Print
Hits: 7848
 
       ความมุ่งหมาย
      
       หนังสือเล่มนี้นอกจากมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลสําเร็จในเชิงจิตวิญญาณ แล้วยังมีวัตถุประสงค์เพื่อนํารายได้ที่อาจเหลือจากค่าพิมพ์ สมทบเป็น ทุนอุดหนุนการศึกษาสําหรับเยาวชนยากไร้ผู้ด้อยโอกาส ฉะนั้น หากมี ผู้สนใจที่จะ "ทําบุญเพื่อสังคม" เพิ่มเติมนอกเหนือจากการช่วยค่าพิมพ์ หนังสือเล่มนี้ขอเชิญ ติดต่อได้ที่ วัดอ้อน้อย (ธรรมะอิสระ) หมู่ 12 ต.ห้วยขวาง อ. กําแพงแสน จ.นครปฐม
 
 
       ภาพรวม
      
       ผลงานทางศาสนธรรมทั้งหลายที่ก่อกําเนิดขึ้นโดยคุรุทั้งปวงในโลก ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อการ สื่อแสดงประสบการณ์ของสิ่งที่ถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต การกล่าวแสดงของบรรดาคุรุ บางครั้งอาจเป็นการจุดประกายทางศาสนธรรม บางครั้งอาจเป็นการเชื้อเชิญและชี้ชวนบุคคล ทั้งหลายให้เข้าร่วมมีประสบการณ์ทางจิตวิญญาณและศาสนธรรมกับคุรุท่านนั้น หนังสือเล่มนี่ก็ เช่นกัน เป็นที่รวมแห่งถ้อยคําคุรุผู้มีใจอารีท่านหนึ่งทําหน้าที่ปลุกจิตวิญาณแก่ชน ทั้งหลายภายใต้ ร่มเงาแห่งโพธิของพุทธศาสนา โดยพุทธศาสนานั้นได้นําเสนอและเผยแสดงความจริงแห่งเป้า หมายสูงสุดของมนุษย์ว่าคือ ความดับสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง หนังสือเล่มนี้โดยตัวมันเองจึงควร ทําหน้าที่เป็นเหมือนคู่มือที่อาจจุดประกายและปลุกเร้าศักยภาพในทางศาสนธรรม อันแฝงเร้นอยู่ ในมนุษยชน ให้ปรากฎแสดงเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่เพื่อดับความทุกข์ยากให้ สิ้น ไปแก่ตนเองและโลก
      
       ด้วยเหตุนี้ หนังสือเล่มนี้จึงมีฐานะเป็นอุบายวิธีรูปแบบหนึ่งที่ อาจใช้เพื่อชักนําพลังที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ให้ปรากฎดังนั้น รูปแบบภาษา และวิธีการอ่านหนังสือเล่มนี้ย่อมแปลกออกไป เราอาจสังเกตุเห็นว่า ตัวบทต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้สามารถจัดแยกเป็นกลุ่มตามรูปแบบ และคุณลักษณะต่อไปนี้
      
       1. กลบทหรือปริศนาธรรม มีลักษณะข้อความเป็นรหัสยนัย เข้าใจยาก(Esoteric)บางครั้งเป็นการกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมแต่บ่งชี้ ถึงเรื่องที่ป็นนามธรรม บางครั้งวิธีการกล่าวอาจขัดความรู้สึกที่เป็น ธรรมดาทั่วไป และกลบทบางหัวข้ออาจตีความหมายได้หลากหลาย แง่มุมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับการนํา สาระของตังบทไปใช้ในแง่มุมที่ต่างกัน แต่สําหรับบางตัวบทที่มีจุด มุ่งหมายกล่าวถึงธรรมชาติสูงสุดจะไม่สามารถตีความป็นอย่างอื่นไปได้ ข้อความที่เป็นปริศนาธรรมหรือกลบทนี้ดูราวกับจะท้าทายผู้อ่านที่ต้อง การมีประสบการณ์เชิงรหัสยนัย และผู้อ่านที่มีความคิดจดจ่ออย่างต่อ เนื่องยาวนาน
      
       2. นิทานหรือข้อความเปรียบเทียบเป็นบทอุปมาที่ใช้รูปธรรม เป็นสัญลักษณ์แทนนามธรรมและเนื่องจากมีการใช้สัญลักษณ์ เป็นตัวแทนนี้เองประสบการณ์ของแต่ละบุคคลจึงเป็นจุดยืนของการตี ความเพราะแต่ละบุคคลอาจเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่างกันออกไป ดังนั้นนิทานหรือข้อความเปรียบเทียบน่าจะเป็นที่สนใจต่อผู้อ่านที่ชอบ ใช้จิตนาการและวิธีคิดแบบอุปมาอุปมัย
      
       3. ธรรมภาษิต เป็นคํากล่าวที่แสดงความหมายชัดเจนในตัวเอง (Exoteric) ได้แก่คํากล่าวประเภทที่เป็นข้อสรุปสั้นๆ และประเภทที่เป็น บทบรรยายยาวๆ ซึ่งน่าจะเหมาะเจาะสอดคล้องกับนักปฎิบัติซึ่งมีจิต ใจเรียบง่ายและต้องการสิ่งที่ชัดเจน เพื่อเป็นข้อคิดต่อการดําเนินชีวิต
      
       4. บทกวี เป็นร้อยกรองทั้งที่มีสัมผัสและที่เป็นกลอนเปล่า อาจให้ข้อ เสนอหลายแง่มุมบางบทอาจชี้ให้เห็นธรรมชาติของชีวิตและวิญญาณ บางบทอาจดูคล้ายคําอุทานที่ออกมาจากประสบการณ์ภายใน จึงอาจ ให้ข้อคิดที่หลากหลาย
      
       นอกจากข้อสังเกตุในเรื่องคุณลักษณะของตัวบทแล้ว ในแต่ละตัว บทเองบางครั้งเราจะพบการตีความและอธิบายความหมายตัวบทซึ่ง เขียนขึ้นโดยผู้ที่เป็นศิษย์ และในบางตัวบทเราจะพบข้อวิจารณ์นอกแบบ ซึ่งบางครั้งดูคล้ายจะเป็นคําวิจารณ์ต่อความเข้าใจของบทตีความนั้น ด้วยลักษณะเช่นนี้ ยังอาจเห็นร่องรอยแห่งการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างครู และศิษย์ได้อีกด้วย
      
       เนื่องจากตัวบทและข้อความในหนังสือเล่มนี้เป็นสื่อแสดงประสบ การณ์ภายใน จึงย่อมปรากฎลักษณะอันหลากหลายและไม่อยู่ในรูปแบบ ที่แน่นอน สิ่งที่น่าสังเกตุก็คือว่า
      
       ประการแรก แม้ว่าเราจะพบความหลากหลายและแต่ละตัวบทจะ นําพาเราไปสู่รายละเอียดในเรื่องต่างๆ สิ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือว่า ทั้งหมดถูก บันทึกจากจิตวิญญาญที่เป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ก็คือเอกภาพ และความประสานสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดเมื่อมองในมิติของจิตวิญญาณ
      
       ประการที่สอง เรื่องการอ่านถ้อยคําจากบริบท ถ้อยคํานั้นแม้จะ เป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เรามีร่วมกันแต่เมื่อนํามาใช้ในเรื่องต่างกันย่อม มี ลักษณะและความหมายเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล เวลา สถาน ที่แวดล้อมการรู้จักระวังไหวในความหมายของถ้อยคํา คือการตะหนักรู้ และคํานึงถึงภาวะสัมพันธ์อันเกิดจากบริบทซึ่งทําหน้าที่ถักทอข่ายใยแห่ง ความหมาย สําหรับในหนังสือเล่มนี้บางครั้งจะพบการใช้ถ้อยคําซึ่งไม่อยู่ ในตําแหน่งแห่งที่ดังที่ควรจะพบในที่อื่น
      
       ประการสุดท้าย เนื่องจากจุดยืนของศาสนธรรมอยู่ที่ประสบการณ์ ภายใน การมีความสัมพันธ์กับตัวบทและความเข้าใจที่อาจเกิดขึ้นนั้น ย่อมเป็นความรับผิดชอบคนละครึ่งระหว่างตัวบทกับประสบการณ์ของ ผู้อ่านแต่ละคน โดยที่ผลลัพธ์แห่งความเข้าใจนั้นอาจแตกต่างกันไป
      
       อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของหนังสือเล่มนี้ ย่อมมิใช่อะไรอื่น นอกจาก เป็นสิ่งที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกมาจากร่มเงาของพุทธศาสนา เพราะเป็นผล ที่เกิดมาจากผู้ที่ใช้ชีวิตตามวิถีทางแห่งโพธิศรัทธาจึงย่อมหวังว่าผล สําเร็จ ของมันควรจะเป็นความไพบูลย์ของชีวิตและวิญญาญดังเจตนารมณ์ ของพุทธศาสนา
      
       หัวหิน
       มิถุนายน 2536
      
       นําสู่วิถีการปฎิบัติ
      
       เปิดประตู ก่อนการเริ่มต้นศึกษาพุทธธรรม ผู้ใฝ่ใจศึกษาบางท่านอาจเกิดคําถาม ในใจว่า วิธีการใดจะช่วยให้เข้าใจถึงพุทธธรรมอย่างถ่องแท้ที่สุด ณ ที่นี้ เพื่อการเปิดประตูสู่พุทธธรรม เราควรจะเริ่มต้นศึกษาพุทธธรรมกัน ด้วยบันทึกเหตุการณ์ซึ่งเป็นแง่มุมเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการพบปะกัน ของนักศึกษาธรรม กับพระผู้เฒ่าท่านหนึ่ง เหตุการณ์นี้อาจเป็นกุญแจ ไขประตูนําพาเราไปสู่วิถีทางแห่งพุทธธรรม
      
       มีเรื่องเล่าว่า
      
       มีนักศึกษาปริยัติท่านหนึ่ง ถือหนังสือธรรมชั้นนักธรรมตรี
      
       มาถามว่า : หลวงปู่ครับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ย่อลง
      
       ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้หรือไม่
      
       หลวงปู่ตอบว่า : อยากรู้หรือ
      
       นักศึกษา : ครับ
      
       หลวงปู่ : ถ้าอยากรู้ก็เปิดหนังสือดูเองสิ
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       ในบทนี้สําหรับคําตอบที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันต่อสถานการณ์ อันปรากฎในปัจจุบัน ดูช่างเป็นคําตอบที่ทรงพลังและมากไปด้วย ความหมายหลากหลายอารมณ์และมุมมอง ซึ่งถ้าจะมองในอารมณ์ขัน ช่างเป็นอารมณ์ที่เด็ดขาดและจืดสนิท เพราะผู้ตอบอาจจะขันคนเดียวโดย ผู้รับคําตอบอาจจะมึนงงไปก็ได้ หรือผู้รับคําตอบอาจจะขันแบบจืดๆ ชนิด ที่หัวเราะไม่ออกเพราะผู้ตอบตอบแบบฉับพลัน
      
