การที่เราลงมือทำอะไรเพื่อคนอื่น มันเป็นความวิเศษสุดยากที่คนทั้งหลายจะทำได้ แต่การลงมือเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อหวังเกื้อกูล และเอื้ออำนวยประโยชน์สุขส่วนรวมให้เกิด เช่น การที่เราเอื้อมมือไปดึงต้นหญ้าที่รกทาง ด้วยใจที่อาทรต่อสรรพสัตว์ที่ผ่านไปมาจะได้รับความลำบาก ยังมีค่ากว่าการที่เราจะนั่งเรียน ในโรงเรียนสัก ๑๐๐ ชั่วโมง เพราะการเรียนนั้นเพื่อยังประโยชน์ส่วนตนสำหรับประโยชน์ส่วนตนจะกลายเป็น ประโยชน์ส่วนรวมได้ก็โดย ทางอ้อม
แต่การเอื้อมมือไปดึงหญ้านั้น เป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยตรงมุ่งหมายต่อคนอื่นโดยตรง ปรารภผู้อื่นเป็นประมาณ
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ แผ่เมตตาโดยหาประมาณมิได้ คือ เมตตาต่อสรรพสัตว์ ไปทุกอณูของบรรยากาศ เพราะความเอื้ออาทรอย่างนี้ จึงทำให้โลกและสังคมอยู่ได้โดยสันติสุขและร่มเย็น
ขอเพียงแต่เราแต่ละคนช่วยกันได้โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยแม้แต่แค่การ เอื้อมมือไปเด็ดต้นหญ้าด้วยความคิดที่จะเสียสละต่อโลกและสรรพสัตว์นั้น ถือว่า เราได้เริ่มค้นหาคุณค่าในตัวเรา เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ที่เราต่างใช้เวลาส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการทำอะไร เพื่อ "ปรนเปรอ"ตัวเรามาโดยตลอด เมื่อทุกคนต่าง "แสวงหา" เพื่อ "ตัวเอง" มากขึ้นเช่นนี้จึงเกิดกลียุค และความเดือดร้อนในสังคมต่างๆ ก็จักเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น มีแนวทางของผู้แสวงหาการหลุดพ้นต่างๆ ที่เรียกกันว่า บำเพ็ญตบะบ้าง นั่งหลับตาทำสมาธิโดยไม่ใส่ใจต่อการกระทำของกายบ้าง ไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจเกื้อกูลต่อโลกและสังคม
แต่วิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งมรรคผล คนเหล่านั้นไม่พบความสำเร็จในความหลุดพ้น ไม่ได้แก่นสารสาระของมรรคผล
พระพุทธองค์เองได้ทรงเพียรพยายามอยู่ถึง ๖ ปี จึงได้เปลี่ยนมาในทางที่ทรงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ เลิกกรรมชั่ว หันมาทำดี และฝึกปรือจิต อบรมจิตของตน
ความดีประการแรกคือ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นแหล่งชีวิตของสัตว์ ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันแก่สรรพสัตว์ในทุกอิริยาบถด้วยใจเสียสละ และท้ายสุดคือ การฝึกปรือจิต พลังแห่งจิต ให้จิตมีพลัง เพื่อโน้มนำสิ่งต่างๆ ไปในทางที่เป็นประโยชน์
และด้วยกุศลแห่งจิต คือจิตที่ฉลาด และการกระทำที่ฉลาด ๒ชนิดนี้เท่านั้น ที่ทำให้พระพุทธองค์หลุดพ้นจากอำนาจของการเกิดแก่ เจ็บ และตาย วิธีการที่ฉลาดนี้ หรือมัชฌิมาปฏิปทานี้ ประกอบด้วย การฝึกปรือทางกายและใจ คือ กายกับใจนั้นต้องรวมกันเป็นหนึ่ง คือการที่ไม่ว่าเราจะกระทำการงานสิ่งใด โดยมีใจรับรู้อิริยาบถนั้นๆ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ให้จิตอยู่กับสิ่งที่เราทำตลอดเวลา
การทำเช่นนี้คือ สมาธิ โดยไม่จำเป็นต้องมีชั่วโมงแห่งสมาธิแต่เราสามารถมีสมาธิในทุกอิริยาบถ
