Print
Hits: 404
 
กรณีอดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตหัวหน้าคณะธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้สมคบกับ ผอ.และเจ้าหน้าที่สำนักพุทธ ทุจริตเงินงบประมาณ ๖๕,๗๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งที่คดียังไม่ถึงที่สุด แต่ก็กลับมาห่มผ้าเหลืองอีกโดยไม่มีอุปัชฌาย์บวชให้
และยังต้องโทษ คือการถูกควบคุมความประพฤติอยู่ถึง ๒ ปี
ทีนี้เรามาดูกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติไว้ว่าอย่างไร
ในกรณีที่ผู้ต้องคดีแล้วถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ศาลสั่งให้รอลงอาญาอยู่ ๒ ปี
ถามว่าขณะที่ถูกพิพากษาให้รอลงอาญาเช่นนี้ ถือว่าพ้นสถานะความเป็นพระภิกษุแล้วหรือยัง
ตอบ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕
มาตรา ๒๙ พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว
และเจ้าอาวาสแห่งวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัดไม่รับมอบตัวไว้ควบคุม หรือพนักงานสอบสวนไม่เห็นสมควรให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม หรือพระภิกษุรูปนั้นมิได้สังกัดในวัดใดวัดหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
มาตรา ๓๐ เมื่อจะต้องจำคุก กักขังหรือขังพระภิกษุรูปใดตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ และให้รายงานให้ศาลทราบถึงการสละสมณเพศนั้น
สรุป หากว่ากันตามประมวลกฎหมายอาญาและราชบัญญัติคณะสงฆ์ แม้จะอ้างว่า ไม่ได้เปล่งวาจาสึก ก็กลับมาห่มผ้าเหลืองไม่ได้
ยิ่งคดี ยังไม่ถึงที่สุดแล้ว ยิ่งไม่สามารถกลับมาบวชใหม่ได้เลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
และหากกลับมาห่มจีวรเองโดยไม่ได้ทำพิธีขออุปสมบทใหม่จากพระอุปัชฌาย์ เช่นนี้ยิ่งไม่ได้เด็ดขาด
จะเข้าลักษณะปลอมบวช หรือแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ตามมาตรา ๒๐๘ ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องแต่งกายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ
เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รอบต่อไปจะนำเอาหลักพระธรรมวินัยมาขยาย
พุทธะอิสระ

This story must be expanded. (2)
April 16, 2021
The case of former abbot of Saket Ratcha Wora Maha Wihan Temple, former member of the Sangha Supreme Council of Thailand, and former Chief of Overseas Dhammaduta Bhikkhus, together with former chief and officials of the National Office of Buddhism (NOB) embezzled 69.7 million baht of Buddhism study funds. Although the legal case is not yet final and he is under the two-year sentence suspension, he has just returned to monkhood, without any priest to officiate at the ordination ceremony.
Let’s look at how the Sangha Act prescribes on this.
In case that the defendant was sentenced to imprisonment, but the court granted him two years sentence suspension. The question is whether during the period of sentence suspension, is he deemed to have already departed monkhood?
Section 29 of the Sangha Act stipulates a monk who has been arrested in a criminal case, and officials do not grant him a provisional release, and the temple’s abbot does not accept him under custody, or that monk is not subject to any temple, that monk must be disrobed before imprisonment.
Section 30 Before imprisoning any monk according to court judgement, officials, under provision of court ruling, must have that monk depart his monkhood, and report that to the court.
In conclusion, according to criminal law and Sangha Act, even though the defendant claimed he did not speak out his decision to depart monkhood, he may not not return to monkhood.
Especially when the case is not yet final, he cannot return to monkhood by ordination ceremony.
And if he wears monk robe without his prior request for an ordination ceremony, to be officiated by a priest, it is forbidden.
This falls under fake monk and fake ordination or violation of Section 208, person who illegally wears clothing of monk, novice, ascetic or priest of any religion to mislead other people to believe. That person shall be sentenced for imprisonment not over one year and fine of not over 20,000 baht, or both.
Next time, I will share code of monastic discipline details.
Buddha Isara