ผู้ที่จะเป็นพหูสูตร หรือ ผู้คงแก่เรียนได้นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
๑. พหุสสุตา เป็นผู้จิตใจจดจ่อ จับจ้อง ใส่ใจ สนใจ ขวนขวาย แสวงหา ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
๒. ธตา มั่นเพียรพยายาม ทรงจำ ในสิ่งที่เรียนรู้ ศึกษามาอย่างแม่นยำ และขยันมั่นตรวจทานความรู้ที่มีมิให้หลงลืมหายไป และต้องละเว้นสิ่งเร้า เครื่องล่อ ที่จะทำให้ขาดสติ เช่น สุรา ยาเมา ที่เป็นเหตุให้หลงลืม
๓. วจสา ปริจิตา ขยันทบทวน สิ่งที่ได้เรียนได้รู้มาให้ช่ำชอง เชียวชาญ ชำนาญ จนขึ้นใจ ง่ายต่อการนำความรู้นั้นๆ นำมาใช้ เมื่อถึงคราวจำเป็น
๔. มนสานุเปกขิตา รู้จักคิดตรึกครอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในสิ่งที่รับรู้มาว่าถูกหรือผิด เหมาะสมกับฐานานุรูปของตนหรือไม่
๕. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา เมื่อวิเคราะห์ใคร่ครวญให้เข้าใจในบทเรียนนั้นๆ อย่างถี่ถ้วน ถ่องแท้ จนทำให้แจ่มแจ้ง แทงตลอดในบทเรียนนั้นๆ จึงทรงจำไว้เป็นอย่างดี
พหูสูตร หรือ ผู้คงแก่เรียนที่ดี จึงต้องรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล และหากบุคคลใดต้องการจักเป็นพหูสูตร ผู้คงแก่เรียนแล้ว ท่านก็มีวิธีอบรม บ่มเพาะ ฝึกฝนตนดังต่อไปนี้
๑. หมั่นสังเกตุ พยายามตั้งของสงสัยในบทเรียนนั้นๆ อยู่เนืองๆ
๒. ตั้งใจร่ำเรียนสรรพวิทยา วิชาที่ตนตั้งข้อสังเกตุ จนหายสงสัยแล้ว อย่างจดจ่อ จับจ้อง จริงจัง
๓. ขวนขวาย กระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติม หลังจากที่สิ้นสงสัยในความรับรู้เดิมแล้ว
๔. ไม่ว่าจะรู้ลึก รู้รอบ รู้กว้าง รู้ไกล ในสรรพวิทยาใดๆ หากไม่มีศีลธรรม คุณธรรมประจำ คอยกำกับความรู้นั้นๆ แล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับมหาโจรผู้ยิ่งใหญ่นั่นเอง
๕. รู้แล้วอย่าตระหนี่ในความรู้ ต้องเผยแพร่ความรู้นั้นๆ ให้ขจรขจายเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป
เมื่อเป็นพหูสูตรผู้คงแก่เรียนอย่างสมบูรณ์แล้ว จะส่งผลให้เกิดอานิสงฆ์ ๘ ประการ ดังต่อไปนี้
๑. พึ่งตนเองได้
๒. เป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้
๓. องอาจ หาญกล้า เมื่อต้องอยู่ในหมู่ชน และเผชิญต่ออันตราย
๔. เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
๕. เป็นที่ยำเกรงของมหาชนทั้งหลาย
๖. ความรู้นั้นๆ จะติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ
๗. จักทำให้เจริญในสรรพวิทยาอื่นๆ ไม่จบสิ้น
๘. บรรลุธรรมขั้นสูงได้ง่าย
พหูสูตร ขี้โล้ะ ก็มีนะจ๊ะ
๑. ผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเอง ยกตนข่มท่าน บ้ายอ ถือตัวคือตน
๒. ชอบหงุดหงิด ขี้ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาท จองเวร มีตัวกูใหญ่ ตัวกูสำคัญกว่าใครๆ จิตใจคับแคบ
๓. คนมักง่าย หยาบช้า ขี้หลง ขี้ลืม สติไม่ตั้งมั่น แล้วมักจะตั้งข้อสงสัยจับผิดแต่ผู้อื่น
๔. คนขี้ขลาด หวาดผวา สะดุ้งกลัว ต่ออิทธิพลแห่งความชั่ว
๕. คนมักมากทะเยอทะยานยากไม่จบสิ้น
๖. คนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทำอะไรก็ไม่เคยสำเร็จ เพราะสันหลังยาว หนักไม่เอา เบาไม่สู้
๗. คนมัวเมาประมาท
๘. คนมีจิตใจรวนเร เอาแต่ชอบสนุก ชอบเที่ยว มักทำแต่เรื่องไร้สาระ
เหล่านี้คือลักษณะของพหูสูตร ขี้โล้ะ หรือ พหูสูตรกิโล อย่าไปทำนะจ๊ะ
พุทธะอิสระ
One who has memorized and learned a lot of knowledge can be called a savant or a man of great knowledge.
June 5, 2021
A man of great knowledge of a savant must contain five qualifications as follows.
1. One must pay attention and try to find more knowledge all the time.
2. One must try to practice and precisely memorize what one has learned, and one should regularly review the knowledge so as not to forget. In addition, one must avoid any enticements such as alcoholic drinks which cause loss of memories.
3. One must persevere to review what one has learned so that one becomes skillful and specialized. Then, it is easy to apply one’s knowledge when necessary.
4. One must think and analyze what one has known whether it is right or wrong and whether it is suitable for one’s status.
5. One must thoroughly analyze one’s lessons until one understands them thoroughly and remember them well.
A man of great knowledge or a good savant must possess deep, well-rounded, broad, and visionary understanding of knowledge. Whoever wants to be a man of great knowledge or a savant, he or she must practice oneself as follows.
1. One must continuously observe and question their knowledge.
2. One must attentively and seriously learn multiple sciences and knowledge that one has questioned.
3. One enthusiastically seeks additional knowledge, after one has clear understanding of one’s existing knowledge.
4. No matter how one knows deeply, broadly and has visions of any science and knowledge, if he or she lacks morality, he is she is like the great thief.
5. One must not be stingy and distribute the knowledge for the benefits of other people.
After one has completely become a learned person, he or she will receive eight beneficial outcomes as follows.
1. One is self-reliant.
2. One is dependable.
3. One is brave and courageous in the crowd and in front of danger.
4. One is prosperous with fortune, rank, and praise.
5. One is respectful among majority people.
6. Such knowledge follows them in every existence and every life.
7. One endlessly prospers in other sciences and knowledge.
8. One easily attains high level of Dharma.
There are also lousy savants.
1. One who like to boast of oneself. Someone who is overbearing, fond of flattery, and arrogant.
2. One who is fretful, quick-tempered, vindictive, egoistic, and narrow-minded.
3. One who is careless, negligent, forgetful, and unconscious, and usually finds faults of others.
4. Coward who is afraid and fearful towards bad influence.
5. Overambitious person
6. Frivolous person will not succeed in anything because of laziness and impatience.
7. Careless person
8. Indecisive person who likes to indulge in nonsensical matters
These are characteristics of lousy savants. Don’t behave like this.
Buddha Isara