อธิบายคำว่า วินัย หมายถึง ความละอายชั่ว กลัวบาป ที่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นในจิตใจ โดยที่ยังไม่มีผู้ได้สั่งสอน และความสำรวม สังวร ระวัง กาย วาจา ด้วยความมีสติคอยกำกับ กระตุ้นเตือนมิให้กาย วาจา ใจ ไปละเมิดต่อตน และคนอื่น เหล่านี้เรียกว่า วินัย ในสันดาน วินัยโดยจิตสำนึก ล้วนมีติดตัวมาตั้งแต่เกิด
อธิบายคำว่า อันชนศึกษาดีแล้ว หมายถึง วินัยที่เกิดขึ้นหลังจากเราเกิดมาแล้วเราจักต้องขวนขวาย อบรม ศึกษา เพื่อจักให้ได้อยู่รวมกันกับผู้คนในสังคมนั้นๆ อย่างสงบ เรียบร้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น วินัย ๒ ประเภท คือ
วินัยที่ชนต้องศึกษามี ๒ อย่าง คือ
๑. อาคาริยวินัย คือ วินัย ระเบียบปฏิบัติ กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมาย ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ของผู้ครองเรือน
๒. อนาคาริยวินัย คือ ระเบียบปฏิบัติของนักบวช ซึ่งมีทั้งข้อห้าม และข้ออนุญาติ
อธิบายถึง อาคาริยวินัย เป็นวินัยสำหรับผู้ครองเรือน เริ่มแรกของความเป็นมนุษย์ ที่ต้องอยู่ร่วมกันกับคนในบ้าน และผู้คนในสังคมรอบตัว จึงจำเป็นต้องมีศีล
คือการทำตนเองให้เป็นปกติ อย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตน และรับผิดชอบต่อผู้อื่น เพื่อป้องกันมิให้ตน ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตนตามหลักศีล ๕ เป็นเบื้องต้น เพื่อจักทำตนให้เป็นปกติ ปกติของคนที่ไม่โหดร้าย ไม่มือไว ไม่ใจเร็ว ไม่พูดปดและไม่ทำตัวเองให้เป็นคนเสียสติ ขาดสติ ทั้งยังต้องขวนขวาย เรียนรู้ ถึงขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ระเบียบปฏิบัติ กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมาย ข้อบังคับ เพื่อจะให้ตนได้อยู่ร่วมกันได้กับผู้คนในสังคมอย่างสงบเรียบร้อย
อธิบายคำว่า อนาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ถือบวช ที่จะต้องขวนขวายอบรมศึกษา เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งมีทั้งข้อห้าม และข้ออนุญาติ มีอยู่แล้วในศีล ๒๒๗ เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวร
สำรวม สังวร ระวัง ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส รวมเรียกว่า อินทรียสังวร
ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการหาเลี้ยงชีพตามวิถีแห่งนักบวช เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิ
เมื่อได้เครื่องยังชีพมาแล้ว ต้องพิจารณาให้เห็นคุณ เห็นประโยชน์ อย่างเหมาะสม แก่สมณวิสัย เรียกว่า ปัจจยปัจจเวกขณะ
วินัยทั้ง ๔ ข้อนี้องค์พระบรมศาสดาทรงบัญญัติขึ้น ก็เพื่อประโยชน์ ๙ ประการ อันจะพึงบังเกิดมีแก่หมู่คณะสงฆ์
๑. เพื่อความปรองดอง กลมเกลียว ตั้งมั่นอยู่ร่วมกันของหมู่สงฆ์
๒. เพื่อข่มบุคคล หน้าด้าน
๓. เพื่อความสงบสุข ของหมู่คณะ
๔. เพื่อความอยู่ดี ของภิกษุผู้มีศีลสังวร
๕. เพื่อลดและป้องกัน อาสวกิเลสที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
๖. เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๗. เพื่อรักษาความศรัทธา เลื่อมใสของชุมชนให้เจริญยิ่งขึ้น
๘. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๙. เพื่อสืบต่อ อายุพระพุทธศาสนา
ส่วนอานิสงฆ์หรือผลที่จะได้รับจากการที่ชนหันมาศึกษาและปฏิบัติตามวินัยดีแล้ว มีผลดี ๖ ประการคือ
๑. เป็นผู้เจริญในโภคทรัพย์
๒. ไม่สะดุ้งผวา หวาดระแวงต่อเภทภัยใดๆ
๓. เกียรติคุณ ฟุ้งขจายไปไกล
๔. องอาจ แก้วกล้า ในหมู่ชน
๕. ไม่หลงเวลาตาย
๖. มีสุคติเป็นที่ไป
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ
--------------------------------------------------
Discipline that people have well studied.
June 8, 2021
Discipline means shame and fear of sin which happens in one’s mind, without any prior teaching from anybody else. Being cautious of one’s action and speech by having consciousness all the time not to violate oneself and other people. This is called intrinsic discipline or subconscious discipline which one has inherited from birth.
“That people have well studied” means discipline that we have tried to learn so that we can live peacefully together with other people in the society. Discipline has two types as follows.
1. Discipline, rules, regulations, laws, customs, and traditions of householders
2. Discipline, rules, and regulations of priests which contain both prohibition and permission
Discipline for householders mean human beings need to live with families and people in the society. Therefore, precepts are necessary which means normal behaviors. Being responsible for oneself and other people, not to cause any problem for oneself and others. Therefore, one must observe the five moral precepts. Then, one behaves as a normal person which means not cruel, not greedy of other people’s belonging, not having affair with other people’s spouses or children, not lying, and not losing one’s consciousness. Furthermore, one must try to learn traditions, customs, rules, regulations, and laws so that they live peacefully with other people in the society.
Discipline for priests means prohibition and permission contained in the 227 rules for Buddhist monks.
discipline of senses restraints when eyes see objects, ears hear sound, nose smells scent, tongue tastes, and body touches object.
Buddhist monk sustain their lives by means of monastic ways.
When receiving life sustaining objects, Buddhist monks must realize their value and benefits properly according to their monastic status.
Lord Buddha prescribed the above four monastic rules for nine benefits for monastic community.
1. For harmony and unity of monastic community
2. To suppress shameless people
3. For the peace of the society
4. For well being of monks who uphold precepts
5. To reduce and prevent defilements at present and in the future
6. For faith of people who still do not have faith
7. To maintain faith among Buddhist followers
8. For the well establishment of Dharma practice
9. For longevity of Buddhism
Six benefits people obtained from studying and following discipline
1. Prosperity in fortune
2. No fear for any peril
3. Good reputation
4. Courage in the crowd
5. Consciousness at one’s death
6. Blissful states after death
This is the most auspicious factor in one’s life.
Buddha Isara