กรณีคดีเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตประธานคณะธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้ร่วมกับจำเลย คือ อดีต ผอ.สำนักพุทธ และพวกอีก ๔ คน ทุจริตเงินงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน ๖๙,๗๐๐,๐๐๐ บาท
กรณีนี้ต้องแยกออกเป็น ๒ ประเด็น
ประเด็นทางข้อกฎหมาย และประเด็นทางหลักพระธรรมวินัย
๒ ตอนแรกได้ยกเอาหลักกฎหมายและหลักพระราชบัญญัติสงฆ์ มาชี้แจ้งขยายความไปแล้ว
วันนี้ขอนำหลักพระวินัยมาขยายความให้ท่านทั้งหลายได้รับรู้เข้าใจว่า
ภิกษุผู้จะขาดจากความเป็นภิกษุได้ ด้วยอาบัติ ๔ อย่าง
อาบัติ ๔ อย่างนั้นเรียกว่า ปาราชิก ๔ อันแปลว่า เครื่องทำให้พ่าย ๔ อย่าง คือ
- ฆ่าสัตว์
- ลักทรัพย์
- เสพเมถุน
- อวดอุตริมนุสธรรม
ประเด็นการทุจริตของอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม จึงจัดอยู่ในหลักพิจารณาว่า ต้องอาบัติปาราชิกข้อลักทรัพย์หรือไม่ ซึ่งมีหลักให้ต้องพิจารณา ดังต่อไปนี้
ลักษณะของการถือเอาทรัพย์แล้วต้องอาบัติมีอยู่ด้วยกัน ๑๓ ชนิดได้แก่
๑. ลัก ได้แก่อาการถือเอาทรัพย์ให้เคลื่อนจากฐานที่ตั้ง ด้วยเจตนา
๒. ชิงหรือวิ่งราว ได้แก่อาการชิงเอาทรัพย์ที่เขาถืออยู่
๓. ลักต้อน ได้แก่กิริยาไล่ต้อนหรือจูงสัตว์ ๔ เท้า สัตว์ ๒ เท้า หรือสัตว์ไม่มีเท้า ให้เคลื่อนจากที่อยู่ที่เหยียบยืน
๔. แย่ง ได้แก่อาการเข้าแย่งทรัพย์ซึ่งหน้าจากมือเจ้าของทรัพย์หรือแย่งขณะที่เจ้าของทำทรัพย์นั้นตก
๕. ลักสับ ได้แก่การสับของดีให้เป็นของเลว ของมีราคามากให้เป็นของมีราคาน้อย แม้ที่สุดลักสับสลากรายชื่อของทรัพย์ ด้วยเจตนาต้องการทรัพย์นั้น
๖. ตู่ ได้แก่กิริยากล่าวตู่เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ที่ไม่ใช่ของตน
๗. ฉ้อโกง ได้แก่กิริยารับของที่มีผู้มาฝากเอาไว้ แล้วฉ้อโกงเอามาเป็นของตน
๘. ยักยอก ได้แก่ภิกษุผู้มีหน้าที่รักษาคลัง ทำบัญชีหรือควบคุมทรัพย์ของวัด แล้วยักยอกทรัพย์นั้นมาเป็นของตน
๙. ตระบัด ได้แก่กิริยาที่นำของที่ต้องเสียภาษี เมื่อผ่านด่านเก็บภาษีก็ซุกซ่อนของนั้น ไม่ยอมเสียภาษี หรือของมากก็ซ่อนให้เห็นว่าเป็นของน้อย จะได้เสียภาษีน้อยๆ
๑๐. ปล้น ได้แก่การชักชวนกันทำโจรกรรม ลงมือด้วยตนเองบ้าง หรือมิได้ลงมือด้วยตนเอง แต่ตนมีส่วนร่วม เมื่อได้ทรัพย์นั้นมาสมเจตนา หากทรัพย์นั้นมีราคาเกิน ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิกทั้งกลุ่ม
๑๑. หลอกลวง ได้แก่การหลอกทำของปลอมต่างๆ
๑๒. กดขี่หรือกรรโชก ได้แก่การใช้กำลัง ใช้อำนาจ ข่มเหงเอาทรัพย์ของผู้อื่น ตัวอย่างเช่น ภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่มีอำนาจการปกครองอยู่ในมือ แล้วใช้อำนาจนั้นข่มเหงเพื่อให้ได้ทรัพย์มา
๑๓. ลักซ่อน ได้แก่การเห็นทรัพย์ที่เจ้าของเขาทำตกหล่นไว้โดยไม่รู้ตัว ภิกษุนั้นพอเห็นจึงแกล้งเดินไปเอาเท้าเหยียบไว้ ยืนบังไว้ หรือใช้วัสดุอย่างหนึ่งอย่างใดปกปิดเอาไว้ ด้วยเจตนาจะถือเอามาเป็นของตน ต้องอาบัติเมื่อเจ้าของทรัพย์หาของไม่เจอ และทรัพย์นั้นได้ตกเป็นของภิกษุ
ทรัพย์ที่ถือเอามาเป็นของตนด้วยกิริยาอาการทั้ง ๑๓ อย่างหรืออย่างหนึ่งอย่างใด ก็เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ นี้มีอยู่ด้วยกันสองชนิดคือ
๑. สังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้
๒. อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้
ภิกษุที่ถือเอาทรัพย์เหล่านี้โดยมิต้องอาบัติต้องประกอบไปด้วยอาการดังนี้คือ
๑. เข้าใจผิดคิดว่าทรัพย์นั้นเป็นของตน
๒. คิดว่าเป็นของคนกันเอง เคยรู้จักกันมาก่อน คงไม่เป็นไรหรอก
๓. ขอยืมนะ
๔. ทรัพย์ที่เขาอุทิศให้แก่เปรต
๕. ทรัพย์ที่เขาอุทิศให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน
๖. คิดว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว
๗. ภิกษุนั้นเป็นบ้า
๘. เป็นภิกษุคนแรกของการบัญญัติสิกขาบทนี้
ลักษณะการทุจริตคดีเงินทอนวัดตรงกับคำว่า “ยักยอก” ซึ่งคณะสงฆ์ผู้ทรงธรรม ทรงวินัย จักต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นอธิกรณ์ และหาวิธีระงับ
ส่วนด้านกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ก็เข้าข่ายปลอมบวช ใครๆ ที่นับถือพุทธ ก็สามารถแจ้งความเอาผิดได้
พุทธะอิสระ
--------------------------------------------------
เรื่องนี้ต้องขยาย (ตอนที่ ๑)
เรื่องนี้ต้องขยาย (ตอนที่ ๒)
--------------------------------------------------
This story must be expanded. (3)
April 16, 2021
