศาสนาเป็นฉัตรชัย ให้ความสงบสุขกายใจแก่ประชาชน จึงคนใจบุญทั้งสองพระนคร คือ กรุงเทวทหะและกรุงกบิลพัสดุ์ ตั้งต้นแต่พระมหากษัตริย์ ลงมาถึงชาวบุรี ต่างก็มีความยินดีพรักพร้อมกันพลีทรัพย์ออกบูชาด้วยน้ำใจงาม สร้างวัดนิโครธาราม ซึ่งใหญ่กว้างและงามตระการด้วยรัตนอันวิจิต น้อมถวายพระธรรมสามิศร์ให้เสด็จสถิตย์สำราญพระองค์ พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์สาวกบริพารอยู่จำพรรษากาลในวสันตฤดู
ค รั้งนั้น สมเด็จพระบรมครูก็ทรงรับอาราธนา เสด็จอยู่จำพรรษาตามสมควรแก่พระอัธยาศัย วันหนึ่ง เสด็จประทับสำราญพระทัยในป่ามหาวัน ที่อุดมด้วยสันติวิเวก ควรแก่สัลเลขปฏิปทา ของพระอริยสงฆ์ที่ตามเสด็จพระบรมศาสดา ไปยังกุณาละสระโบกขรณีที่รื่นรมย์ ขณะนั้น บรรดามหาพรหมและเทวดาใน ๑๐ โลกธาตุ ก็พากันมาสันนิบาตถวายบังคมพระบรมธรรมสามิศร์ แล้วต่างก็ภาษิตคาถาสรรเสริญ ซึ่งพระพุทธคุณ และสังฆคุณให้เพลิดเพลินแก่สมาคมอันใหญ่ ด้วยมีครั้งเดียวในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสประทานอมตบทให้พระสงฆ์และเทพเจ้าเอิบอิ่มในอม ตรส ดำเนินตามสันติวรบทอันเกษมสานต์
ค รั้งนั้น พญามารทราบประพฤติเหตุ ว่าเทวาและเทเวศร์สุดที่จะประมาณ กำลังสดับโลกุตตรธรรมของพระศาสดาจารย์ เพื่อข้ามแก่งแห่งมารวิสัย พญามารก็คุมแค้นในใจเป็นที่สุด จึงสั่งเสนามารให้รีบรุดมาทำลายล้างเทวสมาคม ให้เลิกละมโนรมย์กุศลจิต กลับมาข้องอยู่ในเบญจพิพิธบ่วงมาร ต่างก็สำแดงอาการให้น่าพิลึกสะพึงกลัว ยากที่เทพเจ้าจะประคับประคองจิตของตัวมิให้หวั่นไหว พญามารตบพื้นพสุธาให้ดังสนั่นไกลยิ่งกว่าฟ้าผ่า แสดงอาการดังไฟป่ากำลังลุกลามเข้ามารอบข้างเทวสมาคม ด้วยเดชะมหาสมัยสูตรของพระบรมศาสดา กำบังหูกำบังตามิให้เห็นมิให้ดูมิให้รู้ทุกประการ พญามารและเสนามารก็สำแดงปาฏิหาริย์เหนื่อยเปล่าไม่เป็นผล ต่างก็ล่าทัพกลับเข้าแดนของตนโดยสิ้นฤทธิ์ต่อนั้น สมเด็จพระธรรมสามิศร์ก็ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ ให้พระสงฆ์และเทพเจ้าเห็นหมู่เสนามารกำลังปราศนาการหนีไป ด้วยอานุภาพแห่งธรรมมหาสมัยของพระบรมศาสดา ขอมหาสมัยมงคลดังพรรณนามาจงมีแก่มวลพุทธบริษัท ที่มุ่งปฏิบัติตามสมควรแก่วิสัยในกุศล ขอยุติความในมหาสมัยมงคลแต่เพียงนี้
เปลวสีเงิน
หนังสือพิมพ์ “ไทยโพสต์”
ด้วย"เทพหมื่นจักรวาล"อภิบาลท่าน
31 ธันวาคม 2551 กองบรรณาธิการ
วันนี้-พุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เที่ยงคืน-คืนนี้ ฟ้าจะสันตติกาลสู่ศักราชใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ ผมขอนำ "มหาสมัยสูตร" ซึ่งใช้สวดเฉพาะวาระ "สู่มงคลใหม่" มามอบให้ท่าน
ขอจงอดทน-ตั้งสติสาธยายให้จบด้วยจิตบรรเจิด แล้วชีวิตประเสริฐปานปาฏิหาริย์จะบังเกิดกับท่าน ผมเพียรคัดลอกมาเพื่อท่านอยู่หลายวัน ขออย่าได้ราความตั้งใจ ค่ำนี้-ค่อยๆ สาธยายไปให้จบเถิด
มหาสมัยสูตร
พระสูตรที่เทพในหมื่นจักรวาลชื่นชอบฟังมากที่สุด
๐ เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิฯ ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะฯ อะถะโข จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานัง เทวานัง เอตะทะโหสิฯ อะยัง โขภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะตะตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปสังกะมิตะวา ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติฯ
อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปิ นามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา พาหัง ปะสาเรยยะ ปะสาริตัง วา พาหัง สัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ เทเวสุ อันตะราหิตา ภะคะวะโต ปุระโต ปาตุระหังสุฯ อะถะโข ตา เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ เอกะมันตัง ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิฯ
มะหาสะมะโย ปะวะนัสะมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะ อิมัง ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติฯ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวันโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิฯ ตัตระ ภิกขะโว สะมาทะหังสุง จิตตัง อัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตะวา อินทะริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติฯ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิฯ เฉตะวา ขีลัง เฉตะวา ปะลีฆัง อินทะขีลัง โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตา สุสู นาคาติฯ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวันโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ เย เกจิ พุทธัง สะระณัง คะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง ปะหายะ มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติฯ
อะถะโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุ เทวะตา สันนิปะติตา โหนติ ตะถาคะตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเว อะเหสุง อะตีตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ อะนาคะตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา ภะวิสสันติฯ เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิ กะโรถะฯ ภาสิสสามีติ เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ
สิโลกะมะนุกัสสามิ ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตา เย สิตา คิริคัพภะรัง ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะ สัลลีนา โลมะหัง สาภิสัมภุโน โอทาตะมะนะสา สุทธา วิปปะสันนะมะนาวิลา ภิยโย ปัญจะสะเต ญัตะวา วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เต จะ อาตัปปะมะกะรุง สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง เต สัมปาตุระหุ ญานัง อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง ทิสา สัพพา ผุฎา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ คิราหิ อะนุปุพพะโสฯ
สัตตะสะหัสสาวะ ยักขา ภุมมา กาปิละวัตถะวา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
ฉะสะหัสสา เหมะวะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะมันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
กุมภิโร ราชะคะหิโก เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง ยักขินา ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก โสปาคะ สะมิติง วะนังฯ
ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
ทักขินัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะมันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฎโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสังฯ จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ วะเน กาปิละวัตถะเวฯ เตสัง มายาวิโน ทาสา อาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะราชาโน คันธัพพา สะหะ ราชุภิ โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
อะถาคู นาภะสา นาคา เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู ปายาคา สะหะ ญาติภิ ยามูนา ธะตะรัฏฐา จะ อาคู นาคา ยะสัสสิโน เอราวัณโณ มะหานาโค โสปาคะ สะมิติง วะนังฯ
เย นาคะราเช สะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชาปักขิ วิสุทธะจักขู เวหาสะยา เต วะนะมัชฌะปัตตา จิตรา สุปัณณา อิติ เตสะนามัง อะภะยันตะทา นาคะราชานะมาสิ สุปัณณะโต เขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ อุปวะหะยันตา (ให้อ่านออกเสียงว่า อุเปา-หะ-ยัน-ตา) นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุ พุทธังฯ
