อธิบายคำว่า ไม่ประมาท หมายถึง
๑. ไม่ประมาททางกาย
๒. ไม่ประมาททางวาจา
๓. ไม่ประมาททางใจ
ไม่ประมาททางกาย ได้แก่ ความมีสติคอยกำกับควบคุมกายไม่ให้นอนผิดท่า ยืนผิดท่า เดินผิดท่า และกระทำกิจกรรมการงานทั้งหลายต้องไม่ผิดพลาด ถูกต้อง ไม่บกพร่องต่อสิ่งที่กายนี้กำลังทำ ทำให้กายนี้ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรม
ไม่ประมาททางวาจา ได้แก่ ต้องมีสติคอยกำกับ ควบคุมวาจาให้ถูกต้อง ดำรงไว้ซึ่งความสัตย์จริงต่อเหตุ ต่อผล ต่อบุคคล ชุมชน และสถานการณ์ พร้อมทำให้วาจานี้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม
ไม่ประมาททางใจ ได้แก่ มีสติคอยระมัดระวังใจนี้ไม่ให้กระเพื่อมตามสิ่งเร้าเครื่องล่อต่างๆ เพราะถ้าปล่อยให้ใจนี้ไปซึมซับสิ่งเร้าเครื่องล่อทั้งหลายมา ใจนี้จะสกปรก กระดำกระด่าง มันจะล้างออกยาก และทำให้ใจนี้ตั้งมั่นอยู่ในสุจริตธรรม
อธิบายคำว่า ธรรมทั้งหลาย หมายถึง กาย วาจา ใจ ทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา อริยสัจสี่ มรรคมีองค์แปด ปฏิจจสมุปปันนธรรม สามัญลักษณะ ๓ อย่าง และความดับแล้วเย็น
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทั้งหลาย โดยมีกาย วาจา ใจ เป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งหลาย
เมื่อนำธรรมทั้งหลายเข้ามาพิจารณาเทียบความจริงแท้ ที่มีอยู่ในกายใจนี้ เราท่านทั้งหลาย ก็จักรับรู้ได้ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นประดุจดังเครื่องล้าง เครื่องชำระ เครื่องขจัด ซึ่งอุปสรรคในการเข้าถึง ซึ่งความรู้จริง รู้แจ้ง
อีกทั้งธรรมทั้งหลายยังเปรียบประดุจดังลูกกุญแจ หรือสิ่งวิเศษที่สามารถสงเคราะห์หรือปลดพันธนาการของวัฏฏะ ที่พันธนาการสรรพสัตว์ให้ตกอยู่ในห้วงแห่งโซ่ตรวนของความทุกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์
แม้ที่สุดธรรมทั้งหลายดังกล่าว ยังจะสามารถทำให้ผู้ที่ตั้งอยู่ด้วยความไม่ประมาท ได้เข้าถึงความจริงอันประเสริฐ ในโลกทั้ง ๓ ได้โดยไม่ยาก
กล่าวโดยสรุป ผู้ที่จะสามารถตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทได้นั้น จักขาดเสียมิได้ ซึ่งธรรมที่ชื่อว่า สติ
เพราะสติมีอุปการะต่อกาย วาจา ใจ ดุจดังบิดา มารดา ที่ให้กำเนิดบุตร แล้วคอยชุบเลี้ยงปกป้อง ป้องกันภยันตรายให้แก่บุตร
ฉะนั้น ธรรมที่ชื่อว่าสติ หากมีและตั้งมั่นเจริญอยู่ในกาย วาจา ใจ
กาย วาจา ใจ นี้ก็จะไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่อง มีแต่เรื่องถูกต้องและไม่ลำบากเลย
คุณของสติที่ท่านจำแนกเอาไว้ มี ๕ อย่าง
๑. สติ เป็นประดุจดังเครื่องป้องกันภัย
๒. สติ เป็นประดุจดังเครื่องยับยั้งไม่ให้ตกไปในทางเสื่อมเสีย
๓. สติ เป็นประดุจดังยาชูกำลังคอยปลุกเร้าให้ขวนขวาย มีความเพียรอยู่ต่อเนื่อง
๔. สติ เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้เราสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่
๕. สติ ทำให้เราทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด
ลักษณะของผู้ที่ตั้งอยู่ในความมัวเมาประมาท
๑. พวกกุสีตะ ไม่ชอบทำ แต่ชอบผลงาน
๒. พวกทุจริตะ ทำแต่เรื่องชั่วร้าย แต่อยากได้ผลดี
๓. พวกสิถิละ ทำความดีน้อยนิด แต่คิดจะหวังผลที่เลิศยิ่งใหญ่
เอ๊ะ..เอ้… ไหนลองเทียบดูกันหน่อยซิจ๊ะว่า เราท่านทั้งหลายจัดอยู่ในประเภทไหน และสิ่งที่เราท่านทั้งหลาย ไม่ควรที่จะประมาทอย่างยิ่งยวด คือ
๑. ไม่ควรประมาทในเวลา ประมาทว่า นี่ยังเช้าอยู่ อะไรประมาณนี้
๒. ไม่ควรประมาทว่าตนเป็นผู้ไม่มีโรค ยังแข็งแรงดีอยู่
๓. ไม่ควรประมาทว่าตนยังอายุน้อย หนุ่มแน่น สาวสด ไม่แก่ ยังวัยรุ่น ยังไม่เจ็บไม่ตาย
๔. ไม่ควรประมาทในฐานะว่าตนมีอาชีพมั่นคง มีรายได้ดี จึงอยากทำอะไร ซื้ออะไร ต้องการอะไร ก็จ่ายอย่างไม่บันยะบันยัง
๕. ไม่ควรประมาทในการทำหน้าที่
๖. ไม่ควรประมาทในการแสวงหาความรู้
๗. ไม่ควรประมาทในการขวนขวายอบรมบ่มเพาะในคุณธรรมทั้งหลาย
เมื่อท่านทั้งหลายตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จักส่งผลให้เราท่านทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งผลอันเจริญ ๙ ประการ คือ
๑. ทำให้ได้รับมหากุศล
๒. ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามพ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
๓. ทำให้ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ
๔. ทำให้คลายจากความทุกข์
๕. ทำให้เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี
๖. ย่อมมีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่นๆ
๗. ย่อมได้รับความสุขในการดำรงชีพ
๘. เป็นผู้ตื่นตัว ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี
๙. ความชั่วความไม่ดีต่างๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยเร็ว
