25 ก พ 56 8.45 น. ธรรมะวันมาฆบูชา แสดงธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
(กราบ)
เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชน คนใฝ่ดีที่รักทุกท่าน (สาธุ)
ขออนุโมทนา ในเนกขัมมะปฏิปทาของทุกท่าน ที่ได้กระทำกันมา 1 วัน 1 ราตรี ผ่าน
พ้นมา แล้วก็วันนี้ตอนเย็นๆ ก็คงสึกแล้วนะ ใช่ไม๊ เอ่อ เวียนเทียน แล้วก็คงจะสึก
ก็เป็นอะไรที่ทำได้ไม่ใช่ง่ายนะ การบวชแต่ละครั้งของมนุษย์ ชีวิตมนุษย์ 1 คน 1 ชีวิตนี่
มันไม่ได้บวชกันได้ง่าย ก็จะอ้างด้วยเหตุปัจจัยหลากหลาย ไม่ว่าง ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส
ไกลบ้าน มีปัญหา ครอบครัวไม่มีใครดูแล พ่อแม่ไม่มีใครเลี้ยงดู ลูกผัวไม่มีใครเอาใจใส่ ก็
จะอ้างไปสารพัด
งั้น ถ้าเราสามารถทะลุทะลวงข้ออ้างเหล่านี้มาได้ จนกระทั่งได้มาบวช ถือว่า เราพยายาม
อย่างยิ่งละ เรามีความเพียรอย่างยิ่งละ
การปฏิบัติในเนกขัมฯ ปฏิบัติเนี่ย มันเป็นอะไรที่วิเศษมาก เหตุผลก็เพราะว่า มันจะตรงต่อ
พระธรรม คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันนี้เมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน เรื่อง
การทำจิตนี้ให้ผ่องแผ้วและผ่องใส ถ้าเราอยู่ข้างนอก อาจจะไม่ผ่องแผ้ว ผ่องใส ลำบาก
แต่มาบวชอยู่ ถือศีล ปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา แผ่เมตตา มันทำให้จิตนี้ นุ่ม จิตสุขุม จิตนิ่ง
จิตอ่อน จิต ควรต่อการสั่งสมอบรม ควรต่อการงาน ควรต่อการฝึกปรือ
งั้น การได้ปฏิบัติธรรมในวันสำคัญๆ อย่างนี้ โดยเฉพาะวันมาฆะฯ มันจะตรงต่อพระ
ธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้ง 3 อย่าง 3 การ เลยก็ว่าได้ เรียกว่า ไม่ทำชั่ว
ทำดีด้วยความชาญฉลาด แล้วก็ ทำจิตนี้ให้ผ่องแผ้ว ผ่องใส
งั้น วิถีแห่งมาฆะ คือ วิถีแห่งการปฏิบัติธรรม งั้น ถ้าเราคิดว่า วันมาฆะฯ เราควรจะทำบุญ
อะไร ทำกรรมอะไร ที่เป็นมหากุศลอย่างยิ่ง คงจะหลีกลี้หนีการปฏิเสธ การปฏิบัติธรรมไม่
ได้ นั่นก็หมายถึงว่า วันมาฆะฯ ถ้าจะทำบุญพิเศษ ก็คือ ต้องปฏิบัติธรรม
ส่วนเรื่อง การใส่บาตร เวียนเทียน นั่นมันเป็นเรื่องปลีกย่อย นั่น เรียกว่า อามิสบูชา แต่
มาฆะฤกษ์ เค้าถือว่า เป็นการปฏิบัติธรรม หรือว่า เป็นการบูชาธรรม ที่วิเศษกว่า วิเศษกว่า
ทุกๆ วัน ต้องปฏิบัติธรรม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อเป็นการบูชาคุณพระพุทธเจ้า
และด้วยการปฏิบัติธรรมนี่แหละ มันเลยเป็นที่มาของคำว่า เนกขัมมะปฏิบัติ หรือ เนกขัม
มะบารมี
เนกขัมมะปฏิบัติ หรือ เนกขัมมะบารมี มันไม่ใช่แค่ทำอย่างเดียว เรื่องเดียว ลูก ตัวเดียว
หรือ ชนิดเดียว หรือ บารมีเดียว คนปฏิบัติเนกขัมมะ ทำทานได้ไม๊ ลูก (ได้) เอ๊อ ทำ
ทานก็ได้, รักษาศีลด้วยไม๊ มีศีลด้วย ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีเนกขัมมะ, มีปัญญาไม๊ (มี)
เพราะมาบวชแล้ว ก็ได้ฟังธรรม คำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระเถระ พระผู้ใหญ่
ผุ้มีอายุกาลพรรษา หรือไม่ก็ ปราชญ์บัณฑิต ครูบาอาจารย์ ได้อบรมสั่งสอน ทำให้เราฟัง
พระพุทธเจ้าบอกว่า วิถีแห่งการเจริญปัญญา มีอยู่ ก็คือ
1. สุตตมยปัญญา ฟัง
2. จินตามยปัญญา คิด
3. ภาวนามยปัญญา ทำ
ฟัง คิด ทำ, ฟัง คิด แล้วก็ ทำ
งั้น การบวชเนกขัมมะ นอกจากจะเป็นวิถีแห่งทาน แห่งศีล แล้วก็ยังเป็น วิถีแห่งปัญญา
แล้ว เป็นวิถีแห่งปัญญาอย่างเดียวไม่พอ มันมีปัญญาแล้ว มันต้องมีความเพียรไม๊ (มี)
เมื่อคืน ตื่นกี่ทุ่ม (ตี 3 ตี 4) เฮอะ มันน่าจะตี 1 น๊ะ มันจะเพียรน้อยไปหน่อยมั๊ง
เมื่อคืน หลวงปู่ยังตื่นตี 1 เลย (สาธุ) เอ่อ มันจะเพียรน้อยไปหน่อยหรือเปล่า เอ่อ
เพียรน้อยไปหน่อยไม๊
ตี 3 นี่ ตื่นเลย หรือว่า ยังบิดอยู่อีกหลายตลบ, ตื่นมาเยี่ยว? อีห่า กูนึกว่า ตื่นมาสวด
มนต์ ปฏิบัติธรรม ตื่นมาเยี่ยว เอ๊อ อ้ายอย่างนั้น เค้าไม่เรียกว่า ตื่น หร๊อก ลูก
ตื่นมาขี้มาเยี่ยวเนี่ย มันไม่ได้เป็นเหตุ ว่า เค้าปลุกให้มาปฏิบัติธรรม อย่างนี้ แสดงว่า ปวด
ท้องเยี่ยว จึงลุก เอ่อ ถ้าเค้าตีระฆัง เป๊ง ตื่น เนี่ย เอ่อ นั่น แสดงว่า เรามีความเพียรตั้งมั่น
อ้ายปวดท้องเยี่ยวนี่ ไม่เรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร เอาที่ไหนมาเทียบ
อย่างนั้น เยี่ยวครั้งหนึ่ง ขี้ครั้งหนึ่ง ก็เพียรตลอดล่ะสิ เอ๊ย อย่ามาอ้างส่งเดช
ความเพียร นี่มันหมายถึง สิ่งที่มันไม่เคยทำ แล้วได้ทำ อ้าย ขี้ๆ เยี่ยวๆ นี่มันทำมาตั้งแต่เกิด
จะมาอ้างว่า เพียรขี้ เพียรเยี่ยว ไม่ได้ มันจะต้องเอาชนะความง่วงหวาวหาวนอนได้
ความเพียร นี่มันไม่ใช่ เอาชนะเยี่ยว เอาชนะขี้ มันเอาชนะความทุกข์ยากลำบากได้ ความ
คุ้นเคย ความเคยชินได้ เหมือนกับเราเคยตื่น 8 โมงเช้า, 7 โมงเช้า, 6 โมงเช้า
เค้าตีระฆังให้ปลุก ตี 3 ตี 4 อย่างนี้ เราเอาชนะมันได้ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ผู้มีความเพียร
มีวิริยะบารมีธรรม
นอกจากมีความเพียร แล้วยังต้องมีความอดทนไม๊ (มี) ก็ต้องมีขันติธรรม เพราะว่า มา
นั่งเนี่ย หลับๆ ตื่นๆ สัปหงก เงิกงากๆ ก็ต้องทนล่ะ ทู่ซี้ไป๊ เอ๊า ดีกว่าไม่มา ดีกว่านอนให้เค้า
ด่าอยู่ในกลด หรือในที่พัก มาอยู่ในศาลา ก็ยังรอดพ้นโดนด่า เอา หาวิธีหลบๆ แอบๆ อยู่
ตามมุมเสาล่ะนะ
อย่างนี้ ก็ถือว่า มีขันติพอสมควรเหมือนกัน แต่อีตอนหลับ เค้าไม่เรียกว่า มีขันตินะ เค้าไม่
มีขันติ นั่น ขันแตกละ ถ้าขันติจริงๆ มันต้อง ตื่นตา ตื่นตัว ตื่นใจ ตื่นทั้งกายและวิญญาณ ไม่
ใช่ตื่นแต่ซาก แล้ววิญญาณก็หลับใหลไปเรื่อยเปื่อย อย่างนี้ ก็ถือว่า ไม่มีขันติ
งั้น เนกขัมมะ นอกจากจะ มีทาน มีศีล มีปัญญา มีวิริยะ แล้วก็ มีขันติ
ขันติ ก็คือ ความอดทน อดกลั้น อดทนต่อสภาพธรรมที่ปรากฏ ที่บีบคั้น สิ่งที่ทนได้ยาก สิ่ง
ที่กล้ำกลืนได้ยาก สิ่งที่อยู่ได้ยาก เราก็ทนได้
มาอยู่วัด มันไม่ได้สบายเหมือนอยู่บ้านหรอก ลูก มันไม่ได้นอนห้องแอร์ ไม่ได้นอนที่
นอนนุ่ม ไม่ได้อยู่ในพื้นปูพรม ไม่ได้อยู่ในบรรยากาศที่สะดวกสบาย เรามาอยู่ในที่ๆ ใช้คำ
ว่า ทุรกันดาร ก็คงไม่ถูกนัก เพราะ มันก็ตามอัตภาพของผู้ปฏิบัติธรรม แต่มันก็ไม่สะดวก
สบายเหมือนตอนอยู่บ้าน แต่เราก็ทนที่จะอยู่มันได้คืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ก็ถือว่า มีขันติธรรม
ในระดับหนึ่ง
สะสมไปเรื่อยๆ ลูก ได้บ้างเสียบ้าง ก็ดีกว่าไม่ได้เลย
นอกจากมีขันติ ความอดทนแล้ว ก็ยังต้องมีสัจจะ
มีสัจจะ คือ สิ่งที่ตั้งเอาไว้ในใจว่า เราจะเข้ามาบวชกี่วัน กี่คืน บวชแล้วจะต้องทำอะไรบ้าง
ทำประโยชน์ให้กับสาธารณะ ทำประโยชน์ให้แก่วัด ทำประโยชน์ให้ศาสนา ทำประโยชน์
ให้คนรอบข้าง แล้วก็ทำประโยชน์ให้ตัวเอง
หรือไม่ บวชเข้ามา เราตั้งใจว่า จะพูดให้น้อย นอนให้น้อย กินให้น้อย แล้วเพียรให้มาก
ปฏิบัติให้เยอะ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า มีสัจจะ เอาไว้ในจิตใจ คือ ตั้งความหวัง ความปรารถนา
อันซื่อตรงเอาไว้ เวลาจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ก็ให้มันเป็นเรื่องเดียวกัน
อย่างตัวอย่างเช่น เมื่อวาน สอนปฏิบัติธรรม ผู้มีสัจจะ เค้าจะต้องไม่ทำให้ใจส่งออกไปข้าง
นอกกาย ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างนั้น คิดเช่นนั้น อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ผู้มีสัจจะ แต่ทำอย่างหนึ่ง
พูดอีกอย่างหนึ่ง ไปคิดอีกอย่างหนึ่ง อย่างนี้ จะเรียกว่า ผู้มีสัจจะไม่ได้
งั้น เวลาปฏิบัติกรรมฐาน หลวงปู่จะสอนว่า ให้เราทำอย่างไร พูดอย่างนั้น, พูดอย่างไร
คิดเช่นนั้น, ทำพูด คิด ต้องเรื่องเดียวกัน อย่างนี้ เค้าเรียก ผู้เจริญสัจจะบารมี
อธิษฐาน มีไม๊ (มี) เราต้องมีอธิษฐานธรรม
อธิษฐานธรรม คือ สิ่งที่ตั้งเอาไว้ในใจ แล้วก็ทำให้ได้ในสิ่งที่ตั้งนั้น หรือไม่ก็ ความ
ปรารถนาอันใดที่เราต้องการ ก็ทำให้สำเร็จความปรารถนานั้น
เราจะเห็นว่า เนกขัมมะ แค่บวชอย่างเดียว มันได้บารมี 10 อย่าง นี่เกือบจะครบ เมตตา
แผ่ไม๊ (แผ่) เอ่อ ทุกครั้งที่เราปฏิบัติธรรม เราก็ หายใจเข้า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
หายใจออก สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
อ้ายสิ่งที่เรายังทำไม่ค่อยได้ ก็คือ ความวาง การวางอุเบกขาธรรม
อุเบกขาธรรม นี่ไม่ใช่ ความไร้น้ำใจ ไม่ใยดี ไม่สนใจสุขทุกข์ของชาวบ้าน ไม่ใช่ แต่ทำจน
ที่สุดแล้ว แล้วมันยังช่วยไม่ได้ อย่างนี้ จึงจะวางอุเบกขา แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วก็ วางเฉย
อยู่ตลอดเวลา อย่างนี้ เค้าไม่เรียก อุเบกขา นะ เค้าเรียกว่า แล้งน้ำใจ ไร้มนุษยสัมพันธ์
แล้งน้ำใจ ไร้มนุษยสัมพันธ์ ทำจนถึงที่สุดแล้ว เราช่วยเค้าแล้ว เราอนุเคราะห์ เราเกื้อกูล
เราให้โอกาส ให้เวลา ให้ปัญญา ให้สิ่งแวดล้อม แล้วมันยังไม่ดีขึ้น อย่างนี้ ก็ต้องวางอุเบกขา
เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ ไม่ค่อยวางอุเบกขากับลูก สอนแล้ว สั่งแล้ว อบรมแล้ว ชี้นำแล้ว
แนะแล้ว ให้ทุนก็แล้ว แต่มันยังเลว เล๊ว เหลว อยู่ นี่ก็ เราก็ยังไปทุกข์ยาก เดือดร้อนกับมัน
อย่างนี้ก็ถือว่า เราไม่มีอุเบกขารมณ์ ไม่วางอุเบกขา
พระพุทธเจ้าทรงตำหนิล่ะนะ ถือว่า เป็นเรื่องที่ทำร้ายตัวเองมากเกินไป เพราะว่า ความ
เป็นพ่อเป็นแม่ มันมีเป็นภพเป็นชาติ ลูก พอหลุดจากภพนี้ชาตินี้ ก็ไม่แน่ว่า จะเป็นพ่อเป็น
แม่กันอีก มันเป็นเพียงแค่บทละครบทหนึ่ง เป็นเกมๆ หนึ่ง เป็นโรงละครโรงหนึ่งที่เรามาเล่น
พอหมดบทบาท เราก็เลิกเล่น เอ่อ จบละครโรงนั้น ก็คือ เลิกเล่น ไม่รู้ว่า จะเป็นใครต่อใคร
ดีไม่ดี ลูกมันอาจจะเกิดอีกชาติหนึ่ง มาเป็นเจ้านายเรา หรือ เป็นศัตรูเรา เป็นคนพิฆาตเข่น
ฆ่าเรา หรือไม่ ก็อาจจะมาเป็นเพื่อนสนิทกับเราก็ได้ มันเป็นไปได้ทุกอย่างแหละ เพราะว่า
เวรกรรมแต่ละคน มันทำมาไม่เท่ากัน
งั้น เราอย่าไปยึดติดอะไรกับมันมากนัก เค้าเรียกว่า อย่ามีอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 มาก
งั้น อุเบกขาธรรม มันเป็นธรรมอันลุ่มลึก มันเป็นธรรมที่ปลดเปลื้องพันธนาการ
ของมนุษยชาติได้ เราทำกันไม่ค่อยได้ อย่าว่าแต่พวกเรา แม้หลวงปู่ บางครั้งก็ยังทำไม่ค่อย
ได้ บางที ว่างๆ ว่าจะไม่สนใจมัน ไม่ใส่ใจมัน สุดท้ายก็เอ่อ ต้องหันมาสนใจ มาใส่ใจ
เพราะถ้าขืนไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ มันจะกลายเป็นไฟลามทุ่ง วุ่นวาย รุ่มร่าม ไปเลอะเทอะ
เรื่อยเปื่อย เกินไป
งั้น ก็ต้องช่วย เท่าที่ช่วยได้ ถ้าเมื่อใดที่ช่วยไม่ได้ ก็ต้องวางอุเบกขา
เพราะงั้น การปฏิบัติเนกขัมฯ ต้องถือว่า เป็นวิถีแห่งมาฆะ
วิถีแห่งมาฆะ ไม่ใช่ใส่บาตร ทำบุญ เวียนเทียนนะ วิถีแห่งมาฆะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
สอนเอาไว้ว่า
สัพพปาปัสสะ อกรณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม คำว่า กุศล แปลว่า ความฉลาด ความชาญ
ฉลาด
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ผ่องใส หรือ ขาวรอบ
เอตัง พุทธาน สาสนัง ธรรม 3 อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เราจะเห็นว่า ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำจิตนี้ให้ผ่องแผ้ว และผ่องใส นี่คือ วิถีแห่งมาฆะ จัดว่า เป็น
ธรรมนูญของชีวิต เป็นธรรมนูญที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวางหลักการเอาไว้ให้มนุษยชาติ
ที่อยู่ร่วมกันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
เมื่อทุกคนไม่ทำชั่ว ทุกคนทำดีต่อกัน และทำดีให้แก่ตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
ประเทศ แผ่นดินในที่ๆ ตัวเองอยู่ ก็จะสงบเย็น จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ผ่อนคลาย
โปร่งเบาสบาย
แต่ถ้าหากว่า และไร้เสีย ซึ่งธรรมนูญชีวิตเหล่านี้ คือ ทุกคนต่างคนต่างทำ อยากทำอะไรก็ทำ
ตามอำเภอน้ำใจ ตามอารมณ์ ตามกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันจะพาไป ถ้าอย่างนั้น เราก็จะ
ไม่สนใจว่า เราทำร้ายสิทธิ์ใคร ทำลายสิทธิ์ใคร เอาเปรียบใคร แล้วก็ ไปล่วงเกินก้าวก่าย
สิทธิ์ของใคร
สุดท้าย คนอื่นก็คิดแบบเรา เราก็เลยอยู่ร่วมกันไม่ค่อยได้ สังคมก็จะทุรนทุราย เป็นทุกข์
เดือดร้อน
เพราะงั้น ธรรมนูญชีวิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวางเอาไว้ ย่นย่อ 84,000 ข้อ ให้
เหลือแค่ 3 อย่าง อย่าทำชั่วนะจ๊ะ ทำดีด้วยความชาญฉลาด แล้วก็ทำจิตนี้ ให้ผ่องแผ้ว
ผ่องใส เป็นวิถีแห่งมาฆธรรม มาฆฤกษ์ มาฆบูชา ที่เราจะปฏิบัติกัน
งั้น การปฏิบัติเนกขัมฯที่พวกคุณทั้งหลาย มาปฏิบัติกันเนี่ย ก็ถือว่า เป็นหัวใจสำคัญของมา
ฆฤกษ์นะ มาฆบูชา เพราะว่า นอกจากเราจะบูชาธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลักของ
ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจนี้ให้ผ่องแผ้ว ผ่องใสแล้ว เรายังพากันสั่งสม สิ่งที่มีค่า ล้ำค่าที่สุดที่พระ
มหาโพธิสัตว์เจ้าบูชา
พระมหาโพธิสัตว์เจ้า เทิดทูน ยกย่อง สิ่งที่มีค่า ล้ำค่า นั้นก็คือ ทศบารมีทั้ง 10 ประการ
อันมี ทานบารมี สีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี
ครั้งหนึ่ง ที่หลวงปู่ให้เค้าไปพิมพ์บทสวดสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ ยกเอาบารมี 30 ทัศ
ขึ้นตั้ง แล้วก็ยังนึกว่า เอ๊ เราจะสวดยังไง มันจะสวดแบบชาวบ้านสวด หรือว่า สวดแบบ
ไหนที่พระโพธิสัตว์เค้าชื่นชอบนิยม
คืนนั้น ก็ฝันว่า ได้ไปอยู่ในวิหารพระโพธิสัตว์ ที่โรงเจหอคุณธรรมฟ้า เห็นพระโพธิสัตว์ที่
อยู่ตามรูปภาพ อยู่ข้างฝา แต่ละองค์ๆ ออกมาสวดสาธยาย บูชาคุณพระโพธิสัตว์ เริ่มตั้งแต่
ทศบารมี ข้อที่ 1 ทานบารมี สีลบารมี
อ้ายเราก็ เอ๊ พระโพธิสัตว์ ท่านสวดเพราะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังบูชาคุณพระโพธิสัตว์
แล้วสิ่งที่ท่านบูชา ไม่ใช่อะไร มีแต่อากาศธาตุ ก็นึกในใจต่อไปว่า เอ๊ สวดบูชาแล้ว ไม่รู๊
บูชาใคร ไม่เห็นมีรูปร่างพระพุทธเจ้าองค์ไหน แล้วท่านไหว้อะไร
พอท่านสวดถึง ทานบารมี ก็กลายเป็นฐานของดอกบัว, สีลบารมี ก็กลายเป็นดอกบัว,
เนกขัมมบารมี ก็กลายเป็นรูปร่างพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเฉพาะหน้า คือ สวดแต่ละข้อๆ
บารมีเหล่านั้น ก็ประดับ ตกแต่งเป็นสัมโพคงกาย(?) ก็คือ เป็นกายของพระพุทธเจ้า
เป็น นิมมานรกาย (?) เป็นกายปรากฏเฉพาะบนอากาศ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มี