The case of former abbot of Saket Ratcha Wora Maha Wihan Temple, former member of the Sangha Supreme Council of Thailand, and former Chief of Overseas Dhammaduta Bhikkhus, together with former director of the National Office of Buddhism (NOB) and other four NOB officials embezzled 69.7 million baht of Buddhism study funds of NOB.
This case can be divided into two issues: laws and code of monastic discipline.
The previous two chapters have already explained principles of laws and the Sangha Act.
Today, I will explain about code of monastic discipline. Once a monk commits following four gravest transgression of the rules, he automatically departs from monkhood.
- taking life; killing
- stealing
- having a sexual intercourse
- boasting of having supernatural quality that one does not possess
Regarding corruption of former abbot of Saket Ratcha Wora Maha Wihan Temple and former member of the Sangha Supreme Council of Thailand, if his deed falls under any category below, it is regarded as gravest transgression of the monastic rule.
There are 13 ways of possessing an object, which are regarded as violation of monastic rule.
1. Stealing an object from its place, with an intention
2. Snatching an object from someone and running away
3. Driving or leading four-leg animal, two-leg animal, or legless animal from its place
4. Snatching an object from owner or after owner drops an object.
5. Switching a good object with a bad one or switching a valuable object with a cheap one.
6. Claiming ownership without justification such as assuming ownership of an object which belongs to other people
7. Embezzling, for example, a monk in charge of temple’s bookkeeping or finance and pockets such money.
8. Defrauding such as accepting someone’s belonging and defrauding the owner
9. Fooling, for example, when someone has an object liable to tax, but hides the object while passing customs station to avoid tax payment. Or, having a lot of objects but hide them to pay less tax
10. Robbing, for example, a monk persuades others to commit robbery. If he does not do it himself, but he participates in robbery. After gaining such money, if such money is more than five masok (equivalent to one baht), the whole group is deemed having committed gravest transgression of the monastic rule.
11. Cheating such as making fake objects
12. Threatening such as using force or power to get other people’s belonging.
For example, a monk whose rank has authority uses his power to obtain money.
13. Hiding, for example, a monk has seen someone unknowingly dropping an object. Then, that monk pretends to step on it or stand in front of it or use an object to cover it, with an intention to obtain such object. Then, it is deemed he has committed gravest transgression of monastic rule, when the owner cannot find it and that object then falls into that monk’s ownership.
If a monk obtains an object by means of any thirteen ways above, he has committed gravest transgression of monastic rule.
There are two types of belonging, stated in the second gravest transgression of the monastic rule.
1. movable properties
2. immovable property such as real estate
A monk has taken a property without committing gravest transgression of monastic rule, under following characteristics.
1. He misunderstood that such property belonged to him
2. He thought that it belonged to an acquaintance.
3. He wanted to borrow.
4. That property was offered to a hungry ghost.
5. That property was offered to an animal.
6. He thought that the property was abandoned.
7. That monk was insane.
8. He was the first monk before enactment of that monastic rule.
Embezzlement of temple fund falls under “embezzling”. Clergy who uphold righteousness and discipline must raise a case and seek a dispute settlement.
According to criminal law and the Sangha Act, it falls under fake ordination which any Buddhist can report to police.
Buddha Isara