ชิตา วะชิระหัตเถนะ สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตะวา พะลิง เสนัง ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยทานิ ภัททันเต ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง วะรุณา วารุณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะ อะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสู ปะนิสา เทวา จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตะวา อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ อัตจุตา จะ อะเนชะกา สุเลยยะรุจิรา อาคู อาคู วาสะวะเนสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
สะมานา มะหาสะมานา มานุสา มานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู อาคู มะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา เย จะ โลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ มานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
สุกกา กะรุมหา อะรุณา อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคู ปะชุนโน โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณธวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
เขมิยา ตุสิตา ยามา กัฏฐะกา จะ ยัสสิโน ลัมพิกะตา ลามะเสฏฐา โชตินามา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนังฯ
สัฏเฐเต เทวะนิกายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง เยจัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติมักขีลัง โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเขโมฆะตะรัง นาคัง จันทังวะ อะสิตาติตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สันนังกุมาโร ติสโส ตะ โสปาคะ สะมิติง วะนังฯ
สะหัสสะพรัหมะโลกานัง มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต ภิสะมากาโย ยะสัสสิโน ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชฌะโต อาคา หาริโต ปะริวาริโต เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ ราเคนะ พันธะมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง อิติ ตัตถะ มะหาเสโน กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ สะรัง กัตะวานะ เภระวัง ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุทาวัตติ สังกุทโธ อะสะยังวะเส ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เต จะ อาตัปปะมะกะรุง สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง สัพเพ วิชิตะสังคามา ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ สาวะกา เต ชะเนสุตาติฯ
# # # # # # # # #
นี้คือพระสูตรที่ "พระพุทธองค์" ทรงแสดงแล้วเหล่าเทพจะมาประชุมฟังกันมากที่สุด ชื่นชอบมากที่สุด และเมื่อมีการสวดมหาสมัยสูตรที่ไหน เทพเทวาในหมื่นจักรวาลจะมาชุมนุมกันฟังด้วยความชื่นชอบที่นั่น พร้อมอภิบาลรักษาผู้พร่ำมนต์ภาวนาให้สุข-ศานติตลอดไป.
10 ม.ค. 2551
เปลว สีเงิน
หนังสือพิมพ์ “ไทยโพสต์”
เรื่องสุดท้าย มีบางท่านโทร.มาถามว่า บทสวดมนต์ "มหาสมัยสูตร" ที่ผมคัดลอกให้ไปสวดกันตอนปีใหม่นั้น จะสวดเฉพาะบทแปลภาษาไทยได้ไหม ขอตอบว่า "ได้เลย" ไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น
จะสวดบทภาษาบาลี หรือบทภาษาไทย สรรพคุณเหมือนกัน ๑๐๐% ทุกประการ โดยมีเงื่อนไขอยู่อย่างเดียว คือ ใจต้องมีสมาธิ ปีติ ศรัทธา ต่อการสวดนั้น คำว่าศรัทธาหมายความว่า
ต้องไม่มีความสงสัย ข้องใจใดๆ ในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และในสวรรค์-นรกว่ามีจริง หรือไม่มีจริง เป็นต้น
และถ้าจิตถึงสมาธิในฐานศรัทธานั้นแล้ว บทสวดก็ไม่จำเป็นด้วยซ้ำ!