กายอันประกอบไปด้วยทศบารมีทั้ง 10 ประการ
ก็เลยสิ้นสงสัยว่า โอ๋ บารมีธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ เครื่องอยู่ เครื่องอาศัยของพระ
โพธิสัตว์ แล้วพระโพธิสัตว์ ที่จะพัฒนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ต้องบูชาบารมีธรรมทั้ง
10 ประการเหล่านี้
เอ้า วันนี้ ไหนๆ เรามากันแล้ว เอาหนังสือสวดมนต์แจก เดี๋ยวสวดสรรเสริญทศบารมีทั้ง 10
ประการ ทั้ง 30 ประการ 30 ทัศ เดี๋ยว เรามาสาธยายสวดกันหน่อย ลูก
ช่วยกันแจก สิ ลูก หลายๆ คน ศาลานู้น ศาลานี้
ใครยังไม่ได้ ก็ยกมือขึ้น ลูก ข้างนอก เอ้อ แจกๆ ให้ทั่ว เค้ามีเยอะ ลูก เดี๋ยว เย็นนี้ เราจะ
ไปสาธยายมนต์กันที่หน้าพระมหาพุทธพิมพ์นาคปรก แล้วก็ เวียนเทียนรอบพระมหา
พุทธพิมพ์ ตอนเย็นๆ 6 โมง เย็น
เวลาเราไปไหว้พระโพธิสัตว์ในวิหารเนี่ย ลูก สาธยายพุทธมนต์บทนี้ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
จะอนุโมทนา จะรับรู้ได้ ไม่มีบทอื่นที่พิเศษกว่านี้
งั้น ก็สาธยายให้ขึ้นใจ แล้วก็ จำได้ก็ยิ่งดี, จำไม่ได้ก็เปิดหนังสือดู ก็ได้ ไม่ยากอะไร ข้อ
ความก็ซ้ำๆ กัน ไม่ได้แตกต่างกันมาก เพียงแต่เปลี่ยนเป็นสามัญบารมี อุปะบารมี แล้วก็
ปรมตถบารมี เท่านั้นเอง
ได้ครบหรือยัง ใครยังไม่ได้ ยกมือ ลูก ได้ครบแล้วก็สวด
ทำนองที่เราจะสวดสาธยาย เป็นทำนองของพระโพธิสัตว์ ท่านใช้สาธยายบูชาทศบารมี
เพื่อตกแต่งนิมมานรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ปรากฏเฉพาะหน้าแต่ละองค์ๆ
สวดด้วยความตั้งใจมาก ตั้งใจน้อย ก็นิมมานรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ เป็นอทิ
สมานกายอันนั้น ก็จะปรากฏด้วยอานุภาพของทศบารมีแต่ละข้อๆ ที่เราใส่ใจ ใส่จิต
วิญญาณเข้าไปในการสาธยาย
บารมี 30 ทัศ
ทานะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี สัจจะปาระมี สัมปันโน
เมตตา
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุ
เปกขา
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ทานะ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา สัจจะ อุปะปาระมี สัม
ปันโน
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ทานะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน สัจจะ ปะระมัตถะปาระมี
สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี อธิษฐานะปาระมี สัม
ปันโน เมตตา
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุ
เปกขา
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
สีละ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา
อธิษฐานะ อุปะปาระมี สัมปันโน
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
สีละ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน อธิษฐานะ ปะระมัตถะ ปาระมี สัม
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา เมตตา ปาระมี สัมปันโน
เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ไมตรี
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
เนกขัมมะ อุปะปาระมี สัมปันโน
เมตตา อุปะปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ปะระมัตถะ ปา
ระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี อุเปกขา ปาระมี สัมปัน
โน เมตตา
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุ
เปกขา
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ปัญญา อุปะปาระมี สัมปันโน อุเปกขา อุปะปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ปัญญา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน อุเปกขา ปะระมัตถะปา
ระมี สัมปัน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา โน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน ทะสะ
ปาระมี สัมปันโน เมตตา
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ไมตรี
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
วิริยะ อุปะปาระมี สัมปันโน ทะสะ อุปะปาระมี สัม
ปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
วิริยา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน
ทะสะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา เมตตา
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี
สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน พุทธัง
สะระณัง คัจฉามิ
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
โพธิสัตว์ธัง สะระณัง คัจฉามิ
ขันตี อุปะปาระมี สัมปันโน
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา สาธุ
สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นะมามิหัง
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
ขันตี ปะระมัตถะ ปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
*****************
ในทศบารมีทั้ง 30 ประการนี่ แบ่งออกเป็น สามัญบารมี อุปปะบารมี แล้วก็ ปรมัตถบารมี
ถ้ามีคำถามว่า อะไรคือ สามัญบารมี ก็คือ การบริจาคทานทั่วๆ ไป เรียกว่า สามัญบารมี
อะไร คือ อุปปะบารมี ก็คือ การบริจาคอวัยวะ เลือดเนื้อ อย่างนี้ เรียกว่า เป็นอุปปะบารมี
อะไร คือ ปรมัตถบารมี ก็คือ การบริจาคชีวิต หรือ ให้ชีวิตเป็นทานต่อสรรพสัตว์ อย่างนี้ ก็
เรียกว่า ปรมัตถบารมี ในข้อว่า ทาน
ทานบารมี แบ่งเป็น 3 ขั้น สามัญทาน อุปปะทาน แล้วก็ ปรมัตถทาน
สามัญทาน ก็คือ การให้วัตถุธาตุต่างๆ
อุปปะทาน ก็คือ การให้เลือดเนื้อ ให้อวัยวะ เรียกว่า อุปปะทาน
ปรมัตถทาน ก็คือ การให้ชีวิต เป็นทานต่อสรรพสัตว์ อย่างนี้ เรียกว่า ปรมัตถทาน
เหมือนกัน ลูก ศีล ก็เหมือนกัน อยู่ในลักษณะอย่างนี้
เพราะงั้น ทศบารมีทั้ง 30 ประการ นี่ ทำให้ยาจกธรรมดาๆ กลายเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่
ทำให้พระราชาธรรมดาๆ กลายเป็นศาสดาผู้งดงาม และองอาจ ยิ่งยง
ด้วยอำนาจในทศบารมีทั้ง 30 ประการ หรือว่า บารมีทั้ง 10 ทัศ ก็ทำให้พระโพธิสัตว์
กลายเป็นพระศาสดา ผู้ได้รับการยกย่องสรรเสริญจาก 3 โลกได้ และพระโพธิสัตว์ทั้ง
หลาย ไม่ได้บูชาพระพุทธเจ้า แต่บูชาธรรมทั้ง 10 ประการ แล้วธรรม 10 ประการนี้
ก็ประดับประดา ตกแต่ง ให้อากาศธาตุ กลายเป็น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่ได้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่บูชาพระธรรมที่ทำให้เป็นพระ
พุทธเจ้า
นี่คือ ที่มาของบทสวดที่พวกเราสาธยายกัน
วันนี้ พวกเราได้พากันมา เจริญ 1 ในทศบารมี คือ อะไร
เนกขัมมะบารมี
เนกขัมมะบารมี แล้วมีทานไม๊ (มี), มีศีลไม๊ (มี) เอ่อ รับศีลไปแล้ว,ได้ปัญญาไม๊
(ได้), มีวิริยะ ความเพียร ไม๊ (มี), มีขันติไม๊ (มี), เอ่อ สัจจะ มีไม๊ (มี),
อธิษฐานไว้ในใจ มี, เมตตา พอมีไม๊ (มี) จริงอ่ะ กูแทบไม่เชื่อเลยว่ะ, อุเบกขามีไม๊
(มี) โอ๊ย ไม่ต้องบอก มีอยู่แล้ว ดูสิ นั่งนิ่ง พิงเสา หัวตกเลยล่ะ นั่นแหละ อุเบกขารมณ์
ล่ะ
เพราะงั้น แค่ทำอย่างเดียว ก็ได้ 10 อย่างครบสมบูรณ์
ก็ขออนุโมทนา ในบุญกุศลที่ลูกหลานได้ทำ ขอบุญเหล่านี้ จงย้อนกลับไปสู่พวกท่าน ชีวิต
ของท่าน จิตใจท่าน สันดานท่าน วิญญาณท่าน ครอบครัวท่าน และตัวท่าน เป็นสิบเท่าพันทวี
ด้วยเทอญ (สาธุ)
เอ้า จบ เดี๋ยว เค้ามีถามปัญหาหรือเปล่า ถ้าไม่มี เดี๋ยวจะได้ปฏิบัติธรรม ถวายทาน ลูก มีไม๊
พิธีกร มีอยู่ 4 คำถามด้วยกัน เจ้าค่ะ
อ้อ เดี๋ยว วันเกิดพระกวนอิม วันที่เท่าไหร่หว่า (30 มีนาคม) เอ้อ เดี๋ยว มาสวด
สาธยายบารมีทั้ง 10 ทัศ ที่วิหารพระกวนอิมในวันเกิดท่าน แล้ว หลวงปู่ก็จะติดประดับ
เครื่องบูชา ที่เป็นเพชรเป็นพลอย แล้วก็ เปลี่ยนเครื่องทรงให้กับท่านตามธรรมเนียมปฏิบัติ
ใครที่จะมาร่วมงาน ก็แจ้งให้ทราบ เค้าเริ่มตั้งแต่เช้า มีพระเจริญพระพุทธมนต์ 21 รูป
แล้วก็มี ถวายภัตตาหารเพล แล้วพวกเราก็สวดมนต์ ฟังธรรม เสร็จแล้วก็ แจกมหาทาน
งั้น ใครที่จะมาร่วมงานวันเกิดพระโพธิสัตว์กวนอิม ก็มาเช้าๆ วันที่เท่าไหร่ เค้ามีอาหารเจ
เลี้ยง ลูก วันนั้นกินเจทั้งวัน กินเจตลอดทั้งวัน เค้ามีโรงทาน โรงเจเลี้ยง ก็แจ้งให้ทราบตามนี้
แล้วก็มารับของที่ระลึก แจก
ยังไม่รู้จะแจกอะไร กูว่า จะแจกรูปสมภาร พอไหวไม๊ ไม่เอ๊าเหร๊อ เอ่อ
เอ้า ให้ถามปัญหา ลูก
ปุจฉา ถือศีลอุโบสถ และ การบวชเนกขัมมะ มีข้อปฏิบัติเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
วิสัชนา ถือศีลอุโบสถ กับ บวชเนกขัมมะ มันก็เรื่องเดียวกันน่ะ ลูก แต่บวชเนกขัมมะ
เค้าเรียก ผู้ถือศีลอุโบสถ เหมือนกับคำว่า ภิกษุ เรียก ผู้เข้ามาบวชว่า เป็นภิกษุ หรือ เป็นนัก
บวช ถ้าเราไปถือศีลอุโบสถ คือ ศีล 8 เค้าก็จะเรียกเราว่า ผู้บวชเนกขัมมะ
งั้น บวชเนกขัมมะ เป็นยี่ห้อ เป็นการเรียกขาน เป็นสรรพนาม ใช้เรียกกับบุคคลผู้ถือศีล
อุโบสถ จบ (สาธุ)
ปุจฉา ความจริง เหนือ ความว่าง หรือ ความว่าง เหนือ ความจริง
วิสัชนา อืม มันขึ้นอยู่กับว่า ใครมองน่ะ ลูก
ถ้าคนโง่มอง ก็ต้องบอกว่า เราจะยึดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นหลัก
แต่ถ้าคนมีปัญญามอง ก็ไม่ยึดสักอย่างหนึ่งเป็นหลัก คือ ไม่มีทั้งความจริง แล้วก็ไม่มีทั้ง
ความว่าง นั่น คนมีปัญญาสูงสุดมอง
แต่ถ้าเมื่อใดที่เรายังยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันก็ต้องมีเรื่องให้สมมุติ เรียกมันว่า นั่นคือ ว่าง นะ
อันนี้คือ จริง ก็ยังเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ดี
เพราะงั้น มันขึ้นอยู่กับคนโง่มอง หรือ คนฉลาดมองจบ (สาธุ)
พิธีกร อีก 2 คำถาม เป็นคำถามสุขภาพเจ้าค่ะ
หลวงปู่ เฮ๊ย จะมาตายอะไรกันตอนนี้ วันนี้ วันปฏิบัติธรรม ถามเรื่องปฏิบัติธรรม เอ้า
ถามก็ตอบ
ปุจฉา ขอเรียนถามว่า ถ้าเรามีอาชีพที่ต้องทำงานกลางแดดอย่างต่อเนื่อง 7 ชั่วโมง
โดยต้องเดินบนเนิน ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ได้นั่ง ไม่ได้ทานอาหาร ดื่มน้ำได้อย่างเดียว และไม่
สามารถเข้าห้องน้ำได้ จะต้องรักษาสุขภาพอย่างไร
วิสัชนา มีโรงงานนรกแบบนี้ด้วยเหรอ มันมีด้วยเหรอ เฮอะ โลกไหนวะ ไม่ให้กินข้าว
ดื่มน้ำ ?ห้องน้ำก็เข้าไม่ได้ แล้วทำไงล่ะ อุ๊ย อย่าไปทำมันเลย ลูก, หา เอ้อ มานี่ มาเดิน
เก็บขยะวัดอ้อน้อย ยังได้ตังค์มากกว่าอีก ยังมีข้าวกินฟรี อยากนอนได้นอน อยากนั่งได้นั่ง
อุ๊ย โรงงานนรกอย่างนี้ อย่าไปทำมันเล๊ย จบ (สาธุ)
ปุจฉา จะฝึกสติอย่างไร จึงสามารถแยกจิตออกจากกาย ด้วยปัญญาได้
วิสัชนา มันต้องเริ่มอยู่ในวิถีชีวิตปัจจุบัน เรียกว่า จัดระเบียบของกาย จนเป็นระบบของ
ความคิด เพราะว่า ความมีระเบียบ มันทำให้มีสติ ถ้าคนมักง่าย สับเพร่า พวกนี้จะขี้หลงขี้ลืม
ไม่มีสติ แต่ถ้าคนมีระเบียบ เป็นคนที่รู้จัก ตัวเอย่างเช่น ตื่นนอนมา ก่อนจะลุกจากที่นอน ก็
ดื่มน้ำซักแก้วใหญ่ๆ เก็บที่นอนเข้าที่ หมอนมุ้งพับเข้าที่ แล้วจึงจะเข้าห้องน้ำ ทำกิจกรรม คือ
ทำทุกอย่างให้มันเป็นระเบียบ จนเป็นระบบของความคิดน่ะ เมื่อไรที่เรารู้สึกที่จะทำตาม
ระเบียบ เมื่อนั้นล่ะ มันจะเกิดตัวสติ เมื่อใดที่เราปฏิเสธระเบียบ เมื่อนั้นล่ะ จะสิ้นสติ หรือ
ขาดสติ จำไว้
เพราะงั้น ระเบียบต่างๆ ที่เค้าเอาไว้ให้เราฝึก สติ พระพุทธเจ้าจึงต้องทางบัญญัจิ อาทิศมา
จาร(?) 311 ข้อ เพื่อต้องการให้พระมีสติ ทรงบัญญัติศีล 227 ข้อ ก็เพื่อให้พระ
ได้ระมัดระวังตัว และมีสติ ว่า จะไม่เพลี่ยงพล้ำ ไม่ผิดพลาด
คนที่ไม่อยากฝึกสติ ปฏิเสธสติ ก็จะตำหนิพระพุทธเจ้าว่า อุ๊ย 5 ข้อก็แย่แล้ว ต้อง 227
จะทำไหว สุดท้าย ก็ขาดสติ ไม่เหลือสติ
งั้น สติ นี่ มันเกิดจากคนมีระเบียบ งั้น อยากจะสอนลูกให้เป็นคนมีสติ ไม่ยาก ก็สอนลูกให้
มีระเบียบ ฝึกให้เป็นระเบียบว่า เข้าบ้านปุ๊บ ถอดรองเท้าไว้ที่หนึ่ง ถุงเท้าอย่าไปม้วนใส่ ยัด
รองเท้า เอามาผึ่งลมผึ่งแดด หรือไม่ ถ้าไม่มีแดด ทั้งถอดรองเท้า ถุงเท้า ก็เอาไปตากเสียบ้าง
ให้อากาศมันถ่ายเท จะได้ไม่เหม็นอับ เหม็นชื้น ผ้าผ่อนถอดแล้ว เสื้อไว้ที่หนึ่ง กางเกงไว้ที่
หนึ่ง อย่ารวมกัน ถ้าจะต้องเอามาใส่เอง ผ้าเช็ดตัวเช็ดแล้วก็ต้องผึ่ง ไม่ใช่ม้วนแล้วก็หมัก
แล้วพอถึงเวลา ก็งัดเอาขึ้นมาเช็ดใหม่
อ้ายกิจกรรมอย่างนี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องสอนมนุษย์ ลูก ควายสอนมนุษย์ไม่ได้ หรือ ควาย
บ้านไหนสอนมนุษย์ได้
งั้น มนุษย์ต้องสอนมนุษย์ แล้วมนุษย์ต้องเรียนรู้สิ่งที่มนุษย์ทำ แล้วเมื่อมนุษย์เรียนรู้สิ่งที่
มนุษย์ทำ มนษย์ก็จะสูงกว่าวัว กว่าควาย มนุษย์จะสูงกว่าสัตว์เดรัจฉาน ตรงที่ฝึกระเบียบ
และทำให้ความคิดเป็นระบบ
แต่ถ้ามนุษย์ไม่ศึกษา ไม่สั่งสม ไม่อบรม ปฏิเสธการเรียนรู้ มนุษย์ก็ไม่ใช่มนุษย์ มีแค่ยี่ห้อ
เฉยๆ แต่คุณลักษณะของมนุษย์ไม่มี เหมือนๆ ที่หลวงปู่มักจะสอนเณรเสมอว่า น้องหนู
เคยเห็นควายมันเดินไม๊ เป็นแถวหรือเป็นฝูง ลูก, เป็นฝูงครับ, น้องหนูก็เลือกเอา จะ
เป็นควาย หรือว่า จะเป็นเณร
เอ้อ มันมากันเป็นฝูงๆ เข้ามาในศาลา พอบอกว่า เป็นฝูงครับ มันก็แวบเข้าแถวทันทีเลย
กลัวเป็นควาย แน่ะ เห็นไม๊ ควายมันเข้าฝูง เข้าแถวไม่ได้ มนุษย์เข้าแถวได้ อย่างนี้เป็นต้น
งั้น ถ้าเมื่อใดที่มนุษย์ปฏิเสธระเบียบวินัย นั่น ไม่ใช่มนุษย์แล้วล่ะ ไม่ต่างอะไรกับเดรัจฉาน
หรือ ควาย จบ (สาธุ)
พิธีกร หมดแล้ว เจ้าค่ะ
หลวงปู่ หมดแล้ว ก็ดีแล้ว ใครจะถามอะไรอีกไม๊ ลูก ไม่มีใครถามอะไร ก็ เดี๋ยวปฏิบัติ
ธรรมกันหน่อย ลูก ซัก ครึ่งชั่วโมง ปฏิบัติธรรม เคลียร์พื้นที่ ปฏิบัติธรรม เพราะ วันนี้เป็น
วิถีแห่งมาฆะ ก็ต้องปฏิบัติธรรม
(กราบ)
คนใหม่ คนเก่า ร่วมกันปฏิบัติธรรม ลูก เป็นวิถีแห่งมาฆะ เป็นการบูชามาฆะ ลูก
มาฆบูชา ต้องปฏิบัติธรรม
วิถีแห่งมาฆะ ทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากการปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติธรรม จึงจะสมกับการบูชา
เคลียร์พื้นที่
25 ก พ 2556 10.00 น. ภาคเช้า ระหว่างปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมฯวันมาฆบูชา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (ฝึกสติ เดินในขั้นที่ 1 ภาคที่ 1,2,3 ขั้นที่ 2 )
(กราบ)
เดินง่าย ไม่ยาก ลูก คนใหม่ๆ เดี๋ยวลองดูรุ่นพี่ๆ เพื่อนๆ เค้าทำ เดี๋ยว ก็มีคนแนะนำ ใครไม่เคยทำ ไม่ได้ลำบากเลยกับการทำ
เดินในขั้นที่ 1 ภาคที่ 1 ลูก
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น ให้รุ่นพี่เค้าแนะนำ
.................
