23 ก ย 2555 14.45 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
เดิน ขั้นที่ 1 ภาคที่ 1, ภาคที่ 2, ภาคที่ 3, ขั้นที่ 2, ขั้นที่ 3, ขั้นที่ 4,ขั้นที่ 5, ขั้นที่ 6, ฝึกตัวรู้อยู่ที่กลางกระหม่อม, ฝึกลมปราณอยู่ที่กลางกระหม่อม,ปลายจมูก, ฝ่ามือ, ปลายนิ้วมือ
เอ้า เตรียมตัว ลูก เข้าที่ ปฏิบัติธรรม
(กราบ)
เอ้า เตรียมปฏิบัติธรรม
เดินในขั้นที่ 1
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
..............
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
...............
ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่แนะนำ
..............
ขยับขึ้นขั้นที่ 2
...................
ขยับขึ้นขั้นที่ 3
..................
ขยับขึ้นขั้นที่ 4
ใครไม่เคย ยกมือ รุ่นพี่แนะนำ
................
ขยับขึ้นขั้นที่ 5
ใครไม่เคย ยกมือ รุ่นพี่ช่วย
...............
ขยับขึ้นขั้นที่ 6
ใครไม่เคย ยกมือ รุ่นพี่แนะนำ
..................
หยุดอยู่กับที่ ลูก หลับตา
...................
สูดลมหายใจเข้า ลึก กว้าง เต็ม
................
หายใจออก เบา ยาว หมด ผ่อนคลาย
.................
อีกที
ตรงไหนมันปวด มันเครียด ให้ลมหายใจ สูดเข้าไป
ผ่านจุดนั้นๆ แล้วผ่อนออกมา ช้าๆ เบาๆ ยาวๆ
ให้ไล่ความขมึงทึง ตึงเครียด และมลภาวะภายในกาย
ออกมากับลมหายใจ ที่พ่นออก ช้าๆ เบา ยาว
...............
แล้วพักนิดหนึ่ง แล้วจึงสูดเข้าไปใหม่
...................
ทิ้งลมหายใจ
จิตตั้งไว้ อยู่ที่กลางกระหม่อม
รู้ อยู่ที่กลางกระหม่อม
จับต้อง สัมผัสได้ด้วยจิต ที่กลางกระหม่อม
...............
รู้สึก อยู่ที่กลางกระหม่อม
รับรู้ อยู่ที่กลางกระหม่อม
ไม่มีเรื่องอื่นต้องรู้ ยกเว้นที่กลางกระหม่อม
....................
ลืมตา อย่าหลับตา
...................
จิตตั้งอยู่ที่กลางกระหม่อม แน่วแน่อยู่ที่กลางกระหม่อม
นิ่งอยู่ที่กลางกระหม่อม ดิ่งอยู่ที่กลางกระหม่อม
มั่นคงอยู่บนกลางกระหม่อม
.................
อย่าหลับตา
..................
เมื่อจิตมั่นคงที่กลางกระหม่อมแล้ว
ค่อยๆ ทรุดตัวลงนั่งช้าๆ อย่าให้เคลื่อนจากกลางกระหม่อม
ยังอยู่ที่กลางกระหม่อม
.................
ยังลืมตาอยู่
................
ขบวนการจิตตานุภาพ
ไม่ว่าจะถอดจิตออกจากร่าง
ไม่ว่าเราจะแปลงกาย รู้เห็นสภาพธรรมที่ปรากฏ
มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ทั้งหมด มาจากจิตที่มั่นคงทั้งนั้น
ถ้ารักษาจิตได้ไม่มั่นคง
คือ มันไม่สามารถอยู่ในcontrol เราได้ อย่างยาวนาน ยั่งยืนและมั่นคง
ไม่มีสิทธิ์จะทำอะไรได้เลย
แม้ที่สุด ไปสวรรค์ ก็ไม่ได้
สุคติภพ ก็จะไม่เกิด
งั้น หน้าที่ของเรา ต้องรักษาจิต ให้มั่นคง
..................