       มิตร-ศัตรู
      
       ลูกรัก
      
       ถ้าเจ้าต้องการศึกษาพุทธธรรม
      
       สิ่งที่ลูกต้องเพียรกระทําก่อน
      
       เป็นเบื้องต้น คือ
      
       ลูกต้องแยกให้ออกอย่างถ่องแท้
      
       ว่า อะไรคือศัตรู อะไรคือมิตร
      
       ที่ติดสนิทอยู่ในตัวเจ้า
      
       และคราใด
      
       ที่ลูกสามารถแยกมิตร แยกศัตรูได้ทุกขณะจิต
      
       พ่อว่าเจ้าไม่จําเป็นต้องคิดถึงพุทธธรรม
      
       เพราะเจ้าก็คือ พุทธะองค์หนึ่งเหมือนกัน
      
       สาธุ สาธุ
      
       แทนที่จะตีกรอบหลักและวิธีการอย่างเป็นขั้นตอน เราจะค้นพบการ เรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ภายใต้การดําเนินชีวิตประจําวัน กับการ ใช้ปัญญาอย่างอิสระเพื่อหันมามองประสบการณ์ภายในตัวเองว่าสิ่งใด เกื้อหนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อพุทธธรรม ซึ่งโดยอัตโนมัติ ญาณหรือปัญ ญาที่มาจากการตรวจสอบประสบการณ์ในชีวิตประจําวัน จะนําพาเรา ไปสู่ความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นอย่างมีชีวิตที่เบิกบาน หรือหากมองในทางที่กลับ กันการที่สามารถแยกแยะว่า อะไรคือมิตร อะไรคือศัตรูโดยตัวมันเองก็ เป็นการแสดงออกถึงธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะที่มีอยู่แล้วในตัวผู้ ปฎิบัติธรรมนั่นเอง
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       ถ้าเราหาบทสรุปในธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ดูเหมือนว่า คําพูดที่พูดว่า การได้แยกมิตรและศัตรูในตัวออกได้อย่างถ่องแท้ทุกขณะ จิตนี้ ช่างเป็นบทสรุปของธรรมะแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ได้อย่าง สั้นและลัดตรงที่สุด
      
       สํารวจภายใน
      
       ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
      
       ถ้าเจ้าส่งความรู้สึกลึกลึก
      
       ลงไปสํารวจดูภายในกาย
      
       ให้เข้าที่เข้าทาง
      
       นั่นแหละ คือ
      
       ผู้เจริญญาณ
      
       ดังที่กล่าวแล้วว่า ศักยภาพแห่งความป็นพุทธะนั้น จะต้องมีชีวิต อย่างเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และเบิกบาน ย่อมใช้ชีวิตอย่างเป็นผู้รู้เนื้อรู้ตัวต่อทุก ขณะในลมหายใจเข้าออก ญาณหรือปัญญา หรือความรู้สึกที่ชัดแจ้งที่จะ เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันได้ผ่านขั้นตอนในการกลั่นกรองใคร่ ครวญ พิจารณาเพื่อให้เข้าลักษณะเหตุผล ให้เข้ากับตน เข้ากับกาล สถาน ที่ และบุคคล เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ถูกที่ ถูกถิ่น ถูกทาง ถูกตน ถูก บุคคล ด้วยความจดจ่อ จริงจัง และตั้งใจ นั่นแหละผู้เจริญสติจึงทําให้ เกิดญาณ
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       เราจะเห็นว่า เป็นคําบอกแจ้งถึงวิธีการใช้ญาณ หรือปัญญา หรือ วิธีให้เกิดญาณ หรือปัญญา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีคําสอนกันว่า ให้ใช้ปัญ ญาสําหรับจัดทํากิจกรรมอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องภายในกาย แต่สําหรับ ความหมายในประโยคนี้ กลับมุ่งเน้นให้เราใช้ญาณ หรือปัญญากลับมา จัดระเบียบทางพฤติกรรมของกายตนจนเข้าระบบของจิตวิญญาณที่ เป็นธรรมชาติ เช่นนี้จึงถือว่าเป็นผู้ศึกษาพุทธธรรมที่มีความเจริญเป็น มรรคเป็นผล
      
       กิจกรรมทางศาสนา
      
       ครั้งหนึ่ง เคยมีลูกศิษย์มาถามหลวงปู่ว่า หลวงปู่ครับ กิจในศาสนา มีอะไรบ้างครับ
      
       หลวงปู่ตอบว่า รื้อขยะเก่าทิ้งไป ไม่เพิ่มขยะใหม่ลงไป ทําของดีที่มี อยู่แล้วให้ผ่องใส
      
       เมื่อตีความเจตนารมณ์ของผู้ตั้งคําถาม น่าจะเข้าใจได้ว่าต้อง การถามถึงหัวใจ หรือหลักการอันเป็นสาระสําคัญที่ต้องปฎิบัติในศาสนา แต่คําตอบที่ได้ดูราวกับว่าเป็นคนละเรื่อง อันที่จริงแล้วชาวพุทธทุกคน ย่อมทราบดีถึงหลักปฎิบัติสําคัญสามประการ ซึ่งได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา หรือไม่ทําความชั่วทําแต่ความดี และทําใจให้ผ่องใส เราทุกคนคงเคยได้ ยินแต่อาจไม่เคยทราบซึ้งกับหลักการสามข้อนี้นอกจากรู้เพียงว่าหมาย ถึงการให้การเสียสละ การเคร่งครัดในวินัยข้อกําหนด และการหลับตา นั่ง "วิปัสสนา" แท้ที่จริงแนวความคิดเรื่องทาน ศีล ภาวนา มี ความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมาก ถ้าอธิบายเทียบเคียงกับอุปมาข้างต้นที่ ให้ภาพพจน์เป็นรูปธรรมชัดเจนอย่างยิ่ง
      
       การรื้อขยะเก่าทิ้ง ก็คือ การละวาง การกําหนดในความมี ความ เป็นของอัตตา หรือตัวตนหรือการมีสัญญาหรือการกําหนดในความมี ความเป็นของบุคคล และวัตถุต่างๆ ซึ่งในหัวข้อนี้เท่ากับเป็นการ ให้ทานอย่างสูงสุดที่ปราศจากทั้งผู้ให้และผู้รับ เราอาจเห็นได้จากตํา นานหรือนิทานชาดกเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ที่สละได้แม้กระทั่งชีวิต เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคม ที่ท่านทําได้เช่นนั้น เพราะท่านเข้าใจใน ทานที่แท้ หรือการรื้อขยะเก่าทิ้งนั่นเอง
      
       ส่วนการไม่เพิ่มขยะใหม่ อาจเปรียบได้กับการมีศีล เพราะศีลคือ สภาพปกติของใจซึ่งสภาพของใจที่แท้ พระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตนั้น ปภัสสร" เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมแสดงว่าสภาวะที่ปลอดพ้นจาก "สัญญา" หรือการกําหนดในความมีความเป็นของสิ่งต่างๆ เป็นสภาวะปกติของ จิตการไม่เพิ่มขยะหรือสัญญาต่างๆ เข้าไปในจิตจึงเท่ากับว่าเป็นการกระ ทําของผู้ทรงศีล หรือผู้มีภาวะอันปกติของจิต ซึ่งมีอุป-มาเท่ากับการไม่ เพิ่มขยะใหม่ลงไป
      
       และสุดท้าย ทําของดีที่มีอยุ่แล้วให้ผ่องใส เทียบเคียงได้กับสมาธิ ภาวนา เพราะการปฏิบัติสมาธิภาวนามีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้จิตพ้น ทุกข์บรรลุนิพพาน หรือที่มหายาน และนิกายเซนมักเรียกว่าจิตเดิมแท้ หรือพุทธภาวะเพียงแต่ทุกคนไม่เพิ่มขยะใหม่ให้กับมัน มันก็จะเผย แสดงสมรรถนะปรากฎเป็นความปภัสสร ความผ่องใส ความสว่างไสว และอาจนํามาไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ เช่นนี้แล้ว เราจะเห็นความประ สานสัมพันธ์ของทาน ศีล ภาวนาได้ โดยทะลุทะลวงผ่านอุปมาที่ทรง พลังด้วยการประพฤติปฎิบัติตามตัวบทนี้
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       ในประเด็น อาจมองได้ว่าการรื้อขยะเก่าทิ้ง ไม่เพิ่มขยะใหม่ลงไปและ ทําของดีที่มีอยู่แล้วให้ผ่องใส ผู้ตอบปัญหาอาจมีเจตนาเพื่อเตือนสติผู้ ถามให้รู้เนื้อรู้ตัวว่า อย่าได้แสวงหาสิ่งที่เป็นศาสนานอกตัว เพราะการ แสวงหาต่างๆ นอกจากจะไม่เป็นการรื้อขยะเก่าแล้ว ยังเป็นการเพิ่ม ขยะใหม่แถมของดีที่มีอยู่แล้วก็อาจจะหาไม่เจอ เพราะถูกขยะหรือการ แสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุดทั้งหลายปิดบังปกคลุมอยู่
      
       อภิวัฒน์แห่งชีวิต
      
       ดวงจันทร์กับกระจกเงา
      
       ครั้งหนึ่ง หลวงปู่กล่าวว่า เจ้าเคยชมจันทร์ ในกระจกเงาบ้างไหม
      
       เจ้าเคยเด็ดดอกไม้ ในอากาศบ้างหรือเปล่า
      
       คํากล่าวนี้ เป็นบทอุปมาที่ให้ภาพพจน์อันงดงาม และทรงพลังทาง จิตวิญญาณ แม้หากไม่ได้อ่านด้วยจิตใจแห่งพุทธะ อาจเสี่ยงต่อการ ตกอยู่ภายใต้มนต์สะกดของมายาการทางภาษา โดยอาศัยธรรมชาติ แห่งพุทธะที่มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน เราจะพบว่าดวงจันทร์มิใช่อะไรอื่น และดอกไม้ก็มิใช่อะไรอื่นอีกเช่นกัน หากคือธรรมชาติ แห่งความเป็น พุทธะที่ซ่อนเร้นและถูกบดบังด้วยตัวตนของเรา ที่ในบางครั้งดูว่างเปล่า ไร้ความหมายเหมือนกับอากาศ คํากล่าวนี้นอกจากจะเป็นการนํา เสนอความงดงามแห่งภาษาแล้ว ยังเป็นอุปมาที่ช่วยปลุกเร้าให้เราตื่นขึ้น มาดูความเป็นพุทธะของเราอย่างฉับพลันทันทีอีกด้วย
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       อาจกล่าวได้ว่า เป็นการสื่อความหมายที่แสดงออกมา ของความว่าง เปล่าในสรรพสิ่ง สรรพธาตุ สรรพวัตถุสรรพชีวิต เปรียบประดุจดังบุคคล ที่เพียรพยายามจะเด็ดดอกไม้ในอากาศ
      