มีสัจจะกันหน่อย
สัจจะ ก็คือ ความจริงจัง จริงใจ ที่จะทำ
................
คิดอะไร ทำอย่างนั้น, ทำอย่างไร พูดเช่นนั้น
คิด ทำ พูด เรื่องเดียวกัน
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า คนมีสัจจะ
ไม่ใช่ ทำอีกอย่าง คิดอีกอย่าง
.................
ใครทำ ใครได้
แต่ละก้าว เป็นทางขึ้นสวรรค์
ถ้าไม่ตั้งใจทำ ก็ลงนรก ทุกก้าว เพราะจิตใจเราไม่สงบ
...................
แล้วถ้าไม่ทำ ไม่ทำก็ตกนรกอยู่แล้ว เพราะว่า อกุศล มันเข้าแทรกในจิต
นี่ ไม่ได้สาปแช่ง แต่มันเป็นเรื่องจริงของแต่ละคน
เพราะ พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอน
จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา ก่อนตาย ถ้าจิตเศร้าหมอง ก็ไปสู่ทุคติ
ถ้า จิตเต สังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา ถ้าก่อนตาย จิตไม่เศร้าหมอง ก็ไปสู่สุคติ
................
จิตที่เศร้าหมอง คือ จิตที่มีเครื่องหุ้ม เครื่องห่อ
ราคะหุ้ม โทสะห่อ โมหะครอบ อวิชชาแทรก
เหมือน กระจกที่มีฝ้า
..................
นี่คือ วิถีแห่งมาฆะ ทำจิตให้ผ่องแผ้ว ผ่องใส
มันสำคัญยิ่งใหญ่กว่า การบริจาคทาน ฟังธรรม รักษาศีล ด้วยซ้ำ
...................
สิ่งที่เราทำ ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นการฝึก ตัวรู้ คือ สติ
คนมี สติ จะ ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด
...............
รู้ ว่า กำลังทำอะไรอยู่, แล้ว รู้ อย่างต่อเนื่อง จับจ้อง
สร้าง ตัวรู้ ทุกขณะ
..................
ให้ รู้เนื้อ รู้ตัว อย่างแนบแน่น ไม่ใช่ผิวเผิน
ชัดเจน แนบแน่น
................
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้
.................
ตั้งใจ อย่าเดินแต่ซาก
..................
ไหนๆ เสียเวลา มาทั้งทีแล้ว ให้มันได้กำไรกลับไป
.................
เดินให้ตรงจังหวะพอดี
อย่า ล้ำจังหวะ
อย่า ช้ากว่าจังหวะ
................
ถึงเวลาหยุด ควรหยุด
ถึงเวลาก้าว ก็ก้าวให้ตรง
ให้ตรงจังหวะ อย่าคร่อมจังหวะ
...................
สัจจะบารมี คือ ความซื่อตรงต่อสิ่งที่ตัวเอง กำลังทำ
คำว่า ซื่อตรงต่อสิ่งที่กำลังทำ ก็คือ อย่าทำแต่ซาก
เอา ใจ เข้าไปร่วมทำด้วย
................
อย่าทำแค่ตัว ทุ่มเทจิตใจเข้าไปด้วย
ให้รับรู้ในสิ่งที่ทำ อย่างชัดเจน
ไม่ใช่ รู้ แบบผิวเผิน
.................
เวลานี้ ไม่จำเป็นต้องไปรู้เรื่องอื่น นอกจากสิ่งที่เรากำลังกระทำ
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ผู้เข้าถึงอารมณ์กรรมฐาน
..................
ทำได้มาก ก็ได้มาก, ทำได้น้อย ก็ได้น้อย
ที่ทำไม่ได้ ก็ไม่ได้
....................
ได้กับเสีย ไม่มีคนหยิบยื่นให้ นอกจากตัวเรา ขวนขวายเอง
...............
สิ่งที่เราฝึก นี่คือ สติ คือ ความรู้เนื้อรู้ตัว อย่างยิ่ง
เมื่อเรา มีความรู้เนื้อรู้ตัว มีสติ อย่างยิ่ง
มันจะเป็นอานุภาพของจิต
เมื่อถึงคราวเราทุกข์ เราดิ้น ทุรนทุราย เรานอนไม่หลับ
ตัวนี้แหละ มันจะช่วยเราได้
มันจะกำจัดความฟุ้งซ่านได้อย่างง่ายดาย
เราจะสงบเย็น ในเวลาที่คนอื่นเค้าทุรนทุราย
เราจะผ่อนคลาย ในขณะที่คนอื่นเค้าเร่าร้อน
....................
แต่ถ้าเราไม่ฝึก เราก็จะต้องทุรนทุรายเหมือนๆ กับคนอื่น ผู้อื่น สัตว์อื่น
คนอื่นไม่ได้ทำให้เราทุกข์
ตัวเราจะทุกข์เอง เพราะเราไม่ฝึก ไม่ศึกษา
...................
สังเกตุตัวเองดูซิ เวลานอนไม่ค่อยหลับ
ใช้คำว่า ข่มใจ ก็ข่มไม่ลง เพราะเราไม่มีอำนาจจิต ไม่มีสติ
เราจึงตกอยู่ในอำนาจการครอบงำของกิเลส และความฟุ้งซ่าน
...................
แต่ถ้าเรามีสติ มีอำนาจจิต เราจะขับไล่ จะข่มมันได้
เราจะหลับเป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข
....................
งั้น การฝึกสติ จึงเป็นความจำเป็นสำหรับ การอยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี
..................
สิ่งที่ทำนี่ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ความสงบ
แต่เป็นการฝึก ตัวรู้ ให้ รู้ อย่างชัดเจน
.................
รู้ แล้วรู้จักแยกแยะว่า อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์
แต่ถ้าเราไม่ฝึก ตัวรู้ การแยกแยะ ก็ไม่คมชัด
.................
และสุดท้าย เราก็ รับ ไว้หมด ไม่ว่า ดี หรือ ชั่ว
ได้ประโยชน์ หรือ ไม่ได้ประโยชน์
แล้วก็ กลายเป็นขยะของชีวิต
.................
ทั้งชีวิต เราสะสมขยะมาตลอด
วันนี้ เป็นวันมาฆบูชา
พระพุทธเจ้า สอนให้เราสำรอกขยะ
คือ ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
...............
ตลอดชีวิต เรามีแต่ ราคะขยะ โทสะขยะ โมหะขยะ โลภะขยะ อวิชชาขยะ
วันนี้ เราจะมาขัดเกลา สำรอก เอาขยะออก
....................
ค้นหา จิตแท้ๆ ของตนให้เจอ
แล้วสำรอก เอา ขยะ ความสกปรก ออกให้หมด
ด้วยการ ฝึกอย่างยิ่ง ตั้งใจอย่างยิ่ง
มีความเพียรอย่างยิ่ง จดจ่ออย่างยิ่ง
จริงจังอย่างยิ่ง และชัดเจนมากๆ
.................
ธรรมดาของจิต ที่มันทุรนทุราย
ซนซุก ซุกซน เหมือนดั่งลิง
แต่เมื่อมันซนออกไป วิ่งออกไป
ก็ต้องรีบจับมันกลับมา อย่าปล่อยให้มันวิ่งไปไกล
...................
ขยับขึ้น ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
ดีดนิ้ว ไปพร้อมกับการก้าว
...................
จำไว้ว่า สิ่งที่เราทำ นี่คือ ยาแก้ทุกข์
ที่เรานอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกข์ ยืนเป็นทุกข์ เดินเป็นทุกข์
ลองสังเกตุดู เวลาเรานอนไม่หลับ แล้วพยายามข่มใจให้หลับ ทุกข์ไม๊
ถ้าอำนาจจิตไม่มี สติไม่ตั้งมั่น เราขับไล่ฟุ้งซ่านไม่ได้
ขับไล่โรคเหล่านั้นไม่ได้ สุดท้าย เรากลายเป็นนอนติดโรค แล้วเช้า ก็เพลีย
แต่ถ้า ฝึกสติอย่างยิ่ง มันจะสามารถทำให้เราหลับได้
มันจะแก้โรคเหล่านั้นได้
ไม่เชื่อ ลองทดลองทำดู
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น
.................
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 3 นี่เค้าไม่มีหยุดนะ
เดินทุกจังหวะ ไม่ว่า สั้น หรือ ยาว เก็บให้หมด
.................
งั้น ต้องมีสติอย่างยิ่ง จึงจะเดินครบหมดทุกจังหวะ
เพราะบางจังหวะ มัน ถี่ เร็ว สั้น ก็ต้องเดินได้ครบ
..................
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้ ชัดเจน
...................
ขยับขึ้นขั้นที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น
รุ่นพี่ช่วยแนะนำ
..................
จิต อยู่ที่ฝ่าเท้า 2 ข้าง ซ้าย ขวา
ทุกครั้ง ที่ฝ่าเท้ากระทบพื้น ต้องรับรู้ให้ชัด
.................
ตัวรู้ อยู่ที่ฝ่าเท้า
ขวา กระทบพื้น รู้, ซ้าย กระทบพื้น รู้
รู้ ให้ชัด, อย่ารู้ ผิวเผิน
จดจ่อ จับจ้อง
.....................
อย่าสักแต่ว่า เดิน
..................
ส่งความรู้สึก ไปที่ฝ่าเท้า
เก็บ ตัวรู้ ให้หมด ทั้ง ซ้าย และ ขวา
ค่อยๆ เก็บไปเรื่อยๆ ทุกก้าว
..................
รู้ ครั้งหนึ่ง ก็เก็บ, รู้ ครั้งหนึ่ง ก็เก็บ
สุดท้าย ตัวรู้ มันจะเต็มจิต
ทีนี้ กลายเป็น จิตผู้รู้
..................
เมื่อ จิตผู้รู้ เกิดขึ้น อวิชชา ก็จะไม่เกิดกับเรา
อวิชชา แปลว่า ไม่รู้
..................
ขวารู้ ซ้ายก็รู้ ให้ชัด
อย่าเลื่อนลอย อย่าเดินแบบคนไม่มีวิญญาณ
..................
ถ้าภาษาชาวบ้าน เค้าเรียกว่า เดินแบบผีดิบ น่ะ
คือ ไม่รู้สึกอยู่กับตัว, ความรู้สึก ไม่อยู่กับตัว
ล่องลอยไปเรื่อย อย่างนั้น ผีดิบเดิน
..................
ไม่ต้องกระทืบตีนสิ อ้ายหนู
รู้ไม๊ว่า มันทำร้ายตัวเองทุกครั้งที่กระทืบ
ชีพจร มันจะกระเทือน ชีวะอินทรีย์ ก็คือ เซลล์ชีวิต มันจะอายุสั้นลง
...................
ขวา รู้ชัด, ซ้าย รู้ชัด
ฝึกตัวรู้ ทั้งซ้ายและขวา จนกลายเป็น ท่านผู้รู้ จิตรับรู้
...................
การปฏิบัติธรรม เป็นคุณลักษณะเฉพาะตน
เป็นคุณสมบัติส่วนตัว
คนอื่น ไม่สามารถจะมีส่วนแบ่งได้
..................
โจรปล้นไม่หาย ไฟไหม้ไม่ได้ เป็นสมบัติเฉพาะตน
ใครทำ ใครได้, ทำมาก ก็ได้มาก
รู้มาก ก็รุ่งเรืองมาก เจริญมาก ร่ำรวยมาก เป็นสุขมาก
รู้น้อย ก็เจริญน้อย ร่ำรวยน้อย เป็นสุขน้อย
.................
ขวา สติ, ซ้าย สติ, ขวา สติ, ซ้าย สติ, ขวา รู้, ซ้าย รู้ ชัดเจน
..................
หยุดอยู่กับที่
หลับตา
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
................
หายใจออก เบา ยาว หมด ผ่อนคลาย
แล้วหายใจเข้าไปใหม่ ค่อยๆ ช้าๆ กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก เบา ยาว หมด ผ่อนคลาย
ลองสำรวจดูซิว่า ตัวรู้ ชัดเจน ในกายไม๊
สติ ตั้งมั่นไม๊, จิตสะอาดขึ้นไม๊
สมองเครียดไม๊, กล้ามเนื้อ ขมึงทึง ตึงไม๊
ทุกส่วนในร่างกาย เครียด หรือ เบาบางลง ผ่อนคลายลง
ลองสำรวจดูซิ
..................
ตรงไหนในร่างกายเรา ที่มันมีปัญหา มันไม่ผ่อนคลาย มันเครียด ขมึงทึง
ก็สูดลมหายใจเข้าไป ให้ลมมันผ่านจุดนั้น
...............
แล้วก็พ่น ลมออก เบาๆ ยาวๆ
..............
ให้ความขมึงทึง ตึงเครียด มันผ่อนออกมากับลมหายใจที่พ่นออก
..................
เอ้า ทีนี้ เฝ้าดู จิต ดูใหม่ซิ
หลับตา แล้วดูซิว่า เราสงบไม๊ เราเยือกเย็นขึ้นไม๊
เราผ่อนคลายไม๊ สมองปลอดโปร่ง โล่งไม๊
ร่างกายเรา มีสมดุลย์มากขึ้นไม๊
..................
อยู่กับตัวเอง อย่าออกไปข้างนอก
.................
ทีนี้ กลับมาอยู่กับลมหายใจ
เรากำลังหายใจเข้าอยู่ หรือ ออกอยู่
ลองดูซิ
................
เอ้า ทีนี้ หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
................
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
เข้า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
ออก สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
................