ให้มันตั้งอยู่ให้ได้ นานเท่านาน
นานที่สุด เท่าที่จะนานได้
ตั้งอยู่ อย่างมีสมดุลย์
ไม่ใช่ตั้งอยู่ อย่างง่วงหงาว หาวนอน เปลี้ย เพลีย
ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ ระแวง สงสัย
ตั้งอยู่ รู้ อย่างเฉยๆ อย่างมั่นคง
รักษาไว้ ในที่ใดที่หนึ่ง
................
อย่าหลับตา
แม้นที่สุด จะถอดจิตออกจากร่าง
ด้วยการพิจารณามหาภูตรูป 4 ก็ต้องมั่นคง
จิตต้องมีพลัง
ไม่งั้น พิจารณา ไม่แล้ว เหมือนกับปอกเปลือกทุเรียน ไม่เสร็จ
ไม่มีแรง พอที่จะปอก เราก็ไม่มีสิทธิ์จะกินเนื้อทุเรียน
งั้น ความมั่นคง คือ ความแข็งแรงของจิต
รักษามันให้ได้ ตั้งอยู่ให้ได้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้
.................
แล้วต้องเป็นความเนิ่นนาน ที่ไม่มีอารมณ์อื่น เข้ามาประกอบ
................
ไม่เปลี้ย ไม่เพลีย ไม่ง่วง ไม่เครียด
ไม่กังวล ไม่วิตก ไม่ว้าวุ่น ไม่สับสน ไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่หงุดหงิด ไม่รำคาญ
ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีแต่ตัวรู้ และมั่นคง
..................
ไม่งั้น เราจะมีสภาพไม่ต่างกับเด็กแบเบาะ
แล้วพยายามจะยกของหนัก
ซึ่งมันไม่มีสิทธิ์จะทำได้เลย
.................
เพ่งอยู่ที่กลางกระหม่อม รู้อยู่ที่กลางกระหม่อม
สัมผัสได้ที่กลางกระหม่อม ตั้งมั่นอยู่ที่กลางกระหม่อม
มั่นคงอยู่ที่กลางกระหม่อม
.................
อย่าให้เคลื่อน หลุดเลื่อนจากกลางกระหม่อม
.................
เมื่อ นั่ง ตั้งอยู่ได้ ลองค่อยๆ พา ยืน ซิ
พาท่านผู้รู้ ลุกขึ้นยืนช้าๆ
อย่าให้ท่านผู้รู้ เลื่อนหลุดจากกลางกระหม่อม
ยังอยู่ที่กลางกระหม่อม
มีตัวรู้ ชัดแจ้ง อยู่บนกลางกระหม่อม
...............
ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏ
....................
รู้อย่างแจ่มชัด แน่นหนา
...................
พาท่านผู้รู้ ค่อยๆ กลับหลังหัน ดูซิ
ยังอยู่กับเราไม๊
................
แล้วพาท่านออก เดิน
...............
ยังไม่หลุดเลื่อนออกจากกลางกระหม่อม
เดินอย่างผู้รู้ มีสติอยู่ในกาย
.................
ระวังท่านผู้รู้ จะตาย หรือไม่ ก็ไม่โต
อย่าบอนไซ ท่านผู้รู้
................
อย่าทำให้ท่านผู้รู้ ป่วย หรือ อ่อนแอลง
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ท่านผู้รู้ ต้องแข็งแรงเสมอ
.................
เพราะความแข็งแรงของท่านผู้รู้นั่นแหละ
จึงจะสามารถพ้นจากทุกข์ พ้นจาก ปากเหว นรก
.................
ระวังท่านผู้รู้ จะอ่อนแอลง
..................
อย่าเอาภาระกรรมของกาย มาทำให้ท่านผู้รู้ อ่อนแอ
................
นั่นก็หมายถึงว่า ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน
เราจะต้องรู้ เฉพาะที่กลางกระหม่อม
.................
ถ้าไม่รู้ ท่านผู้รู้ ใกล้เพลี่ยงพล้ำ ใกล้ตาย ต้องหยุดอยู่กับที่
เพื่อแสวงหา ท่านผู้รู้ ใหม่ ทำให้ท่านผู้รู้ แข็งแรงขึ้น
....................
