แม้จะผิดธรรมวินัย ผิดกฎหมาย ผิดมติมหาเถร ผิดหลักศีลธรรม ก็ยังหน้าด้านทำ แล้วยังมาบิดเบือนความเท็จ ให้เป็นความจริง สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้ไม่รู้
พุทธะอิสระ
***************************************************
มติมหาเถรสมาคม
ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓
มติที่ ๕๔๑/๒๕๖๓
เรื่อง อดีตพระพรหมดิลก “เจ้าคุณเอื้อน” กลับมาห่มผ้าเหลืองไม่ได้
ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า กรณีศาลอุทธรณ์ยกฟ้องอดีตพระพรหมดิลกหรือ"เจ้าคุณเอื้อน" อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ในความผิดฐานฟอกเงิน จนมีข่าวเตรียมมาห่มจีวรอีกรอบเพราะไม่เคยเปล่งวาจาสึก คดีเงินทอนวัดที่อดีตพระพรหมดิลกเป็นจำเลย เป็นคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องกรณีทุจริตงบอุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา แบ่งออกเป็น ๓ คดี คือ
๑. คดีความผิดมูลฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ ว่าอดีตพระพรหมดิลก มีความผิดฐานสนับสนุนให้เกิดการทุจริต มีโทษจำคุก ๘ เดือน แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ ๑ ปี และยังไม่ชัดเจนว่ามีการยื่นอุทธรณ์ด้วยหรือไม่
๒. คดีอาญาฐานฟอกเงิน ศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ว่าอดีตพระพรหมดิลกมีความผิดให้จำคุก ๖ ปี แต่ล่าสุดศาลอุทธรณ์พิพากษา เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ สรุปว่าจำเลยไม่รู้ว่าเป็นเงินที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับ จึงขาดเจตนาไม่มีความผิดฐานฟอกเงินให้ยกฟ้อง
๓. คดีแพ่งฐานฟอกเงิน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเงินในบัญชีเงินฝากของอดีตพระพรหมดิลก เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จึงให้ตกเป็นของแผ่นดิน จำนวน ๑.๖๗ ล้านบาท
หลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
ประเด็นแรก อดีตพระพรหมดิลกขาดจากความเป็นพระหรือยัง เรื่องนี้เมื่อตรวจสอบย้อนหลังไปในชั้นสอบสวน จำเลยถูกจับกุมและศาลมีคำสั่งให้ขัง ไม่อนุญาตให้ประกันตัว จึงถูกเจ้าพนักงานใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๓๐ ให้สละสมณเพศก่อนเข้าเรือนจำ ทำให้ขาดจากความเป็นพระแล้วตามกฎหมาย
การขาดจากความเป็นพระมี ๒ หลัก คือ
๑. หลักพระธรรมวินัย สละสมณเพศด้วยการเปล่งวาจา ลาสิกขา และถอดจีวรออก เรียกว่า"สึกเอง" กับขาดจากความเป็นพระเพราะอาบัติหนัก คือ "ครุกาบัติ"ได้แก่ปาราชิก ๔ ประกอบด้วย ฆ่าคนลักทรัพย์เสพเมถุนอวดอุตริมนุสธรรม ถ้ากระทำอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ถือว่าขาดจากความเป็นพระ ณ ขณะที่กระทำการนั้นๆ เลย (ขาดโดยอัตโนมัติ)
๒. หลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มี ๒ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา ๒๙ ถูกจับในคดีอาญาแล้วพนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้ประกันตัว ก็ให้สละสมณเพศเสียก่อนจะนำตัวเข้าห้องขัง กับมาตรา ๓๐ เมื่อมีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้จำคุกกักขัง หรือขังพระภิกษุ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ
อดีตพระพรหมดิลก เคยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ประกันตัว จึงขาดจากความเป็นพระตั้งแต่วันนั้น เพราะถูกดำเนินการตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๓๐ จะเห็นได้ว่าตอนไปขึ้นศาลช่วงที่ไม่ได้รับประกันตัว อดีตพระพรหมดิลกก็ใส่ชุดนักโทษ แต่เมื่อได้ประกันตัวก็ใส่ชุดขาว แสดงว่าเจ้าตัวรู้ดีว่าขาดจากความเป็นพระแล้ว