       เล่นกับความคิด
      
       หลวงปู่ กล่าวว่า
      
       จงคิด
      
       เจ้าจะได้ไม่ต้องคิด
      
       เพราะเจ้าไม่คิด
      
       เรื่องคิดจึงมีมากมาย
      
       ด้วยความคิดถึงสภาวะที่ปราศจากความคิด จะนําพาไปสู่ความสว่าง ไสวอันไม่มีที่สิ้นสุดของจิต ทว่าหากปราศจากการติดตามรองรอยของ สภาวะที่ปราสจากความคิด มายาจิตมากมายย่อมจะผุดพรายขึ้นมาให้ คิดฉะนั้นเมื่อใดที่ไม่ต้องการคิด ก็ต้องคิดถึงสภาวะที่ปราศจากความคิด
      
       ในอีกแง่หนึ่ง การนึกถึงสภาวะที่ปราศจากความคิด คือ การแปร เปลี่ยนของพลังจิตเป็นพลังสติ รับรู้ และซึมซาบ ความบีบคั้น และไร้ตัว ตน ของสรรพชีวิต และสรรพสิ่ง ย่อมเป็นปฎิวัติและอภิวัฒน์ความคิดอ่าน ที่มีมาแต่เดิม ในที่สุดนําพาไปสู่สภาวะที่ไร้ร่องรอยของความคิดสู่นิโรจน์ สมาบัติที่ไร้ร่องรอย ไร้ขอบเขต และไร้รูปแบบ
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       จงคิดแล้วเจ้าจะได้ไม่คิด ถ้าจะมองกันในระดับสติปัญญาของสามัญ สัตว์ คล้ายๆ กับจะมีการนําเสนอถึงวิถีทางแห่งการดัารงชีวิตที่ต้องผ่าน ขั้นตอนในการสะสาง ชําระล้าง และลงมือกระทํารวมทั้งจัดการกิจ กรรมต่างๆ ที่รออยู่เบื้องหน้าของชีวิตทุกขณะจิตให้สําเร็จเสร็จสิ้น และ ผ่านพ้นไปอย่างไร้เรื่องราว ร่องรอย และไร้ปัญญา จนอาจลุถึงสภาวะ แห่งความโล่ง โปร่ง เบาสบายของการหมดภาระต่อกิจกรรมต่างๆ คง อย่างนี้ละกระมังจึงเรียกขานว่า จงคิดแล้วเจ้าจะได้ไม่ต้องคิดเพราะไม่ คิดเรื่องคิดจึงมีมาก
      
       สิ่งที่ตรงข้าม
      
       ลูกรัก
      
       ในเมื่อเจ้า
      
       ปฏิเสธสิ่งที่ชังก็ไม่ได้
      
       ยอมรับสิ่งที่ชอบก็คงไม่ใช่
      
       แต่ที่แน่ๆ
      
       เจ้าจะต้องคลุกคลีอยู่กับ
      
       ทั้งสิ่งที่ชอบและของที่ชัง
      
       อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง
      
       ในเมื่อเป็นเช่นนี้
      
       ทําไมเจ้าไม่หาประโยชน์จากสองสิ่งนั้นเล่า
      
       นี่เป็นการชี้แนะถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิตและโลก ที่มนุษย์ ต้องดํารงอยู่ท่ามกลางสิ่งที่ตนเองเรียกขานว่า ความดี และความเลว ความรักใคร่ และความเกลียดชัง ภารกิจของผู้ประเสริฐจึงมิใช่อยู่ที่ การเปลี่ยนดําให้เป็นขาวทั้งหมด หรือเปลี่ยนขาวให้เป็นดําทั้งหมด แต่ อยู่ที่การเลือกจังหวะ และโอกาศในการใช้ประโยชน์จากของสองสิ่งที่ ตรงกันข้าม ด้วยการดํารงตนให้เป็นอิสระเหนือของสองสิ่ง ไม่เช่นนั้น แล้ว จะถูกดึงดูดและผลักดันโดยของสองสิ่งนั้นเอง การอยู่เหนือการยอม รับและปฎิเสธ ย่อมบรรลุถึงความหลุดพ้นจะสามารถเลือกใช้สรรพสิ่งที่ ถูกเรียกขานว่าเป็นสิ่งที่ดีและเลว ชอบและชัง ขาวและดํา ได้อย่าง เหมาะเจาะสอดคล้องตามจังหวะแห่งกาลเทศะที่ควรจะเป็น
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       โอ้...ดูช่างมหัศจรรย์อะไรเข่นนี้ มัชฌิมาปฎิปทา หรือทางสายกลาง ของพระศาสดา ที่พระองค์ทรงสั่งสอนแก่ชาวเราเมื่อสองพันปีก่อนช่าง มีคุณูปการฉะนั้น ที่สอนให้ชาวเราใช้สรรพสิ่งที่ชอบ และชังอย่าง มีประโยชน์ยืนยาวมาจนทุกวันนี้
      
       พินิจตนเอง - พินิจสรรพสิ่ง
      
       พ่อขอเตือนเจ้าด้วยใจที่เอื้ออาทร ว่า
      
       คราใดที่เจ้ารู้สึก
      
       เหนื่อยหน่าย เป็นทุกข์ เดือดร้อน ไม่สบาย
      
       เจ้าควรจะกลับเข้ามาสู่บ้านของเจ้า
      
       แล้วปิดประตูหน้าต่าง
      
       พักผ่อนด้วยความสงบ โปร่ง เบา สบาย
      
       จนแน่ใจว่า
      
       เจ้ามีพลังมากพอ ที่จะยืนยงคงอยู่
      
       ต่อสู้ฟันฝ่าต่อคลื่นลม และพายุ
      
       กับทั้งสรรพศัตรูต่างๆ ที่รอคอยเจ้าอยู่นอกบ้าน
      
       อย่างเป็นผู้ชนะ
      
       เจ้าก็จงเปิดประตูหน้าต่างออกไปหามัน
      
       อย่างชื่นบาน โปร่งเบา สบาย และอาจหาญ เถิด
      
       ด้วยการสํารวมระวังอินทรีย์ หรือพลังแห่งสมาธิจะช่วยเตือนจิตใจ ที่รู้สึกเหนื่อยหน่ายกระวนกระวาย ท้อแท้และทุกข์ทรมาน ให้หันกลับ มาสังเกตการณ์สรรพสิ่งที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเฝ้าสํา รวจตรวจสอบการเห็น การฟัง การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และ ความนึกคิด เมื่อรอบรู้เรื่องราวแห่งที่มา และที่ไปของสิ่งปรุงแต่งจิตใจ จะปล่อยวางและพักผ่อนด้วยความสงบอย่างผ่อนคลาย แล้วในที่สุด จะสามารถกลับไปเผชิญกับสรรพสิ่งที่อยู่ภายนอก ได้อย่างเป็นผู้ฉลาด และรู้เท่าทันสภาวะแวดล้อม
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       ผู้ตํ่าต้อยขอแสดงแถลงไขขานวิจารณ์ถึงบ้าน นั่นคือ กาย ประตู หน้าต่าง คือ ช่องทวาร ของการรับรู้ทั้งหลายคลื่น ลม พายุ และศัตรูคือ เหตุแห่งอารมณ์ทั้งหลาย
      
       ความเป็นจริงของจิต
      
       ไฟที่แท้จริงนั้น
      
       ไม่มีสี ไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีแสง
      
       เหตุที่เกิดสี ควัน กลิ่น แสง
      
       เพราะสรรพสิ่งปรุงแต่งขึ้น
      
       เปรียบกับดวงจิต
      
       ย่อมไร้รูป ไร้ลักษณ์ ไร้ร่องรอย
      
       ที่มีรูป ลักษณ์ ร่องรอยนั้น
      
       เพราะเหตุว่าสรรพสิ่งปรุงแต่ง
      
       กลบทนี้ชี้ให้รู้ว่า ความรู้สึกนึกคิดที่มักเรียกขานกันว่าคือจิต ล้วน เป็นสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ตัวตน เพราะมันคือ สิ่งที่เราเองเป็นผู้สร้าง ผู้กํา หนดและให้ความหมาย เมื่อเป็นดังนี้ยามเมื่อมีชีวิตประสบเหตุการณ์ ต่างๆ ก็ควรเฝ้ามองดูสิ่งที่ดํารงอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งกาลเวลาที่จักต้อง ผ่านเลยไป ไม่ควรจับฉวยมันไว้แล้วเก็บมานึกคิดจนก่อความรู้สึกสุขทุกข์ ดิ้นรนขวนขวายอย่างไร้สาระเปล่าๆ เป้าหมายสุดท้ายของกลบทนี้ไม่ ต่างกับคําเตือนสั้นๆ ที่ว่า อย่าทําอารมณ์ให้เป็นอะไร แล้วจะไม่มีอะไร ในอารมณ์
      
       เมื่อพินิจพิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไป ไฟนั้นอาจเปรียบได้กับการเผาลน ของความโลภ โกธร หลง ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วอุบัติขึ้นจากความว่างเปล่า ไร้แก่นสาร แต่ด้วยเรานั่นเองที่ให้ความหมายกับมันจนแปรสภาพความ ว่างเปล่าเหล่านั้นเป็นเรื่องราวตัวตนขึ้นมา แล้วก็ดิ้นรนสับสนไปกับมา ยาภาพที่ตนเป็นผู้สร้าง เหมือนกับเมื่อเราเห็นปุยเมฆแล้วเกิดจิตนาการ ต่อสิ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มก้อนสีขาวๆ นั้นเป็นรูปสัตว์ รูปยักษ์ รูปคน รูปวัตถุสิ่ง ของ แล้วผูกเป็นเรื่องราวต่างๆ สร้างความเกลียดกลัว หรือรักชอบต่อสิ่ง ที่เป็นกลุ่มก้อนสีขาวนั้นขึ้น ทั้งที่ธาตุแท้แห่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงปุย เมฆธรรมดาๆ เท่านั้นเอง ความหมายที่เราสร้างให้กับความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ ก็ไม่ต่างอะไรกับจิตนาการที่เรามีต่อปุยเมฆสีขาว นี่คือธาตุ แท้แห่งไฟและจิต
      
       มายาจิต
      
       ลูกรัก เจ้าจะรู้จักไหมหนอว่า
      
       สรรพมารทั้งหลาย
      
       สรรพกิเลสทั้งปวง
      
       สรรพทุกข์ทั้งสิ้นนั้น
      
       มันเป็นเพียงปรากฏการณ์
      
       ของมายาจิตชนิดหนึ่งๆ เท่านั้น
      
       นี่นับเป็นคําพรําบ่นที่แสดงความเอื้ออารี และความห่วงใยอย่าง สุดซึ้งของท่านผู้เฒ่า ผู้เป็นบุคคลที่ได้ตื่นจากฝันร้ายแล้ว และพยายาม ปลุกคนที่กําลังหลับฝันอยู่ให้รู้ว่าจอมปีศาจ หรือพญามาร ซึ่งอีกนัยหนึ่ง ก็คือ สิ่งหนักๆ ที่กดทับอยู่ในใจ ไม่ใช่ความจริงที่มีแก่นสารสาระอันจัก คว้าฉวยไว้ได้ แต่เป็นสิ่งปรากฎชั่วคราวที่จักต้อง ผ่านไป ผ่านไป
      