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
ลืมตา แล้วเข้าที่ ผ่อนคลาย ลูก
(กราบ)
พวกที่ไอค๊อกไอแค๊ก ไอกะด๊อกกะแด๊ก ไปหาน้ำมันกานพลู ที่หลวงปู่ทำน่ะ เปิดจุกแล้วก็หยดใส่น้ำอุ่นๆ ครึ่งแก้ว หยดใส่ซัก 1 หยด แล้วคนให้เข้ากัน แล้วค่อยๆ จิบดื่ม ถ้วยเดียว ก็จะหายแล้ว มันจะช่วยทำลายเสมหะ ลดอาการระคายเคืองในช่องหลอดลมลำคอ
ไอมากๆ ก็จิบซักวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น
25 ก พ 2556 10.40 น. ภาคเช้า หลังปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมฯวันมาฆบูชา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
เอ้า แล้วทีนี้ ตั้งใจฟัง
ทุกครั้งที่เรามีความทุกข์น่ะ ลูก ใครก็ช่วยเราไม่ได้ พระเจ้าก็ช่วยไม่ได้ มีอยู่พระเดียวที่ช่วยได้ คือ พระสติ พระอย่างหลวงปู่ ก็ช่วยไม่ได้ เวลาเราดิ้นจนหนังกลับ นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายอยู่บนที่นอนน่ะ มันทุกข์ไม๊ (ทุกข์) ทุรนทุราย ทรมาน
นั่น เป็นเพราะว่า เราไม่มีสติ ที่จะหยุดยั้งความฟุ้งซ่าน
อานุภาพของจิต มันอ่อนด้อย ไม่สามารถจะขับไล่ความฟุ้งซ่านที่ครอบงำจิตได้
สำหรับคนที่ฝึกสติอย่าง ช่ำชอง เชี่ยวชาญ และมั่นคง อะไรที่มันเป็นเรื่องไม่ดี ที่เกิดขึ้นกับจิต มันจะจัดการได้ทันที สำรอกได้หมด กำจัดได้เสร็จสิ้น แล้วไม่ต้องทุรนทุราย ไม่ต้องดิ้นจนหนังกลับ แล้วนอนไม่หลับทั้งคืน
และอาการเหล่านั้น มันเป็นทุกข์ทุรนทุราย ทรมาน มันเจ็บเนื้อเจ็บตัว เจ็บหนัง ดิ้นอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักหลับซะที มันกลุ้ม มันว้าวุ่น มันร้อนรุ่ม มันกระสับกระส่าย
ทั้หมด มันเกิดจากอวิชชา ความไม่รู้, ตัณหา ความทะยานอยาก, อุปาทาน ความยึดถือ
ที่มันเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มี ท่านผู้รู้ ตัวรู้ นั่นคือ สติ
งั้น ถ้าเราฝึก สิ่งที่เราฝึกอยู่นี้ คือ ตัวรู้ ท่านผู้รู้ นั่นคือ สติ
เมื่อมี ตัวรู้, อ้ายความไม่รู้ ก็จะหายไป, อวิชชา ก็จะหายไป
วันนี้ เราทำการบูชาในวันมาฆฤกษ์ วิถีแห่งการบูชาในวันมาฆฤกษ์น่ะ ไม่ใช่ใส่บาตร เวียนเทียน ลูก
วิถีแห่งการบูชาในวันมาฆฤกษ์ ก็คือ พระพุทธเจ้า สอนเราว่า
สัพพปาปัสสะ อกรณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา ทำความดีด้วยความชาญฉลาด
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง ชำระจิต สำรอกจิตของตนให้ผ่องแผ้ว และ ผ่องใส
ที่ผ่านมา เรามี ราคะขยะ โทสะขยะ โมหะขยะ โลภะขยะ อวิชชาขยะ ตัณหาขยะ อุปาทานขยะ ที่มันครอบงำจิตนี้
พระพุทธเจ้า จึงบอกว่า ให้ใช้วันนี้ หรือ เวลาใดทุกเวลา สำรอกมันออกมา ให้ผ่องแผ้ว ให้ผ่องใส ให้สะอาด
งั้น วิถีแห่งการบูชาในวันมาฆฤกษ์ ที่ถูกที่สุด คือ การสำรอกจิต ทำจิตนี้ให้ ผ่องแผ้ว ผ่องใส ไม่ใช่การเวียนเทียน ไม่ใช่การใส่บาตรทำบุญ เพราะนั่น มันเป็นเพียงแค่ อามิสบูชา ซึ่งผู้บูชาแทบจะไม่ได้ประโยชน์ ถ้าจะได้ ก็แบบผิวเผินมากๆ
แต่ผู้บูชาที่ได้ประโยชน์สูงสุด เป็นประโยชน์ข้ามภพข้ามชาติ เป็นวิถีแห่งการบูชาในวันมาฆฤกษ์ อย่างถูกต้อง ก็คือ การสำรอกจิต การกำจัดขยะเก่า ไม่เพิ่มขยะใหม่ ทำของดีที่มีอยู่แล้ว ให้ผ่องใส
นี่คือ บทโศลกที่หลวงปู่เขียนไว้ เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ก็จบกิจพระศาสนา
เขียนไว้ว่า ยังไง
ลูกรัก กิจของพระศาสนานี้ มีอยู่ 3 อย่าง กำจัดขยะเก่า ไม่เพิ่มขยะใหม่ ทำของดีที่มีอยู่แล้วให้ผ่องใสเท่านี้ ก็ จบกิจพระศาสนา แล้ว ลูก
แต่ ณ.วันนี้ เรามาพยายามกำจัดขยะ ขยะเก่า แล้วก็พยายาม ไม่เพิ่มขยะใหม่
ขยะใหม่ มันจะไม่เพิ่มได้ ก็ต่อเมื่อเราต้อง รู้
รู้ ว่า อะไรเป็นขยะ, อะไรเป็นขี้ อะไรเป็นทอง
อะไรที่มองแล้ว คล้ายๆ ขี้ คล้ายๆ ทอง
เราจะต้อง รู้ชัด, ต้องวิเคราะห์ให้หมด
แล้วกว่าจะรู้ชัด วิเคราะห์ให้หมด มันต้องอาศัย กำลังจิต อย่างยิ่ง
อาศัย สติ อย่างยิ่ง, อาศัย สัมปชัญญะ อย่างมาก ในการที่จะวิเคราะห์ให้รู้ชัด
แล้วเราจะเลือกรับในสิ่งที่ควรรับ
อะไรที่ไม่ควรรับ ก็ไม่รับ อย่างนี้เป็นต้น
จิต นี่มันมีหน้าที่อยู่ 4 อย่าง รับอารมณ์ จำอารมณ์ รู้อารมณ์ แล้วก็ คิดอารมณ์
ถ้ามันไม่มี ตัวสติ ควบคุม, มันจะ รับ จำ คิด ในเรื่องไร้สาระตลอดเวลา ที่เข้ามา ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็ ทางใจ
แต่ถ้ามี สติ ควบคุม, มันจะ เลือกรับ เลือกจำ เลือกคิด ในสิ่งที่มันได้กำไร
คิดแล้วขาดทุน ไม่คิด, รับมาแล้ว เป็นมลพิษ ก็ไม่รับ
จำในสิ่งที่งดงาม, สิ่งที่เลวร้าย ก็ไม่จำ
เพราะ สติ เป็นตัวกำหนดให้จิตทำ
แต่ถ้าไม่มี สติ เค้าถึงบอกว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สติเป็นเจ้า
เป็นเจ้า ก็คือ เหนือนาย อีกที
จิตเป็นนาย น่ะถูก, กายเป็นบ่าว ก็ถูก แต่ สติ เป็นเจ้า
เป็นเจ้าของนาย ของบ่าว ทั้งปวง
งั้น หน้าที่ของเรา คือ ต้องฝึก สติ ให้มากๆ
สิ่งที่หลวงปู่สอนวันนี้ ไม่ใช่ฝึกสมาธิ ลูก
แต่มันคือ สอน สติ, สอนฝึก ตัวรู้, สอนให้ รู้ และให้รู้ทุกก้าว
เมื่อรู้มากๆ เข้า เหมือนกับ การเก็บคะแนน
ก้าว, ขวารู้, ซ้ายรู้,ขวารู้, ซ้ายรู้, ขวารู้, ซ้ายรู้, เราก็เก็บไว้เรื่อยๆ
ตัวรู้ มากขึ้นๆๆ พอกพูน จนกลายเป็น จิตผู้รู้
เมื่อ จิตผู้รู้ ปรากฏขึ้น เค้าเรียกว่า จิตประภัสสร ก็ได้, สุขุมจิต ก็ได้
หรือ อริยจิต ก็ได้
เมื่อสิ่งเหล่านี้ มันเกิดขึ้น, อวิชชา ความไม่รู้ มันจะชำแรกเข้ามาไม่ได้
มันจะแทรกเข้ามาสู่จิตนี้ไม่ได้, ความทุกข์ ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา
หน้าที่ของเรา คือ ฝึก ตัวรู้ ให้มากๆ
เพราะงั้น บางคนเห็น เดินเรื่อยเปื่อย ลอยหน้าลอยตา
เฉิบๆ ชวาบๆ อะไรของมันก็ไม่รู้, มันน่าจะ หลังแหวน
ไม่ได้ตั้งอกตั้งใจ เสียเวลาเปล่า เลอะเทอะไป
รู้ไม๊ ว่า ตัวเองเป็นทุกข์ เป็นโรค, เหมือนกับไม่รู้สึกว่า ตัวเองเป็นทุกข์ เป็นโรค
เหมือนกับ ไม่รู้ว่า เราเป็นโรคร้าย จะหาวิธีแก้มันอย่างไร
บอกวิธีแก้ ก็ไม่พยายามแก้, น่าสมเพชจริงๆ
งั้น ต้องฝึก เดี๋ยวบ่ายๆ มาฝึกใหม่, วันนี้ เอาแค่นี้ (สาธุ)
หิวแล้ว เค้าตีกลองเรียกแล้ว
เดี่ยวบ่ายโมง มาฝึกใหม่ ลูก
(กราบ)
เอาใหม่ซิ บอกแล้วว่า ถ้าเราจะปฏิบัติในเนกขัมมะ ในทศบารมี กราบพระ หัวทิ่ม ตูดกระดก หัวทิ่ม ตูดกระดก กราบส่งเดช ไม่ได้กราบออกจากหัวใจ ไม่มีอธิษฐานธรรม ไม่มีสัจจะในใจ ไม่จริงใจที่จะกราบ กราบใหม่
ทำดีให้ดู เป็นครูให้เห็น ทุกครั้ง ก็ไม่ค่อยจำ
(กราบ)
สอนกันเป็นเด็กอนุบาลเลย
หน้าเนี่ย อ่อน, ปัญญา ก็ อ่อน
ไหว้พระ อะระหัง สัมมา
................
(กราบ)
ในวันดีๆ ที่งดงามอย่างนี้ ควรจะ ฝึกตน ให้ได้
มนุษย์เนี่ย ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้น
ฝึกแบบเหลอะแหละ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบแตลง
เราก็จะได้เหลอะแหละ หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบแตลง เป็นสมบัติ
แต่ถ้าฝึกให้มันจริงๆ จังๆ เป็นผู้ซื่อตรง เราก็จะได้ความซื่อตรงเป็นสมบัติ
งั้น เราใช้โอกาสนี้ เป็นการฝึกตัวเอง ตั้งแต่เวลานี้ เป็นต้นไป จนถึงจบ ยาม 3 ของราตรีนี้ หรือ ยามสุดท้ายราตรีนี้ เราจะฝึกตัวเองให้เป็นผู้ซื่อตรง คือ เป็นผู้มีความจริงใจ เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม แล้วเราก็จะได้ มีเพื่อน มีบริวาร มีญาติ มีมิตร ที่ซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีคุณธรรม
แต่ถ้าเราฝึก เหลอะแหละ ตลบแตลง ปลิ้นปล้อน หลอกลวง เล่นเล่ห์ ไม่จริงจัง เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เราก็จะได้สิ่งนั้นมาเป็นสมบัติ
งั้น มนุษย์ ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้น
หลวงปู่ เป็นหลวงปู่ ตั้งแต่พรรษาแรก ก็เพราะ กูฝึกตัวเอง ไม่มีใครมาฝึกให้ ฝึกในสิ่งที่มันไหว้ตัวเองได้ บูชาตัวเองถูก กราบตัวเองสนิท ไม่ได้อยู่เพื่อให้ใครมาไหว้ แต่อยู่เพื่อจะไหว้ตัวเอง
แล้วเมื่ออยู่เพื่อจะไหว้ตัวเอง ต้องทำอย่างไร
ต้องค้นหา
เราจะไหว้ตัวเองให้สนิท ถูกต้อง สมบูรณ์ ภูมิใจ ก็ต้องมีคุณสมบัติ คุณธรรม ทำคุณประโยชน์ มีคุณค่า ชีวิตเกิดคุณภาพ
งั้น มนุษย์ทุกคนฝึกได้ ลูก ไม่ใช่เฉพาะหลวงปู่ หรือ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ แต่เราไม่ค่อยขยันฝึก หรือ การฝึก ก็ไม่ค่อยต่อเนื่อง, ความเพียร ไม่ค่อยยืนยาว ความเพียรสั้นจู๋ พวกความเพียรสั้นจู๋ ความอดทน ก็แค่หางอึ่ง เอ้อ ทนแล้วนะเนี่ย นั่งอยู่ตั้งนานให้ท่านบ่นเนี่ย ทนแล้วนะ, ยังว่า ไม่ทนอีก
อ่า ตอนนี้ กูไม่ทนแล้ว กูจะไปกินข้าวแล้ว พอล่ะ
อย่าทะเลาะกันนะ ไปแบ่งกันกินนะ
(กราบ)
25 ก พ 56 13.15 น. ธรรมะวันมาฆบูชา แสดงธรรม โดย องค์หลวงปู่
พุทธะอิสระ
(กราบ)
อยู่ทนนะ ยังไม่กลับบ้านกลับช่อง รอปฏิบัติธรรม หรือ รอเวียนเทียน (ทั้ง 2 อย่าง)
เดี๋ยว ให้ถามปัญหาเรื่อง การปฏิบัติธรรม ใครอยากถามอะไร ขั้นตอนในการปฏิบัติธรรม
กระบวนการในการปฏิบัติธรรม วิธีสร้างอารมณ์กรรมฐาน
เมื่อวาน ได้พูดถึงเรื่อง อารมณ์กรรมฐาน
อารมณ์กรรมฐาน มันเป็นอย่างไร
อารมณ์กรรมฐาน นี่ มันจะมีสภาพธรรมในจิตอยู่หนึ่งเดียว ก็คือ ความเพียร ความพึงพอใจ
เพียร แล้วก็ พึงพอใจ แล้วก็เกิดความเพลิดเพลิน
เพียร พึงพอใจ เพลิดเพลิน มารวมกัน เรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน
เราจะสังเกตุไม๊ เวลาเราปฏิบัติธรรมด้วยความเพียร ด้วยความตั้งใจ แล้วมันจะรู้สึก
เหมือนกับว่า ทำแล้ว มันไม่รู้จักเหนื่อย มันจะเพลิดเพลิน มันจะทำได้ยาวนาน ต่อเนื่อง
แล้วไม่ว่า จะเรื่องอะไร จะดัง จะเสียงดัง จะมีปัญหา จะฟ้าผ่า น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือ
อุปสรรคใดๆ มันไม่สามารถทำลายอารมณ์กรรมฐานนี้ได้ แม้กระทั่ง ฟ้าผ่าตรงหน้า ก็ยัง
ไม่สะดุ้ง
ผู้ที่เข้าถึงอารมณ์กรรมฐาน ความเพียรมันต่อเนื่อง จิตทุกดวงมีแต่ความเพียร แล้วก็ ตั้งมั่น
เพลิดเพลิน
เพียร ตั้งมั่น แล้วก็ เพลิดเพลิน, เพียร ตั้งมั่น แล้วก็ เพลิดเพลิน อยู่อย่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ใน
สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ผู้ที่ได้อารมณ์กรรมฐาน
หลวงปู่สังเกตุดู หลายคนที่พอจะเดิน แล้วตั้งใจที่จะเดิน มีความเพียร มีความตั้งมั่น มันจะ
มีคำว่า เพลิดเพลิน
ความเพลิดเพลิน ก็คือ ความพึงพอใจ อย่างที่พูดเมื่อครู่ ความพึงพอใจ ชอบใจ พึงพอใจ
แล้วก็ เพลิดเพลิน
เพียร ตั้งมั่น เพลิดเพลิน, เพียร ตั้งมั่น เพลิดเพลิน จนบังเกิดความพึงพอใจ, พึงพอใจ
แล้วจึงจะเพลิดเพลิน
คนที่จะเข้าถึงอารมณ์กรรมฐานนี้ได้ มันต้องฝึก ไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้ว มันจะเกิดขึ้นเอง เว้นเสีย
แต่ว่า เรามีของเก่าตามมา อดีตชาติ เราเคยสั่งสมอบรมมา แล้วก็ พึงพอใจ
เพียร ตั้งมั่น จน พึงพอใจ แล้วก็เกิด ความเพลิดเพลิน ทำได้ต่อเนื่อง ยาวนาน
ทำอะไร ก็รู้สึกเพลิดเพลิน คนพวกนี้จะมีนิสัย ที่ทำอะไร เค้าเรียกว่า สมาธิยาว ถ้าพูดเป็น
ภาษาปัจจุบัน ก็บอกว่า พวกสมาธิยาว คือ ทำอะไร ทำได้ยาวนานต่อเนื่อง, ทำอะไร ไม่
ว่าจะลำบากลำบนข้นแค้นขนาดไหน ก็จะยาวนานต่อเนื่อง แล้วก็ หาความสุข ความเพลิด
เพลิน ความพึงพอใจ แล้วก็ความเพลิดเพลินในสิ่งที่ทำได้
อ้ายคนที่ไม่เคยฝึก ศึกษา สั่งสม อบรมมา ก็พยายามได้ แต่พวกนี้ก็จะค่อยข้างมีสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ก็คือ ทำอะไร แม้มีความเพียร แต่มันไม่ตั้งมั่น หรือ พยายามจะตั้งมั่น แต่มันก็
ไม่พึงพอใจ หรือ พยายามจะสร้างความพึงพอใจ ก็ไม่บังเกิดความเพลิดเพลิน เพราะว่า
จิตมันไม่รวมตัวอยู่กับองค์กรรมฐานอย่างเหมาะสม มันไม่มีมรรคา ไม่มีมัชฌิมา ไม่มีทาง
สายกลาง อันเหมาะสม คือ ทุกอย่าง มันต้องลงตัว กลมกลืน และเหมาะสม