ประเด็นที่สอง อดีตพระพรหมดิลกกลับมาห่มจีวรได้ทันทีเลยหรือไม่ ประเด็นนี้อธิบายได้ว่า อดีตพระพรหมดิลกไม่สามารถกลับมาห่มจีวรได้ เพราะถือว่าขาดจากความเป็นพระไปแล้ว หากจะห่มจีวรต้องกลับมาบวชใหม่โดยพระอุปัชฌาย์บวชให้ แต่หากไม่มีการบวชใหม่แล้วไปห่มจีวรก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๘ ว่าด้วยการแต่งกายเลียนแบบสงฆ์
ประเด็นที่สาม อดีตพระพรหมดิลกกลับมาบวชใหม่ได้หรือไม่ ประเด็นนี้อธิบายได้ว่า ยังเข้าบรรพชาอุปสมบทไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ.๒๕๓๖) ข้อ ๑๔ เนื่องจากอดีตพระพรหมดิลกยังต้องคดีอาญาอยู่ คดียังไม่ถึงที่สุด แม้คดีฟอกเงินในศาลอุทธรณ์ศาลจะยกฟ้องก็ตาม แต่อัยการยังมีสิทธิ์ฎีกา ขณะที่คดีทุจริตก็ยังไม่พ้นระยะเวลารอลงอาญา ที่สำคัญการรอลงอาญาแปลว่า มีความผิดและมีโทษเพียงแต่โทษยังไม่ต้องรับทันทีเท่านั้น และที่ต้องไม่ลืมก็คือคดีแพ่งที่ศาลสั่งริบทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดแต่มีข้อพิจารณาว่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมิชอบ เข้าข่ายปาราชิกหรือไม่ หากเข้าข่ายก็ไม่สามารถกลับมาบวชได้อีกเลย ซึ่งประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของฝ่ายสงฆ์
ส่วนที่มีบางฝ่ายพยายามโจมตีว่า อดีตพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ไม่มีความผิดแต่ถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายนั้น รัฐบาลหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีฐานะเป็นส่วนราชการ ถือว่าเป็นนิติบุคคลผู้จ่ายงบประมาณ ผู้รับงบประมาณ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ คืองบประมาณที่กำหนดให้ใช้เพื่อการใดก็ต้องใช้เพื่อการนั้น ฉะนั้น เมื่อมีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ก็จะผิดตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณด้วย และเมื่อมีการทุจริตก็ต้องไปร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่บทบาทหน้าที่ของสำนักงาน- พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร้องทุกข์กล่าวโทษเฉพาะคดีปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเท่านั้น ส่วนคดีฟอกเงินหน่วยงานที่ร้องทุกข์กล่าวโทษ คือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เพราะเป็นคดีที่สืบเนื่อง แต่สังคมมักเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทั้งหมด
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ
ที่ประชุมรับทราบ
--------------------------------------------------
He is such a thick-skin person. He only thinks of satisfying his desire, without considering righteousness.
April 17, 2021
Despite violating code of monastic rule, laws, resolution of the Sangha Supreme Council of Thailand, and morality, he shamelessly dared to do it. He tried to distort falseness to be truth and misled the ignorant.
Buddha Isara
***************************************************
Resolution of the Sangha Supreme Council of Thailand
No. 22/2020
Resolution No. 541/2020
Subject : Former Phra Prom Dilok cannot return to monkhood.
During the meeting no. 22/2020 of the Sangha Supreme Council of Thailand on September 30, 2020, Secretary to the Sangha Supreme Council of Thailand raised the case of former Phra Prom Dilok. The Appeal Court acquitted former Phra Prom Dilok of a charge of money laundering in one of the two cases. There was rumor that he was prepared to wear monk robe again, because he never said he would depart monkhood. The case of a temple's education fund embezzlement in which the former Phra Prom Dilok is a defendant, was charged by public prosecutors. The case can be divided into three legal cases as follows.