แต่เอาหละ เราๆ ท่านๆ รวมทั้งผม ยังอยู่ในภาวะ "ผู้ต่ำต้อยในพุทธภูมิ" เหมือนลอยคอในทะเล ถึงว่ายเป็น แต่เอาพวงชูชีพใส่เอวไว้ด้วยก็ไม่เสียหายอะไร เรื่องสวดมนต์ก็เหมือนกัน หมั่นสวดไว้เถอะครับ เพราะบทสวดนั้นจะเป็นหลักให้ "ใจ" เราเกาะ
บางท่านอาจสงสัย การสวดมนต์นั้น สวดในใจกับสวดเปล่งเสียง เหมือนหรือไม่เหมือนกัน "พระชุมพล พลปัญโญ" ท่านรวบรวมประเด็นนี้ไว้ในหนังสือ "พุทธมงคลอานิสงส์" อย่างนี้ครับ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปรมาจารย์แห่งพระกรรมฐานทางภาคอีสานใต้ กล่าวแสดงอานิสงส์แห่งการสวดสาธยายพระพุทธมนต์ไว้ ดังนี้
การสาธยายมนต์ หรือพุทธมนต์ จะเป็นผู้ใดสวดก็ตาม คือจะเป็นพระสงฆ์สวดตามกิจวัตรของพระสงฆ์เช้า-เย็น หรือชาวพุทธสวดเพื่อระลึกถึงพุทธคุณ ย่อมจะมีอานิสงส์แตกต่างกันดังต่อไปนี้
-ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้หมื่นจักรวาล
-สวดออกเสียงพอตัวเองได้ยิน มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนจักรวาล
-สวดออกเสียงธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้แสนโกฏิจักรวาล
-สวดออกเสียงเต็มที่ มีอานุภาพแผ่ไปได้อนันตจักรวาล
แม้แต่สัตว์ที่เสวยกรรมอยู่ในภพที่สุดแห่งอเวจีมหานรก ก็ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงแห่งพระพุทธมนต์ ผ่านเข้าถึงชั่วขณะหนึ่ง-ครู่หนึ่ง ยังดีกว่าหาความสุขไม่ได้ตลอดกาลเป็นนิตย์
ที่ผมคะยั้นคะยอให้ท่านสวดมนต์-สวดพรกันนั้น ก็ไม่ใช่อะไรหรอกครับ คือตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไปนี้ และอีกหลายเดือน เทพเทวดา ผู้หลักผู้ใหญ่ที่รักษาบ้านรักษาเมืองท่านคล้ายอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
พูดง่ายๆ ก็คือ เทพผู้คุ้มครองบ้านเมืองทั้งหลาย ท่าน "ขาดกำลังใจ" น่ะครับ!
เราก็ต้องให้กำลังท่าน ให้ด้วยการสวดมนต์ภาวนา โดยเฉพาะ "มหาสมัยสูตร" ซึ่งเป็นบทสวดที่เทพเทวาในหมื่นจักรวาลนิยมชมชอบเพื่อสดับตรับฟังมากที่สุด
เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์แสดงมหาสมัยสูตรนี้ ปรากฏว่า เฉพาะเทวดาที่ฟังแล้วบรรลุพระอรหัตผลตั้งแสนโกฏิ และที่บรรลุในชั้นธรรมลดหลั่นลงมาอีกสุดจะประมาณได้
ฉะนั้น ถ้าเราช่วยกันสวดมหาสมัยสูตรมากๆ ก็เหมือนการชาร์ตแบต เป็นการให้กำลังเทพเทวดาที่รักษาบ้านรักษาเมืองอยู่ให้มีจิตใจพลิกฟื้น กระปรี้กระเปร่าด้วยโอสถพระพุทธมนต์
และใครสวดมหาสมัยสูตรที่ไหน เทพเทวดาก็จะไปห้อมล้อมอยู่ที่นั่น ฉะนั้น ก่อนหลับ ก่อนนอน ท่านนั่งสวดมนต์อยู่ที่บ้าน ทั้งเทวดารักษาเมือง รักษาบ้านท่าน และเทวดาประจำตัวท่าน ก็จะมาห้อมล้อม แซ่ซ้องสาธุการอำนวยพรให้กับท่าน
เทวดารักษาเรา เราก็ต้องรักษาเทวดา เข้าทำนอง "ถ้าเรารักษาความดี ความดีนั้นก็ย่อมรักษาเรา"!
เอาหละ..เราเคยคุยกันถึงเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ไปแล้ว โดยผมได้อัญเชิญ "พระบรมราโชวาท" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาให้ได้ทราบถึงแนวทางดำเนินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงไปแล้ว ๒-๓ ตอน
ทีนี้มาศึกษาตัวอย่างจากปฏิบัติการที่ปรากฏผลสำเร็จเป็นรูปธรรมให้จับต้องได้กันบ้างดีไหม เผื่อพี่น้องร่วมชาติของเราที่พบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกขณะนี้จะได้กระจ่างในแนวทาง และจะได้มีกำลังใจพลิกฟื้นคืนสังคมชาติ
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ทรงสอน และทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่างไว้แล้วเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีโน่นด้วยซ้ำ แต่พวกเราไม่สนใจกันเอง ผมจะอัญเชิญคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระองค์ท่านมาให้ได้อ่านกันอีกครั้ง
ยาว-ด้วยความละเอียดในเนื้อหาสุดจะประมาณค่าได้ ลงติดต่อกัน ๓ วันก็ไม่แน่ว่าจะจบ แต่ถ้าท่านได้อ่านจะต้องอุทานว่า "จบแล้วหรือ?" เพราะกำลังเพลิดเพลิน ดื่มด่ำฉ่ำชื่นใจ ได้ทั้งความรู้ และทั้งตื้นตันในน้ำพระทัยรัก โอบเอื้อต่อพสกนิกรของพระองค์ท่าน
เริ่มตั้งแต่ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคมไปเลยนะครับ อาจติดต่อกันทุกวันบ้าง อาจมีข่าวสารอื่นแทรกเป็นบางวันบ้าง ท่านที่ตั้งใจจะ "สู่ชีวิตใหม่" ตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เตรียมต้นทุน ๓ อย่างพอ คือ ๑.พอใจ-ใฝ่เพียร-เวียนดู-เป็นครูตัวเอง ๒.มีที่ดินทำกิน และ ๓.มีลมหายใจ ส่วนนอกนั้น "มีพร้อม" สำหรับคนที่พร้อม..เพื่อ
เศรษฐกิจพอเพียง.
เนื้อหาโดยย่อ ตำนานมหาสมัยสูตร
รวบรวมโดย พระมหาเหลา ประชาษฎร์
มหาสมัยสูตรปรากฎความในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกามหาวรรค ภายหลังการบรรลุอนุตราสัมมาสัมโพธิญาณของพระบรมศาสดา พระองค์ได้เสด็จจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก และเมื่อทราบทราบว่าพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาประชวรหนัก จึงเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์อีกครั้งเพื่อเยี่ยมอา การพระพุทธบิดา พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก ทรงถวายพยาบาลพระพุทธบิดาตามพุทธวิสัย และโปรดให้พระพุทธบิดาได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมปฏิสัม ภิทาทั้งหลาย ในกาลต่อมาพระพุทธบิดาก็ปรินิพพานบนพระแท่นบรรทมภายใ ต้เศวตฉัตรนั้งเอง ภายหลังถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธบิดา พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลใดมีจิตปรารถนาพระโพธิญาณ จงอุตสาหะภิบาลบำรุงบิดามารดา ประพฤติกุศลสุจริตธรรม จักสมปรารถนาทุกประการ"
รุ่งขึ้นอีกวัน ขณะทีพระองค์ประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพันดุ์ เหล่าพระญาติข้างฝ่ายศากยะ และ โกลิยะที่ตั้งหลักแหล่งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโรหิณีได้วิ วาทกันเรื่องแย้งน้ำทำนา กษัตริย์ทั้งสองจึงยกกองทัพออกไปจะทำสงครามกัน เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงแจ้งให้ใคร ๆ ทราบ เสด็จพุทธดำเนินแต่เพียงพระองค์เดียว ไปประทับนั่งขัดบัลลังก์ระหว่างกองทัพกษัตริย์ทั้งสอ งนคร
ครั้นกองทัพชาวเมืองกบิลพัสดุ์และชาวเมืองโกลิยะเห็น พระองค์นั้น ต่างก็คิดว่าพระศาสดาผู้เป็นพระญาติ ผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมา จึงทิ้งอาวุธเขาไปเฝ้าพระพุทธองค์ทั้งที่พระองค์ทรงท ราบสถานการณ์ขณะนั้นดีแต่ก็ตรัสถามเรื่องราวที่เกิดข ึ้น แล้วตรัสสอนว่า มหาบพิตร พวกพระองค์อาศัยน้ำที่มีค่าน้อยแล้วทำให้กษัตริย์ซึ่ งหาค่ามิได้ให้ฉิบหายทำไมกัน
ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัส ผันทนชาดก ทุททุภายชาดก และลฏุกิกชาดก เพื่อระงับการวิวาทของพระญาติทั้งสองฝ่าย และตรัสรุกขธรรมชาดก และวัฏฏชาดก เพื่อให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงกันว่า "หมู่ญาติยิ่งมากยิ่งดี ต้นไม้ที่เกิดในป่าแม้จะโตเป็นเจ้าป่า ถ้าตั้งอยู่โดดเดี่ยวย่อมถูกแรงลมพัดโค่นลงได้ และว่านกทั้งหลายมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ย่อมพาตาข่ายไปได"้ และในที่สุดก็ตรัส อัตตทัณฑสูตร
กษัตริย์เหล่านั้นได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว เกิดความสังเวชพากันทิ้งอาวุธกล่าวว่า หากพระบรมศาสดา ไม่เสด็จมา พวกเราก็จะฆ่าฟันซึ่งกันและกันเลือดไหลนองเป็นสายน้ำ ไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเห็นหน้าลูกเมียญาติพี่น้อง กษัตริย์ทั้งสองพระนครจึงถวายพระราชกุมาร 500 องค์ คือ ฝ่ายละ 250 องค์ ให้บรรพชา อุปสมบทกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
อรรถกถามหาสมัยสูตร เล่าถึงเหตุการณ์ที่ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นบรรลุธรรม ไว้ว่า เมื่อพระพุทธองค์นำภิกษุราชกุมารเหล่านั้นมาสู่ป่ามห าวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ภิกษูปูถวาย ในโอกาสทีสงัด ตรัสบอก กัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับกัมมัฏฐานแล้ว ต่างแยกย้ายกันไปเจริญวิปัสสนาตามเงื้อมผา และโคนไม้ในโอกาสที่เงียบสงัด และก็ทยอยบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็ลุกขึ้นจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จนครบทั้ง 500 รูป
อรรถถาได้อธิบายความคิดของพระที่ได้บรรลุพระอรหันต์ไ ว้ว่า พระผู้บรรลุพระอรหัตสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลายแล้ว ย่อมมีความคิดอยู่ 2 อย่างคือ
1. มีความคิดว่า คนทุกคนตลอดจนเทวดาทั้งหลาย ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมตามที่เราบรรลุได้เช่นเดียวกั น
2. พระที่บรรลุธรรมไม่ประสงค์จะบอกคุณธรรมที่ตนได้บรรลุ แก่ผู้อื่น เหมือนคนที่ฝังขุมทรัพย์ไว้ไม่ต้องการให้ใครรู้ที่ฝั งขุมทรัพย์ของตน
เมื่อเทวดาทั้งหลายทราบว่า พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่ป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ ์ พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหัตบวชจากราชตระกูล ต่างก็กล่าวว่า นี้เป็นสมัยแห่งการประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน พวกเราจักไปชมความงดงามของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก ผู้หมดจด ต่างก็แต่งคาถากล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก เทวดาที่มาประชุมกันในวันนั้นมีจำนวนมากมาย ภิกษุบางรูปก็เห็นเทวดาร้อยหนึ่ง บางรูปก็เห็นพันหนึ่ง บางรูปก็เห็นหมื่นหนึ่ง บางรูปก็เห็นแสนหนึ่ง บางรูปก็เห็นไม่มีที่สิ้นสุด แตกต่างกันไปตามกำลังญาณของแต่ละองค์
ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมเทวดาจ ำนวนมากเช่นนี้ก็เพียงครั้งเดียว พระพุทธองค์ ได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เทวดาในแสนจักรวาลมาประชุมกันเพื่อชมตถาคตและหมู่ภิก ษุสงฆ์ เทวดาประมาณเท่านี้แหละได้เคยประชุมกันเพื่อชมพระผู้ มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาลแล้ว และพวกเทวดาประมาณเท่านั้นแหละจักประชุมกันเพื่อชมพร ะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล แล้วพระองค์ก็ทรงแนะนำเทวดาแต่ละจำพวกให้ภิกษุทั้งหล ายฟังตามลำดับ ตั้งแต่กุมมเทวดาไปจนถึงพรหมโลก
ขณะที่เทวดาจากหมื่นจักรวาลมาประชุมกันจนครบนั้น ท้องฟ้าโปร่งใส่ไม่มีเมฆหมอก ก็กลับเกิดเมฆฝนคำรณคำรามกึกก้องฟ้าแลบแปล๊บพราย พระพุทธองค์ทรงพิจารณาทราบว่า หมู่มารก็ได้มาด้วย จึงทรงแนะนำให้ภิกษุรู้จักพญามารเอาไว้