ดังเช่น มีตัวอย่างของธรรมาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในการสอนมหาสติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสั่งสอนชาวบ้านให้รู้จักสติ ต่อมาอาจารย์ผู้นั้นเข้าไปหาอาจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ไม่มีเกียรติอะไรนักด้วยความอยากจะสนทนาธรรมด้วย ในที่พักของอาจารย์ผู้ไร้เกียรตินั้น
ในขณะสนทนา อาจารย์ผู้ไร้เกียรติ ได้ถามอาจารย์ผู้มี เกียรติว่า "เมื่อครู่นี้ ท่านถอดรองเท้าไว้ที่ฝั่งไหนของประตู และวางร่มไว้ฝั่งขวาหรือฝั่งซ้าย"
อาจารย์ผู้มากไปด้วยเกียรติยศและคิดว่าตนมีมหาสติ นั่งนึก อยู่นานก็นึกไม่ออก ว่าถอดรองเท้าไว้ที่ประตูบานไหนของบ้าน สุดท้ายจึงยอมรับว่า ตนเองยังมีสติที่ไม่สมบูรณ์ คือการกระทำยังไม่เป็น "สัมมาปฏิบัติ" ยังมีจิตระลึกรู้ถึงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นทุกอารมณ์ไม่ตลอด การกระทำของกาย จึงยังบกพร่องอยู่ เพราะ ขาดสติควบคุม
ดังนั้น วิถีทางของพระบริสุทธิธรรม คือ การทำอิริยาบถต่างๆ ด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว แม้เรื่องเล็กน้อย ต้องมีความ "ตื่น" ให้เกิดขึ้นทุกอิริยาบถ โดยไม่มีคำว่า "ลืม"
เมื่อความรู้เนื้อรู้ตัวมาประกอบกับความเอื้ออาทรต่อ "ผู้อื่น" จึงเป็นเรื่องที่นำไปสู่ การคิดถูก พูดถูก ทำถูก ที่เรียกว่า "สัมมาปฏิบัติ" จึงอยากฝากไว้ว่า ประตูของธรรมชาติและจักรวาลและนิพพานจะเปิดได้ ต้องหมายถึงว่า กายกับใจเรา "ต้องเป็นเอกภาพ"ซึ่งกันและกันในการกระทำทุกอิริยาบถทุกขั้นตอน จนท้ายที่สุด แม้กระทั่งวาระของความตายมาถึง
การเป็นหนึ่งเดียวนี้ มิใช่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้ากับธรรมชาติ หรือเป็นหนึ่งเดียวกับโลกและจักรวาล แต่เป็นปฏิ-ปักษ์ต่อกายเรานั้นใช้ไม่ได้ ความเป็นหนึ่งเดียวต่อสิ่งทั้งหลาย ต้องเกิดขึ้นมาได้จากความเป็นหนึ่งเดียวของกายกับใจ
นั่นคือ การทำกิจการงานทุกอย่างด้วยอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ทะยานอยาก อารมณ์ริษยา ละโมบ หลง ฉุนเฉียว แต่เป็นอารมณ์แห่งความรู้เนื้อรู้ตัว เป็นอารมณ์ล้วนๆ ที่ไม่มีอะไร
อย่าทำอะไรเพียงแต่ "ซาก" เหมือนตัวตุ๊กตาไขลาน ด้วยความ รำคาญ เพราะโดนภาวการณ์บังคับ
เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นโทษต่ออารมณ์ ยังให้เกิดความเกียจคร้าน หงุดหงิดและท้อถอย ระโหยโรยแรง เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ท้ายที่สุด ก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย จนกลาย เป็นท้องผูก ไข้ขึ้น อันเป็นต้นเหตุแห่งโรคภัยต่างๆ
ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้ว่าต้องทำกิจการหรืองานนั้นๆ อยู่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ควร "เอาประโยชน์"จากการกระทำนั้นๆ โดยตั้งใจทำ ทำด้วยความสมัคใจ รักในงานที่ทำทำด้วยความสนุก ในขณะเดียวกัน อย่าเอาใจไปผูกกับผลงานแต่จงเอาใจและความนึกคิดอยู่กับตัวเราเอง แล้วเอาพลังจากที่ได้จากการผูกกาย รวมใจไปทำงาน
เราจะรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย นอกจากอิริยาบถของเราเคลื่อนไหว ได้พลังกายแล้ว ใจเรายังกล้าแข็ง สรรพวิทยา วิชาการต่างๆ จะเพิ่มพูนเป็นประสบการณ์ของเรา เมื่อผลงานสำเร็จ ความอาจหาญแช่มชื่น ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนกระทำก็มีขึ้น เราจึงต้องหมั่นฝึกตนเอง แล้วนำไปวิเคราะห์ พิจารณาว่า ในการทำงาน หรือกิจการต่างๆ ของเรานั้น เราได้ทำทุกอย่าง ด้วยความรู้เนื้อ รู้ตัวอย่างรวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด และ เรียบร้อย ด้วยหรือไม่ สำหรับพ่อแล้ว การทำงานคือการได้มีโอกาส ฝึกหัด ปฏิบัติ เรียนรู้ และทดสอบพิสูจน์ทราบ ถึงศักยภาพของตนเอง