ทำๆ ไปเฮอะ ถ้าสังเกตุและใช้ปัญญา เราจะรู้ว่า จิตเรา มันอยู่ในระดับไหน ได้
เรื่องพวกนี้ หลวงปู่ได้จากการปฏิบัติธรรม ประสบการณ์จากการปฏิบัติธรรม เพราะ มัน
เป็นปัจจัตตัง มันจะรู้ได้เฉพาะตน คนอื่นสอนร้อยพัน ก็ไม่เท่ากับการที่เราทดสอบ ค้นคว้า
แล้วลงมือทำด้วยตนเอง
งั้น กว่าจะเข้าถึงกระบวนการขององค์คุณแห่งฌาน ญาณปัญญา, ฌาน แล้วก็ญาณปัญญา
มันจะต้องผ่านกระบวนการพวกนี้ก่อน ผ่านกระบวนการ เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็
เพลิดเพลินก่อน
จดเอาไว้เลย จำเอาไว้เลยว่า มันต้องผ่านกระบวนการ เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็เพลิด
เพลิน รวมทั้งหมดนี้ ว่า อารมณ์กรรมฐาน
พอมีอารมณ์กรรมฐาน แล้วทีนี้ มันก็จะเข้าสู่ กระบวนการของ ฌาน ญาณ ปัญญา
พอสู่ กระบวนการ ฌาน ญาณ ปัญญา ทีนี้ มันก็ยิ่งแนบแน่น เค้าเรียกว่า สมาธิชั้นสูงละ
เป็นอัปนาสมาธิ
แต่ถ้ายังอยู่ในชั้นของคำว่า เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน ก็ยังอยู่ในชั้นต้นๆ
เรียกว่า อุปจารสมาธิ ได้ แต่ต้องมั่นใจว่า ใครจุดประทัดข้างๆ อยู่ นี่ ไม่สะดุ้งนะ ต้องขนาด
นั้นนะ
ไม่ใช่จุดประทัด ว๊าย ตาเถรตก อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่นะ
คนที่เข้าสู่อารมณ์กรรมฐาน ฝนตก น้ำท่วม ไฟไหม้ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จะไม่สะดุ้ง ไม่หลุดออก
จากอารมณ์กรรมฐาน ไม่หลุดออกเลย ให้ฟ้าผ่าตรงหน้า ก็จะไม่สะดุ้งผวา เพราะมันมีคำว่า
เพียร ตั้งมั่น แล้วก็ พึงพอใจ เพลิดเพลิน, ให้ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ก็ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ
ไม่ใช่ไม่รู้ ลูก ไม่ใช่ปิดหูปิดตา ไม่ใช่หูเราหนวก ตาบอด ไม่ใช่
วันที่หลวงปู่ ดูเค้าปิดงานโรงเจ เค้าเล่นประทัดกันให้เบิ้มบ้ำๆ นั่งอยู่ตรงประตูสวรรค์ เห็นว่า
อ้ายมังกร สิงโต เค้ามาเล่น ก็เอ้า ไปนั่งเป็นกำลังใจเค้าหน่อย เค้าบ่นๆ มาหลายปีแล้ว เราไม่
เคยไปนั่งดู เค้าเลย ก็เลย มันก็เล่นไม่ค่อยเต็มที่ ปีนี้ ไปนั่งดู มันก็อัดใส่เต็มที่เลย
พลุ กี่ลูกๆ มันมาตั้งหมด เห็นอ้ายพลุกล่องๆ น่ะ ก็ตอนนั้นมันก็ คือ ไม่อยากให้ ควัน ฝุ่น
หรือว่า อ้ายเสียง มันเข้ามาในรูหู โสตประสาท จนทำลายแก้วหูเรา ก็ใช้คำว่า เพียร ตั้งมั่น
พึงพอใจ แล้วก็เพลิดเพลิน ในกรรมฐานของตน ไม่ได้ไปใส่ใจกับอ้ายที่มันเล่นยึกยักๆ
อะไรเนี่ยนะ
อ้ายนาจา ขึ้นไปจุดไฟ ไฟไม่ติด ยังบอก เฮ้ย นาจา หมดไฟแล้วเว๊ย เค้าขึ้นไปถีบอ้ายวงล้อ
ไฟ เลยบอก มึงเอาซิบโป้ไปพ่นอ้ายนาจาหน่อยซิ ให้เอาน้ำมันไฟแช็คส่ง เอ๊ย เราก็นั่ง เอ๊ย
อาชีพของมันล่ะนะ ก็นั่ง เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็ เพลิดเพลินในอารมณ์กรรมฐานของ
ตน
เห็น พลุ มันกำลังจุด 4 ทิศ เราก็นึกในใจ ตอนมันมาวางอยู่ข้างหน้า มันห่างไป แค่นี้ ก็
ประมาณกล้อง มันมาตั้งวางอยู่ข้างหน้าเราก็ อ้ายห่า มาวางไว้นี่ พอดีตรงกูพอดีเลย เดี๋ยว
ถ้ามันล้มมานะมึง นึกในใจล่ะนะ เอ๊อ ชั่งมัน มันจุดไปได้ซักดอก 2 ดอก พลุมันมี 6 ดอก
กล่องหนึ่งมันมี 6 ดอก มันยิงออกไปซักดอก 2 ดอก มันกระเทือนสิ แล้วมันไปวางกับ
พื้นไม่ดี พื้นมันมีอิฐ มีหิน มีกรวด
มันสะเทือน แล้วมันก็ล้ม เราก็นึก เอาแล้วโว้ย ล้มแล้วโว้ย ล้มแล้วมันมายังไง ล้มแล้วมันก็
วิ่งมาหาเรา เอ่อ วิ่งมาหาเรา พอเห็นพลุล้ม อ้ายบอดี้การ์ดเรา ตอนนั้น มันก็อยู่เต็มไปหมด
เลยนะ ก่อนที่พลุจะล้มล่ะนะ มัน โอ้โห่ ซ้ายก็มี ขวาก็มี มีหน้า มีหลัง มี พอพลุล้มปุ๊บ เท่า
นั้นแหละ แวบ มัน เอ่อ บอร์ดี้การ์ดของกู เป็นอย่างนี้แหละ ใส่เกียร์ 4 หายหัวหมด ไป
จ้อยเลยล่ะ
อ้ายเฟิร์สนี่ ไปแบบไม่เห็นฝุ่นเลย อ้ายตัวเล็ก เอ่อ พลุล้ม แล้วมันก็ยิงออกมาสิ เราก็นั่งมอง
เอ่อ มันมา ลูกไหนตรง ลูกไหนไม่ตรง ซ้าย ไปอีก ขวา มีอีกลูกหนึ่ง มันวิ่งมาตรงๆ เราก็
เอียงหลบนิดหนึ่ง ทีนี้ อ้ายตั้ม มันนั่งอยู่ข้างหน้า ก่อนหน้านั้น เค้าจะวิ่ง วิ่งไม่ทัน เพราะเค้า
นั่งคุกเข่า นั่งคุกเข่าทำไง มันก็ปัดสิ ปัดเป็นลิงปัดต่อเลยล่ะ
อ้ายเราก็ อ้ายห่า มึงโดนแน่ คือ ไม่ได้รู้สึกอะไร ไม่ได้รู้สึกหวาดกลัว ถ้ากลัว ไม่ได้ เดี๋ยว
เสียฟอร์ม คนเค้ามาถาม ทำไมไม่หนี อ้ายห่า เค้าเพิ่งประมูลอวโลฯกูไป ถ้ากูหนี แหม คู่นั้น
ราคาตั้งล้านห้า ถ้ากูหนีขึ้นมานี่ มึงเอ๊ย กูว่า เหลือ ร้อยห้าบาท ไม่ได้ๆ เสียฟอร์มเว้ย
แล้วก็เห็นพลุ มันวิ่งเข้ามาหาหลวงปู่ มันวิ่งมาตรงๆ ลูก เอ้อ อ้ายตั้ม เค้านั่งอยู่ตรงนี้ อีกลูก
มันจะตรงเข้ามาหาหน้าอ้ายตั้ม อ้ายนั่น ก็ปัดเป็นลิงเลยล่ะ เพราะลูกที่ 1 ที่ 2 ที่วิ่งมาน่ะ
มันมีสะเก็ดไง หลวงปู่ก็นั่งของหลวงปู่เฉยๆ พอเห็นลูกที่ 3 นี่มันวิ่งเข้าหน้าอ้ายตั้ม อ้าย
นั่นไม่รู้จะทำยังไง เลยต้องจิกหัวมัน ซุกเข้าไป อ้ายห่านี่ มานี่ แล้วพลุมันก็วิ่งเฉียดมันไป
เฉียดหน้ามันไป
เพราะงั้น อ้าย เพียร ตั้งมั่น แล้วก็ พึงพอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน มันทำให้เห็นสภาพธรรมที่
ปรากฏชัด
สมัยก่อน หลวงปู่ไปธุดงค์อยู่ที่เพชรบุรี อะไรวะ แถวๆ วังมะนาว เอ๊ย ไม่ใช่ ยางสูง ไปปัก
กลดอยู่จอมปลวก ริมคันนาของชาวบ้าน มันมีที่ลานกว้างๆ สำหรับไว้ตากข้าว วางข้าว ผึ่ง
ข้าว นั่งกินข้าว เห็นเป็นทำเลชัยภูมิดี ก็ไปปักกลด แล้วมันอยู่ติดๆ ทาง ที่ก็ไม่ได้กว้างเท่า
ไหร่หรอก ก็ประมาณซักร่วม 2 ช่องอย่างนี้ เย็นๆ ก็มีคนมาฟังธรรม เราก็เทศน์ เล่า
เรื่องบุหรี่ เรื่องยา เรื่องการพนัน ก็ธรรมชาติ ปากกู ก็หาเรื่องไปเรื่อยล่ะ พูดไปเรื่อง การ
ปกครองของท้องถิ่น ต้องมีธรรมาภิบาล ต้องดูแลรักษา พูดวัน 2 วัน, สัปดาห์ 2
สัปดาห์ หนักๆ เข้า มันคงไปกระเทือนอ้ายผู้ปกครองท้องถิ่นว่า อ้านที่พูดทั้งหมดน่ะ อ้าย
กำนันมันขายหมดเลย ตั้งแต่ หวย ยาบ้า อะไรต่ออะไร
มันก็ส่งลูกน้องมาเลย หลวงปู่ นั่งสมาธิอยู่ในกลด มันเอาปืนลูกซอง มายิง
เห็นๆ เลยนะ อู้หู มันมาเป็นกลุ่มเลย ปืนลูกซอง ลูกซองมันยิงเข้ามาเนี่ย เรามองเห็นนะ
เห็นเป็นกลุ่มมาเลยล่ะ อู้หู มาเป็นกลุ่มเลย เราก็หลบ แวบ เฟี๊ยว เอ่อ มันไปได้ยังไง มัน
เห็นได้ชัด ตามสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เหมือนกับเราเห็นหนัง เห็นละคร ที่
มันแสดงให้เราเห็น
เพราะงั้น ถ้า เพียร ตั้งมั่น แล้วก็ พึงพอใจ เพลิดเพลิน มันเป็นสภาวะธรรม ที่มันสามารถจะ
เข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงได้
อย่าว่าแต่ คนวิ่ง ม้าวิ่ง รถวิ่ง ลูกปืนวิ่ง เราก็จะสามารถเห็นได้
อันนี้ เล่าให้ฟังเป็นประสบการณ์ มันก็ยิง รู้สึกจะยิงไป 3-4 นัด ลูกซอง มันก็คงจะนึกว่า
แย่แน่ ตายแน่ เพราะว่า พรุน กลดก็พรุน มันยิงเข้ากลด มุ้งเป็นรูๆๆ, ก็เฉยๆ หลวงปู่ ก็
เห็นลูกซอง มันวิ่งมาเป็นกลุ่ม เราก็มองเฉยๆ คอยดูว่า มันจะมาทางกลุ่มไหน ว่า ทางซ้าย
ทางขวา
งั้น ถ้าเรา มีสติ มีความเพียร มีความตั้งมั่น มีความพึงพอใจ แล้วมันก็จะกลายเป็นความ
เพลิดเพลินในกระบวนการ ขั้นนี้น่ะ เค้าเรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน
คนมีอารมณ์กรรมฐานเนี่ย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้เจริญ เข้าถึงอารมณ์หรือสภาวะธรรมที่
เป็นกรรมฐาน ลึกลงไปใต้แผ่นดิน 1 วา, สูงเหนือศีรษะ 1 วา, หน้า หลัง ซ้ายและ
ขวา 1 วา มันจะมีเหมือนกับเกราะป้องกันภัย เหมือนๆ กับที่พลุ มันวิ่งเข้ามา
ที่จริง มันวิ่งตรงหลวงปู่นะ แต่มันแถกไปได้ไง ไม่รู้ ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง กูก็นั่งของกูอย่างนี้
เต๊ะท่า ดูไปเรื่อย
อ้ายลูกที่ 3 นี่ เห็นท่ามันจะไม่พ้นหน้าอ้ายตั้ม เลยต้องจับมันกระชาก จับผมมัน
กระชากออกมา อ้ายนั่นหน้าตาเหลอเลย ไม่มีสติ ฝึก
แหม ต้องยอมรับ บอดี้การ์ดกู มีสติทุกคน เยี่ยมมาก อ้ายชิบหาย บอดี้การ์ดกู นี่แต่ละคน
ไปบ้าน อ้ายสจ.ยู้ เค้านิมนต์ให้ไปบ้าน อ้ายพงษ์ เค้าขับรถ อ้ายวารินทร์ เค้าก็นั่งเป็นบอดี้
การ์ด อยู่ข้างหลัง กูก็นั่งหน้า พอไปถึง อ้ายพงษ์เค้าก็ พี่วารินทร์ ลงไปเปิดประตูให้ปู่สิ,
อ้ายพงษ์ มึงไม่เห็นเหรอ อ้ายห่า หมาตั้ง 4 ตัว, บอดี้การ์ดกู, กูฟังแล้วกูก็ยังขำเลย
มึงไม่เห็นเหรอ อ้ายห่า หมาตั้ง 4 ตัว, กูรำคาญ กูก็เลยเปิดของกู ลงไปเอง, หลวงปู่
ระวังหมานะครับ, แล้วเราก็หันไป อ้าว แล้วมึงทำไมไม่ลงมา, เดี๋ยว รอหมามันไป,
แล้วมันจะตามหลัง
กูบอดี้การ์ดมึง หรือ มึงบอดี้การ์ดกู ก็ไม่รู้ล่ะ เออ มันพันธุ์อย่างนี้แหละ บอดี้การ์ดกู
งั้นก็ สติ ฝึกให้เยอะๆ ลูก
สติ นี่มันเป็นตัวที่ป้องกันภัยพิบัติ ป้องกันความวิปลาส ผิดพลาด ป้องกันความเสียหาย ถ้า
ทำถึงขั้น เข้าถึงสภาวะอารมณ์กรรมฐาน เราจะมี ใช้คำว่า อภินิหารของตัวเอง
ทุกคน สร้างอภินิหารของตัวเองได้ จะเห็นสภาวะธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงได้ชัดเจน
เค้าว่ากันว่า มันสามารถมองเห็นสิ่งที่มันย้อนเวลา ที่จริงแล้ว มันไม่ใช่ย้อนเวลา
สมมุติว่า คนยิงปืนมาจากตรงนู้นน่ะ ลูก มันนาทีที่เท่าไหร่ เราอยู่ตรงนี้ ระยะทางมันไกลกี่
เมตร กี่วากี่กิโลฯ การมองเห็น จะเรียกว่า เห็นย้อนเวลา ไม่ใช่ แต่เห็นปัจจุบันธรรม ที่
ชัดเจนและแจ่มแจ้งในนาทีนั้นๆ อย่างชัดเจน ที่หลวงปู่เทียบดู จากสิ่งที่หลวงปู่เห็น ลูกปืน
ที่มันยิงออกมาจากปากกระบอก เราเห็นมันออกมาจากปากกระบอก แล้วมันก็มาเป็นกลุ่ม
กระจายมาเป็นพวง
ทำให้เห็นว่า เอ่อ อ้ายการเข้าถึงอารมณ์กรรมฐาน มันจะได้เห็นสภาวะธรรมที่ปรากฏตาม
ความเป็นจริง ไม่ใช่เห็นย้อนเวลา แต่มันตามความเป็นจริงในขณะนั้นๆ ว่า ลูกปืนมันโนยิง
ออกมาจากปากกระบอก พอพ้นจากปากกระบอก มันก็พุ่งมาข้างหน้า แล้วมันก็กระจายมา
เป็นกลุ่ม มองเห็นชัด เพราะมันต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทาง
งั้น การใช้ระยะเวลาในการเดินทาง มันก็ทำให้จิตเราไวกว่า คือ สภาพจิตเรา ไวกว่าลูกปืน
ไวกว่าเสียง ไวกว่าแสงอีก อยู่แล้ว
ไวกว่าไม๊ เอ้า ลองนึกถีงบ้านซิ, ถึงไม๊, ถึงแล้ว
นึกถึงใครก็ได้ ที่อยู่ไกลที่สุด เราถึงละ
งั้น อ้ายลูกปืน เราก็เห็นว่า คนมันมายิงปืน นึกถึง มันไวกว่าคนยิงปืนด้วยซ้ำ เห็นจนถึง
ขนาดว่า มันลั่นไกเลยล่ะ กระบวนการเห็น มันเห็นในขณะกิริยาอาการที่มันกำลังลั่นไก
แล้วลูกปืนมันทำปฏิกิริยา มันออกมา ดินระเบิดมันทำปฏิกิริยา แล้วมันก็พ่นออกมาจาก
ปากกระบอกปืน
เห็นสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เหมือนกับที่หลวงปู่เห็นว่า อ้ายพลุ มันล้มลงมา
แล้วมันก็หันหน้ามาตรงเรา แล้วเห็นว่า มันยิงออกมาทีละลูกๆ เห็นสภาพธรรมแบบนั้นน่ะ
ลูก
มันไม่ได้เห็น ด้วยความตื่นตระหนกตกใจ แต่เห็นตามความเป็นจริงที่ปรากฏ
ทีนี้ เราก็จะอยู่ยังไงกับมันล่ะ
อยู่ยังไงกับมัน ที่มันไม่ทำร้ายเรา เราไม่ต้องเป็นโทษ เป็นพิษ เป็นภัยต่อมัน หรือ มันไม่
ทำพิษ เป็นภัย ทำโทษต่อเรา อันนั้น มันอยู่กับตัวเราละ
งั้น เรื่องการฝึกให้อย่างยิ่ง ฝีกให้มาก ฝึกให้เยอะเนี่ยนะ เราจะเห็นว่า หลวงปู่ ไม่ใช่เป็น
คนแค่สอนอย่างเดียว พอหลวงปู่มีเวลา หลวงปู่ก็จะฝึกของตัวเอง ไม่ใช่นั่งสอนอย่างเดียว
แล้วมานั่งเฝ้า นั่งดูคนอื่นอย่างเดียว ไม่ใช่
ก็ฝึก ฝึกให้มาก ฝึกให้ยิ่ง ฝึกให้เยอะ ก็อย่างที่บอกแล้วว่า มันมีกระบวนการก็คือ มีความ
เพียรต่อเนื่อง มีความตั้งมั่น มีความพึงพอใจ แล้วก็จะเกิด ความเพลิดเพลิน
พออารมณ์เพลิดเพลินปรากฏ ทีนี้ ไม่ต้องกลัวฟ้า กลัวดิน ลูก ไม่ต้องหวาด สะดุ้งผวา กลัว
อะไร เราจะองอาจ งดงาม สง่า อยู่ตลอดเวลาในท่ามกลาง ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง น้ำท่วม ไฟไหม้
ปัญหา อุปสรรค และ สิ่งรุมเร้าทั้งหลาย ก็ไม่สามารถเข้ามากล้ำกรายเราได้
เพราะอะไร