1. In an offense of being an official, wrongfully exercised or dishonestly performed his duty which violated Section 157 of Criminal Code, the Court of First Instance read the judgment on March 5, 2020 that former Phra Prom Dilok was guilty for supporting the corruption and was sentenced to eight months imprisonment. However, the imprisonment sentence shall await punishment (parole) for a period of one year. It was not certain if he appealed to higher court.
2. Criminal case for laundering money budgeted to promote Buddhism into his own pocket, on May 16, 2019, The Criminal Court for Corruption and Misconduct Cases sentenced former Phra Prom Dilok to six years in jail.
Lately on September 23, 2020, the Appeal Court read the verdict that the defendant was unaware that he did not have right to obtain such money.
So, he was unintentional of money laundering. Therefore, the case was dismissed.
3. Civil case of money laundering, the Court of First Instance made the ruling that money in former Phra Prom Dilok’s bank account was relevant to wrongdoing. So, the amount of 1.67 million baht shall become property of the State.
After the Appeal Court’s dismissal of the case, issues to be considered are as follows.
1. According to code of monastic rule, a monk leaves monkhood by saying his decision to leave monkhood and taking off his monk robe, which is called “voluntary monkhood departure”. On the other hand, a monk automatically departs monkhood after committing gravest transgression of monastic rules which include killing a human being, stealing, having a sexual intercourse, and
boasting of having supernatural quality that he does not possess. If a monk commits any of these four deeds, it is deemed departure from monkhood during such action (automatic departure from monkhood).
2. According to the Sangha Act, B.E. 2505 as amended by Sangha Act (No. 2), B.E. 2535, there are two relevant Sections. Section 29, a monk who has been arrested in a criminal case, and officials do not grant him a provisional release, that monk must be disrobed before imprisonment. Section 30, before imprisoning any monk according to court judgement, officials, under provision of court ruling, must have that monk depart his monkhood, and report that to the court.
Former Phra Prom Dilok used to apply for bail but the court rejected his request.
Therefore, he departed from monkhood from that date, according to Section 30 of the the Sangha Act, B.E. 2505 as amended by Sangha Act (No. 2), B.E. 2535.
When he went to the court in prison uniform, while was not granted bail. But after his application for bail was approved, he was in white clothing. This showed that he knew well that he had departed from monkhood.
The second issue whether former Phra Prom Dilok can return to monkhood right away. This issue has already been clarified that former Phra Prom Dilok cannot wear monk robe, because he departed from monk hood. To wear monk robe again, he must be ordained in a ceremony, officiated by a monk. If there is no ordination ceremony, and he wears monk robe, this violates Section 208 of Criminal Code regarding a person illegally wearing clothing of monk.
The third issue whether former Phra Prom Dilok can return to monkhood by an ordination ceremony. This is prohibited according to the 17 th Sangha Supreme Council of Thailand’s rule (B.E. 2536) number 14. So, he still cannot be ordained.
Former Phra Prom Dilok is still a defendant in a criminal case and the case is not yet final. Though the Appeal Court dismissed his money laundering case, public prosecutors have rights to appeal to the Supreme Court. In addition, he is still on parole. Parole means he is guilty and has been sentenced to imprisonment, but he is not subject to immediate imprisonment. What is unforgettable is his civil case in that his bank account was forfeited to become property of the State. Even though the case is not yet final. What needs to be considered is whether his obtaining such money falls under gravest transgression of monastic rule. If yes, he can no longer return to monkhood. This has to be determined by the clergy.
As for some groups are trying to attack that former senior monks are not guilty, but they have been persecuted. Government or the National Office of Buddhism are public entities or legal entities that allocate budget. Receiver of budget must comply to laws on how to administer the budget. Namely, budget allocated for a particular purpose, must be used for such purpose. Consequently, when misappropriation of funds occurs, it also violates Budgetary Procedures Act. When there is misconduct, the National Office of Buddhism must file a complaint.
However, according to role and duty of the National Office of Buddhism, the National Office of Buddhism only filed a complaint related to dishonest duty performing only. It is the Anti-Money Laundering Office (AMLO) that file complaint on money laundering as continuous cases. However, the society often misunderstands that all has been undertaken by the National Office of Buddhism.
The National Office of Buddhism would like to report to the Sangha Supreme Council of Thailand’s acknowledgement.
The meeting acknowledged.