แต่การเอื้อมมือไปดึงหญ้านั้น เป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยตรงมุ่งหมายต่อคนอื่นโดยตรง ปรารภผู้อื่นเป็นประมาณ
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้บรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ แผ่เมตตาโดยหาประมาณมิได้ คือ เมตตาต่อสรรพสัตว์ ไปทุกอณูของบรรยากาศ เพราะความเอื้ออาทรอย่างนี้ จึงทำให้โลกและสังคมอยู่ได้โดยสันติสุขและร่มเย็น
ขอเพียงแต่เราแต่ละคนช่วยกันได้โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยแม้แต่แค่การ เอื้อมมือไปเด็ดต้นหญ้าด้วยความคิดที่จะเสียสละต่อโลกและสรรพสัตว์นั้น ถือว่า เราได้เริ่มค้นหาคุณค่าในตัวเรา เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ที่เราต่างใช้เวลาส่วนใหญ่สูญเสียไปกับการทำอะไร เพื่อ "ปรนเปรอ"ตัวเรามาโดยตลอด เมื่อทุกคนต่าง "แสวงหา" เพื่อ "ตัวเอง" มากขึ้นเช่นนี้จึงเกิดกลียุค และความเดือดร้อนในสังคมต่างๆ ก็จักเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น มีแนวทางของผู้แสวงหาการหลุดพ้นต่างๆ ที่เรียกกันว่า บำเพ็ญตบะบ้าง นั่งหลับตาทำสมาธิโดยไม่ใส่ใจต่อการกระทำของกายบ้าง ไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจเกื้อกูลต่อโลกและสังคม
แต่วิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งมรรคผล คนเหล่านั้นไม่พบความสำเร็จในความหลุดพ้น ไม่ได้แก่นสารสาระของมรรคผล
พระพุทธองค์เองได้ทรงเพียรพยายามอยู่ถึง ๖ ปี จึงได้เปลี่ยนมาในทางที่ทรงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ เลิกกรรมชั่ว หันมาทำดี และฝึกปรือจิต อบรมจิตของตน
ความดีประการแรกคือ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นแหล่งชีวิตของสัตว์ ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันแก่สรรพสัตว์ในทุกอิริยาบถด้วยใจเสียสละ และท้ายสุดคือ การฝึกปรือจิต พลังแห่งจิต ให้จิตมีพลัง เพื่อโน้มนำสิ่งต่างๆ ไปในทางที่เป็นประโยชน์
และด้วยกุศลแห่งจิต คือจิตที่ฉลาด และการกระทำที่ฉลาด ๒ชนิดนี้เท่านั้น ที่ทำให้พระพุทธองค์หลุดพ้นจากอำนาจของการเกิดแก่ เจ็บ และตาย วิธีการที่ฉลาดนี้ หรือมัชฌิมาปฏิปทานี้ ประกอบด้วย การฝึกปรือทางกายและใจ คือ กายกับใจนั้นต้องรวมกันเป็นหนึ่ง คือการที่ไม่ว่าเราจะกระทำการงานสิ่งใด โดยมีใจรับรู้อิริยาบถนั้นๆ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ให้จิตอยู่กับสิ่งที่เราทำตลอดเวลา
การทำเช่นนี้คือ สมาธิ โดยไม่จำเป็นต้องมีชั่วโมงแห่งสมาธิแต่เราสามารถมีสมาธิในทุกอิริยาบถ
ดังเช่น มีตัวอย่างของธรรมาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในการสอนมหาสติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสั่งสอนชาวบ้านให้รู้จักสติ ต่อมาอาจารย์ผู้นั้นเข้าไปหาอาจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ไม่มีเกียรติอะไรนักด้วยความอยากจะสนทนาธรรมด้วย ในที่พักของอาจารย์ผู้ไร้เกียรตินั้น