ก็เพราะ เรามีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวไง มันเหมือนกับภูเขาที่ตั้งตระหง่าน ไม่หวั่นไหว ไม่
สะดุ้งผวาต่อแรงลม และพายุโหมกระหน่ำพัด
ถามว่า แล้วทำอย่างนี้ จะให้ถึงมันได้อย่างไร
ก็ ฝึก ลูก ฝึก ศึกษาให้มาก แล้วก็จงทำในสิ่งที่ตัวเองกำลังกระทำ ด้วยหัวใจ ด้วยจิตวิญญาณ
ใช้คำว่า ทำในสิ่งที่ตัวเองกำลังกระทำ แสดงว่า มันมี 2 ทำ
1. ก็คือ ทำกาย
2. ก็คือ ทำอะไร, ทำใจ
เอา กายกับใจ มารวมกัน ทำ
บางทีนี่ เราทำแต่กาย หลายคนนี่ ใจไปไหนก็ไม่รู๊ เดิน ลอยหน้าลอยตา เฉิบๆ อะไรของ
มันก็ไม่รู้ มันไม่ตั้งใจทำ แล้วฝึกแบบนี้ มันก็จะเป็นแบบนี้ มันก็จะได้สภาวะธรรมที่ไม่จริง
เห็นอะไร ก็เห็นแบบไม่จริง, รู้อะไร ก็รู้แบบไม่จริง, ได้อะไร ก็ได้ผลไม่จริง แล้วก็
ลูบๆ คลำๆ ลูบหน้าปะจมูก
เล่าให้ลูกหลานฟังว่า ก่อนวันงานโรงเจ ทั้งวัด เหลือเงินอยู่แสนกว่าบาท แล้วหลวงปู่ก็ ไป
นั่งอยู่ในหอฯ คือ ไปตรวจงาน แล้วก็ยืนอยู่สักพัก แล้วก็ลงมานั่งอยู่ในหอพระโพธิสัตว์ ก็
นึกในใจว่า
ท่าน เอาแต่ยืนเฉยๆ มือก็มีตั้งหลายมือ เอ่อ มือก็มีตั้งหลายมือ ช่วยกันทำมาหากิน ซักมือ
สองมือ ก็จะดีละ เอ่อ เงินทั้งวัด เหลืออยู่แสนกว่าบาท เองนะ
เอ่อ 10 วันต่อมา ก็ได้ 28 ล้าน (สาธุ)
อีก 2 วันต่อมา ก็จ่ายไป 16 ล้าน
เดือนที่ผ่านมาเนี่ย จ่าย 16 ล้าน เดือนนี้เนี่ย ยังไม่สิ้นเดือน จ่าย 16 ล้าน
คนที่เข้าถึง ความเพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็เพลิดเพลิน ทำอะไร ฟ้าดิน ก็สะดุ้งผวา
ปรารถนาสิ่งใด พอเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ก็ไปนั่งอยู่หน้าอาคารฐานพระ ก็มอง
หลวงพ่อ หลวงพ่อนาคปรก
หลวงพ่อ ได้มาเมื่อ 2 วัน นี่จ่ายไปวันนี้ 16 ล้านแล้ว นะ เหลืออีกไม่เท่าไหร่ ช่วยกัน
ทำมาหากินมั่ง ทองก็ยังปิดไม่หมด อย่ามานั่ง ทำอมยิ้มอยู่ พูดนี่ พระฉัตรชัยกับพระมหา
อานนท์ เค้าได้ยินด้วยนะ เอ่อ เค้าได้ยินด้วย
พอตกรุ่งขึ้นเช้า คนเอาตังค์มาถวาย 8 แสน (สาธุ) แล้วก็ มีทองมาให้อีกเท่าไหร่ไม่รู้
กี่บาทไม่รู้ 10 บาท หรือ 50 บาท อะไรก็ไม่รู้ อีกเจ้าหนึ่ง เอ่อ ช่วยหาทอง มาปิดตัว
พระ เพราะตั้งใจ
หลวงปู่ตั้งใจเอาไว้ว่า ถ้าชีวิตไม่สิ้น พระองค์ใหญ่นั่น จะบุทองให้หมด (สาธุ) จะบุทอง
ให้หมด เพราะอยากจะทำถวายแผ่นดิน ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็ถวาย
เป็นพุทธบูชา ก็ค่อยเก็บหอมรอมริบ ทีละเล็กทีละน้อย เก็บไว้
เมื่อเช้า วัด เขียนหนังสือมาทวง 70,000 บาท ค่าประมูลสิงโตกับผลไม้ อ้ายชิบหาย
อ้ายเราก็ว่า ยังไม่จ่าย เค้ามีวงเล็บด้วย ยังไม่จ่าย อ้ายเราก็ อ้ายห่า สิงโตกูก็ไม่ได้กินซะนิด
ผลไม้อยู่ไหนก็ไม่รู้ อ้ายตอนประมูลโรงเจไง วันสุดท้าย
เอ่อ เดี๋ยววันนี้ กูต้องไถพวกมึงแล้วไปจ่ายเค้า 70,000 บาท เอ้อ เค้าทวงมา ลูก เค้า
ทวงมาเมื่อเช้า ถาม เค้าบอกว่า เขียนมาให้ดู, เขียนมาให้ดู ทำไมมึงมีวงเล็บว่า ยังไม่จ่าย
เรียกพระต๋อยมาถามว่า นี่ ท่านทวงผมเลยเหรอนี่ เออ ทุกบาททุกสตางค์ หามา พวกมึงก็
เอาไปหมด นี่มึงจะมาทวงอะไรกูอีก กูไม่รู้จะเอาอะไรให้มึง เอ้อ เค้าบอกว่า เขียนมาให้ดู
เฉยๆ แต่วงเล็บว่า ยังไม่จ่าย อ้ายห่า มันให้ดูยังไง ดูอย่างนี้ ก็แสดงว่า กูยังไม่จ่าย
เอ๊ย ถ้ายังงั้น ไปจ่าย เดี๋ยว หาจ่าย ไม่ยากหร๊อก
งั้น ก็เลยบอกลูกหลานว่า ฝึกให้เยอะเถอะ ลูก แล้วเวลา คิดอะไร ทำอะไร พูดอะไร ฟ้าดิน
จะสะเทือนเลื่อนลั่น ทำอะไร ก็จะเป็นผลสำเร็จ เป็นมรรค เป็นผล
ความศักดิ์สิทธิ์ พิสดารน่ะ ไม่ใช่อยู่ที่เทพบันดาล พรหมประทาน ใครไปให้
ตัวเราเอง ลูก ตัวเรา มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีความศักดิ์สิทธิ์ พิสดาร
สำคัญอยู่ว่า เราจะทำหรือไม่ เราจะฝึกไม๊ เราจะศึกษา เราจะสั่งสม เราจะอบรมให้มันเกิดขึ้น
กับตัวเรา มากน้อยแค่ไหนอย่างไร
งั้นก็ เวลาสอน อย่าทำเป็นเล่นๆ อย่าละเลย เพราะ นั่นมันเป็นสมบัตินะ ทำได้นิดหนึ่ง
สมมุติว่า เดินซัก ชั่วโมงหนึ่ง ซ้าย รู้กระทบพื้น, ขวา รู้ กระทบพื้น, รู้ทุกซ้าย ทุกขวา
เอ้า ก็ดีไป
แต่ รู้ บางครั้ง, รู้แค่ซ้าย ขวาไม่รู้, รู้แค่ขวา ซ้ายไม่รู้, มันก็ดีกว่า ไม่รู้ทั้งซ้ายและ
ขวา
แต่ ความรู้ เหล่านั้น มันหายไม๊
ไม่ได้หายนะ ลูก
ท่านพระจุฬบัณฑก สมัยอดีตชาติ ท่านเป็นพระราชา ออกเลียบพระนคร นั่งอยู่บนหลังช้าง
แดดร้อนๆ เปรี้ยงๆ อย่างนี้ พอปราบดาภิเษก เป็นราชาใหม่ๆ ก็ต้องตรวจพล สวนสนาม
เลียบพระนคร อ้ายข้างล่างก็ ทั้งพลม้า พลรถ พลช้าง ตัวเองนั่งอยู่บนหลังช้าง ก็อยู่ที่สูง มี
กูดช้างรับกันร้อน แต่มันไม่กันฝุ่น เหงื่อไหลไคลย้อย ฝุ่นก็ลอยขึ้นข้างบน ก็เปียก เหงื่อก็
เปียก ฝุ่นก็พ่นปนเหงื่อ ก็เอาผ้าซับพระเสโท คือ ซับเหงื่อ แล้วก็ เอามาดู โอ้หนอ ร่างกายเรา
มีความสกปรกเป็นธรรมดา
แค่นี้ เป็นอานิสงส์ ส่งให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เพราะ เห็นตามความเป็นจริง เห็นสภาพ
ธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วก็ มันถอนอุปาทานและตัณหาได้ขณะที่เห็น
เห็นไม๊ ถอนอุปาทานและตัณหา ได้ในขณะที่เห็น ขณะเดียวนะ ขณะจิตเดียวเท่านั้นที่เห็น
แล้วพ้นจากขณะนั้น เห็นไม๊ ไม่เห็น แต่เห็นแค่ขณะจิตเดียวเท่านั้น
ขนาดเห็นขณะจิตเดียว ยังส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ 500 ชาตินะ ไม่ใช่ชาติเดียวนะ
แล้ว 500 ชาติ มันได้มาจากไหน
ก็ โอ้หนอ ร่างกายเรา มีความสกปรกเป็นธรรมดา ท่านว่าไว้ว่า จิตรู้ชัดตามความเป็นจริง
500 ดวง
500 ดวง คำว่า โอ้หนอ ร่างกายเรา มีความสกปรก เป็นธรรมดา จิตรู้ชัดตามความเป็น
จริง 500 ดวง
งั้น ดวงหนึ่ง ก็ 1 ชาติ ไปเกิดในสวรรค์นะ ดวงหนึ่งก็ 1 ชาติๆ
แล้วนี่ มึงก้าวมากี่ก้าวแล้วเนี่ย ก้าวมา จนตีนสึกแล้ว มึงรู้ชัดตามความเป็นจริงกี่ก้าว
เพราะฉะนั้น หลวงปู่ จึงบอกเมื่อเช้าไงล่ะว่า
ถ้า เดินอย่างเป็นผู้รู้ คือ รู้ทุกก้าว คือ สวรรค์ทุกก้าว พูดไม่ผิด พูดถูก
แต่ถ้า ไม่รู้สักก้าว นรกทุกก้าว มันตกนรกทุกก้าว เพราะอะไร
ก็เพราะว่า เดินด้วยโมหะ เดินด้วยโลภะ เดินด้วยโทสะ เดินด้วยอวิชชา เดินด้วยตัณหา เดิน
ด้วยอุปาทานไง มันไม่ได้เดินด้วย รู้ชัดตามความเป็นจริง
งั้นน อย่าไปดูถูกดูแคลนในสิ่งที่เราทำว่า เออ ทำนิดๆหน่อยๆ อะไรก็ไม่ได้, ได๊ ถ้า
พยายาม
ทำให้เกิดอารมณ์กรรมฐานทุกก้าว ยิ่งเยี่ยมใหญ่ ยิ่งสุดยอดใหญ่
อารมณ์กรรมฐาน มีอะไรบ้าง
เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน
ไม่ใช่ เพียร ตั้งมั่น พึงพอใจ เพลิดเพลินในกามคุณ นะ
เอ่อ เดี๋ยวจะบอกว่า ทำอะไรอยู่อ่ะ
ผมกำลังกำลังเข้าอารมณ์กรรมฐาน กำลังดวดมันเลย เสพมันเลย ซดมันเลย กินมันเลย
อย่างนี้ ไม่ใช่อารมณ์กรรมฐาน นะ
อารมณ์กรรมฐาน มันต้องมีอารมณ์เดียว ลูก อารมณ์เดียวที่เป็นเอกัคคตารมณ์ หรือ
อุเบกขารมณ์ อย่างนี้เป็นต้น เป็นอารมณ์ที่ทำให้เกิด สุขุมจิต
อ้ายอารมณ์เสพกามคุณน่ะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส, มันสุขุมไม๊ จิตนี้, ไม่สุขุม มัน
ทุรนทุราย มันทะเยอทะยานอยาก มันร้อนรุ่ม มันไม่สุขุม จะเรียกว่า อารมณ์กรรมฐานไม่
ได้
งั้น อารมณ์กรรมฐาน มันจะต้องมีอารมณ์ที่ทำให้จิตนี้ เกิดความสุขุม เรียกว่า สุขุมจิต หรือ
วิเสตจิต จิตที่วิเศษ ที่เปลื้องพันธนาการได้แล้ว เรียกว่า ปภัสสระจิต อย่างนี้เป็นต้น
งั้นก็ เดี๋ยวจะให้ทำ ให้ฝึก เตรียมเคลียร์สถานที่ แล้วก็ฝึก
เอาให้ได้ อย่างน้อยก็ วันนี้ เป็นวิถีแห่งบูชามาฆฤกษ์ มาฆปุณมี
วิถีแห่งการบูชามาฆปุณมี ไม่มีอะไรอื่น นอกจากเปลื้องจิตจากพันธนาการแห่งราคะ โทสะ
โมหะ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
เรามี ราคะขยะ โทสะขยะ โลภะขยะ โมหะขยะ
เหมือนอย่างที่ 30 กว่าปีที่แล้ว หลวงปู่เขียนบทโศลกไว้ว่า ลูกรัก กิจพระศาสนานี้ ไม่มี
อะไรมาก ทำลายขยะเก่า ไม่เพิ่มขยะใหม่ แล้วก็ ทำของดีที่มีอยู่แล้วให้ผ่องใส เดี๋ยว เที่ยว
หน้า จะไปทำเสื้อ บทโศลกบทนี้ ออกแจก แจกบ้าง ขายบ้าง เพื่อให้รู้ว่า ฐานะของพระ
ศาสนานี้ ไม่มีอะไรเยอะไปกว่านี้แล้ว หน้าที่ของพระศาสนานี้ มีอยู่แค่นี้
เอ้า เคลียร์พื้นที่ ลูก เตรียมปฏิบัติธรรม
(กราบ)
25 ก พ 2556 13.50 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมฯ
วันมาฆบูชา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (ฝึกสติ เดินในขั้นที่ 1 ภาคที่ 1,2,3 ขั้นที่
2, 3, 4 , เพ่งความว่างเป็นอารมณ์ ในท่า นั่ง, นอน)
(กราบ)
เคลีร์ยพื้นที่ เตรียมปฏิบัติธรรม ลูก
เรามีเวลาปฏิบัติธรรมสัก 2 ชั่วโมงเศษๆ เดี๋ยว 4 โมง ก็จะพัก ไปพักผ่อน แล้ว 6 โมง
เราก็จะเดินทางไปที่พระมหาพุทธพิมพ์นาคปรก เพื่อจะไปเจริญมนต์ แล้วก็เวียนเทียน ลา
ศีล
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 1
...............
หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้
อย่าลืมว่า ทุกก้าว คือ ทางเดินขึ้นสวรรค์นะ
..............
เราจะลงนรกก็ได้ สุดแท้แต่ จะเลือกเอา ลูก
...............
ขยับขึ้น ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยชี้แนะ
................
อย่า รู้ แบบผิวเผิน รู้ให้ชัด
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยชี้แนะหน่อย
ทุกก้าว ต้อง รู้ ให้ชัด
.................
เพียร ตั้งมั่น อยู่ในสิ่งที่ตัวเอง ทำ
................
เพียร ตั้งมั่น จนกลายเป็น ความพึงพอใจ และเพลิดเพลิน
เพียร ตั้งมั่น ชัดเจน
.................
ขยับขึ้น ขั้นที่ 2
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยบอกที
มี ตัวรู้ อยู่ที่ฝ่าเท้าที่กระทบพื้น
ขวารู้, ซ้ายรู้ ชัดเจน
สร้าง ตัวรู้ จนกระทั่ง กลายเป็น ควงามรับรู้ ที่ชัดเจน แจ่มใส
แล้ว สิ่งที่ไม่รู้ จะไม่เกิดขึ้น หรือ ทำลายสิ่งที่ไม่รู้ ให้หมดสิ้นได้
...............
ทุกครั้ง ที่หนังเท้ากระทบพื้น ต้อง รู้
..............
ซ้ายรู้ ขวารู้, ซ้ายรู้ ขวารู้,
รู้ ให้ชัดเจน อย่า รู้ แบบผิวเผิน
รู้ แบบ คลุมเคลือ ไม่ได้
.................
ขยับขึ้นขั้นที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือ รุ่นพี่ ช่วยบอกที
................
ขั้นนี้ เป็นขั้นที่ใช้ปัญญา เรียกว่า ใช้สัมปชัญญะ
ไม่งั้น เราจะกำหนดไม่ถูกว่า จังหวะสั้น จังหวะยาว
ก้าวจังหวะ เว้นจังหวะ ชัดเจนได้แค่ไหน
ถ้าขั้นแรกๆ สติ เราไม่มั่นคง ขั้นนี้ ก็จะทำได้ยากขึ้น
.................
แต่ขั้นแรกๆ สติ มั่นคง ขั้นนี้ ก็จะทำได้ง่าย สบาย
เก็บให้หมด ก้าวจังหวะ เว้นจังหวะ ไม่ว่า จังหวะสั้น หรือ จังหวะยาว
เว้นให้ถูก ก้าวให้ถูก
อย่าให้หลง อย่าให้เผลอ
..................
เพียร ชัดเจน มั่นคง
................
หูฟังเสียง ใจรับรู้ เท้าก้าวเดิน นะ ขั้นนี้
................
อย่าคร่อมจังหวะ ให้ถูกจังหวะ
.................
ขยับขึ้นขั้นที่ 4
เพิ่ม ลมหายใจ เข้าไป ทุกครั้งที่ก้าว
ก้าว พร้อม ลมหายใจ
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยแนะนำ
....................
ก้าวให้ทันลมหายใจ หายใจให้ทันก้าว ก้าวให้ทันจังหวะ
ลมหายใจ, ก้าว, จังหวะ ต้องรวมเป็นหนึ่งให้ได้
ไม่ว่า จะสั้น หรือ ยาว ต้อง ก้าว ให้ทัน
ไม่ว่า จังหวะสั้น หรือ ยาว ก็ต้อง หายใจ ให้ทัน
...................
อย่าลืม ทุกครั้งที่ก้าว ต้องหายใจ
ขวา หายใจเข้า, ซ้าย ก็ต้องหายใจออก
เว้น ให้ถูกจังหวะ
ขั้นนี้ เรียกว่า ใช้สัมปชัญญะอย่างยิ่ง ในการฝึกปัญญา
................
สำรวจดูซิว่า เราเพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พึงพอใจ และ เพลิดเพลิน หรือยัง
หยุด อยู่กับที่
สูด ลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก เบา ยาว หมด ผ่อนคลาย
...................
หายใจเข้า ไปใหม่ ช้าๆ กว้าง ลึก เต็ม
...................