       อุบัติการณ์แห่งตนเองและสรรพสิ่ง
      
       เมื่อไม่รู้จักตนเอง
      
       ทุกสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น
      
       เมื่อใดรู้จักตนเอง
      
       ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่มี
      
       การรู้จักตนเองย่อมทําให้รู้ว่าเรื่องราวร้อยแปด และสรรพสิ่งนานัป การเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดที่เราสร้างสรรสื่อแสดงให้คุณค่าและก่อ ความหมายกับมัน การหลงเป็นจริงเป็นจังไปกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เท่ากับเป็นการหลงลืมไปว่าตัวเรานี่เองเป็นผู้เรียกขาน ให้ค่า และตีรา คาแก่สรรพสิ่ง การระลึกรู้เท่าทันความนึกคิดอยู่เสมอ จักช่วยพาเราหลีก เร้นจากความวกวนวุ่นวายมุ่งสู่ศานติสุข เมื่อนั้นจะรู้ว่าสรรพสิ่งว่างเปล่า ไร้ความหมาย ไร้ร่องรอย ไร้ตัวตน และว่างไร้ไม่มีแม้จิตในที่จะใช้ฝัน เฟื่องถึงสิ่งต่างๆ คงไว้แต่ศานติสุข สงบ อย่างแท้จริงเท่านั้น
      
       ความว่างในใจ
      
       จงอย่าทําใจให้ว่าง
      
       แต่จงมีความว่าง
      
       ให้เกิดในใจ
      
       ท่านผู้เฒ่าผู้แสดงวาทะแห่งข้อความนี้คงเป็นผู้ที่ได้ผ่านการตรวจสอบ และรอบรู้ความจริงแห่งจิตใจจนจบเป็นแน่แท้ เพราะโดยภาวะพื้นฐาน ตามธรรมชาติแล้ว จิตใจไม่ต่างอะไรกับความว่างหรือจิตใจก็คือ ความไร้ รูปลักษณ์ ไร้ร่องรอย การพยายามทําใจ ให้ว่างจึงเป็นการพยายามสร้าง รูปลักษณ์แห่งความหมายของคําว่า "ใจ" และร่องรอยทางความคิดของคํา ว่า "ความว่าง" แล้วนํามาคู่กัน
      
       เช่นนี้เท่ากับเป็นการควานหาตัวตนในสิ่งที่ไร้ตัวตน หารูป ลักษณ์ในความว่าง หารอยเท้านกในอากาศ ฉะนั้นการพูดเสียใหม่ว่า "จงมีความว่างให้เกิดขึ้นในใจ" จึงเป็นคําพูดที่ตรงกับธรรมชาติของใจ และความว่างมากกว่าการพูดว่า "จงทําใจให้ว่าง"
      
       ศรัทธา
      
       ความศรัทธา
      
       มิใช่มาจากความจริง
      
       แต่
      
       ความจริงในสิ่งที่มี
      
       สิงอยู่ในศรัทธา
      
       มองในแง่หนึ่ง ศรัทธา หรือความเชื่อ ความเสื่อมใส เป็นตัวการสร้าง ความจริง เพราะในขณะที่เราเชื่อว่าสิ่งใดมีจริงหรือเป็นความจริงสิ่งนั้นจะมีอิทธิพล หรืออย่างน้อยมีความหมายกับชีวิตของผู้ที่มีความเชื่อเช่น นั้นทันที ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีตัวตนหรือไม่ก็ตามการตระหนักเช่นนี้จะช่วยให้ เราใช้ความจริง ชนิดนี้ได้อย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น
      
       ชีวิตและคลื่น
      
       หลวงปู่ กล่าวว่า
      
       ชีวิตเปรียบเสมือนคลื่น
      
       เกิดขึ้นแล้วดับไป
      
       ก็คลื่นลูกเก่าไซร้
      
       ดับไปแล้วกลับมา
      
       ในแง่หนึ่ง คํากล่าวนี้สะท้อนถึงความหมุนวนของวัฏสงสารหรือ กิเลสตัณหา แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นข้อคิดให้กับบุคคลที่นึกว่าตนเองหลุด พ้นและดับกิเลสได้แล้วทว่าเมื่อเผชิญกับการท้าทายยั่วยุของสิ่งภาย นอกความพลุ่งพล่านของอารมณ์ภายใน ก็เกิดขึ้น ซึ่งชี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่คิดว่าดับไปนั้นยังไม่ได้ดับไปจริง แต่ยังมีเชื้อหลงเหลือ เมื่อ โอกาสเหมาะสมก็แสดงอาการปะทุระเบิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ
      
       กลบทนี้ผู้เขียนเหมือนกับกําลังจะบอกให้ชาวเราได้รู้ว่าแน่ใจแล้วหรือว่า
      
       สิ่งที่เราเห็นว่าขาวนั้นขาวจริงๆ
      
       สิ่งที่เราเห็นว่าสะอาดนั้นสะอาดจริงๆ
      
       สิ่งที่เราเห็นว่าบริสุทธิ์นั่นบริสุทธิ์จริงๆ เหมือนกับประโยคที่ท่านผู้เฒ่าพูดต่อลูกหลานของท่านว่า
      
       เจ้าแน่ใจแล้วหรือว่า
      
       น้ำชาเมื่อไม่อยู่ในถ้วย
      
       มันจะไม่มีคราบ สี และกลิ่นด้วย
      
       ในถ้วยนั้น
      
       ประตูที่ไร้ประตู
      
       ลูกรัก
      
       เจ้าจะเข้าใจประโยคที่ว่า
      
       ประตูที่ไร้ประตู อย่างไร
      
       แต่สําหรับพ่อนั้นเข้าใจว่า
      
       เพียงแต่
      
       เจ้าเดินเข้าไปด้วยกายและใจ
      
       ถ้าทุกสิ่งสมบูรณ์เช่นนี้
      
       พ่อว่า
      
       ไม่จําเป็นต้องมีประตู
      
       เจ้าก็จะเดินเข้าไปได้อย่างองอาจ
      
       การดําเนินเข้าไปอย่างองอาจผ่าน "ประตูที่ไร้ประตู" ก็คือการปฎิบัติอริยมรรคโดยไม่คํานึงถึงระเบียบวิธีและขั้นตอนขอเพียงให้ บรรลุถึงความจริง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดย่อมใช้ได้ทั้งหมดที่จริงแล้วหากกายและใจหลอมรวมเป็น หนึ่ง เมื่อทุกสิ่งเต็มเปี่ยมการปฎิบัติย่อมดําเนินไปเองตามวิถีแห่งธรรมชาติ เช่นนี้แล้ว จะมีระเบียบวิธี ขั้นตอนกฎเกณฑ์หรือหลักการอันใดเล่า ที่อาจใช้เป็นกรอบกําจัดความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ และเต็มเปี่ยมของชีวิตที่กาย และใจ กลมกลืนเป็นหนึ่งได้พูดให้ชัดเจนก็คือไม่จําเป็นต้องเป็นผู้คงแก่เรียนก็อาจ บรรลุถึงความเต็มเปี่ยม และความงามพร้อมของชีวิตได้ขอเพียงมีความจริงจังและจริงใจ ทุ่มเทให้กับการกระทําเท่านั้น หรือไม่จําเป็นต้องผ่านการอบรมกายและวาจาด้วยศีลอบรมใจด้วยสมาธิ และปัญญาทีละอย่างเป็นขั้นตอน แต่ทําทุกอย่างพร้อมกันไปผ่านกาย และใจที่เป็นหนึ่ง โดยที่ไม่จําเป็นต้องเรียกขานว่าสิ่งนั้นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
      
       พินิจภาษิตพิจารณ์
      
       ภาษิตธรรม Sprich worter aus dem Dhamma ตัวบทต่อไปนี้เป็นข้อวิจารณ์ของท่านผู้เฒ่าที่มีต่อภาษิตธรรม ซึ่งบันทึกโดยพระภิกษุชาวเยอรมันไม่ทราบชื่ออาจจะเห็นวิธีการแบบวิภาษวิธี ที่มีการโต้ตอบกันในทางความคิดได้อย่างชัดเจน ด้วยวิธีการนี้เราจะสังเกตเห็นความเป็นอิสระในความคิดของผู้มีธรรมะ ซึ่งธรรมะมิได้มีไว้เพื่อการสร้างกรอบของความคิดและชีวิตให้อยู่ในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งได้เลย หากแต่เป็นความเคลื่อนไหวอย่างผสมผสานสอดคล้องกับชีวิต และความรู้สํานึกคิดของจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสรีภาพและพลัง

       สมาธิจิต
      
       ภิกษุรูปหนึ่งมีวาทะกล่าวว่า : จงทําจิตให้นิ่งเหมือนนํ้าที่ปราศจากลม (พัด)
       Mache dein Herz ruhing wie Wasser ohne Wind
      
       หลวงปู่กล่าวว่า :"ถ้านํ้านิ่งแล้วมันจะสลายสสารได้อย่างไร"
      
       คํากล่าวของพระภิกษุในข้อความแรก ดูเหมือนจะเป็นข้อเสนอแนะถึงวิธีการปฎิบัติสมาธิภาวนา โดยมีสมมติฐานว่าสมาธิภาวนาคือ การทําจิตใจให้สงบเงียบ เฉกเช่นกับนํ้าที่นอนนิ่งไร้คลื่นลมรบกวน แต่คํากล่าวที่สอง เป็นการตั้งคําถามกับข้อความแรก เพื่อชี้ให้เห็นแง่มุมหนึ่งของสมาธิภาวนาที่ข้อความแรกมองข้ามไป นั่นคือคุณประโยชน์ของการเคลื่อนไหวและการกระทําหน้าที่ ฉะนั้นสมาธิภาวนาที่แท้ในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็คือสภาวะของความยืดหยุ่น และการเคลื่อนไหวของจิตใจที่พร้อมต่อการปฎิบัติภารกิจการงานอันเป็นหน้าที่ ที่ควรกระทําอย่างเตรียมพร้อมและมั่นใจ
      
       การปฎิบัติธรรม
      
       ภิกษุรูปหนึ่งมีวาทะกล่าวว่า : การปฎิบัติคือการไม่ปฎิบัติอะไร
      
       Die Ausubung der Praxis liegt im nicht Handeln.
      
