ขออธิบายที่มีคำถามเข้ามาเรื่องลัทธินอกพุทธศาสนา มีอะไรบ้าง
เพิ่มเติมในประเด็นคำตอบที่ได้ตอบไปแล้วว่า “แม้ความเชื่อกรรมก็เป็นลัทธินอกพุทธศาสนาด้วย”
พอตอบไปเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ไม่ศึกษาหรือศึกษา โดยไม่กระจ่างจะเข้าใจไขว้เขว คลาดเคลื่อนแล้วสงสัยว่า
ทำไมพุทธะอิสระถึงได้ตอบว่า ความเชื่อกรรมเป็นความเชื่อนอกพุทธศาสนา
เพราะเหล่าพุทธบริษัทก็ถูกสอนกันมาว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ เป็นต้น
แล้วทำไมพุทธะอิสระยังกล้าพูด กล้าอธิบายว่า การเชื่อเรื่องกรรมเป็นความเชื่อนอกศาสนาอีกเล่า
อธิบายว่า กรรมที่พระพุทธศาสนาสอนไม่ใช่ให้คนเชื่อ แล้วปล่อยชีวิตเป็นไปตามกรรม โดยไม่ขวนขวาย ไม่มุ่งมั่นพัฒนา เฉกเช่น ผู้ที่ยอมรับชะตากรรม โดยไม่คิดจะทำอะไร
ในพระพุทธศาสนาสอนให้ศึกษากรรมโดยแบ่งกรรมและการให้ผลของกรรมไว้ ๑๒ ลักษณะ
๑. ชนกกรรม กรรมที่นำมาให้เกิดหรือกรรมที่ตกแต่งให้เกิด หาได้เกิดในชาติภพอย่างเดียวไม่ แม้ก่อกำเนิดให้เกิดกรรมทางกาย วาจา และใจ ทั้งในทางดีและชั่วได้ด้วย
๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่คอยสนับสนุน เลี้ยงดู รวมทั้งให้การอุปถัมภ์ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ให้ส่งผลอย่างสม่ำเสมอ
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมที่บีบคั้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ทำหน้าที่บีบคั้นจากชั่วให้เป็นดี และบีบคั้นจากดีกลายเป็นชั่ว รวมทั้งบีบคั้นให้ไม่ได้ ไม่ชั่ว เป็นกลางๆ ได้ด้วย
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่กัดกร่อน ตัดรอนในทุกกรรม ไม่ว่าจะดีหรือเลว โดยไม่มีกาลเวลา แม้ที่สุดกำลังจะดี ก็ทำให้ตายได้ด้วย
ตั้งแต่ข้อ ๑-๔ เป็นกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
๕. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน หมายรวมไปถึงปัจจุบันขณะด้วย ซึ่งก็มีทั้งกรรมดีและกรรมเลว และวางเฉย
๖. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในอนาคต หมายถึง นาทีหน้าและ ชั่วโมงต่อๆ ไปจนถึงวันต่อๆ ไป เดือนต่อไปและปีต่อๆ ไป
๗. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในภพภูมิต่อๆ ไป ซึ่งถูกส่งผลต่อเนื่องมาจากอุปปัชชเวทนียกรรม จนปรากฏในภพภูมิต่อๆ ไป
๘. อโหสิกรรม กรรมที่ล้มเลิกการให้ผล หรือกรรมที่หยุดยั้งการให้ผล
กรรมตั้งแต่ ๕ - ๘ นี้ผลัดกันให้ผลต่างเวลาไป
๙. ครุกรรม กรรมอันหนัก ซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล เช่น พัฒนาตนจนได้เป็นพระอริยเจ้า หรือทำร้ายพระอรหันต์ เป็นต้น
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำซ้ำๆ อย่างเดียวกันเป็นเวลานานๆ จนมีผลเทียบชั้นครุกรรมทีเดียว
๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่เฉียดฉิว หรือ กรรมจวนเจียน หรือที่เรียกว่า เกือบไปแล้ว เช่น พฤติกรรมที่เสี่ยงตาย หรือ ลุ้นเลขหวยแล้วเฉียดฉิวใกล้ถูก แต่สุดท้ายมันก็ไกลเกินฝัน
๑๒. กตัตตากรรม กรรมที่กระทำโดยมิได้ตั้งใจ หรือทำด้วยเจตนาอันอ่อน กตัตตากรรมนี้จะให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมใดให้ผลแล้วจึงจะได้รับผลของกรรมนี้ เช่น กรณีพุทธะอิสระ เป็นต้น
กรรมตั้งแต่ข้อ ๙ ถึงข้อ ๑๒ จะให้ผลไปตามความหนัก ความรุนแรงที่ได้กระทำ
เมื่อศึกษาในกรรม ๑๒ จนแตกฉานแล้ว เราท่านทั้งหลายจะเห็นว่า กระบวนการแห่งกรรมหาได้ทำให้เราไม่ขวนขวาย หรือปล่อยชีวิตให้มันเป็นไปตามยถากรรม
แต่มันมีการบริหารจัดการ เลือกสรรกระทำกรรมที่เป็นคุณประโยชน์ที่ดีที่สุด จักได้รับผลในทางดีงาม
แต่หากปล่อยชีวิตให้มันเป็นไปตามยถากรรม ตามความเชื่อเรื่องกรรมของลัทธินอกพุทธศาสนา มันจะเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ที่ตกลงน้ำแล้วไม่ขวนขวายแหวกว่ายเข้าฝั่ง รอให้น้ำพัดพาเข้าฝั่งเอง สุดท้ายก็หมดแรงจมน้ำตายในที่สุด
ฉะนั้นการเชื่อกรรมในทางผิดๆ มันจะทำให้ผู้เชื่อกลายเป็นคนไร้สาระ ไร้ประโยชน์ ไร้เหตุ ไร้ผล เป็นโมฆบุรุษ โมฆสตรีหาประโยชน์มิได้
วิสัจฉนาเรื่องกรรมก็ขอจบลงไว้แต่เพียงเท่านี้
เพราะหากจะอธิบายขยายความ เรื่องกรรมให้กระจ่างกว่านี้ ก็ต้องลงลึกไปถึง
ทุกเรื่องที่คิดเป็นกรรม
ทุกคำที่พูดเป็นกรรม
ทุกสิ่งที่ทำก็เป็นกรรมทั้งนั้น
ขึ้นอยู่ที่ว่าจะเลือกคิด พูด ทำ กรรมดีหรือกรรมเลวหรือเฉยๆ
จบแล้วนะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
Question and Answer
March 2, 2022
Someone has asked me the question, “which doctrines are not a part of Buddhism?”