ในขณะสนทนา อาจารย์ผู้ไร้เกียรติ ได้ถามอาจารย์ผู้มี เกียรติว่า "เมื่อครู่นี้ ท่านถอดรองเท้าไว้ที่ฝั่งไหนของประตู และวางร่มไว้ฝั่งขวาหรือฝั่งซ้าย"
อาจารย์ผู้มากไปด้วยเกียรติยศและคิดว่าตนมีมหาสติ นั่งนึก อยู่นานก็นึกไม่ออก ว่าถอดรองเท้าไว้ที่ประตูบานไหนของบ้าน สุดท้ายจึงยอมรับว่า ตนเองยังมีสติที่ไม่สมบูรณ์ คือการกระทำยังไม่เป็น "สัมมาปฏิบัติ" ยังมีจิตระลึกรู้ถึงสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นทุกอารมณ์ไม่ตลอด การกระทำของกาย จึงยังบกพร่องอยู่ เพราะ ขาดสติควบคุม
ดังนั้น วิถีทางของพระบริสุทธิธรรม คือ การทำอิริยาบถต่างๆ ด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว แม้เรื่องเล็กน้อย ต้องมีความ "ตื่น" ให้เกิดขึ้นทุกอิริยาบถ โดยไม่มีคำว่า "ลืม"
เมื่อความรู้เนื้อรู้ตัวมาประกอบกับความเอื้ออาทรต่อ "ผู้อื่น" จึงเป็นเรื่องที่นำไปสู่ การคิดถูก พูดถูก ทำถูก ที่เรียกว่า "สัมมาปฏิบัติ" จึงอยากฝากไว้ว่า ประตูของธรรมชาติและจักรวาลและนิพพานจะเปิดได้ ต้องหมายถึงว่า กายกับใจเรา "ต้องเป็นเอกภาพ"ซึ่งกันและกันในการกระทำทุกอิริยาบถทุกขั้นตอน จนท้ายที่สุด แม้กระทั่งวาระของความตายมาถึง
การเป็นหนึ่งเดียวนี้ มิใช่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระพุทธเจ้ากับธรรมชาติ หรือเป็นหนึ่งเดียวกับโลกและจักรวาล แต่เป็นปฏิ-ปักษ์ต่อกายเรานั้นใช้ไม่ได้ ความเป็นหนึ่งเดียวต่อสิ่งทั้งหลาย ต้องเกิดขึ้นมาได้จากความเป็นหนึ่งเดียวของกายกับใจ
นั่นคือ การทำกิจการงานทุกอย่างด้วยอารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ทะยานอยาก อารมณ์ริษยา ละโมบ หลง ฉุนเฉียว แต่เป็นอารมณ์แห่งความรู้เนื้อรู้ตัว เป็นอารมณ์ล้วนๆ ที่ไม่มีอะไร
อย่าทำอะไรเพียงแต่ "ซาก" เหมือนตัวตุ๊กตาไขลาน ด้วยความ รำคาญ เพราะโดนภาวการณ์บังคับ
เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นโทษต่ออารมณ์ ยังให้เกิดความเกียจคร้าน หงุดหงิดและท้อถอย ระโหยโรยแรง เมื่อยล้า อ่อนเพลีย ท้ายที่สุด ก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย จนกลาย เป็นท้องผูก ไข้ขึ้น อันเป็นต้นเหตุแห่งโรคภัยต่างๆ
ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้ว่าต้องทำกิจการหรืองานนั้นๆ อยู่ดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ควร "เอาประโยชน์"จากการกระทำนั้นๆ โดยตั้งใจทำ ทำด้วยความสมัคใจ รักในงานที่ทำทำด้วยความสนุก ในขณะเดียวกัน อย่าเอาใจไปผูกกับผลงานแต่จงเอาใจและความนึกคิดอยู่กับตัวเราเอง แล้วเอาพลังจากที่ได้จากการผูกกาย รวมใจไปทำงาน
เราจะรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย นอกจากอิริยาบถของเราเคลื่อนไหว ได้พลังกายแล้ว ใจเรายังกล้าแข็ง สรรพวิทยา วิชาการต่างๆ จะเพิ่มพูนเป็นประสบการณ์ของเรา เมื่อผลงานสำเร็จ ความอาจหาญแช่มชื่น ภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนกระทำก็มีขึ้น เราจึงต้องหมั่นฝึกตนเอง แล้วนำไปวิเคราะห์ พิจารณาว่า ในการทำงาน หรือกิจการต่างๆ ของเรานั้น เราได้ทำทุกอย่าง ด้วยความรู้เนื้อ รู้ตัวอย่างรวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด และ เรียบร้อย ด้วยหรือไม่ สำหรับพ่อแล้ว การทำงานคือการได้มีโอกาส ฝึกหัด ปฏิบัติ เรียนรู้ และทดสอบพิสูจน์ทราบ ถึงศักยภาพของตนเอง