       หลวงปู่กล่าวว่า : ถ้าไม่ปฎิบัติแล้วจะปฎิบัติทําไม
      
       วาทะแรกเป็นการนําเสนอ คําจํากัดความของการปฎิบัติธรรมโดย ใช้คําพูดแบบปฎิบท(Paradox) สําหรับข้อความปฏิบทนั้นเมื่อมองอย่างผิว เผินในตอนแรกคล้ายกับมีความขัดแย้งในตัวเองแต่เมื่อพิจารณาความ หมายให้ลึกซึ้งลงไปก็จะพบความจริงสมบรูณ์ปรากฎอยู่ซึ่ง ณ ที่นี้ ด้วยการ ใช้ถ้อยคําแบบปฎิบทดูราวกับวาทะแรกจะให้ข้อสรุปสุดท้ายว่า การปฎิบัติธรรมก็คือ การที่จิตใจ (อาจรวมถึงร่างกาย) อยู่นิ่งเฉยไม่ต้องทําอะไรทั้งสิ้น ทั้งนี้ภิกษุท่านนั้นคงมีข้อสรุปที่แฝงฝังอยู่ในใจเป็นข้อสรุปในเชิงอภิปรัช ณา(Metaphysics) เกี่ยวกับจิตเดิมแท้หรือสัจธรรมบางประการที่ถือว่าเป็นจริงอยู่แล้วไม่ต้อง ไปปฎิบัติการเพิ่มเติมอะไรให้กับสัจธรรมที่ว่านั่นอีก แต่วาทะที่สองเป็นการตั้งคําถามในเชิงปฎิบัติซึ่งอยู่ในโลกของการกระทํามิ ใช่อยู่ในโลกแห่งทฤษฎีที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการยึดถือแต่เพียงอย่างเดียวเป็นการถามหาสาระประโยชน์ของการกระทํา เพื่อการดํารงอยู่ในโลกปัจจุบันอย่างมีชีวิตชีวา และเคลื่อนไหวแล้วยังได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มิได้มีความหมายว่านัยยะเกี่ยวกับจิตเดิมแท้นั้น ไม่ถูกต้องเพียงแต่การกล่าวใน ลักษณะแรกอาจเป็นบทบัญญัติที่จํากัดความและตีกรอบชีวิตให้อยู่ใน เกณฑ์ และสกัดกั้นเสรีภาพในการทํา พูด คิด ให้ผูกติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อดูไปอาจคล้ายกับเครื่องจักรกลที่มิใช่ชีวิต
      
       การปล่อยวาง
      
       ภิกษุรูปหนึ่งมีวาทะกล่าวว่า : จงปล่อยธรรมชาติให้เป็นธรรมชาติอย่างที่เขามีเขาเป็น
      
       Lap die Natur ihren naturichen Lauf gehen
      
       หลวงปู่กล่าวว่า : ถ้ามีเรื่องยึดมันก็ต้องมีเรื่องบ่อย จากบทโต้ตอบ กระแสแห่งถ้อยคําแรกนําพาเราไปสู่กรอบของความคิดแห่งจิตใจแบบ "ปล่อยวาง" "ไม่กระทํา" หรือ "ไม่เกี่ยวข้อง" ราวกับว่าเมื่อปฎิบัติตามถ้อยความนั้นเราจะบรรลุถึงความเป็นเช่นนั้นเองของ ธรรมชาติ และสรรพสิ่ง อย่างไรก็ตามกระแสของคํากล่าวที่สองได้ทักท้วงและกระตุ้นเตือนเราว่า กรอบทางความคิดแห่งการการปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเองมีรากฐานมาจากการปฎิเส ธความยึดติดซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใต้รูปแบบใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งยังเป็นการกําจัดเสรีภาพแห่งการคิด และสติปัญญาไว้ภายใต้ข้อแม้บางอย่าง แม้ว่าข้อแม้นั้นจะดูราวกับว่ากว้างขวาง ใหญ่โต หรือให้เสรีภาพ แต่ก็ยังจัดเป็นเงื่อนไขแห่งความคิดและสติปัญญานั่นเอง ที่จริงแล้วเพียงแต่รู้เท่าทันค่ายกลทางความคิดทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ ทั้งยังยึดติดและการปล่อยวาง ย่อมบรรลุถึงการปลดปล่อยที่แท้ และอิสรภาพที่เป็นตัวชีวิตจริงๆ ย่อมปรากฎอย่างแน่นอน เห็นได้ชัดว่า วาทะของท่านแรกมีทัศนะแบ่งแยกจิตออกจากวัตถุ คํากล่าวนี้ชี้เป็นนัยว่าถ้าจะเกิดความสงบ จงแยกเอาจิตไว้ต่างหากอย่ายุ่งเกี่ยวกับวัตถุ ฉะนั้นถ้าหาข้อสรุปที่มีอยู่ในใจของผู้กล่าวข้อความแรกก็อาจเป็นไปได้ว่า ท่านผู้นี้ยึดถือจิตนิยม (ในความหมายของอัตตานิยมที่ซ่อนเร้นอยู่) และปฎิเสธให้วัตถุเป็นเรื่องรอง แม้จะไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่ายึดถือจิตในความหมายว่าเป็นตัวตนที่แท้และ เป็นบทหลักที่ต้องหวงแหนก็ตาม วาทะของหลวงปู่ได้แย้งวาทะของท่านแรก โดยสืบค้นเข้าไปในเชิงจิตวิทยาว่าถ้าจะให้จิตเป็นศูนย์กลางการคิดและการกระ ทําโดยมีฐานะเป็นผู้คิดผู้กระทําแล้ว จะให้อยู่แยกขาดจากสิ่งที่มารองรับการกระทําได้อย่างไร และบางทีการปฎิเสธสิ่งที่มารองรับการกระทําหรือวัตถุในแง่หนึ่งอาจเป็นการ หลอกตนเอง หรือฝืนความรู้สึกตนเองไม่ให้ไปนิยมวัตถุ ทั้งที่มีความปรารถนาอยู่ในใจ อย่างไรก็ตาม ภายหลังประโยคสุดท้าย เราอาจสรุปว่าเราควรจะ ปฎิเสธทั้งจิตและวัตถุ หรือ ยอมรับทั้งจิตและวัตถุหรือ ไม่ปฎิเสธ ไม่ยอมรับแต่รู้จักใช้สิ่งที่เรียกขานกันว่าคือ จิตและวัตถุ โดยมีบทรองรับที่หลวงปู่ได้แสดงได้ว่า
      
       "คนฉลาดใช้กิเลส คนโง่โดนกิเลสใช้"
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ เราคงรู้สึกได้ว่า ท่านผู้กล่าวสองประโยคแรกมีความรู้สึกรุนแรงต่อการยอมรับ และปฎิเสธในวัตถุแต่สําหรับประโยคสุดท้ายคล้ายกับจะเตือนด้วยความเอื้ออารี ว่า นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะยังมีการยอมรับในจิตของตน ยังมีความรู้สึกว่ามีตัวตนอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้หมุนวนอยู่ในโลกแห่งความคิดความสับสนในการยอมรับและปฎิเสธ นั่นไม่ใช่ของวิเศษในพระศาสนาซึ่งขัดกับหลักการแห่งพระศาสนาที่ทรงแสดงอนัต ตลักขณสูตรและสุญญตา
      
       มรดกที่พ่อมอบให้
      
       สาธุวันทาคุณบิดามารดา สาธุวันทาคุณครูบาอาจารย์ ในตัวบทต่อไปนี้ เราจะได้เห็นการแสดงธรรมชาติอันบริสุทธิ์ในอีกแง่มุมหนึ่งของท่านผู้เฒ่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่แนบแน่นบริสุทธิ์และเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม ของครูที่มีต่อลูกศิษย์ในภารกิจของการปลุกจิตวิญญาณให้ตื่นขึ้นด้วยคําพรํา สอนที่เรียบง่าย และพื้นๆเป็นอย่างยิ่ง ความผูกพันเช่นนี้เป็นลักษณะสําคัญที่ดํารงอยู่ในพุทธวัฒนธรรมทั่วโลกมาช้า นาน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะสําคัญประการหนึ่งของการธํารงไว้ ซึ่งพุทธศาสนาในฐานะตัวชีวิตและวิถีปฎิบัติอันเที่ยงตรงของชีวิตประจําวัน ในอารยธรรมของชาวพุทธทั่วประเทศไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมทางภูมิปัญญา หรือศาสนพิธีอื่นๆ ครูในความหมายและความรู้สึกของชาวพุทธจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยอด กัลยาณมิตร หรือเป็นรุ่งอรุณของเส้นทางสายอารยะ
      
       ครูและศิษย์
      
       ลูกรัก ครูที่ดีไม่ต้องการศิษย์ ควรจะเป็นศิษย์ที่ดีต่างหากที่ต้องการครู ควรจะมีการทดสอบกําลังใจและความอดทน เพียรพยายามดูกันหน่อย ก่อนที่จะเรียนรู้ เมื่อครูที่ดีมีศิษย์แล้ว ทุกอย่างจะต้องเป็นเส้นตรง จะคดโค้งเปรอะเปื้อนบิดเบือนมิได้ มันจะเป็นผลให้ศิษย์ที่ดีได้ดีจริงๆ ควรขยําขยี้ทุกกรรมวิธีจนกว่าศิษย์จะได้ดี ศิษย์ที่ดีจงสํานึกไว้เถอะว่าระเบียบปฎิบัติอันเคร่งครัด เข้มงวดหยุมหยิม ยุบยิบ เล็กน้อย นั้นสามารถปลุกให้ท่านตื่นอยู่เสมอถ้าหากปฎิบัติด้วยใจ
      
       อริยกันตศีล
      
       ลูกรัก
       การค้นหาตัวเจ้าเอง เป็นกิจเบื้องต้นของศาสนธรรมนี้ เจ้าจะต้องประพฤติให้อยู่ในอริยกันตศีลให้จงได้ เจ้ารู้ไหมว่าอริยกันตศีล คือ ศีลที่พระอริยเจ้าพอใจนั้น มันจะต้องเกิดมาจากใจที่ไร้ความปรุงแต่ง และคราใดที่ลูกทําได้ ครานั้นเจ้าจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงธรรมชาติแห่ง
      
       จักรวาลและนิพพาน ลูกรักเจ้ารู้ไหมว่า วิธีรักษาศีล อริยกันตศีลนั้นเขาทํากันอย่างไร โดยที่ไม่เกิดความรู้สึกยากลําบาก วิธีก็คือ เจ้าจะต้องเรียนรู้ศึกษาสรรพสิ่งรวมทั้งตัวเจ้าเอง ให้ลึกซึ้งแจ่มแจ้งว่า เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ดํารงอยู่เพราะปัจจัยอะไร สุดท้ายมีสภาพเช่นไร
      
       เมื่อเจ้าเรียนรู้แจ่มแจ้งได้ดังนี้ มันจะทําให้เจ้ามิกล้ากระทําต่อสิ่งที่ล่วงเกิน ละเมิดต่อศีลทุกๆข้อ ถ้าเจ้าทําถูก ก็คือการที่เข้าใจต่อสรรพสิ่งนั่นแหละ มันจะทําให้เจ้ารักษาอริยกันตศีลไปโดยปริยาย ถ้าเจ้าต้องการที่จะเป็นผู้มีอริยกันตศีลแล้วช้อแรกจะต้องเข้าใจเรื่องการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับของทุกสรรพสิ่ง ให้ถึงถ่องแท้เสียก่อน ถ้าสามารถเข้าใจได้ก็สามารถที่จะมีศีลอันพระอริยเจ้าชอบใจได้
      