I have answered, “even the belief about Karma (deed) is also deemed as a doctrine outside Buddhism.”
People who have never studied or have not thoroughly studied Buddhism would doubt why I said the belief about Karma is a doctrine outside Buddhism.
Because Buddhists are taught that living creatures are destined by their own Karma (deeds), and deeds classify living creatures (What goes around, comes around.)
How could Buddha Isara dare to say and explain that the belief about Karma (deed) is also deemed as a doctrine outside Buddhism?
My explanation is that Buddhism does not teach people to believe in Karma and let go of their lives, without any perseverance to develop themselves. Buddhism does not teach people to accept their fates without doing anything.
Buddhism informs people to study Karma and classify Karma and its outcomes in 12 characteristics.
1. Regenerative Karma-Karma that causes rebirth, not only new lives, but also new actions, speech, and thoughts, both good and bad ways.
2. Supportive Karma-Karma that supports and nourishes both good and bad deeds to consistently bring about outcomes.
3. Obstructive Karma-Karma that forces and brings about changes from bad to good and from good to bad. It also forces and brings about an outcome that is neither good nor bad, just mediocre as well.
4. Destructive Karma-Karma that erodes and terminates every karma, whether
good or bad. Even when one’s life gets better, it can also cause death.
The first to fourth Karma yield outcomes according to their duties.
5. Karma ripening during the lifetime-Karma that results in outcomes in one’s life, including the current moment. This includes good deeds, bad deeds, and
mediocre deeds.
6. Subsequently Effective Karma-Karma that yields outcomes in the future. Future here means next minutes, next hours, next days, next months, and next years.
7. Indefinitely Effective Karma-Karma that yields results in the next lives. The outcomes are continuous from the Subsequently Effective Karma.
8. Defunct Karma- Karma which has no longer any potential force.
The fifth to eighth karma takes turn yielding outcomes at different times.
9. Karma of serious or strong effect, both good and bad. For example, one has developed themselves until they become noble persons, or someone has hurt an Arahant (one who has attained Nirvana).
10. Habitual Karma-Repeated deeds that one has continuously done for a long
time. Their outcomes are similar to those of Karma of serious or strong effect.
11. Proximate Karma-Almost Karma such as behaviors that risk one’s life or one almost wins a lottery, but finally loses the chance.
12. Casual Karma-Karma without intention or with weak intention. This Karma brings about results when there is no other Karma’s outcome. The case of Buddha Isara is an example.
The ninth to twelfth Karma yields outcomes according to one’s action intensity and intention.
After thoroughly studying twelve Karma, we would realize that we should not let it be, but selectively choose to do things that bring the most beneficial results.
However, if we let fate control our lives, it is a belief about Karma as a doctrine outside Buddhism. It is like when a human or animal falls into the water and does
not swim to the river bank, but leaves it to river flow to take them to the bank.
Finally, they lose all energy and drown to death.
Consequently, false belief in Karma will make a person a nonsensical, useless, irrational man and woman.
I would like to end my explanation about Karma here.
If we would like to clarify Karma more, we must know that
Every thought is Karma.
Every word we say is Karma.
Every action is Karma.
Whether we choose to think, say, or do good, bad, or mediocre things.
This is the end.
Buddha Isara