มีคำถาม มาจากคลับเฮ้าส์กรณี ชายหนู ถามเข้ามาว่า การที่ผู้บำเพ็ญใช้วิธีหลบเข้าไปพักผ่อนในองค์ฌาน แล้วหลวงปู่ทำอย่างนั้นด้วยหรือเปล่า
ตอบ ฉันไม่นิยมที่จะพักอยู่นอกฌาน แต่ชอบที่จะเข้าไปพักผ่อนในบ้าน
๑. เพราะต้องการหยุดยั้งความมัวเมาประมาท ลดการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขณะที่อยู่นอกฌาน
๒. เพราะในบ้าน มันเป็นพื้นที่ส่วนตัว ที่เรามีสิทธิ์จะเลือกทำเรื่องส่วนตัว หรือส่วนรวม
๓. เพราะบ้านหลังนี้มันอยู่กับเรามาแต่เกิด เราจึงมั่นใจได้ว่า มันจะให้ความอบอุ่น ผ่อนคลาย ไร้กังวล
๔. ทั้งยังเป็นการพักผ่อนที่สามารถพร้อมจักเผชิญต่อภารกิจของการบำเพ็ญประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ได้สมบูรณ์กว่าที่หลบอยู่ในฌาน
เพื่อท่านจะเข้าใจได้มากขึ้น จึงขออาราธนาพระพุทธธรรมคำสอนในจูฬสาโรปมสูตร ที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสสอนแก่พราหมณ์ นามว่า ปิงคลโกจฉะ ความโดยย่อว่า
๑. ลาภสักการะ ชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ ใบไม้
๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกระพี้ไม้
๕. ความหลุดพ้นแห่งจิต ที่ไม่กำเริบขึ้นอีก เปรียบเหมือนแก่นไม้
บุคคลผู้แบกขวานเข้าสู่ป่าใหญ่ ด้วยหนทางอันไกลโพ้น ลองคิดดูว่า เขาต้องการอะไรในป่า
พุทธะอิสระ
Story from Clubhouse
May 25, 2021
There is a question from Clubhouse. “Chai Nu” has asked some people who practice Dhamma and rest in a state of serene contemplation attained by meditation. Does Luang Pu do the same?
Answer: I don’t like to rest outside the house, but I prefer to rest in the house.
1. Because I want to stop carelessness and reduce mistakes which can happen while being outside home.
2. Because inside the house is private area in which we can choose to do personal affair or public affair
3. Since we have lived in this house since we were born, we are confident that it gives us warmth, relaxation, and absence of worry.
4. It is also relaxation for conducting beneficial things for oneself and others more completely than hidden in the state of serene contemplation attained by meditation.
So that you understand more, I would like to invite Lord Buddha’s teaching to a Brahman named Ping Ka La Kot Cha.
1. Fortune and fame are like branches and leaves.
2. Completeness of religious precept is like slivers.
3. Completeness of meditation is like bark.
4. Vision of truth or wisdom is like laburnum.
5. Liberation of mind is like heartwood.
A person who carries an ax into faraway big forest. He should think what he needs from the woods.
Buddha Isara