       การฝึกตน
      
       ลูกรัก เจ้าจะต้องให้ครูผู้ยิ่งใหญ่ได้รู้ว่า เจ้าพร้อมต่อทุกวิถีทางที่จะให้ครูผู้มีใจอารีอบรม ขุดขัดปัดเงาให้เจ้าสดใสขึ้นมาได้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ครั้งแรกต่อบททดสอบ มันอาจจะดูยากเย็นและลําบากต่อเจ้าและถ้าเจ้าทนต่อบททดสอบนั้นๆ มันมิใช่เป็นเรื่องแปลกแต่สําหรับพ่อนั้นกลับคิดว่า มันกลับเป็นบททดสอบอันสุดวิเศษว่า เจ้าจะเป็นคนจริง และกล้าหาญเพียงใดมันขึ้นอยู่กับว่าเจ้าจะล้มเลิกมันหรือเริ่มต้นมันขึ้นมา ใหม่ ศิษย์ที่ดี ควรจะทําทุกวิถีทางเพื่อให้ครูได้ทราบว่าเขาพร้อมทุกอย่างและทุกวิถีทางโดย ไม่จํากัดวิธีการ ขอเพียงวิธีนั้นๆมักจะทําให้เขากลับสู่ความเป็น "เอกบุรุษ" คือการทําความรู้จักตัวตน ถึงแม้จะต้องป่นอวัยวะทุกชิ้นของตนเพื่อค้นหาก็ต้องยอม
      
       พระบริสุทธิธรรม
      
       ลูกรัก อริยธรรม สัจธรรม พระบริสุทธิธรรมเจ้าจักเข้าถึงมันได้ต่อเมื่อใดที่เจ้าค้นหาตัวเองแท้ให้พบ เสียก่อน เจ้าจักสําคัญความนี้ไฉน ความไม่รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเหตุให้เกิดความปรุงแต่ง ความปรุงแต่งเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ตัณหาอุปปาทาน กิเลส ตัณหา อุปปาทาน ก้คือ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง และการยึดถือ ถ้าเจ้าถามพ่อว่า ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลงมีตัวตนหรือไม่ พ่อกต้องตอบว่ามันมิได้มีตัวตน
      
       การเรียนรู้ทางวิญญาณ
      
       ลูกรัก ถ้าเจ้าจะขอร้องให้พ่อสอนเจ้าในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบจิตและขอให้พ่อ สอนอย่างมีระบบ พ่อคิดตามภาษาคนโง่ว่าจากการที่พ่อมีประสบการณ์ทางจิตที่ผ่านมาพ่อมิได้ เรียนรู้เรื่องจิตจากเกณฑ์กติกาอะไร เพียงแต่พ่อพยายาม จัดระเบียบของกายตนเองให้เป็นระบบของใจ แล้วคอยสังเกตถึงสภาวะความเป็นไป ในขณะเดียวกันพ่อก็พยายามชําระความสกปรกโสโครกที่เกิดขึ้นกับตัวพ่อเองและใจ ของพ่อ โดยการเฝ้าสังเกตและคอยแยกแยะ ทดสอบ พิสูจน์ ทราบว่าสิ่งนั้นๆ มันเป็นอะไร เป็นความรู้สึกหรือความต้องการของสภาวะแท้จริงล้วนๆ หรือไม่ ถ้าไม่ใช่พ่อก็จะกําจัดออกทันทีหรือไม่ทําตามที่มันต้องการ วิธีชําระล้างอีกวิธีหนึ่ง คือ พ่อพยายามคอยหยั่งความรู้สึกลงไปภายในกายลึกๆ อยู่ตลอดเวลา จนมันสนิทแนบแน่นโดยการพิจารณาสภาพร่างกายอย่างละเอียดถี่ถ้วน ต้องให้เจ้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง
      
       กติกาแบบธรรมชาติ
      
       ลูกรัก เวลาใดที่เจ้าต้องการจะชําระล้างร่างกาย เวลานั้นเจ้าจะต้องชําระล้างร่างกายด้วยจิตใจที่จดจ่อ ในขณะนั้นเจ้าควรพิจารณาด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภาระที่เจ้าจะต้องทํามัน อย่างไม่มีวันหยุด ถ้าตราบใดที่เจ้ายังไม่สามารถถ่องแท้ต่อตัวเจ้าเองและธรรมชาติ จงใช้ชีวิต วิญญาณด้วยความประหยัดต่อของเครื่องใช้ทุกสรรพสิ่งและเต็มเปี่ยมไปด้วย ประโยชน์
      
       เมื่อถึงเวลากิน จงกินให้อิ่ม
      
       เมื่อถึงเวลาทํา จงทําทุกอย่างให้เต็มที่
      
       เมื่อถึงเวลานอน จงนอนให้เต็มที่
      
       และเมื่อถึงเวลา "ตื่น" จงตื่น
      
       ตื่น และตื่น จริงๆ
      
       การกราบไหว้พระในยามเช้า
      
       ลูกรัก การที่พ่อปลุกเจ้าให้ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ตอนเช้ามืด ในเวลาที่อากาศเหน็บหนาว ด้วยจิตใจที่จดจ่อ ก็เพื่อต้องการให้เจ้ามีการจัดระเบียบของจิตตนให้ตื่นขึ้นมา และจะได้ทําหน้าที่ของสังคมชาวอริยะได้ดี ตลอดทั้งวันอย่างมีประสิทธิภาพ สําหรับผู้ตื่น ถ้าคิดจะไหว้หระก็ไหว้โดยมิได้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ สักการะกราบไหว้เพราะเป็นตัวอย่างของผู้รู้ ผู้ตื่น และเบิกบาน แต่สําหรับผู้ใหม่ ถือว่าการทําความเคารพกราบไหว้เป็นการฝึกปรือความอ่อนน้อมไปในที
      
       ลูกรัก จงอย่าทําลายเพื่อการพัฒนา สําหรับความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติแล้วจงให้ความเอาใจใส่ต่อมันในระยะแรกของ การเรียนรู้ ไม่ว่าคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือของพ่อจะวิเศษพิศดารขนาดไหนมันจะไม่มีประโยชน์เอาเสียเลยถ้าเจ้าไม่นํา ไปประพฤติปฎิบัติ
      
       สืบทอดจิตวิญญาณของพุทธะผู้อิสระ
      
       ความอ่อนน้อมถ่อมตน หลวงปู่เคยกล่าว เจ้าจักสําคัญ ข้อความโบราณนี้เป็นไฉน รวงข้าวยิ่งสุกก็ยิ่งอ่อนน้อม
      
       ความปริศนาข้อนี้ชวนให้เราหันมามองดูธรรมชาติเล็กๆ เพื่อเป็นบทเรียนเทียบเคียงกับจริยปฎิบัติในชีวิตประจําวันของเราเมื่อเรา พิจารณาดูสภาวะของต้นข้าวที่ยังเป็นต้นอ่อนเราจะพบว่ามันพากันแทงยอดชูขึ้น หาแสงแดด แต่เมื่อมันสุกพร้อมต่อการเก็บเกี่ยวมันจะค้อมตําลงดูราวกับน้อมรับการเก็บ เกี่ยวที่จะมาถึง เฉกเช่นมนุษยที่พัฒนาตนจนมีวุฒิภาวะเต็มเปี่ยม พร้อมที่จะบําเพ็ญประโยขน์เพื่อผู้อื่นและสรรพสัตว์ จะมีตนอันเสมอด้วยแผ่นดินอันมีลักษณะของการเป็นรากฐานรองรับสรรพสิ่งผู้ที่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนนี้มิได้มีจุดยืนอยู่ที่ตนเองเป็นใหญ่ จึงไม่มีความทะยานอยาก หรืออาการแก่งแย่งช่วงชิงเพื่ออยู่เหนือผู้อื่นด้วยเหตุนี้ จึงมีความพร้อมต่อการพัฒนาคุณธรรมข้ออื่นๆ จึงมีคํากล่าวของท่านผู้เฒ่า ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นรากเหง้าของ สัจธรรม อริยธรรม วิมุตติธรรม และบริสุทธิธรรม อย่างไรก็ตาม ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนละเรื่องกับความพินอบพิเทาเพื่อสยบยอมต่ออํานาจใดๆ หากแต่จุดยืนอยู่บนความอิสระความมั่นใจ และเปี่ยมด้วยพละกําลังของความดี
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ ถ้าจะมองกันอีกแง่มุมหนึ่ง การที่บุคคลมีชีวิตเพื่อเรียน เขียน อ่าน และท่องบ่น เพียงเพื่อจะถีบตนให้พ้นจากความอับจนทางปัญญา สุดท้ายก็จะพา ชีวิตเผชิญกับหลายสิ่งที่เหนือการคาดคิด ทั้งชนิดที่แรง หนักและเบา ถ้าหากทําตัวโง่เขลาเฝ้ายืนโดเด่นเป็นราศรีก็คงจะต้องเสียทีเพราะคลื่นลมแต่ ละทีมันรุนแรง คงต้องหักพังและโค่น หรือไม่ก็โยกโคนและโอนเอน อาจต้องเบี่ยงเบนกลายเป็นบ้า เพราะไม่บูชาความถ่อมตน
      
       ถิ่นที่อยู่
      
       มีผู้ถามว่า หลวงปู่พํานักอยู่ที่ไหน
      
       หลวงปู่ตอบ
      
       แผ่นดิน คือ พื้นห้อง
      
       ภูเขา คือ เสาเรือน
      
       ฟ้า คือ หลังคา
      
       นั่น คือ ที่อยู่ของข้า
      
       คําตอบของพระผู้เฒ่า แม้ดูราวกับท่านตอบคําถามนอกประเด็น ทว่าเมื่อพิเคราะห์พิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปกลับกลายเป็นการขยายกรอบความคิด และเป็นการตอบที่ให้ความหมายในมิติใหม่แก่คําถาม อันอาจจะนําพาผู้ฟังไปสู่บทสรุปใหม่ในทางคุณธรรม ในขณะเดียวกับที่สะท้อนถึงความกลมกลืนและความเป็นเอกภาพของธรรมชาติกับชีวิต จิตใจที่บริสุทธิ์เรียบง่าย เมื่อเราสังเกตธรรมชาติของแผ่นดินเราย่อมตระหนักถึงความหนักแน่นและความเป็น รากฐานอุ้มชูสิ่งทั้งปวง จึงเปรียบได้กับความโอบอ้อมอารีและความถ่อมตน ในขณะที่เราเพ่งพินิจภูเขาที่ยืนตระหง่าน เรายอมสัมผัสถึงความสงบนิ่งไม่หวั่นไหวต่อลมพายุสะท้อนถึงเอกัคตารมณ์ และอุเบกขาแห่งจิต เมื่อใดที่เรามองดูฟากฟ้า เราย่อมรู้สึกได้ถึงการปลดปล่อยและเสรีภาพที่ไร้ขอบเขตนําพาเราไปสู่ปัญญา บริสุทธิ์ และความหลุดพ้น ตําตอบของหลวงปู่ผู้เฒ่า จึงเป็นการสะท้อนความกลมกลืนกันของธรรมชาติ ภาวะการดํารงชีวิต จิตวิญญาณ และคุณธรรม
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ เราอาจมองได้อีกรูปแบบหนึ่งว่า เป็นการบอกกล่าวถึงคุณธรรมแห่งธรรมะที่มีอยู่กับผู้ใด เกิดกับผู้ใด ก็จะทําให้ผู้นั้นมีความรู้สึกกว้างขวางใหญ่โต มีสมรรถนะ เอกภาพ และมีคุณสมบัติในการใช้ชีวิตให้ผสมกลมกลืนกับ เอกภพ และจบลงตรงความเป็นอิสระอย่างไร้ที่อยู่จริงๆ
      
