มหาประเทศ ๔ ต้องใช้คู่กับขบวนการตัดสินพระธรรมวินัย ๑๐ ประการ
๑. สังฆะสุฏฐุตายะ : ต้องเป็นไปเพื่อความดีงามของหมู่คณะ
๒. สังฆะผาสุตายะ : เพื่อความปลอดภัย ผ่อนคลาย สุขสำราญของหมู่
๓.ทุมมังกูนัง ปุคคะลานัง นิคคะหายะ: เพื่อกำจัดบุคคลเก้อยาก (หน้าด้าน, ไม่ละอาย) ไร้สำนึก ขาดความรับผิดชอบ
๔.เปสะลานัง ภิกขูนัง ผาสุวิหารายะ : เพื่อความอยู่เย็นผาสุกของเพื่อนสหธรรมิกผู้มีศีล
๕.ทิฏฐะธัมมิกานัง อาสะวานัง สังวะรายะ: เพื่อสำรอกอาสวะ(กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต) ให้เบาบางลง
๖.สัมปะรายิกานัง อาสะวานัง ปะฏิฆาตายะ: เพื่อระมัดระวังมิให้อาสวะ ที่ยังไม่เกิด จงอย่าได้เกิด และกำจัดอาสวะที่เกิดแล้วให้เสื่อมไป
๗. อัปปะสันนานัง ปะสาทายะ : เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. ปะสันนานัง ภิยโยภาวายะ: เพื่อความเจริญยิ่งๆ ของผู้เลื่อมใสแล้ว
๙.สัทธัมมัฏฐิติยา : เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม (ธรรมอันดี)
๑๐. วินะยานุคคะหายะ : เพื่อเอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย ให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคง
 
อีกทั้งยังต้องให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ในการเข้ามาบวชและปฏิบัติทั้ง ๘ ดังนี้
๑.วิราคะ ความคลายกำหนัด ไม่ติดพัน
๒.วิสังโยค ความพ้นจากเครื่องผูกรัดทั้งปวง
๓.อปจยะ ความไม่พอกพูนกิเลส
๔.อัปปิจฉตา ความมักน้อย
๕.สันตุฏฐี ความสันโดษ ยินดีในสิ่งที่มีที่ได้
๖.ปวิเวก ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่คณะ
๗.วิริยารัมภะ เป็นไปเพื่อการประกอบความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้น
๘.สุภาตา ความเป็นคนเลี้ยงง่าย
สรุปความได้ว่า มหาประเทศไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพระธรรม หรือ ฝ่ายพระวินัย ใครจะตีความอย่างไร ต้องเป็นไปตามขบวนการตัดสินว่าอะไรเป็นธรรม อะไรเป็นวินัยทั้ง ๑๐ ประการ
อีกทั้งยังต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของพระธรรมวินัยทั้ง ๘ ประการ
จะผิดเพี้ยนไปจากหลักดังกล่าวมานี้ไม่ได้เด็ดขาด
 
พุทธะอิสระ