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ
Caution towards all kinds of Dharma
June 24, 2021
Caution means
1. Physical caution
2. Verbal caution
3. Mental caution
Physical caution means consciousness to control boy not to sleep, stand, walk in the wrong manners, to correctly and completely do one’s works and actions, and to focus firmly on righteous actions.
Verbal caution means consciousness to control one’s speech to be honest towards cause, effect, person, community, and situation, and the speech must be honest.
Mental caution means consciousness to control one’s mind not to be aroused by any enticements. If one let one’s mind absorb all the enticements, it will become dirty and stained. Then, it will be difficult to clean it or make it focused on righteousness.
All kinds of Dharma mean body, speech, mind, giving, precepts, consciousness, concentration, wisdom, the Four Noble Truths, the Noble Eightfold Path, the Chain of Phenomenal Cause and Effect, the Three Characteristics of Being, and nirvana (extinguishment of defilements and suffering).
These are called all Dharma which is established at one’s body, speech, and mind.
Comparing all Dharma with truths in our body and mind, we will realize that all these Dharma clean, purify, and get rid of hurdles towards enlightenment.
Moreover, all Dharma is like key or magic which can amazingly help release attachments of the cycle of rebirth which bind all living creatures in the chains of suffering.
Ultimately, all Dharma can enable people who firmly remain cautious to attain noble truths in the three worlds without much difficulty.
In brief, those who can stay firmly cautious, cannot lack the Dharma called consciousness, because consciousness supports one’s body, speech, and mind, similarly to parents who raise and protect their children from danger.
Consequently, if one had Dharma called consciousness well-established in one’s body, speech, and mind, one’s action, speech, and thought will not be wrong, defective, or difficult.
There are five benefits of consciousness
1. Consciousness is protection from harm
2. Consciousness helps restrain oneself from wrong path
3. Consciousness helps motivate oneself to continuously persevere
4. Consciousness helps recall oneself of responsibility
5. Consciousness warns us not to do, say, or think wrongly
Characteristics of careless and ignorant people.
1. People who don’t like to work but claim good results.
2. People who do evil things but want to gain good results.
3. People who do little merits but want to gain marvelous results.
Eh…please compare above characteristics with us to see which category we belong to. What we should pay extra caution are as follows.
1. We should not be careless towards time, for instance, that it is still early.
2. We should not be careless that we have no disease and are still healthy.
3. We should not be careless that we are still young, youthful, and we won’t get sick or die.
4. We should not be careless that we have secure jobs, good income, and we can do whatever we want, or can buy or want anything, we can spend carelessly.
5. We should not be careless performing our duties.
6. We should not be careless to gain more knowledge.
7. We should not be careless to accumulate and increase our moral practice.
When all of us remain cautious with our consciousness, we will attain nine prosperous outcomes as follows.
1. Receiving good outcomes from highly meritorious deeds.
2. Overcoming the cycle of birth, aging, sickness, and death
3. Not falling into the states of misery
4. Relieving from suffering
5. Enjoying and not feeling bored with meritorious deeds
6. Having consciousness which leads to other paths of meritorious deeds
7. Receiving happiness in making a living
8. Being alert and not ignorant to do good things
9. Evil and bad things quickly disappear.
This is the most auspicious factor in one’s life.
Buddha Isara