ออก เบา ยาว หมด ให้ผ่อนคลาย
ทิ้ง ลมหายใจ
สำรวจดูโครงสร้างภายในกาย
ฝ่าเท้า รับน้ำหนักเสมอกันไม๊ ซ้าย ขวา
ร่างกาย ตั้งตรง เป็นฉากกับพื้นไม๊
ใช้ความรู้สึก ใช้จิต
ดูซิว่า แขน เกร็ง กำ ตึง ขมึงทึง หรือเปล่า
ปรับ ให้ผ่อนคลาย
เอว อก คอ ห่อ เกร็ง หรือเปล่า
ลองขยับขยายดูซิ หัวไหล่ คอ ปรับให้สมดุลย์ ผ่อนคลาย ให้มากที่สุด
ศีรษะกับบ่า เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือไม่
................
เอ้า พอ ลืมตา
มอง ตรงไปข้างหน้า
เพ่ง ความว่าง เป็นอารมณ์
สมองว่าง อารมณ์ว่าง ใจว่าง มือว่าง กายว่าง
ทุกอย่างในร่างกาย ว่าง ทั้งหมด
ว่าง แล้วก็ โล่ง, ว่างๆ แล้วก็ โล่ง
.................
ไม่มีภาระ ไม่มีวิตก กังวล ไม่มีตรึก ไม่มีวิเคราะห์
ไม่มีใคร่ครวญ ไม่มีทุรนทุราย
.........
ทุกอย่าง ว่างๆ สบายๆ, ว่างๆ สบายๆ
...................
มือไม่กำ แขนไม่เกร็ง ทิ้งดิ่งไว้ข้างลำตัว
ทุกอย่าง ไม่ขมึงทึง ตึงเครียด
ผ่อนคลาย
..................
มองดู ทิศด้านหน้า ว่างไม๊
ลืมตา อย่าหลับตา
มองดูให้ได้ทั้ง 4 ทิศ ว่าง ถือว่า 4 ทิศ เป็นมงคล
ทิศไหนไม่ว่าง ให้หยุดอยู่ในทิศนั้น
..................
หมุนให้ได้ครบ 4 ทิศ
................
ให้ ว่าง ให้ครบทั้ง 4 ทิศ
.................
ทิศไหนว่าง ทิศนั้น เป็นมงคลสำหรับเรา
ทิศไหน ไม่ว่าง ทิศนั้น ไม่เป็นมงคล เป็นอัปมงคล ต้องทำให้ ว่าง
.................
วิธีทำให้ว่าง ก็คือ มี กาย กับ ใจ รวมกัน
ไม่คิด ไม่พิจารณา ไม่ใคร่ครวญ ไม่ตรึก ไม่ตรอง ไม่วิตก ไม่วิจารณ์
กายว่าง ใจว่าง สมองว่าง อารมณ์ว่าง ความรู้สึกว่าง
แม้ รับรู้ ก็ว่างๆ ไม่ปรุงเป็นอารมณ์
มอง ตรงไปข้งหน้า
.................
ว่างครบทั้ง 4 ทิศ แล้วลองเงยดู ทิศเบื้องบน ซิ ยังว่างอยู่ไม๊
...............
ทิศเบื้องบน เมื่อว่างแล้ว ก็ ก้มลงต่ำ ทิศเบื้องล่าง ว่างไม๊
................
ว่าง แล้วก็ กลับมาตรง
ถ้ายังไม่ว่าง ให้อยู่กับที่
ทำให้ ทิศนั้น ว่างให้หมด
ล่างว่าง, บนว่าง, กลางว่าง, ซ้ายว่าง, ขวาว่าง, หน้าว่าง, หลังว่าง
ว่าง ให้หมด
ความว่าง มีอยู่ 2 ชนิด อารมณ์ว่าง กับ สภาวะธรรมว่าง
อารมณ์ว่าง เป็น การเพ่ง
สภาวะธรรมว่าง เป็น การตรึก นั่นคือ ต้องใช้ปัญญา พิจารณา สภาวะธรรม ตามความเป็น
จริง
ว่า สรรพสิ่งในโลก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีอะไรคงที่ เรียกว่า เห็น อนัตตา เป็น
อารมณ์
..................
เมื่อทุกอย่าง ว่าง หมดแล้ว ลองค่อยๆ ลดตัวลงนั่ง ด้วย ความว่าง ซิ
นั่งแล้ว อารมณ์ ต้อง ว่าง ด้วย
ถ้า ไม่ว่าง, นั่ง ไม่ได้
.....................
นั่งแล้ว เสพ อารมณ์ ความว่าง
ไม่มีท่าทาง สำหรับคนที่ ว่างๆ
นั่ง สบายๆ ขอเพียง ใจว่าง สมองว่าง จิตว่าง อารมณ์ว่าง
ทุกอย่าง ว่าง หมด
ว่าง นี่ ไม่มีตรึก ไม่มีคิดอะไร ไม่กลัดกลุ้ม ไม่ว้าวุ่น ไม่ร้อนรุ่ม
แม้ที่สุด ไม่ง่วงหงาวหาวนอน
ถ้า ง่วงหงาวหาวนอน ถือว่า ไม่ว่าง นะ
แสดงว่า โดน ถีนมิทะ เข้าครอบงำ ละ สติ ไม่แกร่งกล้า ไม่สามารถละ
เราปลดเปลื้องพันธนาการไม่ได้
จะไม่ตรงกับคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงสอนว่า
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตน ให้ผ่องแผ้ว และขาวรอบ
แสดงว่า เราไม่ขาวละ โดนความง่วง ครอบงำละ โดนความฟุ้งซ่าน ครอบงำละ
อย่างนี้ ก็ถือว่า ไม่สำเร็จวิถีแห่งการบูชามาฆฤกษ์
งั้น ถ้าเราต้องการบูชาในวันมาฆะ ต้องทำให้จิต สงบ ว่าง ปราศจากเครื่องร้อยรัด
ตอนนี้ เรากำลังบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า สูงสุด ด้วยวิธีอันดีเยี่ยมที่สุด นั่นคือ ทำจิตให้
ผ่องแผ้ว ขาวรอบ ด้วย ความว่าง
อย่าหลับตา
ระวัง จะไม่ว่าง เมื่อ หลับตา
..............
ระวังจะเคลิ้ม ระวังจะเผลอ
..................
นั่งว่าง แล้วลอง นอน ดูบ้าง ว่า นอน จะว่างไม๊
....................
หาที่นอนให้เหมาะสำหรับตน ให้ว่าง
................
นอนว่าง นะโว้ย ไม่ใช่ นอนหลับ
แน่ะ ท่านี้ เป็นท่าที่โปรดที่สุด
ท่าไหนๆ ก็ไม่เท่ากับท่านี้
..................
วิชาไหนๆ ก็ไม่เท่า วิชานอน
นอนไปเฮอะ ถ้ามันมีที่ พอให้ลงนอน
...................
ไม่มีอะไร รังเกียจรังงอน เพราะมัน ว่างๆ
..................
ยัง ว่าง อยู่ไม๊, ตาลืม มองเพดาน
.................
นอน ด้วย ความว่าง ให้จิตว่าง กายว่าง อารมณ์ว่าง
เสพ ความว่าง เป็นอารมณ์ อยู่กับความว่าง ให้ยั่งยืน
เรียกว่า มีความเพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน ในความว่าง
................
คนว่าง นี่ ไม่มีความคิดอะไรนะ ลูก
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หงุดหงิด ไม่รำคาญ
ไม่ว้าวุ่น ไม่สับสน ไม่ทุรนทุราย
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า อารมณ์ว่าง
..................
แต่ถ้าเราจะพัฒนาให้สูงขึ้น เรียกว่า ทำให้ สภาวะธรรมว่าง
ถ้าอย่างนั้น ก็ต้อง ตรึก
ตรึก อย่างไร
ตรึกว่า ทุกอย่าง เป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตน
กายนี้ ก็ไม่มีตัวตน, สังขารนี้ ไม่มีตัวตน
หนังหน้าเรา ก็ไม่มีตัวตน มันประกอบไปด้วย ธาตุทั้ง 4
ธาตุดิน ธาติน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ประกอบเป็นหนังหน้า
อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกว่า มหาภูตรูป 4 มีเหตุ
ปัจจัยให้มันประชุมพร้อมกัน
เหตุปัจจัยนั้น ก็คือ วิญญาณ กับ กรรม
วิญญาณ กับ กรรม เป็นเหตุปัจจัย ให้ประชุมมหาภูตรูป
เมื่อสิ้น กรรม ขาดวิญญาณ ขาดลมหายใจ นั่นแหละ มหาภูตรูปทั้ง 4 ก็แตกสลายไป ตัว
ตนที่แท้จริงก็ไม่ปรากฏ เรียกว่า เป็น อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน แม้เราบอกว่า ผมสวยๆ
มันก็ประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ผมจริงๆ มันไม่มี มันหลายสิ่งรวมเป็น 1 สิ่ง เรียก
สิ่งนี้ 1 สิ่งว่า เส้นผม อย่างนี้ เค้าเรียกว่า พิจารณา สภาวะธรรมว่าง จนกระทั่งเห็น ความ
ว่าง ตามการพิจารณา
ถ้าอย่างนี้ จะยากหน่อย ต้องใช้ปัญญาเยอะหน่อย ลูก
แต่ถ้า เพ่งอารมณ์ เป็นความว่าง ใช้ปัญญาน้อยนิด แต่ใช้สติ มาก, ใช้ตัวรู้ อย่างมาก
ตอนนี้ เรายังอยู่ในขั้น สุญญตสมาธิ ขั้นที่ 1 เรียกว่า พิจารณา ความว่าง อารมณ์ว่าง เป็น
อารมณ์
แต่ขั้นที่ 2 ก็คือ อัปปณิหิต หรือ อัปปะนิมิต หรือ เพ่งสิ่งที่ไม่ใช่นิมิต เป็นอารมณ์ คือ
ไม่มีความจริง ไม่มีความหลอก ไม่มีอะไรให้เพ่ง เป็นอารมณ์ คือ ความไม่มีอะไร น่ะ ไม่
ได้อะไร ไม่เหลืออะไร นั่นแหละ เป็นอารมณ์
อัปปณิหิตสมาธิ ขั้นที่ 2 นี้ ยังต้องทำกันอีกนาน ทำกันอีกอย่างหนัก ถึงขั้นนี้แล้ว ก็แสดง
ว่า เราเป็นผู้เข้าสู่ อัปปนาสมาธิ ละ อย่าว่าแต่ ฝนตก น้ำท่วม ฟ้าผ่า ไฟไหม้ เราจะไม่สะดุ้ง
เลย เราจะรู้ชัด เข้าใจในสภาพธรรมที่ปรากฏด้วย ถ้าถึงขั้นนี้
แต่ตอนนี้ให้ ว่างๆ อารมณ์ว่าง สมองว่าง ใจว่าง กายว่าง จิตว่าง โลกทั้งโลก มันว่างไปหมด
ความว่าง อย่างนี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนโมฆราชว่า ดูก่อน โมฆราช เมื่อใดที่เธอ
อยู่ในสุญญตา หรือ สุญญตะ หรือ ความว่าง มัจจุราชจะไม่เห็นเธอ
ในความว่าง ไม่มีความทุกข์, ในความว่าง ไม่มีความทุรนทุราย, ในความว่าง ไม่มี
ความว้าวุ่น ร้อนรุ่ม หรือ กลัดกลุ้ม, ในความว่าง ไม่มีความทรมานใดๆ มัจจุราชจะไม่
เห็นเธอในความว่าง
งั้น ในความว่าง ก็ไม่มีความตาย และความเกิด มันไม่มีอะไรเลยให้ต้องเกิดต้องตาย เพราะ
มันว่างไปหมด งั้น ทุกข์ทั้งหลายก็จะไม่กล้ำกราย คนที่นอนดิ้นจนหนังกลับ ไม่หลับทุกคืนๆ
น่ะ ทำความว่างให้เกิดขึ้นก่อนนอน แล้วเราจะหลับสนิท ตื่นขึ้นมา ก็จะสดชื่น กระฉับ
กระเฉง
แต่ไม่ใช่ตอนนี้นะโว้ย อย่าเพิ่งกรน เอ่อ ชักเริ่มละ เริ่มขู่ละ
อารมณ์ว่างเฉยๆ ใจว่าง จิตว่าง สมองว่าง ความรับรู้ว่าง ความรู้สึกว่าง พฤติกรรมว่าง ใจ
มันว่างแล้ว มันร่มๆ นิ่งๆน่ะ ลูก เค้าเรียกว่า ใจร่มๆ มันไม่มีภาระอะไรต้องแบกต้องหามน่ะ
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า สำรอกใจ สำรอกจิต ทำจิตให้ขาวรอบ
เรากำลังบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันมาฆบูชาฤกษ์ หรือ มาฆปุณมี ด้วยวิธีบูชาสูงสุด
ตามวิถีแห่งมาฆปุณมี การบูชาในวันมาฆปุณมี ไม่ใช่เพียงแค่ว่า ใส่บาตร เวียนเทียน เท่า
นั้น
การบูชาสูงสุดของวันมาฆปุณมี ก็คือ การทำจิตนี้ให้ผ่องแผ้ว ให้ผ่องใส ให้ขาวรอบ เหมือน
อย่างที่เรากำลังทำอยู่นี่ สมองผ่องแผ้ว ใจผ่องแผ้ว อารมณ์ผ่องแผ้ว จิตผ่องแผ้ว ทุกอย่าง
ว่างๆ เบาๆ สบาย ไม่เป็นโรค
ลักษณะอย่างนี้ เค้าเรียกว่า อารมณ์ที่ไม่เป็นรังของโรค และไม่เป็นที่ประชุมของโรค ไม่
เป็นที่รวมแห่งโรค และไม่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโลก โลก คือ ที่อยู่อาศัย
ความว่าง อย่างนี้แหละ มันไม่ทำให้เกิดเหตุปัจจัยใดๆ เข้ามาปฏิสนธิ หรือ สันดาป ใดๆ ได้
เลย มันว่างสนิท ว่างหมดจด ว่างจนไม่มีเหตุปัจจัย
ลองสังเกตุดูซิว่า เรายังมี ความเพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พึงพอใจ อยู่หรือเปล่า แล้วก็ เพลิดเพลิน
เราเพลิดเพลินใน ความว่าง อยู่ไม๊
ถ้ามีอาการแบบนี้ คือ เพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พึงพอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน แสดงว่า เราเข้าสู่
อารมณ์กรรมฐานละ ถ้าจัดเป็นสมาธิ ก็ถือได้ชัด อุปจาระ ละ ขั้น อุปจาระสุญญตสมาธิ ละ
เราเพลิดเพลินในความว่าง
คำว่า เพลิดเพลิน นี้ ไม่ได้หลงลืม หรือ หลงใหล ต่อกรรมฐานที่พิจารณานะ เรายังเสพ
ความว่าง เป็นอารมณ์อย่างเพลิดเพลินอยู่ ไม่ใช่เสพ ถีนมิท ควาามง่วง, ไม่ได้เสพความ
ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ, ไม่ได้เสพกามฉันทะ ความพึงพอใจในความรัก, ไม่ได้เสพ
โลภะ ไม่ได้เสพโทสะ ไม่ได้เสพโมหะ ความหลง
เรากำลังเสพความว่าง และพึงพอใจในการเสพความว่าง จนเพลิดเพลิน ในโลกแห่งความว่าง
บอกแล้วว่า ไม่มีความทุรนทุราย ไร้ความทุกข์, ไม่มีศัตรู ไม่มีมิตร แม้ที่สุด ไม่มีตัวเรา
อย่างนี้ เรียกว่า สุญญตสมาธิ เพ่งความว่าง เป็นอารมณ์
ถ้าอยู่กับความว่างแล้ว มันอยู่ได้ทุกที่ ลูก
พอมันมีความว่าง แล้วมันจะมีที่กว้างๆ ให้ใครมา นอนใกล้ๆ นั่งใกล้ๆ ยืนใกล้ๆ เดินใกล้ๆ
ทำกิจกรรมใกล้ๆ เราจะมีมิตรไมตรีกับคนรอบข้าง และสัตว์ทั้งปวง เพราะ เราว่าง
แต่ถ้าเราไม่ว่าง ที่เรากว้างๆ นี่ มันจะแคบไปในทันที อ้ายตรงนู้นก็ไม่พอวาง อ้ายตรงนี้ก็
ไม่พอวาง เพราะ เราไม่ว่าง อยู่กับของกู อ้ายนี่ก็ของกู
แต่ถ้าว่างๆ นี่ ไม่มีอะไรเป็นของกู มันก็กว้างขวางใหญ่โต
ยังว่าง อยู่ไม๊ พลิกตัวไปทางขวา ซิ
ว่าง นานเกินไปหรือเปล่า
นั่น ไปแล้ว, เค้าพลิกกัน กูหลับไปแล้ว
เขี่ย มันซิ อ้ายที่ไม่พลิกอ่ะ, ป้า ตื่น
กำลังได้ที่, แหม กำลังฝัน, ยังๆ ยังไม่พลิก ยังสนิท
..................
พริก ไม่ได้หรอกค่ะ ตอนนี้ มะเขือ แล้ว
.................
ยัง ว่าง อยู่ไม๊ ใจว่าง อารมณ์ว่าง สมองว่าง จิตว่าง กายว่าง พฤติกรรมว่าง สภาวะธรรม
ว่างๆ
อย่าทำให้ ความว่าง มีอะไร เหมือนดั่งบทโศลกที่หลวงปู่เขียนไว้ว่า
อย่าทำอารมณ์ให้เป็นอะไร แล้วเราจะได้ไม่มีอาลัยในอารมณ์
................
พยุงตัว ลุกขึ้น นั่ง ช้าๆ ด้วยความว่าง
...............
สนิท เค้าพลิกกัน 3 ตลบ จนไป ตัวลุก แล้ว เอ่อ ตื่นเสียที
ยัง ว่าง อยู่ไม๊ เมื่อ นั่ง ขึ้นมาแล้ว
สำรวจ
..............
สมองว่างๆ กายว่างๆ ใจว่างๆ, ทุกอย่าง ว่าง อย่างผ่อนคลาย อยู่หรือไม่
...............
ลุกขึ้น ยืน ช้าๆ ด้วยความว่าง
นอนว่างได้ นั่งว่างได้ ก็ต้องยืนว่างให้ได้
.................
ไม่ได้สอนคนพิการ ไม่ได้สอนคนป่วย ไม่ได้สอนคนหูหนวก ตาบอด
แต่สอนให้คนเป็นๆ ที่มีอวัยวะครบ 32 มีชีวิตอยู่อย่างปกติด้วยความว่าง เสพความว่าง
ที่ผ่านมา เราใช้กำลังขับ แรงเคลื่อนด้วย ตัณหา ราคะ โทสะ อวิชชา พาเราไปทำนู่น ทำนี่
เยอะแยะ
วันนี้ เราพาเอาความว่าง มาพาเราเดินดูซิ
เดินด้วย ความว่าง
................