ธรรมะอยู่กับใคร ต้องซื่อตรงต่อตัวเอง และอย่าหลอกคนอื่น
นั่น ทำเมา แล้ว ลูก ไม่ใช่ธรรมะ
...................
แล้วมันไม่ใช่แค่ชาติภพเดียว ถ้าฝึกเป็นผู้หลอกลวง
มันจะข้ามภพข้ามชาติ เป็นสันดานหลอกลวง
...............
นี่แหละ คือ บ่วงกรรมชนิดหนึ่งแหละ
คือ วิบากที่เราต้องรับ คือ ผลที่เรากระทำ
ไม่มีใครทำให้เรา
เราหลอกลวงตัวเอง คนอื่นก็หลอกเราได้
.................
เวรกรรม มันเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
.................
บางคน ยิ่งเดิน ท่านผู้รู้ ยิ่งเปลี้ย ลง, เปลี้ย ลง
นี่แหละ วิบาก ชนิดหนึ่งแหละ
.................
วิบาก ที่เกิดจากชาติภพที่แล้วๆ แล้วสั่งสมไว้
ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่จริงใจ ไม่จดจ่อ ไม่จับจ้อง
เรียกอีกอย่างว่า ความเกียจคร้าน สันหลังยาว
ไม่มีความเพียรต่อเนื่อง ผลมัน จึงไม่ยืนยาว
.............
เพราะ ไม่ฝึกให้เป็นคนที่มี ความเพียรต่อเนื่อง
มันจึงได้ผล สั้นๆ แคบๆ
ได้แบบ ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เดี๋ยวก็เลิก
เหล่านี้ เป็นนิสัยที่สั่งสม ไม่ใช่ชาติภพเดียว ลูก
มันมีมาแต่อดีตล่ะ ถ้าเราไม่รู้จักแก้มันวันนี้
แล้วเมื่อไหร่จะได้แก้
ถ้าชาตินี้ไม่แก้
ชาติหน้าจะมีโอกาสได้ฟังคำสอน ให้ได้แก้ไม๊
...................
ไม่รู้ว่า จะเจอ ครู เจอพระ เจอพระพุทธเจ้าหรือไม่
งั้น ให้แก้ซะ
.....................
นิสัยที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ไม่เอาถ่าน
ไม่มีความเพียรต่อเนื่อง สันหลังยาว เกียจคร้าน
ไม่จริงจัง ต้องปรับ
ทำอะไร ต้องทำจริงๆ จังๆ ให้สำเร็จ
ต้องมี ความเพียร ต่อเนื่อง
ต้องมั่นคงในสิ่งที่ตัวเองกระทำ
ต้องมีสัจจะ มีอธิษฐานธรรม
....................
ว่างๆ กลับไปบ้าน ต้องรู้จักตั้งอธิษฐานธรรมบ้าง
ถ้าเราไม่มี ผู้รู้ ตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งของกาย
เราจะไม่เลิกในเวลาเท่านี้ๆ
เนี่ยน่ะ เป็นวิธีฝึกแก้นิสัย ไม่เอาถ่าน ไม่ยั่งยืนของเราได้
................
พอ
หยุดอยู่กับที่
ยัง รู้ อยู่ไม๊ อยู่ กับท่านผู้รู้ ไม่ใช่หยุดอยู่เฉยๆ
..................
ท่านผู้รู้ ยังแข็งแรง เป็นปกติดีอยู่หรือไม่
หรือตาย หรือ อ่อนแอไปแล้ว พิการไปหมดแล้ว
...................
เคลื่อนท่านผู้รู้ มาอยู่ที่ปลายจมูก
...............
แล้วเฝ้าสังเกตุ ลมที่เข้าและออก
กำลังเข้าอยู่ หรือ กำลังออกอยู่
.................
ดูเฉยๆ ไม่ต้องตามไป
.................
ไม่ต้องทำลม ให้สั้น ให้ยาว ให้หนัก ให้เบา ให้แคบ ให้กว้าง
ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ
.................
เรียกว่า เฝ้าดูอยู่เฉยๆ ที่ปลายจมูก
..................
ลมเข้า รู้, ลมออก รู้
...................