       ชีวิตกับความคาดหวัง
      
       ลูกรัก ผู้คนทั้งหลายที่มีชีวิตวันนี้ ก็เพื่อจะรอให้ถึงวันพรุ่งนี้ เพื่อให้ได้สิ่งที่คาดหวัง แต่สําหรับพ่อมีชีวิตอยู่ในวันนี้ มิใช่รอให้ถึงวันพรุ่งนี้(เหมือนกับเศร้า แต่มิใช่เศร้า) ชั่วชีวิตของพ่อ ไม่เคยมีวันข้างหน้าเลย
      
       ปุถุชน มีชีวิตเพื่อวันข้างหน้า เพราะมีความพร่องในวันนี้จึงแสวงหาความเต็มในวันพรุ่ง ผิดหรือถูก อริยชนมีชีวิตอยู่กับวันนี้ เพราะการกระทําในวันนี้มีคุณค่าสูงสุดบริบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง คําถามเรื่องสิ่งที่ดีกว่าจึงไม่จําเป็น จริงหรือไม่ จะผิดหรือถูกอยู่ที่ใจมนุษย์ อยากมีทุกข์หรือหลุดพ้น ปรารถนาจะอยู่ในโลกแห่งความจริงแท้หรือโลกแห่งความฝันตลอดกาลแล้วโลกใบไหน กันแน่ที่มีคุณค่าและความหมายสูงสุด ความทุกข์ทรมานมิได้เกิดขึ้นจากความคาดหวังหรอกหรือ
      
       ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย
      
       จะมีสักกี่คนที่มีชีวิตอยู่ได้
      
       อย่างไม่มีความหวัง
      
       ใครรู้ช่วยบอกทีว่า
      
       เหตใด ทําไม
      
       ต้นไม้จึงยืนตาย
      
       ด้วยมิใช่สายลมที่เคลื่อนไหวชั่วนิรันดร มิใช่คลื่นทะเลที่สาดซัดไม่รู้จบ หรือมิใช่ภูผาที่ตั้งตระหง่านเปี่ยมพลังอํานาจชีวิตตลอดกาลต้นไม้จึงยืนต้น ตาย เช่นนี้อาจเป็นเพราะขาดจิตวิญญาณแห่งการมีชีวิตอยู่อย่างรื่นเริงเบิกบาน และอาจหาญ เฉกเช่นลม คลื่น และหินผา
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ อาจเป็นไปได้ไหมว่า ความหมายของคําว่าต้นไม้ที่ยืนต้นตายจะสื่อให้เราทั้งหลายได้เข้าถึง ความเหือดแห้งสนิทของอารมณ์แห่งกาม ความยอมรับและปฎิเสธ เปรียบประดุจนํ้าหล่อเลี้ยงต้นไม้นั้น
      
       เป้าหมาย
      
       ลูกรัก บางทีพ่อก็ให้คําตอบแก่ตัวเองไม่ได้ว่าพ่อมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร (คนเราถ้ามีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นมากเกินไปก็ทําให้ไม่สามารถมองอะไรได้ออก)
      
       เมื่อหนึ่งสิ่งมลายหายไปหลายสิ่ง คําถามในเป้าหมายของหนึ่งสิ่งจึงกลับ กลายเป็นเป้าหมายของหลายสิ่ง เช่นนี้แล้วจะถามหาเป้าหมายของหนึ่งสิ่ง โดยมุ่งตรงไปหลายสิ่งได้อย่างไร ผู้ที่เข้าใจหลักของความสอดคล้องประสานสัมพันธ์ ของสรรพสิ่งย่อม ตระหนักรู้ว่าภาวะการดํารงอยู่ของตนเองอาจยังผลกระทบต่อสรรพสิ่ง ฉะนั้นทุกๆ ขณะ ทุกๆ บทบาท ทุกๆ ขั้นตอนของการกระทําย่อมคํานึงถึง ความเป็นทั้งหมด หรือที่เรียกว่าส่วนรวมอันได้แก่ คนอื่น และสิ่งอื่นแล้วย่อมจะดํารงเริ่มต้นของสันติภาพ และเสรีภาพที่แท้จริง
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ ในประโยคแรก คล้ายๆจะบอกให้เราได้รู้ว่า ผู้พูดได้รับประโยชน์และถึงแก่นสารสาระของชีวิตอย่างเต็มบริบูรณ์แล้ว จึงไม่รู้ว่าจักมีชีวิตเพื่ออะไรอีกต่อไป และถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็อาจมองได้ว่า เป็นคําเพ้อ ตัดพ้ออย่างท้อถอย ในความไม่มี ไม่ดี ไม่เต็ม และสิ้นหวังของชีวิต ประโยคที่สองคล้ายๆ กับจะบอกให้เราได้รู้ว่า การมีชีวิตเพื่ออะไร อะไรของ ผู้อื่นมากเกินไป มันก็อาจจะทําตนให้มีแต่ความเศร้าซึมและผิดหวังอย่างสาหัส ซึ่งเป็นอาการน่าเป็นห่วงก็ได้ ในทางกลับกัน การที่จะทําอะไรๆ เพื่อสิ่งอื่นของผู้อื่น มันอาจจะทําให้ตนลืมระแวดระวังในความผิดพลาดของตนเองก็ได้
      
       ความศักดิ์สิทธิ์
      
       ลูกรัก
      
       ความเห็นของพ่อมีว่า
      
       ถ้าความศักดิ์สิทธิ์ของ
      
       ดิน นํ้า ลม ไฟ และฟ้า
      
       มีอยู่จริง
      
       พ่อก็คิดว่า
      
       นกที่บินอยู่บนฟ้า
      
       ปลาที่อยู่ในนํ้า
      
       สัตว์ที่อยู่ในดิน
      
       มันคงจะไม่ลําบากขนาดนี้เป็นแน่
      
       วาทะข้างต้นเป็นถ้อยแถลงที่ชี้แสดงอย่างมีเมตตาธรรมให้เห็นว่ามีแต่ ผู้อ่อนแอ และโง่เขลาเท่านั้นที่ยังยึดถือพึ่งพิงความศักดิ์สิทธิ์ภายนอกตัว นก ปลา และสรรพสัตว์เป็นตัวแทนของอวิชชาหรือความไม่รู้ ส่วนดิน นํ้า ลม ไฟ เป็นตัวแทนสิ่งที่เป็นรูปธรรมมีตัวตนจับต้องได้อย่างเช่น ตัวบุคคลและวัตถุสิ่งของในขณะที่ฟ้าเป็นตัวแทนของนามธรรม อันได้แก่ หลักการ ลัทธิ ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งอํานาจ และอุดมการณ์ นับได้ว่าเป็นบทอุปมาที่ช่วยตักเตือนความรู้สึกที่ชอบบรวงสรวง อ้อนวอน หรือพึ่งพิงอิงแอบสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงและมั่นใจในชีวิต ของตนได้อย่างงดงามและครอบคลุมทุกรูปลักษณ์และแง่มุมของสิ่งที่ถูกยึดถือ พึ่งพิงจริงๆ
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ ดูเหมือนกับผู้เขียนจะบอกให้ชาวเราได้รู้ว่า อะไรคือความศักดิ์สิทธิ์ที่
      
       สามารถให้สรรพสัตว์ได้พึ่งพิงอิงแอบอาศัยได้อย่างดีเลิศ อะไร อะไร มันคืออะไรละ ใครรู้ช่วยชี้ให้ดูที
      
       ศีลธรรม
      
       ลูกรัก
      
       ถ้าเจ้าต้องการพ้นทุกข์
      
       ศีลธรรมไม่ทําให้คนพ้นทุกข์
      
       เพียงแต่ใจไม่ปรับปรุง
      
       ประตูของ
      
       ธรรมชาติ จักรวาล และนิพพาน
      
       ก็จะเปิดรับ
      
       ศีลธรรม (Morality) ครอบคลุมถึง แนวความคิด ความหมาย คุณค่า หรือแม้แต่ค่านิยมชุดใดชุดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ปฎิบัติต่อกันทั้ง ที่มี จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมในระดับหนึ่งซึ่งเหมาะกับ ยุคสมัยหนึ่งๆ อย่างไรก็ตามไม่ควรสําคัญผิดคิดว่าศีลธรรมเป็นที่พึ่งสูงสุด เป็นสิ่งสมบูรณ์เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตัวบทนี้ จึงเป็นคําเชื้อเชิญผู้ที่เคร่งครัด ในศีลธรรมจนกลายเป็นความเคร่งเครียดแก่ผู้พบเห็นให้หันกลับมาสัมผัสกับสภาวะ แท้ๆ ของธรรมชาติและจักรวาลที่ปลอดพ้นจากการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ให้กับจิตใจ และโดยนัยนี้คุณงามความดีอย่างเป็นธรรมชาติจะเกิดขึ้นมาเอง โดยที่ไม่จําเป็นต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรมใดๆ มาเป็นแม่แบบความประพฤติที่ตายตัว
      
       ความลับของถํ้า
      
       ครั้งหนึ่ง มีพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งพากันมากราบหลวงปู่
      
       หลวงปู่กล่าวว่า : พวกมึงมาทําไม
      
       มากราบหลวงปู่ครับ
      
       ทําไมต้องกราบด้วย
      
       .....เข้าไปอยู่ในถํ้า
      
       ชนส่วนมากพากันแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อจะใช้เป็นที่พึ่งพา หรือสักการะเพราะหวังว่าจะเป็นมงคลแก่ตน ท่านผู้เฒ่าเป็นผู้ตั้งคําถามต่อการกระทําเช่นนั้น พร้อมทั้งเผยแสดงแง่มุมของความศักดิ์สิทธิ์ชนิดใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับการกระ ทําภายนอก นั่นคือการสํารวจภายใน ด้วยความสงบเงียบและ ลึกลับของถํ้า เราจะได้ยินสรรพสําเนียงของความนึกคิด และจิตใจอุบัติขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าดังก้องโสตประสาทของเราอยู่ตลอดเวลา และเมื่อนั้นเราอาจค้นพบความโฉดเขลา ความหวาดวิตก หรือความชั่วร้ายทั้งหลาย ทั้งปวงซ่อนเร้น แฝงอยู่ภายใต้ม่านมายาแห่งความเป็นนักบุญของเรา และเมื่อเรารู้จักตนเองก็จะไม่มีการหลอกตัวเองอีกต่อไป เมื่อเมฆหมอก ร้ายกาจที่มาบดบังดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ได้เผยแสดงตนอย่างถึงที่สุด และได้ผ่านพ้นไปโดยเราไม่คิดจับฉวยมันไว้อีก ความสว่างไสว ความสดใส และความศักดิ์สิทธิ์ของดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์นั้นก็จะปรากฎแสดง ให้เราได้ชื่นชมและเมื่อเราออกมานอกถํ้าแล้ว เราคงกราบไหว้หลวงปู่ได้ด้วยใจที่สามารถเคารพในตัวเองได้และเมื่อนั้นหลวง ปู่คงกล่าวแก่เราว่า สาธุ เป็นแน่แท้
      