พญามารกำลังสั่งบังคับเสนามารให้ผูกเหล่าเทวดาไว้ในอ ำนาจแห่งกามราคะ แต่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานไม่ให้เหล่าเทวดาเห็น พญามารไม่ได้ดั่งใจจึงทำให้เกิดฟ้าร้องกึกก้องกัมปนา ทไปทั่ว
โดยปกติในที่จะไม่มีการบรรลุมรรคผล พระพุทธองค์จะไม่ทรงห้ามมารแสดงสิ่งอันน่ากลัวของมาร แต่ในที่จะมีการบรรลุมรรคผล พระองค์จะทรงอธิษฐานไม่ให้ใครรู้เห็นสิ่งที่พญามารกำ ลังทำ เนื่องจากการประชุม ใหญ่ของเทวดาครั้งนั้น จะมีเทพบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์จึงทรงอธิษฐานไม่ให้พวกเทวดา รับรู้สิ่งอันน่ากลัวของหมู่มารนั้น พญามารนั้นจึงกลับไปด้วยความเดือดดาลฯ
สวดเมื่อไร ? สวดแล้วได้อะไร ?
มหาสมัยสูตร เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป้นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมใหญ่ขอ งเหล่าเทวดาทั้งหลายเช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่าพวกเราจะฟังพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุพระอรหันตฺ
พระสูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าพระสูตรของตน เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่เทวดาทั้งหลายประชุมกั น เมื่อเทวดาประชุมกันก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอ ยห่างออกไป เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั ้นเอง
พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า "มหาสมัยสูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้" หมายความว่าในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่ หรือในสถานใดที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ควรสวดมหาสมัยสูตร นี้
เนื่องจากมหาสมัยสูตรเป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมใช้สวดในงานทำบุญทั่ว ๆ ไป แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู ่เย็นเป็นสุขของทางบ้านเมืองเป็นหลัก นอกนั้นแล้ว การเจริญพระพุทธมนต์ยังเป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภา วนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่ก ับคำใดคำหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีจิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นเกาะแสเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใส เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเห นือสติปัญญา จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือสงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า "จิตเป็นสมาธิ"
จากหนังสือ "มหาสมัยสูตร" บทสวดมนต์เพื่อความร่มเย็นแห่งแผ่นดิน และเพื่อสันติภาพโลก
รวบรวมโดย พระมหาเหลา ประชาษฎร์
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลที่มาhttp://www.dhammathai.org/indexthai.php
- Details
- Hits: 5808
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
เนวะ ทวายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ มะทายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
นะ มัณฑะนายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะ วิภูสะนายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้ แห่งกายนี้
ยาปะนายะ
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ
ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว
นาวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย
ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุขด้วย จักมีแก่เราดังนี้แล.
- Details
- Hits: 6864
อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมี (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
- Details
- Hits: 6884
คำว่า "โอม" หมายถึง มหาเทพทั้ง 3 คือ พระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์
คำว่า "อะ อุ มะ" หมายถึง