เห็นไม๊ว่า ลมมันจะชัดเจนขึ้น เมื่อผู้รู้ ตั้งมั่นมากขึ้น
...............
เราจะสัมผัส ลม ได้แจ่มชัดมากขึ้น
เป็นผลมาจากการสร้าง ตัวรู้ และทำให้ท่านผู้รู้ แจ่มชัด มั่นคง ยั่งยืน
.................
ทีนี้ บวก บริกรรมภาวนา เข้าไป
หายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
ไม่ต้องบังคับ ลม
...................
ทิ้ง คำบริกรรม
สูด ลมหายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง
หัวไหล่ 2 ข้าง ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ แล้ว
หายใจออก
พักนิดหนึ่ง
เอาใหม่
หายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่
2 ข้าง ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
............
พักนิดหนึ่ง
หายใจเข้า จากปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อศอก ท่อนแขนด้านบน หัว
ไหล่ ต้นคอ กระโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออก จมูก
...............
หายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กระโหลกศีรษะด้าหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ 2
ข้าง ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
................
ทิ้งลมหายใจ
ดูที่ ฝ่ามือ 2 ข้าง
..................
ไม่ใช่ ใช้ ตา ดู
...................
ดู ชีพจร ที่เต้น ที่ปลายนิ้วมือ 2 ข้างซิ
..................
เห็นไม๊ว่า ปลายนิ้วมือ มันเต้นตุ๊บๆ สัมผัสได้ไม๊
...................
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
..................
หายใจออก ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
ลืมตา แล้วเข้าที่ ลูก
(กราบ)
23 ก ย 2555 16.15 น. หลังปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่
พุทธะอิสระ
(กราบ)
เดี๋ยว พรุ่งนี้ จะไปนอนค้างที่ปราจีนฯ ที่น้ำท่วม ซัก 2 คืน 3 คืน ไปดูเค้าหน่อย เค้า
เดือดร้อนหนัก
พอว่างจากภาวนา ก็ต้องคิดทำบุญ ว่างจากทำบุญ ก็ต้องคิดภาวนา
ไม่งั้น จิตนี้ ก็จะมีอกุศลเข้าครอบ เดี๋ยวก็ราคะครอบ โทสะครอบ โมหะครอบ ตัณหา
อวิชชาครอบ เพราะมันเป็นอาหารของจิตอยู่แล้ว มันเป็นของชอบ เพราะมันไม่ใช่ชอบชาติ
เดียว มันชอบมาหลายพันหลายร้อยหลายหมื่นชาติ เป็นแสนๆ กัปป์
งั้น เราก็ต้องฝึกอย่างนี้ พัฒนาอย่างนี้ บริหารจัดการมันอย่างนี้ ไม่งั้นมันก็จะจมปลักอยู่กับ
เรื่องชอบที่น่ารังกียจ เหมือนกับหนอนที่จมอยู่ในหลุมขี้ แล้วมันก็บอก มันชอบ
งั้น ต้องหาวิธี ทำทุกวิถีที่จะดึงจิตให้ขึ้นจากหลุมขี้ให้ได้
เอ้า ว่า นะโม 3 จบ
...............
สังฆทานและสิ่งของที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่รับแล้วนะ ลูก ยกให้เป็นสมบัติของวัด ศาสนา
และมูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะสงเคราะห์ สาธารณะประโยชน์ ขอท่านทั้งหลาย
อนุโมทนา ลูก (สาธุ)
ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่ขอแบ่งเอาไป พรุ่งนี้จะเอาไปใช้สำหรับแจกจ่าย ซื้อ
ของ ซื้อผัก ซื้อหมู ซื้ออะไรต่ออะไรที่จะต้องใช้ในครัว ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนา (สาธุ)
ตั้งใจกรวดน้ำ ว่าตาม แล้วรับพร
อิทัง โนยาตินัง..............
..............
ตั้งใจรับพร ลูก
................
(สาธุ)
โชคดี ลูก ธรรมะรักษา ให้รุ่งเรือง ร่ำรวย เดินทางโดยปลอดภัยทุกคน ลูก
(สาธุ)
กราบลา พระ
...................
(กราบ)