เดิน พร้อมเสพ ความว่าง
................
เดิน ด้วยใจว่างๆ, ไม่ได้ เดิน ด้วยความอยากเดิน แต่เดิน เพราะว่า การขับเคลื่อนของ
ความว่าง
...................
เดิน เพราะมันเป็นอิริยาบถที่จำเป็น ยืน เดิน นั่ง แล้วก็ นอน
...................
เดิน แล้วต้องดูว่า ยัง ว่าง อยู่ด้วย จึงจะใช้ได้
ถ้าเดินแล้ว ไม่ว่าง ต้องหยุดอยู่กับที่ทันที เพื่อทำให้มันว่าง
.................
อย่าให้มีอะไรปรากฏในความว่าง ลูกกูก็ไม่มี ผัวกูก็ไม่มา สมบัติกูก็ไม่มี
ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีแต่ความว่าง
ถ้ามันมีขึ้นมา แสดงว่า ไม่ว่าง ต้องหยุดทันที
การงาน ภาระกรรมต่างๆ ไม่มีทั้งนั้น
.................
เรียกว่า เพ่งความว่าง หรือ สุญญตสมาธิ เป็นอารมณ์
...................
เดินด้วย ความว่าง ไม่ใช่เดิน ด้วยความเลื่อนลอย, แต่เดิน เพราะว่า มันว่าง
................
อยู่ในความว่าง รู้ อยู่เฉพาะว่าง
...............
ความว่าง เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถส้องเสพได้
เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า สอนให้เสพ เพราะเมื่อเสพไปแล้ว มันจะไม่ทุกข์
ความทุกข์ จะไม่กล้ำกรายเรา ความทุรนทุราย แร้นแค้น เบียดเบียนบีทา บีบคั้น จะไม่เกิด
ขึ้นกับคนที่เข้าไปสู่ความว่าง
................
ทุกครั้ง ที่เรามีปัญหา จงเข้าไปสู่ในวิหารแห่งความว่าง
ทุกครั้ง ที่เราทุกข์ ทุรนทุราย โดนบีบคั้นและแร้นแค้น จงเข้าไปสู่วิหารแห่งความว่าง
.................
แล้ววิหารนั้น ก็ไม่ได้อยู่ไกล อยู่ภายในใจของเรา
...............
เมื่อ เดิน ว่างแล้ว ลองหยุด ยืนอยู่ซิ ยัง ว่าง อยู่ไม๊
................
สำรวจดูซิ จิตว่าง อารมณ์ว่าง สมองว่าง กายว่าง พฤติกรรมว่าง
ทุกอย่าง ยัง ว่าง หมด อยู่หรือไม่
..................
ว่าง สูงสุด เป็นวิถีแห่ง อารมณ์ว่าง คือ ต้องว่าง จนกระทั่ง ไม่มีตัวกู
อย่างนี้ ยังอยู่ในขั้น ว่างเฉยๆ เรียกว่า เป็นอารมณ์กรรมฐาน
คือ มี ความเพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน
.................
ลองสำรวจดูซิ ถ้อยคำเหล่านี้ อยู่ในสภาวะที่เรามีอยู่ หรือไม่
.....................
ความเพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน
ถ้ามี ก็แสดงว่า เรากำลังอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
..............
หันหน้าไปในทิศทั้ง 4 ดูว่า ความว่าง ยังอยู่ครบทั้ง 4 ทิศไม๊
................
ทิศไหนที่ไม่ว่าง แสดงว่า ทิศนั้น เป็นอัปมงคลสำหรับเรา ต้องทำให้ ว่าง ให้หมด
เช้าๆ เวลาก่อนออกจากบ้าน ทำงาน ต้องทำให้ทิศที่ออกจากบ้านทิศนั้นๆ เป็นทิศที่ว่าง
สำหรับเรา จึงถือว่า เป็นทิศที่เป็นโชค เป็นชัย เป็นมงคล เป็นทิศที่เจริญ
...............
ค้าขาย ก็ดี ติดต่อสัมพันธภาพกับมนุษย์คนอื่นๆ ก็มีปฏิสัมพันธ์อันงดงาม ทำการงาน ก็
รุ่งเรืองเจริญในทิศนั้นๆ ที่ว่างๆ เพราะส่วนใหญ่ ทิศที่ไม่มีความว่าง คือ ทิศอัปมงคล คือ
ทิศที่ตัวกูใหญ่
พอตัวกูใหญ่ ตัวกู ก็คือ ตัวสร้างปัญหา
เวลาตกลงกับใคร ก็เอา ตัวกู เป็นบรรทัดฐานในการตกลง มันก็เลยมีปัญหา แทนที่จะเอา
กติกา เป็นกระบวนการตกลง
เราก็กลายเป็น ตัวสร้างปัญหาในทิศนั้นๆ เพราะ ตัวกู ไม่ว่าง, ตัวกู ใหญ่มาก
...............
มองดู ทิศเบื้องบน และ เบื้องล่าง ดูหรือยังว่า ว่างอยู่ครบไม๊
...............
กลับไปนั่ง ที่ของตน ด้วยความว่าง
ยังเสพ ความว่าง อยู่
..................
ว่าง ไม่ใช่ ความห่อเหี่ยว, ไม่ใช่ หมดเรี่ยว หมดแรง, ไม่ใช่หมดกำลังใจ, ไม่ใช่
หมดแรงบันดาลใจ ลูก
ว่าง เป็น พลังงานที่บริสุทธิ์
ไม่เหมือนกับ ราคะผลักดัน โทสะบีบคั้น โมหะถีบยัน โลภะไล่ล่า ไม่ใช่
แต่ ความว่าง นี่ มันเป็นพลังงานที่สะอาด ที่จะทำให้กายเรา ใจเรา สมองเรา พฤติกรรมของ
เรา
ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถอยหลัง เหลียวซ้าย แลขวา ได้อย่างไม่ทำร้าย ไม่ทำลายตัวเอง
.................
ยังอยู่กับ ความว่าง
...................
ยังเสพ ความว่าง
.................
เพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พอใจ แล้วก็ เพลิดเพลิน นี่แหละ คือ อารมณ์กรรมฐาน
..................
ในความว่าง ไม่มีความตาย, ในความว่าง ไม่มีความเจ็บ, ในความว่าง ไม่มีความแก่,
ในความว่าง ไม่มีความป่วย, ในความว่าง ไม่มีความทุกข์, ในความว่าง ไม่มีความ
ยากจน, ในความว่าง ไม่มีความร่ำรวย, ในความว่าง ไม่มีปัญหา, ในความว่าง ไม่
มีอุปรรค
..............
ในความว่าง ไม่มีความทุรนทุราย, ในความว่าง ไม่มีอะไรทั้งนั้นแหละ
ไม่มี แม้กระทั่ง ตัวกู ให้ต้องตาย
ในความว่าง ไม่มีมัจจุราช
................
ไม่มีพญามาร ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
ไม่มีอะไร ๆ จริงๆ ในความว่าง
...............
เพราะมันไม่มีอะไรๆ นี่แหละ มันก็เลยไม่รู้ว่า อะไรจะมาเป็นทุกข์
เพราะมันไม่มีอะไรๆ นี่แหละ มันก็เลยไม่รู้ว่า อะไรจะรับสุข
เพราะมันไม่มีอะไรๆ นี่แหละ มันก็เลยไม่รู้ว่า อะไรจะมาเจ็บ อะไรจะมาแก่ และ อะไรๆ
จะมาตาย
................
ด้วยความไม่มีอะไรๆ นี่แหละ เราจะอยู่กับอะไรๆ ก็ได้ อย่างสนิทแนบแน่น เป็นหนึ่งเดียว
กลมเกลียว แล้วก็ มีที่เหลือพอ สำหรับอีกหลายๆ ร้อย หลายพันล้านชีวิต หลายร้อยหลาย
พันล้านสรรพสิ่ง เพราะไม่มีอะไรๆ
แต่ถ้าเรามีอะไรๆ ขึ้นมาปุ๊บ เราจะต้องกันเอาไว้เผื่ออะไรๆ สำหรับใครๆ แล้วให้ได้อะไรๆ
เราจะกลายเป็นคนน่ารังเกียจขึ้นมาทันทีล่ะ นั่น เพราะว่า เราไม่ว่าง
ในโลกแห่งความว่าง มันไม่มีตัวกู เมื่อมันไม่มี ตัวกู ก็ทำอะไรๆ ได้อย่างง่ายดาย และยิ่ง
ใหญ่ เป็นประโยชน์ต่อใครๆ ได้อย่างมากมาย มหาศาล
แต่ถ้าเมื่อใดที่เราไม่ว่าง ตัวกู มันก็จะใหญ่มากๆ เวลาทำอะไร ก็ต้องนึกถึง ตัวกู และ พวก
ของกู ญาติกู สมบัติกู บริวารกู แล้วก็ พันธมิตรกู และสุดท้าย ทำอะไร ก็ไม่พ้น เผ่าพันธุ์กู
เมื่อทำเพื่อ เผ่าพันธุ์กู ก็แน่นอนล่ะ มันต้องทำร้ายเผ่าพันธุ์อื่น ต้องเอาเปรียบเผ่าพันธุ์อื่น
ต้องดึงเอาประโยชน์จากเผ่าพันธุ์อื่น สุดท้าย เราก็กลายเป็นคนสร้างอกุศลกรรม
งั้น การที่หลวงปู่ สอนให้เราเพ่งสุญญตสมาธิ คือ ความว่าง เป็นอารมณ์ เพื่อให้ตัวเองออก
มาจากพันธนาการ พันธนาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอนเรื่อง อุปาทานในขันธ์ทั้ง 5
พันธนาการนี้แหละ ทำให้เราสร้างชาติภพ ไม่รู้จักจบสิ้น
อุปาทาน คือ ความยึดถือ
ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
รวมขันธ์ 5 ก็คือ ตัวเรา นั่นแหละ
สุดท้ายแล้ว ใคร เป็นพันธนาการของเรา
ตัวเราเอง เป็นพันธนาการของตัวเราเอง
ทุกวันนี้ เราอยู่เพื่อตัวเอง ทำอะไรเพื่อตัวเราเอง จนลืมคนอื่นๆ ชีวิตอื่น สรรพสิ่งอื่น จนทำ
ร้ายทำลายเรื่องอื่นของคนอื่นๆ จนหมดสิ้น
มันเป็นเรื่องที่น่าสังเวชมากๆ เพราะเราไม่รู้จัก ว่าง วาง เสียที
อารมณ์ว่าง มันมีวิถีในการพิจารณาประมาณนี้น่ะ ลูก แต่ถ้า สภาวะธรรมว่าง มันต้องมอง
ให้ทุกอย่าง เป็น อนัตตา ไปหมด นั่น จะต้องใช้ปัญญาอย่างสูงยิ่ง
งั้น ก็ต้องฝึกขั้นที่ 4 ขึ้นไปจนถึงขั้นที่ 10 จึงจะเข้าสู่สภาวะธรรมว่าง เพราะขั้นที่ 4
ถึงขั้นที่ 10 มันเป็นวิถีแห่งปัญญาล้วนๆ ต้องใช้ปัญญาอย่างยิ่ง
ขั้น ที่ 1 ถึงขั้นที่ 4 มันใช้ สติ อย่างมาก
งั้น การฝึก ก็ต้องให้ต่อเนื่อง
ยัง ว่าง อยู่
.................
จะเห็นว่า เมื่อเราเข้าสู่คำว่า อารมณ์กรรมฐาน มันไม่มีราคะล่ะ ลูก ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ
ไม่มีโลภะ ไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน มันไม่มีอวิชชา แม้ที่สุด มันไม่มีความฟุ้งซ่าน หงุด
หงิด รำคาญ หรือ ง่วงหงาว หาวนอน มันไม่มี
มันมีแต่ อารมณ์กรรมฐาน ที่อยู่ในพื้นฐานของคำดังกล่าวที่ว่า มา เพียร ตั้งมั่น ชัดเจน พอ
ใจ แล้วก็
เพราะฉะนั้น เราต้องหาวิธี สำเหนียกอารมณ์ อย่างนี้ อยู่เนืองๆ
ความเพลิดเพลิน มันจะเกิดแบบนี้ไม่ได้เนืองๆ ก็เพราะว่า เราปฏิเสธความเพียร เราจะ
เพลินกับอารมณ์ว่างๆ อย่างนี้ เพราะเป็นอารมณ์ที่เหมือนดั่งโลกแห่งสวรรค์ ที่เราคิดว่า
สวรรค์มันต้องแตกต่างจากโลก ที่มีความทุกข์เดือดร้อน
ที่จริง นี่ มันวิเศษกว่าโลกสวรรค์ เพราะ ชาวโลกสวรรค์ ก็ไม่ได้ว่างแบบนี้ ลูก
ชาวสวรรค์ ก็ยังมั่วเรื่อง กิน กาม เกียรติ โกรธ พวกเทวดาก็ยังสรร แสวงหา รูป รส กลิ่น
เสียง สัมผัส เหมือนกัน
เพราะงั้น นี่ วิเศษกว่าชาวสวรรค์
เทียบชั้นไหน ก็มันสูงยิ่งกว่าสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
มันสูงยิ่งกว่าสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น เพราะ สวรรค์แต่ละชั้นๆ ก็มีกามคุณ เป็นเครื่องเสพ
เครื่องบำเรอ เครื่องบำรุงตัวเอง
แต่นี่เรา ว่างๆ ถ้าจะเทียบตอนนี้ ก็ต้องจัดอยู่ใน ชั้นพรหม แต่ว่าชั้นพรหม ก็ยังมี กามคุณ
อยู่อีก
ถามว่า เป็น กามคุณ แบบไหน
ก็เป็นกามคุณ ที่ติดอยู่ในรูป เรียกว่า รูปพรหม ก็ยังถือว่าเป็น พรหมชั้นต่ำ ก็ยังเข้าชั้นกับ
เราไม่ได้
ถ้าจัดอยู่ใน อรูปพรหม คือ พรหมที่ไม่มีรูป ก็น่าจะได้ ชัดเจน และตรง
แต่เราไม่ได้ปรารถนาที่จะทำให้จิตว่าง นี้ เข้าสู่อรูปพรหม
เราปรารถนาให้ ความว่าง นี้ พัฒนาเข้าไปสู่คำว่า สภาวะธรรมว่าง นั่นคือ มีปัญญาสูงสุด
ในการมองเห็นทุกอย่าง เป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตน
แต่ตอนนี้ เสพสิ่งนี้ไปก่อน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย ว่า จิตสุดท้าย เวลาตาย จะได้ไม่ทุกข์
ทรมาน เสพจนเคยชิน เสพจนกลายเป็นญาติ เป็นมิตร เป็นเพื่อนฝูงใกล้ชิด สนิทแนบ
แน่นกับเรา จนความทุกข์ มันไม่อาจจะมาย่ำยีบีทา หรือ บีบคั้นเราได้
ทีนี้ ลองหลับตา
เมื่อ ลืมตา ว่างได้ ก็ลอง หลับตา ดูซิ จะ ว่าง ไม๊
ต้องให้อยู่กับ ความว่าง ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ใช่ ลืมตา ว่าง แล้ว หลับตา ง่วง ก็แสดงว่า ไม่ว่าง
แล้ว ไม่ใช่, ลืมตา ว่าง ได้, หลับตา ก็ต้อง ว่าง ได้
หลวงปู่ ไม่ได้สอนคนพิการ แต่สอนคนมีชีวิตที่จะต้อง ยืน เดิน นั่ง นอน ขี้ เยี่ยว ตด ทำทั้ง
หมดด้วยความว่าง ไม่ใช่ทำทั้งหมด ด้วยแรงขับเคลื่อนของ ตัณหา ราคะ โทสะ อวิชชา
อุปาทาน ขับเคลื่อนเราไป นั่นเป็น พลังงานสกปรก ซึ่งมันไม่สะอาด เรากำลังต้องการ
พลังงานสะอาดๆ มาขับเคลื่อนชีวิตเรา
งั้น ความว่าง จึงถือว่า เป็นพลังงานที่สะอาด
พลังงานสะอาด ที่มันทำให้เรา พูดได้ คิดได้ ทำได้ ตรึกได้ วิเคราะห์ได้ แสดงกิริยาอาการ
ในอิริยาบถทั้ง 4 ได้ชัดเจน
...............
ระวัง ระวัง ระวัง ว่า หลับตา แล้วมันจะ ไม่ว่าง
............
พอ
สูดลมหายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงป็นสุข
.................
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
...................
แบ่งบุญให้ อวยชัยฯ กับ อ้ายจิโรจน์ฯ มันด้วย ลูก
.................
ลืมตา ยกมือ ไหว้พระกรรมฐาน
ยัง ว่าง อยู่ ลูก
ตั้งใจกล่าวคำถวายทาน
(กราบ)
ว่า นะโม 3 จบ, ถวายทาน
...................
สังฆทานและสิ่งของทั้งหลาย ที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่รับแล้วนะ ลูก ยกให้เป็นสมบัติของ
วัดและมูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมศาธารณะสงเคราะห์ สาธารณะประโยชน์ ขอท่านทั้งหลาย
อนุโมทนา (สาธุ)
ปัจจัยที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่รับแล้ว ยกให้เป็นสมบัติของวัด เพื่อใช้หนี้สงฆ์ ขอท่านทั้ง
หลาย อนุโมทนา (สาธุ)
ตั้งใจกรวดน้ำ ว่าตาม แล้วรับพร ลูก
....................
ตั้งใจรับพร ลูก
................
(สาธุ)
โชคดี ลูก ธรรมะรักษา ให้รุ่งเรือง ร่ำรวย อายุยืน สุขภาพแข็งแรง เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ทุกคน ลูก (สาธุ)
กราบพระ แล้วเดี๋ยวไปพัก 6 โมงตรง เอาหนังสือสวดมนต์ พร้อมที่นั่งของตน ไปรออยู่ที่
อาคารฐานพระ เดี๋ยวเย็นนี้ หลวงปู่ให้เค้า โรงครัวทำอาหารเลี้ยง ลูก หลังจากลาศีลแล้ว อย่า
ไปเล่นเอาตอนนี้นะ เอ่อ แล้วก็ยังไม่ควรจะลาฯ จนกว่าจะได้เวียนเทียน สวดมนต์ จบ
ไหนๆ ทำดี ก็ทำมันให้ถึงที่สุด เอ่อ ไม่ใช่รีบลาฯ แล้วเล่นข้าวไป, เวียนเทียน จบ แล้วก็
ลาศีล แล้วค่อยกินข้าว ลูก เดี๋ยว สั่งให้โรงครัวเค้าเตรียมอาหาร
กราบพระ อะระหัง สัมมา แล้วไปพัก ลูก
กูก็เหนื่อยละ
...................
ธรรมะรักษา ลูก ไปพักผ่อน ลูก
อ้อ หนังสือนี่ ถ้าใครต้องการ หยิบเอาไปอ่านนะ
(กราบ)