อธิบายคำว่า วาจาสุภาษิต หมายถึง สัจจะวาจา เป็นวาจาก่อให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา เป็นวาจาก่อให้เกิดประโยชน์ เป็นวาจาที่ทำให้ผู้ฟัง นำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ เป็นวาจาที่เป็นคุณแก่ผู้ฟัง เป็นวาจาที่เมื่อพูดออกไปแล้ว เปรียบประดุจดังแสงสว่างในที่มืด เป็นวาจาที่ทำให้สรรพสัตว์ได้เห็นถึงความจริงแท้อันประเสริฐ เป็นวาจาที่ทำให้ผู้ฟังเห็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง และเป็นวาจาที่ผู้ฟัง ฟังแล้วสามารถแก้ปัญหา พร้อมสามารถดับมูลเหตุแห่งทุกข์ได้จริง
๕ ลักษณะของวาจาที่เป็นสุภาษิต
๑. ต้องเป็นสัจจะวาจา
๒. ต้องเป็นวาจาสุภาพ
๓. เมื่อพูดแล้วต้องก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ต้องพูดด้วยจิตเมตตา ปรารถนาให้ผู้ฟังนำไปเปลี่ยนแปลงนิสัย แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด
๕. ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ เหมาะสมควรแก่สถานที่ บุคคล ชุมชน ด้วยจิตเมตตา แม้คำพูดนั้นจะเป็นความจริง แต่หากไม่ถูกกาลเทศะ ไม่ถูกสถานที่ บุคคล ชุมชน ทั้งยังขาดจิตเมตตา มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟังแล้ว วาจาเช่นนั้นก็หาได้ประโยชน์ไม่ เช่นนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นวาจาสุภาษิต
๕ ลักษณะคำพูดที่เป็นวาจาทุภาษิต
๑. สรรเสริญบุคคลผู้ขาดศรัทธา
๒. ชื่นชมยินดีกับคนผู้ทุศีล
๓. กล่าวสรรเสริญคนพาลว่าประเสริฐ
๔. กล่าวชื่นชมบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นใหญ่
๕. กล่าวยกยอคนโง่ ว่ามีสติปัญญา
ใครก็ตามที่พูดถึงเหตุทุภาษิตใน ๕ ประการ ต้องถอยห่างจากมาให้ไกลๆ
อานิสงฆ์ ๕ ประการของผู้มีวาจาสุภาษิต
๑. เป็นผู้มีเสน่ห์ในหมู่ชน
๒. เจริญในโลกทั้ง ๒
๓. มีวาจาสิทธิ์ พูดเช่นไร ทำเช่นนั้น ทำเช่นไรคิดเช่นนั้น
๔. เป็นผู้มีวาสนา ที่จะได้ยินได้ฟังแต่ความจริง
๕. ไม่ตกต่ำในโลกไหนๆ
เอตัมมังคะ ละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