ถาม ในสภาวะวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ มีธรรมอะไรที่จะช่วยให้รอดได้บ้างครับ ?
ตอบ ธรรมที่ชื่อว่า “อปัณณกปฏิปทา” คือ ข้อปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง
๑. อินทรียสังวร ได้แก่ การสำรวม สังวร ระวัง รักษา
ตาที่เห็นรูป ไม่ให้ตกเป็นทาสของรูปที่เห็น จงอย่าเห็น อย่ามองด้วยความหลง แต่จงมองให้รู้จริง เห็นจริง ของสิ่งที่ตาเห็น เพราะสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริงหรือความจริงก็ได้
หูฟังเสียง จงอย่าตกเป็นทาสของเสียง ที่หูได้ยิน เสียงใดๆ ก็ไม่มีอำนาจครอบงำเราได้ หากมีสติปัญญา พิจารณา ให้รู้ชัดว่า เสียงทำให้ดีหรือชั่วได้ หากผู้ฟังเสียงนั้นไม่ยึดถือเองมาเป็นอารมณ์
จมูกดมกลิ่น จงอย่าตกเป็นทาสของกลิ่นที่จมูกดมอยู่ ด้วยเพราะกลิ่นมิได้ทำให้ใครดีหรือเลว แต่ที่ดีเลว ถูกผิด ล้วนเกิดจากอุปาทาน ความยึดถือ และหลงตกเป็นทาสของกลิ่นนั้นๆ
ลิ้นรับรส ก็สักแต่ว่ารส อย่าปล่อยให้รสมามีอำนาจ ครอบงำจิตใจ ครอบงำชีวิต จนต้องทุกข์ทรมานเพราะรส ที่เกิดจากลิ้น
กายสัมผัส จงสัมผัสด้วยสติปัญญาพิจารณาให้เห็นถึงความจริงแท้ของสิ่งที่กำลังสัมผัส ว่าแท้จริงมันน่าพึงพอใจตรงไหน น่าอภิรมย์อย่างไร จะได้ไม่ทำให้การสัมผัสมาเป็นเหตุให้ทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น
ใจรับรู้อารมณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่ใจทุกชนิด หากมีสติปัญญา รู้จักแยกแยะสิ่งที่เข้ามาครอบงำจิต ว่าเป็นอารมณ์กุศล หรืออกุศล หรือถ้าจะอธิบายแบบภาษาชาวบ้าน ก็ต้องบอกว่าให้พิจารณาดูว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นดีหรือชั่ว เป็นคุณหรือเป็นโทษ มีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ และอารมณ์นั้นๆ จะสร้างเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์ในปัจจุบัน และทุกข์ในอนาคตหรือไม่
รวมความว่า แค่คำว่า อินทรียสังวร สำรวม ระวัง รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ก็สามารถที่จะหยุดยั้งการแพร่กระจายเชื้อโรคร้ายทุกชนิดได้แล้ว ธรรมข้อนี้จึงได้ชื่อว่า “อปัณณกปฏิปทา” ข้อปฏิบัติที่ไม่มีความผิดพลาด
โอกาสต่อไปจะนำเอาข้อธรรมอีก ๒ ชนิด มาเล่าสู่กันฟัง
พุทธะอิสระ

Question and Answer
April 9, 2021
Question : During the pandemic, is there any Dhamma that help people to survive?
Answer : Dhamma called three codes of conduct to avoid wrongdoing
1. control of the senses which includes composure, self-control, caution, and attention
When eyes see an object, don’t become slave of that object. Don’t look at it with enchantment. One should look at it to see and realize the truth of what is being seen because it may not be authentic.
When ears hear any sound, don’t become slave of that sound. Any sound will not have any influence over us, if we have wisdom to clearly consider about it. Sound cannot make anybody feel good or bad if that person does not feel attached and turn it into emotion.
When nose smells an odor, don’t become slave of the odor. Odor itself is not good or bad. But one feels that it is good, bad, right, or wrong because of one’s attachment. Then, one becomes slave of that odor.
When tongue tastes a flavor, it is just a flavor. Don’t let taste has influence over one’s mind or life that one suffers from the taste from tongue.
When body touches something, please touch it with wisdom and consider it is truly pleasant. Then, the touch won’t harm oneself and others.
When mind feels of any emotion, if one has wisdom and knows how to classify things that come into mind whether it is good or bad emotion. Or to explain in simple words, one must consider whether such emotion is good or bad, useful or useless, and whether such emotion will cause any suffering at present or in the future.
In sum, the term “control of the senses” means being cautious of one’s senses via eyes, ears, nose, tongue, body, and mind.
This can help stop the spread of all kinds of diseases. Therefore, this Dhamma is called codes of conduct to avoid wrongdoing.
In future occasions, I will tell you about the other two Dhamma.
Buddha Isara