       บทวิจารณ์นอกแบบ การที่ราได้มีโอกาสได้นําพาตนเอง ให้เข้าไปซึมซาบความเยือกเย็น และVวามสงบของป่า เขา และคูถ้ำ เมื่อพาตนเองออกมาจากป่า เขา และคูถ้ำ มันจะทําให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างความมืดกับความสว่าง ความสดชื่นกับความสับสน ความสะอาดกับความสกปรก มันอาจทำให้เราคิดตก ปลงได้ และรู้จักเลือกอะไรอะไรที่ดีกว่า เพื่อนําพาสิ่งที่ดีๆ อันนั้นให้แก่ตนเองโดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นชี้แนะ เช่นนี้หรือเปล่านะที่เขาเรียกว่า ประสบการณ์ทางวิญญาณธรรมชาติ
      
       ความเสียสละ
      
       ความเสียสละและให้อภัย
      
       ศัตรูของคุณธรรม
      
       สัจธรรม อริยธรรม
      
       ได้เป็นอย่างดีทีเดียว
      
       และยังช่วยให้เรา
      
       ได้ทําหน้าที่อยู่ในโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์
      
       ทั้งยังเพิ่มพูนความสุข
      
       บางที บางครั้ง ทุกที่ ทุกครั้ง
      
       มันก็ยังช่วย ปลด
      
       ความเป็นทาสของวัตถุและอารมณ์ได้อีกด้วย
      
       การฝึกหัดให้เป็นผู้ที่รู้จักเสียสละและให้อภัยเท่ากับเป็นการขจัด ความเห็นแก่ตัว หรือความยึดถือในตัวตนไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการทําลายรากเหง้าที่เป็นอุปสรรคต่อธรรมปฎิบัติขั้นที่สูงขึ้นไป เราจึงไม่ควรมองข้ามVข้อธรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจําวัน หลายคนมุ่งศึกษาหัวข้อธรรมขั้นสูง ที่ถือกันว่าเป็นปรมัตถ์จนละเลยข้อธรรมที่ดูเป็นเรื่องพื้นๆ ง่ายๆ นี้เองที่เป็นรากฐานและบางครั้งเป็นตัวพิสูจน์ หรือเป็นประกันความมีอยู่ของสิ่งที่คน ทั่วไปเห็นว่ายิ่งใหญ่กว่า
      
       เมฆหมอกและสายนํ้า
      
       ลูกรัก
      
       เจ้าต้องทําให้ชีวิต
      
       เหมือนกับ
      
       เมฆหมอกที่กําลังเคลื่อนตัว
      
       หรือสายน้ำที่กําลังไหลริน
      
       คุณลักษณะประจําตัวของเมฆหมอกที่กําลังเคลื่อนไหว และสายน้ำที่กําลังไหลริน คือ ความฉ่ำเย็น ความเคลื่อนไหว และการปรับเปลี่ยนรูป เทียบเคียงได้กับบุคคลที่ดํารงชีวิตด้วยความเยือกเย็นอ่อนโยนและยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนได้อย่างเหมาะเจาะ และราบรื่นสอดคล้องกับบริบทแห่งกาลเวลา และยุคสมัยที่ผันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ได้ เช่นนี้จึงจักถือว่าเขาใช้พลังของชีวิตให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อตน และโลก
      
       ความคิดและการกระทํา
      
       มีตาหลานคู่หนึ่งพายเรือไปกลางทะเล
      
       ตาก็ชี้ให้หลานดูว่ามีรูรั่วหนึ่งรู น้ำเข้าแล้ว
      
       หลานก็บอกว่าไม่เป็นไร แล้วก็พายต่อไป
      
       ครั้งที่สอง ตาก็ชี้ให้หลานดูอีกว่าเรือรั่วอีกแล้ว
      
       หลานก็บอกว่าไม่เป็นไร
      
       ครั้งที่สาม สี่ ห้า หก ผ่านไป
      
       ในที่สุด น้ำทะเลก็เข้ามา
      
       ครั้นลําเรือยากแก่การแก้ไข
      
       เรือก็ล่ม จมทั้งหลานและตา
      
       นิทานข้างต้นสอนถึง การรีรอเพิกเฉยต่อสิ่งที่เป็นโทษ ไม่รีบขจัดให้หมดสิ้น ในที่สุดความเกียจคร้านเฉยเมยก็ทําให้ปัญหาสะสมเพิ่มพูน จนสุดท้ายก็ ไม่รู้ว่าจะดับหรือขจัดที่ตรงไหน เพราะมันมีรอยรั่วไปหมด ครั้นแก้ไขอะไร ไม่ได้อีกต่อไปความวิบัติหายนะก็เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาบทเปรียบเทียบนี้จะพบว่า ตาเปรียบเสมือนปัญญาความรู้หรือความพินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญ หลานเปรียบเสมือนพละกําลังของ การกระทําและเจตจํานงความตั้งใจ เรือเปรียบเสมือนการดําเนินชีวิต ทะเลเปรียบเสมือนอุปสรรคและความไม่แน่นอนหรือแม้กระทั่งวัฏสงสาร เมื่อการกระทําไม่สอดคล้องกับหลักเหตุผล ปัญหาจึงไม่ได้รักการแก้ไขความล่มจมก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
      
       ความแปรปรวน
      
       สรรพสิ่งเริ่มประปราย
      
       ดารารายเปลี่ยนวิถี
      
       ทะเลลึกเนิ่นนานปี
      
       มาวันนี้กลายเป็นสูง
      
       สภาวะและธรรมชาติอันบริสุทธิ์
      
       วิชชานิรรูป พลังอํานาจของความรู้ในวิชชานิรรูป ถือเป็นสภาวะธรรมชาติประการหนึ่งที่ปรากฎแสดงออกจากแก่นแท้ของวิญญาณของ พุทธะผู้อิสระ เป็นพลังที่นํามาใช้เพื่อการตัดและขจัด เพื่อการปลดปล่อย และละวางความทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง ยังผลให้ผู้ที่ฝึกฝนสามารถลุถึงความเป็นไท หรือ อิสรภาพอันยิ่งใหญ่ ความสงบ อันเป็น การแสดงออกถึงพลังใจที่ศานติ และอิสระอย่างไร้ขอบเขต กลบทต่อไปนี้ คือ วาทะที่สื่อแสดงถึงพลังนิรรูป ซึ่งจักต้องถูกอ่านด้วยจิตใจของเสรีชนอันเปิดกว้าง เพื่อการตื่นขึ้นอย่างหมดจดและงดงาม
      
       ไขปริศนาสู่วิชชานิรรูป "จงนึกถึงความอัศจรรย์ของสภาวะที่ปราศจากความคิดและติดตาม ร่องรอยของมันเข้าไปจนถึงแสงสว่างแห่งจิตอันไม่มีที่สิ้นสุดขณะที่ความคิด หยุดลงและกลับสู่ต้นตอของมัน ธรรมชาติและปรากฎการณ์จะคงอยู่ ตลอดไป ความจริงและเหตุการณ์จะคงอยู่ตลอดไปความจริงและเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ถูกแบ่งแยก ณ ที่นั้น เป็นที่อยู่ของใคร ใคร"
      
       การตื่นขึ้นของพลังชีวิต
      
       การกระทําจิตให้ละเอียด
      
       กายจะต้องละเอียดก่อน
      
       การกระทํากายให้ละเอียด
      
       ต้องทําประสาทสัมผัสให้ละเอียด
      
       ความงดงามของอิสรภาพ
      
       ทําใจให้สอดคล้องผสมผสาน
      
       เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
      
       และจงแสดงความเป็นอิสระ
      
       ต่อ ธรรมชาติ
      
       หรือ
      
       ปล่อย ว่าง ละ เว้น
      
       ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน
      
       ย่อมไม่มีการแสดงออก
      
       ความกลมกลืน
      
       มองฟ้าให้กว้าง
      
       มองโลกให้สดใส
      
       มองลมที่เคลื่อนไหว
      
       แล้วทําใจให้เป็นสุข
      
       นิรันดรภาพแห่งจิต
      
       จิตที่สิ้นอดีต ไร้อนาคต
      
       จิตก็ปรากฎแต่ปัจจุบัน
      
       สิ่งที่ปรากฎ คือ ไร้รูป
      
       ไร้ลักษณ์ ไร้ร่องรอย ไร้อารมณ์
      
       คงไว้แต่สันติสุขสงบเท่านั้น
      
       สมาธิแบบธรรมชาติ
      
       ไม่ถูกอารมณ์ดึงดูด
      
       ไม่มีความคิดแตกแยก
      
       มีตัวรู้บรรลุความเป็นไท
      
       หรือ
      
       กําจัดขยะของเก่าทิ้ง
      
       ไม่เพิ่มขยะกองใหม่
      
       ของดีที่มีอยู่แล้ว
      
       ก็จักผ่องใส
      
       เคล็ดวิชามาร
      
       เบื้องต้น....
      
       จง ทําให้เหมือนกับดาบที่อยู่ในฝัก
      
       จง ลับดาบให้คมกริบ
      
       จง ถือดาบนั้นกวัดไกว่ไปมา
      
       ขั้นที่ห้า
      
       ใช้ดาบนั้นทําลายศัตรู
      
       เมื่อ ศัตรูหมดไป
      
       ความเป็นไทก็เกิดขึ้น
      
       ธรรมชาติของจักรวาลและจิต
      
       สิ่งเดียวแยกเป็นหลายสิ่ง
      
       หลายสิ่งรวมเป็นหนึ่งเดียว
      
       ทําหนึ่งเดียวให้แยกเป็นหลายสิ่ง
      
       ทําหลายสิ่งให้รวมเป็นสิ่งเดียว
      
       ความซาบซึ้งในบทกวี
      
       ลูกรัก
      
       คราหนึ่ง ขณะที่พ่อพักอยู่ที่ถ้ำรังเสือ มีนักศึกษาธรรมสามท่านกําลังท่องบทกวีไฮกุอยู่
      
       คนแรกท่องว่า สายลมเย็นพัดผ่าน เสียงกระซิบแผ่วในดงสน อบอวลในอากาศ
      
       คนที่สองท่องว่า ทุกสิ่งถูกพัดหาย แม้กระทั่งข้าและหมูป่า จากลมฤดูหนาว
      
       คนที่สามกล่าวว่า ผีเสื้อน้อยสองตัว พากันเริงร่าในอากาศ จนเป็นสีขาวคู่
      
       พ่อจึงหยิบแก้วที่มีน้ำโยนลงพื้น แล้วร้องบอกว่า
      
       ล่องลอย
      
       หลุกหลิก
      
       ลิงลม
      
       ...เพ้อฝัน
      
       เจ้าจักเพ้อฝันกันอีกนานไหมน